"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics
'อิสราเอล' มหาอำนาจเทคโนโลยีจัดการน้ำ

'อิสราเอล' มหาอำนาจเทคโนโลยีจัดการน้ำ

กล่าว กันว่า “อิสราเอล” เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่พระเจ้าประทานมาด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่กึ่งกลาง ระหว่างสามทวีป คือยุโรปเอเชีย และแอฟริกา เป็นที่กำเนิดของ 3 ศาสนา คือคริสต์ อิสลาม และยูดาห์ ในประเทศนี้ จัดอยู่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีพรมแดนติดกับเลบานอน ซีเรีย จอร์แดนและอียิปต์ มีประชากรราว 6.5 ล้านคน สภาพภูมิประเทศค่อนข้างแคบและยาว มีความยาวประมาณ 470 กม. กว้าง 135 กม. ครึ่งหนึ่งของ ภูมิประเทศเป็นพื้นที่ทะเลทรายแห้งแล้ง แต่อิสราเอลก็สามารถพัฒนาระบบชลประทาน แบบน้ำหยด นำน้ำมาใช้กับพืชอย่างคุ้มค่า โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการปล่อยหยดน้ำ จนสามารถปลูกพืชผักส่งออกได้เป็นอันดับ1 ในยุโรป








ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ทะเลทรายแห้งแล้ง ปัญหาเรื่องน้ำจึงเป็นเรื่องสำคัญระดับประเทศ ขณะที่ปริมาณน้ำฝนต่อปีจัดอยู่ระหว่าง 1,000 มิลลิเมตร ทางเหนือสุดของประเทศ และต่ำสุดจนถึง 31 มิลลิเมตร ทางใต้สุด นอกจากนี้ในช่วง 4 เดือนที่มีฝนตกตั้งแต่ พ.ย.จนถึง ก.พ. ปริมาณน้ำฝนแต่ละปีไม่คงที่ นับเป็นประเทศที่ขาดแคลนน้ำ จึงต้องใช้ความพยายามอย่างหนัก ในการหาแหล่งน้ำใหม่ๆอยู่เสมอ ในระหว่างปี พ.ศ. 2503-2512 อิสราเอลจึงต้องทำทุกวิถีทาง ที่จะผลิตน้ำให้พอใช้ตามความต้องการ ทั้งการสร้างท่อส่งน้ำขนาดใหญ่ ส่งน้ำจากเหนือลงมาทางภาคใต้ที่แห้งแล้ง รวมทั้งการทำฝนเทียม การนำน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์ และการกลั่นน้ำจืดจากทะเล

แนววิธีเพื่อต่อสู้กับความแห้งแล้งของแผ่นดินทะเลทรายอย่างต่อเนื่อง ทำให้อิสราเอลวันนี้ กลายมาเป็น “มหาอำนาจเทคโนโลยีของน้ำ” เลยทีเดียว และเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านน้ำไปในรูปของธุรกิจ ในทุก 2 ปี อิสราเอลจะจัดงานแสดงเทคโนโลยี่ และนวัตกรรมสุดยอดการจัดการน้ำ ภายใต้ชื่องานว่า วอเทค (WATEC) และในปีนี้ งานวอเทค2009 ครั้งที่ 5 จะมีขึ้น ระหว่าง 17-19 พฤศจิกายน 2552 ณ กรุงเทลอาวีฟ เพื่อจัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมล่าสุดเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และสิ่งแวดล้อมของอิสราเอล และเป็นเวทีหารือ และแสวงหาความร่วมมือทางธุรกิจในสาขาดังกล่าว ระหว่างสถาบันและบริษัทที่เกี่ยวข้องของอิสราเอลและบริษัทต่างชาติ ก่อนที่งานจะเริ่มต้น ทางผู้จัดงานได้เชิญสื่อมวลชนและนักธุรกิจ จากนานาประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอันดีกับอิสราเอล มาอย่างยาวนานอาทิ ไทย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา จีน สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก ตุรกี อัฟกานิสถาน แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น มาเยี่ยมชมบริษัทผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการจัดการน้ำและระบบการจัดการสิ่ง แวดล้อมด้านน้ำ ก่อนที่จะนำเทคโนโลยีของตัวเองไปโชว์ในงาน










มร.โบกี้ โอเรน ประธานการจัดงานวอเทค 2009 กล่าวว่า “อัตราการเติบโตของประชาชนทั่วโลก และการเติบโตของสังคมเมืองที่มากกว่าชนบทแบบก้าวกระโดด รวมถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจที่รุมเร้า ก่อให้เกิดความท้าทายของภาครัฐบาลและ อุตสาหกรรม และเหล่านักลงทุนที่มีศักยภาพที่จะจัดการปัญหาที่จะตามมา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือการแข่งขันในการเข้าถึงข้อมูลของน้ำและแหล่งพลังงานอันจำเป็น ซึ่งการจัดการน้ำก่อให้เกิดข้อบังคับด้านกฎหมายที่สอดคล้องกับสังคม และเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน ในประวัติศาสตร์การจัดการน้ำแยกออกจากกัน แต่ขณะนี้มีการเชื่อมโยงกันมากขึ้น”

ประเทศอิสราเอลที่อยู่ในฐานะของแหล่งนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นที่รวมของผู้เชี่ยวชาญด้านจัดการน้ำทุกสาขา นอกจากนี้ ยังเป็นประเทศที่สร้างความประหลาดใจให้กับชาวโลก เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่น้ำที่นำสมัย รวมทั้งเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมด้วย










ทะเลกาลีลี่


ย้อนไปในอดีต อิสราเอลไม่มีความสมดุลด้านภูมิศาสตร์ การผันน้ำจากเหนือลงใต้ก่อให้เกิดระบบขนส่งน้ำแห่งชาติ โดยระบบถูกออกแบบทางวิศวกรรมโดยเอกชน บริษัท ทาฮาล กรุ๊ป (Tahal group) และบริษัท เมโกรอท (MEKOROT) พัฒนาเรื่องของระบบโครงสร้างของท่อส่งน้ำ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 จนกระทั่งสำเร็จในปี 2507 ระบบท่อต้องผ่านทางทะเลมาจากกาลีลี่ (Galilee) ในทางเหนือ ลงมาสู่ด้านใต้ของประเทศซึ่งเป็นทะเลทราย ความยาวของท่อน้ำราว 6,500 กม. เดินทางไปทั่วประเทศ ระบบน้ำทั้งหมดที่ขนส่งมีทั้งสิ้น 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับการอุปโภคบริโภคและผลิตกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ยังต้องนำน้ำไปเติมในใต้ดินในแผ่นดินทะเลทรายในฤดูหนาวเพื่อ ป้องกันการระเหยของน้ำใต้ดินซึ่งจะสร้างความชุ่มชื้นให้กับพืชผักที่ปลูกในทะเลทรายได้

นอกจากเรื่องของการเชื่อมต่อโครงข่ายน้ำแล้ว ความท้าทายอีกเรื่องของน้ำคือ การจัดการน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเรื่องที่ยากกว่าระบบการจัดการน้ำทั่วไปถึง 2 เท่า เพราะน้ำดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างใหญ่หลวง น้ำจากอุตสาหกรรมที่มีความเข้มข้นของสารพิษสูง น้ำเสียจากอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ สิ่งทอ หรืออุตสาหกรรมอาหาร รวมทั้งน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือนจะต้องถูกบำบัด อิสราเอลได้คิดค้นระบบแม่เหล็กเพื่อดูดจับโลหะหนักในน้ำ อาทิ น้ำเสียที่มีคราบน้ำมัน สีย้อมผ้า ผงซักฟอก รวมถึงการปล่อยกระแสไฟฟ้าลงไปในน้ำเสีย ทำให้ลดค่าใช้จ่ายการจัดการน้ำเสียลงถึง 15 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับระบบทั่วไป และทั้ง 2 ระบบได้มีการจดสิทธิบัตรอย่างเป็นทางการแล้ว

ประเทศอิสราเอล เห็นคุณค่าความสำคัญของน้ำมาก ขนาดลงทุนนำน้ำมารีไซเคิลถึง 75 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราการใช้น้ำ 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร นับเป็นอันดับหนึ่งในโลก ขณะที่อันดับ 2 คือสเปนนำน้ำมารีไซเคิล 12 เปอร์เซ็นต์

บริษัท ฮากิโฮน (Hagihon Ltd.) จัดอยู่บริษัทแนวหน้าของการบำบัดน้ำเสียที่ใหญ่สุดในอิสราเอล ตั้งอยู่ในเมืองเยรูซาเลม มีทุนจดทะเบียนถึง 5,000 ล้านบาท ทำธุรกิจจัดการน้ำแบบวันสต๊อป เซอร์วิสเกี่ยวข้องกับผู้คน 750,000 คน ในนครเยรูซาเลม รับผิดชอบทั้งการจัดหาแหล่งน้ำ เก็บกักน้ำโดยการสร้างอ่างเก็บน้ำรวม 20 แห่ง เก็บกักน้ำไว้ได้ 360,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อให้เพียงพอต่อชาวเยรูซาเลม รวมถึงการต่อยอดการบำบัดน้ำเสียพัฒนาให้เป็นก๊าซชีวภาพ

นอกจากนี้ยังมีบริษัทลูกที่รับสร้างโรงงานกรองน้ำสะอาด และการจัดการน้ำเสียในระบบเกษตรกรรม ผ่านระบบชลประทาน ทั้งนี้การจัดการน้ำเสียของบริษัทนี้นอกจากการใช้เทคโนโลยีอันซับซ้อนแล้ว กรรมวิธีที่เปิดเผยให้สื่อมวลชนดูเป็นเรื่องง่าย ที่บ้านเราใช้กันอยู่ ไม่ว่าการเติมออกซิเจนให้น้ำ ด้วยการปล่อยให้น้ำไหลขึ้นลงตลอดเวลาในบ่อบำบัด แล้วใช้เครื่องกวนน้ำขนาดใหญ่หมุนเป็นวงกลมในบ่อบำบัด ซึ่งกว่าจะมาถึงขั้นตอนนี้ น้ำเสียจะถูกกรองเอาเศษขยะ เศษซากพืชออกเสียก่อน เมื่อบำบัดได้ที่ ระบบน้ำจะปล่อยลงสู่ระบบชลประทาน ด้วยการปล่อยน้ำลงมาจากที่สูงเหมือนกับน้ำตก เพื่อเพิ่มออกซิเจนอีกรอบ

แน่นอน ฮากิโฮน จะรวบรวมเทคโนโลยีทั้งหลายประดามี มาร่วมในงาน วอเทค 2009 เปิดฉากเจรจาขายเทคโนโลยีให้กับผู้สนใจจากทั่วโลก ซึ่งคาดว่าจะมีผู้มาร่วม งาน 20,000 คนจาก 81 ประเทศ ในสัปดาห์มาติดตามเทคโนโลยีการจัดการน้ำอันก้าวหน้ารวมถึงการคิดค้นนวัตกรรม ทางพลังงานของชนชาติยิว ที่ใช้ปัญญาแก้ปัญหาจนก้าวสู่ระดับผู้นำด้าน เทคโนโลยีเรื่องน้ำและพลังงาน ที่กำลังกลายเป็นสินค้าส่งออก


ปัญหา “น้ำ” ในอิสราเอลจัดเป็นปัญหาระดับชาติ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ประสานความร่วมมือเพื่อให้มีน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค รวมทั้งทำการเกษตรได้ด้วย การเสาะแสวงแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำใต้ดิน น้ำเสีย และน้ำทะเล ประเทศนี้นำกลับมาใช้อย่างคุ้มค่า ทุ่มเทกำลังสมองเพื่อให้น้ำสะอาดบริโภคได้อย่างสะดวกใจสบายกาย บริษัทไอดีอี เทคโนโลยี (IDE technologies Ltd.) อยู่ในแถบเอลัต ด้านใต้ของอิสราเอลซึ่งแห้งแล้ง ถือว่าเป็นบริษัทที่มีระบบเทคโนโลยีแยกเกลือออกจากน้ำทะเล ทำให้ได้ราคาน้ำประปาออกมาด้วยต้นทุนถูกสุดในโลก คือ การผลิตน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร (1 ลูกบาศก์เมตรเท่ากับ1,000 ลิตร) ใช้เงิน 0.53 ดอลลาร์สหรัฐ

การผันน้ำทะเลเพื่อมาสกัดเกลือด้วยการกรองออก ของบริษัทแห่งนี้มาจากทะเลสาบกาลิลี่ ประสิทธิภาพของโรงงานมีกำลังการผลิต 330,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ผลิตออกมาได้ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก (WHO) ทั้งนี้ระบบการแยกเกลือออกจากน้ำทะเลยังมีเทคโนโลยีที่รักษาสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยใช้ไฟ 4 กิโลวัตต์ต่อการผลิตน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ของกระบวนการผลิตน้ำทั้งหมด บริษัทแห่งนี้ตั้งมา 40 ปีแล้ว ที่ผ่านมาได้เข้าไปติดตั้งระบบแยกเกลือออกจากน้ำทะเลมากกว่า 35 โรงงานใน 40 ประเทศ











น้ำทะเลที่กลั่นมาจากน้ำทะเลของโรงงานแห่งนี้มีคุณภาพและรสชาติที่ดื่มได้ อย่างสนิทใจ ซึ่งทางโรงงานบอกว่ารสชาติเทียบเท่ากับน้ำแร่ ผู้ดูงานทุกคนจะได้รับการชิมน้ำทะเลที่ผ่านกระบวนการทั้งสิ้น เพื่อยืนยันว่าน้ำทะเลนั้นดื่มได้จริง ๆ

เมโกรอท บริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีชื่อเสียงในการจัดการน้ำในอิสราเอล ถือว่าเป็นบริษัทน้ำแห่งชาติของอิสราเอล ทำหน้าที่จัดสรรน้ำจากแหล่งน้ำหลักของประเทศ 4 แห่งสำคัญของประเทศ คือในทะเลสาบ คินเนเล็ก น้ำใต้ดินที่มาจากชั้นหินทรายซึ่งอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล และหินปูนในพื้นที่เป็นภูเขา รวมถึงการแยกน้ำเกลือออกจากทะเล และน้ำกร่อย เมโกรอท รับจัดการเพื่อให้เป็นน้ำที่นำไปอุปโภคบริโภคได้ ซึ่งกรรมวิธีการทำน้ำสะอาดของแต่ละแห่ง เมโกรอท จึงต้องใช้เทคโนโลยีที่ต่างกัน ไม่ว่าน้ำที่มาจากชั้นหินซึ่งมีแร่ธาตุต่างกัน ทั้งแคลเซียม แมกนีเซียม รวมถึงเชื้อโรค จุลินทรีย์ต่างๆ ที่ปนเปื้อนในน้ำ มาทำให้น้ำสะอาด

น้ำจากแหล่งต่างๆ ข้างต้น จะถูกสูบไปตามท่อต่างๆ มีต้นทางอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ รวมถึงไปพักในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า เอชคอล ( Eshkol) ที่ต้องดูแลให้สะอาด ไม่ให้มีสาหร่ายหรือตะกอนตกค้างอยู่ในอ่าง เพราะอยู่กลางแจ้ง รับแสงตลอดเวลา ซึ่งเรื่องนี้ก็มีงานวิจัยรองรับอีกเช่นกัน

นับตั้งแต่ปี 2507 เป็นต้นมา ระบบขนส่งน้ำแห่งชาติที่เกิดขึ้นจาก เมโกรอท 80 เปอร์เซ็นต์ของน้ำ ถูกออกแบบมาใช้ในเรื่องของเกษตรกรรม และอีก 20 เปอร์เซ็นต์ ไปใช้ในชนบท แต่ต่อมาในปี 2513 สัดส่วนการใช้ในชนบทเพิ่มถึง 70 เปอร์เซ็นต์

นอกจากเรื่องการจัดสรรน้ำสะอาดแล้ว อิสราเอลมีบริษัทมากมายที่รับจ้างบำบัดน้ำเสีย ทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม ในระบบปศุสัตว์และเกษตรกรรม ผู้นำด้านการนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่อิสราเอลก็ยังครองความเป็นที่ 1 โดยคิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ของน้ำทั้งหมด

แอคไวส์ (Aqwise) บอกถึงสถานะของตัวเองไว้ว่าเป็นบริษัทชั้นนำในการพัฒนา สร้างสูตรสำเร็จของการแก้ปัญหาน้ำเสีย ทั้งน้ำเสียจากระบบอุตสาหกรรม เทศบาล ทั้งระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่ประสบความสำเร็จในการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียในเทศบาลและโรงงาน อุตสาหกรรมทั่วโลกที่เน้นหนักไปทางอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งในยุโรป อเมริกาเหนือ ตะวันออกกลางโดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้น้ำเสียเหล่านี้ คืนชีพมาเป็นน้ำดื่มได้อีกครั้ง สิ่งที่น่าสนใจของบริษัทแห่งนี้ได้คิดค้นเครื่องดักจับน้ำเสีย ที่เป็นพลาสติกมีรูพรุนไว้จับเศษตะกอนในน้ำ ขณะที่ปล่อยต้องกวนน้ำเสีย เพื่อเพิ่มออกซิเจน อันเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของบริษัท

ทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ชาวอิสราเอลถูกสอนให้รู้คุณค่าของน้ำ หน่วยงานราชการทั้งระดับประเทศและท้องถิ่นต่างร่วมรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดน้ำ ดังนั้นคำขวัญที่ว่า “อย่าสิ้นเปลืองน้ำสักหยดเดียว” จึงเป็นที่รู้จักไปทุกบ้านเรือนในอิสราเอล แม้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ของการกักเก็บน้ำ เพื่อให้เพียงพอต่อการเพิ่มขึ้นของประชากรที่เพิ่มในอิสราเอล กระทั้งระบบเปิดปิดวาล์วก๊อกน้ำ มาตรวัดน้ำ ชาวยิวก็คิดค้นไว้แล้ว เอ.อาร์.ไอ โฟล์ คอนโทรล (A.R.I. Flow Control Accessories Ltd.) ได้คิดค้นหัวก๊อกเปิดจ่ายน้ำได้อย่างแม่นยำ ลดการสูญเสียของน้ำซึ่งสามารถนำมาใช้ได้สำหรับอาคารบ้านเรือน นอกจากตั้งหน้าตั้งตาหาเทคโนโลยีด้านน้ำแล้ว ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆ ทั้งขยะ รวมถึงการจัดสรรการใช้พลังงานอื่นๆ ก็มีประสิทธิภาพ



















“ไฮร์เรีย” (Hirria) โรงงานบำบัดของเสียของเทศบาลกรุงเทลอาวีฟ จัดเป็นสถานที่ดูงานด้านสิ่งแวดล้อมอันขึ้นชื่อ เพราะที่นี่คือหลุมฝังกลบขยะของเมือง ที่ครอบคลุมพื้นที่ถึง 450,000 ตารางเมตร รัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลาง แก้ไขปัญหากลิ่นเหม็น และการลดปริมาณสำเร็จเมื่อปี 2541 ภายใต้การทำงานร่วมกัน ระหว่าง สมาคม ชุมชนเมือง และเทศบาลเมือง แปรเปลี่ยนขยะกองมหึมา ให้กลายเป็นศูนย์พิทักษ์สิ่งแวดล้อมขนาดใหญ่ในอิสราเอล ประกอบด้วยศูนย์แยกขยะรีไซเคิล ศูนย์ผลิตพลังงานสีเขียวหรือพลังงานบริสุทธิ์ โดยใช้ขยะเป็นวัตถุดิบ โดยขบวนการแยกขยะทั้งหลายใช้ระบบคอมพิวเตอร์และแรงงานผสมผสานกัน




















ขยะในโรงงานแห่งนี้ ยังนำไปสร้างสวนสาธารณะ อายาลอน (Ayalon Park) สวนสาธารณะขนาดใหญ่ ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 จัดให้เป็นสวนสาธารณะนำร่องสำหรับการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยใช้ปุ๋ยจากขยะมาบำรุงต้นไม้ ภายในสวนสาธารณะยังมีเนินสูงซึ่งเกิดจากขยะไร้พิษที่บำบัดแล้ว กลายเป็นจุดชมวิว อีกแห่งของ เทลอาวีฟ เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้เรื่องขยะอย่างครบวงจร เรื่องของการจัดการ การนำมารีไซเคิล หรือ รียูส การนำขยะมาแยกก๊าซชีวภาพ เป็นต้น เปิดโอกาสให้ นักเรียนและประชาชนทั่วไปมาเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับขยะภายใต้การบริหารงานชุมชนในท้องถิ่นเป็นหลัก












ลมและแสงแดด ที่มีอย่างเหลือเฟือในอิสราเอล ทำให้อิสราเอลมีศูนย์วิจัยและคิดค้นพลังงานทดแทนที่ทันสมัย ที่รู้จักกันในนาม โรเทม อินดัสทรี (Rotem Industries) ได้รวบรวมนักวิทยาศาสตร์และงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เช่น การเก็บกักพลังงานลมที่ใช้กังหันลมหน้าตาธรรมดาอย่างที่เห็นอาจจะ เอาต์ไปแล้ว เพราะได้มีการคิดค้นกังหันลมแนวตั้งที่สามารถเก็บพลังงานลมไว้แปรเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ด้วยการทำกังหันเป็นแนวตั้งรูปทรงคล้ายดอกบัวที่รู้จักในนาม วิน โลตัส (Wind lotus) มีใบพัด 5 แฉก แม้ลมไม่แรงมากแค่ความเร็วลม 3 เมตรต่อวินาทีก็ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 3.5-5.5 เมกะวัตต์ เพราะระบบออกแบบให้สามารถรับลมได้ทุกทิศทาง

* ผู้สนใจร่วมงาน WATEC 2009 ครั้งที่ 5 ระหว่าง 17-19 พฤศจิกายน 2552 ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่สถานทูตอิสราเอล โทร : 0-2204-9200 โทรสาร : 0-2204-9255 เว็บไซต์ //bangkok.mfa.gov.il


ข้อมูลจาก dailynews โดย พรประไพ เสือเขียว
วันอาทิตย์ ที่ 19 กรกฎาคม 2552 - วันอาทิตย์ ที่ 26 กรกฎาคม 2552
//www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=522&contentID=8938
//www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=522&contentID=10223


Create Date : 02 สิงหาคม 2552
Last Update : 2 สิงหาคม 2552 23:23:44 น. 15 comments
Counter : 15730 Pageviews.

 
น่าสนใจจริงๆ ขอบคุณนะครับผม


โดย: noooon010 วันที่: 3 สิงหาคม 2552 เวลา:17:16:22 น.  

 
เป็นเรื่องที่ดีมากๆ อีกอยากหนึ่งชอบเพลงที่คุณเอามาใส่ใน บล๊อคมากๆเลย


โดย: mutu IP: 118.173.250.14 วันที่: 4 สิงหาคม 2552 เวลา:11:43:58 น.  

 
เป็นประโยชน์มากครับ
อยากให้คนไทยได้อ่านเรื่องนี้เยอะๆ
จะได้กันหาทางพัฒนาบ้านเราบ้าง


โดย: นามว่า "เซี้ยง" (My_Salle ) วันที่: 7 สิงหาคม 2552 เวลา:16:22:40 น.  

 
คุณคงจะเป็นสถาปนิก หัวใจสีเขียว ^^

แต่...น่าจะเป็นสถาปนิกผังเมืองมากกว่า...

แต่ยังไงก็ขอบคุณนะคะ ที่นำความรู้มาให้อ่านกัน

วันนี้ได้ดูหนังเรื่อง HOME

แล้วอาจารย์ก็ให้ทำ world section 2050

คิดว่าจะตัดเอาแถวๆ อิสราเอง จอร์เจีย เรดซี นี่ค่ะ

อนาตค ปี 2050 จินตาการความเปลี่ยนเปลงไป... ^^


โดย: ^^ IP: 125.26.186.148 วันที่: 20 สิงหาคม 2552 เวลา:21:30:46 น.  

 
สวยมาก ๆ


โดย: ยัยกะล่อน IP: 125.26.251.112 วันที่: 23 พฤศจิกายน 2552 เวลา:10:46:56 น.  

 
เจงสุดดดดดดดไปเลย


อยากให้ไทยทำได้จัง






โดย: เด็กน้อย IP: 202.28.201.38 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:13:03:34 น.  

 
เจงสุดดดดดดดไปเลย


อยากให้ไทยทำได้จัง






โดย: เด็กน้อย IP: 202.28.201.38 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:13:03:34 น.  

 
ชื่นชมท่านจังค่ะ...อยากบอกว่าสุดหัวใจเลยค่ะ...**ปลื้มอ่ะ**ทำไงจะติดตามผลงานท่านได้เรื่อยๆค่ะ..อาจจะฟังบื้อๆแต่หนูก็เป้นควายหัวใจเขียวนะคะ...
อยากชวนท่านมาเที่ยวป่าดึกดำบรรพ์ที่ปัวสูดอากาศบริสุทธิืที่บ่อเกลือ จ.น่านบ้างน่ะคะ อิอิ...


โดย: นังมารร้าย IP: 119.42.123.107 วันที่: 15 พฤษภาคม 2553 เวลา:9:26:52 น.  

 
้ผมพึ่งได้อ่านครับสุดยอดจริงๆ ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลดี ๆ ถ้าเป็นไปได้ผมอยากทราบการทำระบบน้ำเกี่ยวการเกษตรครับ เพราะเห็นว่าเขาสุดยอดในเรื่องนี้ครับ


โดย: บัว IP: 110.49.242.80 วันที่: 24 มีนาคม 2555 เวลา:16:25:14 น.  

 
เสนอเรื่องมีสาระน่าอ่านมาก

แต่บล๊อก รกเหลือเกิน อ่านแล้วตาลาย ขี้เกียจอ่าน

น่าเสียดายมาก


โดย: butterfly angel วันที่: 19 พฤษภาคม 2555 เวลา:22:14:55 น.  

 
ขอบคุณในข้อมูลที่ได้นำมาเสนอ อยากให้ผู้บริหารในประเทศไทยนำระบบมาใช้ในประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคอีสานคร้บ


โดย: บนยอด IP: 125.24.171.25 วันที่: 5 ธันวาคม 2555 เวลา:6:45:53 น.  

 
หากป.ท.ไทย ได้นำวิวัฒนาการเรื่องการทำนำทะเลเป็นนำจืดจาก อิสราเอล มาใช้กับพืชของ ป.ท.ไทย ๆคงไม่ต้องมีปัญาหาเรื่องนำจยทุกวันนี้ ถึงจะลงทุนสูงแต่ตุ้ม


โดย: ทองม้วน IP: 27.130.232.229 วันที่: 12 มกราคม 2559 เวลา:9:42:25 น.  

 
หากป.ท.ไทย ได้นำวิวัฒนาการเรื่องการทำนำทะเลเป็นนำจืดจาก อิสราเอล มาใช้กับพืชของ ป.ท.ไทย ๆคงไม่ต้องมีปัญาหาเรื่องนำจยทุกวันนี้ ถึงจะลงทุนสูงแต่ตุ้ม


โดย: ทองม้วน IP: 27.130.232.229 วันที่: 12 มกราคม 2559 เวลา:9:42:40 น.  

 
ดีมากๆ ที่นำเสนอความคิดให้ติดสังคมไทย



โดย: ตัวเล็ก IP: 223.24.3.214 วันที่: 19 เมษายน 2560 เวลา:8:14:03 น.  

 
งาน WATECปีนีมีจัดอีกมั้ยค่ะ เนื้อหามีประโยชน์มากๆเลยค่ะ ไทยมีระบบการจัดการแบบนีหรือยัง เพราะบางพื้นทีแห้งแล้งและยังจัดการะบบน้ำไม่ได้ ขอบคุณสาระความรู้มากๆค่ะ


โดย: นาตยา IP: 1.47.235.39 วันที่: 30 กรกฎาคม 2561 เวลา:21:18:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.