“กาแฟ” ดีหรือร้ายกันแน่



 
ที่ผ่านมาเราเชื่อกันว่ากาแฟมีผลต่อโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง กระดูกพรุน
ทำให้เป็นหมัน ทำให้หญิงตั้งครรภ์แท้งหรือทารกน้ำหนักน้อย เป็นต้น
แต่การวิจัยในระยะหลังระบุว่าการดื่มกาแฟเพียงวันละ 1-2 ถ้วย
ไม่น่าจะมีปัญหา และอาจให้ผลดีหากดื่มให้เป็น แต่ถ้ามากเกินไปก็ไม่ดี


กาแฟ
กับโรคหัวใจ

          ผลการศึกษากับคนมากกว่า 400,000
คน ไม่พบว่าการดื่มกาแฟทั้งชนิดที่มีกาเฟอีน และชนิดสกัดกาเฟอีนออก
เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
         
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งที่ติดตามดูผู้หญิง 27,000 คน
เป็นระยะเวลา 15 ปี พบว่าการดื่มกาแฟปริมาณน้อยๆ ประมาณวันละ 1-3 ถ้วย
ลดความเสี่ยงโรคหัวใจให้น้อยลง 26% อย่างไรก็ตาม
หากดื่มกาแฟปริมาณมากกว่านี้จะไม่ได้ผลดีในการลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

กาแฟ
กับความดันโลหิต

         
เว็บไซต์มูลนิธิโรคหัวใจและสโตรคแคนาดา
ระบุว่าคนที่ไม่ได้ดื่มกาแฟเป็นประจำ
มีแนวโน้มว่ากาเฟอีนจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นชั่วคราว
         
ส่วนคนที่ดื่มในปริมาณมากเป็นประจำ เช่น กาแฟวันละ 5 ถ้วย
มีส่วนทำให้ความดันโลหิตตัวบนเพิ่มขึ้น 2.4 มิลลิเมตรปรอท
และความดันโลหิตตัวล่างเพิ่มขึ้น 1.2 มิลลิเมตรปรอท
         
แต่ถ้าดื่มเป็นประจำในปริมาณน้อยๆ ผลกระทบยังไม่แน่นอน
มีการศึกษาที่ติดตามพยาบาล 155,000 คนที่ดื่มกาแฟมานาน 10 ปี
พบว่าทั้งกาแฟชนิดที่มีกาเฟอีนและชนิดที่สกัดกาเฟอีนออก
ไม่ทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น
          นอกจากนี้ คณะวิจัยจาก John
Hopkins ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 1,000 คน ติดตามไป 33 ปี
ก็พบเช่นกันว่ากาเฟอีนมีผลต่อความดันเลือดน้อยมาก

          ในทางกลับกัน
การศึกษาจาก VA Medical Center ใน Oklahoma City สหรัฐอเมริกา
พบว่าคนที่มีความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว ยิ่งดื่มกาแฟ
ก็จะยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
         
การศึกษาทำกับผู้ชายที่มีระดับความดันโลหิตต่างๆ กัน
ตั้งแต่ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือสูงเล็กน้อย
ไปจนถึงผู้ที่มีความดันโลหิตสูง จำนวนผู้เข้าศึกษาไม่มากนัก ประมาณกลุ่มละ
18-73 คน
          ผลการศึกษาพบว่า กาเฟอีน 250 มิลลิกรัม
ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นทั้งตัวบนและตัวล่างในทุกกลุ่ม
แต่จะสูงขึ้นอย่างมากในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงอยู่ก่อนแล้ว มากกว่า
1.5 เท่าของกลุ่มที่ความดันปกติ
         
มีคำแนะนำให้ผู้ที่ความดันโลหิตสูงหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนใน
ปริมาณสูง สำหรับผู้ที่ความดันเป็นปกติ
ยังไม่พบผลเสียร้ายแรงจากการดื่มกาแฟ

กาแฟกับมะเร็ง
         
เมื่อปี 2524 คณะนักวิจัยจาก John Hopkins ระบุว่า
กาแฟเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งตับอ่อน อย่างไรก็ตาม
การศึกษาต่อมาพบว่ากาแฟไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งตับอ่อน คือ บุหรี่
         
การศึกษากับผู้หญิงสวีเดน 59,000 คน
ยังพบว่ากาเฟอีนไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม
         
และยังมีรายงานด้วยว่าการดื่มกาแฟอาจจะมีผลป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
         
นอกจากนี้ยังมีรายงานจาก World Cancer Research Fund
ว่าการดื่มกาแฟปริมาณปานกลางไม่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็ง

กาแฟกับกระดูกพรุน
         
จากการศึกษาพบว่ากาแฟทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลงเล็กน้อยประมาณ 27
มิลลิกรัม เทียบเท่ากับนม 1-2 ช้อนโต๊ะ
และไม่ทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น
         
ปริมาณแคลเซียมเท่านี้ไม่น่าจะทำให้คนที่กินแคลเซียมมากพอเป็นโรคกระดูกพรุน
หากกังวลก็สามารถเติมนมไขมันต่ำหรือไม่มีไขมันลงไปในกาแฟเพื่อชดเชย
หรือดื่มนมเพิ่มสำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2 ถ้วยขึ้นไป





กาแฟกับเบาหวาน
         
จากการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟจะทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น 15%
กรดไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น ฮอร์โมนอะดรีนาลีนเพิ่มขึ้น
ทำให้หัวใจเต้นเร็วและความดันโลหิตสูงขึ้น
ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว
         
แต่ก็มีการวิจัยจากฟินแลนด์และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่พบว่า
คนที่ดื่มกาแฟมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2
น้อยกว่าคนที่ไม่ดื่มกาแฟ

กาแฟกับการตั้งครรภ์และการเป็นหมัน
         
ก่อนหน้านี้มีความเชื่อว่าการดื่มกาแฟจะเป็นผลเสียต่อการตั้งครรภ์
แต่จากหลักฐานยังไม่พบผลเสียดังกล่าว
นักวิจัยแนะนำว่าการดื่มกาแฟปริมาณน้อยๆ ขณะตั้งครรภ์ไม่เกิดผลเสีย
แต่หากงดได้ก็น่าจะงด
          ส่วนการเป็นหมันนั้น
พบว่าหากดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 1 แก้วจะมีโอกาสเกิดการเป็นหมันมากขึ้น

กาแฟกับการขาดน้ำ
         
จากการศึกษาพบว่า การดื่มกาแฟไม่เกิน 550 มิลลิกรัม หรือประมาณ 5 ถ้วยครึ่ง
ไม่ออกฤทธิ์ขับปัสสาวะ
การดื่มกาแฟทำให้ปัสสาวะมากขึ้นเทียบเท่ากับการดื่มน้ำในปริมาณเท่าๆ กัน
         
อย่างไรก็ตาม กาเฟอีนจะมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะหากดื่มเกินครั้งละ 575
มิลลิกรัม หรือประมาณ 6 ถ้วย
ดังนั้นขณะออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกายไม่ควรดื่มกาแฟในปริมาณมาก
เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำได้

กาแฟ
กับน้ำหนักตัว

         
กาเฟอีน 100 มิลลิกรัมเพิ่มการเผาผลาญพลังงานได้ประมาณวันละ 75-100
กิโลแคลอรี แต่ไม่มีการศึกษาใดที่พบว่า กาแฟช่วยให้ลดน้ำหนักได้ในระยะยาว
         
ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาจากชาวอเมริกัน 58,000 คน ติดตามไป 12 ปี พบว่า
กลุ่มตัวอย่างทั้งผู้หญิงและผู้ชายที่ดื่มกาแฟมากขึ้น
กลับมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น สาเหตุอาจมาจากน้ำตาล นม และครีมเทียม
ที่ใส่ลงไปในกาแฟ

กาแฟกับสมรรถภาพของร่างกาย
         
กาเฟอีนเพิ่มความสามารถในการออกแรง-ออกกำลัง หรือเล่นกีฬา
โดยเพิ่มความอดทนหรือความสามารถในการออกแรงได้นานขึ้น
กลไกที่กาเฟอีนทำให้สมรรถภาพของร่างกายดีขึ้น
น่าจะมาจากการออกฤทธิ์ทำให้อาการปวดลดลง เช่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเอ็น
         
กลไกอีกอย่างหนึ่งของกาเฟอีน คือ การทำให้ร่างกายเปลี่ยนระบบเผาผลาญ
โดยลดการเผาผลาญแป้งและน้ำตาล และเพิ่มการเผาผลาญไขมัน
ทำให้เราออกแรง-ออกกำลังได้มากขึ้น

กาแฟ
กับอารมณ์

         
การศึกษาพบว่ากาแฟปริมาณน้อยๆ ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม เทียบเท่ากาแฟสด 480
มิลลิลิตรหรือเกือบครึ่งลิตร ทำให้สดชื่น มีพลัง
และรู้สึกอยากเข้าสังคมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม
หากดื่มกาแฟมากกว่านี้อาจทำให้เครียดง่าย
และทำให้ปวดท้องหรือไม่สบายท้องได้
          การศึกษาในคนที่อดนอนพบว่า
กาแฟจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ไม่ง่วง
ช่วยให้ร่างกายตื่นตัวมากขึ้น ตอบสนองต่อสิ่งเร้าเร็วขึ้น ความจำดีขึ้น
สมาธิดีขึ้น และยังทำให้ความสามารถในการทำงานดีขึ้น
แต่ไม่ช่วยเพิ่มความสามารถในคนที่นอนมากพออยู่แล้ว
         
กาแฟยังช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ลดอาการปวดเมื่อยเนื่องจากไข้หวัด
ลดอาการซึมเศร้าและคลายความวิตกกังวล
และช่วยให้ผู้สูงอายุกระฉับกระเฉงกระชุ่มกระชวยกว่าคนในวัยเดียวกันที่ไม่
ได้ดื่มกาแฟ

กาแฟกับโรคอื่นๆ
         
การศึกษาพบว่า
กาแฟชนิดที่มีกาเฟอีนลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพาร์คินสันได้ประมาณ 30%
แต่กาแฟชนิดสกัดกาเฟอีนออก จะไม่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคนี้
         
การดื่มกาแฟเป็นประจำยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีและนิ่วใน
ทางเดินปัสสาวะ
          นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าการดื่มกาแฟวันละ 3
แก้ว จะช่วยบรรเทาอาการหอบหืด

          อย่างไรก็ตาม
นักวิจัยเตือนว่าการศึกษาเหล่านี้ยังเป็นการศึกษาแรกเริ่ม
จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านต่อไป
คอกาแฟอาจจะดื่มกาแฟได้อย่างคล่องคอมากขึ้น แต่ก็อย่าโหมดื่มกาแฟ
โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรค
ควรปรึกษาแพทย์ให้แน่ใจก่อนดื่ม

          เหมือนดังที่
ศาสตราจารย์ซิลวีโอ การัตตีนี หัวหน้าสถาบันมารีโอ เนกรี แห่งมิลาน
และบรรณาธิการหนังสือ Caffeine, Coffee and Health กล่าวไว้ว่า
“การดื่มกาแฟไม่มีผลเสีย ตราบใดที่คุณดื่มในปริมาณพอเหมาะ
เช่นเดียวกับทุกอย่างที่เรากินและดื่ม”




ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากDevil






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 08 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 8 พฤษภาคม 2553 23:33:28 น.
Counter : 832 Pageviews.  

หลิงจือ – เห็ดหมื่นปี



กินแล้ว
รักษาโรคมะเร็งและเป็นอมตะจริงหรือ?

           
ข่าวของผู้เชี่ยวชาญอาหารและมะเร็งจากประเทศญี่ปุ่นที่มาบรรยายสรรพคุณของ
เห็ด หลิงจือว่าสามารถรักษาโรคมะเร็งได้
เป็นที่ฮือฮากันในหมู่ประชาชนชาวไทยและสื่อมวลชนก็ได้เสนอข่าวไป
อาจทำให้ประชาชนทั่วๆไปเกิดความเชื่อว่าเห็ดหลิงจือสามารถรักษาโรคได้สารพัด
และเป็นยาอายุวัฒนะ กินแล้วเป็นอมตะ





           
ผู้เขียนได้พยายามหาข้อมูลการ
ศึกษาวิจัยทั้งทางเภสัชวิทยาและรายงานทางคลินิก
จากหนังสือการแพทย์และวารสารการแพทย์จากประเทศจีน ตลอดจนข้อมูลจากหนังสือ
“วิธีเพาะและใช้หลิงจือเป็นยา” พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ประชาชนซ่างไห่
(เซี่ยงไฮ้) ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์ฉบับถ่ายเอกสารจาก ดร.มานะ
รักวิทยาศาสตร์ ในบทนำของหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวไว้ว่า

           
“…หลิงจือมีสรรพคุณรักษา โรคประสาทที่มีอาการอ่อนเพลียอย่างเรื้อรัง
(บางทีเหนื่อย) อ่อนแรง อ่อนใจ อาการจิตซึม เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ฯลฯ
ที่เรียกว่า Neurasthenia หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไตอักเสบ ข้ออักเสบ
ตับอักเสบเรื้อรัง โรคหัวใจโคโรนารี่ (Coronary heart disease)
ระบบย่อยอาหารไม่ดี และโรคเรื้อรังอื่นๆ

           
หลิงจือมีคุณค่าในการรักษาโรค แต่ไม่ใช่เป็นยาที่สามารถรักษาโรคได้
สารพัด

            หลิงจือไม่ใช่ยาวิเศษที่รักษาโรค
ได้ทุกอย่าง
ยิ่งกว่านั้นยังไม่ใช่ยาอายุวัฒนะ...

เห็ดหลิงจือที่จีนสามารถเพาะได้ในขณะนี้ มี 3 ชนิด
มีชื่อวิทยาศาสตร์ดังนี้

1. Ganoderma
Lucidum (leyssex Fr.) Karst.
              2. Ganoderma Japonicum
(Fr.) Lloyd.
              3. Ganoderma Capense (Lloyd) Teng.

ใน
3 ชนิดนี้ที่ใช้เป็นยานั้น โดยทั่วไปใช้ 2 ชนิดแรก ส่วนชนิดที่ 3
ยังอยู่ในระหว่างศึกษาวิจัย

สรรพคุณ
            หลิงจือมีคุณสมบัติเป็นกลาง
(ไม่ร้อนไม่เย็น) มีรสหวาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้ไอ รักษาอาการหอบ
นอนไม่หลับ ระบบย่อยอาหารไม่ดี

ผลทางเภสัชวิทยา
1. ฤทธิ์ยับยั้งระบบประสาทส่วนกลาง
ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวและหลับได้ยาวขึ้น
            2.
ฤทธิ์ต่อระบบไหลเวียนของเลือด ทำให้ความดันเลือดลดลง
ขณะเดียวกันปริมาณของปัสสาวะเพิ่มขึ้นได้
            3.
ฤทธิ์ต่อระบบหายใจ ขับเสมหะ

รายงาน
ทางคลินิก

           
1. รักษาโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โดยทั่วไปหลังกินยา 2 สัปดาห์
ทำให้อาการอึดอัดแน่นหน้าอกลดน้อยไป อาการหอบและไอก็ลดน้อยลงด้วย
ผู้ป่วยกินอาหารได้มากขึ้น หลับสบาย
            2. อาการหอบเรื้อรัง
ผลจากการทดลองกับผู้ป่วยได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
            3.
ทำให้เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น
            4.
ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจโคโรนารี จะทำให้อาการอึดอัดแน่นหน้าอก
อาการปวดบริเวณหัวใจลดน้อยลง

           
จากข้อมูลที่สรุปย่อๆดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า
เห็ดหลิงจือไม่ใช่เห็ดที่สามารถรักษาโรคได้สารพัดชนิด หรือเป็นยาอายุวัฒนะ
หรืออื่นๆ ดังที่เล่าลือ





           
ดังนั้นในการใช้เห็ดหลิงจือจึงควรพิจารณา ถึงสรรพคุณให้ถ่อแท้
อย่าใช้อย่างพร่ำเพรื่อ เพราะนอกจากจะเสียเงินทองโดยไม่จำเป็นแล้ว
ยังไม่เป็นผลดีต่อร่างกายเราเอง จึงควรระวังในการใช้






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 08 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 8 พฤษภาคม 2553 23:31:58 น.
Counter : 904 Pageviews.  

มะเขือขื่น : ความเขียวขื่นที่เปี่ยมรสชาติและคุณประโยชน์



           คอลัมน์ “ต้นไม้ใบหญ้า”
ตอนนี้ผู้เขียนตั้งใจให้ลงพิมพ์ในเอนมกราคมอันเป็นเดือนแรกของปี พ.ศ.๒๕๔๒
เพราะต้องการส่งท้ายปี ๒๕๔๑
ที่ผ่านมาด้วยผักพื้นบ้านที่เหมาะสมกับปีดังกล่าวให้มากที่สุด


           ปี พ.ศ. ๒๕๔๑
อาจะเรียกได้ว่าเป็นปีที่ประเทศไทย กลายเป็น “เสือลำบาก” ในปีขาล
ซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นเสือ
หรือมองอีกมุมหนึ่งก็เห็นได้ว่าประเทศไทยกำลังได้รับผลจากการพยายามมาหลายปี
เพื่อจะเป็น “เสือ” ตัวที่ ๕ ของเอเชียตามแนวทางไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่
(NICS) ซึ่งเชื่อกันว่าจะนำประเทศไทยไปสู่ความ “โชติช่วงชัชวาลย์”
อย่างแน่นอน แต่ผลจริงๆที่ได้รับคงทำให้คนไทยส่วนใหญ่หูตาสว่างขึ้นแล้วว่า
แทนที่คนไทยจะพากันร่ำรวยสุขสบายอย่างที่ฝันเอาไว้ กลับกลายเป็นว่า
เมืองไทยมีแต่คนจนทั้งคนจนรุ่นใหม่ (ที่เรียกว่าคนเคยรวย) และคนจนรุ่นเก่า
(หรือคนไม่เคยรวย) เต็มไปหมด


          
ดังนั้นปีเสือ พ.ศ. ๒๕๔๑
จึงนับเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดปีหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย
เพราะดูจากตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เคยเป็นบวกตลอดมาตั้งแต่เริ่มแผน
พัฒนาเศรษฐกิจ ปี ๒๕o๔ แต่ปี ๒๕๔๑ เป็นครั้งแรกที่ตัวเลขติดลบ
(คือเศรษฐกิจถดถอย) และติดลบมากถึงราวร้อยละ ๗ ทีเดียว
          
จึงอาจกล่าวได้ ว่า ปีพ.ศ.๒๕๔๑
เป็นปีที่คนไทยส่วนใหญ่ประสบความยากลำบากเดือดร้อนและมีความทุกข์มากกว่าปี
ก่อนๆที่ผ่านมา ความรู้สึกของคนไทยดังกล่าวนั้นหากจะเทียบกับรสชาติแล้ว
คงเป็นรส “ขมขื่น” น่าจะใกล้เคียงที่สุด และผักพื้นบ้านที่มีรสชาติ
“ขมขื่น” เหมาะสำหรับนำมาเสนอเป็นการส่งท้ายปี ๒๕๔๑
ก็ไม่มีผักชนิดใดจะเหมาะสมเท่าผักที่มีชื่อเรียกว่า
“มะเขือขื่น”


มะเขือขื่น :
หนึ่งในมะเขือป่าพื้นบ้าน

           ในคอลัมน์
“ต้นไม้ใบหญ้า” หลายตอนที่ผ่านมาได้นำเสนอมะเขือป่าชนิดต่างๆ
ที่ใช้เป็นผักของคนไทย เริ่มจากมะเขือพวง มะแว้ง และมะอึก
ตอนนี้เป็นมะเขือขื่น ซึ่งนับเป็นหนึ่งในกลุ่มมะเขือป่าเช่นเดียวกัน

มะเขือขื่นมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Solanum xanthocarpum
Schrad. & Wendl. อยู่ในวงศ์ Solanaceac
เช่นเดียวกับมะเขือและพริกชนิดต่างๆนั่นเอง

          
มะเขือขื่นเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มและความสูงประมาณ ๑ เมตร
ลักษณะใกล้เคียงกับมะเขือเปราะหรือมะเขือยาวมากกว่ามะเขือป่าชนิดอื่นๆ
ลักษณะที่ยังบอกถึงความเป็นมะเขือป่าก็คือ หนามแหลมคมที่มีอยู่มากตามลำต้น
กิ่งก้าน ใต้ใบและก้านช่อผล เป็นต้น กลีบดอกสีม่วง เกสรสีเหลือง ผลกลม
เส้นผ่าศูนย์กลางราว ๒ เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวนวล
มีเส้นสีเขียวเข้มเป็นลายทั่วผล ผลแก่มีสีเหลือง
เนื้อในผลด้านนอก(ติดผิว)มีสีเหลือง เนื้อด้านใน(ติดเมล็ด)มีสีเขียว
เมล็ดมีขนาดเล็กสีน้ำตาล แบน จำนวนมาก

          
สิ่งบ่งชี้ถึงความเป็นมะเขือ ป่าอีกประการหนึ่งก็คือ
มะเขือขื่นสามารถขึ้นเองอยู่ตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี
ดังจะพบขึ้นอยู่ตามป่าที่รกร้างว่างเปล่า ข้างถนนในชนบท ฯลฯ
มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศและโรคแมลงเป็นพิเศษ
รวมทั้งสามารถแพร่พันธุ์ได้โดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์ สันนิษฐานว่าถิ่น
กำเนิดดั้งเดิมของมะเขือขื่นอยู่บริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชีย
ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย
ผู้เขียนเคยพบมะเขือขื่นอยู่ตามธรรมชาติข้างถนนในประเทศอินเดียเช่นเดียวกับ
ในประเทศไทย
และมีรายงานว่าประเทศต่างๆรอบด้านของไทยต่างก็มีมะเขือชื่นอยู่ในธรรมชาติ
เช่นเดียวกัน ชื่อมะเขือขื่นคงได้มาจากลักษณะพิเศษซึ่งต่างจากมะเขือชนิด
อื่น คือความขื่นของเนื้อในผลส่วนที่มีสีเขียวนั่นเอง
รสขื่นนั้นมีลักษณะเฉพาะตัวที่อธิบายได้ยาก ต้องลองชิมดูจึงจะรู้
ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี ๒๕๓๕ อธิบายว่า “ขื่น ว.รสฝาดเฝื่อน
ชวนให้คลื่นไส้ ไม่ชวนกิน” อ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจเท่าลองชิมดูจริงๆ
          
มะเขือขื่นมีชื่อเรียกต่างๆกันเช่น มะเขือขื่น (ภาคกลาง) มะเขือแจ้
(ภาคเหนือ) มะเขือคางกบ (เชียงใหม่) เขือหิน (ภาคใต้) เป็นต้น





มะเขือ
ขื่นในฐานะผัก

          
คนไทยนำผลมะเขือขื่นที่แก่แล้วมาใช้ปรุงอาหาร
โดยใช้เฉพาะส่วนผิวนอกและเนื้อเท่านั้น
(แยกส่วนที่เป็นเมล็ดออกไปให้หมดเสียก่อน)
อาจใช้กินเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริก
(มีน้ำพริกบางตำรับสำหรับจิ้มมะเขือขื่นโดยเฉพาะ) หรือปลาร้า ฯลฯ
บางครั้งใช้เนื้อมะเขือขื่นในการปรุงเครื่องจิ้ม เช่น
เยื่อเคยทรงเครื่องก็ได้ใช้ปรุงรสอาหารบางชนิด เช่น ส้มตำอีสาน
ให้รสชาติพิเศษไปอีกแบบ ใช้ยำกับสาหร่าย (เทา) ในภาคอีสาน (เรียกว่าลาบเทา)
ใช้ตำกับผลตะโกและมะขามเรียกว่าเมี่ยง (เพชรบูรณ์) มี ๓ รส คือขื่น ฝาด
และเปรี้ยว ในภาคกลางใช้เนื้อมะเขือขื่นเป็นผักแกง เช่น
แกงส้มมะเขือขื่นกับเห็ดรวกและแกงป่าต่างๆ เช่น แกงป่าเนื้อ แกงป่านก
แกงป่าปลา ฯลฯ

          
ลักษณะพิเศษของเนื้อมะเขือขื่นคือมีสีเขียว รสขื่น และเหนียว
บางคนอาจคิดว่าถ้าทั้งเหนียวทั้งขื่นจะมีรสชาติอร่อยได้อย่างไร
เพราะต่างจากความนิยมทั่วไปที่ชอบความหวานและกรอบ (เช่น มะเขือเปราะ)
แต่ด้วยภูมิปัญญาบวกฝีมือของคนไทยทำให้ความขื่นและเหนียวกลายเป็นอาหารที่
อร่อยมีเอกลักษณ์ไปได้
เช่นเดียวกับกลิ่นฉุนของชะอมยังคงเป็นเสน่ห์สำหรับคนไทยสาวนใหญ่นั่นเอง

          

น่าสังเกตว่าในอดีตคนไทยรู้จักนำเอาวัตถุดิบที่มีปัญหาต่างๆมาใช้ปรุงอาหาร
ที่ มีรสชาติและคุณค่าอาหารได้อย่างดี เช่น ใบขี้เหล็ก(ขม) ก้านบอน(คัน)
ยอดชะอม(เหม็น) หัวกลอย(เป็นพิษ) มะเขือขื่น(ขื่น) เป็นต้น



ประโยชน์
ด้านอื่นๆของมะเขือขื่น

มะเขือ
ขื่นมีสรรพคุณทางสมุนไพรเป็นที่รู้จักดีในหมู่ชาวไทยมาตั้งแต่อดีตกาล
ในตำราสรรพคุณสมุนไพร บ่งชี้สรรพคุณของมะเขือขื่นไว้ดังนี้
ผล รสขื่น เป็นยากัดเสมหะ
แก้น้ำลายเหนียว แก้ไอ แก้ไข้ สันนิบาต
ราก รสขื่นเอียน เป็นยากระทุ้งพิษ
ล้างเสมหะในลำคอ ทำให้น้ำลายน้อยลง แก้น้ำลายเหนียว แก้ไอ แก้ไข้สันนิบาต
          
ในชนบทภาคกลาง ใช้ใบปรุงยาบางตำรับร่วมกับใบสมุนไพรชนิดอื่นๆ
รากใช้ฝนเป็นกระสายยาแก้เด็กเป็นโรคทรางชัก
เนื้อมะเขือขื่นสีเขียวคั้นเอาแต่น้ำใช้หยอดตาไก่ แก้พยาธิในตา ฯลฯ

          
เชื่อว่าในท้องถิ่นและภาคต่างๆของไทย
คงนำมะเขือขื่นไปใช้เป็นยารักษาโรคอีกมากมาย
หากแต่ปัจจุบันขาดการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวเป็นเอกสารเผยแพร่
ประกอบกับมียาแผนปัจจุบันเข้าไปถึง ทำให้การใช้มะเขือขื่นลดน้อยลง
หากไม่มีการรวบรวมข้อมูลเอาไว้ ความรู้ดังกล่าวอาจสูญหายไปตลอดกาล
นับเป็นความสูญเสียที่ไม่อาจประเมินค่าได้

          
ประเทศไทยนับเป็นประเทศ หนึ่งที่ร่ำรวยพันธุกรรมพืชและสัตว์
หรือเรียกว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพ(Biodiversify)มาก
นับเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งในปัจจุบันและอนาคต
นอกจากนั้นประเทศไทยยังมีความร่ำรวยภูมิปัญญาท้องถิ่น
โดยเฉพาะภูมิปัญญาด้านการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ใน
ท้องถิ่นอีกด้วย เช่นรู้ว่าจะนำเอาพืช สัตว์
ชนิดต่างๆในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ไม่ว่าจะด้านปัจจัย ๔
หรือด้านอื่นๆ ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นดังกล่าวนี้
มีคุณค่าไม่น้อยไปกว่าตัวความหลากหลายทางชีวภาพเลยทีเดียว ดังเช่น
ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรชื่อเปล้าน้อย เป็นยาในอดีตของชาวไทย
ถูกนักวิชาการญี่ปุ่นมานำไปพัฒนาต่อกลายเป็นยารักษาแผลในกระเพาะอาหารที่ดี
ที่สุดในปัจจุบันผลิตออกขายในท้องตลาดทั่วโลกในชื่อ Kelnac
มียอดขายปีละกว่าพันล้านบาท โดยคนไทยไม่ได้รับส่วนแบ่งจากภูมิปัญญาของตนเลย





          
เห็นได้ชัดว่าหากไม่ต้องการให้เกิดกรณีแบบเปล้าน้อยขึ้นอีกคนไทยจะต้องสนใจ
รวบรวมรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น
เช่นเดียวกับรักษาความหลากหลายทางชีวภาพเอาไว้มิให้สูญหายหรือมีผู้เข้ามา
โจรกรรมไปได้อีก ขณะเดียวกันก็ต้องนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
ให้ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นตามลำดับ

          
วิกฤติทางเศรษฐกิจที่คนไทยกำลัง เผชิญอยู่นี้
อาจเปรียบได้กับรสขื่นของมะเขือซึ่งหากคนไทยมีปัญญาก็อาจนำมาปรุงให้เป็น
อาหารที่มีรสอร่อย หรือเป็นยารักษาโรคที่มีคุณค่าได้ วิกฤติครั้งนี้
หากมีปัญญาก็อาจเปลี่ยนให้เป็นโอกาสดีได้เช่นเดียวกัน
แต่คงต้องเป็นปัญญาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรา
มีอยู่เป็นหลักมากกว่าการพึ่งพาเงินกู้และนโยบายจากภายนอก(เช่น
ไอเอ็มเอฟ)อย่างที่เป็นมาตลอดปี ๒๕๔๑






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 08 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 8 พฤษภาคม 2553 23:30:28 น.
Counter : 1146 Pageviews.  

“ข้าวก่ำ” ดำดี...ได้ใจ






        
จากการไปร่วมพิธีเปิดศูนย์เรียนรู้และขยายพันธุ์สมุนไพร  ตำบลบ้านน้ำพุ 
อำเภอคีรีมาศ  จังหวัดสุโขทัย  เมื่อปลายปีที่ผ่านมา 
มีฐานเรียนรู้อยู่ฐานหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากชาวบ้าน  คือ  ฐานเรียนรู้น้ำสมุนไพรข้าวก่ำ 
เพราะน้ำสมุนไพรที่ว่านั้นคือสาโทจากข้าวก่ำนั่นเอง 
ทำเอาผู้ชมแก้มแดงกันเป็นแถว

          นอกจากน้ำสมุนไพรที่ว่าแล้ว 
ข้าวก่ำสีออกดำม่วงดูน่าสนใจไม่น้อย  ด้วยสรรพคุณหลากหลาย  ขนาดผู้ใหญ่กล 
โฉมคุ้ม  ยกย่องในสวมมงกุฏ  “นางพญาข้าว”


“ก่ำ”
ในภาษาอีสานแปลว่า “ดำ” “คล้ำ”
มีวรรณกรรมอีสารเรื่องหนึ่งชื่อ “ท้าวก่ำกาดำ”
ตัวละครมีผิวดำเหมือนจรกาในวรรณกรรมไทย  ข้าวก่ำจึงหมายถึงข้าวที่มีสีดำ 
หรือมีสีออกแดงม่วงแล้วแต่พันธุ์  ส่วนใหญ่นำมาหุงข้าวนึ่ง 
หรือทำเป็นขนมอย่างข้าวหลาม ขนมเทียน หรือข้าวแต๋น





          
ภูมิปัญญาของชาวล้านนาในอดีต  จะใช้ประโยชน์จากข้าวก่ำในหลายด้าน  อาทิ 
จะปลูกข้าวก่ำหัวไร่(บริเวณช่องน้ำเข้านา) 
เชื่อกันว่าจะช่วยป้องกันโรคและแมลงที่จะมารบกวนต้นข้าวในนาได้ 
ส่วนคุณสมบัติทางยาจะใช้ป้องกันการตกเลือดในสตรีหลังคลอดรักษาอาการท้อง
ร่วง  และโรคผิวหนังบางชนิด





           ทั้งนี้ คณะเกษตรศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้จัดตั้ง  “หน่วยงานวิจัยข้าว
ก่ำ”
เพื่อรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวก่ำพื้นเมืองของไทย 
ด้วยสรรพคุณทาง “แอนโทไซยานิน” และ “แกมมาโอซานอล”
ช่วยป้องกันโรคหัวใจ  ลดคลอเลสเตอรอล
ลดน้ำตาลในเส้นเลือดยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร
ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร  ยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด ฯลฯ

 
นี่แหละ  เขาเรียกว่า  ดำดี...ได้ใจ  
ไม่ต้องเสียเงินค่าหยูกค่ายาหลายอยู่นะ







Free TextEditor







































































































 

Create Date : 08 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 8 พฤษภาคม 2553 23:29:04 น.
Counter : 2189 Pageviews.  

คุณค่าอาหารไทยกับไขมันในเลือด



 
ในปัจจุบันเราต้องยอมรับว่ากำลังเผชิญอยู่กับปัจจัยเสี่ยงหลาย ๆ อย่าง
เรื่องของสุขภาพก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเราควรให้ความสำคัญให้มาก
เพราะถ้าหากสุขภาพทรุดโทรมก็จะมีโรคภัยไข้เจ็บเข้ามาเบียดเบียนอยู่เรื่อย ๆ
พฤติกรรมการบริโภคก็เป็นตัวแปรสำคัญในการเกิดโรค
เช่น
ถ้าหากว่าเรารับประทานอาหารที่มีไขมันสะสมเป็นเวลานาน
ก็จะเกิดภาวะไขมันสูงในเลือด
ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน ก่อน
อื่นเราจึงควรทำความรู้จักกับคำจำกัดความของคำว่าไขมันในเลือดกันเสียก่อน
เพื่อจะได้ทราบถึงที่มาของภาวะดังกล่าว


          
ไขมันที่ลอยตัวในเลือด (Lipoprotein) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
โดยใช้เกณฑ์ความหนาแน่นจากการรวมตัวของไขมัน
และชนิดของไขมันที่เป็นส่วนประกอบ ซึ่งถ้ามีการจับตัวกันหลวม ๆ
และมีไตรกลีเซอร์ไรด์เป็นส่วนประกอบหลักจะมีความหนาแน่นน้อย เรียกว่า VLDL (Verylow density
lipoprotein)
ส่วนไขมันที่จับตัวกันดีขึ้นและมีโคเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบหลัก เรียกว่า LDL (Low density lipoprotein)
และถ้าเกาะกลุ่มกันดียิ่งขึ้นและมีโคเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบหลักเช่นกันก็
จะเป็น HDL (Hight density
lipoprotein) ซึ่งไขมันที่จับตัวกันหลวม ๆ นี้เป็นตัวร้าย
ทำให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือด
ส่วนไขมันที่จับตัวกันหนาแน่นจัดว่าเป็นไขมันผู้พิทักษ์
ช่วยลดการสะสมของไขมันในผนังเส้นเลือด
โดยทั่วไปการตรวจระดับไขมันในเลือดจะมีค่าที่รายงานเป็น 2 ชนิด คือ โคเลสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride)

          
หากตรวจพบโคเลสเตอรอลในเลือดสูง อาจเกิดจาก Lipoprotein ที่สูงได้ 2 ชนิด

          
* ดังนั้นถ้าพบว่าโคเลสเตอรอลสูงจะต้องแยกว่าตัวที่สูงเป็นตัวร้าย (LDL)
หรือผู้พิทักษ์ (HDL)

ไตรกลี
เซอร์ไรด์ (Triglyceride)
ถ้าไตรกลีเซอร์ไรด์มีปริมาณสูง
ก็จะต้องควบคุมอาหารโดยลดของมัน ของหวาน และแอลกอฮอล์
ออกกำลังอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มการใช้พลังงาน และช่วยในการทำงานของหัวใจ
และเมื่อออกกำลังกายอย่างพอเหมาะพอดีถูกวิธีและสม่ำเสมอแล้ว
ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ มักจะลดลง และสามารถเพิ่มปริมาณไขมันผู้พิทักษ์ได้





          
พฤติกรรมการบริโภคเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะควบคุมปริมาณไขมันใน
เลือด
อาหารไทยซึ่งได้ชื่อว่ามีความหลากหลายและมีการนำเอาพืชผักสมุนไพรที่มี
คุณสมบัติในการรักษาโรคต่าง ๆ มาประกอบอาหาร
ทำให้เราสามารถเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับสภาวะร่างกายเพื่อประโยชน์
สูงสุด
สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมปริมาณไขมันในเลือดควรเลือกบริโภคอาหารที่มี
ปริมาณไขมันแต่น้อยและไม่ควรบริโภคไขมันเกิน 30 %
ของปริมาณพลังงานที่ได้รับ โดยจำแนกตามความเหมาะสม
การควบคุมอาหารที่มีไขมันนอกจากพิจารณาถึงปริมาณไขมันโดยรวมแล้ว
ยังต้องพิจารณาถึงชนิดของไขมันที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 

1.ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat)
พบได้ในน้ำมันสัตว์ นมระเหย เนย น้ำมันมะพร้าว และ น้ำมันปาล์ม
มีวิธีสังเกตง่าย ๆ ด้วยการที่วางทิ้งไว้ก็จะจับตัวเป็นไขได้ง่าย
ไขมันกลุ่มนี้ถ้ากินมากจะทำให้ระดับโคเลสเตอรอลสูง 
2.ไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fat) พบได้ในน้ำมันพืชอื่น ๆ เช่น น้ำมันถั่ว
นํ้ามันงา น้ำมันมะกอก และไขมันจากปลาทะเล (น้ำลึก)
การรับประทานไขมันกลุ่มนี้ในปริมาณที่พอเหมาะจะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลใน
เลือดได้ และไขมันจากปลายังมีคุณสมบัติพิเศษซึ่งทำให้เลือดไม่เป็นลิ่ม
ป้องกันการอุดตันในเส้นเลือดได้อีกด้วย

          
นอกจากปริมาณไขมันในอาหารแล้ว มีอีกสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ ปริมาณแคลอรี
เพราะถ้าหากร่างกายได้รับแคลอรีมากเกินความต้องการที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
แคลอรีเหล่านั้นก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นไขมันและสะสมในร่างกาย
ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและเป็นการบั่นทอนสุขภาพอีกด้วย
ซึ่งความต้องการพลังงานของร่างกายในแต่ละบุคคลก็แตกต่างกันออกไปตามวัย
ในสภาวะปกติและน้ำหนักไม่เกินกำหนด วัยเด็ก 4 – 8 ปี
ประมาณ 1,800 แคลอรี/วัน วัยรุ่นหญิง 7 – 10 ปี ประมาณ 2,400 แคลอรี/วัน
วัยรุ่น ชาย 9 – 12 ปี ประมาณ 2,900 แคลอรี/วัน ผู้ใหญ่ ต้องการ
30<แคลอรี/น้ำหนักตัว 1
กิโลกรัม/วันโดยในเพศชายจะต้องการมากกว่าเพศหญิงประมาณวันละ 500 แคลอรี
และในผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก จะต้องบริโภคน้อยกว่าความต้องการวันละประมาณ
500 – 1,000 แคลอรี ผู้สูงอายุ ต้องการเพียง 20 – 25 แคลอรี/น้ำหนักตัว 1
กิโลกรัม/วัน


 
ดังนั้นเราจึงควรรู้จักประมาณอาหารที่จะรับประทานในแต่ละมื้อ
เพื่อจะได้สามารถควบคุมปริมาณไขมันในเลือด อันจะนำมาซึ่งสุขภาพที่ดี
อายุยืนและมีหัวใจดีมีสุข



ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากรพ.ศิริราช






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 08 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 8 พฤษภาคม 2553 23:27:39 น.
Counter : 1415 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.