ข่าวด่วน บทกวี เรื่องจากใจ tiki_ทิกิ ที่นี่ค่ะ บันทึก ummm My Novel too.(In Thai).
 
บท ๒๙ ---

นิยาย ๐ ที่ดินผืนนั้น ๐ บทที่ผ่านมา (ภาคหนึ่ง บทที่ ๑-๘ )
//topicstock.pantip.com/writer/topicstock/2008/03/W6423525/W6423525.html
ที่บล็อกแกงก์
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=tiki&date=16-03-2008&group=7&gblog=1

" " ที่ดินผืนนั้น " " - ภาค หก
บทที่ ๒๘ (ตอนที่แล้ว)//www.pantip.com/cafe/writer/topic/W6604614/W6604614.html
บทที่ ๓๐ (ตอนต่อไป ) //www.bloggang.com/mainblog.php?id=tiki&month=17-05-2008&group=7&gblog=25
@@@@@ ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~ @@@@@@

บทที่ ๒๙
หาทางรอด
ก่อนจะ..อุตส่าห์หากรรม







Create Date : 16 พฤษภาคม 2551
Last Update : 25 กรกฎาคม 2551 19:06:41 น. 12 comments
Counter : 518 Pageviews.  
 
 
 
 
%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

" " ที่ดินผืนนั้น " " - ภาค หก

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%
@@@@@ ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~ @@@@@@

บทที่ ๒๙
หาทางรอด
ก่อนจะอุตส่าห์หากรรม

พูดถึงเรื่องไดเร็คมาร์เก็ตติ้งแล้ว ข้าพเจ้าข้ามขั้นตอนชีวิตไปหนึ่งตอน
สำคัญ คือการได้เข้าไปทำงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการโฆษณา
อีกครั้งในระยะไม่เกินหกเดือน ที่ ถนนสาธร เป็นการทำงานก่อนหน้าที่จะจัดตั้ง
ห้าง ห้าสิบสามไดเรคต์นี้ขึ้น ขอเชิญติดตามได้


หาทางรอด...
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
ช่วงที่ย้ายเข้าบ้าน ห้าสิบสาม ใหม่ ใหม่ ข้าพเจ้าซึ่งติดอยู่
กับการเป็นพนักงานประจำบริษัทโฆษณาฝรั่งมา เป็นสิบปีแล้ว ยังไม่รู้
จะทำอะไร จึงโทรศัพท์ไปหาอดีตเจ้านายใหญ่ที่บริษัทโฆษณายักษ์
ใหญ่ที่เคยทำงานด้วยที่เพลินจิตอีกครั้ง

แต่ครั้งนั้น บริษัทฯ ได้ ย้ายไปอยู่ ณ ชั้น ๕ และ ชั้น ๖
ของตึกใหญ่ริมถนนสาธร แล้ว

เหมือนเดิมไม่มีผิด นายยังรักข้าพเจ้าเหมือนเดิม พอ
ได้ยินเสียงว่าอยากทำงาน นายก็ถามว่าทำอะไรอยู่ ข้าพเจ้าก็ตอบ
ซื่อ ๆ ด้วยอ่อนใจเสียเต็มประดาว่า ออกจากบริษัทฯ เก่ามา ได้เข้า
ไปทำงานเล็กน้อยกับเจ้านายฝ่ายครีเอทีฟว์ สักสองสามเดือนที่
บริษัทฯ เก่านายที่ซอยอารี พหลโยธิน แต่ตอนนี้ คิดหางานใหม่ทำ
ละนาย
ขณะนั้น นายใหญ่ มีตำแหน่งหน้าที่เป็น ผู้บริหารระดับ
ภาคพื้นแปซิฟิคไปแล้ว นายสั่งเจ้าหน้าที่ที่บริษัทฯให้ติดต่อข้าพเจ้า
เพื่อบรรจุเข้าแผนกใหม่ ให้ข้าพเจ้าไปดูแลว่าจะทำอะไรที่แผนก
นั้นได้ และก็ให้เงินเดือนเท่าเดิมที่ข้าพเจ้าได้รับจากบริษัทฯที่ถนน
คอนแวนต์ครั้งสุดท้าย

โห ข้าพเจ้าหายใจคล่องขึ้นอีกนิด

คนไทยส่วนใหญ่ในสมัยนั้น คงรับไม่ได้กับความ
เปลี่ยนแปลงผันผวนอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าลมไต้ฝุ่นสลาตันของการ
ดำเนินชีวิตของข้าพเจ้า เพราะในเวลาต่อมา แต่ละวัน ข้าพเจ้า
ก็ต้องนั่งรถกระบะสองตอนของเราไป ส่งนิค ที่บริษัทฯที่ทำงาน
เขาแล้ว ข้าพเจ้าก็ขับต่อไปที่ทำงานของเราที่ถนนสาธร ต่อไป
บางครั้งข้าพเจ้าก็ต่อรถรับจ้างไปเอง ทิ้งรถให้เขาไว้ และ ตอนเย็น
ก็ให้เขาแวะไปรับข้าพเจ้ากลับบ้านด้วยกัน

มีบางครั้งที่เขาพาลูก ๆ ไปรับข้าพเจ้าที่ทำงานด้วย
เหมือนกัน เด็ก ๆ ตื่นเต้นกับที่ทำงานแม่บนตึกสูง มีลิฟท์พูดได้
"ซิกท์ ฝล่อร์ " "เฟิร์สท์ ฝล่อร์" ถึงแม้ว่าพวกเขาคุ้นชินกับถนน
สาธร เพราะไปว่ายน้ำกันที่ YMCA กันบ่อย ๆ แต่นับเป็นครั้งแรก
ที่เขาได้ขึ้นลิฟท์พูดภาษาอังกฤษได้ ซึ่งในวาระนั้น ดูเหมือนจะ
มีแค่ตึกสองตึกที่ใช้บริการลิฟท์พูดได้ ไม่ได้มีเกลื่อนไปหมดเหมือนสมัยนี้

(ยังมีต่อ )
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
: tiki_ทิกิ - [ 16 พ.ค. 51 10:50:29 ]

 
 

โดย: tiki_ทิกิ วันที่: 16 พฤษภาคม 2551 เวลา:16:51:12 น.  

 
 
 
หาทางรอด
ก่อนจะอุตส่าห์หากรรม (ต่อ ๑ )

ข้าพเจ้าได้ทำงานที่ใหม่นี้ไม่กี่เดือนก็รู้ตัวเองว่า
คงไปไม่รอดกับงานใหม่ที่ต้องเกี่ยวพันกับหลายแผนก อย่างที่
ต้องทำ บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งนี้ ขณะนั้น มีการเปลี่ยนมือผู้ถือ
หุ้นต่างประเทศเช่นกัน ผู้ถือหุ้นรายใหม่ ยิ่งใหญ่ในวงการธุรกิจ
ข้ามชาติทั้งแถบ ยุโรป อเมริกา และเอเชีย- แปซิฟิค ความคาด
หวังให้พนักงานต้องเป็นระดับท็อป เพราะบริษัทฯ นั้นใหญ่อันดับ
หนึ่งในสามของโลกในขณะนั้น ความคาดหวังนั้น จึงมุ่งตรงมา
ยังแผนกใหม่ที่ควรจะทำเงินให้บริษัทฯ นั้นด้วย และนั่นคือ แผนก
ไดเร็คท์มาร์เก็ตติ้งที่ข้าพเจ้าเข้าไป ดูแล วางแผนและ ทำงานใน
ฐานะ ครีเอทีฟว์ค้อปี้ไร้ทเตอร์ในสายตาของ ฝ่ายติดต่อประสาน
งานแผนกด้วย

นอกจากหน้าที่จะต้องทำงานคิด และ เขียนชิ้นงานโฆษณา
ประชาสัมพันธ์ด้าน สื่อใบปลิวสิ่งพิมพ์ และ บางครั้งแผนกจ่าย
งานครีเอทีฟว์ ซึ่งยังถือว่าข้าพเจ้าเป็นพนักงานฝ่ายสร้างสรรค์นั้น
ก็ยังนำงาน แคมเปญโฆษณามาให้ข้าพเจ้าทำด้วยเช่นกัน

ข้าพเจ้าดูการทำงานของฝ่ายศิลป์แผนกทั้งหมด
แล้วก็ปรึกษากับระดับสูงของบริษัท ฯ ว่า ในเวลานั้น การออกแบบ
ทางเครื่องสมองกลคอมพิวเตอร์กำลังขยายตัว โดยเฉพาะการใช้
โปรแกรมทางด้าน ดาต้าเบสซึ่งมาใช้ในเครื่องพีซีก็กำลังเป็น
ผลังผลักดันสำคัญของวงการโฆษณา อินเตอร์เน็ต ยังมีอยู่เฉพาะ
ในวงการศึกษา ยังไม่ได้ขยายตัวออกมาทางธุรกิจสักเท่าใด หลาย
บริษัท ยังคงใช้เครื่องเทเล็กซ์ กันอยู่ ยังไม่ได้เปลี่ยน และ ที่บริษัทฯ
นั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ของเขาก็ยังเป็น เมนเฟรมอยู่ ซึ่งข้าพเจ้าก็
รู้ภาษาเครื่องเหล่านั้นเพียงน้อยนิด แต่เข้าไปใช้บ้างบางครั้งถ้า
เจ้าหน้าที่คุมเครื่อง ซึ่งทำท่าว่า เก่งที่สุดในโลกนั้น วางมือให้
ข้าพเจ้าเข้าไปตั้งโปรแกรมทำงานบางอย่างได้

ข้าพเจ้าจึงไปซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้วมาหนึ่ง
เครื่อง เพื่อจะได้ ถือไปถือมา ทำงานในเครื่องนั้นบ้าง กลับไป
พิมพ์กับเครื่องพิมพ์แบบ เอ๊ปสันแอลเอ็กซ์ที่บ้านบ้าง และ ก็
เตรียมแผนงานให้แผนก เพื่อ จะผลักดันให้ ฝ่ายศิลป์ ได้ใช้
เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ ในการทำงานเช่นนั้นก็
ถูกเหล่าฝ่ายศิลป์ ประท้วงกับข้าพเจ้าหลายครั้ง บางท่านก็มา
เกาะโต๊ะข้าพเจ้า พูดอย่างตรงไปตรงมาประมาณว่า

" ผมใช้เงินเรียนวิชา สร้างตัวอักษร Typography มาจาก
เมืองนอกเมืองนา เล่าเรียนวิชาการทำอาร์ตเวิร์ก ด้วยมือมาตลอด
จู่ ๆ คุณจะมาบังคับให้ฝ่ายศิลป์เราใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ออกแบบ
มันเป็นไปไม่ได้ "

(ยังมีต่อ )
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

: tiki_ทิกิ - [ 16 พ.ค. 51 11:32:55 ]

 
 

โดย: tiki_ทิกิ วันที่: 16 พฤษภาคม 2551 เวลา:16:56:11 น.  

 
 
 
บทที่ ๒๙
หาทางรอด
ก่อนจะอุตส่าห์หากรรม (ต่อ ๒ )

คำพูดทำนองนี้ คนที่บ้านข้าพเจ้าก็พูดกับข้าพเจ้ามาตั้งแต่เริ่มจับ
คอมพ์ใหม่ ๆ เขาโบกมือลากับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีไวเพียงแค่ "หาความรู้จาก
ภาพ" เท่านั้น แต่ที่จะใช้การสร้างภาพอย่างเด็กรุ่นใหม่ซึ่งใช้ โปรแกรม
ออโตแคด ทรีดีดรออิ้ง หรืออื่น ๆ กันอย่างครึกโครมในช่วงนั้น เขาก็บอก
ว่า เขาแก่เกินจะเรียน ถึงเรียนไปก็รู้ งู ๆ ปลา ๆ ไม่สามารถทำอะไรอย่าง
ชำนาญกับเครื่องได้

ในที่สุด ฝ่ายครีเอทีฟว์ ก็ว่าจ้าง พนักงานฝ่ายศิลป์ซึ่งเรียนจบ
วิชาออกแบบคอมพิวเตอร์จากอเมริกามาได้คนสองคนสองคนนี้ วัน ๆ ก็ นั่ง
หน้าเครื่องPersonal Computer หรือ PC ทำการออกแบบเลย์เอาท์ ลาย
เส้น สร้างสีสันมา ทำให้ฝ่ายศิลป์เก่า ๆ ที่ยังทำงาน พ่นสีแอร์บลัช ก็ดี
ฝ่ายศิลป์ซึ่งเคยชินกับการสั่งตัวเรียงจาก คอมพิวต์อาร์ตมานั่งตัดแปะกันที่ละ
บล็อกก็ดี รู้สึกว่า การงานของตนกำลังสั่นสะเทือน ดูเหมือนการวิพากย์
วิจารณ์กรณี จะ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ออกแบบ เป็นสิ่งสะเทือนขวัญ
พนักงานฝ่ายศิลป์กันไปทั้งหมด

ในเวลานั้น ข้าพเจ้าคิดว่า ตัวเอง " ล้ำหน้า" เกินกว่าที่จะนั่งรับมือ
กับฝ่ายศิลป์ทั้งหมดได้ แต่ก็ได้หาข้อมูลเพื่อการซื้อเครื่องพีซีให้บริษัทฯ
ไว้ทั้งหมดแล้ว ได้ทำแผนงานให้ฝ่ายศิลป์ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการ
ออกแบบ ไว้กว่าสิบเครื่องซึ่งในสมัยก่อนนั้น แต่ละเครื่องชั้นยอด ๆ ทั้ง
แบบ 16 บิท แบบไอบีเอ็ม และ 32 บิทของแม็คกินท้อช นั้น ราคาสูงเกิน
แสนทั้งนั้น

ข้าพเจ้าได้วางแผนไว้ให้นายใหญ่ ทั้งหมด นำเสนอแผนงานเพื่อ
การส่งฝ่ายศิลป์ไปฝึกงานใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบและ ทาง
แผนกเองก็มี การส่งเสริมภาษาอังกฤษให้ พนักงานที่เคยอยู่กันมานานซึ่ง
พูดเขียนอ่านภาษาอังกฤษไม่ค่อยเก่งกันและ สื่อสารกับพวกฝรั่งหลายชาติ
ไม่ค่อยได้ ให้ก้าวหน้าขึ้น

เมื่อใกล้หกเดือนข้าพเจ้าพิจารณาตัวเองว่า งานที่กำลังทำอยู่นั้น
ต้องตีรันฟันแทงกับหลายแผนกมากกว่าที่จะไปเสริมสร้างสามัคคี ดังที่
ตัวเองคิดไว้แต่ต้น พิจารณาแล้วว่า ข้าพเจ้าคงไม่อาจเป็น The Best
Creative Direct Marketer สำหรับบริษัทฯยักษ์ใหญ่ของประเทศแห่งนั้นได้
อย่างที่เจ้านายใหญ่ต้องการเป็นแน่ ก็ทำการเขียนจดหมายลาออกมาโดยให้
เหตุผลว่า คงไม่สามารถทำหน้าที่นั้นได้ นายไม่สามารถต้านทานได้เพราะ
ที่บริษัทฝรั่งนั้น เขาดูความสามารถการทำงานเป็นหลัก อีกทั้งฝ่ายศิลป์เข้า
ไปบ่นกันหนาหูให้กับ ผู้จัดการใหญ่ของบริษัทฯ เรื่องข้าพเจ้าก่าวก่ายยุ่ง
เกี่ยวแผนกศิลป์มากไปแล้ว โดยคำกล่าวหาบางอย่างก็ทำนองว่า ข้าพเจ้า
ไม่ใช่ ครีเอทีฟว์ไดเร็คเตอร์- ซึ่งโดยตำแหน่งหัวหน้าแผนก ไดเร็คท์มาร์เก็ต
ติ้ง นั้นถึงจะเทียบเท่า ครีเอทีฟว์ไดเร็คเตอร์แล้ว แต่ถือว่า โดยสายงาน
ข้าพเจ้ายังต้องขึ้นอยู่กับครีเอทีฟว์ไดเร็คเตอร์ และ พวกหัวหน้ากลุ่มสร้าง
สรรค์งานทั้งหลายนั้น เขาเป็นฝ่ายศิลป์ เป็นส่วนใหญ่ ที่จะมาจากทางสาย
ค้อปี้ไรท์เตอร์ หรือผู้ชำนาญการเขียนถ้อยคำความโฆษณาอย่างข้าพเจ้า
นั้น ก็มีน้อย

เมื่อ รู้ตัวว่า ไม่ใช่ยุคการทำงานของเราแล้ว ข้าพเจ้ายื่น
ใบลาออกในระยะไม่ถึงหกเดือน ทั้ง ๆ ที่ เงินเดือนสูงพอสมควรอย่างนั้น
เพื่อไม่ให้ฝ่ายบริหารบริษัทฯ มีปัญหากับการเปลี่ยนแปลง..ซึ่งถึงอย่างไร ก็
ต้องเปลี่ยนแปลง

(ยังมีต่อ )
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
: tiki_ทิกิ - [ 16 พ.ค. 51 15:01:35 ]
 
 

โดย: tiki_ทิกิ วันที่: 16 พฤษภาคม 2551 เวลา:16:57:57 น.  

 
 
 
หาทางรอด
ก่อนจะอุตส่าห์หากรรม (ต่อ ๓ )


เมื่อออกมาแล้ว ภายหลังได้พบฝ่ายศิลป์หลายคนที่ร่วมหตุ
การณ์นั้นอยู่ เขามาขอบคุณว่า ข้าพเจ้าได้ "บุกเบิก" ความก้าวหน้าให้
แผนกจริงๆ เพราะบริษัทฯ ได้อนุมัติซื้อเครื่องพีซีดังที่ข้าพเจ้าได้เสนอ
ไว้ และ ปรับเปลี่ยนตำแหน่งการทำงานของฝ่ายศิลป์ที่เคยแต่ใช้มือนั่ง
ออกแบบวาดกันยิก ๆ สมัยนั้น ให้เขยิบขึ้นร่ำเรียนวิชาการออกแบบสิ่ง
พิมพ์ ฯลฯ ทางคอมพิวเตอร์กัน แต่หลายคน แบบที่มีอัตตาสูง และ ไม่
ยอมรับเครื่องกลสมัยใหม่ก็ลาออกกันไปเยอะ เขาคิดว่า มือเขาทำงาน
ออกแบบได้ดีกว่าเครื่อง(หนึ่งในความคิดอย่างนั้น ก็คือนิคกี้ คนที่บ้าน
ข้าพเจ้าเองด้วย )

แล้วการทำงานกับบริษัทโฆษณายักษ์ใหญ่ริมถนนสาธร
ก็จบลง แต่ข้าพเจ้ายังได้ทำกับอีกสองสามบริษัทฯ ในภายหลัง
ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป

ช่วงนั้น ก็มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการใช้รถที่บ้านอีกเหตุการณ์
หนึ่ง คือ เวลาเช้าซึ่งเราต้องไปทำงาน ออกไปส่งลูกชายไปโรงเรียนที่ถนน
แจ้งวัฒนะแล้ว ก็เดินทางต่อไปเพื่อจะไปทางถนนวิภาวดีไปเข้าเมือง มีรถ
โดยสารคันใหญ่คันหนึ่ง วิ่งไล่ชนท้ายรถกระบะสองตอนของเราเข้าอย่างจัง
ที่ถนนแจ้งวัฒนะ ข้าพเจ้าและสามีคอเคล็ดไปหลายวัน ระหว่างนำรถไป
ซ่อมหลายวันกว่าจะเสร็จกลับมา ข้าพเจ้าก็ ขอผ่อนรถเก๋งเก่าสักคันจากนาย
ทุนเรื่องรถของเรา ซึ่งเขาก็หารถมือสองมาให้จนได้ ข้าพเจ้าถือว่าจะเป็นรถ
ใช้สำรองเวลาเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

บ้านเราจึงได้รถบีเอ็มดับบลิวมือสองมาคันหนึ่งเจ้าของเดิมเป็น
นายทหาร ใช้มานานจะเปลี่ยนรถใหม่กับเจ้าหนี้นายทุนของเราเช่นกัน เขาจึง
ยินดีให้ข้าพเจ้าผ่อนระยะยาวแค่เดือนละสองพันห้าร้อยบาทสัก หกสิบเดือน
ข้าพเจ้าก็รู้สึกยินดีอีกอย่างรถกระบะของเราก็ถูกชนท้าย ชนข้างยับเยินเกิน
กว่าที่จะอยากได้ไว้วิ่งต่อ จึงได้ ทำการขายทิ้งไป และลดค่าผ่อนรถจาก
เดือนละกว่าหกพันบาท ลงเหลือเพียงเดือนละ สองพันห้าร้อยบาทเท่านั้น

แต่การต้ดสินใจในวันนั้น ได้เปลี่ยนอาชีพข้าพเจ้าไปอีกอย่าง
หนึ่งอีกแล้ว คือมีหน้าที่ต้องไปนั่งเฝ้ารถที่กำลังซ่อมแล้วซ่อมอีกที่อู่ซ่อมรถ
ในแต่ละวันเป็นโน่นเป็นนี่ เดือนละสี่ห้าหนในเวลาต่อมา

จบบทที่ ๒๙

: tiki_ทิกิ - [ 16 พ.ค. 51 15:08:11 ]
 
 

โดย: tiki_ทิกิ วันที่: 16 พฤษภาคม 2551 เวลา:16:59:16 น.  

 
 
 
ขออภัยที่นำบท๒๙ มาต่อหลังจากบท ๒๘ นี้ เพราะแต่เดิมเขียนไว้ในเครื่อง
ว่าจะต่อไปหลังจากนี้อีกยาว
แต่ปรากฏว่า ภาพที่แว้บ ๆ มาให้เห็นบ่อย ๆ คือเวลาที่ แอ๊คเคานท์ไดเร็คเตอร์
บริษัทโฆษณาที่เราเคยไปทำงานด้วยกัน เขาเคยมาส่งหน้าบ้านดังกล่าว
บ้านหลังนั้นในความทรงจำ ยังเป็น ที่พื่นแฉะ ๆ ไม่ใช่ที่ยกพื่นสูง และ ยัง
จำถึงเวลาที่ แอ๊คเคาน์อีกท่านที่คุมฝ่าย รีเสิร์ช จะเห็นรถสามีพาลูกสองคน
ไปรับเราที่ ฮิลตันโฮเต็ล ตอนที่ไปร่วมประชุมสัมนาและ ข้าพเจ้านั่งฟัง
ดนตรีคลาสสิครอรถมารับ...รถกระบะคันนั้น เราได้ขายไปแล้วเมื่อทำ
ไปรษณีย์ ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงต้องปรับเปลี่ยนบทนี้มาแทรกแทน แต่จะแก้
ปรับให้อยู่ก่อนหน้า บทที่ ๒๘ ในตอนนี้ ย่อมเป็นการเอิกเกริกเกินไป
จึงขออภัยที่ต้องมาลงช่วงนี้ต่อ มิฉะนั้น จะผิดกาละเทศะไปอีกนานเกิน
จะแก้กลับได้

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่มาร่วมอ่านร่วมลุ้นกันนะคะ

: tiki_ทิกิ - [ 16 พ.ค. 51 15:13:24 ]
 
 

โดย: tiki_ทิกิ วันที่: 16 พฤษภาคม 2551 เวลา:17:03:07 น.  

 
 
 
พี่ทำงานโฆษณาหรอครับนี่
อ่านแล้วสนุกดีครับ
 
 

โดย: จิรัด (ji-boon ) วันที่: 16 พฤษภาคม 2551 เวลา:17:17:52 น.  

 
 
 
สวัสดีค่ะคุณ ทิกิ สงสัยต้องหาเวลา
ย้อนไปอ่านก่อนล่ะค่ะ
วันนี้ทักทายก่อนนะค่ะ
อิอิ
 
 

โดย: กชมนวรรณ วันที่: 16 พฤษภาคม 2551 เวลา:18:36:02 น.  

 
 
 
 
 

โดย: นายแจม วันที่: 16 พฤษภาคม 2551 เวลา:21:22:51 น.  

 
 
 
จิรัด (ji-boon ) วันที่: 16 พฤษภาคม 2551 เวลา:17:17:52 น.

ขอบคุณที่แวะมาอ่านนะคะ แวะไปดูบล็อกมาแล้วค่ะ
 
 

โดย: tiki_ทิกิ unlogged in IP: 125.25.20.143 วันที่: 17 พฤษภาคม 2551 เวลา:2:31:56 น.  

 
 
 
โดย: กชมนวรรณ วันที่: 16 พฤษภาคม 2551 เวลา:18:36:02 น.

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะคะ
ไปดูบล็อกคุณมาแล้วเช่นกันค่ะ
 
 

โดย: tiki_ทิกิ unlogged in IP: 125.25.20.143 วันที่: 17 พฤษภาคม 2551 เวลา:2:33:22 น.  

 
 
 
ดีจ้า

แวะมาเยือนตอนค่ำๆจ้า
 
 

โดย: asita วันที่: 17 พฤษภาคม 2551 เวลา:3:25:37 น.  

 
 
 
ขอบคุณ คุณ asita ค่ะ วันนี้เข้ามาแก้ไข link พอดีค่ะ
 
 

โดย: tiki_ทิกิ วันที่: 11 มิถุนายน 2551 เวลา:1:19:58 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

tiki_ทิกิ
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สงวนลิขสิทธิ์งานเขียนในบล็อกนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามคัดลอก ดัดแปลง หรือนำไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษร
H e L L o
free counters
[Add tiki_ทิกิ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com