โรคร้ายของลูกน้อยที่เรียกว่า ไอ พี ดี

โรคร้ายของลูกน้อยที่เรียกว่า ไอ พี ดี
กลุ่มเด็กที่เสี่ยงต่อโรคร้าย ไอ พี ดีหลังจากที่คุณแม่พอที่จะทราบอาการของโรค ไอ พี ดี กันไปบ้างแล้ว คราวนี้เราก็มาทราบถึงกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงต่อโรค ไอ พี ดี กันดีกว่าค่ะ  เด็กกลุ่มไหนมีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อ ไอ พี ดี ?จากการศึกษาพบว่า กลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคติดเชื้อ ไอ พี ดี นั้นได้แก่ เด็กแข็งแรงที่อายุต่ำกว่า 2 ปี อาจแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่มค่ะ คือ- กลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้แก่ เด็กที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน เด็กที่อยู่กับผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ และเด็กที่ไม่ได้กินน้ำนมแม่ เด็กที่ได้รับยาปฏิชีวนะมาก่อน - กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ เด็กที่เคยมีประวัติติดเชื้อในหู และเด็กที่มีภูมิต้านทานบกพร่องและเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เด็กที่ไม่มีม้ามหรือม้ามทำหน้าที่บกพร่อง เด็กที่มีน้ำในเยื่อบุช่องท้อง เด็กที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด โรคไต โรคเบาหวาน เด็กที่มีน้ำไขสันหลังรั่วจากความพิการแต่กำเนิดหรือมีกะโหลกศีรษะแตก และเด็กที่ได้รับการผ่าตัดใส่วัสดุเทียมของหูชั้นใน
ไม่ว่าเด็ก หรือผู้ใหญ่ก็แพร่เชื้อนิวโมคอคคัสได้!!โดยปกติพบเชื้อนิวโมคอคคัสบ้างทั้งเด็กและผู้ใหญ่ทุกเพศ ทุกวัย (ไม่แสดงอาการ แต่เป็น "พาหะ" ที่สามารถแพร่เชื้อได้) โดยในเด็กเล็กเชื้อจะอยู่ในทางเดินหายใจประมาณ 2-4 เดือน ในขณะที่ผู้ใหญ่เชื้อจะอยู่ได้นานประมาณ 2-4 สัปดาห์ค่ะไอ พี ดี กับ ไข้หวัดธรรมดา ความเหมือนที่แตกต่าง

ไอ พี ดี กับ ไข้หวัดธรรมดาเมื่อลูกน้อยเป็นไข้คุณพ่อคุณแม่อย่านิ่งนอนใจ... จริงอยู่ที่อาการไข้ในเด็กเล็กนั้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมักหายได้เองแต่อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ควรเอาใจใส่ลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เพราะบางครั้งไข้ที่เกิดกับลูกน้อยอาจไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดา อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียตามมา ซึ่งหนึ่งในเชื้อแบคทีเรียที่อาจพบในเด็กเล็ก คือ แบคทีเรียนิวโมคอคคัสแม้จะพบไม่ค่อยบ่อยนักแต่เชื้อตัวนี้ก็รุนแรง และอาจลุกลามไปสู่อวัยวะสำคัญได้ และหากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที ชีวิตลูกน้อยอาจเป็นอันตรายได้ค่ะ อาการแสดงของโรคเชื้อนิวโมคอคคัสมักทำให้เกิดโรคของระบบทางเดินหายใจ เช่น หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบซึ่งส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงแต่พบได้บ่อย นอกจากนี้เชื้อนี้ยังเป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบ ซึ่งอาจมีอาการรุนแรง ส่วนการติดเชื้อแบบ ไอ พี ดี พบได้น้อยกว่ามากแต่ในเวลาเดียวกันก็มีความรุนแรงสูงกว่ามากเช่นกัน ซึ่งหากติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองเด็กจะมีอาการไข้สูง คอแข็ง งอแง ซึม ไม่ดื่มนม และชัก หรือหากติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจะมีไข้สูง ร้องกวน งอแง อาจช็อก และถ้ามีอาการปอดอักเสบเด็กจะมีอาการไข้ ไอ หอบ หายใจเร็ว เมื่อคุณพ่อคุณแม่พบอาการแบบนี้กับลูกน้อยเข้าแล้วจึงไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดค่ะการวินิจฉัยการวินิจฉัยที่แน่ชัดที่สุดคือการเพาะเชื้อที่มากับเลือด หรือสิ่งคัดหลั่งอื่นๆ เช่น น้ำไขสันหลัง ซึ่งวิธีการนี้ถือได้ว่าเป็นวิธีการที่มีความถูกต้องและแม่นยำต่อการวินิจฉัยโรคมากที่สุดในกรณีที่เด็กยังไม่ได้รับยาปฏิชีวนะมาก่อนขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจากโรงพยาบาลเด็กสมิติเวชศรีนครินทร์//www.samitivejhospital.com/HealthNewsDetail_en.aspx?NewsID=381&imagePath=../images/web/ipd.jpg ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น  แต่ก็ยังมีอีกหลายโรคที่ยังเป็นปัญหา  โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพของลูกน้อย  อย่างโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส  ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่นำไปสู่ความพิการและการเสียชีวิตของเด็กทารกทั่วโลก  จากสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าโรค ไอ พี ดี หรือ โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส ทำให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ในทั่วโลกเสียชีวิตจากการติดเชื้อนี้มากกว่า 1 ล้านคนต่อปี แม้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็มีอุบัติการณ์โรคนี้เช่นกัน
โรค ไอ พี ดี โรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อนิวโมคอคคัส ซึ่งเป็นโรคร้ายที่องค์การอนามัยโลก และหน่วยงานเกี่ยวกับวัคซีนต่างๆ* รณรงค์ให้นานาประเทศหันมาตระหนักในการป้องกันรับรองว่า สามารถป้องกันได้ โดยการเสริมภูมิคุ้มกันให้กับเด็กทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศโลกที่ 3 จะสามารถช่วยชีวิตคนได้ถึง 5.4 ล้านคนภายในปี 2030
นิวโมคอคคัส กับ ปอดบวม
โรค ไอ พี ดี ย่อมากจากคำว่า "Invasive Pneumococcal Disease"  เกิดจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส เป็นเชื้อชนิดรุนแรงและอันตราย ซึ่งมักเกิดที่เยื่อหุ้มสมอง หรือในกระแสเลือด หรือที่ปอด ที่เราอาจเรียกว่า ปอดอักเสบชนิดรุนแรงหรือลุกลามจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส โดยเด็กสุขภาพดีที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี เป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดการติดเชื้อนี้ ซึ่งหากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที เด็กอาจเสียชีวิตใน 2-3 วันหรือมีอาการพิการได้
เชื้อนิวโมคอคคัสนั้นมักพบอยู่ในโพรงจมูก และลำคอของคนทั่วไป ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการใดๆ แต่สามารถเป็นพาหะนำเชื้อแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ โดยการไอหรือจามรดกัน โดยเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี จะมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัส
ปัจจุบัน องค์การยูนิเซฟและองค์การอนามัยโลก ระบุว่า โรคปอดบวมคือมฤตยูร้ายที่ถูกลืม และแนะให้ทุกประเทศเฝ้าระวัง โดยข้อมูลทางการแพทย์และผลการศึกษาในสหรัฐอเมริกายืนยันว่า การฉีดวัคซีน ไอ พี ดี สามารถลดอัตราการเข้ารับการรักษาโรคปอดบวมชนิดรุนแรงจากเชื้อนิวโมคอคคัสในโรงพยาบาลได้ถึง 65%
(ทั้งนี้วัคซีน ไอ พี ดี นั้นมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นคุณพ่อ คุณแม่ควรปรึกษากุมารแพทย์ถึงความคุ้มค่า รวมทั้งคำนึงถึงสุขภาพของลูกน้อย)
ไอ พี ดี ไม่ใช่เรื่องใหม่
แม้ในประเทศไทยจะยังไม่มีการเก็บข้อมูลอย่างจริงจัง  แต่โรคติดเชื้อ ไอ พี ดี นี้ไม่ใช่โรคใหม่สำหรับคนไทย  เพราะโรคติดเชื้อ ไอ พี ดี จะมีอาการเป็นไข้คล้ายกับโรคติดเชื้อทั่วไป  คุณพ่อคุณแม่ของลูกน้อยส่วนใหญ่จึงมักคิดว่าเป็นไข้ธรรมดา  และไม่ให้ความสำคัญในการตรวจวินิจฉัยโรค  ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการติดเชื้อดังกล่าวในบางรายสามารถคร่าชีวิตลูกน้อยได้ภายใน 48 ชั่วโมง หรือ ภายใน 2 วันเลยทีเดียว....เพราะเราห่วงใยลูกน้อยคุณ ด้วยความปราถนาดีจากโรงพยาบาลเด็กสมิติเวชศรีนครินทร์
AMC ; Anvance Market Commitment for Vaccines, PneumoADIP, PACE ; Pneumococcal Awareness Council of Experts. //www.medicalnewstoday.com/articles/62828.php
Cheapest Dell NetbooksLow Price Dell Mini NetbookToshiba NetbookToshiba Netbook ReviewsToshiba NetbooksCheap Toshiba NetbookDiscount Toshiba Netbook ReviewsCheapest Toshiba NetbooksLow Price Toshiba NetbookBuy Toshiba Netbook ReviewsBuying Toshiba NetbooksOrder Toshiba NetbookSamsung NetbookSamsung Nc10 NetbookSamsung NetbooksCheap Samsung NetbookDiscount Samsung Nc10 NetbookCheapest Samsung NetbooksLow Price Samsung NetbookBuy Samsung Nc10 NetbookBuying Samsung NetbooksOrder Samsung NetbookNetbookNetbook ProNetbooksNetbook ReviewsNetbook ComputersBest NetbookNetbook DealsNetbook ComparisonCheap NetbooksNetbooks For SaleNetbook Vs LaptopNetbook CaseNetbook SaleVerizon NetbookUbuntu Netbook RemixBest NetbooksApple NetbookWhat Is A NetbookGateway NetbookCheap Netbook ComputersNetbooks On SaleRefurbished NetbookBest Netbook ReviewsLenovo NetbookNetbooks LaptopsCompare NetbooksNetbook Reviews ComparisonMini Netbooks



Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2553 16:07:11 น. 0 comments
Counter : 339 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

beaushi
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add beaushi's blog to your web]