We Think...We Question...We Challenge...We Act
Group Blog
 
All Blogs
 
NCM : แนวคิด-หลักการ

การจัดการดูแลผู้ป่วย (Care/Case management)
นิยามศัพท์
คำว่า Care management และ Case management ในเอกสารวิชาการ งานวิจัย หรือการนำไปใช้ในสถานบริการโดยทั่วไป เป็นคำที่มักใช้แทนกันได้ โดยมีความหมายที่คล้ายคลึงกัน
Care management : is the coordination of care in order to reduce fragmentation and unnecessary use of services, prevent avoidable conditions, and promote independence and self-care. Alternatively called advanced care management (ACM), targeted case management (TCM), high-cost or high-risk case management, care coordination, disease management, and other terms, care management programs manifest themselves in a wide variety of ways. (ที่มา : Stretching State Health Care Dollars: Targeted Care Management to Enhance Cost-Effectiveness, Sharon Silow-Carroll, M.B.A., M.S.W., and Tanya Alteras, M.P.P., The Commonwealth Fund, October 2004)
Case management : is a collaborative process of assessment, planning, facilitation and advocacy for options and services to meet an individual’s health needs through communication and the resources available to promote quality, cost-effective outcomes.(ที่มา : The Case Management Society of America, The Standards of Practice for Case Management, revised 2002)

Nursing case management : is a system of healthcare delivery designed to facilitate achievement of expected patient outcomes within an appropriate length of stay, with goals of quality care, decreased fragmentation, enhanced quality of life, the efficient use of resources, and cost containment ( ที่มา : ANA, 1991)

คุณลักษณะสำคัญของระบบ Case Management

ในปี คศ. 2002 The Case Management Society of America ได้มีการประชุมกำหนดมาตรฐานการปฎิบัติของการจัดการดูแลผู้ป่วย (The Standards of Practice for Case Management) โดยมีกรอบแนวคิดดังรูปต่อไปนี้

โดยได้สรุปการจัดการดูแลผู้ป่วย (Case Management) ว่าหมายถึง “กระบวนการความร่วมมือในการประเมิน วางแผน จัดการ และให้คำปรึกษา ในการเลือกหนทางรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามความต้องการที่จำเป็นอย่างมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการสื่อสาร และการจัดการทรัพยากรที่ดี” (CMSA,2002)

ลักษณะสำคัญของผู้จัดการการดูแล (Case Manager)
มีหน้าที่ประสานงานระหว่าง ผู้ป่วย ผู้ให้บริการ ผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาล ชุมชนและสังคม เพื่อให้การบริการที่ผู้ป่วยได้รับมีประสิทธิภาพสูงสุด และคุ้มค่า ภายใต้ระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้โดยมีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง

กระบวนการจัดการดูแล มีองค์ประกอบ คือ
1) Assessment การประเมินความต้องการของผู้ป่วยที่ครอบคลุมทุกด้าน แบบองค์รวม
2) Planning การวางแผนการดูแลที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสม คุ้มค่าโดยความร่วมมือของทีม สหสาขา รวมทั้งผู้ป่วยและญาติเพื่อให้ผู้ป่วยมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้นโดยเร็วที่สุดและภายในกรอบเวลาที่กำหนด
3) Facilitation การติดตามกำกับ ประสานงาน และสนับสนุนให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปตามแผนที่วางไว้ แก้ไขปรับปรุงความแปรปรวนที่เกิดขึ้น(variances) โดยใช้เครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพต่างๆ รวมทั้งการพิทักษ์สิทธิและเป็นผู้ประสานประโยชน์แก่ทุกฝ่ายเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
4) Advocacy การประเมินผลการปฏิบัติทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยกำหนดตัวชี้วัดให้เหมาะสม และติดตามการบรรลุเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มเป้าหมาย ที่ควรนำระบบ Case management มาช่วยจัดการดูแลให้มีประสิทธิภาพได้แก่
(1) กลุ่มที่มีแนวการรักษาที่หลากหลาย ไม่มีแบบแผนที่แน่นอน
(2) กลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง
(3) กลุ่มโรคเรื้อรังที่กลับมา Admit บ่อยครั้ง
(4) กลุ่มที่มีความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและสังคม
(5) กลุ่มที่นอนรักษาตัวในร.พ.นาน
ผู้ป่วยในกลุ่มเหล่านี้ มักเป็นผู้ที่มีปัญหาที่ซับซ้อน ทั้งภาวะความเจ็บป่วย เศรษฐกิจ สังคม ใช้ทรัพยากรสุขภาพจำนวนมาก และผู้ให้บริการหลากหลายสาขาวิชาชีพมาเกี่ยวข้อง ดังนั้น การที่จะประสานบริการทั้งหลายทั้งปวง จึงจำเป็นต้องมีการสื่อสารที่ดี ซึ่งนอกจากบุคลากรผู้ทำหน้าที่ผู้จัดการผู้ป่วยจำเป็นต้องมีทักษะความสามารถในด้านคลีนิกแล้ว ยังต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการ การเจรจาต่อรอง การติดต่อประสาน การตัดสินแก้ปัญหา และอื่นๆ แล้วแต่หน่วยงาน

ผลลัพธ์ของการจัดการดูแลผู้ป่วย (Case Management)
• ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน
• ลดอัตราการกลับมารักษาซ้ำ
• ลดจำนวนวันที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
• ควบคุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
• มีการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม
• ความพึงพอใจของผู้ป่วยและครอบครัว
• เพิ่มคุณภาพการดูแลอย่างต่อเนื่อง
• การพัฒนาศักยภาพผู้จัดการผู้ป่วย
• การพัฒนาความร่วมมือ และการทำงานเป็นทีม



Create Date : 29 กรกฎาคม 2550
Last Update : 29 กรกฎาคม 2550 23:27:37 น. 0 comments
Counter : 4955 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ThaiNCM2007
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ข้อความหรือบทความหรือเอกสารทางวิชาการที่นำมาลงในที่นี้ เขียนจากประสบการณ์ในการปฏิบัติ รวมทั้งการอ่านตำรา วารสารและเรียนรู้จากสื่อต่างๆ บางรายการเป็นเอกสารประกอบการบรรยาย ได้นำมารวบรวมไว้ ณ ที่นี้

เพื่อแลกเปลี่ยนกับผู้ที่สนใจ ในเรื่องเดียวกัน
Friends' blogs
[Add ThaiNCM2007's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.