การดูแลสุขอนามัยอวัยวะส่วนสำคัญของชายไทย ขริบดีไหมเนี่ย
 
 

ประชากรที่ยากจน ถูกรัฐปล้นสิทธิในการป้องกันโรคร้าย

TUESDAY, Dec. 23 (HealthDay News) งานวิจัยใหม่สรุปว่า มีเด็กผู้ชายมากมายหลายพันคนที่ไม่ได้ทำการขลิบหนังหุ้มปลายในแต่ละปี เพราะว่ากองทุนสุขภาพในบางรัฐไม่ครอบคลุมงบประมาณในส่วนนี้

Prof. Arleen A. Leibowitz ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียผู้ทำการศึกษา กล่าวว่า มันมีตัวอย่างที่ดีที่ทำให้เห็นว่าการขลิบสามารถปกป้องเด็กๆของพวกเรา แต่ถ้าคุณสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ คนส่วนมากก็เลือกที่จะทำ

อัตราการขลิบหนังหุ้มปลายในเด็กได้เริ่มลดลงตั้งแต่ปี 1980 หลังจากมีการถกเถียงกันว่ามีความจำเป็นหรือไม่ ในขณะเดียวกันในหลายรัฐได้มีการยกเลิกการให้งบประมาณในส่วนนี้ ซึ่งพบว่าในรัฐที่มีงบประมาณครอบคลุมในส่วนนี้อัตราการขลิบจะสูงประมาณ 62 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับรัฐที่ไม่มีงบประมาณให้



ในกลุ่มที่คัดค้านกล่าวว่าการขลิบเป็นเรื่องที่ป่าเถื่อนและทำให้ผู้ชายเสียความรู้สึกทางเพศ แต่มีงานวิจัยมากมายทางการแพทย์พบว่าการขลิบสามรถลดอัตราการติดเชื้อเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากมาย รวมถึงโรคมะเร็งปากมดลูก อีกทั้งงานวิจัยล่าสุดที่ออกมาก็พบว่าไม่ได้มีข้อแตกต่างด้านความรู้สึกระหว่างคนที่ขลิบหรือไม่ได้หนังหุ้มปลาย และพบว่าคนที่ขลิบแล้วกลับมีความรุ้สึกดีกว่าด้วยซ้ำ

ปัจจุบันในประเทศอเมริกามี 16 รัฐที่ไม่ได้มีงบประมาณเกี่ยวกับการขลิบในเด็กแรกเกิด โดยค่าใช้จ่ายในการขลิบเด็กผู้ชายในประเทศอเมริกาจะประมาณ 250-300 ดอลลาร์ต่อคน ซึ่งเงินจำนวนนี้ทำให้บางครอบครัว ขาดโอกาศที่จะเข้าถึงการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในภายหลัง ผู้วิจัยกล่าว

จากงานวิจัยในนิตยสาร American Journal of Public Health ที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนมกราคม 2008 พบว่ามี 16 รัฐที่ได้ตัดงบประมาณในการขลิบไป ได้แก่ Arizona, California, Florida, Idaho, Louisiana, Maine, Minnesota, Mississippi, Missouri, Montana, Nevada, North Carolina, North Dakota, Oregon, Utah และ Washington
ซึ่งจากข้อมูลและการศึกษาพบว่า ตัวเลขของเด็กที่ทำการขลิบหนังหุ้มปลายลดลงอย่างเห็นได้ชัดในรัฐเหล่านี้

professor Robert C. Bailey จากสาขาวิชาระบาดวิทยามหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ในชิคาโก กล่าวว่าคนยากจนถูกปล้นโอกาสในการเลือกที่จะขลิบเพียงเพราะพวกเขาไม่มีเงิน และมันน่าจะมีหนทางอื่นในการที่ระบบประกันสุขภาพของเราสามารถที่จะช่วยให้คนเหล่านี้ได้เข้าถึงโอกาสในการได้รับทางเลือกในการป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ เช่นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคมะเร็งปากมดลุก โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกมากมาย

SOURCES: Arleen A. Leibowitz, Ph.D., professor, public policy, University of California, Los Angeles; Robert C. Bailey, Ph.D., professor, epidemiology, University of Illinois at Chicago; January 2009, American Journal of Public Health




 

Create Date : 31 ธันวาคม 2551   
Last Update : 31 ธันวาคม 2551 20:39:41 น.   
Counter : 2007 Pageviews.  


จีนพิจารณาให้ผู้ชายขลิบหวังลดอัตราการติดเชื้อเอดส์

จีนพิจารณาให้ผู้ชายขลิบหวังลดอัตราการติดเชื้อเอดส์
By Ben Blanchard
Reuters
Thursday, November 29, 2007;

ปักกิ่ง (รอยเตอร์) – อัตราผู้ที่ติดเชื้อเอดส์รายใหม่ของจีนกำลังลดลง และส่วนมากมักติดเชื้อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งรัฐบาลกำลังแก้ปัญหาโดยการรณรงค์ให้ขลิบ โดยรัฐมนตรี สาธารณสุขของจีนกล่าวไว้เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (29 พย.2550)

ทางการจีนประมาณการว่าจะมีผู้ติดเชื้อเอดส์ใหม่ในปี 2550 จำนวน 50,000 คน ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2548 ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเอดส์ใหม่จำนวนมากถึง 70,000 คน ทั้งนี้แม้ว่ากลุ่มชายรักชายจะมีภาวะความเสี่ยงที่สูงขึ้นก็ตาม จากข้อมูลของคณะรัฐมนตรี และสหประชาชาติ

นั้นหมายถึงว่าในปีนี้จะมีผู้ติดเชื้อเอดส์ทั้งประเทศประมาณ 700,000 คน จากก่อนหน้านี้ที่มีเพียง 650,000 คน

ทั้งนี้การแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์นั้น 44.7 % มาจากการมีเพศสัมพันธ์กับคู่สมรส, 12.2 % มาจากกลุ่มชายรักชาย และ 42 % มาจากการเสพยา ซึ่งในอดีตนั้นการแพร่เชื้อจากการเสพยาจะมาเป็นอันดับ 1

ในปัจจุบันการแพร่เชื้อเอดส์ก็ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แต่อยู่ในระดับต่ำ นายเชน ซู กล่าวในการประชุมเรื่อง “การแพร่เชื้อทางเพศสัมพันธ์ หนทางหลักของการแพร่เชื้อเอดส์”

** นายเชน กล่าวว่า กลุ่มสังคมเกย์ และกลุ่มผู้เสพยา กำลังเพิ่มขึ้นตามสังคมที่แปรเปลี่ยนไป อีกทั้งแม้ว่าจะมีการให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานใส่ถุงยางเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีอัตราที่เพิ่มขึ้น จาก 14.7 % ในปี 2001 เป็น 41.4% เมื่อปีที่ผ่านมา

จากรายงานพบว่าพฤติกรรมเสี่ยงมาจากกลุ่มชายรักชาย ซึ่งน้อยคนนักที่จะใช้ถุงยางเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

นายเชนกล่าวว่าการแพร่กระจายอันดับแรกมาจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจากข้อมูลทางการแพทย์ล่าสุดนั้นพบว่าการขลิบนั้นจะช่วยลดปัญหานี้ได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น เราจึงไม่สามารถมองข้ามข้อเท็จจริงอันนี้ได้

จากการศึกษานั้นแสดงให้เห็นว่าการขลิบสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการแพร่เชื้อโรคเอดส์ได้มากถึง 60 % แม้ว่ามันจะป้องกันไม่ได้อย่างเด็ดขาดจากเชื้อไวรัสเอดส์ก็ตาม



องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำให้การขลิบ เป็นหนึ่งในวิธีที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในทวีปแอฟริกา ใช้ในการรับมือการแพร่กระจายของโรคเอดส์ ซึ่งจากงานวิจัยพบว่ามันจะช่วยลดอัตราการติดเชื้อเอดส์ลงได้

“นี้เป็นคำถามเชิงเทคนิค ฉันคิดว่าความชำนาญและผู้เชี่ยวชาญของเราจะวางแผนรับมือกับมันได้ ก่อนที่จะถึงยุคที่เอดส์ระบาดมากกว่านี้ เด็กผู้ชายในจีนจึงควรได้รับการส่งเสริมการขลิบ” นายเชนกล่าวกับรอยเตอร์

อัตราการขลิบในประเทศจีนนั้นยังน้อยอยู่มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย เช่น เกาหลีใต้ หรือญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งการเอาหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศออกตั้งแต่แรกเกิดนั้น เหตุผลหนึ่งก็คือเรื่องสุขภาพ หรือในกลุ่มประเทศมุสลิม เช่น อินโดนีเซีย นั้นทำการขลิบก็เพื่อเหตุผลทางด้านศาสนา

ชาวจีนมุสลิม ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยนั้นอาศัยอยู่ทางตะวันตกของจีนในมณฑลซินเจียง ทำขลิบเช่นเดียวกันกับเด็กผู้ชายมุสลิมทั่วไป ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติขณะที่พวกเขาอยู่ในวัยหนุ่ม

นายเชนกล่าวว่ารัฐบาลจีนตัดสินใจส่งเสริมให้ทำขลิบให้กับประชาชนทั่วไป “ผมไม่คิดว่ามันจะถูกต่อต้าน หรือเป็นปัญหาจากเหตุผลทางด้านวัฒนธรรม ตราบใดที่ข้อมูลทางการแพทย์ยังพิสูจน์ว่ามันมีประโยชน์และได้ผลอยู่ “

แปลจาก วอชิงตันโพสต์
//www.washingtonpost.com/wpdyn/content/article/2007/11/29/AR2007112900165.html




 

Create Date : 08 ธันวาคม 2550   
Last Update : 8 ธันวาคม 2550 12:15:54 น.   
Counter : 1156 Pageviews.  


ทำไมการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายจึงมีความสำคัญในเชิงชีวอนามัยในศตวรรษที่ 21

ในวารสารชั้นนำ BioEssays ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2007 ศจ. ไบรอัน มอริส (Brian Morris ) ศาสตราจารย์ ของสำนักวิทยาศาสตร์การแพทย์และสถาบันบอส์ช ณ มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ได้นำเสนอแถลงการณ์ที่มีความสำคัญครอบคลุมหลายๆสาขาทางการแพทย์ โดยนำเสนอว่า การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เหมือนกับการทำวัคซีน (ด้วยการผ่าตัด) เพื่อต่อต้านการติดเชื้อในลักษณะต่างๆ กลุ่มอาการร้ายแรง และโรคที่ทำให้ถึงแก่ชีวิต ตลอดช่วงชีวิตของบุรษเพศ และยังสามารถป้องกัน โรคต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับคู่นอนด้วย และยังบอกอย่างชัดเจนว่ามันเป็นการผ่าตัดที่ไม่ยุ่งยาก ทำกันทั่วไป ราคาไม่แพง ปลอดภัย สามารถทำได้โดยไม่รู้สึกเจ็บปวด และทำได้ทุกช่วงอายุ


ประโยชน์ที่ได้รับมีมากกว่าความเสี่ยง ประโยชน์วงกว้างของการสาธารณสุขรวมถึง การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์จาก HIV, HPV (ฮิวแมนพาปิโลมาไวรัส) โรคซิฟิลิสและแผลริมอ่อน มะเร็งของอวัยวะเพศและต่อมลูกหมาก หนังหุ้มปลายตีบแคบ ฝ้าขาวจากเชื้อรา และอาการปวดแสบปวดร้อนที่ผิวหนัง จากการประมาณการณ์พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่ไม่ได้ทำการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ จะมีอาการดังที่กล่าวซึ่งเป็นผลมาจากการที่ไม่ได้ผ่านการขลิบ ซึ่งจะทรมานกับโรคต่างๆตลอดช่วงอายุขัย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแล หลายๆคนก็เสียชีวิตจากโรคร้ายแรงดังกล่าว ความยุ่งยากหรือปัญหาระหว่างการขลิบหนังหุ้มปลายพบได้ประมาณ 1 ใน 500 คน แต่ก็สามารถแก้ไขได้โดยง่ายและรวดเร็ว ดังนั้น ประโยชน์จึงมีมากกว่าโทษมากกว่า 100 ต่อ 1



ในผู้หญิงที่มีคู่นอนเป็นชายที่ผ่านการขลิบหนังหุ้มปลายแล้ว จะช่วยป้องกันการเกิดขึ้นของมะเร็งปากมดลูกและโรคติดเชื้อ Chlamydia ซึ่งก่อให้เกิด การอักเสบของอุ้งเชิงกราน ปากมดลูกอักเสบ ปัสสาวะขัด เป็นหมัน หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จะมีผลเชิงสังคมทางเพศ และลดปัญหาทางเพศในทุกช่วงอายุ โดยไม่ได้มีผลกระทบเชิงลบต่อความรู้สึกขององคชาต การใช้งาน และความรู้สึกต่อการสัมผัสในขณะมีการปลุกเร้าทางเพศ ยังมีหลักฐานที่แสดงถึง กลุ่มผู้หญิงมีความพึงพอใจกับอวัยวะเพศที่ผ่านการขลิบแล้วในเรื่องความสวยงาม ความสะอาดและประเด็นของการมีเพศสัมพันธ์


การอ้างข้อมูลของกลุ่มที่ต่อต้านการขลิบ ( anticirc) ที่เริ่มเกินขอบเขตและใช้วาจาเผ็ดร้อนต่อหลักฐานทางการแพทย์ในเรื่องของความพึงพอใจมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่เพียงเท่านั้นแพทย์หลายๆ คนก็เริ่มทำให้แปลกใจในเรื่องของการวางเฉย หรือ มีอคติ ในการประกอบโรคศิลป์เมื่อต้องไปเกี่ยวข้องกับการขลิบ
แพทย์ควรจะทำความเข้าใจกับข้อมูลใหม่ๆ จากการนำเสนอข้อมูลเชิงระบาดวิทยาและกลไกทางชีววิทยาดังกล่าว ศาสตราจารย์ยังสนับสนุนการขลิบในเด็กทารกแรกเกิดและยังกล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรทำการแนะนำจากผู้ที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ทุกระดับ

คัดมาจาก //www.medicalnewstoday.com/articles/87247.php




 

Create Date : 30 พฤศจิกายน 2550   
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2550 16:35:52 น.   
Counter : 4699 Pageviews.  


สปสช.ดึงการทำ"สุหนัต"ของชายไทยมุสลิมเข้าโครงการ 30 บาท

7 กันยายน 2548 17:28 น.
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีมติให้การทำ “สุหนัต” ในเด็กไทยมุสลิมแรกเกิดใช้สิทธิบัตรทอง ในการ “ขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ” ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพเปิดเผยว่า คณะกรรมกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีมติให้ชายไทยมุสลิมทำสุหนัตหรือขริบอวัยวะเพศได้แล้ว ซึ่งอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับและที่สำคัญถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความจำเป็นตามหลักศาสนาทั้งยังเป็นการป้องกันโรคด้วย ดังนั้น สปสช.จึงได้จัดให้อยู่ในโครงการพิเศษที่เน้นเรื่อง ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการรักษา

ทั้งนี้ การขริบอวัยวะเพศ ถือเป็นข้อบัญญัติของศาสนาอิสลามที่ให้มุสลิมทุกคนต้องถือปฏิบัติ ซึ่งการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเป็นสิ่งที่มีการกระทำตามหลักศาสนา ลัทธิ ประเพณี เช่น ชาวมุสลิม คริสต์บางนิกาย แต่เดิมใช้หมอพื้นบ้านและพบว่าอาจจะมีปัญหาในเรื่องความสะอาด ทำให้เสี่ยงติดเชื้อโรคได้ ซึ่งในท้องถิ่นหลายแห่งมีการกระทำโดยบุคลากรที่ไม่ใช่บุคลากรสาธารณสุข อันอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเนื่องจากภาวะแทรกซ้อน หรือติดเชื้อ ได้ในทำนองเดียวกันกับการตัดสายสะดือทารกแรกคลอด

ศ.นพ.สุชัยกล่าว บอร์ดสปสช.ได้พิจารณาว่า ภาวะแทรกซ้อนจากการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายดังกล่าวนั้น สามารถป้องกันได้ โดยให้บุคลการสาธารณสุขเป็นผู้ทำหัตถการดังกล่าว ซึ่งหากกระทำในทารกแรกเกิด จะสามารถทำได้ง่าย มีภาวะแทรกซ้อนน้อย และมีค่าใช้จ่ายต่ำ โดยบุคลากรสาธารณสุข เป็นการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุดสิทธิประโยชน์ ได้เท่านั้น จากนั้นได้สรุปและเสนอให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาและมีมติให้ชายไทยมุสลิมทำสุหนัตได้
ดร.อิศรา ศานติศาสน์ ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทยกล่าวว่า จากข้อมูลเบื้องต้นจากศูนย์ศึกษานโยบายเพื่อการพัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ศึกษาวิจัยในเรื่องแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพของชาวไทยมุสลิม ระบุว่าการทำสุหนัตหรือการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเป็นบทบัญญัติตามหลักการของศาสนาอิสลาม
ดังนั้นการขริบหนังหุ้มปลายส่วนใหญ่จะทำตั้งแต่ยังเด็ก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายถูกกว่า โดยทางการแพทย์ยอมรับว่าการขริบหนังหุ้มปลายทำให้ผู้ชายปราศจากโรคมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์ และผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกน้อยลงอีกด้วย

“ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากที่ผ่านมาการขริบหนังหุ้มปลายมีค่าใช้จ่ายสูงทำให้มุสลิมจำนวนมากที่มี รายได้น้อยไม่สามารถทำได้อีกทั้งไม่สามารถเข้าถึงสถานบริการได้ อย่างไรก็ตาม การที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานสำคัญที่ให้การช่วยเหลือบริการทางด้านนี้ซึ่งจำเป็นต่อสุขภาพมุสลิม จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ถือเป็นสิ่งจำเป็นตามหลักการศาสนาอิสลาม”รศ.ดร.อิศรากล่าว




 

Create Date : 23 กันยายน 2550   
Last Update : 23 กันยายน 2550 21:48:18 น.   
Counter : 2518 Pageviews.  


การประชุมเรื่องเอดส์นานาชาติแนะนำให้ขลิบเพื่อลดการแพร่กระจายเอดส์ในผู้ป่วยรายใหม่

รายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์: จากการประชุม IAS ครั้งที่ 4 เมื่อ 24 กค.2550 ว่าด้วยเรื่อง กลไกการก่อโรคของเชื้อไวรัสเอชไอวี การบำบัดรักษาและการป้องกัน ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ได้ค้นพบตัวยาชนิดใหม่ที่ต้านต่อ retrovirus และผลการวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงผลในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีในชายที่ผ่านการขลิบหนังหุ้มปลายองคชาตแล้ว

ศาสตราจารย์ไบเลย์แห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ มลรัฐชิคาโก กล่าวว่า จากการศึกษาในประเทศ ยูกานดาและเคนย่า รวมไปถึงการศึกษาใน U.S. แซมเบีย และมาลาวี พบว่า ผู้ชายที่ผ่านการขลิบหนังหุ้มปลายองคชาตแล้ว สามารถลดอัตราการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์จากหญิงสู่ชายได้ถึงร้อยละ 60 นอกจากนี้ ไบเลย์ยังได้กล่าวอีกว่า องค์การอนามัยโลกและ UNAIDS ได้ให้การสนับสนุนถึงการทำขลิบในชายว่า สามารถช่วยลดการติดเชื้อไวรัสเอดส์ ซึ่งสามารถป้องกันมิให้เกิดกรณีการติดเชื้อได้ในประชากรกว่าสองล้านคน และลดอัตราการตายของผู้ป่วยซึ่งอยู่ในขั้นที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ได้ถึงสามแสนรายเป็นเวลายาวนานกว่า 10 ปี



จากผลการวิจัยดังกล่าวก่อให้เกิดความท้าทายในการที่จะเผยแพร่องค์ความรู้ในเรื่องความปลอดภัยของการทำขลิบในชายและการรณรงค์ชักชวนให้ผู้นำในแต่ละประเทศได้ตระหนักถึงความสำคัญและได้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อเรียกร้องขอความช่วยเหลือสู่ประชากรภายในประเทศ ศาสตราจารย์ไบเลย์ได้ให้ความเห็นว่า เป็นการยากที่จะมีการรณรงค์และเผยแพร่องค์ความรู้ดังกล่าวให้เป็นที่กว้างขวาง เนื่องจากบางประเทศได้มีข้อผูกมัดทางวัฒนธรรมและความเชื่อทางศาสนาบางประการ ไบเลย์ยังกล่าวอีกว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้เกิดความเห็นชอบเกี่ยวกับการสนับสนุนให้มีการทำขลิบในชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ ณ ปัจจุบัน หากความล่าช้าในการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำขลิบเป็นไปอย่างมากขึ้นเพียงใด นั่นย่อมหมายความว่า อัตราการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีก็ย่อมเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วยเพียงนั้น

จากการรายงานข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์ กล่าวว่า ผู้หญิงในทวีปแอฟริกาซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการผลักดันให้มีการทำขลิบในชาย ได้มีความพยายามในการผลักดันให้มีการนำเอาการขลิบมาผสานเข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อเป็นการยืนยันถึงสุขอนามัยที่ดีของประชากรภายในชุมชน

อ้างอิงจาก Male Circumcision, New Antiretrovirals, Genetic Engineering Most Promising HIV Prevention, Treatment Methods, Conference Delegates Say.. 26 Jul 2007 ต้นฉบับ //www.medicalnewstoday.com/articles/77765.php





 

Create Date : 09 สิงหาคม 2550   
Last Update : 9 สิงหาคม 2550 21:22:29 น.   
Counter : 3522 Pageviews.  


1  2  3  

สาลิกาโบยบิน
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 297 คน [?]




สวัสดีครับทุกท่านที่ได้มีโอกาสเข้ามาในชุมชนนี้นะครับ ก้อบอกเลยละกันนะครับว่าห้องนี้สร้างขึ้นมาเพื่อให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พูดคุยและให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับการขริบปลายอวัยวะเพศและปัญหาสุขภาพเพศชาย ซึ่งหลายท่านอาจสนใจแต่ไม่ทราบจะหาข้อมูลจากที่ไหน และบางท่านอาจต้องการร่วมพูดคุยและหาเพื่อนที่มีอะไร ๆ เหมือนๆกัน ยังไงก้อเข้ามาทักกันบ้างนะครับ
ปล.ในนี้อาจมีภาพบางภาพไม่เหมาะสมกับเยาวชนนะครับแต่เพื่อจุดประสงค์ทางวิชาการ โปรดใช้วิจารณญาณในการชมด้วยครับ

อ้อ ใครมีปัญหาด่วน เชิญทาง https://t.me/Dr_sarika นะครับ ครับ ผมเล่นทุกวันหลังสามทุ่มครับ

อีกอัน หลัง ๆ ผมไม่ค่อยได้เข้ามาในบล๊อกนะครับ ยังไงตามไปที่เพจได้นะครับ https://www.facebook.com/sarikahappymen
New Comments
[Add สาลิกาโบยบิน's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com