จัดการคุณภาพไฟฟ้าเพื่ออุตสาหกรรมไทย
Group Blog
 
All Blogs
 

ฮาร์มอนิคส์(Harmonics)

ฮาร์มอนิคส์คืออะไร

ฮาร์มอนิคส์คือสาเหตุที่ทำให้รูปคลื่นแตกต่างไปจากรูปคลื่นซายน์ดังรูป

ฮาร์มอนิคส์คือสัญญาณที่มีความถี่เป็นจำนวนเต็มเท่าของความถี่มูลฐานของระบบไฟฟ้า(50 หรือ 60 Hz) รูปด้านล่างแสดงตัวอย่างของรูปคลื่นฮาร์มอนิคส์ที่เกิดขึ้น

PQ Man  3-Sep-2009




 

Create Date : 03 กันยายน 2552    
Last Update : 3 กันยายน 2552 10:48:12 น.
Counter : 391 Pageviews.  

CBEMA และ ITI Curves

CBEMA Curve คือกราฟที่ใช้เพื่อนำค่า voltage quality ที่วัดได้มาแสดงผล กราฟนี้ดัดแปลงมาจากมาตรฐาน IEEE446 มีลักษณะตามรูปด้านล่าง 

กราฟนี้นำมาใช้อธิบายว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมสามารถทำงานได้หรือไม่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดของแรงดันและช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ในขณะที่ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงของแรงดันได้มากกว่าในอดีต จึงใช้กราฟนี้เป็น standard design สำหรับอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์  แกนของ CBEMA Curve แสดงขนาดและช่วงเวลาของแรงดันที่เกิดขึ้น หากเหตุการณ์เกิดขึ้นใต้เส้นล่างของ curve อุปกรณ์จะหยุดทำงาน หากเหตุกรณ์เกิดขึ้นเหนือเส้นบนของ curve อุปกรณ์อาจเกิดความเสียหายขึ้นได้  ต่อมา CBEMA ถูกแทนด้วย ITI โดยปรับปรุงให้ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้กับแรงดัน 120 volt หลักการใช้งานเช่นเดียวกันกับ CBEMA Curve  รูป ITI Curve แสดงด้านล่าง


PQ Man 1-Sep-2009




 

Create Date : 01 กันยายน 2552    
Last Update : 1 กันยายน 2552 12:04:09 น.
Counter : 1437 Pageviews.  

Poor Power Quality

Poor Power Quality ตามมาตรฐาน IEEE1159 นั้นนิยามอยู่ในส่วนของ Powering คือรูปคลื่นใดๆก็ตามที่แตกต่างไปจากรูปคลื่นซายน์ ตามนิยามได้จำแนกไว้ดังนี้

-           Voltage Sag(หรือ Dip) คือแรงดันลดลงในช่วงสั้นๆ 0.5cycle ถึง 1 นาที แรงดันอยู่ในช่วง 10-90% ของแรงดันที่กำหนด(Nominal) สาเหตุส่วนใหญ่ของ Voltage Sag เกิดจากการสตาร์ทมอเตอร์ขนาดใหญ่และเกิดลัดวงจรขึ้นที่ระบบจำหน่ายหรือระบบส่ง

-           Voltage Swell ตรงกันข้ามกับ Voltage Sag คือเป็นการเพิ่มขึ้นของแรงดันในช่วงสั้นๆตั้งแต่ 0.5 cycle ถึง 1 นาที แรงดันอยู่ในช่วง 110-180 % ของแรงดันที่กำหนด(Nominal)

-           Impulsive Transient คือการเปลี่ยนแปลงช่วงสั้นมาก เกิดขึ้นในทางเดียว(unidirectional)  ของแรงดัน กระแสหรือทั้งคู่ สาเหตุหลักของ impulsive transient คือฟ้าผ่า การ switching ในระบบจำหน่าย การ switching โหลดแบบความเหนี่ยวนำ  ทรานเซี้ยนท์แบบนี้สามารถทำให้อุปกรณ์เสียหายได้ถ้ามีค่าสูงพอ

-           Oscillatory Transient คือการเปลี่ยนแปลงสั้นๆแบบ 2 ขั้ว(bidirectional)ของแรงดัน กระแสหรือทั้งคู่  สาเหตุของทรานเซี้ยนต์ชนิดนี้เกิดจากการสวิตซ์คาปาซิเตอร์(Cap bank)หรือเกิดเรโซแนนซ์ที่หม้อแปลง

-           Interruption(ไฟดับ)คือการลดลงของแรงดันเหลือน้อยกว่า 10%ของแรงดันที่กำหนด(Nominal Voltage) แบ่งเป็น 2 ประเภทคือไฟดับชั่วคราวไม่เกิน 1 นาทีและไฟดับถาวรมากกว่า 1 นาที

รูปด้านล่างแสดง Power Disturbance ประเภทต่างๆ




 

Create Date : 31 สิงหาคม 2552    
Last Update : 31 สิงหาคม 2552 12:00:28 น.
Counter : 467 Pageviews.  

เราจะตรวจสอบปัญหาของคาปาซิเตอร์(Capacitor)ได้อย่างไร


ในกรณีที่เกิดเรโซแนนส์กระแสฮาร์มอนิคส์ที่ความถี่เรโซแนนส์จะมากขึ้นเมื่อต่อคาปาซิเตอร์เข้ามา  การวัดว่าเกิดเรโซแนนส์ขึ้นหรือไม่สามารถทำได้โดยวัดสเปคตรัมของฮาร์มอนิคส์ขณะมีและไม่มีคาปาซิเตอร์คู่กับการวัดกระแสที่ไหลเข้าคาปาซิเตอร์ก็จะทำให้เราทราบว่าเกิดปัญหาเรโซแนนส์อย่างคร่าวๆได้เอง  การดำเนินการตรวจวัดทำได้ไม่ยากแต่ต้องทำอย่างระมัดระวังเนื่องจากต้องดำเนินการตรวจวัดตรงตำแหน่งที่มีค่ากระแสลัดวงจรสูง ผู้ที่จะดำเนินการตรวจวัดต้องผ่านการฝึกฝนในด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ต้องมีขั้นตอนการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

การเลือกเครื่องมือวัด

                        เครื่องวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้า(Power Quality Analyser)สามารถวัดกระแสและแรงดันฮาร์มอนิคส์รวมถึงแสดงสเปคตรัมของฮาร์มอนิคส์ได้ไม่น้อยกว่าลำดับที่ 50  โดยมีตั้งแต่เครื่อง Handheld ขนาดเล็กซึ่งเหมาะกับการสำรวจอย่างคร่าวๆ   แบบ portable logger เหมาะสำหรับการเก็บบันทึกผลในช่วงเวลาหนึ่งๆเช่น 2-3 วันหรือเป็นอาทิตย์  แบบ permanent เหมาะสำหรับระบบการจัดการด้านบำรุงรักษา




 

Create Date : 28 สิงหาคม 2552    
Last Update : 5 มกราคม 2554 9:21:23 น.
Counter : 401 Pageviews.  

ทำไมจึงต้องติดตั้งคาปาซิเตอร์

หน้าที่หลักของ Capacitor Bank คือปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์เพื่อให้มุมของแรงดันและกระแสมีมุมใกล้เคียงกันที่สุดเพื่อให้เกิดความสูญเสียในสายน้อยที่สุด   เนื่องจากโหลดในโรงงานส่วนใหญ่เป็นแบบเหนี่ยวนำ(inductive) ซึ่งทำให้มุมของกระแสตามหลังแรงดัน(lagging)  จึงต้องติดตั้งคาปาซิเตอร์ซึ่งมีคุณสมบัติคือทำให้มุมของกระแสนำหน้าแรงดัน(leading)

ตัวอย่างรูปคลื่นกระแสและแรงดันในกรณีติดตั้งและไม่ติดตั้งคาปาซิเตอร์




 

Create Date : 28 สิงหาคม 2552    
Last Update : 28 สิงหาคม 2552 12:08:43 น.
Counter : 629 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

PowerQuality
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Blog นี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้และจัดการคุณภาพไฟฟ้าให้แก่โรงงานอุตสาหกรรม
Friends' blogs
[Add PowerQuality's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.