ซำบายดี.....บ่
Group Blog
 
All Blogs
 

ภาระหน้าที่ งานบริหารโรงเรียน 4 ฝ่าย ต่อ


(๓) ด้านการบริหารงานบุคคล มีภาระหน้าที่ 20อย่างด้วยกันคือ

(1) การวางแผนอัตรากำลัง

(2) การจัดสรรอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

(3) การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง

(4) การเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้น การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

(5) การดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน

(6) การลาทุกประเภท

(7) การประเมินผลการปฏิบัติงาน

(8) การดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ

(9) การสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน

(10) การรายงานการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ

(11) การอุทธรณ์และการร้องทุกข์

(12) การออกจากราชการ

(13) การจัดระบบและการจัดทำทะเบียนประวัติ

(14) การจัดทำ บัญชีรายชื่อและให้ความเห็นเกี่ยวกับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

(15) การส่งเสริมการประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

(16) การส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ

(17) การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ

(18) การส่งเสริมวินัย คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

(19) การริเริ่มส่งเสริมการขอรับใบอนุญาต

(20) การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การดำเนินการที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น


(๔)
ด้านการบริหารทั่วไป มีภาระหน้าที่ 21
อย่างด้วยกันคือ

(1) การพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ

(2) การประสานงานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา

(3) การวางแผนการบริหารงานการศึกษา

(4) งานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและแผน

(5) การจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร

(6) การพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน

(7) งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

(8) การดำเนินงานธุรการ

(9) การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม

(10) การจัดทำสำมะโนผู้เรียน

(11) การรับนักเรียน

(12) การเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการจัดตั้ง ยุบ รวมหรือเลิกสถานศึกษา

(13) การประสานการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย

(14) การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา

(15) การทัศนศึกษา

(16) งานกิจการนักเรียน

(17) การประชาสัมพันธ์งานการศึกษา

(18) การส่งเสริม สนับสนุนและประสานการจัดการศึกษาของบุคคล ชุมชน องค์กร

หน่วยงานและสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา

(19) งานประสานราชการกับส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น

(ท) การรายงานผลการปฏิบัติงาน

(20) การจัดระบบการควบคุมภายในหน่วยงาน

(21) แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลงโทษนักเรียน


การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ให้คำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้

(๑)ความพร้อมและความเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ที่จะสามารถรับผิดชอบดำเนินการตามขีดความสามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(๒)ความสอดคล้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะกระจายอำนาจ


(๓)ความเป็นเอกภาพด้านมาตรฐานและนโยบายด้านการศึกษา

(๔)ความเป็นอิสระและความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษา

(๕)มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่

(๖)มุ่งให้เกิดผลสำเร็จแก่สถานศึกษา โดยเน้นการกระจายอำนาจให้แก่สถานศึกษาให้มากที่สุดเพื่อให้สถานศึกษานั้นมีความเข้มแข็งและความคล่องตัว

(๗)เพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพให้แก่สถานศึกษา

(๘)เพื่อให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องนั้นๆ โดยตรง





Free TextEditor




 

Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2553    
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2553 1:15:52 น.
Counter : 6071 Pageviews.  

ภาระหน้าที่ งานบริหารโรงเรียน 4 ฝ่าย


ภาระหน้าที่การบริหารงานในโรงเรียน 4 ฝ่าย




ตามกฎกระทรวงซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาพ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๓๙ วรรคสอง

แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ (


ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
หรือเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณาดำเนินการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา

ในด้านวิชาการ ด้านงบประมาณด้านการบริหารงานบุคคล
และด้านการบริหารทั่วไปไปยังคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือสถานศึกษาในอำนาจหน้าที่ของตน แล้วแต่กรณี
ในเรื่องดังต่อไปนี้



(๑)
ด้านวิชาการ มีภาระหน้าที่
17 อย่างด้วยกันคือ


(1) การพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น


(2) การวางแผนงานด้านวิชาการ


(3) การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา


(4) การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา


(5) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้


(6) การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน


(7) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา


(8) การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้


(9) การนิเทศการศึกษา


(10) การแนะแนว


(11) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา


(12) การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ


(13) การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น


(14) การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร
หน่วยงานสถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา


(15) การจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา


(16) การคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา


(17) การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา



ด้านงบประมาณ มีภาระหน้าที่ 22

อย่างด้วยกันคือ


(1) การจัดทำแผนงบประมาณและคำขอตั้งงบประมาณเพื่อเสนอต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

หรือเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วแต่กรณี


(2) การจัดทำแผนปฏิบัติการใช้จ่ายเงิน
ตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยตรง


(3) การอนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับจัดสรร


(4) การขอโอนและการขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณ


(5) การรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ


(6) การตรวจสอบติดตามและรายงานการใช้งบประมาณ


(7) การตรวจสอบติดตามและรายงานการใช้ผลผลิตจากงบประมาณ


(8) การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา


(9) การปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายเกี่ยวกับกองทุนเพื่อการศึกษา


(10) การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา


(11) การวางแผนพัสดุ


(12) การกำหนดรูปแบบรายการ หรือคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้างที่


ใช้เงินงบประมาณเพื่อเสนอต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการหรือเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้วแต่กรณี


(13) การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการจัดทำและจัดหาพัสดุ


(14) การจัดหาพัสดุ


(15) การควบคุมดูแล บำรุงรักษาและจำหน่ายพัสดุ


(16) การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน


(17) การเบิกเงินจากคลัง


(18) การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจ่ายเงิน


(19) การนำเงินส่งคลัง


(20) การจัดทำบัญชีการเงิน


(21) การจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน


(22) การจัดทำหรือจัดหาแบบพิมพ์บัญชี ทะเบียน และรายงาน






Free TextEditor




 

Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2553    
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2553 1:12:34 น.
Counter : 24519 Pageviews.  

โรงเรียนดีระดับตำบล


โรงเรียนดี ระดับตำบลทำได้......ให้ล้านนึง !!!!


ในปี 2552 ที่ผ่านมานับว่าเป็นปีแห่งการพัฒนาการศึกษาอย่างจริงจัง
รัฐบาลได้ผุดโครงการ ที่สำคัญๆ มีทั้งถูกใจ และไม่ถูกใจหลายอย่าง อาธิ เรียนฟรี
15
ปีอย่างมีคุณภาพ ครูสหกิจ พัฒนาครูให้ได้วิทยฐานะของครูให้ครูมีเงินใช้มากขึ้น
และหนี้มากขึ้นด้วย
!!



แต่ก็ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี อย่างน้อยก็จุดประกาย
ความฝันของประเทศชาติ ที่จะพัฒนาให้มีคนเก่งมากขึ้น พัฒนาให้เป็นคนดีมากขึ้น
การปกครองโดยพวกมีแต่อำนาจ พวกข้าราชการฉ้อฉล พวกนักการเมืองโกงกิน ก็คงน้อยลง เพราะ
คนมันฉลาดขึ้น หลอกยากขึ้นว่างั้นเถอะ


คนผู้นี้เราจะไม่กล่าวถึงก็ไม่ได้คือท่านจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
อดีตเจ้าสำนักกระทรวงศึกษาธิการ ที่ย้ายสังกัดไปยัง สาธารณะสุข
ถือว่าเป็นเครื่องวัดใจอย่างดีในสถาการณ์ที่ เกิดวิกฤติศรัทธา
ในกรณีทุจริตในกระทรวงสาธาณสุข ตามแผน
sp2 หรือ โครงการไทยเข้มแข็ง แต่ก็ถือเป็นภาพลักษณ์ที่ดี
เพราะท่านถือว่าประสบความสำเร็จในการบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พอมาสาธาณสุข ทุกคนก็หวังว่าท่านจะทำได้
เหมือนเดิม
!!




ท่าจุรินทร์ ถือได้ว่าเป็นตัวจุดประกายแห่งการพัฒนาการศึกษา
ที่ก่อนจะออกไปได้นำนโยบาย โรงเรียนดี
3 ระดับ ได้แก่ โรงเรียนดีระดับสากล 500 โรง
ระดับอำเภอ
2500 โรง และระดับตำบล 7000 โรง
โดยงบประมาณครั้งนี้
6500 ล้านบาท!
โดยโรงเรียนดีระดับตำบล ได้งบมากที่สุด
4000 ล้านบาท รองลงมาระดับอำเภอ
1000 ล้านบาท และระดับสากล 1500 ล้าน


แต่พอมาวิเคราะห์ตัวเลขดีๆ โรงเรียนระดับตำบลได้งบประมาณ ร.ร.ละ 5แสน7 ระดับอำเภอ ร.ร.ละ 4แสน ระดับสากล ร.ร.ละ 3 ล้าน
ไม่รู้ว่าท่านจะพัฒนาสู่สากลเร็วไปหรือเปล่า เพราะพื้นฐานทางภาษาของเราถือว่าอ่อนมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายๆประเทศ
ขนาดที่มาเลเซีย ยังพับโครงการเรียนเป็นภาษาอังกฤษมาแล้ว
เพราะเด็กเขาไม่พร้อมด้านภาษา(ที่มา :
ASTVผู้จัดการออนไลน์ )


ในโครงการโรงเรียนดีระดับตำบลถือว่าเป็นโครงการที่ใกล้ชิดประชาชนในระดับรากหญ้ามากที่สุด
เป็นการกระจายรายได้สู่ ท้องถิ่นมากที่สุด
งานนี้ได้ยินข่าวว่าเป็นความร่วมมือระหว่าง ศธ. กับมหาดไทย
ในการพัฒนาโรงเรียน หวังว่าคงไม่มีปัญหาเหมือน “นมเน่า”
ในอดีตที่ทำให้เจ้ากระทรวงปวดหัวอีก



พูดถึงนมเน่า ก็อดค้นข้อมูลไม่ได้ว่าโครงการนี้เป็นของท่าน ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดขึ้นเมื่อปี 2535 แต่ก็ประสบปัญหามาตลอด ทั้งนมล้นตลาด นมด้อยคุณภาพ
ฮั้วนม นมผงปน ที่โด่งดังมากๆก็คือนมมีสารเมลามีน เลยทำให้ปนิธานที่จะทำให้เด็กไทยแข็งแรงเลยไม่เกิดประโยชน์ในบัดดล
ก็อย่างว่าละปัญหานี้ประชาธิปปัตย์ก่อก็ต้องประชาธิปปัตย์สะสาง
หวังว่าท่านอภิสิทธิ์คงไม่ละเลยทำให้เกิดปัญหาแบบเดียวกันนี้อีกกับ
โรงเรียนดีระดับตำบล (วันที่
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เวลา 10:47:26 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)



ย้อนมาถึงโรงเรียนดีระดับตำบล ในแง่นโยบายถือว่าดีมาก แต่ผู้ปฏิบัติ
ไม่ทราบว่า จะได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพหรือเปล่า คงไม่ใช่เบี้ยหัวแตก
ที่พอจะมาถึงโรงเรียน จาก
100 เหลือแค่ 20
ทางที่ดีโอนเงินใส่บัญชี ให้ครูเขาจัดการ ให้กรรมการสถานศึกษาจัดการ
มีคนรู้เห็นเยอะแยะ พวกที่หวังจะฟัน เงินก็อนนี้มันคงละอายใจบ้างละ


การพัฒนาตามนโยบายที่ท่านบอกไว้ว่า ๑) ต้องมีความเป็นเลิศทางวิชาการ
๒) มีระบบบริหารจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วมจากองค์กรต่างๆ เช่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันศาสนา ผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนเข้ามาช่วยโรงเรียน
๓) ต้องมีปัจจัยพื้นฐาน ที่มีความชัดเจนแล้วว่าจะต้องมีอาคารสถานที่
มีภูมิทัศน์พร้อม มีห้องสมุด ๓ ดี (หนังสือดี-บรรยากาศดี-บรรณารักษ์ดี)
มีคอมพิวเตอร์ในสัดส่วน ๑ เครื่องต่อนักเรียน ๑๐ คน และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างน้อย
๒ เมกะบิต แล้วมันทำได้หรือเปล่า(อ้างอิงจาก
//www.moe.go.th/websm/2009/dec/448.html)


ต้องมีความเป็นเลิศทางวิชาการ
โดยใจความคือมีครูสอนตรงกลุ่มสาระอย่างน้อย
5 สาระ แต่ความจริงที่เราเรียนจริงๆ ระดับมัธยม มันมีมากกว่านั้น อย่างเช่น
วิทยาศาสตร์ ก็จะมี ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ จะเอาครูจบชีวะ มาสอนฟิสิกส์
มันยังดูไม่เข้าท่า การงานอาชีพ มี
3 หมวดหลักๆคือ คหกรรม
เกษตร เทคโนโลยี ครูที่ทำได้
3 in 1 แบบนี้มันจะพอมีให้เลือกไหม
ศิลปะ ก็มี ทัศนศิลป์ (วาดรูป) นาฏศิลป์ (ฟ้อรำ) ดนตรี
เด็กคงจะขำน่าดูนะครับที่ให้ครูสอนวาดรูป มารำให้ดู บอกตรงๆ หายากมากกกกก
อันนี้รู้สึกจะเป็นการแก็ปัญหาที่ปลายเหตุมากกว่านะ แต่ก็ใช่ว่าจะด่าอย่างเดียว
ครูที่เก่งหลายๆอย่างก็มี ทั้งนี้ก็หวังว่าในอนาคต ครูเอกประถมคงต้องได้กลับมารื้อฟื้นอีกครั้ง
เพราะท่านเก่งจริงๆ สอนได้ทุกวิชา
!!




ระบบบริหารที่ดี มีท้องถิ่นสนับสนุน
ซึ่งอยากจะให้มาสนับสุนจริงๆแบบไม่ต้องหวังผลประโยชน์แอบแฝง ไม่อยากให้มีการทุจริต
อบต.เอางบไปจัดการเอง จัดการบัญชีเอง กินเอง งานนี้เงินเข้ากระเป๋า อบต. แทนที่เงินส่วนเกินเหล่านั้นจะกลายมาเป็นงบกลางของโรงเรียน
มาพัฒนาโรงเรียนต่อ


ด้านปัจจัยพื้นฐาน งานนี้เป็นภาระหนักของผู้บริหารแล้วว่า
ท่านจะทำโรงเรียนตัวเอง ให้ได้ตามสเปค ที่เขาให้ไว้ได้หรือไม่หวังว่า
คงไม่ได้ยินข่าวที่ผู้บริหารต้องกู้หนี้ยืมสิน มาเพื่อสร้างโน้นสร้าง หนี้ให้โรงเรียนอีกเหมือนหลายปีที่ผ่าน
ถ้าไม่เช่นนั้นคงเป็นการประลองเส้น
!! ว่าโรงเรียนตัวเองจะเอาไปเป็นโรงเรียนดีระดับตำบลได้หรือไม่
เพราะคู่แข่งในตำบลก็มีหลายอยู่เหมือนกัน ใครใกล้ชิด ผอ.เขต มากกว่า หรือนายกอบต.
มากกว่า มีสิทธิ์ เข้าวินแบบไร้คู่แข่ง ขนาดโรงเรียนต่างตำบล
ยังมาเสนอหน้ากลายเป็นโรงเรียนดีของอีกตำบลได้ เพราะเส้นนี้ละ
!!!(ที่มา สยามรัฐ วันที่ 10 ธันวาคม 2552)


อีกอย่าง อินเตอร์เนต 2 เมกนี่นะ ช้าไปหรือเปล่า ถ้าจะให้ดี ปรับปรุงคุณภาพให้ได้ดีก่อนเถอะ
ไม่ใช่พอจะใช้งานจริงๆ ใช้ไม่ได้ เพราะทุกโรงมันใช้กันเยอะ มันดึงความเร็วกัน
เหมือนถนน นั่นละ
9 โมงเช้า ถึง 4 โมงเย็น
ทุกโรงเรียนเขาใช้งานพร้อมกันหมด จากที่ วิ่งได้ ทำงานได้มันก็ทำไม่ได้ เอาแค่
IP
star วิ่งให้ได้ความเร็วจริงๆ 1 เมก
มันก็พอใช้ ใม่ใช่ทำเหมือนอินเตอร์เนตบ้านที่วิ่งแค่
56 Kb ในตอนกลางวันพอกลางคืนกลับลื่นหัวแตก!! เพราะไม่มีคนใช้งาน งานนี้ท่านคงต้องหาผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำปัญหาให้ตรงจุดแล้วละ!!



มันก็น่าน้อยใจแทนโรงเรียนแบบ 3 โรง 100 นะครับ เหมือนลูกเมียน้อย พอจะมีนโยบายดีๆ
กลับเป็นโรงเรียนใหญ่ๆ ไปกิน กว่าจะมีเงินมาให้มากๆ กลับติดที่ว่าต้องมีปัจจัยพิ้นฐานครบ
แล้วโรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้จะอยู่รอดได้อย่างไร
เพราะโรงเรียนเหล่านี้เป็นโรงเรียนที่ห่างไกลความเจริญ มีความใกล้ชิดชาวบ้าน
ต้องพึ่งพาตนเอง มีความผุกพันธ์มากกว่าโรงเรียนดีระดับสากลนั่นอีก
อยากให้หันมามองบ้าง ไม่ใช่พัฒนาแค่ยอด ลืมพื้นฐาน ลืมประชาชน ของประเทศที่ยากจน
ที่เขาต้องอยู่กับโรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้ ถ้าจะให้ดี พัฒนาเป็นนโยบาย
“โรงเรียนจิ๋วแต่แจ๋ว” ก็ยังดีนะครับ



สรุปว่า งานนี้คงเป็นหนังชีวิต ให้คุณชินวรณ์ บุญเกียรติ สานต่อในอนาคต
และหวังว่าเม็ดเงินในโครงการ โรงเรียนดี สามระดับคงไปได้สวย
ถึงแม้จะสวยเฉพาะรูปร่างหน้าตา ส่วนคุณภาพการศึกษา คงต้องช่วยกันแก็ต่อๆไป
ก็ไม่ได้หวังอะไรมาก อยากให้นโยบายดีๆ มีการสานต่อ ในรัฐบาลถัดๆไปด้วย
ทั้งนี้ก็ไม่ใช่เพื่อใครที่ไหน เพื่อลูกหลาน เพื่อพวกเรา และประชาชนคนไทยทั้งนั้น
!!!! เพราะถ้าคุณทำได้ คนไทยทุกคนคงพร้อมใจยินดี
และปรบมือให้คุณ หลายล้านคน....


เฉลิม เนาว์แก้ว






Free TextEditor




 

Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2553    
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2553 9:41:21 น.
Counter : 1361 Pageviews.  


natera
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Google
Friends' blogs
[Add natera's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.