โรคแพนิค


ความกลัวหรือความตระหนกตกใจที่เกิดขึ้นอย่างทันทีเหมือนจู่โจมเป็น
ลักษณะสำคัญของโรคทางจิตเวชโรคหนึ่ง คือ โรคแพนิค
ซึ่งมีอาการทางกายที่รุนแรงเกิดขึ้นอย่าง รวดเร็วภายใน 3-10 นาที
เกิดขึ้นเป็นพัก ๆ อาจนานถึงครึ่งชั่วโมงโดยเกิดขึ้นร่วมกับความหวาดกลัว
อาการต่างๆ ที่พบได้มีดังนี้

           อาการที่เกิดขึ้นแบบจู่โจม (แพนิค)
นี้มักเกิดขึ้นโดยไม่เลือกเวลาและสถานที่ จึงยากที่จะทำนายได้
ทำให้บางรายเกิดความหวาดกลัวและพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือ กิจกรรมนั้น ๆ
ที่เคยมีแพนิคเกิดขึ้น

           อาการแพนิคสงบลง
ผู้ป่วยมักตกอยู่ในสภาพหวาดหวั่นวิตกกังวลว่าจะเกิดอาการขึ้นมาอีก
ไม่อาจรู้ว่าเมื่อไรและ ที่ใดยิ่งมีความหวาดหวั่นและ
วิตกกังวลมากเท่าใดก็ดูเหมือนว่าจะเกิดอาการจู่โจมมากขึ้นเท่านั้น
ผู้ป่วยได้ตกอยู่ในวงเวียนของการเกิดอาการเสียแล้ว

ใจเต้นเร็ว
ลั่นเหมือนตีกลอง    
เหงื่อแตก

เจ็บบริเวณหน้าอก               
อ่อนเพลีย
หายใจติดขัด
หายใจไม่อิ่ม       
คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง
รู้สึกมึนงง โคลงเคลง
เป็นลม    
ความรู้สึกเหมือนตกอยู่ในความ
ฝัน มีการรับรู้บิดเบือนไป
รู้สึกชา หรือซ่า
ตามปลายเท้า    
ความกลัวอย่างท่วมท้น
ร่วมกับความรู้สึกสังหรณ์ว่ามีบางอย่างที่น่ากลัวกำลังเกิดขึ้นกับตัวเองและ
เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้กลัวว่าจะตาย
ตัวร้อนวูบวาบ
หรือตัวสั่น       
ควบ
คุมตนเองไม่ได้เหมือนจะเป็นบ้า หรือแสดงบางอย่างที่น่าอายออกไป




โรคแพนิค

          
พบบ่อยในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ทำให้ความสามารถในการประกอบอาชีพลดลง
และความสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิด ตึงเครียดมากขึ้น
ผู้ป่วยมักคิดว่าตนเองเป็นโรคหัวใจหรือ โรคร้ายแรง เวียนไปพบแพทย์บ่อยๆ
ซึ่งการตรวจร่างกายและการทดสอบพิเศษจะไม่พบความผิดปกติ

สาเหตุ
มีปัจจัยหลายประการที่อาจ
ประกอบกันทำให้เกิดอาการ เช่น
           1.
ศูนย์ควบคุมการทำงานของสมองและจิตใจเกี่ยวกับความหวาดกลัวไวต่อสิ่งกระตุ้น
มากกว่าปกติ
           2. กรรมพันธุ์ โรคนี้อาจพบได้ในครอบครัวเดียวกัน
          
3. การมีอาการจู่โจมเกิดขึ้นครั้งแรก
อาจมีความสัมพันธ์กับความตึงเครียดในชีวิต โรคทางอายุรกรรม หรือสารยาบางตัว
บางรายอาจไม่มีสิ่งกระตุ้นเหล่านี้เลยและ ถึงแม้ว่า
สิ่งกระตุ้นได้หมดไปแล้วก็ตาม แต่ผู้ป่วยก็ยังคงมีอาการจู่โจมเกิดขึ้นต่อไป

การรักษา
          
ในปัจจุบันวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
คือการรักษาทางยาร่วมกับการดูแลทางด้านจิตใจ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นมาก
จนหายขาดได้้ 7 หรือ 9 ราย ใน 10 ราย โดยอาการดีขึ้น
อย่างเห็นได้ชัดภายหลังเริ่มการรักษาแล้ว 6-8 สัปดาห์
เมื่ออาการดีขึ้นแล้วแพทย์ยังคงให้การรักษาต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 6
เดือนเพื่อป้องกันการกำเริบของอาการ การหยุดยา ควร
ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรหยุดยาทันที เพราะจะเกิดอาการของการหยุดยา
หรือมีอาการ เก่ากำเริบ

คำ
แนะนำ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง





สิ่งที่ควรทำ ออกกำลังกายตามสมควร
ตามความสามารถ

           1. โรคนี้ไม่เป็นอันตรายถึงเสียชีวิต
เหมือนที่ผู้ป่วยมักกลัว
           2.
ควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัย และรักษา
           3.
ไม่ควรบรรเทาอาการด้วยการเสพสุรา หรือใช้ยานอนหลับ
เพราะอาการอาจรุนแรงขึ้นเมื่อหยุดเสพ
           4. ลดหรืองด กาแฟ ชา
เครื่องดื่มชูกำลังหรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน ประเภทโคล่าทุกชนิด
          
5. ออกกำลังกายตามสมควรตามความสามารถ
           6. เมื่ออาการต่าง ๆ
ทุเลาแล้ว ควรออกไปเผชิญกับสถานการณ์ที่เคยหวาดกลัว
และลองทำกิจกรรมที่เคยหลีกเลี่ยง โดยเริ่มทีละเล็กน้อยแต่สม่ำเสมอ
          
7. ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เพื่อลดระดับของความตึงเครียด

การฝึกควบคุมการหายใจเพื่อการผ่อนคลาย

          
1. นอนหงายตามสบายบนเตียง หรือพื้นที่ในบริเวณที่สงบ
           2.
มือทั้งสองประสานวางอยู่บนหน้าท้องไม่เกร็ง ผ่อนคลายกล้ามเนื้ออกและหัวไหล่
          
3.
สูดลมหายใจเข้าช้าๆพร้อมทั้งสังเกตและจดจ่ออยู่ที่การเคลื่อนไหวของลมหายใจ
ที่ผ่านรูจมูกเข้าไปลึกเต็มที่จนหน้าท้องขยายขึ้นรู้สึกได้จากการที่มือทั้ง
สองถูกยกขึ้นช้า ๆ และหัวไหล่เคลื่อนขึ้น
           4.
เมื่อหายใจเข้าเต็มที่แล้ว นับ 1,2,3 ในใจช้า ๆ
           5.
ผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ พร้อมทั้งสังเกต
และจดจ่อที่การเคลื่อนไหวของลมหายใจที่เคลื่อนที่ออกผ่านรูจมูกจนหน้าท้อง
แฟบลง มือทั้งสองลดต่ำลง
           6. เมื่อหายใจออกจนหมด นับ 1,2,3
ในใจช้า ๆ
           7. เริ่มหายใจเข้าและหายใจออกสลับกันไป
เป็นจังหวะสม่ำเสมออย่างน้อย 10 ครั้ง
           8.
เมื่อมีความชำนาญอาจทำเวลานั่งโดยพิงเก้าอี้ตามสบาย
มือทั้งสองวางไว้ที่หน้าขาหรือประสานกันอยู่ที่หน้าท้อง
วิธีการเหมือนกับการควบคุมการหายใจในท่านอนหงายทุกประการ






Free TextEditor







































































































Create Date : 08 พฤษภาคม 2553
Last Update : 8 พฤษภาคม 2553 22:44:51 น. 1 comments
Counter : 882 Pageviews.

 
หาข้อมูล วิธีรักษา และพูดคุยกับเำื่พื่อนๆทีเ่ป็นแพนิคได้ที่ //www.panicthailand.com


โดย: panic IP: 58.8.233.25 วันที่: 12 ตุลาคม 2553 เวลา:18:52:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.