ประเพณียี่เป็ง











































ภาคเหนือตอนบน
นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน"
ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบอลลูน
ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า "ยี่เป็ง"


ประเพณียี่
เป็ง
คือ ประเพณีลอยกระทงแบบล้านนาไทย
โดยคำว่า ยี่ แปลว่า สอง ส่วน เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ
คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา
ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย


งาน
ประเพณีจะมีสามวันคือ



  • วันขึ้นสิบสามค่ำ หรือ วันดา เป็นวันซื้อของเตรียมไปทำบุญที่วัด

  • วันขึ้นสิบสี่ค่ำ จะไปทำบุญกันที่วัด
    พร้อมทำกระทงใหญ่ไว้ที่วัดและนำของกินมาใส่กระทงเพื่อทำทานให้แก่คนยากจน

  • วันขึ้นสิบห้าค่ำ
    จะนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็กส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ


      
ในช่วงวันยี่เป็งจะมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน ทำประตูป่า ด้วยต้นกล้วย
ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ
ขึ้นเป็นพุทธบูชา และมีการจุดถ้วยประทีป
(การจุดผางปะติ๊ด)
เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และมี
การจุดโคมลอย
ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวง
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์




จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2553 17:23:49 น.
Counter : 441 Pageviews.  

เชียงใหม่ ในมุมสงบงาม ตามเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ


เชียงใหม่
วันนี้ยังคงพลุกพล่านไปด้วยฝูงชน
ผู้เดินทางมาเสาะแสวงหาบรรยากาศฤดูหนาวจากเมืองเหนือ
โดยเฉพาะตามแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่ว่า ดอยสุเทพ ดอยอินทนนท์
ดอยอ่างขาง ห้วยน้ำดัง ออบหลวง ฯลฯ ทว่ายังพอมีเส้นทางสายสงบและงดงาม
สำหรับใครบางคนได้หลีกพ้นความวุ่นวาย ที่ถูกขนานนามว่า 
"เส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ" หรือ "ทางหลวงหมายเลข 1001
เชียงใหม่-พร้าว" ในชื่ออย่างเป็นทางการ


    สองข้างทางที่เรียงรายด้วยสีเหลืองสดใสของดอกขี้เหล็กอเมริกา
เกือบตลอดแนวถนนสายตะวันออกเฉียงเหนือนี้ 
จะนำคุณเดินทางอย่างรื่นรมย์ผ่านผืนป่าแม่แตง ป่าแม่งัด
แยกเข้าสู่อุทยานแห่งชาติศรีลานนา พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารชั้นหนึ่ง
ซึ่งน้อยคนนักจะรู้จักหรือสนใจ ว่าลำห้วยเล็กๆ
เหล่านี้เองเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารไหลลงสู่แม่น้ำปิง
ในบริเวณใกล้ๆกันยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติชื่อไพเราะแปลกหู
"น้ำตกม่อนหินไหล" "น้ำพุเย็น-น้ำตกเย็น"
ให้ได้ผ่อนคลายไปกับสายน้ำที่ไหลรินตลอดทั้งปี

 
 วกกลับเข้าสู่เส้นทางหลัก ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 75
จุดนี้คือที่ตั้งของวัดดอยแม่ปั๋ง วัดซึ่งเป็นที่จำพรรษาของหลวงปู่แหวน
สุจิณโณ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2505 จนถึงมรณภาพในปีพ.ศ.2528 แต่ ณ พ.ศ. 2546
สถานที่แห่งเดิมซึ่งเคยคลาคล่ำไปด้วยผู้คนต่างถิ่นมากมาย
วันนี้กลับเงียบเหงาท่ามกลางอากาศเยือกเย็น

  
กระนั้นก็ตามการหวนคืนสู่ความสงบเงียบของวัดดอยแม่ปั๋ง
กลับกลายเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้มาเยือน
ที่จะเกิดสมาธิพิจารณาคำสอนของหลวงปู่แหวนที่ท่านฝากไว้ว่า
"ทุกคนได้สมบัติจากพ่อแม่ ขาสอง แขนสอง หัวหนึ่ง จงรักษาให้ดีๆ อย่าใช้ผิดๆ
เช่น ทำลายชีวิตสัตว์ผู้อื่นแม้ตนเอง ใช้ลักทรัพย์ ทำผิดประเพณีดีงาม
ทางกาม พูด คิด ส่อเสียด อันเป็นเท็จ ดื่มกินของเมาเป็นเหตุประมาท
ตั้งใจมั่นรักษาหายใจ มั่นไว้ในศีล อย่าขอพระแล้วออกไม่พ้นวัดศีลตกหาย
รักษาสมบัติพ่อแม่ไว้ดีๆ อย่าเป็นชาวพุทธขาดศีล พระพุทธเจ้าท่านสั่ง
ท่านสอน สร้างเหตุดี ผลดีมีแก่เรา"

  
เลยจากวัดไม่ไกลนักก็ถึงตัวอำเภอพร้าว
อำเภอเล็กๆที่ยังไม่ถูกกระแสความเจริญทางวัตถุรุกไล่มากมายเหมือนอำเภอใหญ่ๆ
รอบตัวเมืองเชียงใหม่
แวะเดินเล่นตลาดยามบ่ายชมแผงขายของพื้นเมืองอย่างใบเมี่ยง ถั่วเน่า
ที่แทรกตัวอยู่ท่ามกลางข้าวของเจนตาชนิดอื่นๆ
รวมไปถึงแม่อุ๊ยในชุดพื้นเมืองผ้าซิ่น เสื้อแขนกระบอก
ดูโดดเด่นกินขาดแม่ค้าสาวๆสวมเสื้อยืด-กางเกงยีนส์แผงติดกันชนิดมองไม่เห็น
ฝุ่น...บางครั้งเสน่ห์เล็กๆที่พบเห็นระหว่างทาง
ก็สร้างความประทับใจได้มากกว่าจุดหมายปลายทางเสียอีก



   สเน่ห์อีกอย่างของสังคมชนบท คือน้ำใจที่แจกจ่ายให้กันอย่างเหลือเฟือ
รอยยิ้มและเสียงหัวเราะถูกส่งมอบตอบรับอย่างง่ายดาย
เมื่อได้แวะทักทายพี่ป้าน้าอาทั้งหลาย
ซึ่งกำลังก้มหน้าก้มตาเกี่ยวรวงข้าวสีทองต้องแดดเป็นประกายสวยเต็มท้องนา
ท่ามกลางฝูงแมลงปอสีสวยบินว่อนวนเวียน ที่สำคัญการได้ลงไปเดินเล่นตามคันนา
มีตั๊กแตนตัวน้อยกระโดดไปมา พร้อมกับสูดอากาศบริสุทธิ์ไปด้วยนั้น
ตื่นเต้นและสนุกสนานยิ่งกว่าเดินห้างสรรพสินค้าติดแอร์เป็นไหนๆ

 
 แล้วมีใครเคยรู้บ้างว่าฟางข้าวน่ะ ใช้ผลิตกระดาษสาคุณภาพดี
ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ด้วย
โดยใช้ฟางข้าวซึ่งเดิมเป็นของเหลือใช้มาบดผสมกับปอสา
ก่อนจะผ่านกรรมวิธีผลิตออกมาเป็นกระดาษหลากสีสวย ใช้ทำเป็นกระดาษห่อของขวัญ
กระดาษเขียนจดหมาย รวมทั้งนำไปทำเป็นของขวัญของใช้หลายรูปแบบ เช่นกรอบรูป
สมุดบันทึกฯลฯ

 
 โรงงานผลิตกระดาษสาจากฟางข้าวของที่นี่แม้จะใช้เครื่องจักรผลิต
แต่ก็มีอีกส่วนหนึ่งที่ทำด้วยน้ำมือของชาวบ้านในท้องถิ่น
ถ้าดูจากผลงานที่ออกมา จะเห็นความแตกต่างกันในรายละเอียดมากกว่าคุณภาพ
ที่สำคัญกว่านั้นคือผลผลิตจากเครื่องจักรได้รับความนิยมน้อยกว่า
เรียกว่ากระดาษก็ต้องใช้ศิลปะในการทำและถ้าเลือกได้
ไม่ว่าใครก็อยากได้ทั้งความสวยงามควบคู่ไปกับประโยชน์ใช้สอย

  
เส้นทางสายนี้ แม้ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม แต่ก็ใช่จะไร้ผู้มาเยือน
นักผจญภัยผิวขาวผมทองสองคนจากแดนไกล
ปั่นจักรยานเสือภูเขาคดเคี้ยวเลี้ยวลดไปตามหุบเขา
ว่ากันว่าช่วงรอยต่อระหว่างอำเภอพร้าว
จังหวัดเชียงใหม่ไปยังอำเภอเวียงป่าเป้า
จังหวัดเชียงรายมีความงดงามทางธรรมชาติไม่แพ้เส้นทางอื่นๆ เลยทีเดียว



  ก่อนกลับคืนสู่ตัวเมืองเชียงใหม่
เราออกนอกเส้นทางเพื่อแวะไปเยี่ยมชม"สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้า
สิริกิติ์" ซึ่งตั้งอยู่ชายเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อำเภอแม่ริม
จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งอนุรักษ์และรวบรวมพรรณไม้ไทย พรรณไม้โบราณ
รวมไปถึงพรรณไม้หายากจากต่างประเทศถึงสี่พันกว่าชนิด ในพื้นที่กว่า6,500
ไร่ การมาที่นี่จึงได้ความรู้ควบคู่ไปกับความเพลิดเพลิน
ทั้งยังกระตุ้นจิตสำนึกรักธรรมชาติได้เป็นอย่างดี


...การมาเชียงใหม่ครั้งต่อไป
คุณคงมีทางเลือกสายใหม่เพิ่มขึ้นแล้วใช่ไหมคะ







Free TextEditor







































































































 

Create Date : 05 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 5 พฤษภาคม 2553 21:12:00 น.
Counter : 260 Pageviews.  

กูร์เม่ต์ทัวร์ ชมสวนสวย ที่ดอยอ่างขาง



แต่ฉันโชคดีกว่าหน่อย
เมื่อตัดสินใจหอบหิ้วกระเป๋าตามคณะอมรินทร์ทัวร์ไปแอ่วดอยที่หนาวที่สุดแห่ง
หนึ่งของประเทศไทย "อ่างขาง" ลมหนาวต้นเดือนธันวาในดินแดนแห่งขุนเขา
สายหมอก และดอกไม้ พานพาให้ร่างกาย และจิตใจจนฉ่ำชื่นอย่างที่สุด 

  
เราออกเดินทางตั้งแต่ไฟล์ทแรกสุดของการบินไทยสู่เชียงใหม่ในเช้าวันศุกร์
การผจญภัยเล็กๆก็เริ่มขึ้น เมื่อรถแล่นผ่านเส้นทางนับร้อยโค้งเชียงใหม่-ฝาง
ฉันลุ้นระทึกไปตลอดทางว่าจะสามารถผ่านพ้นไปได้อย่างราบรื่น
โดยไม่ขะย้อนอาหารกลางวันหรือไม่ 
แต่ในที่สุดเราก็ถึงตีนดอยโดยสวัสดิภาพ..ต้องขอบคุณยาแก้เมารถค่ะ



  เราแยกย้ายเข้าพักตามห้องที่รีสอร์ตธรรมชาติอ่างขาง 
มีเวลาก่อนอาหารเย็นเล็กน้อย ทีมงานก็พาเราไปชมบริเวณสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

แปลงไม้ดอกเมืองหนาวนานาพันธุ์ที่พระตำหนักเรือนประทับของสมเด็จพระเทพรัตน
ราชสุดาฯ สีสันจัดจ้านสวยงามแข่งกัน
ชอบจังเวลาเห็นคุณๆสาวๆทำท่านั่งเอี้ยมเฟี้ยม ยิ้มหวานจ๋อยข้างกอดอกไม้
แอ็คชั่นคลาสสิกนี้ไม่เคยตกยุค

  
ดินเนอร์มื้อแรกสมกับชื่อกูร์เม่ต์ทัวร์เป็นที่สุด
เพราะสโมสรอ่างขางต้อนรับเราด้วยอาหารเมนูแนะนำที่หารับประทานทั่วไปได้ยาก
ยิ่ง พลาดไปอาจถูกหยามว่ามาไม่ถึงอ่างขาง เมนูอร่อยนั้นเป็นต้นว่า
ปลาเทร้าต์ทอดกระเทียมพริกไทยดำ -
ปลาเทร้าต์เนื้อแน่นส่งตรงมาจากดอยอินทนนท์ แค่ทอดธรรมดาก็อร่อยนัก
เป็ดอบซอสส้ม และ น้ำพริกอ่างขาง ใส่ถั่วเน่า รสเด็ดกลมกล่อมถูกปาก

 
 มาอยู่ที่นี่ได้กินผักสดผลไม้สดสะใจที่สุด
เพราะเป็นผักผลไม้ในโครงการหลวง วางใจได้เรื่องสารพิษตกค้าง แถมยังสด กรอบ
ฉ่ำ อุดมสมบูรณ์ เพราะเรามากินถึงแหล่ง

   คืนนี้หนาวนัก
ซุกตัวใต้ผ้าห่มแล้วหาไวน์จิบสักแก้วสองแก้ว
ก็ทำให้ราตรีกาลผ่านไปอย่างอบอุ่น
พรุ่งนี้เรามีนัดดูพระอาทิตย์ขึ้นแต่เช้าตรู่

  
คณะของเราพร้อมกันตรงเวลาตีห้าครึ่ง
กิจกรรมแรกที่แทบทุกคนทำคือเช็คเทอร์โมมิเตอร์ที่ติดไว้หน้าห้องนอน 12
องศาเซลเซียสโดยประมาณ แม้จะพูดควันออกปาก หลายคนยังบ่นว่า "เด็กๆ"


   เรานั่งรถตู้ขึ้นไปที่จุดชมวิวบนยอดดอย ท้องฟ้ายังมืดตื๋อ
มีนักท่องเที่ยวประมาณหนึ่งมาถึงก่อนหน้าเรา จุดชมวิวนี้เป็นลานโล่งๆ
มีร้านค้าแผงลอยเรียงรายอยู่สองฟากให้เห็นเพียงริบหรี่จากหลอดไฟดวงเล็ก
กับกองไฟที่แต่ละร้านก่อไว้บริการความอุ่นให้ลูกค้า
แทบทุกร้านขายของคล้ายๆกัน เด็ดสุดและไม่ควรพลาดคือ ไก่ตุ๋นโสม
เป็นซุปใสๆที่ช่วยให้อบอุ่นได้ในทันทีด้วยฤทธิ์ของโสมและพริกไทย
หรือจะลองโจ๊กเห็ดหอม ซาลาเปาร้อนๆ ปลาท่องโก่ที่ส่องไฟฉายทอด กับกาแฟ
โอวัลตินร้อนๆสักแก้ว......เสียดายอยู่หน่อย วันนี้โชคไม่เข้าข้าง
หมอกหนาจนไม่ได้เห็นอาทิตย์ทอแสงสีแดงฉานอย่างที่หมายมั่นไว้

  
จุดท่องเที่ยวที่ควรแวะบนดอยอ่างขางคือ หมู่บ้านของชาวเขา
จะได้เห็นวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของพวกเขาอย่างใกล้ชิดทีเดียว
บนดอยอ่างขางนี้มีทั้งชาวมูเซอ จีนฮ่อ ปะหล่อง และไทยใหญ่
ที่หมู่บ้านขอบด้งเราได้เจอมัคคุเทศก์น้อยท่าทีเป็นมิตรท่องสคริปต์แนะนำ
หมู่บ้านและพาชมชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนด้วยสำเนียงไทยปนมูเซอดำอย่าง
ฉะฉาน เด็กๆที่นี่น่ารักและสดใส
ใครอยากช่วยเหลือทุนการศึกษาต่ออนาคตให้มัคคุเทศก์น้อย
ก่อนกลับก็หยอดกระปุกให้เขาหน่อยจะดี

  
นอกจากชาวเขาจะปลูกพืชผักต่างๆแล้ว อาชีพเสริมคือ สานกำไลหญ้า
ซึ่งกลายเป็นของที่ระลึกประจำอ่างขาง
คุณจะเห็นชาวเขาทั้งคนแก่และเด็กเล็กร้อยกำไลเป็นสายยาวเร่ขายอยู่ทั่วไป
ราคาโดยประมาณก็อันละ 5 บาท ฉันซื้อเหมามาทั้งเส้น
ถ้าใครมาเยี่ยมมาเยือนคงมีแจกได้ทั้งปี
หรือไม่เช่นนั้นก็เกิดไอเดียเอามาใช้แทน napkin ring ทำเป็นที่ล็อคผ้าม่าน
หรือแขวนเฉยๆทั้งพวงก็เป็นของแต่งบ้านสวยเก๋ได้แล้ว



   มื้อเที่ยงของวันที่สองเป็นมื้อพิเศษอีกเช่นกันที่สโมสรอ่างขางจัดให้
เฉพาะกรุ๊ปเรา คืออาหารยูนนาน ซึ่งไม่มีปรากฏในเมนู
จานเด่นที่ควรลิ้มลองก็คือ ข้าวเฝิ่น ทำจากข้าวโพด ข้าวสาลี โม่บดรวมกัน
ลักษณะเป็นสีเหลืองข้นๆ รสชาติจืดๆ จะกินเปล่าๆเป็นอาหารว่าง
หรือใส่เส้นปรุงน้ำส้มน้ำปลาแบบก๋วยเตี๋ยว
หรือกินกับข้าวซอยสูตรดั้งเดิมแบบยูนนานก็ได้
อีกอย่างที่ติดใจนักหนาคือขาหมูหมั่นโถว แกล้งๆลืมห่วงไขมันไปบ้างก็พบว่า
ขาหมูเปื่อยนุ่มกับหมั่นโถวรสหวานนิดๆทอดกรอบนอกเข้ากันได้ดีจัง 
ตบท้ายด้วยผลไม้ตามฤดูกาลคือ สตรอเบอรี่สด โรยไอซิ่ง ราดวิปครีม อืม...

  
ตกบ่ายเป็นช่วงเวลาชมสวนสวยในบริเวณสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
เราเดินตามเจ้าหน้าที่เรื่อยไปตั้งแต่สวนบอนไซ
ซึ่งน่าสนใจที่สุดตรงที่เขาไม่ได้ใช้ต้นชาหรือโมกมาทำบอนไซอย่างทั่วไป
แต่เป็นไม้เมืองหนาวทั้งเมเปิ้ล สาลี แอ๊ปเปิ้ล บ๊วย พีช ฯลฯ
เป็นผลงานอันน่าภาคภูมิใจและคว้ารางวัลประกวดมาแล้วด้วย 
ที่ตื่นตาตื่นใจหญิงสาวอย่างเราๆมากที่สุดเห็นจะเป็นภายในเรือนเพาะชำไม้ดอก
เมืองหนาว
เพราะทั่วพื้นที่สะพรั่งไปด้วยไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายชนิดสวยสดงดงาม
ฉันสัญญาว่าเป็นคุณก็ต้องลืมโลมวุ่นวายไปได้หมด
เพราะธรรมชาติบำบัดอันแสนวิเศษนี่เอง

   ภายในโรงเรือนเพาะชำนี้
เขาจัดมุมกาแฟให้นักท่องเที่ยวได้แวะจิบชากาแฟอันเป็นผลผลิตของโครงการหลวง
ด้วย สตรอเบอรี่ปั่นชื่นใจที่สุด กับเค้กมะตูมสักชิ้นก็อยู่ท้อง
จะว่าไปเค้กหรือชากาแฟรสชาติไม่ได้เลอเลิศ
แต่การได้นั่งละเลียดยามบ่ายในสถานที่และบรรยากาศเช่นนี้
ฉันขอบันทึกไว้ว่านี่เป็นมุมกาแฟที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งทีเดียว


   ด้านนอกเรือนเพาะชำเป็นแปลงผักและแปลงไม้ผลเมืองหนาว
ที่ยินดีให้นักท่องเที่ยวเดินเข้าไปชมและสัมผัสอย่างใกล้ชิด
ไม่ไกลจากกันเป็นที่ตั้งของโรงคัดบรรจุ
พนักงานซึ่งเป็นคนในพื้นที่กำลังขมักเขม้นแยกพืชผักผลไม้บรรจุลงกล่อง
ก่อนพระอาทิตย์ตก รถห้องเย็นที่มีสัญญลักษณ์ "ดอยคำ"
แล่นออกจากสถานีฯผ่านเราไปอย่างช้าๆ
เส้นทางของผักผลไม้คุณภาพเริ่มต้นขึ้นแล้วก่อนจะถึงมือผู้บริโภคต่อไป

  
หากมีโอกาสอยากชวนให้คุณได้มาเยือนอ่างขางดูบ้าง
เพราะนอกจากการได้สัมผัสธรรมชาติในบรรยากาศบริสุทธิ์แล้ว
สิ่งพิเศษอีกอย่างที่ฉันยังไม่เคยเล่าให้ใครฟังก็คือ
ความสุขใจที่ได้รับเมื่อเราใช้ชีวิตอยู่ในดินแดนที่อวลด้วยบรรยากาศ
"เย็นศิระเพราะพระบริบาล"
ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวใดในโลกให้ความรู้สึกเสมอเหมือนเช่นนี้ได้








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 05 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 5 พฤษภาคม 2553 21:10:05 น.
Counter : 392 Pageviews.  

กินย่านเก่า เล่าเรื่องเมืองโอ่ง


ราชบุรี
เป็นเมืองเล็กๆ
แสนสงบที่มากด้วยเรื่องราวทางศิลปวัฒนธรรมจากผู้คนหลายเชื้อชาติทั้งไทย จีน
และยวน มีสถาปัตยกรรมเก่าแก่น่าชม
และวัดวาอารามที่สวยงามจนหลายคนคาดไม่ถึง
วันนี้เราจึงขอชวนคุณตระเวนเที่ยวรอบเมืองราชบุรีกัน
จะขับรถมาจากกรุงเทพก็ใช้เวลาเพียงหนึ่งชั่วโมงเท่านั้น
หากนึกอยากผจญภัยมากกว่านั้น อาจนำรถจักรยานติดมาด้วยแล้วปั่นชมเมืองไป
แวะกินอาหารข้างทางอร่อยๆไป ก็น่าสนใจดีเหมือนกัน



   ลองเริ่มต้นจากหอนาฬิกา ปั่นชมทิวทัศน์และชุมชนริมแม่น้ำแม่กลอง
มีอาคารบ้านเรือนแบบเก่าให้ชมประปราย แวะเที่ยวพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
จากนั้นไปนมัสการพระมงคลบุรี ชมพระปรางค์แบบศิลปะขอมในวัดมหาธาตุ 
แล้วพักเหนื่อยด้วยการแวะชม-แวะช๊อปโอ่งมังกรของเมืองราชบุรีที่ร้านเถ้า
ฮงไถ่-โรงงานทำโอ่งมังกรแห่งแรกๆของจังหวัดราชบุรี
ที่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ผลิตแค่โอ่งเท่านั้น แต่ยังมีเก้าอี้นั่ง ภาชนะใส่ของ
แจกัน กระเบื้องปูพื้น ของแต่งบ้านสีสันสดใสมากมาย

  
จากนั้นแวะเที่ยวถ้ำเขาบิน ชมหินงอกหินย้อยที่งดงามตระการตา
ก่อนจะเลยไปที่อุทยานหินเขางูชมถ้ำต่างๆในภูเขาหินปูน 
ไม่ไกลกันนักมีวัดเก่าแก่ที่ไม่ควรพลาดชมคือวัดอรัญญิกาวาสหรือเรียกสั้นๆ
ว่า วัดอรัญญิกที่เคยถูกทิ้งร้างไประยะหนึ่ง
ก่อนได้รับการบูรณะใหม่ในภายหลัง
ภายในมีพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่และพระปรางค์แบบศิลปะขอม
พร้อมประพุทธรูปหินปูนสีแดงรอบระเบียงคด
เป็นศิลปะสมัยลพบุรีที่หาชมไม่ได้ง่ายๆ

  
และเนื่องจากจังหวัดราชบุรีมีคนไทยเชื้อสายยวนตั้งรกรากอยู่อาศัยมากว่า 200
ปี จึงมีการสืบทอดภูมิปัญญาผ้าจก
ซึ่งผ้าซิ่นตีนจกได้รับการขนานนามว่าเป็นสุดยอดของผ้าซิ่นด้วยมีลวดลาย
ละเอียดงดงาม เป็นเอกลักษณ์ 
คุณสามารถเยี่ยมชมการทอผ้าแบบดั้งเดิมได้ที่ศูนย์ทอผ้าบ้านคูบัวหรือสหกรณ์
การเกษตรไท-ยวนราชบุรีข้างๆวัดคูบัว ซึ่งจะมีชาวบ้านนั่งทอผ้ากันมากมาย
เสียงย่ำกี่กระตุกเร็วและแรงสลับกันไป ฟังเพลินราวกับเสียงคนเต้นแทป 

  
แน่นอนกองทัพต้องเดินด้วยท้อง
ระหว่างท่องเที่ยวในเมืองราชบุรีเรามีร้านอาหารอร่อยๆมาแนะนำให้คุณเพียบเลย
ค่ะ

บะหมี่เกี๊ยวก๋ำเช้ง : ร้าน
บะหมี่เก่าแก่ของราชบุรีที่มีเอกลักษณ์ตรงเส้นบะหมี่ที่เล็ก
เหนียวนุ่มแต่เคี้ยวแล้วกรุบกรอบ
แผ่นเกี๊ยวก็เช่นกันถูกนวดและรีดจนบางเฉียบ เมื่อเคี้ยวรวมกับหมูบะช่อ
อืมม์..ช่างอร่อยละมุนลิ้นจริงๆ  ของเด็ดร้านนี้อย่าพลาดหมูดำ
ซึ่งก็คือหมูแดงส่วนปลายชิ้นค่อนข้างติดมันและย้อยน้ำตาล
คลุกเคล้ากับเส้นบะหมี่กรุบกรอบ อร่อยจนแทบไม่ต้องปรุง 
หากคนชอบรสจัดบะหมี่ต้มยำก็อร่อยถึงใจไม่แพ้กัน

ก๋วยเตี๋ยวท่าเสา : ถ้ามาถึงวัดมหาธาตุแล้วลองถาม
ชาวบ้านแถวนั้นดู ทุกคนรู้จักกันดี มีเมนูน่าสนใจ อาทิ  เย็นตาโฟ
ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ และขอแนะนำบะหมี่แห้งต้มยำที่ปรุงมาแล้วเสร็จสรรพ
รสชาติออกจะหวานนำอยู่สักหน่อย
เพราะคนราชบุรีนิยมกินหวานแต่ก็อร่อยใช้ได้ทีเดียว สนนราคาเพียงชามละ 15-20
บาทเท่านั้น

   ผัดไทย (ไม่มีชื่อร้าน) ฝั่ง
ตรงข้ามเรือนจำเก่า : ผัดไทยเก่าแก่ที่อยู่คู่เมืองราชบุรี
ผัดกันตั้งแต่แม่ครัวยังสาวกระทั่งอายุ 76 ปีแล้ว
แต่รสชาติความอร่อยก็ยังคงเส้นคงวา เมนูที่อยากแนะนำคือผัดไทย
ที่รสชาติกลมกล่อมจนแทบไม่ต้องปรุง เส้นก๋วยเตี๋ยวนั้นทั้งเหนียวทั้งนุ่ม
มีไข่เคลือบบางๆอย่างทั่วถึงยิ่งทำให้ผัดไทยจานนี้หายไปได้ในพริบตา
ที่อร่อยไม่แพ้กันคือข้าวผัดและผัดซีอิ๊ว ที่ให้รสชาติแบบดั้งเดิม
กินแล้วนึกถึงอาหารสมัยเมื่อครั้งยังเด็ก
โดยเฉพาะผัดซีอิ๊วของที่นี่ใส่เต้าเจี้ยวด้วยกินแล้วหอมอร่อยนัก
หากพื้นที่กระเพาะยังเหลืออาจสั่งก๋วยเตี๋ยวต้มยำรสชาติเปรี้ยวๆหวานๆตบท้าย
อีกชามก็ได้เช่นกัน

ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นหมู
โกซิ้ว
: ลูกชิ้นหมูของที่นี่ไม่ต้องห่วงเรื่องความสดสะอาด
เพราะคัดวัตถุดิบอย่างดีมาผลิตวันต่อวัน
หากติดใจรสชาติความอร่อยของลูกชิ้นหมู เขามีแบ่งขายด้วยร้อยละ 110 บาท
สำหรับเมนูที่ไม่ควรพลาดคือก๋วยเตี๋ยวแห้ง ที่ปรุงมาได้รสชาติอร่อยกำลังดี
แถมมีน้ำซุปแสนหวานให้ซดน้ำคล่องคออีกชามด้วย
ลูกค้าขาประจำแนะนำพวกเราว่าหากจะให้ครบเครื่องต้องสั่งก๋วยเตี๋ยวแห้งชาม
น้ำชาม จึงจะเต็มอิ่มความอร่อย

ก๋วยเตี๋ยว
ป้านิด
 : เมนูเด็ดของร้านนี้อยู่ที่เนื้อตุ๋นและหมูตุ๋น
ที่น้ำซุปหวานอร่อยเพราะผ่านการเคี่ยวมาอย่างดี 
นอกจากนี้ยังมีหมูหมักที่นุ่มอร่อย และหมูกรอบที่ทอดจนได้ที่
ได้กินกับเส้นเล็กที่ทั้งเหนียวและนุ่มเชื่อได้ว่าคุณจะต้องกลับมาตามหา
ก๋วยเตี๋ยวป้านิดอีกครั้งแน่นอน

ร้านอาหาร
หัวสนามบิน
: คนที่ชื่นชอบอาหารป่าและอาหารรสจัด
ขอแนะนำให้มาลิ้มลองแกงป่าที่ทั้งเผ็ดทั้งร้อนและเข้มข้นถึงใจ
ไข่ปลายี่สกทอดกระเทียม และไม่ควรพลาดไข่เจียวหมูสับ
ที่แม้จะเป็นเมนูง่ายๆแต่เรียกความประทับใจได้ถ้วนหน้า
เพราะไข่เจียวนั้นกรอบและแห้งสนิทไม่อมน้ำมันเลยแม่แต่น้อย
เป้นรสชาติความอร่อยที่คุณต้องลืมไม่ลงเชียวล่ะ

ร้านอาหารปั๋งหงาย
: อาหารรสชาติจัดจ้านไม่เป็นรองใครของร้านนี้ มีเมนูเด็ดคือ
ไก่บ้านผัดขี้เมา
คำแรกที่เข้าปากจะรู้สึกหวานแต่เมื่อเคี้ยวแล้วจะพบว่ารสชาติช่างกลมกล่อม
และซึมซาบเข้าไปในเนื้อไก่ดีแท้ๆ
เคล็ดลับอยู่ตรงที่การเคี่ยวให้เครื่องเทศซึมซาบเข้าไปในเนื้อไก่อย่างเต็ม
ที่นั่นเอง นอกจากนั้นยังมีไข่ตุ๋นทรงเครื่องตีให้เข้ากับหมูสับ
โรยหน้าด้วยพริกไทยกระเทียมเจียว ทั้งอร่อยและกินคล่องจนแวบเดียวก็หมดชาม
ส่วนทีเด็ดอีกอย่างอยู่ที่แกงป่า ที่โขลกพริกแกงได้ละเอียดและเข้มข้นจริงๆ
รสจัดจนน้ำหูน้ำตาไหล แต่เมื่อได้เคี้ยวหนุบหนับกับไก่บ้าน
คุณจะเชื่อว่า...เผ็ดกว่านี้ก็ยอม

ร้านเจ๊
ออน
: ร้านนี้การันตีความอร่อยด้วยรถที่จอดแน่นเต็มหน้าร้าน
อันเนื่องมาจากฝีมือความอร่อยของเจ๊ออนที่คอยดัดแปลงอาหารตามใจลูกค้าอยู่
เรื่อย จึงมีคนมาฝากท้องเป็นลูกค้าประจำมากมาย เมนูที่อยากแนะนำคือ
หลนปลาเค็มใส่เนื้อปู ที่อร่อยกลมกล่อมกำลังดี
ไม่หวานหรือเค็มเกินไปเหมือนหลนบางเจ้า
ยิ่งได้กินเคียงกับผักสอดที่เสิร์ฟมาด้วยก็อิ่มและสบายท้องดีที
เดียว หากอยากให้หนักท้องหน่อย อย่าลืมสั่งลาบปลาสำลี
ที่ราดหน้าด้วยลาบหมูรสชาติจัดจ้าน  ตามด้วยไก่รวนเค็ม
ที่ใช้ไก่ต้มน้ำปลามารวนพร้อมปรุงรสเค็มๆหวานๆ 
และไข่ตุ๋นทรงเครื่องที่เนื้อเนียนละเอียดโรยหน้าด้วยกุ้งตัวโต
กินกับข้าวสวยร้อนๆก็อร่อยดีจังค่ะ

ร้าน
อาหารไหมไทย
: หากคุณอยากหาที่นั่งฟังเพลงสบายๆ
กินอาหารอร่อยๆยามค่ำคืนอย่าลืมแวะมาที่นี่
มีเมนูอร่อยเพื่อสุขภาพให้เลือกอิ่มอยู่หลายเมนู อาทิ แกงเขียวหวานไก่โรตี
ที่ใช้นมสดแทนกะทิ ดังนั้นคุณไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องคอเลสเตอรอล นอกจากนี้
มีไก่ชวาที่หมักเครื่องเทศและนมสดซึมซาบเข้าไปถึงเนื้อและผ่านการเคี่ยว
อย่างดีจนเนื้อนุ่มอร่อย 
อีกจานคือยำมะระฮ่องกงที่ใช้มะระลวกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆยำรวมกับหมูสับ
และกุ้ง โรยหน้าด้วยหอมเจียว และไข่ตุ๋นญี่ปุ่นที่เสิร์ฟในถ้วยใบเล็กๆ
ปิดท้ายด้วยของหวานแสนอร่อย เต้าฮวยนมสด
เต็มเปี่ยมด้วยผลไม้สดรสชาติหวานกำลังดี

   มาเที่ยวราชบุรีคราวนี้
จึงอิ่มท้อง อิ่มเอมเปรมใจไปกับหลากหลายศิลปวัฒนธรรม 
หากคุณกำลังมองหาเมืองเล็กๆ น่ารัก
อย่าลืมให้ราชบุรีเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่คุณใช้ท่องเที่ยวเรียนรู้ผู้คน
และได้รู้จักตัวเองไปพร้อมๆกัน








Free TextEditor







































































































 

Create Date : 05 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 5 พฤษภาคม 2553 21:08:22 น.
Counter : 217 Pageviews.  

เห็ดเผาะในม่านฝน


จุด
หมายปลาทางของเราคราวนี้อยู่ที่หมู่บ้านปางแดง
ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวปกากะญอ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 
บนถนนหลวงที่มุ่งสู่จังหวัดเชียงราย
ไม่น่าเชื่อว่าเมื่อแยกเข้ามาตามทางเล็กๆด้วยระยะทางเพียง200เมตรให้หลัง
เราจะพบหมู่บ้านที่ยังคงความบริสุทธิ์ของธรรมชาติและถูกโอบล้อมด้วยภูเขา
ราวกับถูกเนรมิตไว้ให้คงสภาพของเมืองไทยเมื่อหลายปีก่อน

  
ชาวบ้านที่นี่อยู่กันอย่างเรียบง่าย
บ้านเรือนส่วนใหญ่สร้างด้วยไม่ไผ่ยกพื้นสูง มุงหลังคาด้วยใบตองตึงเลี้ยงไก่
เลี้ยงหมูไว้สำหรับเป็นอาหาร 
คนเฒ่าคนแก่ยังคงแต่งตัวแบบดั้งเดิมด้วยผ้าทอสีดำปักลวดลายสีสันสดใส
ผู้คนเต็มไปด้วยความเอื้ออาทร
พูดจาถามไถ่ทุกข์สุขโดยไม่มีสายตาเคลือบแคลงต่อคนแปลกหน้าอย่างเราแม้แต่
น้อย สำหรับคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่
เคยชินกับบรรยากาศที่น่าประหวั่นพรั่นพรึง
สิ่งเหล่านี้นับเป็นความอุ่นใจอย่างดีทีเดียว



   ชาวปกากะญอนั้นถือเป็นอีกหนึ่งชุมชนของความเป็นอยู่อย่างพอเพียง
พวกเขาทำงานพอประมาณและจัดการชีวิตส่วนตัวได้อย่างเหมาะสม 
ในช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นหน้านา ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ทำนา
หากมีเวลาว่างก็เข้าป่าหาเห็ด หาหน่อไม้มาขายเป็นรายได้เสริม
ตามบริเวณเชิงเขาหลังหมู่บ้านก็สามารถเก็บผักกูด-ซึ่งเป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งมา
กินเป็นอาหารหรือส่งขายได้ด้วย  ส่วนหน้าแล้งที่เป็นช่วงว่างจากการทำงาน
ผู้ชายจะออกไปรับจ้างดูแลสวนในรีสอร์ทใกล้ๆหมู่บ้าน
รวมทั้งซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้จำเป็น ส่วนผู้หญิงก็จะทอผ้าเอาไว้ใช้
ส่วนกุ้งหรือปลาก็หาจับเอาได้จากลำธารข้างๆหมู่บ้านนี่เอง

  
กุ้งที่ว่าเป็นแม่น้ำตัวเล็กๆแต่ใหญ่กว่ากุ้งฝอย 
ชาวบ้านบอกว่าต้องทำตอนกลางคืนเพราะจะหาได้ง่ายกว่า 
วิธีการหากุ้งของเขาคือการใช้ไฟฉายส่องลงไปในน้ำ
ตาของกุ้งจะสะท้อนกับแสงไฟเป็นจุดเล็กๆสีส้มๆแดงๆ
จากนั้นก็ค่อยๆใช้สวิงชนิดที่ไม่มีด้ามจับช้อนขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย
กุ้งชนิดนี้เป็นกุ้งธรรมชาติ ว่ากันว่ารสชาติดีทีเดียว
มีคนเคยพยายามจะนำไปเพาะเลี้ยงหลายครั้งแล้วแต่ก็ไม่สำเร็จ
เพราะมันชอบแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ต้องน้ำต้องไหลและสะอาด ดังนั้น
การรักษาแหล่งน้ำจึงเท่ากับเป็นการรักษาแหล่งอาหารไปด้วยในตัว

  
แม้จะเหน็ดเหนื่อยกับการจับกุ้ง 
แต่พอเงยหน้าขึ้นไปท้องฟ้าที่ดำขลับขับให้ประกายดวงดาวเปล่งแสงระยิบระยับ
แถมยังมีฝูงหิ่งห้อยล้อมรอบตัวอีก ...มีความสุขจังค่ะ

 
 หน้าฝนของคนที่นี่ถือเป็น "ช่วงทำเงิน"
ถ้าหากขยันเข้าป่าสักหน่อยก็จะมีรายได้มาก เพราะมีเห็ดหลายชนิด
รวมทั้งหน่อไม้บง และผักกูดขึ้นอยู่มากมาย 
ลำพังแค่เห็ดเผาะในฤดูกาลออกใหม่ขายได้ราคา(ส่ง)สูงถึงลิตรละ 100
บาททีเดียว แต่เพียงไม่กี่สัปดาห์ราคาอาจลดฮวบเหลือเพียงลิตรละ 20 บาท
เพราะฉะนั้นต้องรีบเก็บในช่วงแรกๆ  ไม่เช่นนั้นอาจได้ราคาไม่คุ้มเหนื่อย 

  
เห็ดเผาะจึงเหมือนเป็นของขวัญจากฟ้า  เพราะนำมากินก็อร่อย  ขายก็ได้ราคา 
แต่จะออกเพียงปีละครั้งและครั้งละไม่นานด้วย 
อย่างปีนี้เห็ดเผาะหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "เห็ดถอบ" นั้น
ออกดอกเยอะมากเป็นประวัติการณ์ 
เด็กๆเอามาเสียบไม้กินกันอร่อยแถมเรียกชื่อเสียน่าเอ็นดูว่า "ลูกชิ้นดอย"
เพราะความที่เป็นลูกกลมเกลี้ยง เนื้อกรุบกรอบแข็งนอกนุ่มใน ชวนให้น้ำลายสอ
การเลือกเห็ดเผาะให้อร่อยจึงต้องเลือกกินเสียตั้งแต่ต้นฤดู เห็ดจะยังอ่อน
กินอร่อย เห็ดที่อ่อนนั้น เนื้อข้างในจะเป็นสีขาว แต่ถ้าย่างเข้าปลายฤดู
เห็ดเริ่มแก่ เนื้อข้างในจะเปลี่ยนเป็นสีดำ เหนียวและเคี้ยวยาก
(ราคาจึงถูกลง)

   สำหรับการเก็บเห็ดเผาะ 
ต้องตื่นกันตั้งแต่เช้ามืด
เพราะการเดินเก็บเห็ดสำหรับคนที่นี่นั้นเป็นการเดินขึ้นเขาคราวละหลายๆลูก 
การตื่นไปเก็บเห็ดแต่เช้าอากาศจึงเย็นสบาย เดินไปได้เรื่อยๆ
และสามารถกลับลงมาได้ในช่วงเวลาที่ไม่เย็นย่ำจนเกินไป  
ยิ่งถ้าเป็นช่วงต้นฤดูที่เห็ดเผาะเริ่มออกแล้วละก็ 
ชาวบ้านจะออกไปกันตั้งแต่ตีหนึ่งเพื่อกลับลงมาให้ทันเช้ามืดซึ่งเป็นช่วง
เวลาที่แม่ค้าเข้ามารับซื้อเห็ดในหมู่บ้านพอดี

  
เส้นทางเดินขึ้นเขาอาจจะเป็นทางธรรมดาๆสำหรับชาวบ้านที่นี่
แต่มันช่างหฤโหดสำหรับเราเหลือเกิน ด้วยความที่สูงชันเกือบเก้าสิบองศา
แถมยังเป็นดินหลังฝนตกเสียด้วย
แต่ในที่สุดเราก็ตะเกียกตะกายมาถึงยอดเขาจนได้ 
จากคำบอกเล่าเห็ดเผาะมักจะขึ้นอยู่ในที่เดิม 
บริเวณที่พบได้มากคือโคนต้นไม้ที่ทับถมด้วยขี้เถ้า หากปีไหนมีไฟไหม้
ปีนั้นเห็ดเผาะจะออกเยอะกว่าปกติ
การหาเห็ดเผาะจึงต้องใช้ความชำนาญในการจดจำบริเวณที่เห็ดเคยเกิดเมื่อปี
ก่อนๆ 
และยังต้องอาศัยสายตาที่ฉับไวเพราะรูปร่างกลมๆของมันนั้นบางทีก็แฝงตัวกลม
กลืนกันก้อนกรวดอยู่เหมือนกัน

   ในระหว่างทางเดินกลับ
เราได้มีโอกาสเห็นดอกกระเจียวขาว กระเจียวแดง เห็ดไข่ห่านที่บานแล้ว
(นิยมกินชนิดที่ยังตูมอยู่) ซึ่งเป็นหนึ่งในอาหารจากหน้าฝน
ชาวบ้านนิยมนำไปลวกจิ้มน้ำพริกกินกันบ่อยๆ  
พร้อมบอกชื่อต้นไม้-ใบนั้นใบนี้ว่า ใช้ส่วนไหนทำยารักษาโรค 
ความรู้อย่างนี้ก็ได้มาจากการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นนี่แหละค่ะ 
เด็กทุกคนเมื่อโตพอที่จะช่วยพ่อแม่เข้าป่าหาเห็ดหาหน่อไม้
ก็จะได้รับการบอกเล่าเรื่องต่างๆเหล่านี้
นี่คือวิถีชีวิตที่น่านับถือยิ่งนัก
เพราะเท่ากับเขาสามารถจัดการชีวิตของตัวเองได้ รู้ว่าอะไรเป็นอาหาร
แม้ในยามเจ็บป่วยก็รู้ว่าจะใช้ป่าหลังบ้านมาเยียวยาได้อย่างไร 
ป่าของชาวบ้านปกากะญอจึงเป็นมากกว่าป่า
เพราะนี่คือศูนย์รวมทุกสรรพสิ่งของชีวิต 

  
ครึ่งวันของการเดินป่าจึงไม่ได้เป็นเพียงการเก็บเห็ด 
หากเป็นการเรียนลัดเรื่องชีวิต  การได้อยู่แนบชิดขุนเขา  ฟังเสียงสายน้ำ
ภายใต้โอบล้อมของป่าเขียวขจีสุดลูกหูลูกตา และมีชีวิตที่ดำเนินไปอย่างช้าๆ
บอกให้เรารู้ว่า "ตัวตน"  ที่หลงคิดว่าใหญ่โต
แท้จริงแล้วก็เป็นแค่เพียงเศษเถ้าของจักรวาลเท่านั้นเอง







Free TextEditor







































































































 

Create Date : 05 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 5 พฤษภาคม 2553 21:06:42 น.
Counter : 217 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.