^_^ vechagran dot com by tingnoy
Group Blog
 
All blogs
 

สรุปความรู้หลักการบริหารจัดการ

ความรู้หลักการบริหารจัดการ
การบริหารงาน (Administration) แตกต่างกับ Management
การบริหารงาน คือการดำเนินการในกิจการต่าง ๆ มีหน่วยงานหรือองค์การ ดำเนินการอำนวยงานให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลงานตามที่ต้องการ
นักบริหาร หมายถึง ผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการและดำเนินการ หรือผู้รับผิดชอบต่อการดำเนินงาน หรือผู้วินิจฉัยชี้ขาดและสั่งงาน หรือผู้กำหนดแนวทางปฏิบัติงานขององค์กร
การบริหารงาน เป็นทั้งศาสตร์และศิลป
การบริหารรัฐกิจ เหมือนกับ การบริหารธุรกิจ ในเรื่องของกระบวนการปฏิบัติงาน แต่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานไม่เหมือนกัน
กระบวนการบริหาร Gulic และ Unwick ได้กล่าวถึงกระบวนการบริหาร ซึ่งเรียกว่า POSDCORB ในหนังสือ Paper on the Sciences of Administration (1957) ซึ่งประกอบด้วย
P = Planning การวางแผน
O = Organizing การจัดองค์การ
S = Staffing การสรรหาคนเข้าทำงาน
D = Directing การอำนวยการ
CO = Coordinating การประสานงาน
R = Reporting การรายงาน
B = Budgeting การงบประมาณ
ทรัพยากรทางการบริหาร มีอยู่ 4 ประการ คือ คน (Men) เงิน (Money) วัสดุสิ่งของ (Material) การจัดการ (Management) หรือเรียกสั้นๆ ว่า 4M’s
William T Greenwood เห็นว่าทรัพยากรบริหาร ควรจะมีอย่างน้อย 7 ประการ คือ คน (Men) เงิน (Money) วัสดุสิ่งของ (Material) อำนาจหน้าที่ (Authority) เวลา (Time) กำลังใจในการทำงาน (Will) ความสะดวกต่าง ๆ (Facilities)
ปัจจัยในการบริหารธุรกิจ 6 ประการ คือ คน (Men) เงิน (Money) วัสดุสิ่งของ (Material) วิธีการ (Method) ตลาด (Market) เครื่องจักร (Machine)
ประสิทธิภาพในการบริหารงาน หมายถึงความสามารถของการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบาย ภายใต้เงื่อนไขทางทรัพยากรที่มีอยู่
เทคนิคการบริหารงาน สื่อความเข้าใจ (ด้วยถ้อยคำภาษา เช่น พูด เขียน หรือไม่ใช้ถ้อยคำ เช่น เครื่องหมายและสัญญาณ) มีการจูงใจ การวินิจฉัยสั่งการ (โดยสามัญสำนึกหรือเหตุผล)
กระบวนการวินิจฉัยสั่งการ
-พิจารณาปัญหา POLICY = นโยบาย
-เลือกแนวทางแก้ไขปัญหา AUTHORITY = อำนาจหน้าที่
-วิเคราะห์แนวทางแก้ไข
-พิจารณาผลดีผลเสีย
-ดำเนินการและวิธีปฏิบัติ
ข้อจำกัดในการบริหาร ประกอบด้วย ฐานะและสภาพภูมิศาสตร์ ประชากร ทรัพยากร ลักษณะนิสัยและความสามารถของคน ความเชื่อถือและศรัทธา ขนบธรรมเนียมและประเพณี
นโยบายสาธารณะ
หมายถึง แนวทางที่รัฐบาลกำหนดว่าจะทำหรือไม่กระทำ และได้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ตลอดจนมีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติในสิ่งนั้น ๆ ด้วย
ทฤษฎีที่เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
1.ทฤษฎีสถาบัน (Institutionalism) ทฤษฎีนี้บอกว่า นโยบายสาธารณะนั้นเป็นผลมาจากสถาบันการปกครองของรัฐ
2.ทฤษฎีกลุ่ม (Group Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า นโยบายสาธารณะเป็นผลมาจากการต่อสู้หรือการประนีประนอมระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ในสังคม
3.ทฤษฎีระบบ (System Theory) ของ Devid Easton ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ระบบการเมืองเป็นผลของกระบวนการ ซึ่งมี Input คือ Demand และ Support ต่าง ๆ เข้าไปใน Conversion Process
แล้วจะได้ Output แต่อย่างไรก็ตาม จะมีสภาพแวดล้อม (Environment) อยู่ล้อมรอบเพื่อทำให้ Feed back ออกมาเป็น Input ใหม่
4.ทฤษฎีชนชั้นนำ (Elite Theory) ทฤษฎีนี้มองว่าชนชั้นนำเท่านั้น เป็นผู้กำหนดนโยบายเพราะประชาชนทั่วไปไม่สนใจ และไม่มีความรู้เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
รูปแบบการตัดสินใจวินิจฉัยนโยบายสาธารณะ มี 3 รูปแบบ คือ
1.แบบใช้หลักสมเหตุสมผล เป็นการตัดสินใจวินิจฉัยโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
2.แบบใช้หลักส่วนเพิ่มขึ้น มีแนวคิดว่า การตัดสินใจวินิจฉัยโดยทั่วไปมักมีลักษณะอนุรักษ์นิยม โดยต้องอาศัยการตัดสินวินิจฉัยครั้งก่อน ๆ เป็นหลักยึดอยู่ การตัดสินใจครั้งใหม่จึงต้องเป็นเรื่องของการปรับปรุงแก้ไขการตัดสินใจที่เคยทำมาก่อน
3.แบบใช้หลักผสมกลั่นกรอง เป็นการตัดสินวินิจฉัยโดยการผสมกลั่นกรองระหว่างลักษณะของการใช้หลักสมเหตุสมผลกับใช้หลักส่วนเพิ่ม
ความรู้ทางการเมืองการปกครอง หลักการจัดระเบียบการปกครองประเทศ หรือการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินนั้น ที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกนิยมใช้ มีอยู่ 3 หลักการด้วยกัน คือ
1.หลักการรวมอำนาจ (Centralization)
2.หลักการแบ่งอำนาจ (Deconcentralization)
3.หลักการกระจายอำนาจ(Decentralization)
การรวมอำนาจ เป็นหลักการปกครองที่รวมอำนาจที่สำคัญไว้ในส่วนกลาง อำนาจดังกล่าว ได้แก่การวินิจฉัยสั่งการและการบังคับบัญชา ซึ่งผลในการสั่งการจะมีอำนาจครอบคลุมทั่วประเทศ ทำให้เกิดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง หรือรัฐบาลกลาง ซึ่งมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
ลักษณะสำคัญของการวมอำนาจ มี 5 ประการ คือ
1.กำลังทหารและตำรวจขึ้นอยู่กับส่วนกลาง
2.การวินิจฉัยสั่งการขึ้นอยู่กับส่วนกลาง
3.มีการบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
4.ส่วนกลางเป็นผู้กำหนดนโยบายในการปกครองประเทศ
5.อำนาจในการต่างประเทศ ส่วนกลางเป็นผู้กำหนด
ข้อดีของหลักการรวมอำนาจ
1)ทำให้เกิดความมั่นคง
2)ทำให้เกิดการประหยัด
3)สามารถบริการประชาชนโดยเสมอหน้า
4)ทำให้เกิดเอกภาพ(Unity) ในทางปกครอง
ข้อเสียของหลักการรวมอำนาจ
1.ไม่สามารถดำเนินกิจการทุกอย่างให้ได้ผลดีทั่วท้องที่ได้ในขณะเดียวกัน
2.ทำให้เกิดความล่าช้าในการวินิจฉัยสั่งการ
3.ไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย
4.ไม่อาจสนองความต้องการของแต่ละท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง
การแบ่งอำนาจ หมายถึงการบริหารราชการ ที่ส่วนกลางได้จัดแบ่งอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการบางส่วน หรือบางขั้นตอนไปให้เจ้าหน้าที่ที่เป็นตัวแทนของหน่วยงานของตน ซึ่งออกไปประจำอยู่ในเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศ ให้วินิจฉัยสั่งการได้เองตามระเบียบแบบแผนที่ส่วนกลางกำหนดไว้ การแบ่งอำนาจทำให้เกิดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ลักษณะสำคัญของการแบ่งอำนาจ
1.ต้องมีราชการบริหารส่วนกลาง
2.ต้องมีเจ้าหน้าที่เป็นตัวแทนของส่วนกลาง
3.ส่วนกลางแบ่งอำนาจให้ส่วนภูมิภาค
ข้อดีของการแบ่งอำนาจ
1)เป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การกระจายอำนาจ
2)ทำให้ส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นมีการประสานงานกันดี
3)ทำให้การปฏิบัติราชการรวดเร็วยิ่งขึ้น
4)มีประโยชน์สำหรับประเทศที่ประชาชนยังขาดสำนึกในการปกครองตนเอง
ข้อเสียของการแบ่งอำนาจ
1)เป็นอุปสรรคในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย
2)ก่อให้เกิดความล่าช้า
3)ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ท้องถิ่น
การกระจายอำนาจ หมายถึง การโอนอำนาจในทางการปกครองจากส่วนกลางบางอย่าง ไปให้ประชาชนในท้องถิ่นดำเนินการเอง โดยมีอิสระพอสมควร ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย การกระจายอำนาจทำให้เกิดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
ลักษณะสำคัญของการกระจายอำนาจ
1.เป็นองค์กรที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
2.มีสภาและผู้บริหารระดับท้องถิ่น
3.มีอิสระในการปกครองตนเอง (อยู่ภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด)
4.มีงบประมาณและรายได้ของตนเอง
5.มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของตนเอง
อนึ่ง หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น มิได้เป็นหน่วยภายใต้บังคับบัญชาของส่วนกลางเหมือนการปกครองส่วนภูมิภาค
ข้อดีของหลักการกระจายอำนาจ
1)สามารถสนองความต้องการของท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้น
2)เป็นการแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง
3)กระตุ้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง
ข้อเสียของหลักการกระจายอำนาจ
1)อาจเป็นภัยต่อเอกภาพทางการปกครองและความมั่นคงของประเทศ
2)ทำให้ราษฎรเพ่งเล็งเห็นประโยชน์ของท้องถิ่นสำคัญกว่าส่วนรวม
3)เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการเลือกตั้งอาจใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่เหมาะสม
4)ย่อมทำให้เกิดความสิ้นเปลืองมากกว่า

การจัดระเบียบการปกครองของไทย
วิวัฒนาการการปกครองของไทย
ยุคสุโขทัยเป็นราชธานี (พ.ศ. 1800-1894) จัดรูปการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก ซึ่งมีการปกครองกันเป็นลำดับ จากหมู่บ้านมี พ่อบ้าน ปกครองดูแล หลายหมู่บ้านรวมกันเป็นเมือง อยู่ในความปกครองของ พ่อเมือง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศมี พ่อขุน ทำหน้าที่ปกครอง โดยมีข้าราชการที่เรียกว่า ลูกขุน ทำหน้าที่ในการรับใช้ และกระทำในราชกิจตามพระบรมราชโองการ ขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ดูแลปกครองดูแลประชาชน บำรุงส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน ตามที่ พ่อขุน มอบหมายราชกิจให้ดำเนินการ
ยุคอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. 1894-1992) ลักษณะการปกครองแบบเทวสิทธิ์ ที่ถือว่าพระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นสมติเทพ และมีการจัดการปกครองเป็นแบบจตุสดมภ์ ประกอบด้วย 4 กรม คือ
1.กรมเวียง หรือกรมรักษาเมือง มีขุนเวียงหรือขุนเมืองเป็นเสนาบดี มีหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ การรักษาความสงบเรียบร้อย และพิพากษาคดีเกี่ยวกับความผิดอุกฉกรรจ์
2.กรมวัง มีขุนวังเป็นเสนาบดี ทำหน้าที่เกี่ยวกับราชสำนัก งานพระราชพิธีและการพิพากษาคดีเกี่ยวกับข้าราชการ สนมฝ่ายใน และอรรถคดีทั่วไป
3.กรมคลัง มีขุนคลังเป็นเสนาบดี ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การภาษีอากร การค้าขายกับต่างประเทศ และพิพากษาคดีเกี่ยวกับพระราชทรัพย์
4.กรมนา มีขุนนาเป็นเสนาบดี ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาที่หลวง การเก็บหางข้าว ค่านา การเก็บรักษาเสบียงอาหาร การพิพากษาคดีเกี่ยวกับนา โค กระบือ
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1992-2033) มีการเปลี่ยนชื่อจตุสดมภ์ใหม่ คือกรมเวียงเป็นกรมนครบาล กรมวังเป็นกรมธรรมาธิการ กรมคลังเป็นโกษาธิบดี และกรมนาเป็นเกษตรธิบดี และได้จัดตั้งกรมเพิ่มขึ้น อีก 2 กรม คือ กรมกลาโหม และกรมมหาดไทย ซึ่งมีฐานะใหญ่กว่ากรมจตุสดมภ์ทั้งสี่ เพราะมีอัครเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชาดูแล กล่าวคือสมุหกลาโหม ว่าราชการฝ่ายทหาร และควบคุมข้าราชการทหารทั่วไป และสมุหนายก ว่าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งปวง ให้คุมกรมมหาดไทย และบัญชาเสนาบดีจตุสดมภ์ ส่วนทางด้านหัวเมืองได้จัดแบ่งเป็น เมืองเอก ตรี โท จัตวา และเมืองประเทศราช เมืองเหล่านี้ต่างขึ้นตรงกับกรมต่าง ๆ ในส่วนกลาง
หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 2033-2310) ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้สมุหนายกรับผิดชอบบังคับบัญชาทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ให้สมุหกลาโหมรับผิดชอบบังคับบัญชาทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ในหัวเมืองฝ่ายใต้ ขณะเดียวกันการปกครองส่วนกลางฝ่ายสมุหนายก ได้มีการแบ่งออกเป็นมหาดไทยฝ่ายเหนือ และมหาดไทยฝ่ายพลำภัง มหาดไทยตำรวจภูธร และมหาดไทยตำรวจภูบาล ทั้ง 4 ส่วน นี้ขึ้นอยู่กับสมุหนายก แต่ยังคงรูปจตุสดมภ์อยู่
ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2325-2435) ยังใช้รูปการปกครองแบบเดิม โดยมี อัครเสนาบดี 2 ตำแหน่ง และเสนาบดีจตุสดมภ์ 4 ตำแหน่ง
ยุคปฏิรูปการปกครองตามแบบตะวันตก (พ.ศ. 2535-2475) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งกระทรวงแบบใหม่ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2535 โดยแบ่งงานของแผ่นดินออกเป็น 12 กระทรวง คือกระทรวงมหาดไทย กลาโหม การต่างประเทศ วัง ยุทธนาธิการ ธรรมการ โยธาธิการ มรุธาธิการ
สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาค ได้กำหนดรูปแบบการปกครองที่เรียกว่า เทศาภิบาล ขึ้นมาใช้ และได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบดูแล โดยจัดแบ่งหัวเมืองออกเป็นมณฑล เมือง และอำเภอ โดยมีสมุหเทศาภิบาล ผู้ว่าราชการเมือง และนายอำเภอเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และดูแลทุกข์สุขของประชาชนในเขตท้องที่นั้น ๆ และมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ช่วยเหลือปฏิบัติงานในระดับตำบล หมู่บ้าน ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองท้องที่ ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 (การจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม โดยตราพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพรัตนโกสินทร์ศก 116(พ.ศ. 2440) ณ อ.เมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง (พ.ศ. 2476-2515) มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 แบ่งโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ส่วน คือ การปกครองส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
สำหรับในส่วนภูมิภาค ทำการยุบเลิกการปกครองแบบเทศาภิบาล (ยุบมณฑล) กำหนดให้การบริหารงานในระดับจังหวัด เป็นรูปคณะกรรมการจังหวัด โดยมีข้าหลวงประจำจังหวัด(ผู้ว่าราชการจังหวัด) เป็นประธาน และในระดับอำเภอเป็นรูปคณะกรรมการอำเภอ โดยมีนายอำเภอเป็นประธาน ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย
ในส่วนท้องถิ่น กำหนดให้มีการปกครองตนเองในรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย ได้แก่การจัดตั้งสุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล
จนถึงปี พ.ศ. 2515 มีการปรับปรุงกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ใช้บังคับถึงเดือนสิงหาคม 2534 เพราะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2534 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2534




 

Create Date : 23 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 23 กรกฎาคม 2551 10:11:02 น.
Counter : 13754 Pageviews.  

แนวข้อสอบเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง/ชุมชนเข้มแข็ง

1. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
-ROYAL-INTIATED SELF SUFFICIENT ECONOMY PROJECT

2. เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสขึ้นแนะแนวทางมาแล้วกี่ ……. ปี
- 25 ปี

3. เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริหมายถึง
-ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีระบบคุ้มกันในตัว

4. การที่จะเปลี่ยนให้คนมีเศรษฐกิจพอเพียง จำเป็นต้องทำทั้งหมดหรือไม่ ตามแนวพระราชดำริ
-ไม่จำเป็น เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็อยู่ได้

5. การดำเนินโครงการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
-ทุนทางสังคม (Social Capital)

6. เป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ก็เพื่อมุ่งพัฒนาสินค้าชุมชน ออกเป็นสินค้าส่งออก ใช่หรือไม่
-ไม่ใช่ แต่เป้าหมายเพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้

7. บทบาทข้าราชการในการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง
-สนับสนุนเงินทุน เป็นผู้ให้ความสะดวก (FACILITATOR) และสนับสนุน (SUPPORTER)

8. หน่วยงานใดรับผิดชอบ การวางนโยบายและแนวทางการดำเนินการตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ
-คณะกรรมการบริหารโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ

9. หน่วยงานใดรับผิดชอบ การวางนโยบายและแนวทางการดำเนินการตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ระดับอำเภอ
-คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ

10. การใช้เงินทุนดังกล่าว หากกลุ่มไม่สามารถคืนเงินยืมได้ จะทำอย่างไร
-องค์การบริหารส่วนตำบล ต้องตั้งงบประมาณชดใช้คืนเงินทุน

11. เศรษฐกิจพอเพียง สนองตอบต่อเป้าหมายใดทางเศรษฐกิจ
-การกระจายรายได้และสร้างความเป็นธรรมในสังคม

12. หลักการสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ประกอบด้วยอะไรบ้าง
-เศรษฐกิจพอเพียง และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

13. กรมการปกครองรับผิดชอบและสนับสนุนการจัดประชาคม ระดับใด
-ระดับจังหวัด และอำเภอ

14. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เริ่มปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาฉบับใด
-แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8

15. การพัฒนาประชารัฐ เป็นการพัฒนาแบบใด
-แบบองค์รวม (HORISTIC APPROACH) คือ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องสามารถประสานกันครบองค์มีดุลยภาพเกิดขึ้น

16. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ปรากฏอยู่ในโครงการใดของกระทรวงมหาดไทย
-โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง

17. การพัฒนาประชารัฐ มีแนวทางการพัฒนาอย่างไร
-เน้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาครัฐกับประชาชน ให้ทุกส่วนมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะของภาครัฐ ปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการ ให้มีความต่อเนื่องในการบริหารงานพัฒนาและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

18. ในระยะเริ่มต้นของการใช้แผนฯ 8 ได้เกิดกระบวนการอะไรเกี่ยวกับการพัฒนาประชารัฐ
-ประชาคมจังหวัด

19. ตามแนวคิดประชาสังคม (CIVIL SOCIETY) แบ่งสังคมออกเป็นส่วน ๆ กี่ส่วน อะไรบ้าง
-3 ส่วน คือภาครัฐหรือราชการ (PUBLICE SECTOR) ภาคธุรกิจเอกชน (BUSINESS SECTOR)และภาคประชาชน (VOLUNTARY SECTOR)

20. หน่วยงานใดบ้างที่ร่วมกันจัดทำโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ
- กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน สำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สถาบันราชภัฏ สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

21. โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ มาจากภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
-THE PROJECT OF COMMUNITY EMPOWERMENT RESPONSE TO CRISIS ACTION PLAN : (CERCAP)

22. โครงการ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ อยู่ในความดูแลขององค์กรใด
-คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ โดยมีคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ

23. องค์กรระหว่างประเทศใด ที่ให้การสนับสนุนโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ
-UNDP – UNITED NATION DEVELOPMENT PROGRAMME
24. มาตรการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ที่กรมการปกครองใช้ มีกี่ประการ อะไรบ้าง
-มี 3 ประการ คือ การปรับเปลี่ยนวิธีคิดวิธีทำงานภาครัฐ การเพิ่มศักยภาพชุมชน และการปรับปรุงระบบงบประมาณและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

25. การปรับปรุงระบบงบประมาณและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีการปรับปรุงอะไรบ้าง
-การปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย การวางแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระเบียบเกี่ยวกับงบประมาณและพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

26. วิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ ประกอบด้วยใครบ้าง
-ปลัดอำเภอและเจ้าหน้าที่ 4 กระทรวงหลัก ในระดับอำเภอ ที่มีทักษะในการถ่ายทอด ซึ่งมีจำนวน 5 คน ใน 35 จังหวัด

27. กรมการปกครองใช้วิธีการใด ในการสร้างวิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ
-การอบรมแบบมีส่วนร่วม (PARTICITIPATORY TRAINING)

28. เทคนิคการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในการสร้างวิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
- A – I – C (APPRECIATION – INFLUENCE – CONTROL) F.S.C. (FUTURE SEARCH CONFERENCE)

29. F.S.C. คืออะไร
- FUTURE SEARCH CONFERENCE หรือการสร้างอนาคตร่วมกัน เป็นเทคนิคการทำความเข้าใจอดีต ปัจจุบันและเชื่อมโยงสู่อนาคตร่วมกัน ร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์ (VISION)ของอนาคตและจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับ

30. A – I – C คืออะไร
- APPRECIATION – INFLUENCE – CONTROL เป็นการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ทำความเข้าใจสภาพปัญหาและขีดจำกัด และสร้างวิสัยทัศน์รวมทั้งแผนงานร่วมกัน

31. ทุนทางสังคม (SOCIAL CAPITAL) คืออะไร
-ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ ชุมชน และสถาบันองค์กรทางสังคม

32. ประชาสังคม (CIVIL SOCIETY) คืออะไร
-การที่คนในสังคม มีจิตสำนึก(CIVIL CONSCIOUSNESS) ร่วมกัน มารวมตัวกันในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนกัน เพื่อกระทำการบางอย่าง ด้วยความรักและเอื้ออาทรต่อกัน ภายใต้ระบบการจัดการให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน เพื่อประโยชน์สาธารณะ

33. องค์ประกอบของประชาสังคม (CIVIL SOCIETY) ประกอบด้วยอะไรบ้าง
-จิตสำนึกประชาสังคม โครงสร้างองค์กรประชาสังคม และเครือข่ายประชาสังคม
34. ผู้นำที่อยู่ในพื้นที่ หรืออยู่ในชุมชนที่ทำหน้าที่ในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชน เกิดการรวมตัวตามแนวความคิดประชาสังคม เรียกว่าอะไร
-ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (CHANG AGENT)

35. ผู้นำที่อยู่ในพื้นที่ เป็นบุคคลเดียวกับวิทยากรเครือข่ายอำเภอหรือไม่
-อาจเป็นบุคคลคนเดียวกัน ถ้าวิทยากรเครือข่ายอำเภอซึ่งเป็นผู้ประสาน () เข้าไปกระตุ้นชุมชนโดยตรง บุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอีกฐานะหนึ่งด้วย

36. เวทีประชาคมคืออะไร
-คือพื้นที่สาธารณะ หรือสถานที่ที่ผู้คนสามารถมาพบปะรวมตัวกันเพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยน ความคิด ความเห็นได้

37. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน คืออะไร
-การเพิ่มกำลังอำนาจให้แก่ประชาชน ในการคิด การทำ การเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา การแก้ปัญหาต่าง ๆ และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข

38. องค์ประกอบของชุมชนที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย อะไรบ้าง
-องค์ประกอบ 9 ประการ คือ
1. มีบุคคลหลากหลายรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ หรือไม่ทางการ
2. มีเป้าหมายร่วมกันและยึดโยงเกาะเกี่ยวกันด้วยผลประโยชน์สาธารณะและของสมาชิก
3. มีจิตสำนึกของการพึ่งตนเองรักและเอื้ออาทรต่อกันและมีความรักชุมชน
4. มีอิสระในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ
5. มีการระดมใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ
6. เรียนรู้ เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย
7. มีการจัดทำกิจกรรมที่เป็นสาธารณะของชุมชนอย่างต่อเนื่อง
8. มีการจัดการบริหารงานกลุ่มที่หลากหลายและเครือข่ายที่ดี
9. มีการเสริมสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลาย




 

Create Date : 22 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 22 กรกฎาคม 2551 9:51:50 น.
Counter : 6701 Pageviews.  

แน้วข้อสอบการปกครองท้องที่

1. อำเภอชั้นพิเศษมีกี่อำเภอ
ตอบ มี 17 อำเภอ คือ อำเภอเมืองขอนแก่น ชลบุรี เชียงราย เชียงใหม่ นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นนทบุรี พิษณุโลก ภูเก็ต ระยอง ลำปาง สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี อุดรธานี อุบลราชธานี และอำเภอหาดใหญ่

2. ประเทศไทยมีกี่จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ
ตอบ 75 จังหวัด 795 อำเภอ 81 กิ่งอำเภอ

3. พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ 2457 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่เท่าไร พ.ศ. อะไร
ตอบ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2542)

4. หมู่บ้านตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ 2457 ประกอบด้วยกี่บ้านกี่คน
ตอบ 5 บ้าน 200 คน

5. เมื่อสุขาฯ ยกฐานะเป็นเทศบาล หมู่บ้านที่อยู่นอกเขตเทศบาลมีบ้านและคนไม่ครบองค์ประกอบตามกฎหมายต้องยุบหรือยกเลิกหรือไม่
ตอบ ไม่ต้อง

6. การแยกหมู่บ้านตามหลักเกณฑ์ปี 2539 มีอย่างไร
ตอบ หลักเกณฑ์การจัดตั้งหมู่บ้าน (ทำเป็นประกาศจังหวัด)
ก.กรณีเป็นชุมชนหนาแน่น
1.มีราษฎรไม่น้อยกว่า 1,200 คนขึ้นไป หรือจำนวน 240 บ้านขึ้นไป
2.มีแยกหมู่บ้านใหม่แล้ว หมู่บ้านใหม่ต้องมีราษฎรไม่น้อยกว่า 600 คน หรือมีจำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 120 บ้าน
3.ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบลหรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
ข.กรณีเป็นชุมชนห่างไกล
1.มีราษฎรไม่น้อยกว่า 600 คนขึ้นไป หรือจำนวน 120 บ้านขึ้นไป
2.มีแยกหมู่บ้านใหม่แล้ว หมู่บ้านใหม่ต้องมีราษฎรไม่น้อยกว่า 200 คน หรือมีจำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 40 บ้าน
3.ชุมชนใหม่ห่างจากชุมชนเดิมไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร
3.ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบลหรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

7. คุณสมบัติการสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านตามที่แก้ไขใหม่ฉบับที่ 10 (2542) มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างไร (ม.12)
ตอบ ลาออกและลงสมัครได้เลย

8. คุณสมบัติของผู้เลือกผู้ใหญ่บ้านมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างไร
ตอบ อายุ 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง

9. กรณีบ้านที่ไม่มีผู้จบชั้นประถมจะเป็นผู้ใหญ่บ้าน ปัจจุบันใครเป็นผู้ยกเว้นโดยได้รับมอบอำนาจจากใคร
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยอนุมัติของ รมว.มท.

10. โครงสร้างคณะกรรมการสภาตำบลประกอบด้วยใครบ้าง
ตอบ กำนันท้องที่ ผญบ.ทุกหมู่บ้าน แพทย์ ครูประชาบาล 1 คน กก.ผู้ทรงคุณวุฒิหมู่บ้านละ 1 คน นอภ.คัดเลือกรายงาน ผวจ.ออกหนังสือสำคัญ วาระ 5 ปี หากว่างลงเลือกภายใน 60 วัน ให้กำนันเรียกประชุมเดือนละ 1 ครั้ง

11. กรมการอำเภอประกอบด้วยใครบ้าง
ตอบ พนักงานปกครองคณะหนึ่งเรียกว่ากรมการอำเภอ ประกอบด้วย นายอำเภอ ปลัดอำเภอ และสมุห์บัญชีอำเภอ

12. ระเบียบข้อบังคับอะไรที่ใช้เลือกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ตอบ ระเบียบ มท.ว่าด้วยการเลือกกำนัน พ.ศ. 2524 ส่วนผู้ใหญ่บ้าน ใช้ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2535

13. พ.ร.บ.ยกฐานะเป็นสุขาภิบาล (2542) ม.13กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านไว้อย่างไร มีระยะเวลาเท่าไร
ตอบ มีอำนาจหน้าที่คงเดิม ไปอีก 5 ปี นับแต่วันบังคับใช้ พ.ร.บ.ยกฐานะฯ

14. กรณีตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านว่างลงต้องเลือกภายในกี่วัน
ตอบ กำนัน 60 วัน ผู้ใหญ่บ้าน 15 วัน

15. ผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านว่างลงราษฎรที่บ้านอยู่ในเขตเทศบาลมีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านหรือไม่
ตอบ ไม่มีสิทธิ

16. ผู้ที่บ้านอยู่ในเขตเทศบาลมีสิทธิสมัครผู้ใหญ่บ้านได้หรือไม่
ตอบ ไม่มีสิทธิ

17. ผู้ที่บ้านอยู่นอกเขตเทศบาลมีสิทธิสมัครผู้ใหญ่บ้านได้หรือไม่
ตอบ ได้

18. ราษฎรที่บ้านอยู่ในเขตเทศบาลมีสิทธิเลือกกำนันได้หรือไม่
ตอบ ได้

19. ผู้ใหญ่บ้านที่อยู่ในเขตเทศบาลมีสิทธิสมัครเป็นกำนันได้หรือไม่
ตอบ ถ้าอยู่ในเขตเทศบาลทั้งหมดไม่มีสิทธิ



20. ผู้ใหญ่บ้านที่มีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลมีสิทธิสมัครเป็นกำนันได้หรือไม่
ตอบ มีสิทธิ

21. ที่สาธารณะหมายถึงอะไร
ตอบ ทรัพย์สินทุกชนิด ของแผ่นดิน ซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พร้อมทั้งได้แบ่งประเภทสาธารณสมบัติของแผ่นดินไว้ 3 ประเภทคือ
1)ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้ง กลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่น ๆ ตามกฎหมายที่ดิน
2)ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ
3)ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ

22. ที่ราชพัสดุหมายถึงอะไร
ตอบ ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ที่อยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์

23. ที่สาธารณะประจำตำบลหมายถึงอะไร มีกี่ไร่
ตอบ ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จำนวน 50 ไร่

24. ที่สาธารณะประจำหมู่บ้านหมายถึงอะไร มีกี่ไร่
ตอบ ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จำนวน 25 ไร่

25. ผู้มีอำนาจดูแลที่สาธารณะคือใคร
ตอบ 1)ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้ง กลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่น ๆ ตามกฎหมายที่ดิน - กรมที่ดิน
2)ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ – หลายหน่วยงานตามที่ กม.บัญญัติไว้

26. ผู้มีอำนาจดูแลที่ราชพัสดุคือใคร
ตอบ กรมธนารักษ์

27. อำนาจหน้าที่ของคณะกรมการหมู่บ้านตามระเบียบข้อบังคับ มท.
ตอบ เสนอข้อแนะนำ และให้คำปรึกษาต่อผู้ใหญ่บ้าน

28. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในการประนีประนอมมีอะไร ตามระเบียบใด
ตอบ ข้อบังคับ มท. ว่าด้วยการปฏิบัติงานประนีประนอมข้อพิพาทของคระกรรมการหมู่บ้าน พ.ศ. 2530

29. ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติมีอะไรบ้าง
ตอบ กลยุทธ์ 7 ประการ แนวทางปฏิบัติ 9 ประการ

30. การประชาคมมีหลักการอย่างไรตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
ตอบ เป็นการรวมตัวของสมาชิกในชุมชน เพื่อร่วมกันทำกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนด้วยตนเอง

31. ตัวชี้วัดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ
ตอบ จปฐ.8

32. หลักเกณฑ์การจัดตั้งตำบล ตามมติของคณะรัฐมนตรี 14 พฤษภาคม 2539
ตอบ หลักเกณฑ์การจัดตั้งตำบล (ทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย)
ก.กรณีเป็นชุมชนหนาแน่น
1.มีราษฎรไม่น้อยกว่า 4,800 คนขึ้นไป
2.มีหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 8หมู่บ้าน
3.ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาตำบลหรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
ข.กรณีเป็นชุมชนห่างไกล
1.มีราษฎรไม่น้อยกว่า 3,600 คนขึ้นไป
2.มีหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 6 หมู่บ้าน
3.ชุมชนใหม่ห่างจากชุมชนเดิมไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร
3.ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาตำบลหรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

33. หลักเกณฑ์การจัดตั้งหมู่บ้าน ตามมติของคณะรัฐมนตรี 14 พฤษภาคม 2539
ตอบ หลักเกณฑ์การจัดตั้งหมู่บ้าน (ทำเป็นประกาศจังหวัด)
ก.กรณีเป็นชุมชนหนาแน่น
1.มีราษฎรไม่น้อยกว่า 1,200 คนขึ้นไป หรือจำนวน 240 บ้านขึ้นไป
2.มีแยกหมู่บ้านใหม่แล้ว หมู่บ้านใหม่ต้องมีราษฎรไม่น้อยกว่า 600 คน หรือมีจำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 120 บ้าน
3.ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบลหรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
ข.กรณีเป็นชุมชนห่างไกล
1.มีราษฎรไม่น้อยกว่า 600 คนขึ้นไป หรือจำนวน 120 บ้านขึ้นไป
2.มีแยกหมู่บ้านใหม่แล้ว หมู่บ้านใหม่ต้องมีราษฎรไม่น้อยกว่า 200 คน หรือมีจำนวนบ้านไม่น้อยกว่า 40 บ้าน
3.ชุมชนใหม่ห่างจากชุมชนเดิมไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร
3.ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบลหรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

34. อัตราส่วนของแผนที่แนวเขตปกครองตำบล ที่เป็นมาตรฐาน คือ
ตอบ 1 : 50,000

35. เขตปกครองของอำเภอตามกฎหมาย ดูได้จากหลักฐานใด
ตอบ ในประกาศตั้งตำบล (ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบล)

36. ผู้ปกครองหมู่บ้านชั่วคราวตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2475 เรียกว่า
ตอบ ว่าที่ผู้ใหญ่บ้าน
 หมู่บ้านชั่วคราว ให้แต่งตั้งว่าที่ผู้ใหญ่บ้าน และ หรือว่าที่กำนัน โดย ผวจ.เป็นผู้แต่งตั้ง กำหนดเดือนเริ่ม – เดือนจบ

37. การพัฒนาแบบสมดุลตามอุดมการณ์แผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง คือ
ตอบ จิตใจ-เศรษฐกิจ-สังคม
สาระสำคัญของอุดมการณ์ มีขอบเขตในการพัฒนาคน พัฒนาหมู่บ้านชนบท พัฒนาชุมชน และการพัฒนาสังคม ดังนั้นอุดมการณ์นี้เน้นดุลยภาพ ของการพัฒนาจิตใจ โดยใช้หลักศาสนธรรม พัฒนาสังคม โดยใช้หลักประชาธิปไตย และพัฒนาเศรษฐกิจ โดยใช้การรวมกลุ่ม (สหกรณ์)

38.โรงพยาบาล ห้องแถว บ้านเช่า เรือจำ แพ ถือว่าเป็น บ้าน ตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 หรือไม่
ตอบ โรงพยาบาลไม่เป็น แต่ห้องแถว บ้านเช่า เรือชำ และ แพ เป็นต้น

39. ผู้ที่จะสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้าน ต้องมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในหมู่บ้านนั้น ติดต่อกันมา จนถึงวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน
ตอบ 1 ปี

40. ผู้ใหญ่บ้านอาจขอลาบวช โดยได้รับอนุญาตจากใคร
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด

41. ถ้าผู้ใหญ่บ้านจะทำการในหน้าที่ไม่ได้ ในครั้งหนึ่งคราวหนึ่งให้มอบหน้าที่ให้แก่
ตอบ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองคนใดคนหนึ่ง

42. พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ประกาศใช้ในสมัยรัชกาลใด
ตอบ รัชกาลที่ 5

43. ผู้ได้รับรางวัลผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม จะได้รับรางวัลเป็น
ตอบ อาวุธปืนพร้อมแหนบทองคำ

44. กรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งกำนัน จะต้องพ้นจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านด้วยหรือไม่
ตอบ ไม่ต้อง

45.แพทย์ประจำตำบลมาจาก
ตอบ การประชุมร่วมกันของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้น เลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเป็นแพทย์ประจำตำบล



46. กำนันผู้ใหญ่บ้านจะต้องได้รับเลือกจากใคร
ตอบ ประชาชนในท้องที่ เป็นผู้เลือกโดยตรง ด้วยวิธีลับหรือเปิดเผยก็ได้ (กม.เลือกโดยเปิดเผยหรือลับก็ได้)

47.กำนันผู้ใหญ่บ้านจะพ้นตำแหน่งตามปกติเมื่อ
ตอบ กรณีได้รับเลือกก่อนวันที่ 7 ก.ค. 2535 อยู่จนครบหกสิบปีบริบูรณ์ กรณีได้รับเลือกตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค. 2535 มีวาระ 5 ปี นับจากวันเลือกตั้ง

47. ลำดับกฎหมายที่ใช้ในการจัดตั้งหมู่บ้าน แตกต่างกับการจัดตั้งประเภทอื่นอย่างไร
ตอบ การตั้งหมู่บ้าน ใช้ประกาศจังหวัด ส่วนที่เหลืออันได้แก่ หมู่บ้าน อพป. ตำบล อบต. กิ่งอำเภอ ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย

48. หลักเกณฑ์การจัดตั้งอำเภอตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดจะต้องเป็นกิ่งอำเภอมาแล้วไม่น้อยกว่ากี่ปี ในกรณีปกติ
ตอบ 5 ปี

49. หลักเกณฑ์การจัดตั้งกิ่งอำเภอตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ต้องมีจำนวนประชาชนเท่าไหร่
ตอบ 30,000 คน

50. การจัดระเบียบบริหารของสภาตำบลเป็นไปตามกฎหมายใด
ตอบ พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537

51. ข้อใดไม่เป็นเหตุให้กำนันต้องพ้นจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
ตอบ ตำบลถูกยุบ

52. ข้อใดกำหนดวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการเลือกตั้งกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ
ตอบ ข้อบังคับ มท. ว่าด้วยการเลือกตั้งกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2533

53. ใครไม่ได้เป็นคณะกรรมการหมู่บ้าน
ตอบ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ

54. ในตำบลหนึ่งซึ่งมีอยู่ 10 หมู่บ้าน จะมีสมาชิกสภาตำบลจำนวนกี่คน
ตอบ 21 คน (ผู้ใหญ่/กำนัน 10 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน แพทย์ประจำตำบล 1 คน)

55. ในหมู่บ้านหนึ่งจะมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองได้กี่คน
ตอบ มีได้ 2 คน หากมากกว่า 2 คน ต้องขออนุมัติกระทรวงมหาดไทย

56. การยกพื้นความรู้ของผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน จะต้องดำเนินการอย่างไรจึงจะมีผลสมบูรณ์
ตอบ ขออนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา

57. ในการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้านหนึ่ง ปรากฏว่ามีราษฎรมาใช้สิทธิเพียงร้อยละ 10 ของผู้มีสิทธิและปรากฏว่า ราษฎรที่มาใช้สิทธิเลือก นาย ก. 75 คะแนน เลือกนาย ข. 76 คะแนน ถือว่า
ตอบ นาย ข. ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน

58. นายกนกได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535 นายกนกจะต้องออกจากตำแหน่งตามวาระเมื่อใด
ตอบ อยู่ในตำแหน่งจนอายุ 60 ปีบริบูรณ์

59.ผู้มีอำนาจสั่งให้ผู้ใหญ่บ้านออกจากตำแหน่งกรณีเมื่อได้สอบสวนเห็นว่าบกพร่องในทางความประพฤติ หรือความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด

60.ใครเป็นผู้คัดเลือกผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และฝ่ายรักษาความสงบ
ตอบ ผู้ใหญ่บ้านแลกำนันท้องที่

61.การที่ต้องเลือกผู้ใหญ่บ้านขึ้นใหม่อาศัยเหตุประการใด
ตอบ ผู้ใหญ่บ้านว่างลง หรือตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่

62.ผู้ปกครองหมู่บ้านชั่วคราวตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 เรียกว่า
ตอบ ว่าที่ผู้ใหญ่บ้าน

63. คณะกรรมการหมู่บ้านมีอำนาจหน้าที่อย่างไร
ตอบ เป็นที่ปรึกษาผู้ใหญ่บ้าน

64. คณะกรรมการหมู่บ้านประกอบด้วยกรรมการ 2 ประเภท คือ กรรมการโดยตำแหน่งและกรรมการโดยการเลือกตั้ง ผู้เป็นกรรมการโดยตำแหน่งคือ
ตอบ ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง

65. กฎหมายกำหนดให้ผู้ใดมีอำนาจในการใช้อาวุธปืนของทางราชการในการรักษาความสงบเรียบร้อยของหมู่บ้านได้
ตอบ ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ

66. ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกำนัน คือ
ตอบ ผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้น

67. การเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านให้ใช้วิธีแบบเปิดเผยหรือโดยลับ ส่วนการเลือกตั้งกำนันใช้วิธีใด
ตอบ วิธีลับ

68. การเลือกกำนันแทนตำแหน่งที่ว่างมีขึ้นภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่
ตอบ นายอำเภอทราบการว่าง

69. กำนันไม่อาจทำหน้าที่ได้เป็นการชั่วคราวให้
ตอบ มอบผู้ใหญ่บ้านคนใดคนหนึ่งในตำบลทำการแทน

70. ถ้ากำนันมีความประสงค์ที่จะเปลี่ยนสารวัตรกำนัน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากใคร
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด



71. พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ได้กำหนดโทษทางวินัยไว้เฉพาะ
ตอบ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

72. เมื่อกำนันอยู่ในหมู่บ้านใด หมู่บ้านนั้น
ตอบ ไม่ต้องเลือกผู้ใหญ่บ้านขึ้นอีก เพราะกำนันทำหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านด้วย

73. ผู้ที่จะเป็นสารวัตรกำนัน ต้อง
ตอบ ได้รับการแต่งตั้งโดยการคัดเลือกของกำนัน และผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแต่งตั้ง

74. ผู้ที่จะเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
ตอบ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านคัดเลือกร่วมกัน แล้วเสนอนายอำเภอแต่งตั้ง

75. การจัดตั้งหมู่บ้านชั่วคราว อาจกระทำได้โดยเหตุไร
ตอบ ราษฎรไปชุมนุมทำการหาเลี้ยงชีพแต่ในบางฤดู

76. โดยทั่วไปนายอำเภอมีอำนาจลงโทษกำนัน ผู้ใหญ่บ้านอย่างไร
ตอบ ลดขั้นเงินเดือนหนึ่งอันดับ ตัดเงินเดือน และลงโทษภาคทัณฑ์ ตลอดจนพักหน้าที่กรณีถูกฟ้องคดีอาญา ต้องหาว่าทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ส่วน ผวจ.มีอำนาจเทียบเท่าหัวหน้ากอง

77. คณะกรรมการต่าง ๆ ในหมู่บ้าน อพป.มีกี่คณะ
ตอบ มี 7 คณะ คือ พัฒนา ปกครอง ป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อย คลัง สาธารณสุข การศึกษาและวัฒนธรรม และคณะกรรมการสวัสดิการและสังคม

78. เขตการปกครองของอำเภอตามกฎหมายดูได้จากหลักฐานใด
ตอบ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการตั้งตำบล

79. กรรมการอิสลามประจำมัสยิดในตำแหน่ง คอเต็บ สามารถสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านได้หรือไม่
ตอบ ได้ เพราะ อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ไม่ใช่นักบวช
อิหม่าม ผู้นำศาสนาประจำมัสยิด คอเต็บ ผู้แสดงธรรมประจำมัสยิด
บิหลั่น ผู้ประกาศเชิญชวนให้มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจตามเวลา

80. การขอใช้ที่ดินสาธารณะประจำหมู่บ้านจะต้องได้รับอนุมัติจาก
ตอบ นายอำเภอ โดยส่วนกลางเป็นอำนาจของกรมการปกครอง

81. อำเภอจัดตั้งขึ้นอย่างไร มีใครเป็นหัวหน้าผู้ปกครองบังคับบัญชา
ตอบ อำเภอเป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองลงมาจากจังหวัด โดยรวบรวมหลาย ๆ ตำบล เข้าเป็นอำเภอ
อำเภอมิได้มีฐานะนิติบุคคล
การจัดตั้ง การยุบ หรือการเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ จะต้องกระทำโดยออกเป็น พระราชกฤษฎีกา
นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย
บรรดาอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอำเภอหรือนายอำเภอ ให้โอนไปเป็นอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอ
และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น ในอำเภอนั้น
82. นายอำเภอมีอำนาจและหน้าที่อย่างไรบ้าง ให้อธิบาย
ตอบ 1)ภารกิจ หน้าที่ ในฐานะเป็นผู้ปกครอง และอำนวยบริการให้แก่ประชาชน
2)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
มาตรา 65 นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1.บริหารราชการตามกฎหมาย และระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถ้ากฎหมายใดมิได้บัญญัติว่าการปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ ให้เป็นหน้าที่ของนายอำเภอที่จะต้องรักษาการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นด้วย
2.บริหารราชการตามที่ คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบ กรม มอบหมาย หรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
3.บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้มีหน้าที่ตรวจการอื่น ในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ฯลฯ มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
4.ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอตามกฎหมาย
3)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
-ปกครองท้องที่ -ป้องกันภยันตรายของราษฎรและรักษาความสงบในท้องที่
-การเกี่ยวกับคดีแพ่งและคดีอาญา -ป้องกันโรคร้าย
-บำรุงการทำนา ค้าขาย ป่าไม้ ทางไปมาต่อกัน -บำรุงการศึกษา -การเก็บภาษีอากร -หน้าที่เบ็ดเตล็ดอื่น
4)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น
5)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนและบัตร ในฐานะเป็นนายทะเบียนอำเภอ
6)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้นายอำเภอเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ พนักงานสอบสวน และหัวหน้าพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองอำเภอ เป็นต้น
7)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งทุกระดับ
8)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
9)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน นายอำเภอดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
10)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการอาสารักษาดินแดน (ผบ.ร้อย อส.อ.)
11)อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ
เนื่องจากนายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบสูงมาก ฉะนั้น นายอำเภอจะต้องเป็นนักบริหารการพัฒนา นักบำบัดทุกข์ บำรุงสุข นักบริหารงานของทุกกระทรวง ทบวง กรม นักประสานงาน นักกฎหมาย เป็นต้น โดยจะต้องมีแผนพัฒนาอำเภอเป็นเครื่องมือในการควบคุมงาน อย่างแน่นอนและต่อเนื่องด้วย




 

Create Date : 21 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 21 กรกฎาคม 2551 23:12:38 น.
Counter : 26813 Pageviews.  

แนวข้อสอบการบริการประชาชน

1. การบริการประชาชนให้เรียกว่า One – Stop – Service หมายถึง
ตอบ การบริการ ณ จุดเดียว ให้แล้วเสร็จ

2. บุคคลใดเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการเฉพาะตำบล ที่ตนมีหน้าที่ประจำอยู่เช่นเดียวกับนายอำเภอ
ตอบ กำนัน

3. ปลัดอำเภอมีฐานะเป็น
ตอบ ผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ

4. การบริการประชาชนในหน้าที่กรมการปกครอง มีอะไรบ้าง
ตอบ 1.การจัดเวรบริการประชาชน ณ ที่ว่าการอำเภอและกิ่งอำเภอ
2.การจัดหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่
3.ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล
4.การให้บริการประชาชน ณ ที่ทำการตำบล

5. รูปแบบใหม่ของการบริหารงานภาครัฐ
ตอบ 1)ลดขั้นตอนและความล่าช้า เพื่อเพิ่มความรวดเร็ว
2)ผู้รับบริการมีความสำคัญสูงสุด
3)ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีอำนาจในการทำงานมากขึ้น
4)ตัดขั้นตอนการทำงานให้เรียบง่าย

6. การบริการราชการเพื่อประชาชนมีความหมายครอบคลุมเพียงใด
ตอบ การปฏิบัติงานของหน่วยงานตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ประชาชนยื่นคำขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการ

7.ขอให้ยกตัวอย่างการบริการประชาชนในลักษณะที่ไม่ต้องมีคำขอ
ตอบ การบริการประชาชนในลักษณะที่ไม่ต้องมีคำขอ เป็นการบริการตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานนั้น เพื่อเป็นการให้บริการต่อสาธารณะ การให้ความอนุเคราะห์ และการให้สงเคราะห์ประชาชน เช่น การให้บริการของกรมประชาสงเคราะห์ต่อผู้ประสบภัยธรรมชาติ อาจกำหนดระยะเวลาของการเข้าไปช่วยเหลือประชาชน เมื่อได้รับทราบหรือได้รับแจ้งเหตุ

8. หน่วยงานของรัฐที่อยู่ในข่ายที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบนี้ ได้แก่หน่วยงานใดบ้าง
ตอบ หมายถึงส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่า กรม จังหวัด อำเภอ และคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย และหน่วยงานอื่นใด ของรัฐในต่างประเทศแล้ว ยังให้ความหมายรวมถึง -ราชการส่วนท้องถิ่น
–รัฐวิสาหกิจเฉพาะที่ตั้งขึ้น โดย พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ฎ.
-หน่วยงานอื่นของรัฐ เช่น สนง.คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และ ธปท. เป็นต้น
-จนท. ที่ใช้อำนาจทำคำสั่งทางการปกครอง ตาม กม.ว่าด้วยวิธีการปฏิบัติราชการทางการปกครอง

9. คณะอนุกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ของหน่วยงานของรัฐประจำจังหวัด มีฐานะอย่างไร ใครเป็นผู้แต่งตั้ง และมีวาระการดำรงตำแหน่งอย่างไร
ตอบ คณะอนุกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ของหน่วยงานของรัฐประจำจังหวัด (ปปร.จังหวัด) เป็นคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นตามระเบียบ สร. จึงเป็นคณะอนุกรรมการที่ปฏิบัติหน้าที่ถาวรแต่งตั้ง โดย ผวจ. มีหน้าที่ช่วยเหลือ ปปร. ในการส่งเสริม สนับสนุน ติดตามและตรวจสอบ ให้หน่วยงานของรัฐในจังหวัด ปฏิบัติตามระเบียบ สร. และปฏิบัติตามที่ ปปร.มอบหมาย

10.งานบริการประชาชนที่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จในหนึ่งวันทำการ หน่วยงานของรัฐจะต้องประกาศระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จในเรื่องนั้น ๆ ให้ประชาชนทราบหรือไม่
ตอบ ไม่ต้องออกระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการ แต่หน่วยงานของรัฐจะต้องประกาศให้ประชาชนทราบว่าเมื่อประชาชนมารับบริการในเรื่องนั้นแล้ว จะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในเวลาเท่าไร ซึ่งอาจกำหนดเป็นนาที ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อประชาชนจะได้ทราบล่วงหน้า

11. การกำหนดระยะเวลาในระเบียบกำหนดขั้นตอนฯ หน่วยงานของรัฐควรกำหนดเป็นวัน หรือวันทำการ
ตอบ วันทำการ

12. หน่วยงานของรัฐจะออกระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน โดยกำหนดระยะเวลาเผื่อไว้ให้มากกว่าปกติ เช่น ควรจะเสร็จภายใน 2 วัน ก็กำหนดไว้ 5 วัน จะได้หรือไม่
ตอบ ระยะเวลาที่กำหนดจะต้องเป็นระยะเวลาที่ปฏิบัติงานนั้น ๆ จริง ๆ ไม่ควรกำหนดระยะเวลาเผื่อไว้

13. โดยกรณีของสภาพแห่งเรื่องแล้ว ไม่สามารถดำเนินการพิจารณาคำขอในเรื่องนั้น ๆ ให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลา 90 วัน จะออกระเบียบให้มีระยะเวลามากกว่า 90 วัน ได้หรือไม่
ตอบ ได้ แต่ต้องขออนุมัติต่อรัฐมนตรีในกรณีที่รัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวงเป็นผู้ลงนามในระเบียบฯ หรืออนุมัติต่อปลัดกระทรวง กรณีที่อธิบดีเป็นผู้ลงนามในระเบียบก่อน

14. ใครเป็นผู้ลงนามในระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของกรุงเทพมหานคร
ตอบ อาจเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือหัวหน้าหน่วยงานระดับอธิบดีหรือเทียบเท่าก็ได้

15. ผู้มีอำนาจลงนามในระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน จะมอบอำนาจการลงนามในระเบียบ ให้ผู้อื่นลงนามได้หรือไม่
ตอบ มอบอำนาจได้ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

16. การบริการประชาชนในเรื่องที่มีหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงานเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานในเรื่องนั้น ๆ หน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบในการออกระเบียบกำหนดขั้นตอน สำหรับคำขอในเรื่องนั้น ๆ
ตอบ หน่วยงานที่รับคำขอในเรื่องนั้น ๆ

17. การปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนในเรื่องใด ที่อยู่ในอำนาจของอธิบดีหรือปลัดกระทรวง แต่ได้มีการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หรือเจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาคอื่น เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งการในเรื่องนั้น ๆ ในพื้นที่รับผิดชอบได้ การออกระเบียบกำหนดขั้นตอนฯ ในเรื่องดังกล่าวนี้ จะต้องปรึกษาหารือกันก่อนหรือไม่
ตอบ ควรมีการปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อความราบรื่นในการทำงาน และเกิดความเข้าใจร่วมกันในการปฏิบัติราชการต่อไป

18. กรณีหน่วยงานของรัฐคืนคำขอเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์นั้น จะนับช่วงเวลาที่แก้ไขนั้นรวมอยู่ในระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนหรือไม่
ตอบ ไม่นับ แต่ต้องระบุความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ของคำขอทั้งหมด และแจ้งให้ประชาชนทราบในคราวเดียว

19. การแจ้งผลให้ประชาชนผู้ยื่นคำขอทราบต้องทำเป็นหนังสือเสมอไปหรือไม่
ตอบ ต้องเป็นหนังสือเช่นเดียวกัน

20.ประชาชนได้รับประโยชน์อะไรจากระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนนี้
ตอบ 1.ทราบขั้นตอนและระยะเวลา ที่ใช้ในการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ทำให้สามารถวางแผนการดำเนินงานทางด้านธุรกิจได้ชัดเจน
2.ทราบเหตุผลและระเวลาที่หน่วยงานของรัฐขอขยายเพิ่มเติม กรณีที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
3.ทราบความไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้องทั้งหมดของคำขอในคราวเดียว ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐขอให้แก้ไขคำขอให้ถูกต้องสมบูรณ์ หรือในกรณีที่หน่วยงานของรัฐคืนคำขอ
4.ทราบเหตุผลโดยละเอียด ในกรณีที่ผลการพิจารณาออกมาในทางไม่สมประสงค์
5.สามารถร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ หรือต่อ ปปร. ได้ในกรณีที่เห็นว่าเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติตามระเบียบ

21.แนวคิดเรื่องการบริการแบบเบ็ดเสร็จมีหลักการสำคัญอย่างไรบ้าง
ตอบ 1.กำหนดให้การบริการประชาชนอยู่ในองค์กรเดียวกัน/สถานที่เดียวกัน
2.เพิ่มอำนาจหน้าที่และกระจายกิจกรรม เพื่อบริการประชาชนให้แก่ศูนย์บริการของรัฐแบบครบวงจร
3.การกำหนดให้หน่วยงานจัดบริการประชาชนให้เสร็จสิ้นในคราวเดียว
4.การให้บริการในเรื่องต่าง ๆ มีความสัมพันธ์และผสมผสานอย่างเหมาะสม
5.ระยะเวลาที่ประชาชนใช้ในการติดต่อขอรับบริการน้อยที่สุด
6.ประชาชนได้รับความพอใจสูงสุดจากบริการของรัฐ

22. แนวคิดในการที่จะจัดบริการให้ทั่วถึงในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน และเน้นที่ความสะดวกของผู้รับบริการเป็นสำคัญ โดยเป็นไปในลักษณะเชิงรุกคือแนวคิดใด
ตอบ การบริการเชิงรุกหรือแบบครบวงจร(PACKAGE - Service)

23. แนวคิดเรื่อง PACKAGE SERVICE มีหลักการสำคัญ ประกอบด้วย
ตอบ 1.ยึดการตอบสนองความต้องการจำเป็นของประชาชนเป็นเป้าหมาย People Oriented
2.ความรวดเร็วในการให้บริการ Acceleration
3.การให้บริการต้องเสร็จสมบูรณ์ Completion
4.ความกระตือรือร้นในการให้บริการ Keen
5.การให้บริการด้วยความถูกต้องตรวจสอบได้ Accountability
6.ความสุภาพอ่อนน้อม Gentle
7.ความเสมอภาค Equality

24. แนวคิด Smile – model มีหลักการอย่างไรบ้าง
ตอบ 1)Service mine คือมีจิตบริการประชาชน
2)Modern all the time คือรู้จักปรับวิธีการให้บริการที่ทันสมัยอยู่เสมอ
3)Intelligence in duty operation คือปฏิบัติการอย่างเชี่ยวชาญ ฉลาด รอบรู้
4)Listening to the people คือรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้รับบริการ
5)Equality for all คือเสมอภาคทุกคน

25. แนวคิดเรื่อง Reengineering เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศใด โดยใคร
ตอบ เกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา โดย Micheal Hammmer




 

Create Date : 21 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 21 กรกฎาคม 2551 23:11:41 น.
Counter : 3609 Pageviews.  

การบริหารราชการแผ่นดิน

1. กิ่งอำเภอ เป็นการแบ่งส่วนราชการตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือไม่
ตอบ ไม่ เป็นตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ 2457

2. ถ้านายอำเภอไปราชการแทน แล้วประสบอุบัติเหตุ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ ตามมาตรา 64 ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งปลัดอำเภอ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ ผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอมิได้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนไว้ ให้ปลัดอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน

3. ผู้มีอำนาจแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดที่มีตั้งแต่สองคนขึ้นไป เป็นผู้รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดได้แก่
ตอบ ปลัดกระทรวง (ตาม ม.56 ของ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2535 -ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดจังหวัดหลายคน ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้ง รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดจังหวัดคนใดคนหนึ่งแล้วแต่กรณี เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีทั้งผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดและปลัดจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งมีอาวุโส ตามแบบแผนของทางราชการ เป็นผู้รักษาราชการแทน)

4. คณะกรมการจังหวัด ได้แก่
ตอบ คณะกรมการจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัด หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวงหรือทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ

6. การมอบอำนาจของอธิบดีให้รองอธิบดีเรียกว่า …… เช่นเดียวกับกรณีของผู้ว่าราชการจังหวัดที่มอบให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด เรียกว่า ……..
ตอบ ปฏิบัติราชการแทน ……. ปฏิบัติราชการแทน

7. การสรรหาบุคคลเข้าสู่ตำแหน่ง เจ้าพนักงานปกครอง 3 อาจทำได้โดย
ตอบ การโอนและการแต่งตั้ง(ย้าย) การสอบแข่งขันและการสอบเปลี่ยนสายงาน การทดสอบความรู้ผู้ที่ได้รับปริญญาตามหลักเกณฑ์

8. รูปแบบของรัฐของไทย เป็นแบบ
ตอบ รัฐเดี่ยว

9. ลัทธิการเมืองและการปกครองของไทยเราเป็นแบบ
ตอบ ลัทธิประชาธิปไตย

10. ระบอบการปกครองของไทยเป็นแบบ
ตอบ ระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภา

11. การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยแบ่งออกเป็น
ตอบ 3 ส่วน คือส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น

12. ความสัมพันธ์ระหว่างนายอำเภอ กับปลัดอำเภอ เจ้าหน้าที่ปกครองต่าง ๆ ตามลำดับชั้น หมายถึง
ตอบ สายการบังคับบัญชา

13. งานการเงินและบัญชีของที่ทำการปกครอง เป็นหน่วยงานประเภท
ตอบ หน่วยงานสนับสนุน

14.เมื่อท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ ท่านมีขอบเขตแห่งการบังคับบัญชาเพียงใด หมายถึง
ตอบ สายการบังคับบัญชา

16. หน่วยงานระดับกองของกรมการปกครอง ที่ไม่ได้จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกา
ตอบ กองราชการส่วนตำบล กองตรวจสอบบัญชี และสำนักงานผู้ตรวจราชการกรม

17. หน่วยงานใดในกรมการปกครองที่เป็นหน่วยงานช่วย
ตอบ กองการเจ้าหน้าที่ กองคลัง

18. ข้าราชการประเภทใดที่ไม่อยู่ในการกำกับดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และข้าราชการครู

20.การมอบอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ต้องทำเป็นหนังสือหรือไม่
ตอบ การมอบอำนาจตามมาตรา 38 ให้มอบเป็นหนังสือเท่านั้น

21. ถ้ามีกฎหมายอื่นกำหนดวิธีการมอบอำนาจเป็นอย่างอื่นแล้ว จะมอบอำนาจตาม ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้

22. นายอำเภอมอบอำนาจให้เสมียนตราอำเภอได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้

23. ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองและพัฒนา สามารถมอบอำนาจให้ปลัดอำเภอได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ เพราะตำแหน่งปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองและพัฒนาไม่ได้เป็นตำแหน่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

24.สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีฐานะเป็นส่วนราชการหรือไม่
ตอบ ไม่เป็น ส่วนสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลปกครอง สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นส่วนราชการอิสระ

25. กระทรวงที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 คือ กระทรวงอะไร และหน่วยงานใดบ้างที่จะต้องไปรวมในกระทรวงใหม่
ตอบ กระทรวงศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยมีกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติไปรวม

26.การรวมกรมสองกรมเข้าด้วยกัน โดยไม่มีการกำหนดตำแหน่งอัตรา ขรก.ลูกจ้างเพิ่มขึ้น ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา หรือพระราชบัญญัติ
ตอบ พระราชกฤษฎีกา

27.การยกฐานะกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอ ต้องตราเป็น พระราชกฤษฎีกา หรือพระราชบัญญัติ
ตอบ พระราชกฤษฎีกา

28.การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการระดับกรม ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา หรือพระราชบัญญัติ
ตอบ พระราชกฤษฎีกา

29.การยุบส่วนราชการระดับกระทรวง ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา หรือพระราชบัญญัติ
ตอบ พระราชกฤษฎีกา

30. พัฒนาการจังหวัด เป็นกรมการจังหวัด หรือไม่
ตอบ ไม่เป็น เพราะ ตามมาตรา 53 ในจังหวัดหนึ่งมีคณะกรมการจังหวัดทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
คณะกรมการจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัด หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวงหรือทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
ถ้ากระทรวงหรือทบวงมีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดมากกว่าหนึ่งคน ให้ปลัดกระทรวงหรือปลัดทบวง กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดหนึ่งคน เป็นผู้แทนกระทรวงหรือทบวงในคณะกรมการจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัด เห็นสมควรจะแต่งตั้งให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นกรมการจังหวัดเพิ่มขึ้น เฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งก็ได้

31. ตำแหน่งใดที่กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินไม่ได้กำหนดในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
ตอบ ปลัดจังหวัด ส่วน ผวจ. รอง ผวจ. ผช.ผวจ. และนายอำเภอ ใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดไว้ว่าสังกัดกระทรวงมหาดไทย และกรณีนายอำเภอ ไม่ได้กำหนดว่าสังกัดกรมการปกครอง

32. การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ราชการบริหารส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น
ตอบ จังหวัด อำเภอ

33. ถ้ากฎหมายมิได้บัญญัติว่าการปฏิบัติตามกฎหมายนั้น เป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ ให้เป็นหน้าที่ของ ………. ที่จะต้อง ……………. ให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นด้วย
ตอบ นายอำเภอ รักษาการ

34. การรับราชการ เป็นหน้าที่ของชนชาวไทยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่
ตอบ ไม่ แต่รับราชการทหารเป็นหน้าที่ การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การปฏิบัติตามกฎหมาย การเสียภาษีอากร การรับการศึกษาอบรม เป็นหน้าที่ของชนชาวไทย

35. การบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ใช้อำนาจปกครองประกอบด้วยหลักสำคัญ
ตอบ การรวมอำนาจ การแบ่งอำนาจ และการกระจายอำนาจ

36. การบริหารราชการแผ่นดินของไทยแบ่งออกเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง
ตอบ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น

37. ราชการบริหารส่วนกลาง หมายถึง
ตอบ กระทรวง ทบวง กรม

38. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค หมายถึง
ตอบ จังหวัด อำเภอ

39. ราชการบริหารส่วนกลาง เป็นการใช้อำนาจปกครองในทาง
ตอบ รวมอำนาจ

40. ราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการใช้อำนาจปกครองในทาง
ตอบ กระจายอำนาจ

41. ปลัดอำเภอเป็นข้าราชการสังกัด
ตอบ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

42. ผู้รับผิดชอบ ควบคุมราชการประจำในกระทรวงมหาดไทย ได้แก่
ตอบ ปลัดกระทรวงมหาดไทย

43. ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ปลัดอำเภอมีอำนาจและหน้าที่อย่างไร
ตอบ เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาค ที่สังกัดกรมการปกครองในอำเภอนั้น

44. สำนักงานอำเภอ มีผู้ใดเป็นหัวหน้ารับผิดชอบ
ตอบ นายอำเภอ

45. การแบ่งสายงาน และความรับผิดชอบของรองอธิบดีกรมการปกครอง แบ่งออกเป็น 4 สาย ดังต่อไปนี้
ตอบ 1.ฝ่ายบริหารราชการทั่วไป 2.ฝ่ายราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
3.ฝ่ายราชการบริหารส่วนภูมิภาค 4.ฝ่ายกิจการพิเศษ

46. ตามโครงสร้างการแบ่งงานของที่ทำการปกครองจังหวัด งานการเลือกตั้ง อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายใด
ตอบ ฝ่ายปกครอง

49. จังหวัด แบ่งส่วนราชการเป็น
ตอบ สำนักงานจังหวัด และส่วนราชการประจำจังหวัด

50. ในกรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ใครเป็นผู้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอ
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด

51. คณะกรรมกรพัฒนาอำเภอ (กพอ.) ประกอบด้วย
ตอบ นายอำเภอ เป็นประธาน พัฒนาการอำเภอเป็นเลขานุการ

52. ถ้ากฎหมายไม่ได้กำหนดว่า เรื่องหนึ่งเรื่องใด เป็นอำนาจหน้าที่ของบุคคลใด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของบุคคลใด
ตอบ นายอำเภอ

53. คำกล่าวใด ที่เป็นผลมาจากระบบศักดินาไทย ที่แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Mobility)
ตอบ โตขึ้นขอให้เป็นเจ้าคนนายคน

54.การเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำโดย
ตอบ ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

55.ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ผู้ว่าราชการอาจมอบอำนาจให้
ตอบ นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

56. อำเภอมีฐานะเป็นนิติบุคคลหรือไม่
ตอบ ไม่เป็น

57. หัวหน้าส่วนราชการของกรมการปกครองในส่วนภูมิภาค คือ
ตอบ ปลัดจังหวัด นายอำเภอ

58.ผู้ว่าราชการจังหวัดป่วย ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจึงทำหน้าที่แทน การปฏิบัติราชการของรองผู้ว่าราชการจังหวัด คือประการใด
ตอบ รักษาราชการแทน

59. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมีผลบังคับใช้เมื่อใด
ตอบ 5 กันยายน 2534

60. กฎหมายซึ่งเป็นแม่บทในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินก่อน พ.ร.บ.ฉบับปัจจุบันมีผล
บังคับใช้ ประเทศไทยมีกฎหมายในข้อใดเป็นแม่บท
ตอบ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218

61. ใครเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.
ตอบ นายกรัฐมนตรี

62. ฐานะของส่วนราชการใดที่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตอบ สำนักงานในกรมต่าง ๆ

63. ฐานะของสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นส่วนราชการที่เหมือนกับ
ตอบ กระทรวง

64. ถ้าจะจัดตั้งกระทรวงแรงงาน จะต้องตราเป็นกฎหมายใด
ตอบ พระราชบัญญัติ


65. ถ้าจัดตั้งทบวงตำรวจจะต้องตราเป็นกฎหมายใด
ตอบ พระราชบัญญัติ

66. ถ้าจะมีการแบ่งส่วนราชการใหม่ของกรมการพัฒนาชุมชน สังกัดกระทรวงมหาดไทย จะต้องตราเป็นกฎหมายใด
ตอบ พระราชกฤษฎีกา

67. ใครเป็นผู้เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการแบ่งส่วนราชการใหม่ของกรมการพัฒนาชุมชน
ตอบ สำนักงานก.พ. , สำนักงบประมาณ

68. การแบ่งส่วนราชการของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในทบวงมหาวิทยาลัยใครเป็นผู้เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี
ตอบ สำนักงบประมาณ

69. ส่วนราชการที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นเช่นไร
ตอบ กรม

70. สำนักนายกรัฐมนตรีอาจจัดให้มีส่วนราชการเป็นการภายใน ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีได้กรณี
ตอบ 1. จัดทำนโยบายและแผน 2. กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย 3.ติดตามแผนการปฏิบัติราชการตามนโยบาย

71. ใครมีอำนาจบังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี
ตอบ นายกรัฐมนตรี

72. ใครเป็นผู้กำกับโดยทั่วไปในการบริหารราชการแผ่นดิน
ตอบ นายกรัฐมนตรี

73. การวางระเบียบปฏิบัติราชการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพ ระเบียบนั้นจะใช้ปฏิบัติเมื่อใด
ตอบ คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว

74. หน่วยงานใดทำหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง
ตอบ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

75. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ
ตอบ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี



76. ใครเป็นหัวหน้ารัฐบาล
ตอบ นายกรัฐมนตรี

77. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม
ตอบ นายกรัฐมนตรี

78. การแต่งตั้งข้าราชการ จากกระทรวง ทบวง กรม หนึ่งไปดำรงตำแหน่งอีก กระทรวง ทบวง กรม หนึ่งนั้นมีเงื่อนไขคือ
ตอบ ถ้าข้าราชการนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปต้องรับอนุมัติจาก ค.ร.ม.ด้วย และเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี

79. ส่วนราชการใดไม่มีฐานะเป็นกรม
ตอบ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี

80. หากมีความจำเป็นต้องมีส่วนราชการทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบายจะต้องรับการอนุมัติจากใคร
ตอบ คณะรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้นเป็นผู้บังคับบัญชา

81. ใครเป็นผู้รับผิดชอบควบคุมข้าราชการประจำในกระทรวง
ตอบ ปลัดกระทรวง

82. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี
ตอบ ปลัดกระทรวง

83. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง
ตอบ ปลัดกระทรวง

84. ในกระทรวงหนึ่ง ๆ จะมีตำแหน่งผู้ช่วยปลัดกระทรวงได้หรือไม่
ตอบ มีหรือไม่มีก็ได้

85. ในกระทรวงหนึ่ง ๆ หน่วยงานใดรับผิดชอบราชการทางการเมือง
ตอบ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี

86. งานราชการประจำทั่วไปของกระทรวง สังกัดหน่วยงานใด
ตอบ สำนักงานปลัดกระทรวง

87. หากมีทบวงในสังกัดกระทรวง หากไม่สมควรจัดตั้งสำนักงานปลัดทบวง หน่วยงานในข้อใดทำหน้าที่แทน
ตอบ สำนักงานปลัดกระทรวง

88. หน่วยงานใดที่ พ.ร.บ. ฉบับนี้บัญญัติการแบ่งส่วนราชการแตกต่างจากกรมอื่น ๆ
ตอบ กรมตำรวจ และสำนักงานอัยการสูงสุด

89. กรณีที่นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ รัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

90. กรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีช่วยว่าการ ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ รัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

91. กรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ ผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี หรือเทียบเท่าที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง

92. กรณีที่เลขานุการรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ ข้าราชการในกระทรวงที่รัฐมนตรีว่าการแต่งตั้ง

93. กรณีที่อธิบดี รองอธิบดี ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ ข้าราชการในกรมซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีหรือหัวหน้ากอง หรือเทียบเท่าที่ปลัดกระทรวงแต่งตั้ง

94. ผู้รักษาราชการแทนในตำแหน่งต่าง ๆมีอำนาจหน้าที่เพียงใด
ตอบ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน

95. ข้อจำกัดของการปฏิบัติราชการแทนคือ
ตอบ มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวงที่เกี่ยวกับทหาร

96. การตั้งจังหวัดใหม่ กระทำได้โดยกฎหมายใด
ตอบ พระราชบัญญัติ

97. ใครเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ คณะกรมการจังหวัด

98. ใครเป็นประธานคณะกรรมการจังหวัด
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด



99. ใครเป็นกรมการจังหวัด
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่งที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัด หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด และ หน.ส่วนราชการประจำจังหวัดกระทรวงละ 1 คน และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ

100. ใครเป็นเลขานุการคณะกรมการจังหวัด
ตอบ หัวหน้าสำนักงานจังหวัด

101. หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงต่างๆ ถ้ามีหลายตำแหน่งจะเป็นกรมการจังหวัดได้กี่ตำแหน่ง
ตอบ เป็นได้ 1 คน ตามที่ปลัดกระทรวงแต่งตั้ง

102. หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงใดที่เป็นกรมการจังหวัดได้มากกว่ากระทรวงอื่น
ตอบ กระทรวงมหาดไทย

103. ผู้ว่าราชการจังหวัดจะแต่งตั้งหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคเป็นกรรมการจังหวัดเพิ่มขึ้นได้หรือไม่
ตอบ เพิ่มได้โดยทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งโดยเฉพาะ

104. ผู้ว่าราชการจังหวัดรับนโยบายและคำสั่งจากใคร
ตอบ นายกรัฐมนตรี,กระทรวง,กรม

105. ผู้ว่าราชการจังหวัดสังกัดหน่วยราชการใด
ตอบ กระทรวงมหาดไทย

106. กรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผวจ. และปลัดจังหวัดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งมีอาวุโส

107. โดยปกติผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ครอบคลุมในราชการทั้งจังหวัด ถ้าจะจำกัดอำนาจผวจ.จะทำได้หรือไม่
ตอบ ทำได้โดยตรากฎหมายเป็น พ.ร.บ.

108. การตั้งอำเภอใหม่ต้องทำอย่างไร
ตอบ พระราชกฤษฎีกา

109. ปัจจุบันประเทศไทยมีส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงกี่กระทรวง
ตอบ 15 กระทรวง


110. หน้าที่เกี่ยวกับภาษีอากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ เป็นหน้าที่ของกระทรวงใด
ตอบ กระทรวงการคลัง

111. ฐานะของสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นส่วนราชการที่เหมือนกับ (ม.7)
ตอบ กระทรวง

112. ฐานะของส่วนราชการใดไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล (ม.7)
ตอบ สำนักงานในกรมต่าง ๆ

113. ถ้าจะจัดตั้งกระทรวงน้ำต้องตราเป็นกฎหมายใด (ม.8)
ตอบ พระราชบัญญัติ

114. ถ้าจะจัดตั้งทบวงตำรวจจะต้องตราเป็นกฎหมายใด (ม.8)
ตอบ พระราชบัญญัติ

115. ถ้ามีการแบ่งส่วนราชการใหม่ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จะต้องตราเป็นกฎหมายใด (ม.8)
ตอบ พระราชกฤษฎีกา

116. ถ้าต้องการดูอำนาจหน้าที่ของกรมการปกครองจะดูได้ที่กฎหมายใด
ตอบ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการ

117. การแบ่งส่วนราชการของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในทบวงมหาวิทยาลัยใครเป็นผู้เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี (ม.8)
ตอบ สำนักงบประมาณ

118. ถ้านายกรัฐมนตรีตายลงใครเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี (ม.10)
ตอบ รองนายกฯ ที่คณะรัฐมนตรีมอบ

119. การวางระเบียบปฏิบัติราชการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพระเบียบนั้นจะใช้ปฏิบัติเมื่อใด (ม.11)
ตอบ เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว

120. ใครเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ (ม.13)
ตอบ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการบริหาร

121. ส่วนราชการใดไม่มีฐานะเป็นกรม (ม.18)
ตอบ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

122. การจัดระเบียบบริหารราชการของกระทรวงใดที่ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 (ม.19)
ตอบ กระทรวงกลาโหม

123. ตำแหน่งใดไม่มีกำหนดไว้ในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ตอบ ผู้ช่วยนายอำเภอ

124. ในกระทรวงหนึ่ง ๆ หน่วยงานใดรับผิดชอบราชการการเมือง (ม.22)
ตอบ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี

125. งานราชการประจำทั่วไปของกระทรวง สังกัดหน่วยงานใด (ม.23)
ตอบ สำนักงานปลัดกระทรวง

126. การปฏิบัติราชการแทน (ม.38)
ตอบ รัฐมนตรีมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้

127. ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจมอบอำนาจให้ใครปฏิบัติราชการแทนได้บ้าง (ม.38)
ตอบ หัวหน้าส่วนราชการประจำกิ่งอำเภอ

128. นายอำเภออาจมอบอำนาจให้ใครปฏิบัติราชการแทนได้บ้าง (ม.38)
ตอบ ปลัดอำเภอ,เกษตรอำเภอ,สาธารณสุขอำเภอ,พัฒนาการอำเภอ

129. การมอบอำนาจตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินกำหนดให้ทำเป็น (ม.38)
ตอบ หนังสือ

130. กรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรัฐมนตรีช่วยว่าการไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน (ม.42)
ตอบ รัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

131. กรณีที่เลขานุการรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติหน้าได้ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน (ม.43)
ตอบ ข้าราชการในกระทรวงที่รัฐมนตรีว่าการแต่งตั้ง

132. ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคปัจจุบันแบ่งเป็น (ม.51)
ตอบ จังหวัด อำเภอ

133. การจัดตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นการจัดตั้งตามกฎหมายใด (ม.52)
ตอบ พระราชบัญญัติ

134. ในกรมการจังหวัด จะมีข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยอยู่จำนวนเท่าใด (ม.53)
ตอบ 4 คน (ผวจ. รอง ผวจ.ที่ ผวจ. แต่งตั้ง ปจ. หน.สนง.จว.)

135. ใครเป็นผู้รับผิดชอบราชการในจังหวัดและอำเภอ (ม.54)
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด

136. ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตำแหน่งใดอาจจะมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ (ม.54)
ตอบ รองผู้ว่าราชการจังหวัด

137. ผู้รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดในลำดับที่ 3 คือ ผู้ใด (ม. 56)
ตอบ ปลัดจังหวัด (1.รอง ผวจ.ที่ ผวจ.มอบหมาย 2.ผช. ผวจ. 3.ปจ. 4.หน.ส่วนราชการอาวุโส)

138. ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินกำหนดให้ข้อใดรับผิดชอบในการวางแผน
ตอบ สำนักงานจังหวัด

139. อำเภอ หมายถึง
ตอบ หน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัด

140. ใครเป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ (ม.63)
ตอบ ปลัดอำเภอ , หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

141. ถ้านายอำเภอไม่อยู่ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน (ม.64)
ตอบ ปลัดอำเภอที่นายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้งไว้

142. อำเภอแบ่งส่วนราชการออกเป็น (ม.66)
ตอบ สำนักงานอำเภอ และส่วนราชการประจำอำเภอ

143. ใครเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา และรับผิดชอบสำนักงานอำเภอ (ม.66)
ตอบ นายอำเภอ

144. การจัดการปกครองนอกจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้วให้เป็นไปตาม (ม.68)
ตอบ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457

145. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายแบ่งเป็นกี่ประเภท (ม.70)
ตอบ 4 (อบจ. เทศบาล สุขาภิบาล และการปกครองท้องถิ่นอื่น ที่ กม.จัดตั้งขึ้น)

146. “ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกำหนด” หมายถึง (ม.70)
ตอบ กรุงเทพมหานคร/พัทยา / อบต.

147. พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ให้ไว้ ณ วันใด
ตอบ 21 สิงหาคม 2534

148. วันที่ถือว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้ คือ
ตอบ วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

149. ผู้รักษาการพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้แก่บุคคลตามข้อใด
ตอบ นายกรัฐมนตรี

150. พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แบ่งการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็นไปตามใด
ตอบ 3 ส่วน คือ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น

151. ถ้าจะปรับปรุงกฎหมายระเบียบบริหาราชการแผ่นดินจะต้องทำโดยวิธีการตามข้อใด
ตอบ ตราเป็นพระราชบัญญัติ

152. หน่วยงานใดจัดอยู่ในระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
ตอบ สำนักนายกรัฐมนตรี,กระทรวงหรือทบวง,กรมหรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม

153. มีฐานะเป็นส่วนราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตอบ กรมต่าง ๆ ที่สังกัดกระทรวง,ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ,ส่วนราชการที่มีชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม

154. ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม แต่มิได้สังกัดสำนักนากยกรัฐมนตรี นายกฯ จะมอบหมายให้ผู้ใดปฏิบัติราชการแทนก็ได้
ตอบ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

155. ข้าราชการตามข้อใดที่กฎหมายระบุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตอบ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี

156. ในการวางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้มีการบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพนั้นจะกระทำหรือปฏิบัติตามระเบียบได้เมื่อใด
ตอบ เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว

157. หากกระทรวงใดมีความจำเป็นจะต้องมีส่วนราชการที่มีชื่อเรียกว่าสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุมัติจากใคร
ตอบ คณะรัฐมนตรี


158. ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงโดยเฉพาะอำนาจหน้าที่ในเรื่องราชการดังกล่าวจะต้องเป็นของส่วนราชการใด
ตอบ สำนักงานปลัดกระทรวง

159. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของส่วนราชการในกระทรวง
ตอบ รัฐมนตรีว่าการ

160. ส่วนราชการของกรมตามการจัดระเบียบราชการในกรมของพระราชบัญญัติฉบับนี้ นอกจากจะมีสำนักงานเลขานุการกรมแล้ว ยังมีข้อใดอีก
ตอบ กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากอง

161. การมอบอำนาจในการสั่งการการอนุญาต การอนุมัติและอื่น ๆ ซึ่งผู้ดำรงตำแนห่งอาจมอบให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้นั้น จะต้องกระทำตามข้อใด
ตอบ ต้องทำเป็นหนังสือ

162. ในกรณีที่เลขานุการรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ท่านใดจะเป็นผู้รักษาการแทน
ตอบ ข้าราชการในกระทรวงที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้ง

163. หน่วยงานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตอบ จังหวัด

164. ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผวจ. ผู้ช่วยผวจ. และปลัดจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดอาวุโส

ถาม ในกรณีที่จะมีการตั้งอำเภอใหม่ หรือยุบเลิกอำเภอ หรือเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ จะต้องตรากฎหมายใด
ตอบ พระราชกฤษฎีกา

165. ไม่จัดอยู่ในระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
ตอบ สภาตำบล

166. ตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 มีส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงเท่าใด
ตอบ 15 กระทรวง

167. กระทรวงใดมีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการศึกษาและการประกันสังคม
ตอบ กระทรวงศึกษาธิการ

168. มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐที่อยู่ในการกำกับของทบวงมหาวิทยาลัยมีจำนวนใด
ตอบ 21 แห่ง

169. ส่วนราชการใดทีไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
ตอบ ราฃบัณฑิตยสถาน ,สำนักงานอัยการสูงสุด,สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

170. ส่วนราชการใดที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงพาณิชย์
ตอบ กรมเศรษฐกิจ

171. ส่วนราชการใดที่มิได้อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
ตอบ ราชบัณฑิตยสถาน

172. ปัจจุบันการบริหารราชการแผ่นดินของไทยใช้กฎหมายอะไร
ตอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534

173. การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแบ่งออก ดังนี้
ตอบ ส่วนกลาง,ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น

174. การแบ่งราชการออกเป็นส่วนต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 ให้กำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนโดยคำนึงถึง
ตอบ คุณภาพของงาน ,ปริมาณของงาน

175. การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรมให้ตราเป็นกฎหมายอะไร
ตอบ พระราชกฤษฎีกา

176. ส่วนราชการที่เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการแบ่งส่วนราชการภายในและในการกำนดอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการคือ
ตอบ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณ

177. นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
ตอบ กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน,มอบหมายให้รองนายกกำกับการบริหารราชการของกระทรวง,สั่งให้ข้าราชการสังกัดกระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี

178. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
ตอบ รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในสำนักนายกรัฐมนตรี,เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี,และข้าราชการของส่วนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี


179. การจัดระเบียบราชการของกระทรวง มีดังนี้
ตอบ สำนักเลขานุการรัฐมนตรี,สำนักงานปลัดกระทรวง,กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น

180. ปลัดกระทรวงมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
ตอบ รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวง,เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวงรองจากรมต.,และข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง

181. การแบ่งส่วนราชการในกรมสามารถแบ่งออกเป็น ดังนี้
ตอบ สำนักงานเลขานุการกรม,กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง

182. การปฏิบัติราชการแบบใดต้องทำเป็นหนังสือ
ตอบ การปฏิบัติราชการแทนและรักษาราชการแทน

183. ในกรณีที่นายกไม่อาจปฏิบัติราชการได้และมีรองนายกหลายคน รองนายกคนใดเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ คนที่ 1

184. การมอบอำนาจตามกฎหมายโดยชอบแล้ว ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้นและจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปได้หรือไม่โดยไม่รวมเรื่องมอบอำนาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ไม่ได้

185. หัวหน้าส่วนราชการใดเป็นทั้งตำแหน่งกรมการจังหวัดและเลขานุการ
ตอบ หัวหน้าสำนักงานจังหวัด

186. ผู้ช่วยผวจ.สังกัดกระทรวงอะไร
ตอบ กระทรวงมหาดไทย

187. ผวจ.มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
ตอบ บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ,บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย,บริหารราชการตามคำแนะนำและชี้แจงของผู้ตรวจราชการกระทรวงในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย

188. การแบ่งส่วนราชการของจังหวัดแบ่งออกได้ ดังนี้
ตอบ สำนักงานจังหวัด,ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น

189. ในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งมีหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัดเรียกว่า
ตอบ อำเภอ


190. การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนส่วนราชการใดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ตอบ อำเภอ

191. ในกรณีที่นายอำเภอไม่อาจปฏิบัติราชการได้ นายอำเภอจะสามารถแต่งตั้งใครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตอบ ปลัดอำเภอ,หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผน,

192. นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
ตอบ บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ,บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย,ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอตามกฎหมาย

193. การจัดการปกครองอำเภอ นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ยังเป็นไปตาม พ.ร.บ.ใด
ตอบ การปกครองท้องที่ (ม. 8)

194. การแบ่งส่วนราชการของอำเภอดำเนินอย่างไร
ตอบ สำนักงานอำเภอ และส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น

195. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นแบ่งออกได้ดังนี้
ตอบ อบจ.,เทศบาล สุขาภิบาล,ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด

196. ผู้ใดรับสนองพระบรมราชโองการประกาศพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534
ตอบ นายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี

197. เหตุผลที่สำคัญในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้คือ
ตอบ เพื่อกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้ชัดเจน,เพื่อให้การบริหารงานระดับกระทรวงมีเอกภาพ,เพื่อกำหนดการมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนให้ครบถ้วนชัดเจน

198. การยุบสำนักงานอัยการสูงสุดจะดำเนินการอย่างไร
ตอบ ตราเป็น พ.ร.บ.

199. ส่วนราชการใดในสำนักนายกรัฐมนตรี ที่มีฐานะเป็นกรม
ตอบ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี,สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี,สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

200. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสังกัดหน่วยงานใด
ตอบ สังกัดนายกรัฐมนตรี



201. ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตอบ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี,รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี,ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

202. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นข้าราชการประเภทใด
ตอบ ข้าราชการพลเรือนสามัญ

203. ในราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยเฉพาะงานราชการนั้นจะเป็นของส่วนราชการใด
ตอบ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

204. ผู้ดำรงตำแหน่งใด มีหน้าที่กำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ตอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

205. ผู้ดำรงตำแหน่งใดมีหน้าที่กำหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
ตอบ ปลัดกระทรวง

206. การจัดระเบียบราชการในทบวง ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวงจะจัดระเบียบอย่างไร
ตอบ จัดเหมือนกับราชการของกระทรวง

207. ในกรณีการจัดตั้งทบวงที่สังกัด กระทรวงหากปริมาณและคุณภาพของราชการในทบวงนั้นยังไม่สามารถจัดตั้งสำนักงานปลัดทบวงจะให้หน่วยงานใดทำหน้าที่สำนักงานปลัดทบวง
ตอบ สำนักงานปลัดกระทรวง

208. กรมแบ่งส่วนราชการออกเป็น
ตอบ สำนักงานเลขานุการกรม และกอง

209. ส่วนราชการใดสามารถแบ่งส่วนราชการให้เหมาะสมกับราชการนั้น ๆ
ตอบ กรมตำรวจ,สำนักงานอัยการสูงสุด

210. ผู้ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง คือ
ตอบ อธิบดี

211. หน่วยงานใดที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกรม
ตอบ สำนักงานเลขานุการกรม

212. กรมใดจะแบ่งส่วนราชการออกเป็นเขต จะต้องตราเป็น
ตอบ พ.ร.ฎ.

213. ผู้ดำรงตำแหน่งใดมีอำนาจหน้าที่ตรวจและแนะนำการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีหรือคำสั่งของนายกรัฐมนตรี
ตอบ ผู้ตรวจราชการกระทรวง,ผู้ตรวจราชการทบวง,ผู้ตรวจราชการกรม

214. “การปฏิบัติราชการแทน” หมายถึง
ตอบ การมอบอำนาจให้ผู้อื่น ปฏิบัติราชการ โดยที่ผู้มอบอำนาจยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

215. “การรักษาราชการแทน” หมายถึง
ตอบ การมอบอำนาจให้ผู้อื่น ปฏิบัติราชการ โดยที่ผู้มอบอำนาจไม่สามารถปฏิบัติราชการได้

216. การมอบอำนาจในกรณีใดต้องทำเป็นหนังสือ
ตอบ อธิบดีมอบอำนาจให้หัวหน้ากองปฏิบัติราชการแทน




 

Create Date : 21 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 21 กรกฎาคม 2551 23:03:23 น.
Counter : 4750 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

tingnoy
Location :
มหาสารคาม Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




สวัสดีคะผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อคแห่งสาระดีๆ และความรู้หลากหลายแห่งนี้คะ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวม และผู้ที่เตรียมตัวในการสอบที่มีเวลาน้อยสามารถนำแนวข้อสอบเหล่านี้ไปใช้ประกอบในการสอบได้นะคะ รวมทั้งเจ้าของบล็อคเอง ก็กำลังพยายามสู้ๆ กับการสอบคะ เป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะคะสอบได้กันทุกคนคะ*-*
ปล.จะพยายามอัพข้อมูลลงเรื่อยๆนะคะ ติดตามเข้ามาชมได้ตลอดคะ..........
สำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมบล็อคกันแล้วขอแค่คำขอบคุณนะคะผู้ทำจะได้มีกำลังใจหาเนื้อหามาลงให้ค่ะ
Wellcome to my blog
Friends' blogs
[Add tingnoy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.