เจ็บหน้าอกอย่ารอช้า



อาการ
เจ็บหน้าอกอาจหมายถึงชีวิต หากไม่รีบส่งผู้ป่วยให้ถึงมือแพทย์

          
ทุกครั้งที่มีคนบ่นว่าเจ็บหน้าอก หลายคนจะนึกถึงโรคหัวใจ
แต่น้อยคนนักที่จะนึกต่อได้ว่าเกิดสถานการณ์วิกฤติเข้าแล้วและต้องนำผู้ป่วย
ส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
อันที่จริงสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอกอาจเป็นไปได้หลายประการ
แต่ความเป็นไปได้ที่ร้ายแรงที่สุด คือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบ
พลัน (Heart Attack) หรือที่เรียกกันว่า หัวใจวาย นั่นเอง


          
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจัดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของ
ประชากรทั่วโลก สำหรับประเทศไทย โรคกล้ามเนื้อหัวใจ ตายเฉียบพลันเป็น 1 ใน 3
สาเหตุของการเสียชีวิตสูงสุดใกล้เคียงกับการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ
และโรคมะเร็ง

          
แม้อัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อ
หัวใจตายเฉียบพลันจะสูง แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเกิด อาการแล้ว
ผู้ป่วยจะต้องเสียชีวิตเสมอไป สิ่งที่จะ “ชี้เป็นชี้ตาย”
ในสถานการณ์วิกฤตินี้คือผู้ป่วยถึงมือแพทย์ได้เร็วเพียงใด

          
แต่ปัญหาคือ โดยมากผู้ป่วยและคนรอบข้างมักไม่ทราบว่าควรทำอย่างไร
และอาการเจ็บหน้าอกนั้นร้ายแรงถึงชีวิตเสมอไปหรือไม่ ดังนั้น
เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและ
สัญญาณเตือนต่าง ๆ Better Health มีคำแนะนำ จาก นพ.วิสุทธิ์ วิเวกาภิรัต
อายุรแพทย์โรคหัวใจมาฝากกัน

รู้จัก
กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน


          
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน
และมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงซึ่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
“ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมักจะเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดแดงโคโรนารี
(Coronary Artery)
เกิดการอุดตันอย่างฉับพลันจนไม่สามารถส่งผ่านเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้
กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนจะเริ่มตาย หากไม่รีบเปิดทางเดินของหลอดเลือด
กล้ามเนื้อหัวใจจะถูกทำลายมากขึ้น และหัวใจก็จะหยุดทำงานในที่สุด”
นพ.วิสุทธิ์
อธิบาย


สาเหตุที่สำคัญของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวาย
เฉียบพลันเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
เนื่องจากมีไขมันสะสมเพิ่มพูนขึ้นภายในผนัง หลอดเลือด เมื่อเวลาผ่านไป
ไขมันที่สะสมอยู่จะรวมตัวกันมากขึ้นจนเป็นแผ่นหนา
ส่งผลให้หลอดเลือดที่ปกติจะสามารถยืดหดได้ตาม ความดันโลหิต
สูญเสียความยืดหยุ่นและเสี่ยงต่อการปริแตกได้ง่าย
ทั้งนี้เมื่อเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ขึ้นกับหลอดเลือด
หากไม่ระวังดูแลตัวเองให้ดี
อาจนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในที่สุด


          

“การที่เส้นทางลำเลียงเลือดภายในหลอดเลือดแคบลงเนื่องจากมีไขมันเกาะตัวหนา
อยู่ บริเวณผนังหลอดเลือด ในขั้นเริ่มแรก ผู้ป่วยจะไม่มีอาการอะไรแสดงออกมา
แต่เมื่อเวลาผ่านไป หลอดเลือดหัวใจตีบลงมากขึ้น
ผู้ป่วยอาจเริ่มมีอาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเมื่อออกแรง ออกกำลังกาย
หรือทำอะไรรีบ ๆ ทั้งนี้
เป็นผลมาจากการที่หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อลำเลียงเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ
ให้เพียงพอ นั่นเอง” นพ.วิสุทธิ์ กล่าวต่อ

อย่ารอช้าเมื่อมีสัญญาณเตือน
          
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันนั้น อาจเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้
โดยมีอาการแตกต่างกันออกไปในแต่ละราย
ซึ่งอาการบอกเหตุของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายที่สามารถสังเกตได้มีดังนี้

              *
เจ็บแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรหนัก ๆ มากดทับ
              *
จุกแน่นหรือแสบบริเวณลิ้นปี่
              * หายใจสั้น หอบ
         
    * อาจมีอาการเจ็บร้าวที่บริเวณแขน คอ ไหล่ และกราม
              *
เหงื่อออกท่วมตัว
              * คลื่นไส้ หน้ามืด ใจสั่น


“อาการเจ็บแน่นหน้าอกถือว่าเป็นอาการนำของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบ
พลัน ซึ่งโดยมากมักจะเกิดร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น เหงื่อออก หายใจหอบ
ปวดร้าวไปที่แขนข้างเดียว หรือทั้งสองข้างไปจนถึงคอและกราม”
นพ.วิสุทธิ์
เล่า “ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 20 ถึง 30 นาที
แต่ถ้าหากมีอาการอยู่ตลอดต้องถือว่าเป็นสัญญาณวิกฤติของอาการกล้ามเนื้อ
หัวใจตายเฉียบพลัน ตอนนี้ ผู้ป่วยต้องรีบไปพบแพทย์
หรือเรียกรถฉุกเฉินไปโรงพยาบาลทันที หรือภายใน 4 ชั่วโมง”

สาเหตุที่ต้องส่งผู้ป่วยให้ถึงแพทย์โดยเร็วนั้น
มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟู
ทำการรักษาให้เลือดไหลกลับไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโดยเร็วที่สุด
นพ.วิสุทธิ์ เสริมว่า “เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
กล้ามเนื้อส่วนหนึ่งจะเริ่มตาย
และเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจตายแล้วก็ไม่สามารถฟื้นฟูหรือสร้างใหม่ได้ ดังนั้น
ถ้าสามารถปกป้องกล้ามเนื้อหัวใจไม่ให้ถูกทำลายได้มาก โอกาสรอดชีวิตก็มีสูง”

สาเหตุใหญ่ที่ผู้ป่วยตัดสินใจมาโรงพยาบาลช้า มัก
เกิดจากความไม่แน่ใจว่าใช่อาการ เตือนหรือไม่ หรือคิดว่าเป็นโรคอื่น
รวมทั้งเกรงว่าจะ “ขายหน้า” หากไม่ได้มีอาการขั้นวิกฤติจริง
“การนำผู้ป่วยมาส่งแพทย์ทันทีมีแต่ได้ประโยชน์
เพราะแม้ผู้ป่วยไม่ได้อยู่ในภาวะวิกฤติจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
แพทย์ก็จะสามารถวินิจฉัยได้ว่าอาการต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร
ในบรรดาผู้ที่เสียชีวิตด้วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ราว ๆ ร้อยละ 50
เสียชีวิตภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังเกิดอาการ เพราะฉะนั้นทั้งผู้ป่วย
และคนรอบข้างจำเป็นต้องทราบว่าอาการใดที่เป็นสัญญาณเตือนบ้าง
แม้แต่เพียงสงสัยก็ไม่ควรรอช้า” นพ.วิสุทธิ์ ย้ำ

เมื่อผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล

          
แพทย์จะทำการแก้ไขการอุดตันของหลอดเลือด ซึ่งทำได้โดยการใช้ยา
หรือทำบอลลูนขยายหลอดเลือด หรือทั้ง 2 วิธีควบคู่กัน
ระหว่างที่เกิดอาการอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนคืออาการหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด
รุนแรง หรือ Ventricular Fibrillation ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็วนั้น
อาจทำให้เสียชีวิตได้ทันที

  
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันอาจไม่ได้หมายถึงชีวิตเสมอไป หากคุณทราบ
เข้าใจและรับมือได้ทันท่วงที ความรู้เท่าทันของคุณอาจช่วยชีวิตคนใกล้ชิด
หรือแม้แต่ตัวคุณเองไว้ได้



ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากรพ.บำรุงราษฎร์






Free TextEditor







































































































Create Date : 08 พฤษภาคม 2553
Last Update : 8 พฤษภาคม 2553 21:51:50 น. 0 comments
Counter : 658 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.