ข้าวต้มปลาผักกาดดอง


















































ส่วนผสม


ข้าวสวย  1 1/2  ถ้วย
ผักกาดดองหั่นบาง  3/4 
ถ้วย
เนื้อปลาเก๋า ปลากะพง หรือปลาอินทรี หั่นชิ้นพอคำ  1  ถ้วย
ขึ้นฉ่าย
หั่นเป็นชิ้นยาว  2  ต้น
น้ำสต๊อกประมาณ  2 1/2  ถ้วย
ซีอิ๊วขาว 
1  ช้อนโต๊ะ
พริกไทยป่นเล็กน้อย

วิธีทำ


ต้มน้ำสต็อกให้เดือดใส่ผักกาดดองลงต้ม
ไฟไม่ต้องแรง เดือดสักครู่ใส่ข้าวที่หุงไว้ ต้มจนข้าวเริ่มบาน
และผักกาดดองนิ่ม ใส่เนื้อปลา ไม่ต้องคนรอจนเดือดก่อน ใส่ซีอิ๊วขาว
ต้มจนปลาสุก ก่อนยกขึ้นใส่ขึ้นฉ่าย โรยพริกไทยป่น รับประทานร้อนๆ


H&C Tips


      -
เมื่อนำข้าวสวยมาหุงเป็นข้าวต้มน้ำซุปจะไม่ขุ่น
แต่จะหุงข้าวต้มด้วยวิธีปกติก็ได้น้ำซุปจะขุ่นเล็กน้อย 
      -
ผักกาดดองนี้เป็นชนิดไม่มีใบจะซื้อชนิดกระป๋องหรือที่ดองตามตลาดของจีนก็ได้
ไม่ต้องแช่น้ำเพราะรสจะจืด ล้างให้สะอาดก็พอ
ถ้าชอบจะใส่น้ำผักกาดดองไปช่วยชูรสอีกนิดก็ได้
      - เนื้อปลาต้องสด
ใส่ในขณะที่น้ำเดือดและห้ามคน และควรรับประทานทันที
ถ้ากลัวเหม็นคาวให้แช่ปลาในน้ำนมไว้ในตู้เย็นสักครู่
หรือนำมาลวกก่อนโดยใช้น้ำขิงผสมกับเหล้าโรงใส่ในน้ำที่ลวกจะช่วยแก้ได้



ข้อมูลจาก healthandcuisine










Free TextEditor







































































































 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 18:22:35 น.
Counter : 449 Pageviews.  

ลูกเดือยคลุกผัก

















































ส่วน
ผสม



  • ลูก
    เดือย  1  ถ้วย

  • น้ำ  3  ถ้วย

  • เกลือเล็กน้อย    

  • แครอทหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า  1/4  ถ้วย

  • หอมหัวใหญ่หั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า  1/4  ถ้วย

  • น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันงาบริสุทธิ์  1  ช้อนโต๊ะ

  • ซีอิ้วขาว  1  ช้อนโต๊ะ

  • งาขาวคั่วบดหยาบเล็กน้อย    


วิธีทำ



  1. ล้างลูกเดือย
    ให้สะอาด ใส่เกลือและน้ำต้มจนสุก พักใส่ตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ

  2. หอมหัวใหญ่ แครอท ใส่น้ำเล็กน้อย
    ปิดฝาต้มไฟอ่อนจนสุกและน้ำแห้ง (ระวังอย่าให้ไหม้)

  3. ผสมน้ำมัน ซีอิ้วและงาตีให้พอเข้ากัน
    ใส่ลูกเดือยต้มสุกกับผักต้ม เทน้ำมันที่ผสมไว้คลุกให้เข้ากันเบาๆ ชิมรส
    ปรุงตามชอบ




ข้อมูล
จาก healthandcuisine








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 18:21:27 น.
Counter : 315 Pageviews.  

เคล็ดลับทำต้มยำกุ้งให้ถึงรสต้มยำ







































กุ้งที่จะนำมาทำต้มยำได้
อร่อย
จากที่เคยได้พูดคุยกับหลายๆ คน แม่สาลิกา สรุปได้ว่า
ได้แก่กุ้งแชบ๊วย หรือกุ้งนางค่ะ ถ้าเป็นกุ้งแม่น้ำได้ก็จะยิ่งดีใหญ่
กุ้งควรเป็นกุ้งสด เวลาแกะกุ้งให้ไว้หาง เวลาโดนน้ำร้อนจะได้ไม่หดมากค่ะ
ผ่าหลังและดึงเส้นดำออก น้ำที่ใช้ทำควรเป็นน้ำซุป อาจเป็นน้ำซุปไก่ก็ได้ค่ะ
ตั้งไฟจนน้ำซุปเดือด จากนั้นจึงใส่ตะไคร้
พอน้ำซุปเดือดมีกลิ่นหอมของตะไคร้โชยขึ้นมา จึงใส่พริกขี้หนูทุบ กุ้ง
และใบมะกรูด ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว และน้ำพริกเผา
(แนะนำให้ใช้สูตรสำหรับทำต้มยำ) ปิดไฟ หลังจากกุ้งสุกแล้ว
พยายามอย่าให้เดือดต่อเพราะจะทำให้กุ้งหดตัวเล็กลง และเนื้อแข็ง
ทานต้มยำกุ้งให้อร่อย ต้องทานตอนร้อนๆ ค่ะ แบบว่าทำเสร็จแล้วทานเลย
หากทิ้งไว้จนเย็นแล้วนำมาอุ่นใหม่ กุ้งจะหดแข็ง ทานไม่อร่อย
ส่วนมะนาวถ้าเอามาเดือดซ้ำรสก็จะเปลี่ยนอีกด้วย












ขอบคุณข้อมูล : thaifooddb








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 17:41:43 น.
Counter : 473 Pageviews.  

อาหารการกิน กับเด็กๆ


รูปแบบการใช้ชีวิตในสังคมเปลี่ยนไปจนแทบไม่เหลือเค้าเดิม
ยิ่งสังคมในเมืองใหญ่ด้วยแล้ว ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของเวลา
ทำให้วิถีชีวิตรวมถึงรูปแบบการกินต่างไปจากเดิม และส่งผลโดยตรงต่อเด็กๆ
ที่อาศัยอยู่ในเมือง จนเกิดปรากฏการณ์โรคอ้วน และโรคการกินอีกมากมาย
ที่อาจกำลังคุกคามทำร้ายลูกๆ ของคุณแม่อยู่

1.เลือกกิน ผิดสุขลักษณะ



ที่มา
        
พ่อแม่เผลอเป็นต้นแบบที่ไม่ดีให้กับลูกโดยตั้งใจ พ่อหรือแม่ที่เลือกกิน
ลูกก็จะเลือกกินด้วย เช่น ไม่กินผัก เลือกกินแต่ของหวาน
รวมถึงการกินที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ไม่ล้างมือก่อนกินข้าว
ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญแต่ผู้เลี้ยงดูส่วนใหญ่จะละเลย ไม่ค่อยใส่ใจ

เสี่ยงต่อ
         โรคอ้วน-ผอม ท้องผูก ท้องเสีย
เกิดการสะสมสารพิษในร่างกาย

วิธีแก้ไข
         -
ปรับพฤติกรรมของตัวพ่อแม่เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก  
         -
เลือกเมนูอาหารที่เหมาะสม เน้นการกินอาหารที่ครบ 5 หมู่
และอนุญาตให้ลูกกินของที่ชอบได้ ต้องจำกัดปริมาณด้วย 
         -
ต้องหาให้เจอว่าลูกไม่ชอบอะไร และกินชนิดไหนได้บ้าง
จากนั้นจึงปรับเมนูให้น่ากิน เริ่มจากสิ่งที่ลูกกินได้ก่อน แล้วค่อยๆ
เพิ่มชนิดใหม่ๆ ขึ้นจนลูกสามารถกินได้
เมนูที่ปรับต้องมีความหลากหลายและหน้าตาน่ากิน
เพื่อกระตุ้นให้เด็กอยากลองกิน 
         -
สอนลูกให้รู้จักเลือกผ่านประสบการณ์จริง เช่น พาลูกไปชอปปิ้ง จ่ายตลาด
ดูฉลากโภชนาการ
รวมถึงการพาลูกเข้าครัวก็จะเป็นสอนให้ลูกรู้จักสารอาหารที่จำเป็นและดีต่อ
ร่างกายด้วย 
         -
ย้ำและเตือนให้ลูกใส่ใจเรื่องความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ


2.กินจุบจิบ
ติดอาหารสำเร็จรูป




ที่มา
        
เด็กได้รับอาหารเช้าไม่เพียงพอ มักจะกินจุบจิบแก้หิว
ระหว่างวันยังชอบกินอาหารสำเร็จรูป ฟาสต์ฟู้ด
ส่วนหนึ่งเพราะแม่ไม่มีเวลาดูแลและทำอาหารให้ลูก ไม่ได้ช่วยลูกเลือกอาหาร
มักจะให้เงินเด็กไปซื้อกินเอง
ซึ่งอาหารส่วนใหญ่ที่เด็กชอบก็มักจะอุดมไปด้วยแป้งและไขมัน

เสี่ยงต่อ
         โรคอ้วน เบาหวาน
ไขมันในเส้นเลือด ปัญหาเรื่องข้อเข่า โรคหัวใจ

วิธีแก้ไข
         -
คุณแม่ควรเตรียมอาหารล่วงหน้า และหาสูตรและวิธีปรุงที่ใช้เวลาไม่นาน เช่น
ทำปริมาณมาก แล้วตักแบ่งพอกินต่อมื้อ
เตรียมส่วนประกอบและวัตถุดิบไว้ล่วงหน้า
ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งกับมื้อเช้าที่เร่งรีบ แต่มากด้วยประโยชน์ 
         -
หากไม่มีเวลาเตรียมเอง คุณแม่ควรกำหนดเมนูแล้วหาผู้ช่วยมาปรุง
การกำหนดเมนูทำได้ไม่ยาก พยายามกำหนดเมนูให้ครบ 5 หมู่มีความหลากหลาย
ทั้งต้ม ผัด นึ่ง อบ เพื่อให้มีความน่าสนใจ ไม่ซ้ำซากจำเจและน่ากิน
        
- เตรียมของว่างที่มีประโยชน์ มีติดบ้านไว้เสมอ เผื่อลูกหยิบกินเอง เช่น
ผลไม้ ผักสดกับดิบ
         -
หากิจกรรมให้ลูกทำและต้องจัดสรรเวลาให้ลงตัว
แม้จะเป็นเวิร์กกิ้งมัมก็ไม่ควรเอางานกลับมาทำที่บ้าน
โดยเฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์วันของครอบครัว
คุณควรให้เวลาลูกอย่างเต็มที่เพื่อให้อยู่ใกล้ชิดลูก มีเวลาดูแลลูกมากขึ้น

3.ชอบรสหวาน กินไม่เป็นมื้อ



ที่มา
        
พ่อแม่ให้รางวัลลูกด้วยของกิน
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของที่มีรสหวานมีประโยชน์ค่อนข้างน้อยแต่เด็กชอบ
เพื่อจูงใจเด็กให้ทำสิ่งที่พ่อแม่ต้องการ ทำให้เด็กมีพฤติกรรมติดหวาน
รสหวานทำให้เด็กรู้สึกอิ่มและไม่ยอมกินในมื้อต่อไป 
นอกจากนั้นชีวิตที่เร่งรีบ มีกิจกรรมมากมาย  พักผ่อนไม่เพียงพอ
ทำให้รู้สึกเพลีย ไม่อยากกินอะไร

เสี่ยงต่อ
         โรคอ้วน เบาหวาน ขาดสารอาหาร
ฟันผุ

วิธีแก้ไข
        
- ต้องงดให้รางวัลลูกด้วยวิธีผิดๆ
แล้วส่งเสริมลูกด้วยอาหารที่มีประโยชน์แทนขนมหวาน
         -
ฝึกให้ลูกกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากันจนเป็นนิสัย
ด้วยการตั้งกฎว่าเมื่อถึงเวลากินข้าวแต่ละมื้อ ทุกคนต้องมาทานพร้อมกัน
โดยหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ไว้ก่อน
วิธีนี้เป็นการฝึกระเบียบวินัยและฝึกให้ลูกรู้จักกินเป็นเวลา 
         -
ไม่เริ่มต้นให้ลูกกินรสหวาน เพราะคิดว่าจะถูกปากเด็กๆ
ซึ่งจะเป็นการสร้างความเคยชินให้กับลูก






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 17:11:45 น.
Counter : 1436 Pageviews.  

เคล็ดลับการดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์ แผนจีนอาหาร 10 อย่างที่ไม่ควรกินมากเกิน



เคล็ดลับการดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์
แผนจีนอาหาร 10 อย่างที่ไม่ควรกินมากเกิน

          
บรรดาอาหารสารพัดชนิดที่มีให้หาซื้อกันได้อย่างเสรีนั้น
มีคุณประโยชน์แตกต่างกัน อีกทั้งปริมาณที่กินเข้าไปด้วย นั่นคือ ไม่มากเกิน
ไม่น้อยเกิน แต่ควรกินอยู่ด้วยความพอดี ยึดทางสายกลางเป็นหลัก

เคล็ด
ลับการดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์จีน ว่าด้วยเรื่องอาหารการกิน 10 อย่าง
ที่ไม่ควรกินมากเกิน มีดังนี้


1. ไข่เยี่ยวม้า
ไข่เยี่ยวม้ามีส่วนประกอบของตะกั่วการกินไข่เยี่ยวม้าปริมาณมากๆ และบ่อยๆ
อาจเกิดพิษจากสารตะกั่ว นอกจากนั้นยังทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดน้อยลง
เกิดภาวะขาดแคลเซียม ทำให้กระดูกผุได้ 


2. ปาท่องโก๋ 
กระบวนการทำปาท่องโก๋มีการใช้สารส้มเป็นส่วน ประกอบ
และในสารส้มมีส่วนประกอบของตะกั่วการกินปาท่องโก๋ทุกวันจะทำให้ไตทำงานหนัก
ในการขับสารตะกั่ว ซึ่งเป็นพิษต่อสมองและเซลล์ประสาท ทำให้เสื่อมเร็ว
เป็นโรคความจำเสื่อมนอกจากนี้ย้งทำให้คอแห้ง เจ็บคอโดยเฉพาะคนที่ร้อนในง่าย


3. เนื้อย่าง 
ประเภทต่างๆเนื้อที่ถูกรม ย่างไฟ จะเกิดสารเบนโซไพริน 
ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง 


4. ผักดอง การกินผักดอง หรือของหมักเกลือนานๆ
จะเกิดการสะสมของเกลือโซเดียม ทำให้หัวใจทำงานหนัก เกิดโรคความดันเลือดสูง
และโรคหัวใจได้ง่ายนอกจากของหมักดองยังมีสารก่อมะเร็ง แอมโมเนียมไนไตรต์


5. ตับหมู  ตับหมู 1 กิโลกรัม มีโคเลสเตอรอลมากกว่า
400 มิลลิกรัม การกินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลปริมาณสูงมากๆ นานๆ จะทำ
ให้หลอดเลือดแข็งตัว มีความเสี่ยง ต่อโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดทางสมอง
รวมถึงโรคมะเร็งด้วย 


6. ผักขม,
ผักปวยเล้ง
ผักขม, ผักปวยเล้งมีสารอาหารอุดมสมบูรณ์
แต่มีกรดออกซาเลตมาก จะทำให้มีการขับสังกะสีและแคลเซียมออกจากร่างกายมาก
เกิดภาวะขาดแคลนแคลเซียมและสังกะสี 


7. บะหมี่สำเร็จรูป
บะหมี่สำเร็จรูปหลายชนิดมีสารกันบูด
สารปรุงแต่งรสที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายการกินบะหมี่สำเร็จรูปบ่อยๆ
จะทำให้ขาดสารอาหารและเกิดการสะสมสารพิษในร่างกาย 


8. เมล็ดทานตะวัน
เมล็ดทานตะวันมีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัว
การกินเมล็ดทานตะวันปริมาณมาก จะทำให้ระบบเมตาบอลิซึมของไขมันผิดปกติ
ทำให้มีการสะสมไขมันที่ตับได้ เป็นอันตรายต่ออวัยวะตับ 


9. เต้าหู้หมัก, เต้าหู้ยี้ กระบวนการหมักเต้าหู้
มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่ายนอกจากนี้ ยังมีสารย่อยสลายโปรตีน
ไฮโดรเจนซัลไฟล์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย 


10. ผงชูรส คนเราไม่ควรกินผงชูรสเกินกว่า 6 กรัมต่อวัน
จะทำให้กรดกลูตามิกในเลือดสูง ซึ่งมีผลต่อการทำงานของ
ประจุแคลเซียมและแมกนีเซียม เกิดอาการปวดศีรษะ ใจสั่น คลื่นไส้ นอกจากนี้
มีผลเสียต่ออวัยวะสืบพันธุ์ด้วย

ที่กล่าวมาเป็นภูมิปัญญาโบราณ ความเชื่อที่สืบทอดปฏิบัติกันมา
ปัจจุบันมีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายมากขึ้น






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 17:07:47 น.
Counter : 1014 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.