จัดการคุณภาพไฟฟ้าเพื่ออุตสาหกรรมไทย
Group Blog
 
All Blogs
 

คุณภาพไฟฟ้า(Power Quality)กับโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ (1)

ผมไม่ได้เขียน Blog หลายวันเนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงฤดูกาลพอนี้เลยค่อนข้างยุ่งครับ  วันนี้กลับมาเลยอยากจะเขียนเรื่องผลกระทบของคุณภาพไฟฟ้าต่อกระบวนการผลิตของโรงงานบ้างเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ดูแลสายการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมครับ  โรงงานที่ผมจะเขียนเป็นอันดับแรกคือโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เนื่องจากในบ้านเราการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่มากและเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตสมัยใหม่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ควบคุมทั้งหมดแถมบางแห่งใช้หุ่นยนต์ในสายการผลิตอีกทำให้ผลจากไฟฟ้าดับหรือไฟกระพริบ(voltage dip)มีผลต่อความเสียหายต่อสายการผลิตเป็นอย่างมากโดยเฉพาะ voltage dip จะมีผลอย่างมากเนื่องจากเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งกว่าไฟฟ้าดับ  สายการผลิตที่ได้รับผลกระทบจาก voltage dip เช่นสายการผลิตและขึ้นรูปโลหะ  สายการพ่นและเคลือบสี  สายการประกอบชิ้นส่วนเป็นต้น  จำนวนสายการผลิตและมูลค่าความเสียหายขึ้นอยู่กับขนาดและช่วงเวลาของ voltage dipที่เกิดขึ้น ก่อนอื่เรามาดูนิยามเสียก่อนว่า voltage dip คืออะไร 
                        Voltage dip คือแรงดันที่ลดลงในช่วงเวลาสั้นๆ(ตั้งแต่ช่วงมิลลิวินาทีถึงเป็นนาที) ขนาดที่ลดลงมากกว่า 10% ของแรงดันที่จ่าย แต่ไม่รวมไฟดับรูปแสดงนิยามนี้ทางด้านล่าง

Voltage dip มีสาดเหตุมาจากการลัดวงจรในระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าโดยผู้ใช้ไฟฟ้าซึ่งต่ออยู่ที่บัสเดียวกันจะได้รับผลกระทบจาก voltage dip นี้ทั้งหมดตามรูป

ขนาดหรือความรุนแรงของกระแสลัดวงจรขึ้นกับระยะทางจากสถานีไฟฟ้า ส่วนเวลาของ voltage dip ขึ้นอยู่กับความเร็วของระบบป้องกันที่สถานีไฟฟ้า(จุด P
PQ Man  23-9-2009




 

Create Date : 23 กันยายน 2552    
Last Update : 5 มกราคม 2554 9:17:39 น.
Counter : 748 Pageviews.  

ผลของฮาร์มอนิก(Harmonics)ต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า(3)

ผลต่อคาปาซิเตอร์
คาปาซิเตอร์ใช้สำหับปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์โดยดึงกระแสที่มีมุมเฟสนำแรงดันเพื่อชดเชยกับกระแสที่จ่ายให้แก่โหลดความเหนี่ยวนำเช่นมอเตอร์   ค่าอิมพีแดนซ์ของคาปาซิเตอร์จะลดลงเมื่อความถี่สูงขึ้น ขณะที่แหล่งจ่ายมีคุณสมบัติเป็นตัวเหนี่ยวนำและมีค่าอิมพีแดนซ์เพิ่มขึ้นตามความถี่   กระแสฮาร์มอนิกส์จึงไหลเข้าคาปาซิเตอร์มาก ถ้าคาปาซิเตอร์ไม่ได้ออกแบบมาให้รับกระแสฮาร์มอนิกส์ได้ก็จะเกิดความเสียหาย  สิ่งที่เป็นปัญหาสำคัญก็คือค่าความเก็บประจุสามารถเกิดรีโซแนนซ์กับค่าความเหนี่นวนำของแหล่งจ่ายไฟที่หรือใกล้กับความถี่ฮาร์มอนิกส์หนึ่งๆได้  เมื่อเกิดเรโซแนนซ์ขึ้นแรงดันและกระแสจะสูงขึ้นผิดปกติทำให้คาปาซิเตอร์ระเบิด  เราสามารถเลี่ยงไม่ให้เกิดเรโซแนนซ์ได้โดยใส่ตัวเหนี่ยวนำอนุกรมกับคาปาซิเตอร์เพื่อให้เมื่อรวมกันแล้วมีแต่ผลของความเหนี่ยวนำที่ฮาร์มอนิกส์ค่าต่ำๆ  วิธีนี้จะจำกัดกระแสที่ไหลผ่านตัวคาปาซิเตอร์ด้วย ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือขนาดของตัวเหนี่ยวนำโดยเฉพาะถ้ามีฮาร์มอนิกส์ออเดอร์ต่ำๆ
PQ Man 16-Sep-2009




 

Create Date : 16 กันยายน 2552    
Last Update : 19 มกราคม 2553 11:59:03 น.
Counter : 259 Pageviews.  

ผลของฮาร์มอนิก(Harmonics)ต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า(2)

ผลต่อเซอร์กิตเบรคเกอร์
Residual Current Circuit Breaker(RCCB)ทำงานโดยผลรวมของกระแสในสายเฟสและสายนิวทรอล ถ้าผลรวมของไม่อยู่ในค่าที่ปรับตั้งไว้เซอกิตเบรคเกอร์จะทำการตัดวงจร  หากเซอร์กิตเบรคเกอร์ทริปบ่อยโดยผลจากฮาร์มอนิกส์เป็นไปได้สองกรณีคือ กรณีแรก RCCB เป็นแบบ electromechanic ซึ่งไม่รวมผลที่ความถี่สูงอย่างถูกต้องทำให้เกิดการตัดวงจรผิดพลาด  กรณีที่สองอุปกรณ์ที่สร้างฮาร์มอนิกส์สร้าง noise ขึ้นมาซึ่งจะถูกกรองผ่านฟิลเตอร์ซึ่งภายในฟิลเตอร์จะมีคาปาซิเตอร์ระหว่างเส้นไฟ  นิวทรอลและกราวด์ทำให้มีกระแสไหลลงกราวด์เล็กน้อย  กระแสที่ไหลผ่านกราวด์นี้ตามมาตรฐานจำกัดไว้ที่ 3.5 mA ซึ่งโดยปกติแล้วกระแสที่ไหลผ่านกราวด์จะน้อยกว่านี้มาก แต่หากมีอุปกรณ์ที่สร้างฮาร์มอนิกส์หลายตัวต่ออยู่กับเซอร์กิตเบรคเกอร์  กระแสรั่วที่เกิดดขึ้นก็สามารถทำให้ RCCB ผตัดวงจรได้  ในกรณีเช่นนี้สามารถแก้ไขได้โดยการแยกอุปกรณ์ที่สร้างฮาร์มอนิกส์ออกไปจ่ายจากหลายๆเซอร์กิตเบรคเกอร์แทน
การตัดวงจรบ่อยๆของ miniature circuit breaker(MCB) เกิดจากกระแสที่ไหลในวงจรสูงกว่าที่เบรคเกอร์คำนวณหรือใช้การวัดแบบง่ายๆเนื่องจากผลของฮาร์มอนิกส์ซึ่งจะได้ค่าที่ไม่ถูกต้องหากใช้การวัดแบบง่ายๆ 
PQ Man 16-Sep-2009




 

Create Date : 16 กันยายน 2552    
Last Update : 19 มกราคม 2553 11:59:20 น.
Counter : 426 Pageviews.  

ผลของฮาร์มอนิก(Harmonics)ต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า(1)

หม้อแปลง
ผลของฮาร์มอนิกส์(harmonics)ต่อหม้อแปลงมีดังนี้
-  เพิ่ม copper loss
-  เพิ่ม iron loss
-  เสี่ยงต่อการเกิดเรโซแนนส์(resonance)ของหม้อแปลง
-  ฉนวนของหม้อแปลงมีความเครียดสูงขึ้น
-  ฮาร์มอนิกส์ที่ 3 ทำให้สายนิวทรอลร้อน
เมื่อปี 1990 Underwriters Laboratory(UL)ได้สร้างวิธีการทดสอบหม้อแปลงสำหรับจ่ายโหลดไม่เชิงเส้นโดยระบุค่าความร้อนในขดลวดของหม้อแปลงที่จ่ายโหลดไม่เชิงเส้นและค่าการเกิดความร้อนเกินในสายนิวทรอลด้วยแฟคเตอร์ K  UL ใช้ค่า K ในการกำหนดฉลากและพิกัดความสามารถของหม้อแปลง dry type ในการรับผลของฮาร์มอนิกส์   พิกัดมาตรฐานของค่า K-Factor ของหม้อแปลง Dry type มีดังนี้


PQ Man 15-Sep-2009




 

Create Date : 15 กันยายน 2552    
Last Update : 19 มกราคม 2553 12:00:23 น.
Counter : 893 Pageviews.  

ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าและฮาร์มอนิกเกิดจากอะไร

ปัญหาทางไฟฟ้าที่เกิดขึ้นภายในโรงงานอาจมีแหล่งกำเนิดมาจากภายในหรือภายนอกระบบจ่ายไฟของโรงงานก็ได้  แหล่งก่อปัญหาจากภายนอกได้แก่
-  เกิดฟอลต์ในระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า
-  ฟ้าผ่า
-  การตัดต่อระบบจ่ายไฟของการไฟฟ้า
-  เกิดอุบัติเหตุขึ้นในระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าเช่น รถชนเสา ไฟไหม้
แหล่งที่ทำให้เกิดปัญหาทางไฟฟ้าจากภายในโรงงานได้แก่
-  การตัดต่อคาปาซิเตอร์
-  การสตาร์ตมอเตอร์และตัวเหนี่ยวนำขนาดใหญ่
-  โหลดที่สร้างฮาร์มอนิคส์
การจำแนกปัญหาทางไฟฟ้ามักจะจำแนกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดซ้ำๆหรือว่าเกิดแบบสุ่ม  คาดเดาได้หรือว่าหาสาเหตุได้ง่าย  ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีความเข้าใจมักจะคิดว่าปัญหาทางไฟฟ้าที่เกิดขึ้นมาจากการไฟฟ้าทั้งสิ้น   จากการศึกษาของElectrical Power Research Institute(EPRI) สหรัฐอเมริกาสรุปว่า 80% ของการทำงานผิดพลาดของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์เกิดจากปัญหาในการเดินสายไฟและระบบกราวด์ หรือผลกระทบจากโหลดภายในโรงงานเอง
PQ Man 15-Sep-2009




 

Create Date : 15 กันยายน 2552    
Last Update : 19 มกราคม 2553 12:00:46 น.
Counter : 256 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

PowerQuality
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Blog นี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้และจัดการคุณภาพไฟฟ้าให้แก่โรงงานอุตสาหกรรม
Friends' blogs
[Add PowerQuality's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.