++ Positive Speaking ++
Game Theory ทฤษฎีเกม กะจุดสมดุลของลุงแนช ภาค1 - สวรรค์ไม่มีตา(ชั่ง)นะยะ..


Game Theory ทฤษฎีเกม กะจุดสมดุลของลุงแนช ภาค1 - สวรรค์ไม่มีตา(ชั่ง)นะยะ..


ว่าจะเริ่มเรื่องนี้มาตั้งแต่คุณหนูแหม่มยังไม่รู้ตัวว่าท้อง (แปลตามประสาดาราว่าเมื่อวานอ่ะครับ..แฮ่ม
มาเริ่มเอาวันนี้หลังจากกระแสแกรมมี่ฮุบมติชนจบไป

ขาใหญ่ในพันทิปบางคนก็พยายามปั่นกระแสว่าเป็นการฮั้วกันปั่นหุ้น..
เป็นความรู้เห็นเป็นใจของคุณขรรค์ชัย..

แต่ขอโต้ดดดด... ตามทฤษฎีเกมแล้ว...
มันเป็นไปบ่ได้ขอร้าบบ.......

แต่ถ้าคุณๆผู้(หลงเข้ามา)อ่านคิดว่ากระผมจะพูดเรื่องนี้..
ต้องขอโต้ดดด... รอบสอง..
บล็อกนี้ ไม่มีการเมือง เรื่องขยะ น่าขย้อนนะขอร้าบบ...

--------------------------

ผมเพิ่งเริ่มสนใจเรื่องทฤษฎีเกมมาเมื่อไม่นานนี้ (น้อยกว่าอายุครรภ์คุณแหม่มเสียอีก)
ต้องขอขอบคุณคุณ

นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

และหนังสือ

เอาตัวรอดด้วยทฤษฎีเกม



ทฤษฎีเกม Game Theory

ที่เขียนเรื่องยากอย่างทฤษฎีเกม ให้คนโง่ๆอย่างผมเข้าใจได้ง่าย
เล่มนี้เป็นประโยชน์มากครับ ช่วยอุดหนุนกันหน่อย
อันไหนดีก็ช่วยกันบอกต่อ..ช่วยกันเชียร์..
ถือว่าเป็นการตอบแทนคุณความดีของหนังสือนะครับ..
(เนื้อที่โฆษณา..ฮ่า)

--------------------------

ก็ไม่ถึงกะเสาะแสวงหา แต่หากผมไปเจอะเรื่องนี้ที่ไหน เป็นต้องอ่านทุกครั้งไป
และก็มาเจอเรื่องนี้ในหลักสูตร xMBA ของ

ดร. เรวัต ตันตยานนท์


(จำมหาลัยบ่ได้ - ขอโต้ดก๊าบบ .. แฮ่)

มีตัวอย่างทฤษฎีเกม และ Nash Equilibrium อันนึงน่าสนใจดี .. เลยเอามาฝากกัน ..
น่าสนใจตรงที่มันพิสูจน์ว่าคุณธรรม ความเสมอภาค ไม่มีจริงในพิภพแห่งนี้ . โอ้ววว ..


เค้าทำการทดลองดังนี้ครับ

จับหนูตัวใหญ่อุ้ยอ้าย กะหนูตัวเล็กที่คล่องแคล่วมาอยู่ด้วยกัน
มีคานกระเดื่องห่างออกไป
และเมื่อมีการกดคานแล้ว จะมีอาหาร 6เม็ด ตกลงมาในจุดที่หนูทั้งสองยืนอยู่ตอนต้น

- หากหนูทั้งสองออกวิ่งไปที่คานกระเดื่องพร้อมกัน
หนูตัวเล็กจะวิ่งซึ่งคล่องแคล่วกว่าจะกลับมาถึงก่อน
และกินอาหารที่ตกลงมาได้ 2เม็ด ก่อนที่หนูตัวใหญ่จะมาถึง และกินอาหาร 4เม็ดที่เหลือ
- หากหนูตัวใหญ่วิ่งไปที่คานกระเดื่อง
หนูตัวเล็กจะกินอาหารที่ตกลงมาได้ 5เม็ด ก่อนที่หนูตัวใหญ่จะวิ่งกลับมาถึง และกินอาหาร 1เม็ดที่เหลือ
- หากหนูตัวเล็กวิ่งไปที่คานกระเดื่อง หนูตัวใหญ่จะกินอาหารที่ตกลงมาคนเดียวทั้ง 6เม็ด
- หากไม่มีใครวิ่งไปที่คานกระเดื่อง .. ก็จะอดแดร็กทั้งคู่ (แหงอ่ะดิ)

ทีนี้การวิ่งไปวิ่งมา จะใช้แกสโซฮอลอ่ะป่าว .. มันก็ต้องมีค่าน้ำมัน ..
สมมติตีราคาต้นทุนค่าวิ่ง ได้เป็นอาหารครึ่งเม็ด

ถ้าคุณๆเป็นไอ้ตัวใหญ่
แรกๆคงสับสนละครับว่าจะเอางัยดี

ไอ้หนูตัวใหญ่มันคิดงี้ครับ

สมมติว่าไอ้ตัวเล็กกด
- ถ้าตรูกดด้วย จะได้กิน 3.5เม็ด, ถ้าไม่กด จะได้ 6เม็ด >> โอ้วว..ตรูไม่กดดีก่า
สมมติไอ้ตัวเล็กไม่กด
- ถ้าตรูกด จะได้ 0.5เม็ด, ถ้าไม่กด จะอดแดร็ก >> ถ้าเป็นงี้ไปกดก็ได้ฟร่ะ

มาดูฝั่งไอ้ตัวเล็กกันบ้าง..

สมมติหนูตัวใหญ่กด
- ถ้าไอ้ตัวเล็กกด จะได้ 1.5เม็ด, ถ้าไม่กด จะได้ 5เม็ด >> เพราะงั้นไม่กดดีก่าาา..
สมมติหนูตัวใหญ่ไม่กด
- ถ้าไอ้ตัวเล็กกด จะได้ -0.5เม็ด, ถ้าไม่กด จะได้ 0เม็ด >> เพราะงั้นไม่กดดีก่าเช่นกัน..

สรุปไอ้ตัวเล็กอ่านเกมแล้ว ไม่ว่าไอ้ตัวใหญ่กดไม่กด มันก็ต้องไม่กดจึงได้ประโยชน์ที่สุด ..
ไม่ต้องพึ่งหมอเดาหลอกเด็กที่ไหนก็ฟันธงโช้ะได้เลย ..

แต่ช่วยไม่ได้ที่มันเกิดเป็นหนูโง่ๆ ไม่รู้จักทฤษฎีเกม ..
มันก็เลยไม่สามารถทำตารางวิเคราะห์ได้
แรกๆทั้งสองมันก็กดมั่งไม่กดมั่งอ่ะครับ .. งมๆดุ่ยๆกันไป ..

จนเมื่อไอ้ตัวเล็กมันเรียนรู้ได้เองว่า .. ไม่ว่าไอ้ตัวใหญ่จะกดอ้ะป่าว ..
มันอยู่เฉยๆจะได้ประโยชน์มากก่าวิ่งไปกดด้วยเสมอ ..
เพราะงั้นงัยซะไอ้ตัวเล็กจะอยู่เฉยๆทุกครั้งไป .. อยู่เฉ้ยเฉ้ยสบายก่าาา ..
(ตรงนี้ภาษาวิชาการเรียกว่าเป็น กลยุทธ์เด่น ของเจ้าหนูตัวเล็กครับ - วิชาการก็มีนะ ฮ่าๆ)

ทีนี้เมื่อยังงัยซะ ถ้าโลกไม่แตกไอ้ตัวเล็กก็ไม่กด..
ไอ้ตัวใหญ่มันก็เหลือทางเลือกเดียวคือเป็นคนกดซะเอง.. ได้ครึ่งเม็ดก็ยังดีก่าอดตายละฟร่ะ
(ตรงนี้แหละ เค้าเรียกว่า Nash Equilibrium - จุดสมดุลของลุงแนช คือทั้งสองฝ่ายพอใจนั่นเอง ..
แม้บางคนเช่นไอ้ตัวใหญ่จะต้องจำใจพอใจก็เหอะ ฮ่า)

ในตำราทั่นอ้างด้วยนะครับว่าจากการทดลองกะหนูจริงๆ
หลังการกดเพียงไม่กี่ครั้ง.. ไอ้หนูตัวใหญ่ก็จะเป็นคนวิ่งไปกดอาหาร
ให้ไอ้ตัวเล็กที่นอนรอสบายใจเฉิบเสียทุกทีไป


ใครจะไปรู้ล่ะว่า ในโลกนี้จะมีเสือ(หนู)นอนกิน..
ใครจะไปรู้ละว่า ในโลกนี้จะมีคนที่ต้องทำงานงกๆๆเพื่อให้คนอื่นชุบมือเปิบด้วยความจำยอม
ใครจะไปรู้ละว่า สวรรค์ไม่มีตา(ชั่ง) ไม่มีความยุติธรรมในโลกนี้จริงๆ

โอ้ววว..จ๊อดดดดด...!!!
(c)2007 positive speaking : Game Theory ทฤษฎีเกม กะจุดสมดุลของลุงแนช ภาค1 - สวรรค์ไม่มีตา(ชั่ง)นะยะ by หมีเซอะ



Create Date : 19 กันยายน 2548
Last Update : 16 กันยายน 2550 0:45:59 น. 23 comments
Counter : 3462 Pageviews.

 
อะ อย่างน้อยก็ได้เรียนรู้ว่า สัตว์มันไม่คิดมากไงคับ พอไม่คิดมากหรือไม่มีปัญญาคิด ยุติธรรมหรือไม่ก็ไม่มีความหมาย สบายใจและจำยอมกับสภาพที่มันรับรู้ได้ ก็แค่นั้น

ถ้าหนูสองตัวนั่นคุยกันได้แบบคน คงต้องตกลงผลัดกันไปกด แล้วพอตัวไหนกดช้า กดน้อย เบี้ยวนิดเบี้ยวหน่อย อีกตัวก็โกรธ ทะเลาะตบตีกันด้วยเหตุอันไม่ใช่เหตุโดยธรรมชาติ ดีไม่ดีฆ่ากันตายเพราะเหตุผลทางด้านนามธรรม ศักดิ์ศรี ความเสมอภาค ความยุติธรรม ฯลฯ

เครียดเนอะ


โดย: ไทแรนฯ IP: 61.91.64.158 วันที่: 19 กันยายน 2548 เวลา:22:13:34 น.  

 
ทฤษฎีเกมส์ ใช้หลักคณิตศาสตร์นี่นา


โดย: รสา รสา วันที่: 19 กันยายน 2548 เวลา:22:27:12 น.  

 
Game Theory เป็นหนึ่งในทฤษฎีของตลาดผู้แข่งขันน้อยราย (Oligopoly) โดยที่จะคำนึกถึงการแข่งขันโดยใช้กลยุทธ์ต่างๆ เมื่อเทียบกับคู่แข่ง แล้วจะเกิดผลอย่างไร

โดยที่ Nash Equilibrium จะเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมของทั้งคู่


จากบทเรียนจะมีการทดลองเกี่ยวกับการตัดสินใจของนักโทษด้วย โดยถือว่าเป็นเคสคลาสสิกเคสหนึ่ง


ปล. พอดีเพิ่งเรียนมาพอดี และนี่ก็ใกล้สอบแล้วด้วย เลยลองเขียนทบทวนความรู้เฉยๆ อ่ะครับ อย่าว่ากานน้า


โดย: โอตโจะ (โอตโจะ ) วันที่: 27 กันยายน 2548 เวลา:1:17:26 น.  

 
มีเพื่อนส่งลิงค์มาให้ดูค่ะ

พอดีเป็นเรื่องที่สนใจอยู่

เลยแวะมาอ่านซักหน่อย

ไว้มีแนวคิด ไอเดียอะไรใหม่ๆ

แล้วอย่าลืมมาแปะนะ


โดย: GATACA IP: 58.10.13.90 วันที่: 20 มีนาคม 2549 เวลา:20:27:59 น.  

 
คิดถึงเรื่อง free rider ขึ้นมาอีกอย่างนึง

เอ หนูตัวเล็กเป็นแบบนั้นด้วยไหมหนอ?


โดย: หมาเลี้ยงแกะ วันที่: 28 พฤษภาคม 2549 เวลา:14:23:01 น.  

 


โดย: เรเด่ารักดด IP: 202.57.152.94 วันที่: 10 กันยายน 2549 เวลา:11:16:33 น.  

 


โดย: ฟิแกดเร่าสทืนยๆพหะอไปผม IP: 202.57.152.92 วันที่: 10 กันยายน 2549 เวลา:11:20:12 น.  

 


โดย: แด่ดสวเ IP: 202.57.152.92 วันที่: 10 กันยายน 2549 เวลา:11:20:48 น.  

 
ชอบมากเลยยกตัวอย่างเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม ว่าแต่ว่าก็สงสารพ่อลุงแนชนะอัจฉริยะ แต่ก็คิดว่าเค้ามีความสุขตามประสาเค้านะเพราะความสุขมิได้วัดกันบนพื้นฐานของคนใดคนเพียงคนเดียว สำหรับบางคนอรรถประโยชน์ของความสุขอาจจะแฝงไว้ด้วยความทุกข์ก็ได้เช่นกัน อยากให้ยกตัวอย่างเกมในปัจจุบันนี้จัง ยกให้ดูสักเกมหน่อยซิ วิเคราะห์ด้วยยิ่งดี จะได้ลอก อิอิ ไม่เอาเกมของคนหน้าเหลี่ยมกับคนหัวเกรียนนะ เพราะเอียนเต็มทนแล้ว จ้า.


โดย: นกเอี้ยง IP: 203.151.33.238 วันที่: 12 กันยายน 2549 เวลา:16:23:11 น.  

 
แหะแหะ .. สามคห.ข้างบนนั่นผู้ใด๋น่ะ


โดย: หมีเซอะ วันที่: 26 กันยายน 2549 เวลา:18:13:12 น.  

 
อ.เรวัต เค้าสอนอยู่ ม. กาเสด จ้ะ


โดย: Juu IP: 203.113.71.133 วันที่: 2 ตุลาคม 2549 เวลา:20:50:16 น.  

 
ขอบคุณคุณหมีเซอะมากครับที่ช่วย Review หนังสือให้ ขออนุญาตเอาลิงค์ไปยังเวบไซต์ของผมนะครับ (//www.dekisugi.net)


โดย: นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์ IP: 58.9.92.79 วันที่: 14 ตุลาคม 2549 เวลา:16:11:57 น.  

 
ว้าววว... สวัสดีครับคุณนรินทร์

ผมเขียนไปแบบคนไม่ได้เรียนมาทางนี้
เจ้่าของหนังสือมาเยี่ยมงี้ผมเขินแย่

มาทำลิ้งก์ให้ครับ Dekisugi.net

และอันนี้เป็นบล็อกคุณนรินทร์ 1001 Inspirational Ideas
ชวนเพื่อนๆไปเืที่ยวกัน
มีงานดีๆให้ติดตามอ่านฟรีๆได้อีกนะครับ

ไหนอ.วรากรณ์ ว่าของฟรีไม่มีในโลกงัย


โดย: หมีเซอะ วันที่: 29 ตุลาคม 2549 เวลา:9:14:53 น.  

 
มาเยี่ยม มาชมค่ะ
ชอบแมวมั่กๆ


โดย: ชาช่า IP: 61.47.115.121 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2549 เวลา:11:27:39 น.  

 
พอดีเข้า google ค้นหาคำว่า ทฤษฏีเกม ก็เลยต้องขอร่วมแจมด้วยครับ
คห.2 บอกว่าทฤษฎีเกมใช้หลักคณิตศาสตร์ถูกต้องแล้วครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานของ "ลุงแนช" เป็นคณิตศาสตร์ล้วนๆ แต่สามารถนำผลมาอธิบายพฤติกรรม(ของมนุษย์)ทางเศรษฐศาสตร์ได้ดี ก็เลยได้รางวัลโนเบลไปเลยยังงั้นแหละ คำอธิบายหรือตัวอย่างที่ยกขึ้นมาเป็นเรื่องราวภาษามนุษย์ก็เป็นผลมาจากตัวเลขทางคณิตศาสตร์ (คล้ายกับคำอธิบายวงโคจรของอิเล็คตรอนในอะตอม ซึ่งก็เป็นผลมาจากการคำนวณเช่นกัน)
คห.5 เรื่อง free rider นั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสินค้าสาธารณะ (Public Goods) ครับ เป็นพฤติกรรมของมนุณยที่เห็นว่าของสาธารณะเป็นของฟรี ใช้ให้พังไปก็ได้ แต่ว่าของฟรีไม่มีในโลกครับ ใครคนใดคนหนึ่งต้องเป็นคนเสีย ถ้าพังของสาธารณะ เช่น ป้ายจราจร ผู้จ่ายภาษีก็เป็นเจ้ามือ ถ้าพังตู้โทรศัพท์ เราท่านที่ต้องเสียเงินค่าโทรศัพท์ ก็ต้องเป็นผู้ชดใช้โดยไม่จำเป็นต้องออกนามครับ
คห 11 ที่ ม.เกษตร เป็นวิทยากรรับเชิญแค่นั้นเองครับ


โดย: เรวัต ตันตยานนท์ IP: 58.8.184.204 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2549 เวลา:23:10:12 น.  

 
พอดีเข้า google ค้นหาคำว่า ทฤษฏีเกม ก็เลยต้องขอร่วมแจมด้วยครับ
คห.2 บอกว่าทฤษฎีเกมใช้หลักคณิตศาสตร์ถูกต้องแล้วครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานของ "ลุงแนช" เป็นคณิตศาสตร์ล้วนๆ แต่สามารถนำผลมาอธิบายพฤติกรรม(ของมนุษย์)ทางเศรษฐศาสตร์ได้ดี ก็เลยได้รางวัลโนเบลไปเลยยังงั้นแหละ คำอธิบายหรือตัวอย่างที่ยกขึ้นมาเป็นเรื่องราวภาษามนุษย์ก็เป็นผลมาจากตัวเลขทางคณิตศาสตร์ (คล้ายกับคำอธิบายวงโคจรของอิเล็คตรอนในอะตอม ซึ่งก็เป็นผลมาจากการคำนวณเช่นกัน)
คห.5 เรื่อง free rider นั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสินค้าสาธารณะ (Public Goods) ครับ เป็นพฤติกรรมของมนุณยที่เห็นว่าของสาธารณะเป็นของฟรี ใช้ให้พังไปก็ได้ แต่ว่าของฟรีไม่มีในโลกครับ ใครคนใดคนหนึ่งต้องเป็นคนเสีย ถ้าพังของสาธารณะ เช่น ป้ายจราจร ผู้จ่ายภาษีก็เป็นเจ้ามือ ถ้าพังตู้โทรศัพท์ เราท่านที่ต้องเสียเงินค่าโทรศัพท์ ก็ต้องเป็นผู้ชดใช้โดยไม่จำเป็นต้องออกนามครับ
คห 11 ที่ ม.เกษตร เป็นวิทยากรรับเชิญแค่นั้นเองครับ


โดย: เรวัต ตันตยานนท์ IP: 58.8.184.204 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2549 เวลา:23:11:09 น.  

 
ขอบคุณดร.เรวัตครับ ที่เข้ามาให้ความรู้ในบล็อก

ไปแอบฟังอ.สอน แล้วมาเม้าส์ต่อแบบงูๆปลาๆ
เลยอายเลย


โดย: หมีเซอะ วันที่: 2 ธันวาคม 2549 เวลา:8:32:36 น.  

 
ใครอยากเรียนวิชาทฤษฏีเกม ของ MIT หลักสูตรเรียนฟรี ลองเข้าไปดูที่
//ocw.mit.edu/OcwWeb/Sloan-School-of-Management/15-040Spring2004/CourseHome/index.htm


โดย: เรวัต IP: 58.8.61.211 วันที่: 13 ธันวาคม 2549 เวลา:17:11:43 น.  

 
ทำลิ้งก์ให้ครับ

ทฤษฏีเกม หลักสูตรเรียนฟรี ของ MIT >> คลิ๊ก


โดย: หมีเซอะ วันที่: 14 ธันวาคม 2549 เวลา:7:50:23 น.  

 
ผมคิดว่าในสังคมจริงถ้าจะเปรียบกับหนู...ที่เกิดขึ้นจะเป็นสถานการณ์ที่หนูตัวใหญ่จะกัดหนูตัวเล็กทุกครั้งที่มันไม่ยอมไปกดคานนะครับเนื่องจากตัวใหญ่มีอำนาจ(Power)แล้วตัวเองก็จะรอที่จุดทางอาหารตกส่วนเจ้าตัวเล็กก็ค่อยวิ่งกลับมากินอาหารที่เหลือ...พอตัวใหญ่ยิ่งกินก็ยิ่งแข็งแรงและยิ่งมีอำนาจในการต่อรองกับตัวเล็กก็จะยิ่งมีอำนาจ...แต่พอทำนานๆเจ้าตัวเล็กเริ่มตัวโตขึ้นก็จะมีอำนาจมากกว่าและสามารถบังคับให้เจ้าตัวใหญ่ไปกดคานแทนตัวเองได้


โดย: night claw IP: 124.120.40.130 วันที่: 26 พฤศจิกายน 2550 เวลา:9:54:06 น.  

 
ต้องการ ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมมีหรือป่าวค่ะ

จะทำงานส่งอาจารย์ ค่ะ


ขอบคุณค่ะ



โดย: นักศึกษา IP: 61.7.174.30 วันที่: 13 มีนาคม 2551 เวลา:10:57:24 น.  

 
หนูตัวใหญ่ มันน่าจะกัดหนูตัวเล็กน่ะ ให้หนูตัวเล็กตาย มันจะได้กินอาหาร ตัวเดียว


โดย: ฮาหนุ่ย IP: 58.10.192.77 วันที่: 12 กรกฎาคม 2551 เวลา:11:16:36 น.  

 
มันต้องมีคนไปกดกระเดื่อง เพื่อให้ได้อาหารมาครับ
ถ้าตัวใหญ่กัดตัวเล็กตาย มันก็ต้องวิ่งไปกดกระเดื่องเองอยู่ดี

ถ้ามันใช้กำลังบังคับหนูตัวเล็ก
หนักเข้าๆ หนูตัวเล็กก็อาจสไตร์ค ยอมอดตายไปพร้อมกัน


โดย: :) IP: 124.157.189.104 วันที่: 29 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:48:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หมีเซอะ
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เหมือนแมวอย่างกะแกะ..!!
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หมีเซอะ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.