ใช้กระเป๋าน้ำร้อนให้ถูกวิธี



หากผู้
อ่านมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้นตามร่างกาย
นอกจากจะพึ่งพายาแก้ปวดหรือยารักษาเฉพาะโรคแล้ว อุปกรณ์ปฐมพยาบาล
อย่างกระเป๋าน้ำร้อน
ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดให้ทุเลาลงได้

          
สำหรับการใช้กระเป๋าน้ำร้อนชนิดดั้งเดิมที่ต้องเติมน้ำร้อนก่อนใช้นั้น
ให้เติมน้ำในปริมาณ ¾ ของกระเป๋า จากนั้นไล่อากาศออกให้หมดแล้วปิดฝาให้สนิท
ก่อนใช้ควรตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่าฝาของกระเป๋าถูกปิดแน่นแล้ว
โดยการคว่ำกระเป๋าพร้อมสังเกตว่ามีน้ำไหลซึมออกมาหรือไม่

          

เมื่อเติมน้ำร้อนลงไปแล้วให้สัมผัสผิวนอกของกระเป๋าว่าอุ่นร้อนพอทนได้หรือ
ไม่ โดยอุณหภูมิที่พอเหมาะไม่ควรเกิน 45 องศาเซลเซียส 

          
ก่อนวางลงบนตำแหน่งที่ปวด
ผู้อ่านจำเป็นต้องหุ้มพันกระเป๋าน้ำร้อนด้วยผ้าที่หนา-บางพอสมควร
โดยไม่ควรประคบกระเป๋าน้ำร้อนกับผิวหนังโดยตรง
เพราะอาจเป็นอันตรายกับเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ

ระยะเวลาในการกระเป๋าน้ำร้อนแต่ละครั้งอยู่ระหว่าง 20-30
นาที
หลังใช้งานต้องเทน้ำออกจากกระเป๋าแล้วล้างทำความสะอาด
จากนั้นนำไปตากโดยคว่ำปากกระเป๋าลง
เมื่อแห้งสนิทควรทำให้กระเป๋าพองลมก่อนปิดฝาและเก็บเข้าที่

การใช้กระเป๋าน้ำร้อนสามารถประคบได้ทั่วทั้งร่างกาย
มักใช้เมื่อรู้สึกปวดท้อง ส่วนผู้ที่เกิดอาการปวดเนื่องจากอุบัติเหตุ มีรอย
ฟก ช้ำ บวม ไม่ควรประคบร้อนทันที
แต่ควรประคบเย็นก่อนเพื่อให้หลอดเลือดหดตัวและอาการบวมลดลง
แล้วจึงใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบตามเพื่อขยายหลอดเลือดและลดความเจ็บปวด





          
หากจำเป็นต้องประคบร้อนบรรเทาอาการปวด
แต่ไม่สามารถหากระเป๋าน้ำร้อนมาใช้ปฐมพยาบาลได้
ผู้อ่านสามารถนำผ้าสะอาดชุบน้ำร้อนแล้วมัดขมวดเป็นลูกกลมคล้ายลูกประคบมาใช้
ทดแทนกระเป๋าน้ำร้อนได้









Free TextEditor







































































































 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 28 พฤษภาคม 2553 15:46:47 น.
Counter : 2300 Pageviews.  

เรื่องหมูๆ ของคนเลี้ยงหมู



           
เรื่องของพลังงานทดแทนกับเรื่องหมูๆ
คงหนีไม่พ้นเรื่องราวของขี้หมูเป็นแน่แท้ 
และเราก็ยังคงวนเวียนอยู่ทางภาคเหนือ  ในจังหวัดลำพูน 
ติดถนนซูเปอร์ไฮเวย์ทางไปจังหวัดเชียงใหม่  จะมีป้ายป่าชุมชนอยู่ซ้าย 
เลี้ยวเข้าไปปั๊บ  ก็จะเป็นบ้านทุ่งยาว ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน
จังหวัดลำพูนแล้ว

           
แต่ก่อนที่จะไปพบเจอกับหมูๆ ขอเกริ่นถึงจุดเด่นของบ้านทุ่งยาว 
สักเล็กน้อย 
ด้วยความเข้มแข็งของชุมชนที่ช่วยกันรักษาประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของท้อง
ถิ่นไว้ได้มากกว่า 94 ปี พร้อมพัฒนาให้เป็น “ศูนย์เรียนรู้บ้านทุ่ง
ยาว(ป่าน้ำจำ)”


           
ตามปกติเวลามาดูงานตามสถานที่ต่างๆ ก็ต้องเข้าฐานกันก่อน 
แต่ที่บ้านทุ่งยาวนี้  ฐานแรกก็คือการนั่งอู้จากันก่อน 
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์รวมถึงความเป็นมาของเจ้าบ้านและผู้มา
เยือน  เมื่อทั้งสองได้ทราบข้อมูลกันพอสังเขป 
ก็ได้เวลาเดินลัดเลาะไปตามหมู่บ้านเพื่อเรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อ
วิถีชีวิตของขาวบ้าน

“บ้านทุ่ง
ยาวตั้งแต่หัวบ้านจรดท้ายบ้าน 
ไม่มีกั้นรั้วทุกบ้านจะต้องถ่างไว้ให้คนเดินทะลุกัน  เพื่อให้พึ่งพากันได้ 
ซึ่งที่อื่นไม่มีแล้ว  เรื่องประเพณี กินข้าวใหม่ทุกครัวเรือนที่ทำนา
ในวันที่ 1 ม.ค. ต้องเอาข้าว 1 กระสอบมาทำบุญที่วัด  ให้ล้นบาตร 
เชื่อกันว่าให้เหลือกินเหลือใช้ 
และต้องเอาข้าวไปทำบุญให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว  ถึงจะเอาข้าวมากินได้ 
เขาถือว่าเราสืบทอดมรดกจากปู่ย่าตายายทำให้มีกินมีอยู่จนทุกวันนี้”
ระ
วิวรรณ  กันชัยสัก  ประธานกลุ่มแม่บ้านยกตัวอย่างให้ฟัง

           
ส่วนเรื่องพลังงานหมูๆ นั้น 
ที่นี่ก็โดดเด่นไม่แพ้กันเพราะเขาทำกันมากกว่า 17 ปีแล้ว  มีชาวบ้านกว่า 70
ครัวเรือนได้ใช้ก๊าซจากขี้หมูฟรีมาตลอด


“เมื่อก่อนหมูกินผัก  ขี้ไม่เหม็น  เกิดปัญหาในชุมชน 
จึงมาหาทางออกร่วมกันและไปขอคำปรึกษากับเกษตรอำเภอ 2538
ได้รับคำแนะนำให้รวมเป็นกลุ่มแม่บ้าน 
ขอความช่วยเหลือจากกกรมส่งเสริมบ่อก๊าซชีวภาพไทยเยอรมัน จ.เชียงใหม่
และส่งชาวบ้านไปอบรมการสร้างบ่อ (จินดา  งำเมืองตึง)
หลังจากนั้นก็ได้รับงบประมาณมา 40,000 บาท ในการก่อสร้าง”

พี่รวิรรณ เล่าที่มา

“ขี้หมูและ
ฉี่หมูจากโรงหมู  จะถูกวาดลงราวไหลมาบ่อหมัก  ก่อนจะไปบ่อล้น 
คอยควบคุมแรงดันและไหลมาลงบ่อหมัก  ก่อนจะไปบ่อล้น 
คอยควบคุมแรงดันและไหลไปบ่อตะกอน 
ซึ่งแยกกากตะกอนออกมาโดยกากสามารถทำปุ๋ยได้ 
จากนั้นน้ำที่เหลือก็จะไหลไปพักที่บ่อน้ำใสและไหลไปพักอีกครั้งที่บ่อสุด
ท้ายจะเป็นสระน้ำใช้”
ช่างจินดา  งำเมืองตึง อธิบายอย่างรวดเร็ว 
ขณะกำลังปรับปรุงบ่อของลุงเผด็จ  สมโชติพร้อมเปิดแบบแปลนให้ดู 
โดยให้ข้อสังเกตไว้ว่าการทำบ่อหมักนั้น  ควรได้รับการฝึกอบรมอย่างถูกต้อง 
ซึ่งมีหลายหน่วยงานคอยให้คำแนะนำอยู่หรือจะเป็นในรูปแบบของผู้รับเหมาช่วง
ต่อก็มีในกรณีที่ชุมชนต้องการความช่วยเหลือในการก่อสร้าง





           
ทั้งนี้จากผลิตก๊าซชีวภาพในชุมชนบ้านทุ่งยาวสามารถลดใช้จ่ายได้ประมาณ 300
บาท/เดือน/ครัวเรือน แล้วทั้งหมด 70 ครัวเรือน  ใช้ก๊าซชีวภาพมา 17 ปี
คิดเป็นเงินประมาณ 4,284,00 บาท เห็นตัวเลขแล้วไม่ใช่น้อย 
หลายคนกำลังเป่าปากไม่อยากจะเชื่อ  แต่นี่คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นที่ ณ
บ้านทุ่งยาว

 
หากใครสนใจไปร่วมเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันสามารถสอบถามราย
ละเอียดได้ที่ คุณวิวรรณ  กันชัยสัก ประธานกลุ่มแม่บ้าน โทร.  08 1024 6712







Free TextEditor







































































































 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 28 พฤษภาคม 2553 15:45:14 น.
Counter : 718 Pageviews.  

ภัยร้ายจาก "ไส้กรอกหมู" ใส่สารกันบูดเพียบ



           
รู้หรือไม่ว่ากระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้วัตถุ
เจือปนอาหารในอาหารหลายชนิด แต่ไม่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมด
ดังนั้นอาหารที่จำเป็นต้องใช้วัตถุกันเสียเพื่อเก็บรักษาและถนอมอาหารควรใช้
เท่าที่จำเป็น การใช้เกินความจำเป็นอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้



      แต่"ฉลาดซื้อ"
กลับยังพบว่ามีการใช้วัตถุกันเสียที่เกินมาตรฐานและใส่สีในไส้กรอกและในทุก
ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจพบวัตถุกันเสีย
ไม่มีการแสดงฉลากระบุว่ามีการใช้วัตถุกันเสีย
ซึ่งเป็นการแสดงฉลากที่ไม่ถูกต้อง

           
นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการพัฒนากลไกเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้
บริโภค ได้เก็บตัวอย่างไส้กรอกหมูกันในพื้นที่เครือข่าย 7 จังหวัดได้แก่
กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา และสงขลา
ได้จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 26 ตัวอย่างจาก 23 ยี่ห้อ
ส่วนใหญ่เลือกเก็บในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และตลาดสดขนาดใหญ่ของจังหวัด
ที่ผู้คนนิยมมาจับจ่ายสินค้า

ผลทดสอบไส้กรอกหมู: อันตราย! สารกันบูดเพียบ

วัตถุกันเสียกลุ่มเบนโซอิคและซอร์บิค
           
1.พบกรดเบนโซอิคเกิน 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 3 ตัวอย่างจาก 23
ยี่ห้อ ได้แก่ หมู 5 ดาว ปริมาณสูงถึง 3,428.79 มิลลิกรัม/กิโลกรัม MA
ปริมาณ 1,150 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ JPM ปริมาณ 1,109.57
มิลลิกรัม/กิโลกรัม อีกจำนวน 10 ยี่ห้อ พบกรดเบนโซอิคในปริมาณต่ำกว่า 1,000
มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่ ซุปเปอร์เซฟ SSP JPM BKP CPF PPF สหฟาร์ม
คุ้มค่า ดีนิ และ ARO ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่องวัตถุเจือปนอาหารนั้น ห้ามมิให้มีการใส่กรดเบนโซอิค
เว้นแต่ขออนุญาตจากอย.
            2.พบกรดซอร์บิค 4 จาก 23
ยี่ห้อที่ส่งตรวจ (มีผลิตภัณฑ์ 10 ยี่ห้อ
ที่ไม่ได้ทำการวิเคราะห์หากรดซอร์บิค) ผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ยี่ห้อได้แก่
หมูสองตัว 236.8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หมูตัวเดียว 234.58 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
S&P 204.12 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ TGM 203.31 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ซึ่งตามกฎหมายห้ามมิให้ใช้ซอร์บิคในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ทุกชนิด
เว้นแต่ขออนุญาตจาก อย.

วัตถุ
กันเสีย กลุ่มไนเตรทและไนไตรท์

            3.พบสารไนเตรท
ในผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 15 จาก 23 ยี่ห้อ
อย่างไรก็ตามปริมาณสารไนเตรทที่พบมีปริมาณน้อยมากคือไม่เกิน 30
มิลลิกรัม/กิโลกรัม ยกเว้นยี่ห้อ หมู 5 ดาวที่พบไนเตรท สูงถึง 100.62
มิลลิกรัม/กิโลกรัม แต่ก็ยังไม่เกินปริมาณไนเตรทที่กฎหมายกำหนดคือไม่เกิน
500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 
           
4.ไม่พบสารไนไตรท์เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ มีได้ไม่เกิน 125
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมในทุกผลิตภัณฑ์
            5.มีผลิตภัณฑ์อยู่ 1
ยี่ห้อ ที่มีการใช้ทั้งไนเตรทและไนไตรท์
ผสมกันเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดคือ 125 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ได้แก่ยี่ห้อหมู 5 ดาว ที่เก็บตัวอย่างมาจากตลาดเทศบาลเมือง
จังหวัดสมุทรสงคราม
ข้อสังเกตผลิตภัณฑ์ตัวเดียวกันนี้ยังพบการใช้กรดเบนโซอิคในปริมาณที่สูงถึง
3,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมดังได้แจ้งไว้ในข้อ 1 อีกด้วย

การใช้สีผสมในอาหาร
           
6.พบการใช้สีสังเคราะห์ในอาหารซึ่งตามกฎหมายห้ามไม่ให้ใส่จำนวน 4 ยี่ห้อ
ได้แก่ ARO ของบริษัท ซีพีเอฟ พบสี poceau 4R บีวัน
ของบริษัทอาหารเบทเทอร์จำกัด พบสี Erythrosine BKP
ของบริษัทกรุงเทพโปรดิวส์จำกัด พบสี Erythrosine และ Poncoau4R และ CPF
ของบริษัทซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร พบสี Erythrosine&Tartrazine
ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขห้ามใส่สีในอาหารประเภทนี้



ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากนิตยสารฉลาดซื้อ









Free TextEditor







































































































 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 28 พฤษภาคม 2553 15:43:31 น.
Counter : 1883 Pageviews.  

ดาวเสาร์ (Saturn)





ภาพดาวเสาร์



          
ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่รู้จักกันมาตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์
กาลิเลโอได้ใช้กล้องส่องทางไกลสังเกตดาวเสาร์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2153
และพบลักษณะที่เป็นวงรี คล้ายกับเป็นดาวเคราะห์ที่มีหูสองข้าง
จนกระทั่งในปี พ.ศ.2202 คริสเตียน ฮอยเกนส์ พบว่าเป็นวงแหวนของดาวเสาร์ 
เป็นที่เชื่อกันว่าดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ
ที่มีวงแหวน จนกระทั่งเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เองที่ได้มีการค้นพบวงแหวนบางๆ
รอบดาวยูเรนัส ดาวพฤหัสบดีและดาวเนปจูน

          
ดาวเสาร์ถูกเยี่ยมเยือนครั้งแรกโดย ยานไพโอเนียร์ 11 ในปี พ.ศ.2522
ตามด้วยวอยเอเจอร์ 1 วอยเอเจอร์ 2 และยานแคสสินีในปี พ.ศ.2547 

          
ดาวเสาร์มีองค์ประกอบคล้ายกับดาวพฤหัสบดี คือประกอบไปด้วย ไฮโดรเจน 75%
ฮีเลียม 25% ปะปนไปด้วยน้ำ มีเทน แอมโมเนียเพียงเล็กน้อย  
โครงสร้างภายในของดาวเสาร์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับของดาวพฤหัสบดี
ซึ่งมีแกนกลางที่เป็นหินแข็งห่อหุ้มด้วยแมนเทิลชั้นในที่เป็นโลหะไฮโดรเจน
และแมนเทิลชั้นนอกที่เป็นไฮโดรเจนและฮีเลียมเหลว

          
แถบที่มีความเข้มต่างๆ
กันที่ปรากฏบนดาวเสาร์เกิดจากการหมุนรอบตัวเองที่เร็วมากของดาวทำให้เกิดการ

หมุนวนของชั้นบรรยากาศที่มีอุณภูมิแตกต่างกันจึงปรากฏเป็นแถบเข้มและจางสลับ
กันไป

วงแหวนดาวเสาร์
          
จากภาพวงแหวนดาวเสาร์ ดูคล้ายกับว่าจะมีลักษณะเป็นแผ่น
แท้ที่จริงแล้วประกอบด้วยอนุภาคจำนวนมหาศาล
ซึ่งมีวงโคจรอิสระและมีขนาดตั้งแต่เซนติเมตรไปจนหลายร้อยเมตร
ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยน้ำแข็ง ปะปนอยู่กับเศษหินเคลือบน้ำแข็ง   
วงแหวนของดาวเสาร์บางมาก แม้จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาวถึง 250,000
กิโลเมตร แต่มีความหนาไม่ถึง 1.5 กิโลเมตร 

          
วงแหวนแต่ละชั้นมีชื่อเรียกตามอักษรภาษาอังกฤษ  เช่น  วงแหวนสว่าง (A และ
B) และวงสลัว (C) สามารถมองเห็นได้จากโลก  ช่องระหว่างวงแหวน  A และ B
รู้จักในนาม "ช่องแคสสินี"  (Cassini Division)   
เรายังไม่ทราบถึงต้นกำเนิดของวงแหวนดาวเสาร์
บางทีมันอาจกำเนิดจากการแตกสลายของบริวารที่มีขนาดใหญ่กว่า

ดวง
จันทร์บริวารของดาวเสาร์

          
ดาวเสาร์มีดวงจันทร์บริวารอย่างน้อย 30 ดวง 
ดวงจันทร์บริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ ไททัน มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ  
ไททันมีชั้นบรรยากาศที่ประกอบด้วยก๊าซไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ 
คล้ายคลึงกับชั้นบรรยากาศของโลก 
ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงสนใจที่จะศึกษาดวงจันทร์ไททันอย่างละเอียดเพื่อที่
จะได้นำมาเปรียบเทียบกับโลก

          
ดวงจันทร์บริวารที่มีขนาดรองจากไททันได้แก่  รี ดิโอนี ไออาเพตุส เททิส
เอนเซลาดุส และมิมาส 
ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำแข็งและมีหินผสมอยู่เล็กน้อย









Free TextEditor







































































































 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 28 พฤษภาคม 2553 15:41:45 น.
Counter : 322 Pageviews.  

ปลอดภัยไหม..เมื่อต้องกินอาหารที่แถมสารกันบูด



 
สารกันบูดหรือวัตถุกันเสียเป็นสารเคมีที่ช่วยในการถนอมอาหารช่วยยืดอายุการ
เก็บรักษา
โดยจะช่วยชะลอหรือยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุให้
อาหารเน่าเสีย


ชนิด
ของสารกันบูดที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปอาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้


            1.กรดและเกลือของกรดบางชนิด เช่น
กรดเบนโซอิก และเกลือเบนโซเอต กรดซอร์บิกและเกลือซอร์เบต
กรดโปรปิโอนิกและเกลือโปรปิโอเนต ฯลฯ อาหารที่ผสมสารกันบูดเหล่านี้ ได้แก่
เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ ซอส ผักผลไม้ดอง แยม เยลลี่ เครื่องแกงสำเร็จรูป
และขนมปัง เป็นต้น

  2. พาราเบน
เช่น เมทธิลพาราเบน โปรปิลพาราเบน นิยมใช้กับอาหารประเภท เครื่องดื่ม
น้ำผลไม้ เยลลี่ ขนมหวานต่างๆ และสารปรุงแต่งกลิ่นรส เป็นต้น

3. ซัลไฟต์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์นิยมใส่ในไวน์
น้ำผลไม้ ผักและผลไม้แห้ง เป็นต้น


4. ไนไตรท์
เกลือไนไตรท์นิยมใช้กับเนื้อสัตว์ต่างๆ เบคอน แฮม
เป็นต้น

การ
ใช้สารกันบูด

           
ปริมาณของสารกันบูดที่ใช้จะแตกต่างกันออกไปขึ้นกับชนิดของอาหาร
ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้กำหนดปริมาณที่อนุญาตให้ใส่ในอาหารได้
           

สารกันบูดเหล่านี้หากใช้ตามที่กฎหมายกำหนดหรือใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค
แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินไปหรือนำไปใช้ไม่เหมาะสมก็จะก่อให้เกิดอันตรายได้

           

นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขยังห้ามใช้วัตถุกันเสียในอาหารที่ไม่จำเป็นต้อง
ใช้สารกันบูด นั่นก็คืออาหารกระป๋องที่ผ่านการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แล้ว

           
ผู้ผลิตที่ผสมสารกันบูดลงในอาหารควรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค
โดยเลือกใช้สารกันบูดให้เหมาะสมกับชนิดของอาหารและใช้ในปริมาณที่กำหนดเท่า
นั้น และในระหว่างกรรมวิธีการผลิต
จะต้องระมัดระวังการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ให้น้อยที่สุด
เพราะหากมีจุลินทรีย์ปนเปื้อนมาก
ทำให้อาหารเกิดการเน่าเสียมาก่อนการใส่สารกันบูดก็ไม่เกิดผลดีแต่อย่างใด

อันตรายจากสารกันบูด
           
หากในแต่ละวันเราได้รับสารกันบูดในปริมาณน้อย
ร่างกายจะสามารถกำจัดออกทางปัสสาวะได้ตามปกติ
แต่หากได้รับในปริมาณมากทุกวัน
ตับและไตจะต้องทำงานหนักขึ้นและหากกำจัดออกไปไม่หมดก็จะเกิดการสะสมในร่าง
กาย
ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของตับและไตในการกำจัดสารเคมีเหล่านี้ลดลงและอาจทำ
ให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่อตับและไตได้

           
สารกันบูดในกลุ่มกรดและเกลือของกรดบางชนิดรวมทั้งพาราเบน
ถือว่ามีความเป็นพิษต่ำและสามารถขับออกจากร่างกายได้ แต่ก็มีข้อควรระวัง
เช่น เกลือเบนโซเอต โดยทั่วไปแล้วจะค่อนข้างปลอดภัย
แต่ก็พบว่าทำให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคภูมิแพ้

           
สารกันบูดในกลุ่มซัลไฟต์แม้จะถูกขับออกจากร่างกายได้
แต่หากได้รับในปริมาณมากเกินไป
สารดังกล่าวจะไปลดการใช้โปรตีนและไขมันในร่างกายนอกจากนี้ยังทำลายไธอามีน
หรือวิตามินบี 1 ในอาหารด้วย

           
สารกันบูดในกลุ่มไนไตรท์ยกตัวอย่างเช่น ดินประสิว
ซึ่งนิยมนำมาใช้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หากใช้เกินกว่าที่กำหนด
จะทำให้ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาซึ่งมีข้อบ่งชี้ว่าการได้รับไนไตรท์ในปริมาณมากๆ
จะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วย

ข้อ
แนะนำสำหรับผู้บริโภคเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารกันบูด มีดังนี้

           
-
ก่อนซื้ออาหารสำเร็จรูปควรอ่านฉลากอาหารและเลือกอาหารที่ระบุว่าไม่ใส่สาร
กันบูดหรือวัตถุกันเสีย
            -
หากฉลากนั้นไม่ได้ระบุชัดเจนว่าใช้สารกันบูดหรือไม่ก็ควรหลีกเลี่ยง
หรือบริโภคให้น้อยที่สุด
            -
หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่ขายไม่หมดวันต่อวัน
            -
หลีกเลี่ยงอาหารที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะใส่สารกันบูด เช่น แหนม หมูยอ
กุนเชียง เนื้อเค็ม และน้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นต้น
            -
มีการศึกษาพบว่า การลวกหมูยอในน้ำเดือดก่อนนำมารับประทาน
จะช่วยลดปริมาณสารกันบูดลงได้
ซึ่งน่าจะได้ผลเช่นเดียวกันในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์อื่นๆ

  โดยสรุปก็คือ
การใช้สารกันบูดตามปริมาณที่กำหนดจะไม่เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคอย่างไรก็ตาม
อาจมีผู้ผลิตบางรายที่ละเมิดกฎหมาย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย
การหลีกเลี่ยงอาหารที่สุ่มเสี่ยงต่อการใส่สารกันบูดหรือบริโภคแต่น้อยน่าจะ
ดีต่อสุขภาพที่สุด



ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากDevil






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 28 พฤษภาคม 2553 15:39:37 น.
Counter : 735 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.