"กุยช่าย"บำรุงน้ำนมแม่



          
ปัจจุบันกระแสการดูแลรักษาสุขภาพเป็นที่นิยมมากขึ้น
เมื่อหลายคนหันมาใส่ใจรับประทานผักชนิดต่าง ๆ
เพื่อป้องกันโรคกันอย่างแพร่หลาย “กุยช่าย” เป็น
ผักใบเขียวอีกชนิดหนึ่ง ที่น่าสนใจ
เนื่องจากสามารถนำมาดัดแปลงทำเป็นขนมกุยช่าย
หรือปรุงอาหารก็ให้กลิ่นหอมน่ารับประทาน
และนอกจากจะมีสรรพคุณทางสมุนไพรแล้วยังมีสารอาหารต่าง ๆ
ที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกายเราอีกด้วย
โดยเฉพาะคุณแม่ที่ต้องให้น้ำนมแก่ลูก

กุยช่าย หรือดอกไม้กวาด
เป็นไม้ล้มลุกสูงประมาณ 30-45 ซม. มีเหง้าเล็กและแตกกอ ใบแบน เรียงสลับ
รูปขอบขนาน โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน ช่อดอกแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตัน
ดอกสีขาว กลิ่นหอม คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานกุยช่ายแบบสด ๆ
กับก๋วยเตี๋ยวผัดไทยหรือข้าวผัดหรือนำมาปรุงอาหาร เช่น
ผัดกับตับหมูก็หอมหวานอร่อย
รวมทั้งสามารถนำมาทำเป็นขนมกุยช่ายที่เราชอบรับประทานกันอีกด้วย

          
นอกจากรสชาติที่หอมหวาน อร่อยแล้ว กุยช่ายยังมีสรรพคุณทางสมุนไพร
ในการรักษาโรค เช่น แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม และแก้ท้องผูก
โดย
ใช้ใบสดตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำไปผัดรับประทาน
เพราะกุยช่ายมีใยอาหารมาก จึงช่วยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวได้ดี แก้อาการฟกช้ำ
ใช้ใบสดตำละเอียด พอกบริเวณที่เป็น บรรเทาปวดและแก้อาการห้อเลือดได้
แก้อาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย ใช้เมล็ดแห้งต้มรับประทาน รักษาโรคหูน้ำหนวก
ใช้น้ำที่คั้นได้จากใบสดทาในรูหู

 
ส่วนสารอาหารที่ดีมีประโยชน์ในกุยช่ายมีมากมาย ดร.อุรุวรรณ แย้มบริสุทธิ์
นักวิจัยทางด้านโภชนาการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

ให้ความรู้ว่า สารอาหารที่เด่น ๆ ในกุยช่าย มี 3 ตัว ได้แก่ วิตามินเอ
ช่วยในการมองเห็น ซึ่งวิตามินเอเป็นส่วนประกอบของสารอาหารจอตา
เซลล์เยื่อบุต่าง ๆ และสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เจ็บป่วย ธาตุเหล็ก
ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง และเป็นส่วน ประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง
ซึ่งทำหน้าที่ในการนำออกซิเจน จากปอดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่าง กาย
และช่วยขจัดก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ออกจากร่างกาย





          
โดยคุณแม่ที่ให้นมบุตรสามารถรับประทานกุยช่ายเพื่อบำรุงน้ำนม
ร่วมกับการรับประทานอาหารชนิดอื่น ๆ ที่บำรุงน้ำนมได้ เช่น หัวปลี
สามารถนำมาทำแกงเลียงรับประทาน และนอกจากนี้ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
พร้อมกับการนวดเต้านมเพื่อกระตุ้นน้ำนมและให้ลูกน้อยดูดนมบ่อย ๆ และโปรตีน
มีในกุยช่าย 3 กรัมต่อ 1 ขีด การที่คุณแม่จะ
ให้นมบุตรต้องรับประทานอาหารที่มี โปรตีนด้วย แต่ขอแนะนำให้ทาน
โปรตีนจากเนื้อสัตว์หรือถั่วต่าง ๆ สลับ กันไปด้วยก็จะทำให้คุณแม่มีน้ำนม
เพียงพอให้ลูกน้อยดื่มกินได้

          
ทราบคุณประโยชน์ของกุยช่ายกันขนาดนี้แล้วใครที่ยังลังเล กลัวกลิ่นฉุน ๆ
อยู่ละก็เปลี่ยนใจหันมาลองรับประทานกุยช่ายดูบ้างนะคะเพื่อสุขภาพที่ดีของ
ตัวเราและคนที่เรารัก






Free TextEditor







































































































Create Date : 08 พฤษภาคม 2553
Last Update : 8 พฤษภาคม 2553 21:46:27 น. 0 comments
Counter : 1611 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.