สัตว์น้ำสงวนและคุ้มครอง
Group Blog
 
All Blogs
 
สัตว์น้ำสงวนและคุ้มครอง


เมื่อปี พ.ศ. 2516 สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางในการควบคุมการค้าสัตว์ป่าและพันธุ์พืชระหว่างประเทศขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดีซี เพื่อร่างอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการค้าชนิดสัตว์ป่าปละพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ CITES หรืออนุสัญญาวอชิงตัน มีผู้เข้าร่วมประชุม 88 ประเทศ และมีผู้ลงนามรับรีองอนุสัญญาฉบับนี้ทันที 21 ประเทศ สำหรับประเทศไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วยแต่มาลงนามรับรองอนุสัญญาในปี ค.ศ. 1975 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม 1983 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 การให้สัตยาบันทำให้ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ อย่างสมบรูณ์ ด้วยเหตุผลที่ว่าอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์จะเอื้ออำนวยให้ประเทศไทยสามารถควบคุมการลักลอบส่งสัตว์ป่าและพืชป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้การส่งออก นำเข้า และนำผ่านแดนได้รับความสะดวกมากขึ้นและความร่วมมือจากประเทศภาคีมีความจำเป็นในการควบคุมการส่งออกสัตว์ป่าและพืชป่าจากประเทศไทย อีกทั้งเพื่อความร่วมมือกับประเทศภาคีอื่นๆ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่ามิให้สูญพันธุ์
การให้สัตยาบันเข้าเป็นสมาชิกอนุสัญญาไซเตส ทำให้เกิดภาระผูกพันที่ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติ กล่าวคือ
1. ประเทศสมาชิกจะต้องจัดให้มีบทบัญญัติทางกฏหมายที่จะใช้ควบคุมบังคับตามข้อกำหนดขออนุสัญญาฯ โดยการห้ามทำการค้าตัวอย่างพันธุ์ที่เป็นการละเมิดอนุสัญญาฯ รวมทั้งกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน
2. ต้องจัดให้มีหน่วยงานหรือองค์กรขึ้นสองฝ่าย คือ ฝ่ายปฏิบัติการและฝ่ายวิชาการ
3. ต้องจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับข้อมูล การนำเข้า ส่งออก และนำผ่านชนิดพันธุ์ในอนุสัญญาฯ และประชุมประจำปี 2 ปี เพื่อแก้ไขปรับปรุงเกี่ยวกับกฏระเบียบข้อบังคับและมาตรการทางกฏหมายของประเทศภาคีเหล่านี้ เป็นต้น
4. กำหนดให้มีด่านตรวจผ่านชนิดพันธุ์ในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาฯ
ระบบการควบคุมของไซเตส
การค้าสัตว์ป่า พืชป่า และผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศจะถูกควบคุมโดยระบบใบอนุญาต ซึ่งหมายถึง สัตว์ป่าและพืชป่าที่อนุสัญญาควบคุมจะต้องมีใบอนุญาตในการ นำเข้า ส่งออก นำผ่าน ส่งกลับออกไป
ชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่อนุสัญญาควบคุมจะระบุไว้ในบัญชีหมายเลข1,2,3 ของอนุสัญญา โดยได้กำหนดหลักการไว้ว่า
ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 1 เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ห้ามค้าโดยเด็ดขาด เนื่องจากใกล้จะสูญพันธุ์ ยกเว้นเพื่อการศึกษา วิจัย หรือ เพาะพันธุ์ ซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้าเสียก่อน ประเทศส่งออกจึงจะออกใบอนุญาตส่งออกได้ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นๆ ด้วย
ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 2 เป็นชนิดพันธุ์ของสวัตว์ป่าปละพืชป่าที่ยังไม่ถึงกับใก้ลจะสูญพันธุ์ จังยังอนุญาตให้ค้าได้ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงใกล้สูญพันธุ์ โดยประเทศที่จะส่งออกต้องออกหนังสือและรับรองว่าการส่งออกแต่ละครั้งจะไม่กระทบกระเทือนต่อการดำรงอยู่ของชนิดพันธุ์นั้นๆ ในธรรมชาติ
ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 3 เป็นชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฏหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งแล้วขอความร่วมมือประเทศภาคีสมาชิกให้ช่วยดูแลการนำเข้า คือจะต้องมีหนังสือรับรองการส่งออกจากประเทศถิ่นกำเนิด
เพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาไซเตส รัฐบาลได้ประกาศให้มี พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และได้แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 โดยพระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535





Create Date : 24 กันยายน 2550
Last Update : 29 กันยายน 2550 15:45:51 น. 0 comments
Counter : 533 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

จ่าจิตร
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add จ่าจิตร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.