Image Hosted by ImageShack.us สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จ. นครสวรรค์
Group Blog
 
All blogs
 

การสุ่มตัวอย่าง และวิธีการสุ่มตัวอย่าง

การสุ่มตัวอย่างคือ อะไร
คือ กระบวนการคัดเลือกบางส่วนของประชากรที่เราต้องการศึกษา เพื่อใช้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดได้
ประชากร ( population )เป็นได้ทั้งคน สัตว์ และ สิ่งของ
ตัวอย่าง ( sample) บางส่วนของประชากร
สำมะโน (census) เก็บทุกหน่วย ทั้งหมด แต่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ข้อมูลที่ได้ไม่มีรายละเอียดมาก
สำรวจด้วยตัวอย่าง (simple survey ) เป็นการสุ่มตัวอย่าง ต้องเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร วัตถุประสงค์ที่ต้องการเพื่อขยายผลไปสู่ประชากร
หลักการสุ่มตัวอย่างที่ดี
ตัวอย่างที่เลือกขึ้นมา ต้องสามารถเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร ที่ต้องการศึกษา
หลักการสำคัญ
1.หลีกเลี่ยงความลำเอียง (bias) ในการเลือกตัวอย่าง โอกาสที่แต่ละหน่วยได้รับการคักเลือกเป็นเท่าไร หรือ การใช้กรอบตัวอย่างsampling frame ที่ไม่ดี
2. พยายามให้ได้ความแม่นยำ (precision ) สูงสุดสำหรับทรัพยากรที่มีอยู่ หลักการสำคัญต้องให้ค่าเฉลี่ยที่มีอยู่ใกล้เคียงกับค่าจริงมากที่สุด
การสุ่มตัวอย่างที่ดี ขึ้นอยู่กับ วิธีการสุ่มตัวอย่าง และ ขนาดของตัวอย่าง
วิธีการสุ่มตัวอย่าง
1.การสุ่มตัวอย่างแบบไม่ทราบความน่าจะเป็น (Non–probability/ non –random sampling ) ไม่สามารถใช้ในการขยายไปสู่ประชากรได้
1 การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ หรือ แบบตามสะดวก ไม่สามารถบอกความน่าจะเป็นได้
2 การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควต้า แบ่งกลุ่มประชากรก่อน เช่น ระดับการศึกษา อาชีพ เพศ เท่าๆกัน เช่น หญิง และ ชายเท่าๆกัน
3 การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เช่น เจาะจงพื้นที่ที่ต้องการ
4 การสุ่มตัวอย่างแบบสโนว์บอล (snow ball sampling) เริ่มต้นจากการเก็บข้อมูลจากผู้ใดผู้หนึ่ง ก่อนที่เรารู้จักน้อย และให้ผู้เป็นตัวอย่างบอกรายชื่อคนอื่นๆต่อไป
2.การสุ่มตัวอย่างแบบทราบความน่าจะเป็น (probability/ random sampling ) สามารถใช้ในการขยายไปสู่ประชากรได้




 

Create Date : 10 มิถุนายน 2551    
Last Update : 10 มิถุนายน 2551 10:32:37 น.
Counter : 2594 Pageviews.  

การประยุกต์ใช้สถิติเพื่อการวิจัย

การอบรม การประยุกต์ใช้สถิติเพื่อการวิจัย ระหว่างวันที่ 10-14 มีนาคม 2551
วิทยากร ... รศ. ดร. อุไรวรรณ คนึงสุขเกษม และ รศ. ดร. อรพินทร์ พิทักษ์มหาเกตุ

การวิจัย (research ) คือ re + search การค้นหาแล้วค้นหาอีก ทำซ้ำๆ เพื่อหาคำตอบ
การวิจัยคือ การค้นหาความรู้ และ การทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยอาศัยกระบวนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน และ กฎเกณฑ์ ที่แน่ชัด เพื่อสามารถตอบปัญหาของการวิจัยที่ตั้งขึ้นไว้ได้อย่างมีเหตุผล ถูกต้อง และเชื่อถือได้ และ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปสร้างกฎเกณฑ์ และ ทฤษฎี เพื่อประโยชน์ในการทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ ภายใต้สภาวการณ์ที่กำหนด
ดำเนินการวิจัยเพื่อ หาความรู้ใหม่ ทำซ้ำๆ ไม่หยุดนิ่ง เพื่อให้เกิดการพัฒนา
กระบวนการในการวิจัย
1 การเลือกเรื่อง และ การกำหนดปัญหาการวิจัย นิยามปัญหาให้ชัดเจน ความรุนแรงของปัญหา จากแหล่งข้อมูล บอกความสำคัญของปัญหาวิจัย มีความสำคัญ จะได้รับทุน แม้จะต้องปรับปรุง ปัญหาการวิจัยคืออะไร ต้องการตอบอะไร ควรเขียนให้ตรง จับประเด็นให้ได้ ตรงประเด็น ไม่ต้องเขียนมาก
2 การทบทวนเอกสาร และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นสิ่งสำคัญว่า มีแนวคิดทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราสนใจ และ งานวิจัยที่ตรงกับเรา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยอะไรบ้าง
-ควรทบทวนวรรณกรรมตั้งแต่ ยังไม่ได้เริ่มเขียน ดูข้อมูล ระเบียบวิธีวิจัย
- ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เป็นวิจัยระยะยาว หรือไม่ เพื่อเกิดแนวคิด
การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยที่ต้องการข้อมูลปริมาณมาก เครื่องมือใช้แบบสอบถามมีโครงสร้างแน่นอน การเก็บข้อมูลจากตัวอย่างต้องการการขยายผลไปหาประชากรได้ ข้อมูลจะเป็นตัวเลข และแปลงข้อมูลเป็นตัวเลข
การวิจัยเชิงคุณภาพไม่ต้องการขยายผลไปสู่ประชากร แต่ต้องการอธิบายประชากรเฉพาะที่ศึกษาเท่านั้น ข้อมูลเป็นคุณภาพ ตัวแปร ลักษณะต่างๆที่เราสนใจเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราทำวิจัย และ มีค่าผันแปร แตกต่างกันอย่างน้อยสองค่า เช่น เพศ ความสนใจ
3 การกำหนดกรอบแนวคิดของเรื่องที่วิจัย ตัวแปรสำคัญในงานวิจัย มีอะไรบ้าง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
4 การตั้งสมมติฐาน การวิจัยเชิงบรรยาย คือ บรรยาย การวิจัยเชิงอธิบาย คือ ต้องการอธิบาย วัยรุ่นที่เป็นนักเรียน กับ ไม่เป็นนักเรียน กับ พฤติกรรมเสี่ยงเรื่องเพศสัมพันธ์แตกต่างกันหรือไม่
5 การกำหนดตัวแปร
6 การออกแบบการวิจัย ควรเป็นการวิจัยแบบใด มีระเบียบวิธีการวิจัยอย่างไร
7.การเตรียมเครื่องมือในการวิจัย
8 การกำหนดกลุ่มประชากร และ การเลือกตัวอย่าง ประชากรที่เราสนใจศึกษา อยู่ที่ไหน เช่น จังหวัด หรือ อำเภอ
9 การเก็บรวบรวมข้อมูล จากตัวอย่าง บางส่วนของประชากร และ มีวิธีการเลือกอย่างไรให้สามารถเป็นตัวแทนได้
10 การเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ เริ่มจากตรวจสอบตรวจทานข้อมูล
11 การวิเคราะห์ข้อมูล เลือกข้อมูลให้เหมาะสมกับสถิติ
12 การแปรผลการวิเคราะห์ข้อมูล
13 การเขียนรายงานการวิจัย นำเสนอ เขียนรายงาน




 

Create Date : 10 มิถุนายน 2551    
Last Update : 10 มิถุนายน 2551 10:28:36 น.
Counter : 785 Pageviews.  


MaNanYa
Location :
นครสวรรค์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




อย่าทำร้ายคนที่รักคุณ...เพราะคุณไม่มีทางนึกออกเลยว่า...คุณได้สูญเสียอะไรไปบ้าง...
Friends' blogs
[Add MaNanYa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.