ภัยร้ายจาก "ไส้กรอกหมู" ใส่สารกันบูดเพียบ



           
รู้หรือไม่ว่ากระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้วัตถุ
เจือปนอาหารในอาหารหลายชนิด แต่ไม่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมด
ดังนั้นอาหารที่จำเป็นต้องใช้วัตถุกันเสียเพื่อเก็บรักษาและถนอมอาหารควรใช้
เท่าที่จำเป็น การใช้เกินความจำเป็นอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้



      แต่"ฉลาดซื้อ"
กลับยังพบว่ามีการใช้วัตถุกันเสียที่เกินมาตรฐานและใส่สีในไส้กรอกและในทุก
ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจพบวัตถุกันเสีย
ไม่มีการแสดงฉลากระบุว่ามีการใช้วัตถุกันเสีย
ซึ่งเป็นการแสดงฉลากที่ไม่ถูกต้อง

           
นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการพัฒนากลไกเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้
บริโภค ได้เก็บตัวอย่างไส้กรอกหมูกันในพื้นที่เครือข่าย 7 จังหวัดได้แก่
กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา และสงขลา
ได้จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 26 ตัวอย่างจาก 23 ยี่ห้อ
ส่วนใหญ่เลือกเก็บในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และตลาดสดขนาดใหญ่ของจังหวัด
ที่ผู้คนนิยมมาจับจ่ายสินค้า

ผลทดสอบไส้กรอกหมู: อันตราย! สารกันบูดเพียบ

วัตถุกันเสียกลุ่มเบนโซอิคและซอร์บิค
           
1.พบกรดเบนโซอิคเกิน 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 3 ตัวอย่างจาก 23
ยี่ห้อ ได้แก่ หมู 5 ดาว ปริมาณสูงถึง 3,428.79 มิลลิกรัม/กิโลกรัม MA
ปริมาณ 1,150 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ JPM ปริมาณ 1,109.57
มิลลิกรัม/กิโลกรัม อีกจำนวน 10 ยี่ห้อ พบกรดเบนโซอิคในปริมาณต่ำกว่า 1,000
มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่ ซุปเปอร์เซฟ SSP JPM BKP CPF PPF สหฟาร์ม
คุ้มค่า ดีนิ และ ARO ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่องวัตถุเจือปนอาหารนั้น ห้ามมิให้มีการใส่กรดเบนโซอิค
เว้นแต่ขออนุญาตจากอย.
            2.พบกรดซอร์บิค 4 จาก 23
ยี่ห้อที่ส่งตรวจ (มีผลิตภัณฑ์ 10 ยี่ห้อ
ที่ไม่ได้ทำการวิเคราะห์หากรดซอร์บิค) ผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ยี่ห้อได้แก่
หมูสองตัว 236.8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หมูตัวเดียว 234.58 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
S&P 204.12 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ TGM 203.31 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ซึ่งตามกฎหมายห้ามมิให้ใช้ซอร์บิคในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ทุกชนิด
เว้นแต่ขออนุญาตจาก อย.

วัตถุ
กันเสีย กลุ่มไนเตรทและไนไตรท์

            3.พบสารไนเตรท
ในผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 15 จาก 23 ยี่ห้อ
อย่างไรก็ตามปริมาณสารไนเตรทที่พบมีปริมาณน้อยมากคือไม่เกิน 30
มิลลิกรัม/กิโลกรัม ยกเว้นยี่ห้อ หมู 5 ดาวที่พบไนเตรท สูงถึง 100.62
มิลลิกรัม/กิโลกรัม แต่ก็ยังไม่เกินปริมาณไนเตรทที่กฎหมายกำหนดคือไม่เกิน
500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 
           
4.ไม่พบสารไนไตรท์เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ มีได้ไม่เกิน 125
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมในทุกผลิตภัณฑ์
            5.มีผลิตภัณฑ์อยู่ 1
ยี่ห้อ ที่มีการใช้ทั้งไนเตรทและไนไตรท์
ผสมกันเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดคือ 125 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ได้แก่ยี่ห้อหมู 5 ดาว ที่เก็บตัวอย่างมาจากตลาดเทศบาลเมือง
จังหวัดสมุทรสงคราม
ข้อสังเกตผลิตภัณฑ์ตัวเดียวกันนี้ยังพบการใช้กรดเบนโซอิคในปริมาณที่สูงถึง
3,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมดังได้แจ้งไว้ในข้อ 1 อีกด้วย

การใช้สีผสมในอาหาร
           
6.พบการใช้สีสังเคราะห์ในอาหารซึ่งตามกฎหมายห้ามไม่ให้ใส่จำนวน 4 ยี่ห้อ
ได้แก่ ARO ของบริษัท ซีพีเอฟ พบสี poceau 4R บีวัน
ของบริษัทอาหารเบทเทอร์จำกัด พบสี Erythrosine BKP
ของบริษัทกรุงเทพโปรดิวส์จำกัด พบสี Erythrosine และ Poncoau4R และ CPF
ของบริษัทซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร พบสี Erythrosine&Tartrazine
ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขห้ามใส่สีในอาหารประเภทนี้



ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากนิตยสารฉลาดซื้อ









Free TextEditor







































































































Create Date : 28 พฤษภาคม 2553
Last Update : 28 พฤษภาคม 2553 15:43:31 น. 0 comments
Counter : 1881 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.