ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 

เก็งกำไรอสังหาบวกสินเชื่อสะดวกเหตุวิกฤตฟองสบู่

เก็งกำไรอสังหาบวกสินเชื่อสะดวกเหตุวิกฤตฟองสบู่
(จากเรื่อง Credit Booms Gone Wrong โดย Fred E. Foldvary บรรณาธิการอาวุโส ใน The Progress Report 29 มีนาคม 2010 ที่ //www.progress.org/2010/fold658.htm เผยแพร่ต่อได้โดยระบุชื่อ Fred Foldvary และ The Progress Report)

นักเศรษฐศาสตร์สองท่าน คือ Moritz Schularick และ Alan M. Taylor ได้เขียนงานวิจัยเรื่อง “Credit Booms Gone Bust: Monetary Policy, Leverage Cycles and Financial Crises, 1870–2008" (//www.nber.org/papers/w15512 ) จัดพิมพ์โดย National Bureau of Economic Research ซึ่งเป็นการยืนยันทฤษฎีที่ว่าการเติบโตมากเกินไปของสินเชื่อเป็นตัวโหมการเฟื่องฟูของเศรษฐกิจ
.
สาเหตุสำคัญของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ได้แก่การเฟื่องฟูของสินเชื่อ ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ของ Barry Eichengreen และ Kris Mitchener ในผลงานเรื่อง “The Great Depression as a credit boom gone wrong” (BIS Working Paper No. 137, //www.bis.org/publ/work137.pdf) ผลงานนี้แจ้งว่าหนังสือ Progress and Poverty ของ Henry George ให้ทฤษฎีระยะแรก ๆ เกี่ยวกับภาวะเฟื่องฟูและแฟบฟุบ (booms and busts) โดยถือว่าการเก็งกำไรที่ดินเป็นสาเหตุ ผู้เขียนทั้งสองยังให้เครดิตแก่สำนักเศรษฐศาสตร์ออสเตรียนซึ่ง Friedrich Hayek และ Ludwig von Mises ได้พัฒนาทฤษฎีวัฏจักรธุรกิจที่ถือว่าการเฟื่องฟูของสินเชื่อเป็นสาเหตุหลัก ทฤษฎีวัฏจักรธุรกิจของเฮนรี จอร์จเป็นส่วนเติมเต็มให้แก่ทฤษฎีออสเตรียนในฐานะที่จอร์จชี้ว่าการสูงขึ้นของราคาที่ดินมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

การเพิ่มปริมาณเงินตราและสินเชื่อทำให้อัตราดอกเบี้ยต่ำลง ซึ่งชักนำให้มีการเพิ่มการผลิตและการซื้อสินค้าประเภททุนที่คงทนและที่ดิน การลงทุนและการเก็งกำไรที่สำคัญที่สุดที่รับผลกระทบคืออสังหาริมทรัพย์ การลงทุนส่วนมากได้แก่อาคารและสินค้าคงทนที่จะใช้ในอาคาร รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานสำหรับบริการอสังหาริมทรัพย์ ประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะไปทำให้ค่าเช่าและราคาที่ดินสูงขึ้น นักเก็งกำไรจึงกระโดดเข้ามาเพื่อหากำไรจากการเก็งกำไรด้วยวิธีกู้ยืม ข้อนี้ทำให้การสูงขึ้นของราคาที่ดินเป็นลักษณะที่ไม่ยั่งยืน ซึ่งทำให้อสังหาริมทรัพย์มีราคาแพงเกินไปสำหรับการใช้ประโยชน์จริง ดังนั้นขณะที่อัตราดอกเบี้ยและราคาอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้น การลงทุนก็จะเฉื่อยแล้วลดลง ผลที่ตามมาคือราคาที่ดินตก การลงทุนตก ทำให้ปริมาณงานโดยรวมลด เกิดการว่างงาน แล้วระบบการเงินก็ล่ม

เราอาจจะถามว่าทฤษฎีนี้สอดคล้องกับพยานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไหม หลักฐานด้านหนึ่งคือประวัติวัฏจักรอสังหาริมทรัพย์ที่สืบค้นโดย Homer Hoyt, Fred Harrison, และโดยข้าพเจ้าเอง [Fred Foldvary] อีกด้านหนึ่งคือประวัติการเฟื่องฟูของสินเชื่อดังที่แสดงไว้โดย Schularick และ Taylor ซึ่งได้รวบรวมชุดข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับเงินตราและสินเชื่อของประเทศและดินแดนที่พัฒนาแล้ว 12 แห่งในช่วง ค.ศ. 1870 – 2008 ท่านทั้งสองนี้ได้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการขยายสินเชื่อกับการขยายเงินตรา และนวัตกรรมทางการเงินไปเพิ่มสินเชื่ออย่างมากอย่างไร เพราะว่าการขยายสินเชื่อเป็นตัวโหมการเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจ Schularick และ Taylor จึงให้ข้อสังเกตว่าเราสามารถใช้การเฟื่องฟูของสินเชื่อเป็นเครื่องทำนายระยะตกต่ำของเศรษฐกิจได้

ฝ่ายที่นิยมเฮนรี จอร์จมุ่งความสนใจไปที่ด้านอสังหาริมทรัพย์ของภาวะเฟื่องฟูและแฟบฟุบ ขณะเดียวกันสำนักออสเตรียนก็มุ่งความสนใจไปที่สินเชื่อ อัตราดอกเบี้ย และสินค้าประเภททุน คำอธิบายที่ครบถ้วนจะต้องสังเคราะห์ทฤษฎีของทั้งสองสำนักเข้าด้วยกัน ในการจะขจัดวัฏจักรเฟื่องฟู-แฟบฟุบ เราต้องพิจารณาทั้งด้านจริง (อสังหาริมทรัพย์) และด้านการเงิน (เงินตราและสินเชื่อ)

นักเศรษฐศาสตร์สำนักออสเตรียนปัจจุบัน เช่น Larry White และ George Selgin ได้สืบค้นทฤษฎีและประวัติของการธนาคารเสรี นโยบายตลาดเสรีอย่างแท้จริงโดยการยกเลิกธนาคารกลาง รวมทั้งข้อจำกัดด้านการธนาคาร เช่น การจำกัดจำนวนสาขาและการควบคุมอัตราดอกเบี้ย ในระบบการธนาคารเสรีที่แท้ จะมีฐานของเงินตราจริง เช่น ทองคำหรือเงินตราของรัฐบาลตามปริมาณที่กำหนด ธนาคารต่าง ๆ จะออกตั๋วของตนเองซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเงินตราได้ในอัตราที่กำหนด การเปลี่ยนตั๋วเป็นเงินตราได้และโครงสร้างการธนาคารที่มีการแข่งขันจะทำให้มีอุปทานเงินตราที่ยืดหยุ่นควบคู่ไปกับเสถียรภาพด้านราคา ธนาคารจะเข้าร่วมสมาคมกันเพื่อจัดเงินกู้ให้แก่กันเมื่อธนาคารหนึ่งจำเป็นต้องได้ฐานเงินมากขึ้นเป็นการชั่วคราวหรือเป็นผู้ให้กู้ในฐานะหนทางสุดท้าย

ทั้งสมาชิกของสำนักออสเตรียนและนักเศรษฐศาสตร์ที่ได้ศึกษาการเฟื่องฟูของสินเชื่อมาแล้วต่างยังไม่เข้าใจความจำเป็นที่จะต้องป้องกันฟองสบู่ราคาที่ดินด้วยวิธีเก็บภาษีเกือบทั้งหมดของมูลค่าที่ดินรายปี นี่จะเป็นการหยุดการเก็งกำไรที่ดินและทำให้ผู้จะซื้อที่ดินไม่ต้องกู้เงินมาซื้อ

แต่บรรดานักทฤษฎีฟองสบู่สินเชื่อก็ยังไม่เข้าใจว่ากฎระเบียบทางการเงินสำหรับธนาคารกลางทั้งหลายไม่สามารถจะแก้ปัญหาด้านการเงินของภาวะฟองสบู่สินเชื่อได้ การเฟื่องฟูของสินเชื่อจะก่อปัญหาเสมอ สำนักออสเตรียนได้ชี้ให้เห็นแล้วว่าไม่มีวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้รู้ได้ถึงปริมาณเงินตราที่เหมาะสมหรืออัตราดอกเบี้ยที่เหมาะที่สุด ตลาดเสรีเท่านั้นที่จะค้นพบอัตราดอกเบี้ยที่ทำให้เกิดดุลยภาพระหว่างการออมกับการกู้ยืม และตลาดเสรีเท่านั้นที่จะทำให้เกิดดุลยภาพระหว่างอุปทานกับอุปสงค์ด้านเงินตรา

วิธีแก้ปัญหาวัฏจักรเฟื่องฟู-แฟบฟุบจึงต้องใช้ทั้งภาษีมูลค่าที่ดินและการธนาคารเสรี ถ้าใช้ระบบธนาคารเสรีอย่างเดียว การเก็งกำไรที่ดินจะลดความรุนแรงลง แต่จะยังก่อความเสียหาย เพราะนักเก็งกำไรที่ดินที่ถูกยั่วยวนจากราคาที่สูงขึ้นของที่ดินจะกู้เงินไปซื้อที่ดิน ทำให้ไม่มีสินเชื่อสำหรับการลงทุนที่ก่อผลผลิต และโดยกลับกัน ถ้าใช้ระบบภาษีมูลค่าที่ดินอย่างเดียวแต่สินเชื่อไม่มีเสถียรภาพ ก็ยังจะมีการก่อสร้างมากเกินไปและสิ้นเปลืองทรัพยากรไปในสินค้าประเภททุนประจำที่ ทำให้ทุนหมุนเวียนลด ซึ่งทุนหมุนเวียนมีความจำเป็นต่อการสร้างผลผลิตและการจ้างงานดังที่ศาสตราจารย์ Mason Gaffney เขียนไว้ ความสุขยิ่งทางเศรษฐกิจจะต้องมีทั้งการเก็บค่าเช่าที่ดินมาเป็นรายได้ของรัฐและระบบตลาดเสรีด้านเงินตรา.


เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ผสมสองทฤษฎีสกัดเศรษฐกิจฟองสบู่
//bbznet.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=46&c=1

จากเว็บเศรษฐศาสตร์เพื่อความเป็นธรรม
//utopiathai.webs.com




 

Create Date : 03 เมษายน 2553    
Last Update : 3 เมษายน 2553 8:42:49 น.
Counter : 902 Pageviews.  

เศรษฐศาสตร์แนวจอร์จ (Georgist Economics)

เศรษฐศาสตร์แนวจอร์จ (Georgist Economics)
//www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=444.0
สำนักบริการข้อมูลและสารสนเทศ > ข้อมูลเพื่อการค้นคว้า > เศรษฐศาสตร์ > เศรษฐศาสตร์แนวจอร์จ Georgist Economics
idis-staff-01 Staff Hero Member พ.ย. 28, 2009

เศรษฐศาสตร์แนวจอร์จ (เฮนรี จอร์จ) Georgist Economics ปัจจัยการผลิตแบ่งเป็น 3 ปัจจัย คือ

1.ที่ดิน
2.แรงงาน (มนุษย์)
3.ทุน

การจัดการหรือการประกอบการ ซึ่งทางบริหารมักจะถือเป็นปัจจัยที่ 4 นั้น ที่จริง คือ แรงงาน ซึ่งมีทั้งทางสมองและทางกาย

จอร์จบอกว่า ที่ดินควรเป็นของส่วนรวม รัฐทำหน้าที่เก็บภาษีที่ดิน (ก็ค่าเช่าที่ดินนั่นเอง) เอามาบำรุงส่วนรวม เพราะมูลค่าที่ดิน ส่วนใหญ่เกิดจากการมีชุมชน กิจกรรมของแต่ละคนที่กระทำ โดยสุจริต แม้จะเพื่อประโยชน์ตนเอง แต่ที่จริงเป็นความร่วมมือกัน เพื่อบำบัดความต้องการของทุกคนที่เข้ามาร่วมมือกันในการผลิตและค้าสินค้าและบริการ ส่วนมากก็โดยการแบ่งงานกันทำ (division of labour) ทำให้เกิดความรู้ความชำนาญเฉพาะอย่างแบบที่ต้องเล่าเรียนกันสูง ๆ ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้นอย่างมาก รวมทั้งเกิดเครื่องมืออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อธุรกิจและขนส่งสินค้า

การที่คนเราแต่ละคนทำเพื่อตนเองแต่ส่งผลดีต่อส่วนรวมอย่างมีประสิทธิภาพเช่นนี้ แอดัม สมิธ บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ เปรียบว่าเป็น มือที่มองไม่เห็น (invisible hand) ซึ่งเฮนรี จอร์จบอกว่าทำให้เกิดมูลค่าซึ่งเข้าไปเกาะติดอยู่กับที่ดินในชุมชน ยิ่งชุมชนหนาแน่น ยิ่งเครื่องมืออำนวยความสะดวกก้าวหน้า ประสิทธิภาพการผลิตยิ่งสูง ซึ่งก็ทำให้มูลค่าที่ดินยิ่งสูงขึ้นอีกต่อหนึ่งมูลค่านี้เป็นผลพลอยได้จากการทำเพื่อประโยชน์ของตนเองซึ่งกลายเป็นการร่วมมือกันโดยอัตโนมัติ คนไหนขายของเลวราคาแพงก็ไม่มีคนซื้อ

ลัทธิจอร์จเป็นสังคมนิยมเมื่อมองในแง่ที่ดิน

ถ้าไม่เก็บภาษีที่ดิน เจ้าของที่ดินจะได้รับประโยชน์ไปที่เรียกว่าเป็นรายได้ที่มิได้ลงทุนลงแรง (unearned income) และทำให้ต้องหันไปเก็บภาษี เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีกำไร (ซึ่งทำให้รายได้สุทธิของผู้ทำงานและผู้ลงทุนลดลง) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ทำให้ของแพง) ซ้ำกลับเกิดผลเสียใหญ่หลวงคือการเก็งกำไรเก็บกักที่ดินหวังราคาที่จะสูงขึ้นในอนาคต ไปที่ไหน ๆ ก็เจอแต่ที่ดินมีเจ้าของแล้ว ที่ดินกลายเป็นของหายาก ค่าเช่าที่อยู่ที่ทำกินมีอัตราสูงเกินกว่าระดับที่ควร (ส่วนแบ่งการผลิตสำหรับผู้ลงแรงลงทุนต่ำกว่าระดับที่ควร) ผู้คนหางานทำยาก ค่าแรงก็ต่ำ และยังทำให้วัฏจักรเศรษฐกิจแกว่งตัวรุนแรง ขาลงจะก่อความเสียหายมากมายคนจนยิ่งทุกข์ยากหนักขึ้น (วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ก็เป็นเพราะการเก็งกำไรที่ดินเหมือนครั้งก่อน ๆ แต่รุนแรงกว้างขวางขึ้นจากการมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ ขึ้นมา) เหตุดังกล่าวคือสิ่งขวางกั้นสำคัญต่อการทำงานของมือที่มองไม่เห็นของแอดัม สมิธ

แต่ลัทธิจอร์จก็เป็นแรงงานนิยมและทุนนิยมด้วยอย่างแรงเพราะต้องการให้ผู้ทำงานและผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนเต็มที่ ไม่มีภาษีประเภทที่ไปลดรายได้และไปเพิ่มรายจ่าย (ราคาสินค้า)

ถ้าเป็นไปตามลัทธิจอร์จ จะไม่มีชนชั้นเจ้าของที่ดินเพราะที่ดินเป็นของส่วนรวมด้วยวิธีการภาษีซึ่งจะขจัดความได้เปรียบเสียเปรียบจากการมีที่ดินมากน้อย ดีเลว ผิดกันให้หมดไป

นายทุนกับแรงงานมีผลประโยชน์ร่วมกัน

นายทุนกับผู้ใช้แรงงานมีผลประโยชน์ร่วมกันก็เพราะค่าแรงกับดอกเบี้ยจะสูงขึ้นหรือต่ำลงไปด้วยกัน เหตุที่ดอกเบี้ยสูงขึ้นหรือต่ำลงตามค่าแรงก็เพราะทุนกับแรงงานเป็นประหนึ่งสิ่งเดียวกัน เพราะทุนเกิดมีขึ้นได้ด้วยการใช้แรงงาน ทุนคือแรงงานในอดีต คือแรงงานที่ได้ใช้ไปแล้วเพื่อการผลิต แต่นำมาใช้ประโยชน์ภายหลัง บางท่านเรียกทุนว่า คือ แรงงานที่สะสมไว้ (Stored-up Labour)

ความต้องการใช้แรงงาน พอจะแบ่งออกได้ดังนี้

1) เพื่อบริการ
2) เพื่อผลิตโภคทรัพย์ (คือ เศรษฐทรัพย์ที่มิใช่ทุน)
3) เพื่อผลิตทุน (รวมทั้งซ่อมแซมทุนที่มีอยู่แล้วด้วย)

แรงงาน 3 ประเภทนี้เปลี่ยนแปลงถ่ายเทกันได้พอสมควร สมมติว่าปกติ อัตราส่วนระหว่างค่าแรงกับดอกเบี้ยอยู่ที่จุดสมดุลอันหนึ่ง ต่อไปถ้าเจ้าของทุนจะเรียกร้องเอาผลตอบแทน คือดอกเบี้ยสูงขึ้นหรือค่าแรงถูกกดให้ต่ำลงไปจากจุดสมดุล ความต้องการแรงงานตามข้อ 1), 2) จะมากขึ้น เพราะค่าแรงต่ำลง ความต้องการแรงงานตามข้อ 3) เพื่อผลิตทุนขึ้นมาใช้แทนแรงงาน ก็จะมากขึ้นด้วย เพราะทั้งค่าแรงก็ต่ำลง และเพื่อให้ได้ทุนซึ่งมีดอกเบี้ยสูงขึ้น แต่ความต้องการใช้ทุนจะกลับลดลง เพราะต้องเสียดอกเบี้ยสูงขึ้นในขณะเดียวกันเจ้าของทุนจะเสนอให้มีการใช้ทุนของตนมากขึ้น แต่ผู้ใช้แรงงานจะเสนอแรงงานน้อยลง

กล่าวอีกแนวหนึ่ง ถ้าเครื่องจักรกลทุ่นแรง (คือ ทุน) แพงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าแรง ผู้ประกอบการก็จะไม่ซื้อเครื่องจักรกลนั้นมาใช้ แต่จะจ้างคนทำงานแทนเครื่องจักรกลให้มากขึ้น ผลจากการนี้จะทำให้ค่าแรงกลับสูงขึ้น และดอกเบี้ยลดต่ำลงเข้าหาดุลยภาพดังเดิม

ตรงกันข้าม ถ้าดอกเบี้ยต่ำกว่าจุดสมดุล หรือค่าแรงสูงกว่า ความต้องการใช้ทุนแทนแรงงานก็จะเพิ่มขึ้น แต่ความต้องการแรงงานเพื่อผลิตทุนตามข้อ 3) จะลดลง ความต้องการแรงงานตามข้อ1), 2) ก็จะลดลงเช่นเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ดุลยภาพกลับคืนมาใหม่

คำอธิบายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า นายทุนกับผู้ใช้แรงงานมีผลประโยชน์ที่จะต้องรักษาร่วมกัน ไม่ใช่ขัดกันอย่างที่คนทั่วไปหรือคอมมิวนิสต์เข้าใจ ส่วนความพยายามที่จะให้ตนเองได้รับผลตอบแทนมากกว่าผู้อื่นหรือฝ่ายอื่น ทำให้เกิดการแก่งแย่ง การต่อรองกันนั้น ถือได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชน แต่รัฐก็ต้องออกกฎหมายและควบคุมดูแล ถ้าผู้ใดเป็น ทุนนิยม ผู้นั้นจะเป็น แรงงานนิยม ด้วย หรือจะเรียกว่าเป็นแรงงาน-ทุนนิยม ก็ได้

โปรดระลึกด้วยว่า การรับจ้างทำงานในโรงงานเป็นเพียงอาชีพเดียวในหลายๆ อาชีพของผู้ใช้แรงงาน ผู้ใช้แรงงานจำนวนไม่น้อยมิได้ทำงานในโรงงาน ผู้ใช้แรงงานหลายคนใช้ทุนของตนเอง (ถึงแม้บางคนจะต้องกู้เขามาลงทุน) เช่น ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ผู้เลี้ยงสัตว์ ช่างต่างๆ ผู้ทำอุตสาหกรรมในครอบครัว ผู้ประกอบธุรกิจหรือการค้าเล็กๆ น้อยๆ ผู้ให้บริการหรือผู้ทำการผลิตรายย่อย และบุคคลที่กล่าวแล้วนี้ก็ยังจ้างให้ผู้อื่นช่วยทำงานอยู่ด้วยไม่ใช่น้อย ขอให้ดูตัวอย่างร้านอาหารจำนวนมาก นอกจากพนักงานเดินโต๊ะแล้ว ยังมีคนครัว คนล้างชาม เป็นต้น นอกจากนั้นผู้ประกอบอาชีพหนึ่งก็อาจเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่นๆ ได้ จึงไม่ใช่ว่าผู้ใช้แรงงานจะต้องพึ่งพานายทุนเจ้าของโรงงานอย่างมากมายเกินไปนัก

ความจริงอีกข้อหนึ่ง ถ้ามีการลงทุนน้อยลง ตำแหน่งงานก็จะน้อยลง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าความร่วมมือในการผลิตระหว่างแรงงานกับทุนลดลง ประสิทธิภาพในการผลิตก็จะต่ำ พลอยทำให้ค่าแรงลดลงด้วย ซึ่งนี่ก็หมายความว่าหากมีปัจจัยใดมาทำให้ผู้ลงทุนได้กำไรน้อยลง ก็จะมีผู้ลงทุนน้อยลง ซึ่งพลอยทำให้เสียประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานไปด้วย ผลประโยชน์ของนายทุนกับผู้ใช้แรงงานจึงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ข้อคิดอีกข้อหนึ่งก็คือ ในประเทศด้อยพัฒนานั้นก็กล่าวกันว่าการมีทุนหรือเครื่องจักรกลน้อยเป็นสาเหตุของความยากจน แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศที่พัฒนาแล้วมีทุนหรือเครื่องจักรกลมากมาย ความยากจนก็มีให้ต้องคอยหาทางแก้ไขและป้องกันกันตลอดเวลา มาด้วยกฎหมายและระเบียบวิธีการต่าง ๆ

ขอกล่าวไว้ในที่นี้ด้วยว่า อัตราดอกเบี้ยของธนาคารสำหรับเงินตรา (ซึ่งถือกันว่ามิใช่ทุนที่แท้จริง) จะขึ้นลงไปตามดอกเบี้ยสำหรับทุนที่แท้จริง เพราะถ้าทุนที่แท้จริงให้ดอกเบี้ยต่ำลงก็จะไม่มีใครอยากกู้เงินจากธนาคารไปลงทุน หากอัตราดอกเบี้ยธนาคารยังสูงคงเดิม ธนาคารก็จำเป็นจะต้องลดอัตราดอกเบี้ยที่จะคิดจากผู้กู้ลง และก็จะต้องมาลดอัตราดอกเบี้ยที่คิดให้แก่ผู้ฝากลงอีกต่อหนึ่ง โดยทำนองตรงข้าม ถ้าทุนที่แท้จริงให้ผลตอบแทนสูง อัตราดอกเบี้ยธนาคารก็จะสูงขึ้นด้วย



นายทุนกับผู้ใช้แรงงานปัจจุบันจะดูเหมือนอยู่กันคนละฝ่าย

นายทุนกับผู้ใช้แรงงานปัจจุบันจะดูเหมือนอยู่กันคนละฝ่าย แต่ที่จริง นายทุนกับผู้ใช้แรงงานอยู่ฝ่ายเดียวกัน และมีเจ้าของที่ดินอยู่ฝ่ายตรงกันข้าม ฝ่ายนี้ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นๆ จากราคา-ค่าเช่าที่ดิน(ไม่รวมอาคารซึ่งถือเป็นทุน) ที่สูงขึ้นจากความเจริญก้าวหน้าทั้งหลาย และบริการสาธารณะที่ใช้ภาษีจากราษฎรทั่วไป ส่วนใหญ่ภาษีได้จากการลงทุนลงแรงผลิตและแลกเปลี่ยนขายซื้อ ซึ่งการลงทุนลงแรงดังนี้ถูกหลักของการแบ่งงานกันทำ อันเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสนองความต้องการของตนเองและเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ก่อให้เกิดความอยู่ดีกินดี และอารยธรรม ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของรัฐเอง รัฐจึงควรสนับสนุน และจึงไม่ควรเก็บภาษีจากการลงทุนลงแรงผลิตและแลกเปลี่ยนขายซื้อ แต่ควรเก็บภาษีจากการถือครองที่ดิน

นอกจากค่าเช่า-ราคาที่ดินจะสูงขึ้นด้วยความเจริญก้าวหน้าทั้งหลายและบริการสาธารณะ ตลอดจนการมีพลเมืองหนาแน่นขึ้นแล้ว ยังเป็นเพราะการเก็งกำไรเก็บกักปิดกั้นที่ดินไว้อีกอย่างหนึ่ง ทำให้ส่วนแบ่งที่ไปสู่เจ้าของที่ดินนั้นสูงเกินกว่าที่ควร และนายทุนและผู้ใช้แรงงานได้รับน้อยกว่าที่ควร ซึ่งนายทุนต้องรับหน้าอยู่ ทำให้ดูเหมือนนายทุนเป็นผู้กดค่าแรง จึงดูเหมือนเป็นฝ่ายตรงข้ามกับผู้ใช้แรงงาน แต่ก็มีนายทุนที่ขูดรีดผู้ใช้แรงงานได้จริง เพราะผู้ใช้แรงงานอ่อนแอมาแล้วจากการต้องจ่ายค่าเช่าสูงเกินกว่าที่ควร และต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มในรูปของสินค้าที่แพงขึ้น เมื่อถึงคราววิ่งหางาน นายจ้างกำหนดค่าแรงเท่าไรก็ต้องรับไว้ก่อน มิฉะนั้นอาจอดตาย เมื่อไปขอกู้เงิน นายทุนเงินกู้เรียกดอกเบี้ยโหด ๆ ก็ต้องยอม ฯลฯ

แต่เมื่อมีการใช้ระบบภาษีที่ดินเต็มที่และเลิกภาษีจากการลงแรงลงทุน คนจนผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่จะมีฐานะดีขึ้น ไม่ต้องพึ่งนายจ้างและนายทุนเงินกู้อย่างมากอีกต่อไป

คนหนึ่งๆ อาจเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้ง 3 อย่าง (ที่ดิน แรงงาน ทุน) หรือ 2 อย่างก็ได้ แต่ในการพิจารณาให้เกิดความเข้าใจ เราก็จะต้องแยกพิจารณากันเป็นส่วนๆ ไป.


แก้ปัญหาที่ดินได้ปัญหานายทุนกดค่าแรงจะหมดไปด้วย

ชนชั้นปัจจุบันยังไม่ได้เหลือสอง คือ ผู้ใช้แรงงาน กับ นายทุน เท่านั้น ชนชั้นเจ้าของที่ดินยังมีอยู่และมีอิทธิพลสูง เฉพาะชนชั้นเจ้าของที่ดินเท่านั้นที่ขัดผลประโยชน์กับผู้ใช้แรงงาน และขัดผลประโยชน์กับนายทุนด้วย ที่จริง คนเดียวอาจเป็น ๒ หรือทั้ง ๓ ฐานะ คือ เจ้าของที่ดิน ผู้ใช้แรงงาน และ นายทุน (ผู้ประกอบการคือผู้ใช้แรงงาน ซึ่งใช้แรงสมองเป็นส่วนมาก) แต่เมื่อจะพิจารณาเรื่องเช่นนี้ เราก็ต้องแยกทั้ง ๓ ฐานะออกจากกัน

คนในสังคมไม่ว่าจะชนชั้นไหนไม่ควรจะต้องเป็นศัตรูทำลายล้างกัน ระบอบประชาธิปไตยขณะนี้ได้พัฒนาขึ้นมากแล้ว ภาคประชาชนก็เข้ามีส่วนร่วมตรวจสอบพฤติการณ์ของฝ่ายบริหารอย่างแข็งขันขึ้น ขอเพียงให้วิธีแก้ไขอย่างถูกต้องในปัญหาความไม่เป็นธรรมด้านที่ดินและภาษี อันเป็นฐานรากที่แผ่กว้างทั่วสังคมมนุษย์ ได้เป็นที่รู้กันแพร่หลายเท่านั้น แล้วประชาธิปไตยจะแก้ไขนำความอยู่ดีกินดีมาให้เอง

น่าเสียดายที่รัสเซียและประเทศในยุโรปตะวันออกซึ่งได้ละทิ้งระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ส่วนมากไม่ได้คิดดึงเอาที่ดินไว้เป็นของรัฐต่อไป ถ้าประเทศเหล่านี้เพียงแต่เก็บภาษีเท่ากับค่าเช่าที่ดินตามที่ประเมินได้ว่าควรจะเป็นเท่าใด (ซึ่งย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ทำเล) ไม่ว่าผู้ถือครองจะให้เช่าหรือใช้ทำประโยชน์เองหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งค่าภาคหลวงจากการนำทรัพยากรธรรมชาติขึ้นมาใช้ประโยชน์ (ซึ่งเป็นแบบหนึ่งของภาษีที่ดิน) ที่ส่วนใหญ่จะได้จากการลงทุนของต่างชาติ ก็จะได้ภาษีมากพอที่จะยกเลิกภาษีอื่น ๆ ได้หลายอย่าง (รวมทั้งภาษีเงินได้ และภาษีที่มีแต่ไปเพิ่มราคาสินค้าให้แพงขึ้น) ซึ่งก็จะทำให้ผู้ทำงานมีเงินได้สุทธิเพิ่มขึ้น และของกินของใช้ราคาถูกลง ก่อความอยู่ดีกินดีแก่คนหมู่มาก แต่มีคนเตือนว่านักลงทุนต่างชาตินั่นแหละจะล้อบบี้ไม่ให้ตนเองต้องจ่ายภาษีที่ดิน

ระบบปัจจุบันเอื้ออำนวยให้เจ้าของที่ดินได้รับประโยชน์ไปโดยไม่ต้องทำอะไร วันเวลาผ่านไป บ้านเมืองเจริญขึ้น ราคา/ค่าเช่าที่ดินก็สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ใคร ๆ ที่พอมีเงินเห็นดังนี้ก็พากันซื้อหาที่ดินเก็บกักกันไว้ หวังราคา/ค่าเช่าที่จะสูงขึ้น เป็นการรวมหัวผูกขาดที่กว้างขวางที่สุดโดยไม่ต้องนัดหมาย ไปที่ไหน ๆ ก็เจอแต่ที่ดินมีเจ้าของแล้วแทบทั้งนั้น คนจนก็ยิ่งลำบากมากขึ้นในการจะขวนขวายหาที่ดินเป็นของตนเอง มิหนำซ้ำยังต้องจ่ายค่าเช่าสูงขึ้นเพราะการเก็งกำไรเก็บกักที่ดินกันทั่วไปนี้

การที่เจ้าของที่ดินแต่ละคนมีที่ดินมากเกินส่วนเฉลี่ยย่อมเป็นการบั่นทอนสิทธิในที่ดินของคนส่วนที่เหลือ ซึ่งที่ดินนั้นจำเป็นเสมอต่อการเป็น “ที่อยู่อาศัย” และ “ประกอบอาชีพ”

ที่ดินเป็นเงื่อนไขของชีวิต ขาดที่ดิน ชีวิตก็ดับ

การซื้อที่ดินมิใช่การลงทุนที่แท้จริง แต่เป็นเพียงการสืบต่อสิทธิในสิ่งที่ไม่ได้เกิดจากการลงทุนลงแรงผลิต หากราชการเก็บภาษีเท่าค่าเช่าที่ดินประเมิน โดยมีการประเมินใหม่เป็นระยะ ๆ การเก็งกำไรที่ดินจะหายไป ราคา/ค่าเช่าที่ดินส่วนที่สูงเกินจริงจะหายไป ที่ดินจะเปิดออกให้คนได้เข้าทำกินมากขึ้น และการเลิก/ลดภาษีอื่น ๆ จะเป็นแรงกระตุ้นจูงใจให้มีการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น การต้องพึ่งพานายจ้างจะลด การว่างงานจะลด การต้องแย่งกันหางานทำจะลด ค่าแรงจะสูงขึ้น ซึ่งเป็นส่วนที่มาจากการลดของราคา/ค่าเช่าที่ดินและส่วนที่เจ้าของที่ดินเคยได้ไป นายทุนเองก็จะไม่สามารถกดค่าแรงไว้ได้เหมือนแต่ก่อนอีกต่อไป แต่นายทุนก็ได้ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนต่อทุนสูงขึ้น เหมือนค่าแรง จากการที่ราคา/ค่าเช่าที่ดินลดและการลดภาษีอื่น ๆ

แต่การเปลี่ยนแปลงฮวบฮาบจะก่อความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดิน การเปลี่ยนแปลงระบบภาษีเช่นนี้จึงควรค่อยเป็นค่อยไป อาจใช้เวลา ๒๐–๓๐ ปี ซึ่งเจ้าของที่ดินจะต้องเปลี่ยนฐานะเป็นนายทุนหรือผู้ใช้แรงงานไป

คาร์ลมาร์กซ์กล่าวไว้ว่า Monopoly of land is the basis of monopoly in capital.
นี่แปลว่า ถ้า Monopoly of land หมดไปแล้ว ก็ไม่มี monopoly in capital ใช่ไหม ?
นั่นคือ นายทุนจะไม่สามารถกดค่าแรงไว้ได้

จากเว็บเศรษฐศาสตร์เพื่อความเป็นธรรม //geocities.com/utopiathai (ปัจจุบัน 12 มี.ค. 53 เปลี่ยนเป็น //utopiathai.webs.com )

ค้นจาก //www.bloggang.com/viewblog.php?id=utopiathai&date=20-12-2008&group=1&gblog=58

วันที่ 28 พ.ย. 52




 

Create Date : 12 มีนาคม 2553    
Last Update : 12 มีนาคม 2553 8:21:04 น.
Counter : 823 Pageviews.  

ภาษีเงินได้ ภาษีการผลิตและค้า กับ ภาษีที่ดิน

ภาษีเงินได้ ภาษีการผลิตและค้า กับ ภาษีที่ดิน

ถ้าเราพยายามมุ่งลด-เลิกภาษีเงินได้และภาษีจากการลงแรงลงทุนก่อผลผลิตและบริการ รวมทั้งการค้าขายแลกเปลี่ยน ผลคือรายได้สุทธิของผู้คนจะมากขึ้น แต่รายจ่ายลดเพราะราคาสินค้าลด
คนเราจะอยู่ดีกินดีขึ้น จะเกิดแรงกระตุ้นให้มีการผลิตการค้ามากขึ้น การว่างงานจะลด
และถูกหลักยุติธรรมด้วย เพราะผลตอบแทนจากการลงแรงลงทุนผลิตของใครก็ควรเป็นของผู้นั้น

แต่มนุษย์ไม่ได้ผลิตที่ดิน และมูลค่าที่ดินเกิดจากส่วนรวม เช่น การมารวมกันเป็นชุมชน การแลกเปลี่ยนค้าขายช่วยให้คนในชุมชนสะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลาทำงานหลายอย่างสนองความต้องการของตนเอง แต่เล่าเรียนฝึกฝนรู้และชำนาญทำงานเฉพาะทางช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพ แล้วซื้อสิ่งอื่น ๆ จากผู้อื่นซึ่งก็มุ่งทำงานเฉพาะทางเหมือนกัน เป็นการช่วยเหลือกันไปมา ผลที่สุดชุมชนก็เจริญขึ้น สิ่งที่ตามมาคือที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้น ที่ดินว่าง ๆ มีหญ้ารก 100 ตารางวาราคาเป็นล้าน

จึงเกิดการเก็งกำไร แทบทุกคนพอมีเงินก็จะซื้อที่ดินเก็บไว้ก่อนทั้งที่ยังไม่ได้คิดจะใช้ประโยชน์นอกจากหวังความมั่นคงของตนเองจากการสูงขึ้นของราคาที่ดิน ค่าเช่า-ราคาที่ดินจึงยิ่งสูง ผลที่ดามมาคือ ค่าแรงและผลตอบแทนทุนต่ำกว่าที่ควรเป็น

นี่เป็นเพราะรัฐเก็บภาษีที่ดินน้อยไป ซึ่งซ้ำร้ายต้องเก็บภาษีเงินได้และภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้าแทน

คนจนจึงยิ่งลำบาก เดือดร้อน ออกพ้นจากความยากจนได้ยาก เพราะระบบภาษีของรัฐทำให้เกิดความยากจน

ถ้าให้รัฐค่อย ๆ เพิ่มภาษีที่ดินและลด-เลิกภาษีจากการลงแรงลงทุนผลิตและค้าและภาษีเงินได้
ไทยจะกลายเป็นสวรรค์ในสายตาของนักลงทุน พวกเขาจะแห่กันมาขอลงทุนในประเทศไทย รวมทั้งคนที่หนีภาษีเงินได้สูง ๆ จากบางประเทศของตนเอง เช่น ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียที่ใช้ระบบรัฐสวัสดิการและเก็บภาษีเงินได้อัตราก้าวหน้ามาก ๆ ก็จะเปลี่ยนทิศมุ่งไทยแทน แต่แรงงานต่างชาติก็จะทะลักเข้ามาทำงานในไทยเหมือนกัน ทั้งแบบถูกกฎหมายและแบบผิด เรื่องนี้คงต้องพิจารณากันให้รอบคอบว่าจะมีนโยบายกีดกันกันแค่ไหน

เมื่อเงินต่างประเทศเข้ามามาก ค่าเงินบาทก็แข็ง ที่จริงเป็นการดี คนไทยจะได้ซื้อของถูก และเรื่องอย่างนี้คาดการณ์กันได้อยู่แล้ว ก็น่าจะทำประกันการเปลี่ยนแปลงค่าเงินไว้สำหรับผู้ส่งออก แต่สำหรับคนที่เห่อสินค้านอกที่ฉลาดจะรอเวลาไว้ซื้อปีหลัง ๆ เพราะปีแรก ๆ ภาษีสินค้าเข้าจะยังไม่ลดลงมากเพื่อให้สอดประสานกับภาษีที่ดินที่ยังเก็บไม่ได้อัตราสูงนัก ก็นับเป็นการทยอยซื้อ ไม่ใช่โหมซื้อสินค้านอก แต่สินค้าไทยเองจะค่อย ๆ ราคาต่ำลงเพราะต้นทุนต่ำลงจากการลดจำพวกภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีแรงกระตุ้นการผลิตจากการลดภาษีเงินได้และภาษีกำไร รวมทั้งการปลดปล่อยที่ดินออกมาในราคาต่ำลงให้คนทั่วไปหาที่ดินทำกินเป็นของตนเองได้ง่ายขึ้น

นี่คือการเพิ่มความสามารถแข่งขันให้แก่สินค้าไทย ซึ่งเมื่อถึงที่สุด คือเมื่อเก็บภาษีที่ดินได้เต็มที่และเลิกภาษีจากการทำงานและการลงทุนหมดแล้ว ไทยทั้งประเทศจะกลายเป็นเมืองปลอดภาษี (ภาษีที่ดินนั้นที่จริงไม่ใช่ภาษี แต่คือค่าเช่าที่ดิน โดยถือว่าที่ดินเป็นของส่วนรวม) ชาวโลกก็จะพากันมาเที่ยว มาจับจ่ายใช้สอยหาซื้อสินค้าราคาถูกแข่งกับสิงคโปร์ ฮ่องกง คนไทยก็จะมีงานที่รายได้ดีมากขึ้น

และเมื่อคนทั่วไปหาที่ดินทำกินเป็นของตนเองได้ง่ายขึ้นในราคาต่ำลง ต้นทุนของเขาก็ต่ำลง ส่วนหนึ่งจะต้องการลูกมือมาช่วยทำงาน จำนวนคนที่ต้องง้อของานจากนายจ้างตามโรงงานจะลดลง การกดค่าแรงโดยไม่เป็นธรรมจะลดความรุนแรงลง

โอกาสเลือกตั้งผู้แทนครั้งต่อ ๆ ไปขอให้พวกเราภาคประชาชนช่วยกันเลือกผู้ที่สัญญาว่าจะมุ่งเพิ่มภาษีที่ดินและลดภาษีเงินได้และภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้าลงทุกครั้งนะครับ นี่คือวิถีทางสันติและประชาธิปไตยที่ควรบอกต่อกันไปครับ

จากเว็บเศรษฐศาสตร์เพื่อความเป็นธรรม
//utopiathai.webs.com




 

Create Date : 05 มีนาคม 2553    
Last Update : 5 มีนาคม 2553 9:45:00 น.
Counter : 693 Pageviews.  

แก้ปัญหาที่ดินได้ ปัญหานายทุนขูดรีดแรงงานจะหมดไปด้วย

แก้ปัญหาที่ดินได้ ปัญหานายทุนขูดรีดแรงงานจะหมดไปด้วย
(ยินดีให้เผยแพร่ต่อ ด้วยความขอบคุณ - สุธน หิญ)

ชนชั้นปัจจุบันยังไม่ได้เหลือสอง คือ ผู้ใช้แรงงาน กับ นายทุน เท่านั้น ชนชั้นเจ้าของที่ดินยังมีอยู่ และมีอิทธิพลสูง เฉพาะชนชั้นเจ้าของที่ดินเท่านั้นที่ขัดผลประโยชน์กับผู้ใช้แรงงาน และขัดผลประโยชน์กับนายทุนด้วย

ที่จริง คนเดียวอาจเป็น ๒ หรือทั้ง ๓ ฐานะ คือ เจ้าของที่ดิน ผู้ใช้แรงงาน และ นายทุน (ผู้ประกอบการคือผู้ใช้แรงงาน ซึ่งใช้แรงสมองเป็นส่วนมาก) เมื่อจะพิจารณาเรื่องเช่นนี้ เราก็ต้องแยกทั้ง ๓ ฐานะออกจากกัน

คนในสังคมไม่ว่าจะชนชั้นไหนไม่ควรจะต้องเป็นศัตรูทำลายล้างกัน ระบอบประชาธิปไตยขณะนี้ได้พัฒนาขึ้นมากแล้ว ภาคประชาชนก็เข้ามีส่วนร่วมตรวจสอบพฤติการณ์ของฝ่ายบริหารอย่างแข็งขันขึ้น ขอเพียงให้วิธีแก้ไขอย่างได้ผลในปัญหาความไม่เป็นธรรมด้านที่ดินและภาษี อันเป็นฐานรากที่แผ่กว้างทั่วสังคมมนุษย์ ได้เป็นที่รู้กันแพร่หลายเท่านั้น แล้วประชาธิปไตยจะแก้ไขนำความอยู่ดีกินดีมาให้เอง

น่าเสียดายที่รัสเซียและประเทศในยุโรปตะวันออกซึ่งได้ละทิ้งระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ส่วนมากไม่ได้คิดดึงเอาที่ดินไว้เป็นของรัฐต่อไป ถ้าประเทศเหล่านี้เพียงแต่เก็บภาษีเท่ากับค่าเช่าที่ดินตามที่ประเมินได้ว่าควรจะเป็นเท่าใด (ซึ่งย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ทำเล) ไม่ว่าผู้ถือครองจะให้เช่าหรือใช้ทำประโยชน์เองหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งค่าภาคหลวงจากการนำทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขึ้นมาใช้ประโยชน์ (ซึ่งเป็นแบบหนึ่งของภาษีที่ดิน) ที่ส่วนใหญ่จะได้จากการลงทุนของต่างชาติ ก็จะได้ภาษีมากพอที่จะยกเลิกภาษีอื่น ๆ (โดยเฉพาะคือ ภาษีเงินได้ และภาษีที่มีแต่ไปเพิ่มราคาสินค้าให้แพงขึ้น) ซึ่งก็จะทำให้ผู้ทำงานมีเงินได้สุทธิเพิ่มขึ้น และของกินของใช้ราคาถูกลง ก่อความอยู่ดีกินดีแก่คนหมู่มาก

แต่มีคนเตือนว่านักลงทุนต่างชาตินั่นแหละจะล้อบบี้ไม่ให้ตนเองต้องจ่ายภาษีที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ

ระบบปัจจุบันเอื้ออำนวยให้เจ้าของที่ดินได้รับประโยชน์ไปโดยไม่ต้องทำอะไร วันเวลาผ่านไป บ้านเมืองเจริญขึ้น ราคา/ค่าเช่าที่ดินก็สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ

ใคร ๆ ที่พอมีเงินเห็นดังนี้ก็พากันซื้อหาที่ดินเก็บกักกันไว้ หวังราคา/ค่าเช่าที่จะสูงขึ้น เป็นการรวมหัวผูกขาดที่กว้างขวางที่สุดโดยไม่ต้องนัดหมาย ไปที่ไหน ๆ ก็เจอแต่ที่ดินมีเจ้าของแล้วแทบทั้งนั้น ส่วนใหญ่รกร้างหรือทำประโยชน์น้อยเกินไป คนจนก็ยิ่งลำบากมากขึ้นในการจะขวนขวายหาที่ดินเป็นของตนเอง มิหนำซ้ำยังต้องจ่ายค่าเช่าสูงขึ้นเพราะการเก็งกำไรเก็บกักที่ดินกันทั่วไปนี้

การที่เจ้าของที่ดินแต่ละคนมีที่ดินมากเกินส่วนเฉลี่ยย่อมเป็นการบั่นทอนสิทธิเข้าถึงที่ดินของคนส่วนที่เหลือ ซึ่งที่ดินนั้นจำเป็นเสมอต่อการเป็น “ที่อยู่อาศัย” และ “ประกอบอาชีพ”

ที่ดินเป็นเงื่อนไขของชีวิต ขาดที่ดิน ชีวิตก็ดับ

การซื้อที่ดินมิใช่การลงทุนที่แท้ (การลงทุนที่แท้คือการลงทุนที่ก่อผลผลิตและบริการ) แต่เป็นเพียงการสืบต่อสิทธิในสิ่งที่ไม่ได้เกิดจากการลงทุนลงแรงผลิต

หากราชการเก็บภาษีเท่าค่าเช่าที่ดินประเมิน โดยมีการประเมินใหม่เป็นระยะ ๆ การเก็งกำไรที่ดินจะหายไป ราคา/ค่าเช่าที่ดินส่วนที่สูงเกินจริงจะหายไป ที่ดินจะเปิดออกให้คนได้เข้าทำกินมากขึ้น และการเลิก/ลดภาษีอื่น ๆ จะเป็นแรงกระตุ้นจูงใจให้มีการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น การต้องพึ่งพานายจ้างจะลด การว่างงานจะลด การต้องแย่งกันหางานทำจะลด นายทุนจะกลับต้องเป็นฝ่ายวิ่งหาคนงาน ค่าแรงจะสูงขึ้น ซึ่งเป็นส่วนที่มาจากการลดของราคา/ค่าเช่าที่ดินและส่วนที่เจ้าของที่ดินเคยได้ไป นายทุนจะไม่สามารถกดค่าแรงไว้ได้เหมือนแต่ก่อนอีกต่อไป แต่นายทุนก็จะได้ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนต่อทุนสูงขึ้น เหมือนค่าแรง จากการที่ราคา/ค่าเช่าที่ดินลดและการลดภาษีอื่น ๆ

แต่การเปลี่ยนแปลงฮวบฮาบจะก่อความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดิน การเปลี่ยนแปลงระบบภาษีเช่นนี้จึงควรค่อยเป็นค่อยไป อาจใช้เวลา ๒๕–๓๐ ปี ซึ่งในที่สุดเจ้าของที่ดินจะต้องเปลี่ยนฐานะเป็นนายทุนหรือผู้ใช้แรงงานไป หรือใช้เงินทองหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ตนสะสมไว้

*
*

คาร์ลมาร์กซ์กล่าวไว้ว่า Monopoly of land is the basis of monopoly in capital.
นี่แปลว่า ถ้า Monopoly of land หมดไปแล้ว ก็ไม่มี monopoly in capital ใช่ไหมครับ ?
นั่นคือ นายทุนจะไม่สามารถกดค่าแรงไว้ได้

จากเอกสารเรื่อง Henry George and Karl Marx ที่ Frank McEachran เสนอในการประชุมระหว่างประเทศของกลุ่มผู้นิยมจอร์จที่ลอนดอนในเดือนกันยายน ค.ศ.1936 //www.cooperativeindividualism.org/mceachran_hgeorge_and_kmarx
มีข้อความตอนหนึ่งว่า พวกเสรีนิยมอ้าง และแม้แต่มาร์กซ์เองก็เห็นด้วย ว่ามูลฐานหลักของการขูดรีดโดยทางประวัติศาสตร์คือ การกั้นรั้วล้อมที่ดิน และถ้าที่ดินเป็นเสรีอย่างแท้จริง [น่าจะหมายถึงไม่ถูกเก็งกำไรเก็บกักไว้] การผูกขาด “มูลค่าส่วนเกิน” ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้
(The Liberals claim and even Marx himself agreed, that the fundamental basis of exploitation was "historically land enclosure and that if the land had been really free no monopoly of "surplus value" could have grown up.)

*
*

ความคิดข้างต้นนั้นส่วนใหญ่ได้มาจากหนังสือ Progress and Poverty ของ Henry George
ในหลายประเทศขณะนี้มีสถาบันต่าง ๆ ตั้งขึ้น ส่วนใหญ่เพื่อให้การศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์และปรัชญาสังคมตามแนวของ Henry George โดยไม่มุ่งหวังกำไร บางส่วนก็ทำงานวิจัยในเรื่องบทบาทของที่ดินต่อเศรษฐกิจและความเหมาะสมของการถือเอามูลค่าที่ดินเป็นฐานภาษี บ้างก็เผยแผ่เรื่องภาษีมูลค่าที่ดินรวมทั้งการพิมพ์เอกสารที่เกี่ยวข้อง
รายการบุคคล/องค์กรที่สนับสนุนแนวคิดแบบเฮนรี จอร์จ ทั่วโลก //www.progress.org/cgo/showcgo.php
เชิญเรียนเศรษฐศาสตร์ภาษาอังกฤษสั้น ๆ ทางอินเทอร์เนต หรือจะแค่อ่านเองก็ได้ ที่ //www.henrygeorge.org
ท่านที่สนใจหนังสือ Progress and Poverty ที่เขียนไว้ตั้งแต่ ค.ศ. 1879 จะอ่านได้ที่ //www.schalkenbach.org/library/george.henry/ppcont.html
ภาคไทย คือ ความก้าวหน้ากับความยากจน ขึ้นเว็บที่ //utopiathai.webs.com/ProgressAndPoverty.html


ในการเลือกตั้งผู้แทนครั้งต่อไป ขอให้พวกเราช่วยกันเลือกผู้ที่เขาสัญญาว่าจะมุ่งสนับสนุนการเพิ่มภาษีที่ดิน และลด-เลิกภาษีจากการลงแรงลงทุนที่ก่อผลผลิตและบริการ รวมทั้งการค้าขายแลกเปลี่ยน ด้วยนะครับ

นี่คือวิธีแก้ปัญหาความยากจนซึ่งเกิดจากระบบที่ไม่เป็นธรรมของรัฐเอง (แทบทุกรัฐ) โดยสันติ

จากเว็บเศรษฐศาสตร์เพื่อความเป็นธรรม
//utopiathai.webs.com

ขอบคุณครับ




 

Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2553    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2553 23:03:19 น.
Counter : 842 Pageviews.  

ภาษีทรัพย์สินแก้ไขอีกนิด เศรษฐกิจจะอุดมโภคา

(ทั้งสนับสนุนและคัดค้านท่านกรณ์ตามข่าวใน //www.bangkokbiznews.com/home/detail/property/property/20100115/95529/กรณ์-สั่งลุยภาษีทรัพย์สิน.html )

ภาษีที่ดินควรเป็นภาษีที่เก็บแทนภาษีเงินได้และภาษีจากการผลิตสินค้าและบริการ รวมทั้งการค้าขาย เพราะมูลค่าหรือค่าเช่าที่ดินนั้นไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าของที่ดิน แต่เกิดจากการมีชุมชน กิจกรรมของส่วนรวม รวมทั้งการเสียภาษีต่างๆ ที่รัฐเรียกเก็บ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทำให้การประกอบอาชีพและการกินอยู่ทำได้สะดวกรวดเร็วปลอดภัย ฝรั่งจึงเรียกมูลค่าหรือค่าเช่าที่ดินว่า unearned income หรือ unearned increment

การเก็บภาษีที่ดินแทนภาษีจากการลงแรงลงทุนเช่นนี้ ที่จริง โดยหลักของสำนักจอร์จ ก็คือเมื่อเปลี่ยนแปลงเสร็จสิ้นแล้ว สมมุติว่าค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อย ใช้เวลา 30 ปี ภาษีที่ดินจึงเท่าหรือเกือบเท่ากับค่าเช่าศักย์หรือค่าเช่าที่ควรจะเป็นของที่ดินนั้นๆ ทางปฏิบัติก็คือ รัฐเป็นเจ้าของที่ดิน ส่วนจ้าของที่ดินแต่ละรายกลายเป็นผู้เช่านั่นเอง นี่เป็นข้อเดียวที่จะกล่าว (หา) ได้ว่าเฮนรี จอร์จเป็นสังคมนิยม (แต่พยายามอย่ายุ่งเกี่ยวกับการจัดคนให้ไปอยู่ในที่ดินตามพื้นที่ต่างๆ ให้เขามีสิทธิเลือกที่ดินของเขาเองดีที่สุด)

มีภาษีเกี่ยวกับที่ดิน (ทรัพยากรธรรมชาติ) ที่ควรเก็บอีก 2 อย่าง คือ ค่านำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้หมดเปลืองไป และ ค่าชดเชยก่อมลพิษแก่สิ่งแวดล้อม

ส่วนกิจการอื่นๆ เอกชนทำได้โดยเสรี ไม่มีภาษีอะไรที่จะต้องจ่าย ทำมาหาได้เท่าไรเป็นของตนเองทั้งหมด ไม่ต้องยื่นแบบเพื่อชำระภาษี แม้กระทั่งภาษีที่ดิน (ภาษีสิ่งปลูกสร้างก็ไม่เก็บ) โดยภาษีที่ดินนั้นรัฐมีโฉนดหรือใบสำคัญอื่นๆ เป็นหลักฐานอยู่แล้วหรือสามารถตรวจสอบเองได้และต้องตั้งแผนที่แสดงราคาประเมินให้เห็นกันทั่วเพื่อความโปร่งใส เช่น ตั้งแสดงไว้ที่แต่ละอำเภอ

เมื่อเก็บภาษีที่ดินเท่ากับค่าเช่าที่ควรเป็น ก็เกิดความยุติธรรม เพราะความได้เปรียบเสียเปรียบกันเนื่องจากการครองที่ดินมากน้อยดีเลวผิดกันจะหมดไป ไม่ต้องจัดสรรที่ดินให้ใคร เพราะตามระบบใหม่นี้ ผู้คนจะไม่ถือครองเก็บกักที่ดินไว้ จนกว่าจะเห็นว่าสามารถทำประโยชน์หรือใช้ที่ดินได้คุ้มกับภาษีที่ดินที่จะต้องจ่าย ที่ดินจะกลายเป็นของหาง่ายและราคาถูก
(เมื่อภาษีเท่ากับค่าเช่าที่ควรเป็น ตามทฤษฎีราคาที่ดินจะเท่ากับศูนย์ เพราะการมีที่ดินเกินกว่าที่ตนจะใช้ประโยชน์ได้คุ้ม จะไม่ก่อประโยชน์อันใดให้แก่เจ้าของที่ดินอีกค่อไป มีแต่จะขาดทุนเพราะต้องจ่ายภาษีที่ดิน)

เมื่อที่ดินกลายเป็นของหาง่ายและราคาถูกแสนถูก ก็ไม่มีเหตุผลที่รัฐจะต้องลงโทษเจ้าของที่ดินให้มากขึ้นไปอีกโดยเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าสำหรับผู้มีที่ดินมากหรือไม่ใช้ประโยชน์เป็นเวลานาน (ถึงไม่กำหนดไว้ก็ไม่มีใครเขาจะเก็บที่ดินไว้มากๆ หรือนานๆ ให้เสียภาษีที่ดินไปเปล่าๆ หรอก)
อีกประการหนึ่ง ครอบครัวที่เขาตั้งบริษัทกันเป็นว่าเล่น แล้วแต่ละบริษัทก็มีที่ดินกันมากบ้างน้อยบ้างนั้น (แบ่งที่ดินให้มีขนาดเล็กลง) รัฐมีหนทางแก้เกมแล้วหรือยังครับ ?
เชอร์ชิลล์บอกไว้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ประสงค์จะทำให้ประชาชนเกิดความเกลียดชังชนชั้นหนึ่งชั้นใดขึ้น ข้าพเจ้ามิได้คิดว่าผู้ที่หาเงินจากส่วนเพิ่มจากที่ดินอันมิใช่เกิดจากการลงแรงลงทุนนั้นเลวกว่าบุคคลอื่นที่หากำไรเท่าที่อาจจะหาได้ในโลกที่มีความลำบากนี้โดยไม่เป็นการผิดกฎหมายและเป็นไปตามที่ปฏิบัติกันทั่วไป ที่ข้าพเจ้าโจมตีนั้นไม่ใช่บุคคล แต่เป็นระบบ” (วาทะของนักคิดเรื่องที่ดินและการกระจายรายได้ //bbznet.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=182&c=1)

และรัฐก็ไม่ต้องเสียเงินตั้งธนาคารที่ดินเพื่อช่วยคนจน โดยเฉพาะเมื่อปรากฏชัดแจ้งตลอดเวลามาว่า เจ้าหน้าที่รัฐนั่นแหละหาโอกาสฉ้อราษฎร์บังหลวงอยู่ตลอดเวลา

ความคิดที่ว่าจะมีการยกเว้นสำหรับที่ดินขนาดเล็กมูลค่าต่ำนั้น ก็ไม่ควรยกเว้น เพราะจะเสียความยุติธรรมไปเหมือนกันกับการเก็บภาษีก้าวหน้าสำหรับคนหรือบริษัทที่มีที่ดินมาก ขอให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับธุรกิจทั่วไป อย่าใช้วิธีพิจารณาฐานะลูกค้า ธุรกิจคือธุรกิจ อีกประการหนึ่งคือ เราต้องการเงินสำหรับงบประมาณแผ่นดิน ถ้ามีการลดหย่อน ยกเว้น ก็จะต้องเก็บภาษีจากการลงแรงลงทุนผลิตและค้าต่อไป เป็นอันเสียความมุ่งหมาย

เรื่องภาษีมรดกที่ท่านกรณ์ขอรอไว้ก่อนนั้นดีแล้วครับ เพราะมรดกส่วนใหญ่คือที่ดินนั่นเอง เครื่องจักร โรงงาน บ้านเรือนซึ่งเป็นของที่ลงแรงลงทุนสร้างถือว่าเป็นของเอกชนที่เขาควรมีสิทธิเต็มที่ และต้องอาศัยตั้งอยู่บนที่ดิน ซึ่งจะต้องเสียภาษีตามระบบใหม่อยู่แล้ว อีกส่วนหนึ่งคือของเล็กๆ ที่มีมูลค่าสูงก็เลี่ยงภาษีง่ายและก็ไม่ควรต้องถูกเก็บภาษี เพราะมันไม่ได้ไปขัดขวางการทำมาหาเลี้ยงชีวิตของใคร (ตรงข้ามกับการเก็บกักที่ดิน)

ซ้ำคนจนทั้งหลายก็จะไม่ต้องเสียภาษีอื่นๆ ทำให้สินค้าของกินของใช้ราคาถูกลง ผู้ลงทุนไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ภาษีกำไร และที่ดินก็หาง่ายราคาถูก ก็จะมีกำลังใจลงทุนมากขึ้น กลายเป็นว่านายทุนต้องแข่งขันกันหาคนมาทำงาน แทนที่แรงงานจะต้องง้อนายทุนและถูกกดค่าแรงอย่างระบบปัจจุบัน ค่าแรงก็จะสูงขึ้น ผลผลิตเพิ่ม กลายเป็น Economy of Abundance ขึ้นแทน Economy of Scarcity นั่นคือ ประเทศของเราจะเป็นอุดมรัฐหรือยูโทเพีย หรือประมาณนั้น อาชญากรรมจากความยากจนและการกลัวความยากจนที่ระบาดเป็นภัยคุกคามคนรวยอยู่มากมายก็จะลดลงอย่างมาก

และเมื่อสินค้าเราราคาต่ำ ก็จะแข่งขันได้สบายกับต่างประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยว

เรื่องที่ดินที่เป็นปัญหาสางกันไม่ค่อยจะออก เพราะเจ้าหน้าที่คอร์รัปชัน เกิดปัญหากรรมสิทธิ์ทับซ้อนระหว่างชาวบ้านกับคนรวยที่โลภมาก ปัญหาชาวบ้านบุกรุกที่หลวง ที่รกร้าง ฯลฯ จะแก้ได้โดบง่ายหรือหายไปเองด้วยซ้ำ

ปัญหาใหญ่ก็คือ ท่าน รมว.คลัง กรณ์ จะทำได้หรือ ? บุคคลชั้นนำอื่นๆ เขาจะได้ดวงตาเห็นธรรมเหมือนท่านหรือ ?

ผมได้แต่เอาใจช่วย และถือโอกาสบอกกล่าวให้รู้กันทั่วไปว่า ในการเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไป ขอให้พวกเราประชาชนช่วยกันเลือกผู้แทนที่สัญญาว่าจะมุ่งเก็บภาษีที่ดินเพิ่มขึ้น และลด-เลิกภาษีจากการลงแรงลงทุน นะครับ.

จากเว็บ //utopiathai.webs.com




 

Create Date : 15 มกราคม 2553    
Last Update : 15 มกราคม 2553 19:05:29 น.
Counter : 830 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com