+ + + วิธีพิชิตโทสะโดยวิถีแห่งเซน + + +
วิธีพิชิตโทสะโดยวิถีแห่งเซน


บทความที่นำเสนอจากหนังสือเรื่อง Anger แต่งโดย Thich Nhat Hanh พระภิกษุชาวเวียดนามของพุทธศาสนาสายมหายานซึ่งพำนับในสหรัฐอเมริกา ท่านเขียนหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่เป็น bestseller หลายเล่ม รวมถึงหนังสือเรื่อง Anger นี้ด้วย งานเขียนของท่านได้สรุปถึงการทำวิปัสสนากรรมฐานที่สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน หลักสำคัญของท่านมีอยู่สองประการคือ การรู้เนื้อรู้ตัวอยู่เสมอในทุก ๆ อิริยาบถ และการจับความรู้สึกที่ลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่ปลายจมูกผ่านลำคอ ช่องอก ช่องท้อง ช่องลมทั่วสรรพางค์กาย จนกระทั่งกลับออกมาที่ปลายจมูก เป็นต้น สำหรับในหนังสือเรื่อง Anger ท่านกล่าวถึงเรื่องของความโกรธ โทษของความโกรธ และวิธีระงับความโกรธ

มีใจความสำคัญ ดังนี้

ลักษณะของความโกรธ

1. เมื่อมีอารมณ์โกรธทุกคนย่อมคิดว่าตนเองนั้นถูกต้องเสมอ ทุก ๆ คนต่างหยิบยกเหตุผลต่าง ๆ นานา มาสนับสนุนในสิ่งที่ตนเองคิดว่าถูก ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยอมแพ้แม้แต่ก้าวเดียว

2. เมื่อมีความโกรธจะทำให้ขาดสติและถูกหลอกได้ง่าย เพราะคนที่โกรธจะไม่ฟังใคร ยกเว้นคนที่คิดเหมือนกับตัวเอง ยิ่งมีกำลังเสริมยิ่งฮึกโหมคิดว่าตนเองนั้นถูกต้อง จึงถูกจูงจมูกและใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอย่างง่ายดาย

3. เมื่อมีอารมณ์โกรธจะมองโลกในแง่ร้าย ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ และคิดว่าปัญหาไม่สามารถแก้ไขหรือประนีประนอมได้ และมีแนวโน้มที่จะทำลายล้างมากกว่าสร้างสรรค์

4. เมื่อมีความโกรธจะมีความคิดในแง่ลบผุดขึ้นมามากมาย ทั้งเรื่องในปัจจุบันและเรื่องที่สะสมมาในอดีต ก่อให้เกิดอารมณ์ที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้มองความจริงไม่ตรงตามความเป็นจริง คำพูดจะบิดเบือน วาจาจะก้าวร้าว มองไม่เห็นหัวคนอื่น เพราะคิดว่าตัวเองเท่านั้นที่ถูกต้อง

โทษของความโกรธ

บุญบารมี โชคลาภ วาสนา ความรู้สึกที่ดีต่อกัน และภาพพจน์ดี ๆ ที่เคยสั่งสมมาทั้งหมดจะสูญสลายไปในพริบตา เพราะในขณะที่โกรธ ตัวเราจะขาดสติ คำพูดจะเสียดแทงจิตใจ แววตาจะดุร้าย กิริยาจะรุนแรง สูญเสียบุคลิกภาพ และทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ปั้นน้ำเป็นตัวเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งจะเป็นการสร้างศัตรูโดยที่เราไม่รู้ตัว และหากถึงขั้นรุนแรงทำร้ายร่างกายจะยิ่งเป็นการสร้างกรรมเวรขึ้นอีกเป็นทวีคูณ และที่สำคัญเมื่อมีอารมณ์โกรธร่างกายจะปล่อยสารทำลายเนื้อเยื่อและระบบภูมิคุ้มกันทำให้สุขภาพเสื่อมโทรม นอกจากนั้น การโมโหจนเป็นนิสัยจะเป็นการเติมเชื้อโทสะที่มีอยู่ในจิตใจให้มีกำลังรุนแรง ทำให้มองความโกรธว่าเป็นเรื่องธรรมดา กิริยาจะก้าวร้าวจนเป็นนิสัย มักชอบใช้ความรุนแรงเข้ายุติปัญหา ลูกหลานและคนรอบข้างก็จะติดนิสัยไปด้วย สังคมจะมีแต่ความแปลกแยกหาความสุขไม่ได้

วิธีรับมือกับความโกรธ

1. นิ่งสงบ หยุดพูด หยุดหาเหตุหาผลมาปกป้องตัวเองและตั้งใจฟังอีกฝ่ายว่า อีกฝ่ายมีประเด็นอะไร สาเหตุที่อีกฝ่ายโกรธคืออะไร และตั้งใจมองอีกฝ่ายด้วยความเมตตา มีความเห็นอกเห็นใจต่อความระทมทุกข์ของอีกฝ่ายอย่างแท้จริง (Compassionate listening) ขณะที่ฟังห้ามพูดโดยเด็ดขาด ยิ้มได้อย่างเดียว

2. รู้จักข่มใจ เช่น หายใจลึก ๆ หรือใช้ลิ้นดันเพดานในปากไว้เพื่อข่มความโกรธ เป็นต้น

3. เมื่อฟังอีกฝ่ายจบแล้วถ้าจำเป็นต้องพูดให้พูดเท่าที่จำเป็นด้วยวาจาที่สุภาพ ไพเราะ และนุ่มนวล (Loving speech) ผู้พูดควรได้ยินเสียงทุกเสียง ที่ตัวเองพูดโดยการพูดทีละคำฟังทีละเสียง และพูดด้วยหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ถ้ายังไม่ถึงโอกาสที่ควรพูด เช่น อีกฝ่ายหรือแม้แต่ตัวเราเองกำลังมีอารมณ์ขุ่นมัว ไม่สามารถพูดกันดี ๆ ได้ก็ให้เงียบเสียดีกว่า ไม่จำเป็นต้อง รีบพูดโดยทันที เพราะพูดไปตอนนี้อีกฝ่ายก็คงไม่รับฟัง

4. อย่าหลงเชื่อคำพูดของอีกฝ่ายที่พูดออกมาตอนที่โกรธ เพราะเมื่อจิตโกรธข้อมูลทั้งหลายจะบิดเบือนไปได้ทั้งสิ้น ให้ฟังหูไว้หู ฟังอย่างเดียวไม่ต้องโต้เถียงหาข้อเท็จจริง

5. เมื่อรับฟังแล้ว พูดเท่าที่จำเป็นแล้ว ให้หลบเลี่ยงออกจากสถานที่และบุคคลนั้น ๆ

6. มองปัญหาที่เกิดขึ้นในภาพรวม และแก้ไขปัญหาเป็นจุด ๆ ไป ไม่ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ คันที่ไหนให้เกาที่นั่น

7. ฝึกนิสัยที่จะไม่โกรธ ใครมาพูดจายั่วยุให้โกรธ เราจะไม่สนใจและเลิกใส่ใจกับคนที่ชอบนินทา หรือชอบหาเรื่องให้เราโกรธ

8. มองความรู้สึกของตัวเองอยู่ตลอดเวลาพร้อม ๆ กับการหายใจลึก ๆ เพื่อให้รู้เท่าทันอารมณ์จะได้ระงับความโกรธได้อย่างทันท่วงที เมื่อโกรธให้รู้ว่ากำลังโกรธ โกรธเพราะอะไร ความโกรธหายไปเมื่อไร และสิ่งใดทำให้เราหายโกรธได้ เป็นต้น

9. สร้างปัจจัยความสุขในจิตใจมาก ๆ ทำจิตใจให้สบาย ๆ เช่น ออกกำลังกายเป็นประจำ จิตใจจะได้ไม่เครียด เป็นต้น ความสุขเหล่านี้จะไปทดแทนโทสะที่มีอยู่ในจิตใจได้

10. อย่ายึดมั่นถือมั่นในความคิดทั้งหลายทั้งปวง เพราะสิ่งที่เราเห็นในขณะนี้เป็นความจริงเพียงเสี้ยวเดียวเท่านั้น เมื่อมีเหตุปัจจัยใหม่เข้ามา สิ่งที่เราคิดว่าใช่มันก็เปลี่ยนแปลงไปได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้น อย่าเชื่อนักในสิ่งที่เห็นและอย่าเชื่อนักในสิ่งที่ได้ยิน

11.ความโกรธไม่สามารถเอาชนะความโกรธได้ แต่ความรัก ความเมตตา ความเข้าใจ และการให้อภัยจึงจะสลายความโกรธลงได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเมตตาแล้วต้องไม่เดือดร้อนต่อตัวเองและผู้อื่นด้วย จึงจะเรียกได้ว่ามีความเมตตาอย่างแท้จริง



************************************************************************************************
เครดิตเว็บ : ดร.บุยชัย โกศลธนากุล









Create Date : 07 พฤษภาคม 2554
Last Update : 7 พฤษภาคม 2554 2:02:49 น.
Counter : 622 Pageviews.

2 comments
  
ทัทกายนะจ่ะ อิอิ
โดย: ตะวันเจ้าเอย วันที่: 7 พฤษภาคม 2554 เวลา:14:53:45 น.
  
ขอบคุณค่ะคุณตะวัน ฯ

สบายดีนะคะ
โดย: ลามูเต้ วันที่: 7 พฤษภาคม 2554 เวลา:20:57:12 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลามูเต้
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 13 คน [?]



ไทป์ 5....การง่วนอยู่กับรูปแบบที่คุ้นเคยจนสามารถมองเห็นสิ่งที่คนอื่นไม่เคยเห็นมาก่อนได้
All Blog