นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร

ลดแอมโมเนีย และไนไตรท์ ในตู้ปลาสวยงาม

การเลี้ยงปลาสวยงามไว้ในตู้กระจก เป็นสิ่งที่ปรารถนาของเด็ก ๆ โดยทั่วไป เพราะเหมือนกับเป็นการสร้างงานสร้างความรับผิดชอบหรือการบริหารจัดการให้แก่เขา เขาจะได้มีการพัฒนาทางด้านความรู้สึกรับผิดชอบหน้าที่ต่าง ๆ ด้วยตนเองได้ส่วนหนึ่ง เด็กๆ ก็จะมีการสรรหาแข่งขันกันเลี้ยงปลาหลากหลายสีสัน หลากหลายชนิด บางครั้งก็ใส่จำนวนปลาลงไปมากเกินไป ทำให้ประชากรปลามีความหนาแน่นและไม่สมดุลเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่




สวนจตุจักรนั้นก็เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่เด็ก ๆ กลุ่มนี้มักจะนิยมชมชอบเข้าไปใช้บริการทำการซื้อหาพันธุ์ปลาสวยงามต่าง ๆ นำมาเลี้ยงอวด และแข่งกันว่าใครจะเลี้ยงได้โตและรอดมากกว่ากัน เพราะที่สวนจตุจักรนี้สามารถที่จะตอบสนองความต้องการต่อผู้บริโภคกลุ่มนี้ค่อนข้างที่จะครบครัน ไม่ว่าจะเป็นตู้ปลา อุปกรณ์และวัสดุตบแต่งตู้ปลา พืชน้ำ ไม้น้ำ สาหร่าย อาหารปลา มีทั้งอาหารสำเร็จรูป อาหารสด อาหารแห้ง และอื่น ๆ อีกมากมาย

ในช่วงที่นำปลามาเลี้ยงกันใหม่ ๆ ทุกคนก็ยังคงมีความตื่นเต้นดีใจ กระตือรือร้น มีความเอาใจใส่ ดูแลตู้ และ ปลาของตัวเองอย่างใกล้ชิดสม่ำเสมอ หมั่นทำความสะอาด เปลี่ยนถ่ายน้ำในตู้ปลา ทำให้สภาพพื้นและตู้กระจกมีความสะอาดไม่เกิดการสะสมก๊าซพิษที่จะเป็นอันตรายแก่ปลา แต่ถ้าเลี้ยงไปนาน ๆ เกิดความเคยชิน และมีการดูแลเอาใส่น้อยลง ของเสียที่มาจากขี้ปลาและอาหารปลาที่ตกค้างอยู่ก็จะสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และบูดเน่า ย่อยสลายปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆ ออกมา เช่น ก๊าซแอมโมเนีย, ไนไตรท์, และไฮโดรเจนซัลไฟด์ ทำให้เกิดปัญหา ปลาขาดออกซิเจน มึนงง ลอยหัว ตะเกียกตะกายขึ้นงับอากาศที่ผิวน้ำ ถ้าปริมาณของก๊าซแอมโมเนียเข้มข้นสูงก็จะทำให้ปลาตาบอด หรือถึงขั้นตายได้ในสุด

ถ้าได้มีการนำจุลินทรีย์ที่ย่อยขี้ปลากับอาหารปลาเหล่านี้โดยตรงเช่นจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดเลือกมาอย่างดีแล้วนำมาใส่ลงในตู้ปลาทุก ๆ 7 วัน อย่าง บาซิลลัส ซับธิลิส MT ประมาณ 1 - 2 ช้อนแกง ก็จะช่วยขจัดปัญหาเหล่านี้ออกไปได้ และปลาก็จะอยู่อาศัยในตู้ปลาอย่างมีความสุข เพราะก๊าซพิษต่างๆ ถูกขจัดออกไปตั้งแต่เริ่มต้นคือตั้งแต่เป็นวัตถุโปรตีนในรูปของอาหารปลาและขี้ปลาโดยที่ยังไม่ทันจะบูดเน่าก็จะถูกย่อยโดยจุลินทรีย์บาซิลลัส ซับธิลิสMT เสียก่อน

เมื่อวัตถุก่อกำเนิดถูกย่อยสลายให้มีปริมาณลดน้อยลงตั้งแต่เริ่มแรก ตัวเริ่มต้นปัญหากำเนิดก๊าซก็จะมีน้อยทำให้ตู้ปลามีความสะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก ปลาไม่เครียด กินอาหารได้เยอะ เจริญเติบโตเร็ว สีสันสวดสดงดงามเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ถ้ายังมีปัญหาเรื่องก๊าซพิษหลงเหลืออยู่บ้าง ควรใช้หินแร่ภูเขาไฟ เช่น สเม็คไทต์, ไคลน็อพติโลไลท์ โปรยลงไปในตู้เพื่อจับตรึงก๊าซของเสียเหล่านี้อีกครั้งหนึ่งหรือทุก ๆ 15 หรือ 30 วัน ขึ้นอยู่กับปริมาณความหนาแน่นของของเสียในตู้ปลานั้น

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 13 มีนาคม 2555   
Last Update : 13 มีนาคม 2555 17:41:16 น.   
Counter : 490 Pageviews.  


mont20
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษวันละนิด ชีวิตจะแจ่มใส
[Add mont20's blog to your web]