เที่ยวไปในไร่หม่อน


ใคร
ที่เคยได้ลิ้มลองชาเขียวใบหม่อนคงจำความรู้สึกและรสชาติแบบนี้ได้ 
เพราะเมื่อได้สูดกลิ่นและจิบชาร้อนๆ
คุณจะสัมผัสถึงความหอมกรุ่นคล้ายสาหร่ายทะเล 

  
ใบหม่อนเป็นอาหารชั้นดีของตัวไหมมานาน
แต่คนเราเพิ่งรู้จักใช้ประโยชน์ของใบหม่อน(เป็นอาหารของตัวเอง)ไม่กี่ปีนี้
เอง
และเพียงไม่นานก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพราะใช้ชงดื่มเป็นชาสมุนไพร
ได้ตลอดทั้งวัน 
แถมยังไม่ต้องกังวลถึงปัญหาที่จะทำให้คุณตาตื่นหรือท้องผูกไปตลอดทั้งวัน ใบ
ชาแบบนี้ไม่มีคาเฟอีนค่ะ ทุกวันนี้ 
มีการประยุกต์นำผงชาใบหม่อนมาใช้ไม่แตกต่างจากผงชาเขียว เช่น
นำมาผสมในไอศครีม คุกกี้ เค้ก
ทั้งยังมีใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่างๆ อาทิ สบู่ โลชั่น
แฮนด์ครีม ฯลฯ ด้วย

 
ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของใบหม่อนมากยิ่ง
ขึ้น และพบคุณสมบัติอันทึ่งหลายอย่าง ทั้งความสามารถในการลดน้ำตาลในเลือด
ลดความดันโลหิต ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อเอชไอวี
และยังอุดมด้วยสารอาหารต่างๆ เช่น ฟลาวโวนอยด์ โปรตีน เส้นใยอาหาร
วิตามินซี แคลเซียม เป็นต้น



  สรรพคุณมากมายอย่างนี้ เราจึงพามาชมต้นหม่อนของจริงกันถึงที่ ณ
ไร่หม่อน จังหวัดกาญจนบุรีด้วยความอนุเคราะห์ของบริษัทเรนองที 
ไร่หม่อนที่ว่านี้อยู่ท่ามกลางหุบเขาในเขตอำเภอทองผาภูมิ 
ชาวบ้านที่นี่เขาเริ่มเก็บใบชาตั้งแต่ฟ้ายังไม่สาง
เพื่อไม่ให้ใบชาที่เก็บแล้วต้องเหี่ยว เพราะใบหม่อนแม้ถูกเด็ดมาแล้ว
จะยังคงหายใจอยู่และค่อยๆคายความร้อนออกมา
หากทับถมรวมกันมากๆใบจะเหี่ยวจากความร้อน เรียกว่า "ตายนึ่ง"
ซึ่งจะทำให้เสียรสชาติ

 
การเก็บใบหม่อนนั้นเขาจะเก็บจากใบล่างขึ้นบน
(ต่างจากใบชาทั่วไปที่จะเลือกเก็บเฉพาะยอดอ่อน)
เพื่อปล่อยให้ใบที่ยังไม่แก่ได้ที่ ได้เจริญเติบโตต่อไป  
ใบที่เหมาะกับการนำไปใช้คือใบที่แก่กำลังดี เรียกว่า "เพสลาด"
คือถ้านำมาขยำแล้วใบไม่แตกถือว่าเป็นอันใช้ได้

 
ถ้าการขนส่งระหว่างการเก็บจนไปถึงโรงงานนั้นนานเกินไป
อาจทำให้ใบหม่อนเสียรส 
จึงมีโรงงานขนาดย่อมสำหรับการแปรสภาพใบชาให้เป็นใบหม่อนอบแห้งกันที่นี่เลย 
เริ่มต้นด้วยการนำใบหม่อนที่ได้มานึ่ง 2
นาทีเพื่อฆ่าเชื้อโรคและคงคุณค่าสารอาหารเอาไว้
จากนั้นนำไปผึ่งให้ไอน้ำระเหยออกไปแล้วนำใบหม่อนมานวดเพื่อกระตุ้นสารอาหาร
ต่างๆให้ออกมาได้ง่ายขึ้นเมื่อนำไปชงดื่ม

  เมื่อนวดใบชาได้ที่แล้ว
จึงนำไปคั่วครั้งแรกเพื่อไล่ความชื้น ป้องกันการเกิดเชื้อรา
และคั่วซ้ำอีกครั้งเพื่อให้ใบชาคงรูปร่างและมีกลิ่นหอมยิ่งขึ้น 
ซึ่งการคั่วนี้จะต้องแยกกันระหว่างใบและก้านใบ
เพราะใช้เวลาในการทำให้แห้งไม่เท่ากัน ก่อนนำไปอบแห้งเป็นขั้นตอนสุดท้าย
จากใบหม่อนสด 100 กิโลกรัม
เมื่อนำมาผ่านกระบวนการต่างๆแล้วจะได้ใบชาอบแห้งเพียง 18-20
กิโลกรัมเท่านั้น

  ในระหว่างที่กระบวนการผลิตต่างๆได้ดำเนินไป
เราจะได้กลิ่นหอมของใบชาโชยมาเป็นระยะๆทำให้รู้สึกสดชื่นมาก
ซึ่งคุณวิวัฒน์ ชัยวัฒนเมธิน กรรมการผู้จัดการบริษัทเรนองที
อดีตเภสัชกรซึ่งหันมาเอาดีทางด้านการผลิตชาใบหม่อนแอบกระซิบให้ฟังค่ะว่า
ในระหว่างที่นำใบชาเข้าเครื่องคั่วนั้น
จะมีไอน้ำซึ่งเกิดจากความชื้นในใบชาระเหยออกมาด้วย
ถ้าหากเอาใบหน้ามาอังไว้ใกล้ๆจะทำให้เราได้รับสารสำคัญที่ถูกส่งผ่านออกมา
กับไอน้ำ จะทำให้ผิวหน้าสวยใสได้ด้วย
เหมือนการอบไอน้ำด้วยสมุนไพรเลยทีเดียว

  
หลังจากเพลิดเพลินกันพอหอมปากหอมคอ ก็ถึงเวลานั่งจิบชาอุ่นๆจากใบหม่อนสดใส
ที่ให้กลิ่นและรสที่แสนสดชื่น สีเขียวที่ได้จะข้น เข้ม
กว่าที่ได้จากการชงดื่มทั่วไป นี่กระมัง...สุนทรีย์ของการจิบชาริมไร่ใบ
หม่อนท่ามกลางธรรมชาติขับกล่อม หากมีโอกาสได้สูดดมกลิ่นคล้ายกลิ่นสาหร่าย
ทะเลเช่นนี้อีกเมื่อไรความทรงจำที่งดงามเมื่อคราเยือนไร่ชา
คงจะหวนกลับคืนมาอีกครั้ง







Free TextEditor







































































































Create Date : 05 พฤษภาคม 2553
Last Update : 5 พฤษภาคม 2553 20:50:43 น. 0 comments
Counter : 299 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.