ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 

ลด/เลิกภาษีการทำงานและลงทุนผลิตและค้า เพิ่มภาษีที่ดินแทน

ลด/เลิกภาษีการทำงานและลงทุนผลิตและค้า เพิ่มภาษีที่ดินแทน

วิธีดีที่สุดในการปฏิรูปที่ดินควรเป็นการปฏิรูปภาษี ซึ่งเกิดผลต่อคนทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ชาวนา หรือ คนงานในเมือง รวมทั้งลูกจ้าง พนักงานทุกระดับ
โดยถือว่าที่ดินเป็นของส่วนรวม เพราะที่ดินไม่มีใครผลิต ผลิตเพิ่มก็แทบไม่ได้ อุปทานไม่มีความยืดหยุ่น
และคิดภาษีที่ดินแบบที่ธุรกิจเขาคิดค่าเช่ารายปีกัน ไม่มียกเว้น/ลดหย่อนไม่ว่าจะทำอาชีพใด แต่ค่อย ๆ เพิ่มภาษี เช่น ปีละ 3 % ของค่าเช่ารายปี 33 ปีก็เป็น 99 % ของค่าเช่าที่ควรเป็น (ค่าเช่าศักย์) ไม่คิดภาษีจากพืชผลต้นไม้ สิ่งปลูกสร้าง สิ่งปรับปรุง ภาษีที่ดินแบบนี้ไม่มีผลบิดเบือน

การเก็งกำไรเก็บก้กที่ดินขนาดที่ไปไหน ๆ ก็เห็นแต่ที่ดินมีเจ้าของแล้ว (ส่วนมากรกร้าง) จะหมดไป ค่าเช่าลด ราคาที่ดินจะเกือบเป็นศูนย์ เราจะหาที่ดินได้ง่ายขึ้น การว่างงานจะลด ผลตอบแทนต่อแรงงานและทุนเพิ่ม วัฏจักรเศรษฐกิจที่เหวี่ยงตัวรุนแรง ก่อความเสียหายกว้างขวางจะไม่เกิดอีก

ขณะเดียวกันก็สามารถลด/เลิกภาษีการผลิตการค้า ภาษีเงินได้ ภาษีกำไร ลงเท่า ๆ กับที่ได้ภาษีที่ดินเพิ่ม ซึ่งจะทำให้ราคาสินค้าลด แต่รายได้สุทธิเพิ่ม (จากที่เพิ่มเพราะการเก็งกำไรที่ดินหมดไป)
การลงแรงลงทุนเช่นนี้คือการร่วมมือกัน ช่วยกันทำงาน แบ่งงานกันทำตามความรู้ความสามารถ ความชอบ ความถนัด แล้วเอาผลผลิตมาแลกเปลี่ยนกัน โดยใช้เงินตราเป็นสื่อกลาง ช่วยให้ประสิทธิภาพการผลิตสูง (เราไม่ต้องเสียเวลาทั้งวันทำทุกอย่างด้วยตนเอง ซึ่งจะทำได้ไม่ดี และบางอย่างก็ทำไม่ได้เลย) ควรส่งเสริมให้มีมาก ๆ แทนที่จะขัดขวางด้วยภาษีต่าง ๆ

จาก ยูโทเพียไทย เว็บเศรษฐศาสตร์เพื่อความเป็นธรรม
//utopiathai.webs.com




 

Create Date : 29 กันยายน 2552    
Last Update : 29 กันยายน 2552 0:10:43 น.
Counter : 2110 Pageviews.  

ป้องกันการเกิดวัฏจักรฟองสบู่ขนาดใหญ่และความยากจน

ป้องกันการเกิดวัฏจักรฟองสบู่ขนาดใหญ่และความยากจน

เศรษฐกิจที่สร้างสรรค์นั้น เฮนรี จอร์จ คนอเมริกัน ได้ค้นพบและอธิบายไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1879 (ก่อนท่านแบรอนเคนส์แห่งอังกฤษเกิด 4 ปี) ในหนังสือเล่มโต ชื่อ Progress and Poverty ถ้ารัฐทั้งหลายทำตามจอร์จ จะไม่มีความยากจน และเศรษฐกิจจะไม่เกิดวัฏจักรที่เหวี่ยงตัวรุนแรง ขาลงก็ก่อความเสียหายใหญ่หลวง

แต่เคนส์กลับบอกว่าวัฏจักรเศรษฐกิจเป็นส่วนที่แยกไม่ออกจากระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ และได้แต่ใช้เงินทุ่มเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ๆ เมื่อถูกถามถึงระยะยาว เคนส์จึงได้ตอบว่า “ในระยะยาวเราก็ตายกันหมด”

เคนส์อาจไม่รู้วิธีป้องกันวัฏจักรของเฮนรี จอร์จ หรือรู้แต่ไม่เชื่อ หรือเชื่อ แต่ไม่คิดว่าจะทำได้ เพราะคงจะถูกต่อต้านจากผู้มีผลประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งอาจรวมถึงตัวท่านแบรอนเองด้วย

วิธีป้องกันวัฏจักรขนาดใหญ่ดังกล่าว และวิธีแก้ความยากจน อ่านได้ที่
//th.wikipedia.org/wiki/เฮนรี_จอร์จ
//th.wikipedia.org/wiki/ภาษีเดี่ยว ครับ

สุธน หิญ //utopiathai.webs.com




 

Create Date : 15 กันยายน 2552    
Last Update : 15 กันยายน 2552 14:36:25 น.
Counter : 576 Pageviews.  

ระวัง_โฉนดชุมชนจะกลายเป็นสิ่งขัดขวางวิธีปฏิรูปที่ดินด้วยภาษี !

ระวัง_โฉนดชุมชนจะกลายเป็นสิ่งขัดขวางวิธีปฏิรูปที่ดินด้วยภาษี !

รัฐควรจะต้องเลือกก่อนว่าการแก้ไขปัญหาที่ดินนั้นจะใช้วิธีใด
ถ้าจะใช้วิธีการกระจายสิทธิในที่ดิน วิธีที่มีปัญหาน้อยที่สุดและได้ผลดีที่สุด คือ ยอมรับว่าทุกคนควรมีสิทธิเท่าเทียมกันในที่ดิน (หมายความรวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติ)
ผู้ถือครองที่ดินต้องจ่ายค่าเช่า (หรือเรียกว่าภาษีที่ดิน) ให้แก่ส่วนรวม แต่เพื่อมิให้เจ้าของที่ดินเดือดร้อนเกินไป ก็ควรค่อย ๆ เพิ่มขึ้น เช่นปีละ 3 % เมื่อถึง 33 ปีก็จะเป็น 99 % ของค่าเช่าที่ดิน เป็นต้น
การเก็บภาษีที่ดินกรณีนี้ควรถือตามแบบที่ธุรกิจเขาคิดค่าเช่ากัน ไม่มีการลดหย่อย ยกเว้น หรือมีอัตราก้าวหน้า ซึ่งจะกลายเป็นสิทธิไม่เสมอภาค

ภาษีที่ดินนี้อาจจะแบ่งให้ทุกคน รวมทั้งทารกแรกเกิด เท่า ๆ กัน ทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง จะเป็นเท่าไรแล้วแต่เสียงข้างมาก เหลือเท่าไรก็ลดภาษีจากรายได้และการลงแรงลงทุนผลิตและค้าสินค้าและบริการลงเท่านั้น
อีกวิธีหนึ่งก็คือไม่แบ่งแจกราษฎรเลย ซึ่งจะทำให้สามารถลดภาษีจากรายได้และการลงแรงลงทุนได้มาก จนเมื่อเก็บภาษีที่ดินถึงขั้นเท่าหรือเกือบเท่าค่าเช่าที่ดินแล้ว ก็ไม่ต้องเก็บภาษีจากรายได้และการลงแรงลงทุนเลย ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตลด เราจะสามารถแข่งขันค้าขายกับต่างประเทศได้ดีขึ้น และต่างชาติจะนิยมมาเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยในไทยมากขึ้น

เฮนรี จอร์จกล่าวโจมตีการปล่อยให้เอกชนได้ประโยชน์จากกรรมสิทธิ์ที่ดินอย่างยืดยาว ที่สำคัญคือการเก็งกำไรเก็บกักที่ดินหวังราคาสูงในอนาคต ทำให้แผ่นดินของประเทศได้รับการใช้ประโยชน์น้อยเกินไป ผลผลิตต่ำ คนว่างงานหรือหางานทำยาก ค่าแรงต่ำกว่าที่ควรเป็นและต้องจ่ายค่าเช่าที่ดินสูงกว่าที่ควร แต่พอถึงข้อเสนอแก้ความยากจนจากความไม่ยุติธรรมนี้เขากลับเสนอเพียงให้เก็บภาษีมูลค่าที่ดินเท่ากับค่าเช่าที่ดินรายปีและยกเลิกภาษีอื่น ๆ เหตุผลของเขาคือ:--

“ข้าพเจ้าไม่เสนอให้ ซื้อ หรือริบกรรมสิทธิ์ของเอกชนในที่ดิน กรณีแรกจะเป็นการไม่ยุติธรรม กรณีที่สองไม่เป็นสิ่งจำเป็น จงปล่อยให้บุคคลที่ยึดถือที่ดินอยู่ขณะนี้ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในสิ่งที่เขาพอใจจะเรียกว่าที่ดิน ‘ของเขา’ ต่อไปถ้าเขาต้องการ ปล่อยให้เขาเรียกมันต่อไปว่าเป็นที่ดิน ‘ของเขา’ ปล่อยให้เขาซื้อขายและให้เป็นมรดกและทำพินัยกรรมยกให้กันได้ เราอาจจะปล่อยให้พวกเขาเก็บเปลือกไว้ได้โดยไม่มีอันตรายถ้าเราเอาเนื้อในออกมาแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องริบที่ดิน จำเป็นแต่เพียงจะต้องริบค่าเช่าเท่านั้น

“ทั้งการที่จะเก็บค่าเช่ามาเป็นสาธารณประโยชน์นั้นก็ไม่จำเป็นว่ารัฐจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการให้เช่าที่ดินด้วย ซึ่งมีทางทำให้เกิดฉันทาคติ การสมรู้ยินยอม และการฉ้อราษฎร์บังหลวงขึ้นได้ ไม่จำเป็นจะต้องจัดตั้งจักรกลใหม่ขึ้นมาอีกแต่ประการใด จักรกลเช่นนี้มีอยู่แล้ว แทนที่จะขยายมันออก ทั้งหมดที่เราจะต้องทำก็คือทำให้มันง่ายขึ้นและลดขนาดของมันลงเท่านั้น โดยการให้เจ้าของที่ดินได้รับเปอร์เซนต์จากค่าเช่าบ้าง ซึ่งอาจจะน้อยกว่ามูลค่าและความสูญเสียในการที่องค์การของรัฐจะเป็นผู้ให้เช่าที่ดินเองมาก และโดยการใช้ประโยชน์จากจักรกลที่มีอยู่แล้วนี้ เราก็อาจจะทำให้เกิดสิทธิของส่วนรวมร่วมกันในที่ดินได้โดยการ เก็บค่าเช่ามาเป็นสาธารณประโยชน์ ซึ่งไม่ทำให้เกิดการตื่นเต้นสะดุ้งสะเทือนกัน

“เราได้เก็บค่าเช่าแล้วเป็นบางส่วนในรูปของภาษี เราเพียงแต่จะต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการเก็บภาษีบางประการเท่านั้นเพื่อให้ได้ค่าเช่าทั้งหมด

"เพราะฉะนั้นสิ่งที่ข้าพเจ้าเสนอในฐานะวิธีแก้ไขง่าย ๆ แต่ได้ผลใหญ่หลวง ซึ่งจะยกค่าแรงขึ้นสูง เพิ่มผลตอบแทนของทุน…ยกเลิกความยากจน ทำให้มีงานรายได้ดีว่างสำหรับผู้ใดก็ตามที่ต้องการงานทำ ทำให้ไม่มีขอบเขตจำกัดพลังความสามารถของมนุษย์ ทำให้อาชญากรรมลดลง ยกระดับศีลธรรม รสนิยม และสติปัญญา ทำให้การปกครองบริสุทธิ์หมดจดขึ้น และทำให้อารยธรรมเจริญสูงส่งยิ่งขึ้น เหล่านี้ ก็คือ – การริบเอาค่าเช่าโดยการเก็บภาษี

"โดยวิธีนี้ รัฐก็จะกลายเป็นเจ้าของที่ดินทั่วไปได้โดยไม่ต้องเรียกตนเองเช่นนั้น และโดยไม่ต้องรับหน้าที่ใหม่แม้แต่ประการเดียว โดยรูปแบบแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินจะยังคงเป็นอยู่เหมือนกับในขณะนี้ ไม่จำเป็นจะต้องทำให้เจ้าของที่ดินหมดสภาพความเป็นเจ้าของ และไม่จำเป็นจะต้องจำกัดปริมาณที่ดินที่ผู้หนึ่งผู้ใดจะยึดถือ เพราะว่าโดยที่รัฐเป็นผู้เก็บค่าเช่าในรูปของภาษี ที่ดินจึงย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของส่วนรวมโดยแท้จริง ไม่ว่าจะมีชื่อใครเป็นผู้ครอบครอง หรือจะอยู่ในส่วนใดก็ตาม และสมาชิกของประชาคมทุกคนย่อมจะมีส่วนในผลประโยชน์แห่งความเป็นเจ้าของที่ดินเหล่านี้"

(จาก //th.wikipedia.org/wiki/เฮนรี_จอร์จ ผลดีและความเป็นธรรมของการมุ่งเพิ่มภาษีที่ดินและลดภาษีอื่น ๆ ดูได้จากเว็บนี้ด้วย)

ถ้าจะมีมาตรการเป็นการชั่วคราวเพื่อช่วยเหลือผู้ไร้ที่ดินไปก่อน ก็อาจต้องมีการแจก ‘โฉนดชุมชน’ ที่กำลังมีกระแสมาแรงอยู่ขณะนี้ แต่จะต้องหาทางป้องกันมิให้เป็นอุปสรรคขัดขวางการมุ่งเพิ่มภาษีที่ดินและลดภาษีอื่น ๆ ที่น่าจะทำเพื่อคืนสิทธิให้ทุกคนเท่าเทียมกันในที่ดินตามที่ควรจะเป็น มิใช่ว่าเมื่อได้สิทธิโฉนดชุมชนแล้วจะคงสิทธิ์ไว้เหนือราษฎรผู้อื่นตลอดกาล

อย่าเชื่อ
1. อย่าเชื่อว่าเราได้ผ่านระบบเจ้าที่ดินหรือศักดินามาแล้ว ถ้ายังมีการเก็งกำไรที่ดินเป็นการทั่วไป ขนาดที่ไปไหน ๆ ก็เจอที่ดินรกร้างมีเจ้าของ

2. อย่าเชื่อว่าต้องยอมได้อย่างเสียอย่าง (tradeoff) ระหว่างความยุติธรรมกับประสิทธิภาพ เพราะระบบภาษีการถือครองที่ดิน (ซึ่งทำให้ลด/เลิกภาษีเงินได้และภาษีจากการลงแรงลงทุนผลิตและค้าได้) จะช่วยให้เราได้ทั้งสองอย่าง

3. อย่าเชื่อว่า *ไม่มี free lunch* ... free lunch ที่มโหฬารและฟุ่มเฟือยที่สุด คือการอุดหนุนจากรัฐบาลที่ให้แก่เจ้าของที่ดิน โดยช่วยเพิ่มมูลค่าที่ดินให้เรื่อย ๆ เช่น ตัดหรือขยายถนน จัดโครงการรถไฟฟ้า หรือปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ด้วยการเก็บภาษีจากพลเมืองทั่วไปอย่างมาก แต่กลับเก็บภาษีที่ดินน้อยเกินไป

4. อย่าเชื่อข้อเสนอให้เก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า มันแสดงว่าไม่ได้คิดเก็บภาษีที่ดินทั่วไปให้สูงเสมือนว่าเจ้าของเป็นผู้เช่าจากรัฐ แต่ใช้ภาษีเป็นเครื่องมือปรับเอากับผู้ที่รัฐคิดว่าทำไม่ดีโดยไม่ทันคิดว่ารัฐนั่นแหละคือต้นเหตุแห่งการทำไม่ดีนั้น (เก็งกำไรที่ดิน) แล้วยังใช้ภาษีอัตราก้าวหน้าอีก อัตราก้าวหน้านี้จะทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดินถูกบิดเบือนไปจากที่ควรจะเป็น ประสิทธิภาพการใช้ที่ดินโดยรวมจะต่ำ และอาจเป็นการส่งเสริมให้มีการคบคิดแจ้งเท็จว่าทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว นอกจากนี้ ถ้าใช้อัตราภาษีก้าวหน้าตามขนาดที่ดิน ยังอาจเกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างบุคคลธรรมดากับนิติบุคคลซึ่งขณะเดียวกันหุ้นส่วนก็เป็นบุคคลธรรมดาด้วย ซ้ำเขายังอาจเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลอื่น ๆ อีก.




 

Create Date : 02 กันยายน 2552    
Last Update : 2 กันยายน 2552 9:30:59 น.
Counter : 637 Pageviews.  

Stiglitz สนับสนุนแนวคิดแก้ความยากจนของเฮนรี จอร์จ

ขณะนี้ Joseph E. Stiglitz (JES เกิดปี 1943 อายุ 66 ปี) กำลังดังในไทย ผมจึงขอเขียนถึงความคิดเห็นของเขาเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินและแนวคิดแก้ความยากจนของเฮนรี จอร์จเล็กน้อย

Stiglitz เป็นนักเศรษฐศาสตร์หนึ่งในสามท่านที่ได้รับรางวัลโนเบลทางเศรษฐศาสตร์ใน ค.ศ.2001 ในปี 1999 เขาถูกปลดจากตำแหน่งหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกหลังจากที่เขาเริ่มพูดเกี่ยวกับข้อกังวลของเขา

Greg Palast นักเขียนของ The Observer ที่ลอนดอนได้ถามเขาในการสัมภาษณ์ปี 2001 ว่าตอนนั้นเขาคิดจะช่วยประเทศกำลังพัฒนาอย่างไร Stiglitz ตอบว่าเขาเสนอให้ปฏิรูปที่ดินอย่างถึงรากฐาน (radical) และโจมตีที่หัวใจของลัทธิเจ้าที่ดิน รวมทั้งการที่กลุ่มคณาธิปไตยที่ดินทั่วโลกคิดค่าเช่าแพงเกินไป เมื่อถูกถามว่าทำไมธนาคารโลกจึงไม่ทำตามที่เขาแนะนำ Stiglitz ตอบว่า “ถ้าคุณท้าทายมัน (กรรมสิทธิ์ที่ดิน) จะเป็นการเปลี่ยนแปลงอำนาจของอภิชน (elites) นั่นมิใช่วาระเร่งด่วนของธนาคารโลก”
(จาก //www.earthrights.net/docs/schumacher.html#10 )

และจากบทสัมภาษณ์ชื่อเรื่อง Joseph E. Stiglitz: October 2002 Interview (//www.wealthandwant.com/docs/Stiglitz_Oct02_interview.htm ) ซึ่งเริ่มต้นเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดิน เขาตอบว่า

ความคิดหลักที่สำคัญของเฮนรี จอร์จคือการเก็บภาษีที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ สมัยนั้นผู้คนจะคิดว่า “ไม่น่ารวมทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ” แต่ส่วนสำคัญในความคิดของจอร์จคือค่าเช่าของสิ่งที่ไม่มีความยืดหยุ่นในอุปทาน ซึ่งก็คือ ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ และการถือเอาค่าเช่าที่ดินและค่าการนำทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้ เป็นฐานภาษี เป็นประเด็นที่ข้าพเจ้าคิดว่ามีเหตุผลที่ดีมากทีเดียว เพราะมันเป็นแหล่งที่มาของรายได้และเศรษฐทรัพย์ที่ไม่มีผลบิดเบือน

อีกตอนหนึ่ง เขากล่าวว่า ปัญหาคือ "จะดีกว่าไหมถ้าเราเก็บภาษีมากขึ้นจากที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ และหารายได้มากขึ้นจากการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และข้าพเจ้าจะรวมบรรยากาศและคลื่นความถี่เข้าไว้ด้วย" และเก็บภาษีน้อยลงจากรายได้และการออม และข้าพเจ้าจะกล่าวว่า "เห็นด้วย" และข้าพเจ้าคิดว่านักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากจะเห็นด้วย

และอีกตอนหนึ่งคือ…ทุกวันนี้มีความเห็นกันว่าเราควรจะเก็บภาษี environmental “bads” เช่น ภาวะมลพิษและสิ่งที่คล้ายกัน และเปลี่ยนจากการเก็บภาษีสิ่งดี ๆ เช่น แรงงาน [กาย, สมอง - ผู้แปล]….ดังนั้น ประเด็นโตัแย้งคือ “ทำไมจึงเก็บภาษีจากสิ่งที่มีส่วนช่วยสังคม ?”

บทความเรื่องข้อคิดจาก Stiglitz โดย อาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ มติชนรายวัน วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (//www.nidambe11.net/ekonomiz/2009q3/2009august27p4.htm ) บอกว่า “Stiglitz จัดอยู่ในกลุ่มความคิดที่เรียกว่าเกือบซ้ายสุดในทางเศรษฐศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา กล่าวคือฝ่ายซ้ายเชื่อในการแทรกแซงของภาครัฐในการทำงานของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม (ขวาสุดก็คือปรมาจารย์รางวัลโนเบิล Milton Friedman ผู้ล่วงลับไปแล้ว)”

แล้วลองดูเรื่องที่สองท่าน ขวาสุดกับเกือบซ้ายสุดนี้มีความเห็นสอดคล้องกันบ้าง

Milton Friedman (1912-2006): ตามความคิดเห็นของข้าพเจ้า ภาษีที่เลวน้อยที่สุดคือภาษีทรัพย์สินที่คิดจากมูลค่าที่ดินโดยไม่รวมสิ่งปรับปรุง อันเป็นประเด็นโต้แย้งของเฮนรี จอร์จเมื่อหลาย ๆ ปีมาแล้ว

Joseph Stiglitz (1943- ): มิใช่เพียงเฮนรี จอร์จถูกต้องที่ว่าภาษีจากที่ดินไม่มีผลบิดเบือน แต่ในสังคมเสมอภาคที่เราสามารถเลือกจำนวนประชากรที่เหมาะที่สุด ภาษีจากที่ดินยังจะให้รายได้เพียงพอสำหรับระดับค่าใช้จ่ายของรัฐบาล (ที่เลือกว่าเหมาะที่สุด - optimally chosen) อีกด้วย
(จาก วาทะของนักคิดเรื่องที่ดินและการกระจายรายได้ //bbznet.pukpik.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=182&c=1 ).




 

Create Date : 31 สิงหาคม 2552    
Last Update : 3 กันยายน 2552 14:18:43 น.
Counter : 860 Pageviews.  

เชื้อแห่งความเสื่อมของลัทธิทุนนิยม

ถ้าไม่มีการเก็งกำไรที่ดินอย่างกว้างขวาง ก็ไม่มีการกู้เงินอย่างกว้างขวาง
ถ้าไม่มีการเก็งกำไรที่ดินอย่างกว้างขวาง ก็ไม่มีวัฏจักรราคาที่ดินที่เหวี่ยงตัวรุนแรง
วิกฤตการเงินที่รุนแรงลามทั่วโลกก็ไม่เกิด

การเปิดโอกาสให้กลไกตลาดได้ทำงานอย่างเสรีนั้นจะต้องเสรีเฉพาะสินค้าหรือทรัพยากรที่ลงแรงลงทุนผลิตเพิ่มได้ มิใช่ส่วนที่ผลิตเพิ่มไม่ได้หรือแทบไม่ได้ ซึ่งก็คือ ที่ดิน อันหมายรวมทั้ง ทรัพยากรธรรมชาติ และ เนื้อที่ (ที่ว่าง หรือ space)

ต้นเหตุของการเก็งกำไรผูกขาดที่ดินอย่างรุนแรงขนาดที่ไปไหน ๆ เจอแต่ที่ดินมีเจ้าของแล้ว คือการที่รัฐถือว่าที่ดินเป็นเช่นเดียวกับเศรษฐทรัพย์หรือทุน ปล่อยให้มีการซื้อขายกันได้เหมือนสินค้า แต่ที่จริง ที่ดินคือเงื่อนไขแห่งชีวิต เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของมนุษย์ เป็นแหล่งที่มาของวัตถุดิบ และเป็นมารดาของผลผลิตทั้งปวง การปล่อยให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์แทบจะเต็มที่ในที่ดิน ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติ มิได้มีมนุษย์ผู้ใดลงทุนลงแรงสร้างขึ้นมา การไม่เก็บภาษีที่ดินสูง ๆ ทำให้เกิดการเก็งกำไรเก็บกักที่ดิน ทำให้แผ่นดินของประเทศชาติไม่ได้รับการทำประโยชน์ตามควร และที่ดินมีค่าเช่า/ราคาสูงเกินกว่าที่ควร ทำให้ผู้ลงแรงลงทุนต้องเสียส่วนแบ่งผลตอบแทนการผลิตให้แก่เจ้าของที่ดินมากกว่าที่ควร การเก็บภาษีทั้งหลายยกเว้นภาษีที่ดิน ยิ่งก่อผลร้าย เช่น ทำให้ของแพงและค่าแรงต่ำยิ่งขึ้น ถ่วงความร่วมมือในการผลิต ทั้งภายในประเทศด้วยกัน และกับต่างประเทศ ทำให้ผลผลิตลดลง และการว่างงานรุนแรงขึ้น

ลัทธิที่ดินนิยมคือกาฝากร้ายของทุนนิยม การที่ฝ่ายทุนนิยมล้มเหลวไม่สามารถขจัดความยากจนได้ การที่วัฏจักรเศรษฐกิจเหวี่ยงตัวขึ้นลงรุนแรงก่อความเสียหายใหญ่หลวง ธุรกิจล้มละลาย ผู้คนสิ้นเนื้อประดาตัว ก็เพราะที่ดินนิยมเป็นสาเหตุหลักให้เกิดการเก็งกำไรที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีที่ดินเป็นส่วนสำคัญ ถ้าเราสามารถขจัดลัทธิที่ดินนิยมออกไปจากลัทธิทุนนิยม ทุนนิยมก็จะเป็นทั้งแรงงานนิยมไปด้วยอีกอย่างหนึ่งคู่กันไป เพราะที่ดินนิยมคือสิ่งขวางกั้นมหึมาต่อมือที่มองไม่เห็นของแอดัม สมิธ อันเป็นหัวใจของทุนนิยมหรือลัทธิเสรีวิสาหกิจ

ลัทธิที่ดินนิยมคือเชื้อแห่งความเสื่อม (seeds of decay) ของลัทธิทุนนิยม เมื่อที่ใดมีการพัฒนา มีสิ่งอำนวยความสะดวกความรวดเร็ว ที่ดินก็ราคาสูง ก็ยิ่งมีการเก็งกำไรที่ดิน ในที่สุดค่าแรงและผลตอบแทนทุนยิ่งต่ำ คนจนยิ่งเดือดร้อนเพิ่มขึ้น ความเจริญจึงยิ่งทำให้คนจนเดือดร้อน จนกว่าเราจะหันมาเก็บภาษีที่ดินแทนภาษีจากการทำงานและการลงทุนผลิตและค้า


Winston Churchill: การผูกขาดที่ดินมิใช่การผูกขาดเพียงชนิดเดียว แต่ก็เป็นการผูกขาดที่ใหญ่หลวงที่สุด -
เป็นการผูกขาดตลอดกาล และ เป็นต้นกำเนิดของการผูกขาดอื่น ๆ ทุกรูปแบบ ...
Karl Marx เขียนในปี 1875: ในสังคมปัจจุบันเครื่องมือของแรงงานถูกผูกขาดโดยเจ้าของที่ดิน (การผูกขาดกรรมสิทธิ์ที่ดินถึงกับเป็น มูลฐานของการผูกขาดทุน) ...
Paul Samuelson: ค่าเช่าที่ดินแท้ ๆ มีสภาพของ "ส่วนเกิน" ซึ่งอาจเก็บมาเป็นภาษีได้อย่างหนัก โดยไม่ทำให้พลังกระตุ้นการผลิต หรือประสิทธิภาพ บิดเบี้ยวไป
William Vickrey: มัน [ภาษีมูลค่าที่ดิน] เป็นสิ่งประกันว่าจะไม่มีผู้ใดพรากสิทธิของเพื่อนพลเมือง โดยการแสวงหาส่วนแบ่งที่มากเกินควร ในสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้แก่มนุษยชาติ.




 

Create Date : 05 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 16 สิงหาคม 2552 23:59:26 น.
Counter : 629 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com