เที่ยวเมืองในตำนานที่บ้านแม่กำปอง


หากคุณเป็นคนชอบพักผ่อนแบบโฮมสเตย์
หรือเป็นขาประจำนิตยสารท่องเที่ยว อาจเคยผ่านตากับชื่อ "บ้านแม่กำ
ปอง
" นี้มาบ้าง เพราะยอดนิยมขนาดติดอันดับ 1 ใน 10
หมู่บ้านโฮมสเตย์น่าเที่ยว และมีรางวัลโฮมสเตย์มาตรฐานไทย ประจำปี 
พ.ศ.2547การันตีอยู่ นอกจากนี้ยังประกวดหมู่บ้านหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
(OTOP Village Champion : OVC) และประกวดอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
(รางวัลกินรี) ประจำปี 2549 ด้วย

  
หมู่บ้านแห่งนี้มีขนาดไม่ใหญ่ไม่เล็กเกินไป มีด้วยกัน 6 ป๊อก(กลุ่มบ้าน)
โดยชาวบ้านสร้างบ้านเรือนลดหลั่นกันลงมาริมสันเขา ถ้ามองลงมาจากศาลาชมวิว
จะดูเหมือนบ้านตั้งอยู่กลางหุบเขายังไงยังงั้นเลยค่ะ  

 
 คุณคงไม่เชื่อหากเราจะบอกว่ากลางหมู่บ้านมีถนนคอนกรีตอย่างดีตัดผ่าน แต่รถ
แทบไม่มีวิ่งเลย จึงเดินเล่นชมนกชมไม้ได้อย่างสบายใจ
กว่ารถจะผ่านมาสักคันก็นานมาก และช่วงกลางวันชาวบ้านก็ออกไปทำงานกันหมด
หมู่บ้านจึงเงียบมาก.......ก  เงียบจริงๆ แต่ไม่ได้ความว่าไม่มีใครอยู่นะคะ
เพียงแต่คนที่อยู่จะทำงานหรือนั่งคุยกันเบาๆ
ไม่เปิดโทรทัศน์หรือวิทยุเสียงดังรบกวนคนอื่นมากกว่า

  
เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า "ใครมาถึงเรือนชาน ต้องยกเมี่ยง
ยกหมากมาต้อนรับ" ไหมคะ เมี่ยง เป็นอาหารโบราณของภาคเหนือ
ถ้ามีแขกมาเยี่ยมแล้วไม่ยกเมี่ยงมาเลี้ยง ถือว่าแย่มากโดยเฉพาะช่วงงานบุญ
งานพิธีต่างๆ เมี่ยงถือว่าเป็นพระเอกของงานเลยเชียว
แม้ว่าปัจจุบันจะหากินได้ยากแต่เมื่อมาถึงบ้านแม่กำปองแล้วรับรองว่าต้องได้
เห็นทั้งวิธีทำ
และลิ้มรสเมี่ยงอย่างแน่นอน เพราะที่นี่เป็นแหล่งผลิตเมี่ยงรายใหญ่ของ
ประเทศ สืบทอดกันนานกว่า 150 ปี พร้อมๆ กับตั้งหมู่บ้านเลยทีเดียว
จนมีคำชมเมี่ยงแม่กำปอง ว่าถึงขั้นยองขื่อ (อร่อยมาก
อมได้หลายครั้งก็ยังไม่หมดความอร่อย)


 
 การเที่ยวบ้านแม่กำปองจึงเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศึกษาวิถีชีวิตชาว
บ้าน ที่สำคัญคือ การทำเมี่ยงหมัก
ตั้งแต่ตามชาวบ้านไปเก็บใบเมี่ยง ซึ่งเป็นพืชชนิดเดียวกับใบชา
บนภูเขาในตอนเช้า กลับมา 5- 6 โมงเย็น เตรียมนึ่ง มัด เรียงลงถังหมัก
เมี่ยงยิ่งหมักนานยิ่งอร่อยค่ะ แต่เนื่องจากความต้องการของลูกค้า
และความต้องการหมุนเงินของผู้ขาย เมี่ยงหมักแค่ 15 วัน ถึง 1
เดือนก็ถูกขายแล้ว 

   เมี่ยงที่นิยมกินมี 2 รส คือเมี่ยงเปรี้ยว
โดยเอาใบเมี่ยงหมักมาเคี้ยว อมเล่นกับเกลือ และเมี่ยงหวาน
กินพร้อมมะพร้าวคั่ว ขิง และถั่วลิสง เคี้ยวเล่นเพลินๆ
คล้ายเมี่ยงคำของภาคกลาง แต่รสชาติจะเฝื่อนๆ ปะแล่มๆ กว่ากันมาก
ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่าผู้เฒ่าผู้แก่เวลาออกไปทำงานบนเขา มักทำงานไป
อมเมี่ยงไป ทำงานทั้งวันได้ไม่มีเหนื่อย
จนมารู้ทีหลังว่าในใบเมี่ยงมีสารบางอย่างช่วยให้กระชุ่มกระชวย
ไม่หิวน้ำเลยทำงานได้นานขึ้น

   นอกจากศึกษาการทำเมี่ยงแล้ว กาแฟ
บ้านแม่กำปอง
ก็รสชาติดีไม่แพ้ที่ใด เพราะปลูกบนความสูง 1,200 -
1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเลทำให้ต้นชาและต้นกาแฟเจริญเติบโตได้ดี
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่หลงใหลในกลิ่นหอมละมุนและรสชาติกลมกล่อมของกาแฟ
อย่าลืมชิมกาแฟบ้านแม่กำปองด้วยนะคะ  

เมื่อมาเยือนบ้านแม่กำปอง
คุณอาจต้องแปลกใจในความเป็นระเบียบ ความสะอาด
และการจัดการทรัพยากรอย่างชาญฉลาด แต่ถ้าได้คุยกับคณะกรรมการหมู่บ้าน
โดยเฉพาะพ่อหลวงพรมมินทร์ พวงมาลา กำลังสำคัญของหมู่บ้านแล้ว
ความสงสัยนั้นจะหายไป
เพราะท่านได้นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ให้เข้ากับชุมชนในการ
พัฒนาการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
พัฒนาผลิตภัณฑ์ และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนด้วยการอบรมความรู้ด้านต่างๆ
ให้ชาวบ้าน เช่น การเลี้ยงหมูหลุม ที่ได้ทั้งเนื้อหมู
และได้ปุ๋ยอินทรีย์จากบ่อเลี้ยงหมูด้วย
แต่ถ้าอยากคุยเรื่องวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน
คนเฒ่าคนแก่ที่นี่ก็ยินดีเล่าเรื่องราว
ตำนานชาวเมี่ยงให้คุณฟังเช่นกัน       

  ที่บ้านแม่กำปองมีวัดอยู่
แห่งหนึ่ง ชื่อว่า วัดคันธาพฤกษา หรือ วัดแม่กำปอง
สร้างมานานกว่า 70 ปี  เป็นวิหารไม้ทั้งหลัง
หน้าจั่วหลังคาวัดแกะสลักจากไม้สักเป็นลวดลายแบบล้านนา 
แม้จะผ่านแดดผ่านฝนมานานก็ยังมีสภาพคงทนอยู่
ด้านบนหลังคามีมอสและกล้วยไม้ขึ้นปกคลุมเต็มไปหมด
ดูแล้วทำให้นึกถึงเมืองในหมอกสมัยโบราณที่สวยงามเย็นตา 
แต่แฝงความลึกลับหน้าค้นหาไว้

   นอกจากจะเป็นศาสนสถานแล้ว
ทางวัดยังจัดสรรพื้นที่บางส่วนเป็นศูนย์ข้อมูลแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและ
กิจกรรมในหมู่บ้าน และเป็นที่รวมกลุ่มแม่บ้านผลิตหมอนใบชาเพื่อ
สุขภาพ
ทั้งหมอนรองคอ หมอนอิง หมอนใบชาเล็กๆ สำหรับใส่รถยนต์
หรือตู้เสื้อผ้าเพื่อซับกลิ่นอับ บอกก่อนว่าเป็นสินค้าขายดี
ขึ้นชื่ออีกอย่างของหมู่บ้านด้วย เข้าไปคุยกับคุณพี่ คุณป้าทั้งหลายได้
รับรองว่าทุกคนยินดีตอบคำถามและบอกขั้นตอนการผลิตหมอนอย่างเต็มใจจริงๆ
แถมที่วัดยังมีพระครูใจดีต้มยาสมุนไพรไว้ให้คนผ่านไปผ่านมาดื่มด้วย
ลองแวะไปขอดื่มได้

   
ไปถึงภาคเหนือทั้งทีอย่ากลัวว่าจะไม่ได้ดื่มด่ำกับธรรมชาติเพราะมีน้ำตก
แม่กำปอง
สูง 7 ชั้น สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งของหมู่บ้าน
ชั้นที่สวยคือชั้น 1-2  ถ้าแรงดีจะเดินขึ้นไปถึงชั้น 7 เลยก็ได้
เพราะชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจสร้างทางเดินและศาลานั่งพักระหว่างน้ำตกชั้น
ต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้เดินชมน้ำตกสะดวก แต่น้ำเย็นมาก
หากคิดจะลงเล่นน้ำคงต้องระวังเป็นตะคริว ทางที่ดีเล่นน้ำที่ลำธารซึ่งไหล
ผ่านหมู่บ้านดีกว่า เพราะน้ำไม่ลึกแถมเงียบสงบพอที่คุณจะนั่งเล่นริมน้ำ
หรือปล่อยใจนึกถึงวันเก่าๆ ได้เป็นอย่างดี

ดอยม่อนล้าน
ยอดดอยสูงสุดบริเวณนี้ อยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน ระหว่างทางขึ้นยอดดอยจะผ่าน ลาน
ซากุระ
ซึ่งบานสะพรั่งราวเดือนธันวาคม - มกราคม สวนสนสมเด็จย่า
มีลานกางเต็นท์แค็มปิ้งให้คนที่อยากล่องไพรได้นอนนับดาวเล่นด้วย
แต่การขึ้นดอยม่อนล้านต้องมีคนท้องถิ่นนำทางเพื่อความปลอดภัยและอำนวยความ
สะดวกให้คุณค่ะ 

   หากกังวลเรื่องอาหารการกินก็ไม่ต้องเป็นห่วง
เพราะถ้าคุณพักแบบโฮมสเตย์เจ้าของบ้านจะจัดอาหารให้ทั้ง 3 มื้อ
หรือถ้าอยากกินอาหารตามสั่งก็มีร้านอาหารเล็กๆ ในหมู่บ้านเช่นกัน 
ที่สำคัญไปถึงหมู่บ้านแล้วอย่าลืมกินอาหารท้องถิ่นทั้งไข่ห่อใบตอง
และส่าเมี่ยง (ยำใบเมี่ยง หรือยำสมุนไพร) ด้วย

  
ก่อนกลับอย่าลืมแวะเที่ยวถ้ำเมืองออน โครงการหลวงตีนตก สักการะหินมหัศจรรย์
น้ำพุร้อนสันกำแพง และดูกล้วยไม้ที่สันกำแพงออร์คิด
แต่ถ้าออกทางจังหวัดลำปางก็มีอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนให้แช่น้ำพุร้อนเล่นก่อน
กลับบ้านเหมือนกัน

   หากคุณไปเยี่ยมหมู่บ้านแม่กำปอง
อย่าแปลกใจนะคะ ที่รู้สึกว่านาฬิกาเดินช้าลง
เพราะที่แห่งนี้เป็นสถานที่พิเศษ คนที่รักความงามอันเรียบง่าย
ความสงบเงียบของสถานที่ ความจริงใจและไมตรีจิตของผู้คน
จะสัมผัสได้ถึงความรักใคร่ปองดองเหมือนพี่น้องที่ชาวบ้านมีต่อคุณ 
จนอยากให้เวลาหยุดเดินเลยด้วยซ้ำ







Free TextEditor







































































































Create Date : 05 พฤษภาคม 2553
Last Update : 5 พฤษภาคม 2553 19:39:34 น. 0 comments
Counter : 213 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.