สู้ไมเกรนหน้าร้อน



มีอาการ
ปวดตุ้บๆ ที่บริเวณขมับข้างเดียวหรือสองข้างอย่าเฉย

         
หน้าร้อนปีนี้มาแล้ว มาเร็วและแรงกว่าทุกปีเสียด้วย หลายคนคงนึกถึงสายลม
แสงแดด และโปรแกรมท่องเที่ยวเพื่อคลายร้อนกัน
แต่คงมีอีกหลายคนเช่นเดียวกันที่เริ่มวิตกกังวลและกลัวว่าหน้าร้อนปีนี้คงจะ
ไม่สนุกเหมือนเช่นเคย เพราะต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการปวดหัวไมเกรนอีกแล้ว
คงเศร้าน่าดู... ดังนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักกับอาการปวดหัว “ไมเกรน”
ให้มากขึ้น เพื่อสู้ไมเกรนหน้าร้อนกันดีกว่า

         
ไมเกรน (migraine) เป็น อาการปวดศีรษะชนิดหนึ่ง
ซึ่งมีลักษณะอาการที่สำคัญคือ ปวดตุ้บๆ
ที่บริเวณขมับข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ บางคนอาจเริ่มจากปวดแบบตื้อๆ จี๊ดๆ
ก่อน แล้วค่อยรุนแรงขึ้นจนเป็นตุ้บๆ ในที่สุด
ความรุนแรงของอาการปวดมีตั้งแต่ปวดปานกลางจนถึงรุนแรงมาก
ระยะเวลาของอาการปวดมีความแตกต่างกันในแต่ละคนตั้งแต่ 4-72 ชม.
อาการปวดจะกำเริบหรือรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว
ขณะปวดไมเกรนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
และอาจไวต่อแสงหรือเสียง
ดังนั้นผู้ที่เป็นไมเกรนส่วนใหญ่มักอยากอยู่ในห้องมืดและเงียบ
เพราะจะทำให้อาการปวดไมเกรนดีขึ้น

         
นอกจากนี้บางคนก่อนจะมีอาการปวดไมเกรนอาจมี “อาการนำ” มาก่อนประมาณ 5-20
นาที เช่น เห็นแสงวูบวาบคล้ายแสงแฟลช ตามองไม่เห็นชั่วขณะ
หรือชาข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย เป็นต้น

สาเหตุของไมเกรน

         
สำหรับสาเหตุและกลไกของอาการปวดไมเกรนในปัจจุบันยังไม่ทราบชัดเจน
อย่างไรก็ตาม
ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้พยายามอธิบายถึงสาเหตุและกลไกของอาการปวดไมเกรนไว้
หลายทฤษฏี ดังนี้
          -  เดิม
เชื่อว่าเกิดจากการที่หลอดเลือดในสมองมีการหดตัวเกิดขึ้น
หลังจากนั้นร่างกายมีการตอบสนองโดยการทำให้หลอดเลือดดังกล่าวเกิดการขยายตัว
ซึ่งการขยายตัวของหลอดเลือดนี่เองเป็นสาเหตุของการปวดไมเกรน
         
-  ต่อมาพบว่า เส้นประสาทคู่ที่ 5 หรือที่เรียกว่า ไทรเจมินัล
(trigerminal) และสารเคมีในสมองที่ชื่อซีโรโตนิน (serotonin) ซึ่ง
เชื่อว่าการเสียสมดุลของสารเคมีนี้ในสมองเป็นสาเหตุของการปวดไมเกรน
เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าเมื่อมีอาการปวดไมเกรน ระดับซีโรโตนินในสมองจะลดลง
ทำให้เกิดการกระตุ้นผ่านเส้นประสาทไทรเจมินัลไปยังหลอดเลือดที่เยื่อหุ้ม
สมองด้านนอก ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวจนบวมและอักเสบในที่สุด
         
-  ระยะหลังมานี้ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับยีนส์หรือจีโนมิกส์พบว่า
ion-transport gene อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดไมเกรน
          - 
นอกจากนี้มีการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าไมเกรนสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
แต่จะเกิดอาการหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกร่างกายที่มา
กระตุ้นด้วย

ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดไมเกรน
         
ปกติแล้วอาการปวดไมเกรนจะกำเริบขึ้นเมื่อมีปัจจัยบางอย่างมากระตุ้น
ซึ่งแต่ละคนจะมีปัจจัยกระตุ้นที่แตกต่างกันออกไป
ปัจจัยกระตุ้นที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่
          - 
อาหารหรือสารบางชนิด เช่น ผงชูรส สารถนอมอาหาร คาเฟอีน ช็อกโกแลต แอลกอฮอล์
หรือการแม้แต่กินอาหารไม่ตรงเวลา
ความหิวก็อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ในบางคน
         
-  การพักผ่อนไม่เพียงพอ
การนอนมากหรือน้อยเกินไปอาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรนได้
         
-  ฮอร์โมน ผู้หญิงบางคนจะมีอาการปวดไมเกรนในช่วงที่มีประจำเดือน
หรือตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก
บางคนที่ใช้ยาฮอร์โมนคุมกำเนิดบางยี่ห้ออาจกระตุ้นให้มีอาการปวดไมเกรนที่
รุนแรงหรือระยะเวลาในการปวดนานมากขึ้นได้
          -  สิ่งแวดล้อม เช่น
อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็น “อากาศร้อน” หรือ “เย็นมากเกินไป”
อยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน หรือได้กลิ่นบางอย่างก็ทำให้ปวดหัว เช่น
กลิ่นน้ำหอม ควันบุหรี่
          -  ความเครียด
ผู้ที่มีความเครียดจะมีอาการปวดไมเกรนได้บ่อยและรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่เครียด

ทราบ
อย่างไรว่าเป็นไมเกรน

         
การวินิจฉัยไมเกรนนั้นจำเป็นต้องอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ
ไม่ว่าจะเป็นลักษณะอาการปวด ตำแหน่ง ความรุนแรง ความถี่ ระยะเวลาในการปวด
และอาการอื่นที่ร่วมด้วย ประวัติโรคประจำตัวและประวัติการใช้ยา
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือการตรวจเอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยแยกจากโรคอื่น
เช่น อาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว หรือจากภาวะเครียด
การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง โรคของต่อมใต้สมอง หรือมีเนื้องอก เป็นต้น

“ยา” กับ “ไมเกรน”

สำหรับยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดไมเกรนนั้น
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

กลุ่มที่ใช้เพื่อบรรเทาอา
การปวดไมเกรน


          -  ยากลุ่มแก้ปวด ไม่ว่าจะเป็นพาราเซตามอล แอสไพริน
หรือยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่

          เสตียรอยด์ (NSAIDs)
เช่น ไอบรูโพรเฟน (Ibuprofen) เป็น ต้น
กลุ่มยาเหล่านี้เป็นที่นิยมนำมาใช้ในการบรรเทาอาการปวดไมเกรนเป็นกลุ่มแรกๆ
เนื่องจากมีประสิทธิภาพดี อาการข้างเคียงของยาน้อย และราคาถูก

         
-  ยากลุ่ม Ergot alkaloids ได้แก่ ergotamine
ในปัจจุบันนี้มีหลากหลายยี่ห้อในท้องตลาด

         
จัดเป็นยาอีกกลุ่มหนึ่งที่นิยมใช้ในการบรรเทาอาการปวดไมเกรน
ข้อดีของยากลุ่มนี้คือ
ยาออกฤทธิ์ได้นานและลดการกลับเป็นซ้ำของไมเกรนได้ในบางราย
ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาให้ยา ergotamine เพียง
ตัวเดียวในการรักษาหรืออาจให้ร่วมกับยากลุ่มแก้ปวด
หากอาการปวดไมเกรนยังไม่ดีขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการปวด
และสภาพร่างกายของแต่ละคน

          สำหรับผลข้างเคียงที่สำคัญของยา
ergotamine ได้แก่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
ปวดตามแขนขาหรือกล้ามเนื้อ มีอาการชา รู้สึกหนาวตามปลายมือปลายเท้า
ปวดศีรษะ เป็นต้น หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์ทันที
และเนื่องจากยา ergotamine
ที่จำหน่ายในท้องตลาดอยู่ในรูปแบบที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีนร่วมด้วยเพื่อ
ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมยา ergotamine ได้ดีขึ้น
ดังนั้นนอกจากผลข้างเคียงจากยา ergotamine แล้ว
บางคนยังอาจได้รับผลข้างเคียงจากคาเฟอีนด้วย ได้แก่ ใจสั่น ปวดศีรษะ
เป็นต้น

          คำแนะนำสำหรับการใช้ยาที่มีส่วนประกอบของ
ergotamine คือ ไม่ควรกินเกินวันละ 6 เม็ด และไม่ควรเกินสัปดาห์ละ 10 เม็ด
นอกจากนี้ยังห้ามใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหลอดเลือดและ
หัวใจ เส้นเลือดสมองตีบ ผู้ที่มีภาวะไตวาย หรือในหญิงตั้งครรภ์
หรือให้นมบุตร

          -  ยากลุ่ม Triptans เช่น sumatriptan,
zolmitriptan เป็น ต้น เป็นกลุ่มยาที่ถูกพัฒนามาใหม่เพื่อใช้ใน
การบรรเทาอาการปวดไมเกรนโดยเฉพาะ ข้อดีของยากลุ่มนี้ ได้แก่
ออกฤทธิ์เร็วและลดการกลับเป็นซ้ำของไมเกรนได้ดี นอกจากนี้ยังลดปัญหาการเกิด
headache recurrence (เป็นอาการปวดศีรษะที่แย่ลง
โดยเกิดขึ้นหลังจากอาการปวดไมเกรนดีขึ้นเมื่อกินยาแล้วภายใน 24 ชั่วโมง)
ได้ดีกว่ายา ergotamine และ มีผลข้างเคียงจากยาน้อย
อย่างไรก็ตามยาในกลุ่มนี้ยังมีราคาค่อนข้างสูงในปัจจุบัน
แพทย์จึงมักพิจารณาให้ในผู้ที่มีการกลับเป็นซ้ำของไมเกรนบ่อยๆ





         
คำแนะนำสำหรับการใช้ยากลุ่มนี้คือ ควรกินยากลุ่มนี้ทันที
เมื่อเริ่มมีอาการปวดไมเกรน
เพื่อให้ยามีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้อย่างสูงสุด
และยากลุ่มนี้ก็มีข้อห้ามใช้เช่นเดียวกันกับยา Ergotamine คะ

กลุ่มที่ใช้เพื่อ
ป้องกันอาการปวดไมเกรน

         
สำหรับยาที่ใช้เพื่อป้องกันอาการปวดไมเกรนนั้น
ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ในผู้ที่ปวดไมเกรนทุกราย
โดยแพทย์จะพิจารณาให้ในบางรายเท่านั้น
เพื่อช่วยให้ความรุนแรงและ/หรือความถี่ของอาการปวดไมเกรนลดน้อยลง
กลุ่มผู้ที่ควรได้รับยาป้องกันอาการปวดไมเกรน

          -
ผู้ที่มีอาการปวดไมเกรนมากกว่า 2 ครั้ง ต่อเดือน
          -
ผู้ที่มีอาการปวดรุนแรงจนมีผลต่อการดำเนินชีวิต ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง
         
- ผู้ที่มีแนวโน้มว่าอาการปวดไมเกรนจะรุนแรงมากขึ้น
หรือปวดเป็นระยะเวลานานมากขึ้น

         
ยาที่ใช้เพื่อป้องกันอาการปวดไมเกรนในปัจจุบันนี้มีหลากหลายชนิด
โดยควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อให้เกิดการเลือกชนิดของยาและการปรับ
ขนาดยาให้เหมาะสมกับแต่ละราย
ควรกินยาป้องกันอาการปวดไมเกรนอย่างต่อเนื่องจนอาการปวดสงบลงนาน 6-12 เดือน
แพทย์จึงอาจพิจารณาหยุดยา
และถ้าอาการปวดไมเกรนกำเริบขึ้นอีกครั้งจึงค่อยเริ่มกินยาป้องกันใหม่



ตัวอย่างกลุ่มยา
ป้องกันอาการปวดไมเกรน เช่น

          -  กลุ่มยาต้านเบต้า
(Beta-blockers) เช่น propanolol, atenolol, metoprolol, nadolol เป็นต้น
         
-  กลุ่มยาต้านแคลเซียม (Calcium channel blockers) เช่น flunarizine,
verapamil เป็นต้น
          -  ยารักษาโรคซึมเศร้า เช่น amitriptyline,
nortriptyline เป็นต้น
          -  ยากันชักบางชนิด เช่น sodium
valproate, topiramate เป็นต้น

         
การรักษาอาการปวดไมเกรนนั้นไม่ยากอย่างที่คิดนะคะ
เพียงแค่ดูแลทั้งสุขภาพกายแลสุขภาพจิตให้ดี
หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยกระตุ้นอาการปวด
แค่นี้ก็สามารถลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดได้แล้วค่ะ

Tips

          - 
เมื่อคุณจำเป็นต้องเดินออกไปในที่ที่มีอากาศร้อน
อาจป้องกันการปวดศีรษะจากไมเกรน
ได้โดยการดื่มน้ำเย็นหรืออมน้ำแข็งไปด้วยขณะเดิน
ซึ่งจะช่วยคลายความร้อนระหว่างเดินทำให้ไม่ปวดศีรษะ

          - 
เมื่อเริ่มมีอาการไม่ควรชะล่าใจ ให้รีบรับประทานยาบรรเทาปวดเลย
เพราะหากปล่อยให้อาการปวดมากขึ้นอาจอาการจะบรรเทาได้ยากขึ้นหรือต้องใช้ยา
ที่แรงขึ้น

          -  ช่วงหน้าร้อนแบบนี้
อาจทำให้ไมเกรนกำเริบขึ้นได้ง่ายและมีอาการรุนแรง
เมื่อปวดศีรษะแล้วนอกจากใช้ยาบรรเทาปวด
ให้ใช้ก้อนนำแข็งหรือกระเป๋านำแข็งประคบที่ศีรษะ
เพื่อช่วยให้เส้นเลือดหดตัวลง ก็จะสามารถช่วยบรรเทาอาการลงได้
แต่บางคนการนอนหลับก็สามารถบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้

          - 
บางคนเมื่อมีอาการปวดขึ้นมาอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาบรรเทาอาการปวดไมเกรน
เพียงแค่ใช้การนวด การกดจุด บริเวณเส้นเลือดใหญ่หลังใบหู

         
-  หากอาการปวดไมเกรนไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุอื่นต่อไป
เพื่อให้เกิดการรักษาได้อย่างทันท่วงทีคะ






Free TextEditor







































































































Create Date : 08 พฤษภาคม 2553
Last Update : 8 พฤษภาคม 2553 21:56:18 น. 3 comments
Counter : 977 Pageviews.

 
ขอบคุณความรู้ค่ะ

เราก็เป็นอ่ะยิ่งช่วงนี้นะเป็นบ่อยมากกก

มันร้อน ปวดแทบจะวันเว้นวันเลย

ไม่อยากกินยา แต่ถ้าไม่กินก็ไม่หายแถมเป็นหนัก

กว่าเดิมอีก เซ็งมากกก


โดย: กะปอมน้อย วันที่: 9 พฤษภาคม 2553 เวลา:0:11:12 น.  

 
ไมเกรนสามารถรักษาด้วยวิธีการแพทย์ไคโรแพรคติก ( การจัดกระดูก ) ไม่ต้องทานยา ศึกษาข้อมูลเพิ่มได้ที่
//www.thailandchiropractic.com/thai_introduction.html


โดย: ซีแคร์ IP: 58.8.71.30 วันที่: 9 พฤษภาคม 2553 เวลา:10:20:44 น.  

 



โดย: tongsehow วันที่: 9 พฤษภาคม 2553 เวลา:11:47:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.