treehouse: The house of love (ha ha)
Group Blog
 
All blogs
 

ให้นำใจ(5) : แลบ่มร่ำ.... ให้นำใจ.. คุ้มภัยพาล ..

























ฝนตก...



















ฝนหาย...































ใจคลาย...














เปลี่ยนผัน...



















ว่ายเวียน ...โรมรัน..




















เช่นนั้น...ชั่ววัน..



















หากเปลี่ยน ...กลับผัน..













กำหนด... เท่าทัน...


















จากฝัน...














สู่ "จริง"...









แลบ่มร่ำ.... ให้นำใจ.. คุ้มภัยพาล ..
ภัยใน(ใจ) นั่นแหล่ะ.. ต้องหมั่นดู..




มองทุกวัน เป็นแบบฝึกหัด...
สิ่งใดผ่านมา ..กำหนดรู้...
ดูให้เห็น.. สิ่ง-แท้-ที่เป็น..
..เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป..


















.................................................



















(เจ้าของบล๊อก)เตือนตน(บ่มร่ำ)..
ทุกวันไปค่ะ






รับต้นอาทิตย์กับธรรมะท่านพุทธทาสค่ะ





พุทธทาส อินทปัญโญ
นำเนื้อหามาจากหนังสือ จากศรีวิชัยถึงพุทธทาส ภิกขุ เรียบเรียงโดย คุณชำนาญ สัจจะโชติ พิมพ์ครั้งที่๑, ๒๕๔๙



นี่เรียกว่าขันธ์ ๕ หรือ ๕ ขันธ์










จะเรียกว่าการปรุงแต่ง ๕ กลุ่ม ๕ กอง
ทั้งห้านั้นแหละเรียกว่าสังขาร
ทั้ง ๕ กลุ่มนั้นถ้าเรียกโดยคำสามานยนามแท้ๆ ส่วนลึดแล้วเรียกว่าสังขารได้ทั้งนั้น





แต่เดี๋ยวนี้ทั้งเอาสังขารมาใช้กับกลุ่มที่ ๔ คือ สังขารขันธ์ ซึ่งมีความหมายแคบเข้ามา สังขารขันธ์หมายถึงความคิด แต่สังขาร เฉยๆ หมายถึงกรปรุงแต่งทุกสิ่ง รูปขันธ์ก็เป็นสังขาร เวทนาขันธ์ก็เป็นสังขาร สัญญาขันธ์ก็เป็นสังขาร สังขารขันธ์เองก็เป็นสังขาร อย่างนี้เป็นต้น










ดังนั้นเราไม่อาจจะมีขันธ์ทั้งห้าพร้อมกันในคราวเดียว มันแล้วแต่ว่าจิตมันกำลังไปยึดมั่นให้เป็นชีวิตอยู่ที่กลุ่มไหน บางเวลาความยึดมั่นถือมั่นของจิต มันไปยึดมั่นอยู่ที่กลุ่มรูป ตามเรื่องตามกรณี ที่มันมีอำนาจหรือมีเหตุปัจจัยให้ไปสนใจ ให้ไปยึดมั่นอยู่ที่กลุ่มรูป






แต่บางเวลามันไม่เป็นอย่างนั้น มันไปสนใจยึดมั่นอยู่ที่กลุ่มเวทนาแล้วมันก็เป็นเรื่องสืบต่อกันด้วย เพราะมีรูปขันธ์ คือ อายตนะภายในและอายตนะภายนอก มันจึงเกิดวิญญาณ มันจึงเกิดผัสสะ แล้วมันจึงเกิดเวทนา ดังนั้นรูปขันธ์กับเวทนาขันธ์ จะเกิดพร้อมกันไม่ได้ และเวทนาขันธ์มันก็สืบทอดมาจากรูปขันธ์ ที่มันทำหน้าที่ของมัน













นี่จะถ้าระวังจิต จะดูจิตแล้ว ก็จงดูว่ามันกำลังยึดมั่นอยู่ในขันธ์ไหน







มันเกิดมาจากความยึดมั่นในขันธ์นั้น ซึ่งมันจะตรงตามหลักพระพุทธภาษิตว่า สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานนักขันธา ทุกขา ขันธ์ที่มีความยึดมั่นถือมั่นโดยอุปาทานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ เมื่อมีความทุกข์แล้ว มันก็ต้องมีความยึดมั่นถือมั่น เมื่อมีความยึดมั่นถือมั่นแล้ว มันต้องมีสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น มันก็ไม่พ้นไปจาก ๕ สิ่งนี้ คือ รูป เวทนา สังขาร สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นเอง







พูดอีกทีหนึ่งก็ว่า ถ้าจะแจกกันโดยรายละเอียด รายละเอียดให้มันละเอียด เท่าที่มันจะละเอียดได้แล้ว มันจะมีถึง ๑๒ อาการ หรือ ๑๑ อาการตามที่แจกไว้ในปฏิจจสมุปบาทอิทัปปัจจยตา หรือว่าถ้าจะมองดูในแนวของอริยสัจจ์ ก็ตัณหา ตัณหาคือเหตุให้เกิดทุกข์ เพราะอยากได้จึงเกิดทุกข์ ความอยากมันทำให้เกิดความรู้สึกของผู้อยาก นั้นคืออุปาทาน แล้วมีภพ มีชาติ ในความหมายของตัวกูผู้อยาก มันเต็มที่ขึ้นมา แล้วก็เป็นทุกข์













สูตรของอิทัปปัจจยตามีว่าอย่างนี้ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป ก็คือส่วนที่เห็นเหตุมี แล้วส่วนที่เป็นเหตุดับไป ส่วนที่เป็นผลก็จะดับไป













พอกระทบอะไรทางตาเป็นต้น ก็ให้มีสติ เอาปัญญาว่าเช่นนั้นเองมาทันท่วงที เห็นว่าสิ่งนี้เช่นนั้นเอง ผัสสะนี้เช่นนั้นเอง เวทนานี้เช่นนั้นเอง แล้วก็ไม่ยึดถือ ก็ไม่เกิดความอยาก คือตัณหา ไม่เกิดความยึดถือ คือ อุปาทาน มันก็ไม่เกิดทุกข์ เพราะว่ามีสติรวดเร็ว เอาปัญญามาเพียงพอว่ามันเช่นนั้นเอง ผัสสะเช่นนั้นเอง เวทนาเช่นนั้นเอง อย่างนี้เรียกว่า ไม่โง่เมื่อมีผัสสะ คำพูดสั้นๆ เมื่อตอนกลางวันว่าไม่โง่ เมื่อมีผัสสะ นั่นแหละเป็นหลักสำคัญ ที่จะไม่ให้เกิดความทุกข์







ความทุกข์เกิดที่จิต เพราะเห็นผิดเมื่อผัสสะ
ความทุกข์จะไม่โผล่ ถ้าไม่โง่เมื่อผัสสะ
ความทุกข์เกิดไม่ได้ ถ้าเข้าใจเรื่องผัสสะ
นั่นแหละ คือผลของการรู้เรื่องอิทัปปัจจยตา แล้วควบคุมกระแสแห่งอิทัปปัจจยตาได้ปิดกั้นกระแสแห่งการเกิดทุกข์เสียได้โดยสติ สติเป็นเครื่องกั้นกระแสแห่งความทุกข์ นี้เป็นหลักใหญ่ทั่วไปในพระพุทธศาสนา








เดี๋ยวนี้เรามันโง่ จนความทุกข์เกิดแล้วก็ยังไม่รู้สึก ฉะนั้นจะต้องมีสติว่องไวฉับพลันทันที ถ้ามันไม่ว่องไวฉับพลันทันที มันก็ต้องฝึกมัน ฝึกมัน ก็ต้องฝึกมัน ให้เป็นสติที่ว่องไว แล้วก็อบรมปัญญาให้มากพอ มีปัญญาถูกต้องมากพอ สติรวดเร็ว สตินั้นเหมือนเครื่องขนส่ง สติเหมือนกับเจ้าหน้าที่ขนส่ง มันขนเอาปัญญา คือความรู้เรื่องอิทัปปัจจยตามาทันท่วงทีเมื่อผัสสะ ผัสสะของเราไม่โง่ซิ เพราะเป็นผัสสะที่เต็มอยู่ด้วยสติและปัญญา มันไม่เป็นผัสสะโง่ ความทุกข์ไม่มีทางจะเกิด






ในเรื่องสตินี้มันต้องฝึก แล้วก็จะมีผล คือได้หรือรู้ แล้วก็ทำต่อๆ ไปจนถึงที่สุด เป็นผู้มีสติสมบูรณ์ คือสติไวที่สุด เหมือนสายฟ้าแลบ เพราะว่าการเกิดแห่งกิเลสหรือกระแสแห่งอิทัปปัจจยตานั้น มันเหมือนสายฟ้าแลบ มันเร็วมาก เราก็ต้องฝึกสติของเราให้เร็วขึ้น ให้เป็นสิ่งที่เร็วเหมือนกับสายฟ้าแลบ มันก็จะแก้ปัญหาได้
ส่วนเรื่องของปัญญานั้น ในขั้นตอนของธัมมานุปัสนา ๔ ข้อข้างท้ายนั้น มันเห็นอนิจจัง จนกระทั่งเห็นวิราคะ จนนิโรธะ จนปฏินิสสัคคะ นี่ปัญญามันสมบูรณ์แล้ว มันตัดกิเลสแล้ว มันหลุดพ้นแล้ว เพราะอำนาจของการปฏิบัติที่ถูกต้องอย่างนี้


















May we see the reflection of ourself
As clear as a blue sky
May every line... every details.... show us signs
That we can smile..., as we live life with purpose and... kind...



.................................................. treehouse










มีสติ เป็นสุข วันจันทร์ อังคารถึงอาทิตย์ค๊าบบบ




 

Create Date : 08 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2551 8:23:49 น.
Counter : 2290 Pageviews.  

ให้นำใจ (4) : to learn ..to let go ณ กึ่งกลางบันดาลใจ...ไฟส่องทาง




















คลี่คลาย..ดีร้าย... เวียนเปลี่ยนผัน
เพียรตามกรรม ปัจจุบัน อดีตหนา
คลี่คลาย... ดีร้าย ยังศรัทธา
ย่อมมุ่งหน้า เดินสู่ ในหมู่ธรรม....





























































Let love ... and let go











ณ. กึ่งกลาง บันดาลใจ มีประทีปใส ไฟส่องทาง









พระธรรมเทศนา : หลวงพ่อพุธ ฐานิโย













ภาวนาและบริกรรมต่างกันอย่างไร


ถาม :

คำว่า ภาวนา และ บริกรรม ต่างกันอย่างไรขอรับ คือเคยฟังพระเถระผู้ใหญ่บอกว่า การภาวนานี้ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน แม้ไม่อยู่ในสมาธิ แม้ทำอะไร ก็สามารถทำได้อยู่ได้ตลอดเวลาใช่ไหมขอรับ?


หลวงพ่อ :

ใช่แล้ว คำว่า ภาวนา กับ บริกรรม มีต่างกัน


ภาวนา หมายถึง การอบรมคุณงามความดีให้เกิดขึ้น เป็นสมบัติของผู้อบรม เช่น อบรมใจให้มีความเลื่อมใสในการบำเพ็ญภาวนา ก็ได้ชื่อว่า ภาวนา


แต่ บริกรรม นั้น หมายถึง จิตของผู้ปฏิบัตินึกอยู่ในคำใดคำหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น พุทโธ เป็นต้น ซ้ำ ๆ อยู่ในคำเดียวเรียกว่า "บริกรรม" บริกรรมก็คือส่วนของภาวนานั่นเอง


หลวงพ่อ :

เมื่อตะกี้ได้ถามอะไรอาตมาอีก


ถาม :

ภาวนาทำได้ตลอดเวลาทุกสถานที่หรือไม่?


หลวงพ่อ :

การภาวนานี้ทำได้ตลอดเวลา ทุกที่ ทุกสถานที่ ไม่เลือกกาล ไม่เลือกเวลา


เช่นอย่างภาวนาในขั้นบริกรรมภาวนา เช่น ภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ตลอดทุกอิริยาบถ บริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ ได้


ทีนี้ถ้าหากว่าไม่นึกบริกรรมภาวนา พุทโธ การกำหนดรู้ทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ทำ พูด คิด รู้อยู่ตลอดเวลา อันนี้เป็นการภาวนา


จุดมุ่งหมายของการภาวนา หรือบริกรรมภาวนา ก็อยู่ที่ความต้องการความมีสติสัมปชัญญะ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีแล้ว จิตก็มีสมรรถภาพในการคุ้มครองตัวเอง ให้ยืนยันอยู่ในความเป็นอิสรภาพ ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอิสรภาพโดยเด็ดขาดทุกอย่างก็ตาม


ตราบใดที่จิตยังตกอยู่ในอำนาจของอารมณ์กิเลสและสิ่งแวดล้อม จิตก็รู้ตัวว่ายังหย่อนสมรรถภาพ อยู่ในอำนาจของสิ่งแวดล้อม จิตก็ย่อมรู้


การบริกรรมภาวนา บางท่านเมื่อจิตไม่ตรงกับนิสัยบริกรรมภาวนาเป็นปี ๆ จิตไม่สงบ ก็มีอุบายที่จะปฏิบัติได้


คือ ต้องกำหนดรู้ดูความคิดของตนเองตลอดเวลาว่าเราคิดอะไรก็รู้ สิ่งที่คิดมันหายไปก็รู้ อันใหม่เกิดขึ้นมาก็รู้ กำหนดรู้ตามไปเรื่อย ๆ เมื่อจิตมีสติกำหนดตามรู้ความคิดกำหนดทันความคิดของจิตเมื่อใด เมื่อนั้นจิตจะสงบเป็นสมาธิได้































วิญญาณคือธาตุรู้














ถาม :

คำว่า วิญญาณ หมายความว่า "ธาตุรู้" ใช่ไหมขอรับ?


หลวงพ่อ :

คำว่า วิญญาณ คือ "ธาตุรู้"


วิญญาณในเบญจขันธ์หมายถึง วิญญาณรู้จากของ ๒ อย่างกระทบกัน เช่น


ตากับรูปกระทับกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า จักขุวิญญาณ


เสียงกับหูกระทบกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า โสตวิญญาณ


กลิ่นกับจมูกกระทบกัน เกิดภูมิรู้ เรียกว่า ฆานวิญญาณ


ลิ้นกับรสกระทบกัน เกิดภูมิรู้ เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ


กายกับสิ่งสัมผัสกระทบกัน เกิดภูมิรู้ขึ้นเรียกว่า กายวิญญาณ


จิตนึกคิดอารมณ์เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า มโนวิญญาณ อันเป็นวิญญาณในขันธ์ ๕ ทีนี้วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท หมายถึง ปฏิสมาธิวิญญาณ คือ วิญญาณรู้ผุด รู้เกิด




























วิธีทำจิตให้สงบเป็นสมาธิ












มะนาวนั้นมีรสเปรี้ยว แต่ถ้าไม่ได้แตะลิ้น เรายังไม่รู้รส เมื่อมะนาวนั้นมาแตะลิ้นเมื่อไร จึงจะมีความรู้สึกว่าเปรี้ยว จึงเป็นปัจจุบันธรรมนั่นเอง กิเลสจะเกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นตรงที่มีอายาตนะภายในภายนอกกระทบกันนี้ เราก็จะต้องมาเจริญสติ รักษาจิตของเราในปัจจุบัน ตรงนี้เป็นหลักสำคัญ เมื่อเรามีความเข้าใจ มั่นใจ หลักทางดำเนินปฏิบัตินั้น ตรงไหนจะเป็นแนวที่ถูกต้อง เพราะในศาสนาพุทธของเรานั้น ก็มีสอนด้วยกันหลายแนวในการปฏิบัติ แท้จริงแล้วก็ย่อเข้ามาอยู่ในเรื่องของจิต เรื่องของสมาธิ เรื่องของปัญญา คือการเจริญมรรค คือการเจริญสติ ก็อยู่ในศีล สมาธิ ปัญญานี่เอง

หลวงพ่อชา










ถาม :

พอจิตนิ่ง ลมหายใจจะหายไป และคำภาวนาก็หายไปพร้อมกัน แต่รู้สึกเช่นนี้เพียงเดี๋ยวเดียวก็หายไป ควรจะทำอย่างไรต่อไป


หลวงพ่อ :

เมื่อจิตสงบนิ่งลงไปแล้ว จิตจะสงบละเอียดไปถึงจุดที่เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ลมหายใจก็ทำท่าจะหายขาดไปคำภาวนาก็หายไป พอรู้สึกว่ามีอาการเป็นอย่างนี้เกิดขึ้น ก็เกิดอาการตกใจ แล้วจิตก็ถอนจากสมาธิ


เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิแล้ว เกิดความรู้สึกตัวขึ้นมา ถ้ายังเสียดายความเป็นของจิตในขณะนั้น ให้กำหนดจิตพิจารณาใหม่ จนกว่าจิตจะสงบลงไป จนกว่าลมหายใจจะหายขาดไปคำภาวนาจะหายไป


ถ้าตอนนี้เราไม่เกิดเอะใจ หรือเปลี่ยนใจขึ้นมาก่อน จิตจะสงบนิ่งละเอียดลงไปกว่านั้น ในที่สุดจิตก็จะเข้าสู่อัปปนาสมาธิอยู่ในขั้นตัวก็หายไปหมด ยังเหลือแต่จิตรู้สงบสว่างอยู่อย่างเดียว ร่างกายตัวตนไม่ปรากฏ


แต่ถ้าไม่ทำอย่างนั้น เมื่อลมหายใจหายไป คำภาวนาก็จะหายไป แล้วก็จะรู้สึกตัวขึ้นมา เลื่อนให้จิตมาพิจารณา พิจารณาโดยเพ่งกำหนดลงที่ใดลงหนึ่ง จะบริเวณร่างกายลงที่ใดที่หนึ่ง จะบริเวณร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น กระดูก พิจารณาจนจิตเห็นกระดูก แต่ตายังไม่เห็นก่อน เช่น กระดูก พิจารณาจนจิตเห็นกระดูกแต่ตายังไม่เห็นก่อน ให้พิจารณาจนจิตสงบเห็นกระดูกชัดเจน ในทำนองนี้จะทำให้จิตเป็นสมถกรรมฐานเร็วขึ้น ซึ่งเคยมีตัวอย่างครูบาอาจารย์ให้คำแนะนำกันมา คือ















































กาย เวทนาจิตธรรมนี้ก็จะเห็นว่า สักแต่ว่ากาย สักแต่ว่าเวทนาจิตธรรม ไม่มีตัวตน ไม่มีสัตว์ บุคคล เรา เขา












ท่านอาจารย์องค์หนึ่งภาวนาพุทโธมาถึง ๖ ปี จิตสงบลงไป แต่ทำท่าว่าลมหายใจจะหายไป คำภาวนาก็หายไป แล้วสมาธิก็ถอนออก จิตไม่ถึงความสงบสักที อาจารย์องค์นี้จึงไปถามอาจารย์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งอาจารย์องค์นี้จึงไปถามอาจารย์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งอาจารย์องค์นี้เป็นชีผ้าขาวไม่ได้บวชเป็นเณรว่า



"ทำอย่างไรจิตมันจะสงบดี ๆ สักที"



อาจารย์องค์นั้นก็ให้คำแนะนำว่า


"ให้เพ่งลงที่หน้าอก พิจารณาให้เห็นกระดูก โดยพิจารณาลอกหนังออก แล้วจึงจ้องจิตบริกรรมภาวนาลงไปว่า อัฐิ อัฐิ อัฐิ"



อาจารย์ที่ถามจึงนำวิธีการนี้ไปปฏิบัติ ก็เกิดจิตสงบเป็นสมาธิ ในครั้งแรกก็มองเห็นเศษกระดูกตรงนั้น จิตมันก็นิ่งจ้องอยู่ตรงนั้น และผลสุดท้ายก็มองเห็นโครงกระดูกทั่วตัวไปหมด


ในเมื่อมองเห็นโครงกระดูกอยู่ชั่วขณะหนึ่ง โครงกระดูกก็พังลงไป และสลายตัวไป สลายไปหมด ยังเหลือแต่จิตสงบนิ่ง สว่างอยู่อย่างเดียว และในอันดับต่อไปนั้น จิตจะสงบนิ่ง สว่างอยู่เฉย ๆ



ภายหลังเมื่อจิตสงบสว่างอยู่พอสมควรแล้ว ก็เกิดความรู้อันละเอียดขึ้นมาภายในจิต แต่ไม่ทราบว่าอะไร มันมีลักษณะรู้ขึ้นมาแล้วก็ผ่านไป มันเหมือนกับกลุ่มเมฆที่มันผ่านสายตาเราไปนั่นแหละ จิตก็นิ่งเฉย สงบนิ่ง สว่างอยู่ตลอดเวลา ที่มีให้รู้ให้เห็นก็ผ่านไปเรื่อย ๆ เราลองนึกภาพดูว่า ที่เกิดขึ้นเช่นนี้เรียกว่าอะไร


อาการเป็นเช่นนี้เป็นภูมิรู้ภูมิปัญญาอย่างละเอียดของจิตเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความจริงที่อยู่เหนือสมมุติบัญญัติ สภาวธรรมส่วนที่เป็นสัจธรรมเกิดขึ้นในจิตของผู้ปฏิบัติ มีแต่สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ ซึ่งท่านอาจารย์มั่นเรียกว่า "ฐีติภูตัง" ซึ่งมีความหมายว่า



ฐีติ คือ ความตั้งเด่นของจิต อยู่ในสภาพที่สงบนิ่งเป็นกิริยาประชุมพร้อมของอริยมรรค ยังจิตให้บรรลุถึงความสุคติภาพโดยสมบูรณ์ เมื่อจิตประชุมพร้อม ภายในจิตมีลักษณะ สงบ นิ่ง สว่าง อำนาจของอริยมรรคสามารถปฏิบัติจิตให้เกิดภูมิรู้ ภูมิธรรมอย่างละเอียด




































อารมณ์ไม่ใช่กิเลส ถ้าไม่ไปยึดถือ

watmarpjan

































ภูมิรู้ ภูมิธรรมซึ่งเกิดขึ้นอย่างละเอียด ไม่มีสมมุติ บัญญัติ เรียกว่า "ภูตัง" หมายถึงสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่โดยธรรมชาติของมันอย่างนั้น แต่ไม่ทราบว่าจะเรียกว่าอะไร สงสัยต่อไปในเมื่อเราไม่สามารถจะเรียกว่าอะไร ทำอย่างไรเราจึงจะรู้สิ่งนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกไว้ แม้แต่ท่านแสดงธรรมจักกฯ ให้ภิกษุปัญวัคคีย์ฟัง


เมื่อท่านอัญญาโกณฑัญญะรู้ธรรม เห็นธรรม ก็รู้แต่ว่า


















































"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา


















































Foot step to Buddha

































......................





"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา

























































บุญแท้จริงไม่ติดโลก


หลวงปู่ดุลย์ อตุโล



“ขอให้ท่านทั้งหลายจงสำรวจดูความว่า ตรงไหนที่ตนเห็นว่ามันสุขที่สุดในชีวิต ครั้นสำรวจดูแล้วมันก็แค่นั้นแหละ แต่ที่เราเคยรู้เคยพบมาแล้วนั่นเอง ทำไมจึงไม่มากกว่านั้น มากกว่านั้นไม่มี โลกนี้มีอยู่แค่นั้นเอง แล้วก็ซ้ำๆ ซากๆ อยู่แค่นั้น เกิดแก่เจ็บตายอยู่ร่ำไป มันจึงน่าจะมีความสุขชนิดพิเศษกว่า ประเสริฐกว่านั้น ปลอดภัยกว่านั้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านจึงสละสุขส่วนน้อยนั้นเสีย เพื่อแสวงหาสุขอันเกิดจากความสงบกาย สงบจิต สงบกิเลส เป็นความสุขที่ปลอดภัยหาสิ่งใดเปรียบมิได้เลย”






























ขอบคุณ ธรรมะดีๆ จาก
//www.agalico.com/board/showthread.php?t=17353

ขอบคุณคุณมดเอ็ก อนุโมธนาที่นำมาเผยแพร่ค่ะ
ขอบคุณอย่างยิ่งกับภาพ จาก
//www.dangngo.com/buddha/places/


(เดี๋ยว)เรื่องดี เรื่องร้าย เกิดขึ้นกับเราเสมอ
ใช้ธรรมเตือนสติ(ตัวเอง) เผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆด้วยสติ พยายาม










































 

Create Date : 25 มิถุนายน 2551    
Last Update : 26 มิถุนายน 2551 12:25:34 น.
Counter : 1891 Pageviews.  

Mistake is ..to learn... Self-understanding is graduated...

























Mistake is ..to learn...
Self understaning is graduated...


Letting go... is the process of enlightenment...





















Mistakes are a part of being human.
Appreciate your mistakes for what they are:
precious life lessons that can only be learned the hard way.
Unless it's a fatal mistake, which, at least,
others can learn from.
Al Franken

ความผิดพลาด เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
จงเห็นคุณค่าและเรียนรู้จากความผิดพลาด
เพราะเรามักจะตาสว่างและเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนตนเอง
จากบทเรียนที่เจ็บปวดเท่านั้น
ยกเว้นแต่ว่า บทเรียนนั้น จักพรากชีวิตเรา
แม้นกระนั้น ก็ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นอยู่ดี


.............................................
























An error is the more dangerous in proportion
to the degree of truth which it contains.
Henri-Fréderic Amiel
















No matter how far you have gone on the wrong road,
turn back.
Turkish Proverb

ไม่ว่าคุณจะเดินทางพลาดไปไกลมากมายเพียงใด
จงหันหลังกลับ





































A man must be big enough to admit his mistakes,
smart enough to profit from them,
and strong enough to correct them.
John C. Maxwell

กล้าหาญพอที่จะยอมรับความผิดพลาด
ฉลาดพอที่จะเรียนรู้และได้ประโยชน์จากมัน
เข้มแข็งพอที่จะแก้ไข ให้ถูกต้อง






........................................





An expert is a person
who has made all the mistakes
that can be made in a very narrow field.
Niels Bohr










..................................




Mistakes, obviously, show us what needs improving.
Without mistakes,
how would we know what we had to work on?
Peter McWilliams

ความผิดพลาด ทำให้เรารู้ว่า เราต้องปรับปรุงพัฒนาอะไรบ้าง
ที่ไม่มีความผิดพลาด เราจะเรียนรู้ และพัฒาตนได้อย่างไร




















If I had my life to live over...
I'd dare to make more mistakes next time.
Nadine Stair


















Laughing at our mistakes can lengthen our own life.
Laughing at someone else's can shorten it.
Cullen Hightower
































No one who cannot rejoice
in the discovery
of his own mistakes deserves to be called a scholar.
Donald Foster

นักปราชญ์ย่อมเห็นคุณค่าและยินดี เมื่อได้เรียนรู้ข้อบกพร่องของตน







.................................

















It's always helpful to learn from your mistakes because
then your mistakes seem worthwhile.
Garry Marshall

ถ้าคุณเรียนรู้จากความผิดพลาดได้
ความผิดพลาดนั้นย่อมไม่สูญเปล่า



























Mistakes, obviously, show us what needs improving.
Without mistakes,
how would we know what we had to work on?
Peter McWilliams

























บุคคลนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ





วิธีดูจิต ๘ คู่

คู่ที่ ๑ จิตประกอบด้วยราคะ หรือไม่ประกอบด้วยราคะ

ราคะ คือความกำหนัด. ความหมายของราคะ
คือเมื่อจิตเพ่งเล็งใคร่จะได้จะเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยอารมณ์
อารมณ์ที่มีต่อสิ่งนั้น เป็นราคะ ถ้าใคร่จะได้รุนแรงก็เป็นกามราคะ
ถ้าครอบคลุมทั่วๆไป เรียกว่าความโลภ
ถ้าโลภจดจ้องไม่สม่ำเสมอ เรียกว่าวิสมโลภะ กำหนัดอยู่
หรือกำหนัดแล้วก็ตาม. อาการของจิตเหล่านี้
เป็นอาการของจิตที่ดึงเข้ามา รวบรัดไว้ เป็นลักษณะความกำหนัด.



คู่ที่ ๒ จิตมีโทสะหรือไม่มีโทสะ.

โทสะนั้น เป็นอาการของจิตที่ผลักออกไป
ปฏิเสธไม่เอา ไม่ชอบ อยากทำลาย,
อาการที่เป็นความรู้สึกอย่างนี้มีต่อสิ่งใด, อาการนั้นเป็นโทสะ.



คู่ที่ ๓ จิตมีโมหะหรือไม่มีโมหะ.


โมหะ แปลว่าหลง มีความหมายว่าไม่รู้จะเอาอย่างไรแน่
จะดึงเข้ามาก็ไม่เชิง จะผลักออกไปก็ไม่เชิง
เป็นอาการที่พะวงสงสัย เป็นการเฉยไว้ทีก่อน.
อาการอย่างนี้จัดอยู่ในทางปฏิบัติผิดเช่นกัน.


คู่ที่ ๔ จิตกำลังห่อเหี่ยวหรือฟุ้งซ่าน.

คือ อาการของจิตห่อเหี่ยวฟุ้งซ่านเพราะร่างกายแปรปรวน
อันเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ
หรือเพราะอาการของจิตเองเป็นเหตุ
คือ จิตประกอบอยู่ด้วยกิเลส.



คู่ที่ ๕ จิตตั้งอยู่ในฌาน หรือไม่ตั้งอยู่ในฌาน "ฌาน"

ในกรณีนี้ หมายถึงความเพ่ง, จิตเพ่งอยู่จดจ่ออยู่ที่สิ่งใด
จิตมีฌานอยู่ในสิ่งนั้น.
จะเพ่งจดจ่อให้จิตที่สงบเป็นสมาธิ
หรือเพ่งให้เป็นวิปัสสนาญาณ
คือความรู้แจ้งแทงตลอดต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็ได้.




คู่ที่ ๖ จิตมีจิตอื่นเหนือกว่า หรือไม่มีจิตอื่นเหนือกว่า.

จิตมีจิตอื่นเหนือกว่า มายความว่า
จิตกำลังว่าง เพราะหลุดพ้นจากกิเลสอยู่หรือไม่
จะเป็นลักษณะชั่วขณะหรือถาวร ก็ตาม
ถ้าหากว่าจิตที่หลุดพ้นอย่างนี้มีอยู่
เกือบทุกลมหายใจออกเข้านั่นย่อมเป็นสุขมาก.




คู่ที่ ๗ จิตตั้งมั่น หรือไม่ตั้งมั่น.


ลักษณะจิตอย่างนี้
เป็นลักษณะของจิตที่มีอะไรมาเปลี่ยนได้ยาก
มีอะไรมาให้รักให้โกรธ ก็ไม่รักไม่โกรธโดยง่าย
เป็นอารมณ์ที่ไม่วิหวั่นไหวโดยง่าย
เป็นจิตมีตั้งมั่น.



คู่ที่ ๘ จิตปล่อยอยู่หรือจิตไม่ปล่อยอยู่


หมายความว่า
จิตปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น ว่า ว่าเรา ว่าของเรา
อยู่หรือไม่ คือจิตอยู่ในอาการด้วยความเห็นว่า
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.
(เมื่อดูจิต ๘ คู่ อย่างนี้แล้ว จิตอื่นๆก็จะเห็นได้ง่าย).



เอ่ยถึงข้อที่ ๑๐ ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง
หมายความว่าต้องทำให้มีขึ้น
คือทำให้จิตเป็นจิตละเอียดสุขุมด้วยความปีติปราโมทย์,
ปีติปราโมทย์ เพราะได้ลาภ ยศ สรรเสริญ
ก็อย่างหนึ่ง,ปีติปราโมทย์เกิดจาก
การทำจิตให้รำงับเป็นสมาธิก็อย่างหนึ่ง,
ปีติปราโมทย์ที่เกิดจากวิปัสสนา
เพราะความรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง นี้ก็อย่างหนึ่ง.

ข้อที่ ๑๑ ทำจิตให้ตั้งมั่น. ข้อที่ ๑๒ ทำจิตให้ปล่อย,
ได้กล่าวแล้วข้างต้น.

ข้อที่ ๑๓ ตามเห็นความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ.
คือ ขันธ์ ๕ หรือสังขารทั้งหลายเหล่านั้นไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ ไม่ใช่เราไม่ ใช่ของเรา.

ข้อที่ ๑๔ ตามเห็นความจางคลายอยู่เป็นประจำ
คือเห็นความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในขันธ์ ๕
เพราะเห็นขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง.

ข้อที่ ๑๕ ตามเห็นความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ
คือเห็นความรำงับดับลงของจิตที่เกิดจากความรุ่มร้อนเพราะความโกรธ
หรือเพราะความหวั่นไหว เพราะความซัดส่าย
เพราะความพะว้าพะวัง เพราะความสะดุ้งหวาดเสียว
ที่จิตเข้ายึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง ๕
อาการของจิตอย่างนี้ คือ ความดับไม่เหลือ.

ข้อที่ ๑๖ ตามเห็นความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ.
คือสลัดกลับออกไป ของสิ่งที่จิตเข้าไปยึดมั่นถือมั่น คือขันธ์ ๕ นั่นเอง.

(อ้างอิง อริย. ๑๒๐๗. อ้างถึง บาลี อุปริ. ม. ๑๔ / ๑๙๗ - / ๒๙๐).

















































มาแบบยาวๆ อีกและ..
ขอบคุณทุกคนที่เป็นกำลังใจกันเสมอค่ะ
มีความสุข อิ่มกาย อิ่มใจค๊าบบ..






 

Create Date : 17 มิถุนายน 2551    
Last Update : 18 มิถุนายน 2551 6:19:41 น.
Counter : 1904 Pageviews.  

ให้นำใจ(3) : ๑,๒๔๐ รูป ๑,๒๕๐ ก้าว.....




















ความเป็นพระคืออะไร?











ความเป็นพระ



ความเป็นพระ คือจิตพราก จากกิเลส
รู้สังเกต ไม่ประมาท ฉลาดเฉลียว
สำรวมระวัง รักษาใจ ไปท่าเดียว
เพื่อหลีกเลี้ยว ภัยทั้งสาม ไม่ตามตอม

















............................ 1





จากเรื่องกิน เรื่องกาม และเรื่องเกียรติ

เห็นเสนียด ในร้อนเย็น ทั้งเหม็นหอม

ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่ออมชอม

กิเลสล้อม ลวงเท่าไร ไม่หลงลม



























................................... 2



























3












จิตสะอาด ใจสว่าง มโนสงบ

ทั้งครันครบ กายวจี ที่เหมาะสม

ความเป็นพระ จึงชนะ เหนืออารมณ์

โลกนิยม กระหยิ่มใจ จึงไหว้แลฯ









4 .........................




ที่มา : //www.buddhadasa.com
คำสอนท่านพุทธทาสภิกขุ












............................................. 6











7




















วันนี้ เสาร์ที่ 7 มิถุนายน 2551

ขอเริ่มก้าว 1250 ก้าว
เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
ขอให้เกื้อหนุน ให้สำเร็จทางดล
บรรลุผล ดลศรัทธา






















................................


Better than a thousand hollow words, is one word that brings peace.
Buddha




























Those who are free of resentful thoughts surely find peace.
Buddha

















A jug fills drop by drop.
Buddha





















ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๓





"มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น


ย่อมาจากคำว่า"มาฆบุรณมี"



แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ
เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง




วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา



คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป











คำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ "จาตุร" แปลว่า ๔ "องค์" แปลว่า ส่วน "สันนิบาต" แปลว่า ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ ๔" กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ







๑. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหาร
ในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจาก
พระพุทธเจ้าทั้งสิ้น



๓. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์
๔. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ





















จิตที่ไม่รู้เท่าทันการกระทบผัสสะ


ก็จะไม่เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลายไปของจิต
ก็จะไม่ทันปล่อยให้จิตที่เกิดขึ้นสลายไปตามธรรมชาติ

อนุสัยที่มีอยู่ก็ส่งแรงมาดึงจิตไว้
ปรุงประกอบจิตให้เกิดเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เป็นขันธ์ 5 ขึ้นมา จิตที่รู้ไม่เท่าทันก็จะมายึดเกาะเอา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณขึ้นมาอีก ว่าเป็นของจริง มีจริง อาการเช่นนี้เรียกว่า เกิด "อุปาทาน" ขึ้น



ภาวะที่เกิดอุปาทานขึ้นมาแล้วนี้ ก็คือ
ภาวะของจิตที่เกิดเป็นความนิ่งกับขันธ์ 5 เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นภาวะที่นิ่ง







จะทำให้เรารู้ว่ามีตัวของเราอยู่ รู้ว่าเรานึก เราคิด เรารู้สึก
รู้ว่าเรามีอารมณ์ ยิ่งเกิดอุปาทานยึดถือเอามากเท่าไร
ก็เกิดความนึกคิด ความรู้สึก และอารมณ์มากขึ้นเท่านั้น
เมื่อเราไปนิ่งกับขันธ์ เห็นขันธ์เป็นสิ่งที่นิ่ง
สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเรา ก็คือ ความทุกข์.



ที่มา: หนังสือ "สมาธิหมุน จิตวิวัฒน์เพื่อความพ้นทุกข์"
เรียบเรียงโดย คุณเกียรติศักดิ์ แสงสุวรรณ










นำวันสำคัญแห่งการรวมตัวกันของพระอรหันต์ 1250 รูป





นำมาไว้เตือนใจตน

เป็นที่พึ่งทางใจค่ะ

มีพลังในการทำงาน(ในวันจันทร์)เยอะๆค่ะ




 

Create Date : 08 มิถุนายน 2551    
Last Update : 8 มิถุนายน 2551 18:32:28 น.
Counter : 2461 Pageviews.  

ให้นำใจ(2) : เป็นเพียงอาการของจิต ระลึกรู้





































อุบายถ่ายถอนอนุสัยกิเลส



อนุสัยกิเลส คือกิเลสอย่างละเอียด มั้นนอนอยู่ในสันดาน
จะไม่ปรากฏให้เราเห็น



ต่อเมื่อกระทบอารมณ์ที่ชอบหรือไม่ชอบนั่นแหละมันจะปรากฏรักหรือโกรธให้เห็น




เราต้องศึกษาเพื่ออบรมจิตให้มีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันว่า



เป็นเพียงอาการของจิต







เมื่อมันรักหรือโกรธขึ้นมา เราดูความรู้สึกนั้น มันเป็นเพียงอาการของจิตไม่ใช่เรา เป็นสักว่าความรู้สึกเกิดขึ้นตามธรรมชาติ


















"อดีตคือความฝัน ปัจจุบันคือความจริง ไม่มีใครสร้างความเดือดร้อนให้เราได้ นอกจากตัวเราเอง"

หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกองเพล จ.หนองบัวลำภู







เมื่อความคิดเกิดขึ้นก็ดูความคิด มันเป็นเพียงอาการของจิตไม่ใช่เรา เป็นสักว่าความคิดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ อะไรที่เป็นความจำในอดีต หรืออะไรที่เราคาดหวังในอนาคต อย่านำมาคิดคำนึง
















"ปล่อยจิตว่าง แล้วจิตสบาย เพราะจิตเป็นหนึ่งไม่ขุ่นมัว ไม่มีอารมณ์มาฉาบทาดวงจิตแล้ว ดวงจิตใส ดวงจิตขาว จิตเย็นมีแต่ความสบาย รู้เท่าสังขาร รู้เท่าความเป็นจริง จิตเราไม่หวั่นไหวต่อสิ่งทั้งปวง ถึงมรณะจะมาถึงก็ตาม ทุกขเวทนา เจ็บปวด มาถึงก็ตาม ไม่มีความหวั่นไหวต่อ สิ่งเหล่านั้น "
หลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดป่าถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำพู จ.อุดรธานี






สิ่งเหล่านี้ไม่ทำให้เราบริสุทธิ์หรอก ความบริสุทธิ์อยู่ตรงอารมณ์เฉพาะหน้า รู้สิ่งที่ปรากฏด้วยจิตที่เป็นกลาง ไม่เพลิดเพลิน ไม่ยึดถือ













ทำซ้ำๆแค่นี้แหละ อนุสัยกิเลสมันจะดับไปโดยลำดับ







“ทุกข์” เพราะ “เพลิน”
มิคชาละ ! เรากล่าวว่า “ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ มีได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งความเพลิน”

...............................................
พระโพธิญาณเถร
หลวงปู่ชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี





ถ้าแม้อายตนะหนึ่ง(ในอายตนะ ๑๒)
อันบุคคลพึงเพลิดเพลิน พึงยึดถือ ถึงกล้ำกลืนไม่มีในเหตุนั้นอันนี้เทียว
เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย

เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับศาสตรา และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในเพราะเหตุนั้น




........................................

"นักปฏิบัติภาวนาต้องทำอย่างจิงจัง ให้เอาตายเข้าแลก" (หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี )












1. ในโลกนี้เป็นธาตุทั้งนั้น ให้รู้เท่าทันกับธาตุอย่าหลงตามธาตุ
2. ให้เห็นปัจจุบันธรรม อย่าส่งจิตอนาคต และ อดีต
3.ธาตุ 84,000 ธาตุออกมาจากจิตหมด
4.นิโรธเป็นของดับเพราะรู้เท่าทันแล้ว จิตไม่เกิดยินดี ยินร้าย ดับไปเช่นนี้ ชื่อว่านิโรธ
5.แสดงฌานเป็นที่พักชั่วคราวแล้วเจริญจิตต่อ ๆ ไป
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต








..................................


ความไม่ประมาท คือเป็นผู้มีสติจดจ่ออยู่ที่กายและใจทุกอิริยาบถ ไม่มีการเผลอสติ จึงจัดว่าเป็นผู้ไม่ประมาท























































ขอบคุณเวปอกาลิโกและ
//www.meeboard.com/view.asp?user=namo_satu&groupid=1&rid=10&qid=10
ค่ะ


อีกครั้ง
ขอนำธรรมะอัญเชิญมาไว้น้อมนำใจตน

กราบพระครูอาจารย์
ผู้เป็นที่พึ่งทางใจ

หากผิดพลาดไม่สมควรอย่างไร ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

ขอบคุณกำลังใจของเพื่อนทุกคนค่ะ










 

Create Date : 01 มิถุนายน 2551    
Last Update : 1 มิถุนายน 2551 19:22:12 น.
Counter : 2197 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  

treehouse
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Emo น้องลิง
Emo น้องเพนกวิน
X
X
เพียงขีดเขียน จากแรงบันดาลใจ ..ที่สัมผัสในใจ ในผู้คน........ (ขอบคุณเจ้าของรูปและเพลง ที่นำมาใส่ในบล๊อกนี้ทุกท่านนะคะ ขอบคุณที่ทำให้ โลกสวย และไพเราะค่ะ)
Friends' blogs
[Add treehouse's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.