มโหฬารบางกอก
Group Blog
 
All blogs
 
ย้อนรอยเส้นทางสัญจร...จากออดีตสู่ปัจจุบัน

สถานีรถไฟบางกอกน้อย






ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้ดำริให้ก่อตั้งกิจการรถไฟด้วยสาเหตุทางความมั่นคงของประเทศ โดยเริ่มจากสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือก่อน และเริ่มสร้างสายใต้โดยเลือกที่ดินบริเวณฝั่งธนบุรีปากคลองบางกอกน้อย สาเหตุที่เลือกบริเวณนี้คาดว่าการเดินทางมาจากฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาง่ายต่อการเดินทางสู่ภาคใต้และตะวันตก ประกอบกับบริเวณนี้เป็นแหล่งชุมชนที่หนาแน่นอยู่เดิม เช่นโรงพยาบาลศิริราช (วังหลัง) ชุมชนบ้านช่างหล่อ และเป็นบริเวณปากคลองบางกอกน้อยที่เป็นทางสัญจรหลักของประชาชนในแถบนั้น ส่วนพื้นที่ที่เหลือของฝั่งธนบุรีส่วนใหญ่ยังคงเป็นสวนผลไม้


เดิมพื้นที่ตั้งสถานีเดิมเป็นชุมชนชาวไทยมุสลิม ซึ่งอพยพมาจากกรุงศรีอยุธยาครั้งกรุงแตก เมื่อสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำริให้สร้างสถานีรถไฟสายใต้ จึงพระราชทานที่ดินฝั่งตรงข้ามคลองบางกอกน้อยให้กับชุมชนนี้





พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเปิด “สถานีรถไฟธนบุรี” ในวันที่ 19 มิ.ย.2446 เปิดเดินรถ 1 เม.ย.2446 บริเวณริมคลองบางกอกน้อย อันเป็นเส้นทางสู่ภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศ ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นศูนย์รวมของผู้คนที่จะเดินทางออกจากเมืองหลวง โดยอาศัยเรือข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยา (สมัยนั้นยังไม่มีสะพานข้าม)




ในปี พ.ศ.2468 สะพานพระราม 6 สร้างเสร็จ ซึ่งเป็นสะพานที่ข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสะพานแรกโดยเป็นการเชื่อมทางรถไฟทั้งระบบของประเทศไว้ด้วยกัน แต่สถานีธนบุรี (บางกอกน้อย) ยังคงเป็นที่นิยมเช่นเดิม และมีการเกิดชุมชนการค้าบริเวณใกล้เคียงมากมาย การสัญจรในยุคแรกยังคงเป็นทางเรือเป็นหลัก ในปี 2475 มีการสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าและตัดถนนฝั่งธนบุรี เช่น ถนนอิสระภาพ ถนนอรุณอัมรินทร์ ถนนจรัลสนิทวงศ์ ฯลฯ การสัญจรทางบกทำให้ฝั่งธนบุรีเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว




อีก 10 ปีต่อมาในปี 2485 ประเทศไทยต้องเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยความจำเป็น โดยเข้าอยู่ร่วมฝ่ายอักษะ (เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น) โดยญี่ปุ่นได้ใช้ประเทศไทยเป็นแหล่งบัญชาการสงครามในภูมิภาคนี้เพื่อโจมตีพม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่นอาศัยรถไฟเป็นทางลำเลียงหลักของกองทัพ สถานีธนบุรี (บางกอกน้อย) จึงเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการโจมตีของฝ่ายพันธมิตร และในวันที่ 5 มีนาคม 2488 ซึ่งเป็นช่วงปลายสงครามมหาเอเซียบูรพา กองทัพญี่ปุ่นเริ่มอ่อนกำลังลง สถานีธนบุรี (บางกอกน้อย) ถูกทิ้งระเบิดจากเครื่องบินบี 24 และบี 29 ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก เวลา 12.30 น. สถานีธนบุรี (บางกอกน้อย) ถูกทิ้งระเบิดอีกครั้งจนย่อยยับทั้งที่ไม่มีความจำเป็นในการกระทำครั้งนี้ แต่นี่คือครั้งสุดท้ายที่มีเสียง “หวอ” เพื่อเตือนระเบิดในกรุงเทพ เนื่องจากในวันที่ 15 สิงหาคม ปีนั้น ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม วันต่อมามีประกาศพระบรมราชโองการสันติภาพในสงครามมหาเอเชียบูรพา


ตัวอาคารสถานีปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้วเสร็จปี 2493


---> ที่ตั้ง <---

ทิศเหนือ จรดคลองบางกอกน้อย
ทิศตะวันออก จรดแม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศตะวันตก พื้นที่รางรถไฟ
ทิศใต้ ติดโรงพยาบาลศิริราชและตลาดบางกอกน้อย




Create Date : 11 กันยายน 2550
Last Update : 11 กันยายน 2550 1:43:39 น. 1 comments
Counter : 320 Pageviews.

 
แวะมาท่องเที่ยวไทยด้วยคนครับ




โดย: มิสเตอร์ฮอง วันที่: 12 กันยายน 2550 เวลา:19:05:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

lunix
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Google
ผู้ดูทั้งหมด ท่าน


Friends' blogs
[Add lunix's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.