o(.".)o Taew Surangpish
Group Blog
 
All Blogs
 

คำศัพท์เกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์ #2

Absolute advantage : ความสามารถที่เหนือกว่าโดยสมบูรณ์ ซึ่งประเทศหนึ่งผลิตสินค้าอย่างหนึ่งได้ มากกว่าอีกประเทศหนึ่ง โดยใช้ทรัพยากรที่เหมือนกันและปริมาณเท่ากัน
Accelerator theory of investment : ทฤษฎีที่กล่าวว่า ปริมาณการลงทุนจะมากตามปริมาณรายได้ประชาชาติที่เพิ่มขึ้น
ad valorem tax : ภาษีที่คิดตามราคาสินค้า เช่น 10%ของราคาสินค้า
Aggregate demand (AD) : มูลค่าความต้องการซื้อสินค้าบริโภค (สินค้าขั้นสุดท้าย)รวมทั้งหมดทั้งประเทศ
Aggregate supply (AS) : มูลค่าความต้องการขายสินค้าบริโภค (สินค้าขั้นสุดท้าย)รวมทั้งหมดทั้งประเทศ
Average fixed cost (AFC) : ต้นทุนคงที่เฉลี่ย คิดโดย นำต้นทุนคงที่รวมตั้ง หารด้วย ปริมาณผลผลิต
Average product (AP) : ผลผลิตเฉลี่ย คิดโดย นำปริมาณผลผลิตรวมตั้ง หารด้วย ปริมาณปัจจัยผันแปรที่นำมาใช้ในการผลิต
Average propensity to consume (APC) : ความโน้มเอียงเฉลี่ยในการบริโภค คิดโดย นำค่าใช้จ่าย การบริโภคตั้ง หารด้วย รายได้ (C/Y)
Average propensity to import : ความโน้มเอียงเฉลี่ยของการซื้อสินค้าเข้าจากต่างประเทศ คิดโดย นำค่าซื้อสินค้าทั้งหมดจากต่างประเทศตั้ง หารด้วย รายได้รวม (M/Y)
Average propensity to save (APS) : ความโน้มเอียงเฉลี่ยในการออม คิดโดย นำมูลค่าการออมทั้งหมดตั้ง หารด้วย รายได้ทั้งหมด
Average revenue (AR) : รายได้เฉลี่ย คิดโดย นำรายได้รวมตั้ง หารด้วย จำนวนสินค้าที่ขายได้
Average total cost (ATC, AC) : ต้นทุนรวมเฉลี่ย คิดโดย นำต้นทุนรวมตั้ง หารด้วย จำนวนสินค้าที่ผลิตได้
Average variable cost (AVC) : ต้นทุนแปรผันเฉลี่ย คิดโดย นำต้นทุนแปรผันรวมตั้ง หารด้วย จำนวนสินค้าที่ผลิตได้
Balanced budget : งบประมาณสมดุล คือ รายได้ เท่ากับ รายจ่าย
Balance of payments accounts : บัญชีดุลการชำระเงิน คิดโดยเปรียบเทียบรายรับทุกอย่างที่เป็น เงินตราจากต่างประเทศ กับ รายจ่ายทุกอย่างที่เป็นเงินตราไปยังต่างประเทศ
Balance of trade : ดุลการค้า คือ มูลค่าสินค้าออกขายไปต่างประเทศ ลบด้วย มูลค่าสินค้าเข้าที่ซื้อจากต่างประเทศ คิดด้วยหน่วยเงินตราเดียวกัน
Barriers to entry : อุปสรรคกีดกันมิให้เข้าสู่กิจกรรมหรือธุรกิจนั้น
Barter : การแลกสินค้า คือ การค้าที่ใช้สินค้าหรือบริการแลกกันแทนการใช้เงินตรา
Bond : พันธบัตร คือ เอกสารการกู้เงิน ที่แสดงเงินต้น ดอกเบี้ย และ เวลาชำระคืน เป็นวิธีการกู้ยืมที่ไม่มีหลักประกันหนี้ มีเพียงกระดาษประกาศความเป็นหนี้อย่างเดียว
Base year : ปีฐาน คือ ปีที่ถือเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบในการทำดัชนี ปีฐานมีค่าดัชนีเป็น 100
Bills of exchange : เอกสารแสดงว่าจะจ่ายเงินโดยระบุจำนวนเงินและเวลาที่จะจ่าย ส่วนมากใช้กับการค้าต่างประเทศ ซึ่งเอกสารกล่าวว่าจะจ่ายเงินให้เมื่อได้รับสินค้า
Bond : พันธบัตร เป็นเอกสารแสดงว่าจะจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยให้เมื่อถึงเวลากำหนด
Boom : สภาพเศรษฐกิจรุ่งเรือง มีการผลิตมาก มีงานทำมาก ค้าขายคล่อง
Break-even point : จุดคุ้มทุน คือ จำนวนผลผลิตที่คุ้มทุนพอดี ไม่ขาดทุน ไม่กำไร
Broad money : เงินในความหมายกว้าง คือ ประกอบด้วยเงินสด (ธนบัตร เหรียญกษาปณ์) เงินฝากกระแสรายวัน (เขียนเช็ค) เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และ เงินซื้อหุ้นผ่านกองทุนต่างๆ
Budget deficit : การขาดดุลงบประมาณ คือ สถานะการเงินที่รายได้น้อยกว่ารายจ่าย
Budget line : เส้นงบประมาณ คือ เส้นที่แสดงว่า ในจำนวนเงินที่กำหนด จะซื้อสินค้าสองอย่างร่วม กันเป็นปริมาณอย่างละเท่าใด
Budget surplus : การเกินดุลงบประมาณ คือ สถานะการเงินที่รายได้มากกว่ารายจ่าย
Business cycles : วัฏจักรธุรกิจ คือ สภาพที่เศรษฐกิจเจริญขึ้น และ ตกต่ำลงสลับกัน อันเป็นธรรมดาของวงจรเศรษฐกิจของประเทศและของโลก บางทีเรียกว่า Economic cycle หรือ Trade cycle
Capital account : บัญชีทุน แสดงเงินลงทุนระหว่างประเทศที่ไหลเข้าประเทศและไหลออกจากประเทศหนึ่ง
Capital consumption allowance : ค่าเสื่อมของเครื่องมือการผลิต ที่เกิดจากการนำเครื่องมือการผลิตไปใช้ผลิตสินค้า บางทีเรียกว่า depreciation
Capital deepening : การผลิตที่ใช้เครื่องจักรเครื่องมือมากกว่าใช้แรงงาน
Capital goods : สินค้าทุน คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือการผลิตสินค้า แทนที่จะผลิตสำหรับบริโภค
Capital-labour ratio : อัตราส่วนทุนต่อแรงงาน คิดโดย นำจำนวนเงินที่จ่ายไปในการใช้เครื่องมือ หารด้วย จำนวนเงินที่จ่ายไปในการใช้แรงงาน เพื่อร่วมกันผลิตสินค้าอย่างหนึ่งขึ้นมา
Capital-output ratio : อัตราส่วนทุนต่อผลผลิต คิดโดย นำมูลค่าการใช้เครื่องมือเพื่อการผลิตนั้น หารด้วย มูลค่าผลผลิตที่ได้นั้น
Capital stock : มูลค่าเครื่องมือที่มีอยู่ในเวลานั้น
Cartel : กลุ่มธุรกิจที่รวมกันเหมือนเป็นธุรกิจเดียว เพื่อหวังผลการผูกขาด
Central bank : ธนาคารกลาง หรือ ธนาคารชาติ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ธนาคารต่างๆ รวมทั้งรัฐบาล ได้กู้ยืมเงิน ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐบาล มีหน้าที่กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ให้บริหารงานไม่เกิดความเสียหายแก่สังคมด้วย และ มักเป็นมีหน้าที่ออกธนบัตร ควบคุมปริมาณเงินให้มีปริมาณพอเหมาะแก่เศรษฐกิจของประเทศ
Closed economy : เศรษฐกิจปิด คือ ระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการค้ากับต่างประเทศ บางทีเรียกว่า Autarky
Common market : ตลาดร่วม คือ กลุ่มประเทศร่วมกันเปิดการค้าเสรี ไม่เก็บภาษีกันในการค้าระหว่างกัน แต่กีดกันการค้าประเทศที่อยู่นอกกลุ่ม
Comparative advantage : การได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ คือ การที่ประเทศหนึ่งใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ผลิตสินค้าอย่างหนึ่ง โดยเสียโอกาสการผลิตสินค้าอีกอย่างหนึ่งน้อยกว่าประเทศอื่น แต่ถ้าผลิตสินค้าอีกอย่างหนึ่ง จะเสียโอกาสการผลิตสินค้าแรกมากกว่าประเทศอื่น
Concentration ratio : อัตราการกระจุกตัว เป็นการวัดอำนาจการผูกขาดการค้าทางอ้อมอย่างหนึ่ง คิดโดย นำมูลค่าการขายสินค้าอย่างหนึ่งของบริษัทหนึ่ง หารด้วย มูลค่าการขายสินค้าอย่างนั้นของธุรกิจทั้งหมดในตลาด อาจคิดเป็นกลุ่ม 4 ถึง 8 บริษัท ก็ได้ แล้วแต่ความต้องการวัด
Constant returns : ผลตอบแทนคงที่จากการขยายขนาดการผลิต เช่น ขยายปัจจัยการผลิตทุกปัจจัยเป็น 5 เท่าของจำนวนปัจจัยเดิม ได้ผลผลิตก็เป็น 5เท่าของปริมาณผลผลิตเดิม
Consumers’ surplus : ส่วนเกินของผู้บริโภค คือส่วนที่ผู้บริโภคประหยัดเงินลงได้กว่าที่ตั้งใจจ่าย เนื่องจากราคาตลาดต่ำกว่าราคาที่ตั้งใจยอมซื้อ
Consumption : การบริโภค คือ การได้กิน การได้ใช้ การได้สิทธิครอบครอง สินค้าและบริการ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์
Consumption function : ฟังค์ชันการบริโภค คือ การแสดงว่าการบริโภคขึ้นอยู่กับสาเหตุใดบ้าง เช่น ขึ้นอยู่กับรายได้ อัตราดอกเบี้ย ค่านิยม เป็นต้น
Cross-elasticity of demand : ความยืดหยุ่นไขว้ เป็นความไวในการตอบสนองของความต้องการซื้อ เมื่อราคาสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ไมใช่สินค้าที่ต้องการซื้อ) เปลี่ยนแปลงไป เช่น เมื่อราคาไก่เพิ่มขึ้น 1% ทำให้การซื้อปลาเพิ่มขึ้น 5% ความยืดหยุ่นไขว้เท่ากับ 5
Crowding-out effect : การหักล้างทำให้ไม่เกิดผลเต็มที่ เช่น เมื่อรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายบริโภคโดยรวมของประชาชนก็เพิ่มขึ้น แต่ไม่เพิ่มมาก เพราะว่าเมื่อรายได้ประชาชาติเพิ่ม ทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่ม ประชาชนจึงซื้อสินค้าบริโภคลดลงบ้าง ไม่เพิ่มมากอย่างที่คาด
Debt instrument : ตราสารหนี้ คือ เอกสารแสดงว่าใครเป็นหนี้ เป็นจำนวนเงินต้นเท่าไร อัตราดอกเบี้ยเท่าไร กำหนดชำระคืนเมื่อไร
Decreasing returns : ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการขยายขนาดการผลิต เช่น ขยายปัจจัยการผลิตทุกปัจจัยเป็น 5 เท่าของจำนวนปัจจัยเดิม ได้ผลผลิตก็เป็น 3เท่าของปริมาณผลผลิตเดิม
Deficit : สภาพที่รายได้น้อยกว่ารายจ่าย
Deflation : สภาพเศรษฐกิจที่ราคาสินค้าโดยทั่วไปต่ำลง
Demand : ความต้องการซื้อ บางตำราเรียกว่า อุปสงค์ แสดงเป็นจำนวนสินค้าหรือมูลค่าที่ซื้อสินค้าโดยกำหนดช่วงเวลากำกับไว้ เช่น ความต้องการซื้อข้าว 10 ตัน ในช่วง 1 เดือน
Demand curve : เส้นความต้องการซื้อ บางตำราเรียกว่า เส้นอุปสงค์ เป็นเส้นแสดงปริมาณสินค้าที่ต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆ เช่น ถ้าราคา 5 บาท ต้องการซื้อ 20 กล่อง ถ้าราคา 10 บาท ต้องการซื้อ 3 กล่อง เมื่อลากเส้นแสดงปริมาณซื้อที่ 2 ราคานี้ ก็เป็น เส้นความต้องการซื้อ
Demand for money : ปริมาณเงินที่พอดีซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในสังคมหมดพอดี (ตำราส่วนมากแปลว่า ความต้องการถือเงิน ทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ เพราะปริมาณเงินที่ประชาชนต้องการถือย่อมไม่มีขอบเขตจำกัด ทำให้ไม่มีความหมายในการอธิบายปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ) ถ้ามีการใช้เงินซื้อสินค้าและบริการต่อๆกันไปหลายๆทอดอย่างรวดเร็ว ปริมาณเงินที่ประชาชนมีถืออยู่ก็ไม่ต้องมาก ก็สามารถซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในสังคมได้หมดพอดี ถ้าปริมาณเงินที่มีให้ประชาชนถือมีน้อยเกินไป สินค้าและบริการที่ผลิตได้ก็ขายไม่หมด ถ้ามีเงินถือมากเกินไป ก็เกิดการซื้อมากเกินไป ทำให้เกิดสภาพเงินเฟ้อ ธนาคารกลางจึงประมาณว่า ประชาชนและธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ควรมีเงินที่นำมาใช้จ่ายได้เป็นปริมาณเท่าใดจึงพอดีซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในสังคมหมดพอดี
Demand function : ฟังค์ชันแสดงความสัมพันธ์ปริมาณสินค้าที่ต้องการซื้อ กับ ปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดการซื้อเป็นปริมาณนั้น เช่น ปริมาณสินค้าที่ต้องการซื้อ ขึ้นอยู่กับ มีความต้องการสินค้านั้น มีเงินซื้อ ราคาสมคุณภาพ เป็นต้น หรือ ปริมาณสินค้าที่ต้องการซื้อ ขึ้นอยู่กับ ราคา รายได้ของผู้ซื้อ ราคาสินค้าที่เกี่ยวข้อง และ ความนิยม เป็นต้น
Demand schedule : ตารางแสดงปริมาณการซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆ
Depreciation : การเสื่อมค่า
Depression : เศรษฐกิจตกต่ำ เป็นสภาพที่เศรษฐกิจซบเซา สินค้าและบริการขายยาก คนว่างงาน มีหนี้มาก
Derived demand : ความต้องการซื้อต่อเนื่อง เช่น เมื่อมีความต้องการสินค้าและบริการสุดท้าย ทำให้ต้องการซื้อปัจจัยการผลิต หรือ อาจเป็นเรื่องอื่นๆทำนองเดียวกันนี้
Developed countries : ประเทศร่ำรวยทางเศรษฐกิจ (แต่อาจยากจนเรื่องอื่น) ได้แก่ ประเทศอเมริกา ประเทศต่างๆในยุโรปตะวันตก ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์
Developing countries : ประเทศยากจน ประเทศกำลังพัฒนา ได้แก่ประเทศส่วนมากในเอเซีย อเมริกาใต้ อัฟริกา บางทีเรียกว่า ประเทศพัฒนาน้อย (less developed countries, LDCs) ประเทศด้อยพัฒนา(underdeveloped countries) ประเทศล้าหลัง (backward countries)
Direct tax : ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ผู้ถูกเก็บต้องรับภาระเองโดยตรง ไม่สามารถผลักภาระให้ผู้อื่น ได้ เช่น ภาษีเงินได้ประจำปี
Discount rate : อัตราการลดค่า ที่ทำให้มูลค่าของรายได้ในอนาคตกลับมาเป็นรายได้ปัจจุบัน ปกติ มักใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราลดค่า
Diseconomies of scale : สภาพการผลิตที่ต้นทุนเฉลี่ยสูงขึ้นเมื่อขยายการผลิตมากขึ้น
Disposable income : รายได้ที่ใช้จ่ายได้ คือ รายได้ของครัวเรือนหลังเสียภาษีเงินได้แล้ว สามารถ นำไปใช้จ่ายได้
Dividends : เงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น
Division of labour : การแบ่งงานกันทำตามความสามารถ
Dumping : การทุ่มตลาด เพื่อให้คู่แข่งขันพ่ายแพ้หนีออกไปจากตลาด
Duopoly : ตลาดที่มีผู้ขายสองราย duo แปลว่า สอง
Economic profit : กำไรแบบเศรษฐศาสตร์ คือ การคิดกำไรโดยคิดค่าเสียโอกาส (ที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงิน เช่น ค่าเสียโอกาสค่าเช่าจากการใช้บ้านตัวเอง) เป็นต้นทุนด้วย ในปัจจุบันทางบัญชีก็คิดอย่างเศรษฐศาสตร์เหมือนกัน
Economic rent : ค่าเช่าแบบเศรษฐศาสตร์ เป็นส่วนเกินที่เจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับผลตอบแทน จากการให้ใช้ปัจจัยการผลิต ซึ่งหากคิดจากความสามารถในการมีส่วนร่วมในการผลิตแล้ว เขาไม่ควรได้ค่าตอบแทนมากถึงเพียงนั้น ศัพท์คำนี้ไม่ควรนำมาใช้ เพราะว่าทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย เป็นสำนวนที่ David Ricardo คิดใช้ขึ้น แล้วมีผู้รับมาใช้ต่อๆกัน
Economies of scale : การประหยัดจากการขยายการผลิต คือ เมื่อผลิตมากขึ้น ทำให้ต้นทุนเฉลี่ย ลดลง ซึ่งทำให้การผลิตขนาดใหญ่ได้เปรียบการผลิตขนาดเล็ก (แต่การผลิตขนาดใหญ่ก็มีข้อเสียเปรียบบางอย่าง)
Economies of scope : การประหยัดจากการผลิตสินค้าหรือบริการหลายอย่าง คือ เมื่อผลิตสินค้า หลายอย่าง ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยลดลง เนื่องจากใช้ปัจจัยบางอย่างร่วมกันได้ โดยเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเล็กน้อย หรือไม่เพิ่มเลย หรือ ใช้วัสดุเหลือใช้ที่จะต้องทิ้ง นำมาผลิตต่อ
Economy : เศรษฐกิจ คือ สภาพกิจกรรมการผลิต และ การซื้อสินค้า รวมทั้งองค์ประกอบต่างๆโดย ทั่วไป ที่ทำให้เกิดการซื้อ ขาย และ บริโภค ของประชาชนในชาติ
Effective exchange rate : อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยคิดรวมถ่วงน้ำหนักกับเงินตรา ต่างประเทศหลายสกุล
Elastic : มีความไวตอบสนองมาก มีความยืดหยุ่น ถ้าคำนวณได้ค่าเกิน 1 (ไม่คิดเครื่องหมายบวก ลบ)
Endogenous variable : ตัวแปรที่ได้รับอิทธิพลจากตัวแปรอื่นๆในระบบเดียวกัน คือ มีค่ามากน้อย เพียงใดขึ้นกับค่าตัวแปรอื่นๆในระบบเป็นตัวกำหนด
Entrepreneur : เจ้าของกิจการ คนที่ไม่เป็นลูกจ้าง ได้รายได้จากกำไร (ถ้าโชคร้ายก็ขาดทุน)
Equilibrium : ดุลยภาพ สิ่งที่ต้องการ พอดีกับ สิ่งที่มีให้ หรือ มูลค่าทางด้านเข้าเท่ากับมูลค่าทาง ด้านออก หรือ การตกลงกันได้จากการต่อรองกัน
Equilibrium price : ราคาที่ทำให้จำนวนสินค้าที่ผู้ซื้อต้องซื้อ เท่ากับ จำนวนสินค้าที่ผู้ขายต้องการ ขาย
Equilibrium quantity : จำนวนสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ เท่ากับ จำนวนสินค้าที่ผู้ขายต้องการขาย
Excess demand : จำนวนสินค้าที่ต้องการซื้อ มากกว่า จำนวนสินค้าที่ต้องการขาย
Excess supply : จำนวนสินค้าที่ต้องการขาย มากกว่า จำนวนสินค้าที่ต้องการซื้อ
Exchange rate : อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ เช่น 40 บาท แลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ อเมริกา
Exogenous variable : ตัวแปรนอกระบบที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่นๆในระบบ แต่ตัวแปรนี้ไม่ถูก กำหนดโดยตัวแปรอื่นในระบบ เพราะมันอยู่นอกระบบ แต่เข้ามามีอิทธิพลต่อระบบ (ควรอ่าน Endogenous variable เปรียบเทียบ)
Expected value : ค่าที่เกิดจาการทดลองซ้ำอินฟินิทีครั้ง แล้วนำมาเฉลี่ย ถ้าแปลว่า ค่าที่คาดหวัง ก็ จะเข้าใจผิดได้
Externalities : ผลที่เกิดขึ้นแก่สังคมนอกธุรกิจ อันธุรกิจนั้นมิได้คำนึงถึงหรือไม่ได้รับผล เช่น ผู้เลี้ยง กุ้งกุลาดำ ทำให้เกิดน้ำเสียเสียหายแก่ผู้อื่น ผลเสียหายนั้นเป็นผลที่เกิดขึ้นแก่สังคมนอกธุรกิจ คนเลี้ยงกุ้งไม่ได้จ่ายค่าเสียหาย นอกจากถูกฟ้องร้อง หรือ การตั้งธุรกิจทำให้เกิดร้านค้า คนภายนอกขายของได้กำไร ก็เป็นผลดีเกิดขึ้นแก่สังคม เป็นผลภายนอกทางบวก ผู้ผลิต และ ผู้ขายสุรา ทำให้เกิดผลเสียแก่สังคมมาก โดยตนไม่ต้องรับผิดชอบ
Factor, Factor of production : ปัจจัยการผลิต ได้แก่ ที่ดิน อาคาร เครื่องมือ แรงงานคน พลังงาน เวลา วัตถุดิบ เทคโนโลยี และ เจ้าของกิจการ ตำราส่วนมากกล่าวว่า ได้แก่ ที่ดิน ทุน แรงงาน และ ผู้ประกอบการ ซึ่งไม่พอผลิตสินค้าได้ เป็นปัจจัยการผลิตสมัยโบราณที่ผลิตการเกษตรแบบดั้งเดิม
Fiat money : เงินตราที่ธนาคารกลาง (ได้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย) หรือผู้มีอำนาจเป็นผู้ออกให้ ประชาชนใช้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ได้แก่ ธนบัตร และ เหรียญกษาปณ์
Final product : สินค้าขั้นสุดท้ายสำหรับผู้บริโภค มิใช่สินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิต หรือ นำไปเป็น ปัจจัยการผลิต
Firm : หน่วยธุรกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน
Fiscal policy : นโยบายการคลัง คือ นโยบายหารายได้จากภาษีหรือวิธีการอื่น และ นโยบายการใช้ จ่ายเงินงบประมาณ มีผลสำหรับบริการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน บริหารจัดการสังคมโดยรวม และ มีผลพลอยได้กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ
Fixed capital formation : การลงทุนในปัจจัยคงที่ เช่น อาคาร โรงงาน เครื่องจักรกล
Fixed cost : ต้นทุนคงที่ ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนสินค้า เช่น ค่าเช่าอาคาร ค่าเงินเดือนผู้จัดการ ค่าโฆษณา
Fixed factor : ปัจจัยคงที่ คือ ปัจจัยการผลิตสินค้าที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนสินค้า เช่น อาคาร เครื่องจักรขนาดใหญ่ ผู้จัดการ
Foreign direct investment FDI : การลงทุนที่คนในประเทศหนึ่งลงทุนในอีกประเทศหนึ่ง โดยเข้าไป มีส่วนบริหารจัดการ มิใช่ซื้อหุ้นเก็งกำไร
Foreign exchange : เงินตราต่างประเทศ
Free trade : การค้าเสรี หมายถึง การค้าระหว่างประเทศที่รัฐบาลไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกีดกันหรือเก็บ ภาษี
Free-trade area : เขตการค้าเสรี พื้นที่ที่ประเทศต่างๆตั้งแต่สองประเทศขึ้นไปตกลงกันให้มีการค้า เสรีระหว่างกัน โดยตกลงในขอบเขตเงื่อนไขว่าจะอนุญาตค้าเสรีในสินค้าใดบ้าง โดยไม่กีดกัน ไม่เก็บภาษี ขณะเดียวกันก็กีดกันประเทศอื่นๆ โดย เก็บภาษี หรือ มีเงื่อนไขกีดกัน
Frictional unemployment : การว่างงานตามปกติธรรมชาติ เนื่องจากมีการลาออกจากงานหางานทำ ใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา จะไม่เดือดร้อนรุนแรง
GDP : ย่อจาก Gross Domestic Product ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หมายถึงมูลค่าของสินค้า และบริการสุดท้ายเพื่อการบริโภค และ สามารถขายได้ ที่ผลิตในประเทศ (ไม่ว่าเป็นของคนในชาติหรือคนต่างชาติ) คิดบัญชีในรอบหนึ่งปี รัฐบาลทุกประเทศมักนำค่า GDP มาหลอกประชาชนว่า GDP เติบโตมาก แสดงว่าเศรษฐกิจของประเทศดีมาก ที่จริงอาจเป็นเศรษฐกิจดีของคนต่างชาติหรือของกลุ่มคนจำนวนน้อย ประชาชนทั่วไปอาจยากจนยิ่งขึ้นทั้งที่ค่า GDP สูงมากๆก็ได้
Giffen good : สินค้าด้อยคุณภาพ ตามความคิดของ Giffen ที่กล่าวว่า สินค้าด้อยคุณภาพบางอย่าง มีลักษณะประหลาด เมื่อราคาสูงขึ้นคนก็ซื้อมากขึ้น ความคิดของ Giffen ไม่ดีต่อการเรียนเศรษฐศาสตร์ ทำให้นักศึกษาสับสน Giffen ยกตัวอย่างขนมปังยิ่งแพง คนยิ่งซื้อมาก ที่จริงแล้ว อาหารอย่างอื่นก็แพง ขนมปังก็แพง แต่แพงน้อยกว่าอาหารอย่างอื่น ฉะนั้นโดยเปรียบเทียบแล้ว ขนมปังราคาถูกลงเมื่อเทียบกับสินค้าอื่น เมื่อราคาถูกลง คนก็ซื้อมากขึ้น ไม่ใช่เรื่องมหัศจรรย์อย่างใด
Globalization : ถึงกันทั่วโลก เนื่องจากการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพขึ้น และ ความพยายามที่ประเทศ ต่างๆต้องการค้าขายและมีผลประโยชน์ข้ามชาติ ทำให้เกิดความเกี่ยวข้องถึงกันทั่วโลก
GNP : ย่อจาก Gross National Product ผลิตภัณฑ์รวมประชาชาติ หมายถึงมูลค่าของสินค้า และบริการสุดท้ายเพื่อการบริโภค และ สามารถขายได้ ที่คนของชาตินั้น(คนไทย)ผลิตได้ ทั้งอยู่ในประเทศ หรือที่อยู่นอกประเทศ คิดบัญชีในรอบหนึ่งปี
Good : สินค้า
High-powered money : เงินที่ธนาคารกลางสามารถควบคุมปริมาณได้ ได้แก่ เงินสด (ธนบัตร เหรียญกษาปณ์)ในมือประชาชน เงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ที่ถูกบังคับให้มี และ เงินกู้จากธนาคารกลาง มักเกิดจากการศึกษา ฝึกฝน และ ค่านิยมของคนในชาติ
Hyperinflation : เงินเฟ้อรุนแรง
Identification problem : ปัญหาการบ่งชี้สมการ เป็นปัญหาทางสถิติที่เกิดขึ้นในระบบที่มีสมการ หลายสมการ ซึ่งไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าสมการที่สร้างขึ้นเป็นสมการอะไร เช่น เป็นสมการอุปสงค์ หรือสมการอุปทาน
Import substitution : การผลิตเพื่อทดแทนสินค้านำเข้า
Income-consumption curve : เส้นแสดงการบริโภคเพิ่มขึ้นเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น เป็นเส้นลากต่อจุด สัมผัสหลายจุดของเส้นความพอใจเท่ากันกับเส้นงบประมาณ
Income effect : ผลจากรายได้ ที่ทำให้บริโภคสินค้ามากขึ้นเมื่อรายได้มากขึ้น
Income elasticity of demand : การตอบสนองของการซื้อสินค้าเมื่อรายได้เปลี่ยนแปลง เช่น เมื่อ รายได้ลดลง 1% ทำให้จำนวนซื้อสินค้าลดลง 3% การตอบสนองของการซื้อสินค้าเมื่อรายได้เปลี่ยนแปลงเท่ากับ 3

Increasing returns : ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมากจากการขยายการผลิต เช่น ขยายการผลิต โดยใช้ ปัจจัยทุกอย่างเป็น 2 เท่าของปัจจัยเดิม ได้ผลผลิตเป็น 3 เท่าของผลผลิตเดิม
Indifference curve : เส้นความพอใจเท่ากัน เป็นเส้นลากต่อจุดหลายจุดที่ปรับปริมาณการบริโภค สินค้า 2 อย่างเป็นสัดส่วนต่างกัน แต่ให้ความพอใจแก่ผู้บริโภคเท่ากัน
Indirect tax : ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่สามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้ (อาจผลักภาระได้มากหรือน้อย)Industry : กลุ่มธุรกิจที่ผลิตสินค้าเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน ในความหมายนี้ไม่ควรแปลว่า อุตสาหกรรม เพราะว่าทำให้เข้าใจผิดได้ง่าย
Inelastic : การตอบสนองไม่ไว ปกติค่าความยืดหยุ่นต่ำกว่า 1 (ไม่คิดเครื่องหมาย) เช่น ราคาเพิ่ม ขึ้น 1% จำนวนสินค้าที่ซื้อลดลงน้อยกว่า 1%
Infant industry : อุตสาหกรรมเริ่มแรกตั้ง
Inferior good : สินค้าด้อย เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคลดการซื้อ เมื่อเขามีรายได้เพิ่มขึ้น
Inflation : เงินเฟ้อ เป็นสภาพเศรษฐกิจที่สินค้าหลายๆอย่างมีระดับราคาเพิ่มขึ้น
Inflationary gap : รายได้ที่มากเกินปกติเนื่องจากเงินเฟ้อ บางตำราแปลว่า ช่องว่างเงินเฟ้อ คือ รายได้ที่เกิดขึ้นในประเทศมากเกินความสามารถของประเทศ แต่มากขึ้นเพราะว่าเกิดเงินเฟ้อ มีแต่โทษ ไม่มีประโยชน์ใดๆ เป็นเพียงภาพลวงตา
Infrastructure : โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกที่ทำให้เศรษฐกิจเจริญขึ้น เช่น การขน ส่ง การคมนาคม การชลประธาน พลังงาน
Input : ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ
Intermediate product : ผลผลิตที่ยังไม่สำเร็จรูป ผลผลิตระหว่างกลาง ผลผลิตกึ่งสำเร็จรูป
Internal economies : การขยายกิจการจากการใช้ปัจจัยที่มีอยู่แล้วภายในหน่วยธุรกิจ
Inventory : สินค้าคงเหลือที่ผลิตแล้วยังไม่ได้จำหน่าย
Investment : การลงทุน มีหลายความหมาย ความหมายที่ตรงที่สุดทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึงการ จ่ายเงินเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการขึ้นมาใหม่ บางทีหมายถึง การเสียสละความสะดวกสบายในปัจจุบันเพื่อสร้างความสามารถให้หารายได้ได้มากในอนาคต เช่น การศึกษา ส่วนนักการพนันให้ความหมายในทางการซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไร เรียกว่าการลงทุนทางการเงิน ซึ่งไม่ใช่ความหมายของการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์
Involuntary unemployment : การว่างงานโดยไม่สมัครใจ หมายความว่า ต้องการทำงาน ณ ระดับ ค่าจ้างและผลตอบแทนระดับนั้นๆ แต่หางานทำไม่ได้
IS curve : เส้นดุลยภาพในตลาดสินค้า เป็นสภาพดุลภาพเมื่อไม่มีรัฐบาล ไม่มีการค้าต่างประเทศ เกิดจากสมมุติฐานว่า I = S (ซึ่งไม่จริง แม้เศรษฐกิจปิด และไม่มีรัฐบาล เป็นความเชื่อผิดตามท่าน John Maynard Keynes)
Iso-cost line : เส้นต้นทุนเท่ากัน โดยใช้ปัจจัยการผลิต 2อย่าง ที่ปรับสัดส่วนต่างๆแล้วเสียเงินเท่ากัน
Isoquant : เส้นผลผลิตเท่ากัน โดยใช้ปัจจัยการผลิต 2อย่าง ที่ปรับสัดส่วนปัจจัยสองอย่างแล้วได้ผล
ผลิตเท่ากัน
Labour : แรงงาน หมายถึงแรงงานกล้ามเนื้อ และ ความคิด ของมนุษย์ ที่ใช้เพื่อการผลิตสินค้าและ บริการ
Labour force : กำลังแรงงาน มักหมายถึงจำนวนคนที่ทำงานได้
Liquidity : สภาพคล่อง คือ ความง่ายในการเปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นเงิน
Liquidity preference : ความชอบที่จะถือเงินสดยิ่งกว่าถือทรัพย์สินที่ได้ดอกเบี้ย หมายความว่า อยากถือเงินสดไว้มากกว่าปล่อยให้กู้
LM curve : เส้นดุลยภาพในตลาดเงิน เป็นสภาพดุลภาพเมื่อเงินที่ประชาชนควรมีถือในมือ หรือ หยิบฉวยมาได้ง่าย เท่ากับ เงินที่มีให้ประชาชนถือจริง เกิดจากสมมุติฐานว่า L = M คือ เงินที่ประชาชนควรมีถือในมือ หรือหยิบฉวยมาได้ง่าย เท่ากับ เงินที่มีให้ประชาชนถือจริง
Long run : การพิจารณาเป็นระยะยาว เป็นการพิจารณาต้นทุนหลายเวลาพร้อมกัน แต่ละเวลาก็มี ต้นทุนคงที่ ซึ่งไม่เท่ากัน แต่นำมาคิดรวมเป็นต้นทุนรวมและต้นทุนเฉลี่ย
Lorenz curve : เส้นแสดงความแตกต่างรายได้ของคนในสังคม
M0 : ปริมาณเงินสดในมือประชาชนนอกสถาบันการเงิน บวก จำนวนเงินที่สถาบันการเงินฝากไว้กับธนาคารกลาง บางทีเรียกว่า ฐานเงิน (monetary base) บางทีเรียกว่า เงินพลังสูง (high-power money) ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือเพิ่มลดปริมาณเงินได้ง่าย
M1 : เงินในความหมายอย่างแคบ (narrow money) เป็นเงินที่ใช้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ได้แก่ เหรียญกษาปณ์ (เศษสตางค์) ธนบัตร เช็ค
M2 : เงินในความหมายอย่างกว้าง (broadmoney) บางทีเรียกว่า สิ่งที่แปลงเป็นเงินได้ง่าย (near-money) ได้แก่ M1 บวกกับ เงินฝากออมทรัพย์กับธนาคาร(บางธนาคารเรียกว่า เงินฝากสะสมทรัพย์) บวกกับทรัพย์สินทางการเงินอื่นๆที่เปลี่ยนเป็นเงินได้แต่อาจเสียเวลาบ้าง เช่น กองทุนซื้อหุ้นที่มอบให้สถาบันการเงินจัดการให้ เป็นต้น บางตำราแบ่งซอยถึง M8 ซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณีไป
Macroeconomics : เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาถึงเรื่องเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม เช่น รายได้ประชาชาติ การมีงานทำ เงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ดุลการค้า ดุลการชำระเงิน การเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
Managed float : การปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นไปตามกลไกตลาด แต่ ธนาคารกลางก็เข้าแทรกแซงบ้างตามควร




 

Create Date : 29 มีนาคม 2554    
Last Update : 29 มีนาคม 2554 11:34:40 น.
Counter : 36571 Pageviews.  

คำศัพท์เกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์ #1

การปล่อยเสรี = Liberalization
แนวคิดหรือนโยบายที่เปิดโอกาสให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตและการค้าเป็นไปอย่างเสรี ไม่มีการผูกขาดตัดตอนโดยรายหนึ่งรายใด ในแง่ของการปล่อยเสรีภายในประเทศก็ คือ การยกเลิกระบบผูกขาด ส่งเสริมให้มีการแข่งขันกันอย่างเต็มที ในระดับสากล ก็คือการส่งเสริมการค้าเสรี ลด หรือ ขจัดอุปสรรคหรือข้อกีดขวางทางการค้าทั้งที่อยู่ในรูปของภาษีและไม่ใช่ภาษี

หนี้สิน = Liability
โดยปกติมักหมายถึง หนี้ทางการเงิน คือจำนวนเงินที่บุคคลหรือหน่วยธุรกิจมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระให้แก่บุคคลอื่น รายการที่ถือว่าเป็นหนี้สินทางบัญชี ได้แก่ เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายและภาษีค้างจ่าย หุ้นกู้ เงินกู้ เป็นต้น

เงินเฟ้อขั้นสูง = Hyperinflation
ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นในอัตราสูงหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าปกติ (สูงกว่าร้อยละ 20 ต่อปี ) ถ้าสูงมากๆ เช่น ร้อยละ 100 ต่อปี อาจเรียกว่า เงินเฟ้ออย่างรุนแรง

การแปลงหนี้ = Funding
ในความหมายเดิม หมายถึงการเปลี่ยนหนี้ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่ในปัจจุบันใช้ในความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนสถานะจากการก่อหนี้ในระยะสั้นมาเป็นหนี้ในระยะปานกลางหรือระยะยาวเช่น การเปลี่ยนจากการออกตั๋วแลกเงินมาเป็นการออกพันธบัตร เป็นต้น

ตลาดเสรี = Free market
ตลาดสินค้าหรือบริการที่มีการปล่อยให้พลังของอุปสงค์และอุปทานหรือกลไกตลาด เป็นตัวกำหนดราคาและปริมาณการซื้อขายอย่างเสรี โดยปราศจากการแทรกแซงใด ๆ จากรัฐบาล ระบบเศรษฐกิจที่ส่งเสริมตลาดเสรีเรียกว่าระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี

ราคาล่วงหน้า = Forward price
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ หลักทรัพย์ หรือเงินตรา ที่กำหนดเอาไว้ในการตกลงซื้อขายล่วงหน้า เป็นราคาที่ผู้ซื้อจะต้องจ่าย ณ วันส่งมอบหรือวันที่ได้ตกลงกัน สำหรับราคาล่วงหน้าของการซื้อขายเงินตราต่างประเทศมีชื่อเรียกเฉพาะว่า อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ราคาล่วงหน้าของสิ่งของชนิดเดียวกันอาจแตกต่างกันตามเวลาที่ส่งมอบและการต่อรองของผู้ซื้อขาย และราคานี้มักจะแตกต่างกับราคาซื้อขายทันที ซึ่งเป็นราคาที่ต้องส่งมอบกันในปัจจุบัน

การเชื่อมโยงไปข้างหน้า = Forward linkage
การที่หน่วยผลิตหรืออุตสาหกรรมหนึ่งมีความสัมพันธ์กับหน่วยผลิตหรืออุตสาหกรรมอื่นในลักษณะที่ผลผลิตของหน่วยผลิตหรืออุตสาหกรรมดังกล่าว ถูกนำไปใช้เป็นปัจจัยการผลิตของหน่วยผลิตหรืออุตสาหกรรมอื่น ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมทอผ้ามีการเชื่อมโยงไปข้างหน้ายังอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น ความสัมพันธ์ในลักษณะตรงกันข้ามนี้เรียกว่า การเชื่อมโยงไปข้างหลัง

อัตราการแลกเปลี่ยนล่วงหน้า = Forward exchange rate
อัตราการแลกเปลี่ยนหรือราคาของเงินตราสกุลหนึ่งๆ กับเงินตราต่างประเทศที่ได้มีการตกลงแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายกันไว้ล่วงหน้า โดยมีการระบุจำนวนและวันเวลาที่จะส่งมอบกันเป็นที่แน่นอนอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้านี้อาจแตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนทันทีที่เกิดขึ้น ณ วันซื้อขายเดียวกัน การตกลงซื้อขายเงินตราในอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ก็เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในขณะเดียวกันก็ได้กลายมาเป็นเครื่องมืออันหนึ่งในการเก็งกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของนักเก็งกำไรด้วยเช่นกัน


การแปลงสภาพหนี้ = Debt conversion
การออกหุ้นหรือพันธบัตรใหม่เพื่อทดแทนหุ้นหรือพันธบัตรเก่าที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า ทั้งนี้เพื่อลดภาระหนี้ให้น้อยลง การแปลงสภาพหนี้ยังหมายถึงการเปลี่ยนหุ้นกู้แปลงสภาพไปเป็นหุ้นสามัญ ซึ่งทำให้ฐานะของผู้ถือเปลี่ยนจากการเป็นเจ้าหนี้บริษัทไปเป็นเจ้าของบริษัท

หนี้ = Debts
จำนวนเงินหรือทรัพย์สินอื่นจำนวนหนึ่งที่บุคคลหนึ่งมีข้อผูกพันว่า จะจ่ายให้แก่อีกบุคคลหนึ่ง หนี้อาจเกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงิน การซื้อสินค้าหรือบริการด้วยเงินเชื่อหรือเงินผ่อน เราอาจแบ่งประเภทของหนี้ตามประเภทลูกหนี้ เป็นหนี้สาธารณะ และหนี้เอกชน หรือแบ่งตามแหล่งของผู้เป็นเจ้าหนี้ เป็นหนี้ภายในประเทศ และหนี้ต่างประเทศ

หุ้นกู้ = Debenture
พันธบัตรหรือตราสารหนี้ ระยะยาวที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินของบริษัทจากเจ้าของเงินทุน หุ้นกู้นี้มักมีการกำหนดระยะเวลาในการชำระคืนและอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอน ไม่ว่าบริษัทจะมีกำไรหรือขาดทุน ดังนั้นเพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ถือจะได้รับการชำระหนี้คืน การออกหุ้นกู้จึงต้องมีมูลค่ารวมไม่เกินทุนที่ชำระแล้วของบริษัท กรณีที่รัฐบาลเป็นผู้ออกตราสารชนิดนี้นิยม เรียกว่า พันธบัตร

เงินแพง = Dear money
ภาวะที่อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยในอดีต เนื่องจากอุปทานของเงินมีน้อยเมื่อเทียบกับอุปสงค์ของความต้องการถือเงิน ภาวะที่ตรงกันข้ามกับเงินแพงเรียกว่า เงินถูก

ต้นทุนค่าเสียหาย = Damage cost
ต้นทุนที่เกิดจากการก่อให้เกิดความเสียหาย โดยปรกติมักใช้จำเพาะกับความเสียหายจากการก่อมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การคิดต้นทุนค่าเสียหายเป็นตัวเงินค่อนข้างจะยุ่งยากในทางปฏิบัติ เพราะยากต่อการตีค่าของความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น การตีค่าความตาย การบาดเจ็บ การสูญเสียป่าไม้ สัตว์ป่า หรือแหล่งน้ำ เป็นต้น ต้นทุนค่าเสียหาย

การปรับภาษีที่พรมแดน = Bonder tax adjustment
การเพิ่มหรือลดอัตราภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีการค้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เรียกเก็บจากสินค้าออกของประเทศภาคีตามกฎของGATT ทั้งนี้ก็เพื่อให้ระบบภาษีที่จัดเก็บภายในประเทศไม่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าผ่านพรมแดนของประเทศนั้น ๆ

ผลตอบเเทนจากพันธบัตร = Bond yield
ผลตอบแทนที่ผู้ถือพันธบัตรจะได้รับจากพันธบัตรนั้น ผลตอบแทนที่ได้อาจจะอยู่ในรูปของอัตราดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด หรือผลตอบแทนจากส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขายในกรณีที่ผู้ถือขายพันธบัตรนั้นให้แก่บุคคลอื่น ผลตอบแทนส่วนหลังนี้เรียกว่า ผลกำไรจากมูลค่าทุน
ตลาดพันธบัตร = Bond market
สถานที่หรือช่องทางในการตกลงซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนพันธบัตร อาจจะมีการตกลงซื้อขายพันธบัตรนั้นเฉพาะภายในประเทศโดยผ่านตัวแทนนายหน้า ที่ทำหน้าที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรืออาจมีการซื้อขายกันระหว่างประเทศ ตลาดพันธบัตรระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงคือ ตลาดพันธบัตรยูโร

คลังสินค้าทัณฑ์บน = Bonded warehouse
สถานที่ที่ใช้เก็บสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยที่ยังไม่มีการชำระภาษีนำเข้า ทั้งนี้ก็เพื่อรอให้มีการชำระภาษีให้เสร็จสิ้นเสียก่อน หรือในกรณีที่ผู้ผลิตได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่นำมาผลิตเพื่อการส่งออก ในช่วงที่นำเข้ามาในประเทศจะต้องผ่านคลังสินค้าทัณฑ์บนนี้เสียก่อนเช่นกัน


พันธบัตร , ตราสารหนี้ = Bond
ตราสารทางการเงินที่ออกโดย รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน หรือองค์กรระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่น โดยวิธีนำตราสารดังกล่าวออกขาย ผู้ออกพันธบัตรนั้น สัญญาว่าจะจ่ายเงินกลับคืนพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือเมื่อกำหนด พันธบัตรเป็นตราสารที่สามารถโอนหรือเปลี่ยนมือกันได้ พันธบัตรที่ออกโดยเอกชนนิยมเรียกว่า หุ้นกู้ ซึ่งหุ้นกู้บางประเภทสามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในภายหลัง ตามเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้

ตลาดมืด = Black market
ตลาดที่มีการซื้อขายสินค้าในราคาที่ผิดกฎหมาย เกิดจากผลการควบคุมราคาสินค้าโดยรัฐบาล เช่น การกำหนดราคาขั้นสูงของสินค้า อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นต้น ในกรณีนี้จะก่อให้เกิดการขาดแคลนหรือเกิดอุปสงค์ส่วนเกินขึ้น หากไม่สามารถควบคุมหรือควบคุมได้ไม่ทั่วถึงจะทำให้มีการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนกันในราคาหรืออัตราที่สูงกว่ารัฐบาลกำหนดไว้

เงินเฟ้อคืบคลาน = Creeping inflation
การสูงขึ้นของระดับราคาโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และต่อเนื่อง ซึ่งดูจะไม่รุ่นแรงในระยะสั้น แต่ในระยะยาวแล้ว อาจจะทำให้ระดับราคาทั่วไปเพิ่มขึ้นมากจนอาจจะมีผลให้การลดอำนาจซื้อของเงินลงเรื่อย ๆ

ประเทศเจ้าหนี้ = Creditor nation
ประเทศที่มีการลงทุนและให้กู้ยืมเงินแก่ต่างประเทศมากกว่าที่ต่างประเทศมาลงทุน หรือให้กู้ยืมแก่ประเทศนั้น นั่นก็คือ ประเทศที่การกู้ยืมสุทธิหรือเจ้าหนี้สุทธิมีค่าเป็นบวก ตัวอย่างเช่น ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดในโลก

การจำกัดสินเชื่อ = Credit restriction
มาตรการที่ใช้จำกัดหรือลดปริมาณการขยายสินเชื่อของธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่น ซึ่งอาจจะเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านตลาดหรือนโยบายอัตราดอกเบี้ย โดยปราศจากการแทรกแซงโดยตรงใด ๆ

การปันส่วนสินเชื่อ = Credit rationing
การจัดสรรการให้สินเชื่อโดยใช้มาตรการที่ไม่ใช่ราคา ในกรณีที่เกิดอุปสงค์ส่วนเกินในตลาดสินเชื่อเมื่ออุปสงค์สำหรับสินเชื่อมากกว่าอุปทานของสินเชื่อจะทำให้ขาดแคลนสินเชื่อ แต่แทนที่จะแก้ปัญหาด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามกลไกราคา กลับมีการใช้มาตรการอย่างอื่นผ่านสื่อกลางทางการเงินเพื่อให้สินเชื่อตกแก่บุคคลต่าง ๆ ตามที่ต้องการ ซึ่งอาจจะอาศัยการออกพระราชบัญญัติหรือกฏระเบียบอื่น ๆ โดยหน่วยงานที่มีอำนาจสูงสุด

พฤติกรรมผู้บริโภค = Consumer behavior
การตัดสินใจและกระทำการใด ๆ ของผู้บริโภคซึ่งเป็นหน่วยเศรษฐกิจมูลฐาน เกี่ยวกับการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อการบริโภคส่วนบุคคล แต่ไม่ใช่เพื่อการผลิตหรือนำไปขายต่อ การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นการศึกษาในแขนงของเศรษฐศาสตร์จุลภาค เพื่อให้ทราบว่าผู้บริโภคมีพฤติกรรมในการซื้อหรือบริโภคสินค้าและบริการต่าง ๆ อย่างไรภายใต้สภาวการณ์ต่าง ๆ

ผู้บริโภค = Consumer
ผู้ที่ใช้ประโยชน์จากสินค้าหรือบริการขั้นสุดท้าย เพื่อตอบสนองความต้องการโดยตรงของบุคคลผู้นั้นโดยทั่วไป ผลที่ได้รับจากการบริโภคคือ อรรถประโยชน์หรือความพอใจ ผู้บริโภคอาจจะเป็นปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล ครัวเรือน และอาจหมายถึงรัฐบาลด้วยก็ได้ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า การซื้อสินค้าหรือบริการนั้นจะต้องไม่ใช่เป็นการนำไปผลิตหรือขายต่อ

เกมที่ผลรวมคงที่ = Constant -sum game
การแข่งขันด้วยการใช้กลยุทธ์ต่างๆ ระหว่างคู่แข่งขันที่ทำให้ผลรวมของผลตอบแทนที่คู่แข่งขันได้รับ มีจำนวนคงที่เสมอไม่ว่าแต่ละฝ่ายจะใช้กลยุทธ์ใดหรือมีผลได้หรือเสียเท่ากันหรือไม่ก็ตาม แต่ถ้าผลตอบแทนที่คู่แข่งขันได้รับรวมกันแล้วไม่คงที่ ก็เรียกเกมประเภทนี้ว่าเกมส์ที่ผลรวมไม่คงที่

ตลาดแข่งขัน = Competitive market
ตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายรายย่อยๆ จำนวนมาก แต่ละรายจะทำการผลิตและขายสินค้าอย่างเป็นอิสระต่อกัน ไม่มีผู้ซื้อหรือผู้ขายรายใดมีอิทธิพลเหนือตลาด หรือไม่มีการสมรู้ร่วมคิด เพื่อกำหนดราคาหรือปริมาณสินค้าในตลาดได้

กระแสเงินสด = Cash ratio
ปริมาณสุทธิของเงินสดที่หมุนเวียนอยู่ในมือของหน่วยธุรกิจหนึ่ง ๆ ซึ่งก็คือ จำนวนเงินสดที่ได้รับ ลบด้วยจำนวนเงินสดที่จ่ายไปจากการดำเนินกิจกรรมใดๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง กระแสเงินสดนี้จะแสดงถึงงบรายจ่าย ที่เป็นเงินสดจริง ๆ ของกิจการ

การไหลออกของเงินทุน = Capital outflow
การที่เงินทุนของประเทศหนึ่งมีการเคลื่อนย้ายไปยังประเทศอื่น เช่น การนำเงินไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ การลงทุนในหลักทรัพย์ของต่างประเทศ การให้กู้ยืมแก่ต่างประเทศ เมื่อมีการไหลออกของเงินทุนจะมีการบันทึกในด้านรายจ่ายในบัญชีดุลการชำระเงินของประเทศนั้น ๆ คำที่ตรงกันข้ามกับคำนี้ คือ การไหลเข้าของเงินทุน

การเคลื่อนย้ายทุน = Capital movement
การไหลเข้าออกของเงินทุนระหว่างประเทศทั้งในส่วนของภาคเอกชนและรัฐบาล ทั้งที่เป็นการลงทุนทางตรงและการลงทุนทางอ้อม การไหลเข้าออกของเงินทุนนี้มีการบันทึกไว้ในบัญชีเงินทุน ซึ่งเป็นบัญชีย่อยของบัญชีดุลการชำระเงิน

ผลขาดทุนจากมูลค่าทุน = Capital loss
การที่ทรัพย์สินประเภททุนอันได้แก่ บ้าน ที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่น ๆ มีราคาลดลง ทำให้ราคาที่ขายได้น้อยกว่าราคาที่ซื้อมา ซึ่งเป็นกรณีตรงกันข้ามกับผลกำไรจากมูลค่าทุน

บัญชีการเงิน = Capital and finance account
รายการแสดงการไหลเข้าออกของเงินทุนระหว่างประเทศของประเทศหนึ่งๆ ทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน ซึ่งเงินทุนดังกล่าวอาจเป็นการลงทุนทางตรง หรือทางอ้อม เช่น การซื้อพันธบัตรรัฐบาล การซื้อหุ้น การฝากเงินกับธนาคารหรือการให้กู้ยืม เป็นต้น บัญชีเงินทุนนี้เป็นบัญชีย่อยบัญชีหนึ่งในบัญชีดุลการชำระเงิน

การสะสมทุน = Capital accumulation
มีความหมายเดียวกันกับคำว่า การสร้างทุน หมายถึงการเพิ่มปริมาณ สินค้าทุน เช่น อาคารโรงงาน เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งเท่ากับการลงทุนมวลรวม ในสินทรัพย์ประเภททุนหักด้วยค่าเสื่อมราคา หรือที่เรียกว่าการลงทุนสุทธิ การสะสมทุนที่เพิ่มขึ้นสะท้อนถึงความสามารถที่หน่วยผลิตหรือประเทศนั้นจะผลิตสินค้าและบริการได้มากขึ้นในอนาคต

การขาดดุลงบประมาณ = Budget deficit
ภาวะที่รายจ่ายในปีหนึ่ง ๆ มากกว่ารายได้ในปีนั้น โดยทั่วไปมักจะนำมาใช้อธิบายสถานการณ์ที่รายได้ของรัฐบาลอันได้แก่ รายรับจากภาษี และรายรับอื่นที่รัฐบาลหามาได้มีน้อยกว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ ของรัฐบาล ภาวะที่ตรงกันข้ามเรียกว่า การเกินดุลงบประมาณ

นายหน้า = Broker
ผู้เป็นตัวกลางให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกัน หรือเป็นตัวแทนให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้ขายในการซื้อขายสินค้าเงินตรา หรือหลักทรัพย์โดยได้รับค่าตอบแทนจากการทำหน้าที่ดังกล่าวตามสัดส่วนของมูลค่าซื้อขาย การซื้อขายสินค้าบางประเภทหรือบริการบางประเภท กฎหมายกำหนดให้กระทำผ่านนายหน้าเท่านั้น เช่น การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ การซื้อขายกรมธรรม์ประกันชีวิต เป็นต้น ในกรณีของตลาดหลักทรัพย์ เมื่อพูดถึง "นายหน้า" มักหมายถึง บริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์



อุดมภาพแบบพาเรโต = Pareto opimal
ภาวะที่เกิดการจัดสรรทรัพยากรหรือผลผลิตได้ทำให้สังคมได้รับสวัสดิการสูงสุดแล้ว เมื่อบรรลุภาวะนี้แล้ว จะไม่สามารถทำให้บุคคลหนึ่งดีขึ้นโดยมิทำให้อีกบุคคลหนึ่งเลวลงได้อีก การจัดสรรทรัพยากรดังกล่าว จึงมีประสิทธิภาพสูงสุดตามแนวคิดของวิลเฟรโด พาเรโต นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลียน ภาวะเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยกลไกตลาดโดยมีโครงสร้างตลาดแบบแข่งขันสมบูรณ์เท่านั้น

ไม่มีของฟรี = No free lunch
เป็นสำนวนที่บ่งบอกให้ทราบว่า ในโลกนี้ ไม่มีสิ่งใดที่เราได้มาฟรี ๆ โดยไม่มีต้นทุนหรือไม่ต้องแลกกับสิ่งอื่น เพราะทรัพยากรในโลกนี้มีจำกัด การได้มาซึ่งสิ่งหนึ่งจะต้องสูญเสียอีกสิ่งหนึ่ง หรือ ได้อย่าง ก็ต้องเสียอย่างทุกครั้งที่ตัดสินใจใช้ทรัพยากรจึงต้องมีการ แลกได้แลกเสีย เกิดขึ้นเสมอ

ตลาดผู้ขายน้อยราย = Oligopoly
เป็นรูปแบบหนึ่งของตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ ตลาดผู้ขายน้อยรายมีลักษณะที่สำคัญดังนี้

1. จำนวนผู้ผลิตเพียงไม่กี่ราย โดยที่สินค้าหรือบริการของผู้ผลิตแต่ละรายมีสัดส่วนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับปริมาณทั้งหมดในตลาด
2. สินค้าหรือบริการของผู้ผลิตแต่ละรายอาจมีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้ แต่สามารถใช้ทดแทนกันได้
3. ผู้ผลิตรายใหม่อาจถูกกีดกันหรือมีอุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาด หากมีการแข่งขันในตลาดประเภทนี้ก็มักจะเป็นการแข่งขันที่ไม่ใช้ราคา แต่ก็มีหลายกรณีที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายแต่ละรายร่วมมือกัน เพื่อร่วมกันกำหนดราคาหรือปริมาณสินค้าในตลาด แบบจำลองที่อธิบายพฤติกรรมของหน่วยผลิตในตลาดประเภทนี้จึงมีหลายแบบ

การตลาด = Marketing
การดำเนินกิจกรรมในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งที่เกี่ยวกับการนำเสนอสินค้าและบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ จนถึงขั้นการนำสินค้าหรือบริการนั้นไปถึงมือของผู้บริโภค เช่น การสร้างภาพลักษณ์ด้วยมาตรฐานสินค้าและหีบห่อ การโฆษณาชวนเชื่อ การขายและการส่งเสริมการขาย การวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์

ความล้มเหลวตลาด = Market failure
การที่ระบบตลาดหรือกลไกราคาไม่สามารถทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรชนิดหนึ่ง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดหรือบรรลุซึ่งสวัสดิการสูงสุดได้ ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

1. โครงสร้างตลาดเป็นแบบผูกขาด
2. สารสนเทศไม่สมบูรณ์
3. สินค้านั้นเป็นสินค้าสาธารณะ
4.เกิดผลกระทบภายนอก จากการผลิตหรือการบริโภคสินค้าในกรณีที่เกิดความล้มเหลวของตลาด มักมีข้อเสนอให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงการจัดสรรทรัพยากรนั้น ๆ

พลังตลาด = Market forces
แรงผลักดันของอุปทานตลาดที่เกิดจากฝ่ายผู้ผลิตหรือผู้ขาย และแรงผลักดันของอุปสงค์ตลาด ที่เกิดจากฝ่ายผู้บริโภคหรือผู้ซื้อในตลาดหนึ่งๆ โดยที่แรงผลักดันทั้งสองนี้ ส่งผลให้มีการปรับตัวของระดับราคาและ /หรือปริมาณการซื้อขายจนสมดุลกัน นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิกมีความเชื่อว่าในระยะยาวพลังตลาดจะช่วยผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะสมดุลและก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการแทรกแซงรัฐบาล



ความพึงใจในสภาพคล่อง = Liquidity preference
ความพอใจที่ปัจเจกบุคคลหรือประชาชนมีต่อปริมาณเงินที่ถือเอาไว้ในมือ ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปของความต้องการถือเงินนั้นไว้เพื่อใช้จ่ายในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังนั้น คำนี้จึงมีความหมายเดียวกันกับคำว่า อุปสงค์สำหรับเงิน

เศรษฐศาสตร์เชิงบรรทัดฐาน = Normotive economics
หมายถึงการศึกษาวิเคราะห์และแสดงทัศนะทางเศรษฐศาสตร์ที่อิงอยู่กับบรรทัดฐานหรือวิจารณญาณส่วนบุคคล ดังนั้น สิ่งที่นำเสนอหรืออธิบายจึงมักจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินว่าปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ ดีหรือไม่ดี และ ควรหรือไม่ควร

เศรษฐศาสตร์เชิงสัจจะ = Positive economics
หมายถึง เศรษฐศาสตร์ที่ครอบคลุมหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือข้อความที่อธิบายถึงปรากฎการณ์ใดๆ ที่เคยเป็น หรือกำลังเป็นอยู่ หรือจะเป็นในอนาคต ซึ่งสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของเนื้อหาหรือข้อความนั้นได้โดยอาศัยประจักษ์พยานจากข้อเท็จจริง โดยหลักแล้วเนื้อหาหรือข้อความที่เป็นเศรษศาสตร์เชิงสัจจะจะต้องปราศจากซึ่งวิจารณญาณส่วนบุคคล

ความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยท้าย = Marginal propensity to consume : MPC
หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อระดับรายได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหนึ่งหน่วย เช่น ถ้ารายได้เพิ่มขึ้น 100 บาท การบริโภคเพิ่มขึ้น 80 บาท ค่าความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยท้ายในที่นี้เท่ากับ 0.8

การแปรรูปกิจการเป็นของรัฐ = Nationalization
การที่รัฐบาลเข้าไปถือครองและควบคุมกิจการที่แต่เดิมเป็นของเอกชนให้มาอยู่ภายใต้การดำเนินงานโดยรัฐ เหตุผลการแปรรูปกิจการเป็นของรัฐมีหลายประการ เช่น เพื่อป้องกันการผูกขาดในธุรกิจขนาดใหญ่ของเอกชน หรือเข้าไปประคับประคองธุรกิจที่เอกชนดำเนินการแล้วล้มเหลวให้สามารถดำเนินการต่อไปได้หรือเป็นนโยบายทางการเมืองที่ต้องการให้กิจการต่างๆตกมาเป็นของรัฐ เช่น นโยบายของรัฐบาลในประเทศที่เป็นสังคมนิยม การแปรรูปในอีกลักษณะหนึ่งที่ตรงกันข้ามกับวิธีนี้ คือ การแปรรูปเป็นของเอกชน

เศรษฐศาสตร์การพัฒนา = Development economics
เป็นสาขาหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่นำเอาทฤษฎีทางด้านเศรษฐศาสตร์มาอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีระดับการพัฒนาต่างๆ กัน โดยพิจารณาที่ลักษณะและสาเหตุและยังเป็นการศึกษาถึงแนวคิดและปัจจัยที่สนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา รวมทั้งนำเอาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับประเทศด้อยพัฒนาอีกด้วย

การหนีภาษี = Tax evasion
การที่ผู้เสียภาษีพยายามหลบหนีหรือละเว้นหน้าที่ในการเสียภาษีตามข้อบัญญัติของกฎหมาย เพื่อตนเองจะได้ไม่ต้องเสียภาษีทั้งหมดหรือบางส่วน โดยความพยายามนี้ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

การเลี่ยงภาษี = Tax avoidance
วิธีการที่ผู้เสียภาษีพยายามทำให้ตนเองเสียภาษีให้น้อยลงหรือจ่ายภาษีเฉพาะที่จำเป็นโดยไม่ผิดกฎหมายเนื่องจากผู้เสียภาษีได้อาศัยช่องโหว่ของกฎหมายที่อาจจะยังไม่มีข้อห้ามหรือข้อกำหนดที่ชัดเจน หรือมีข้อยกเว้นไว้ให้ ต่างจากการหนีภาษีซึ่งมีเจตนาที่จะไม่เสียภาษีทั้งที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามข้อกำหนดของกฎหมายทุกประการ

การเสนอซื้อต่อผู้ถือหุ้นทั่วไป = Tender offer
หมายถึง การที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลคณะหนึ่ง แจ้งแก่บรรดาผู้ถือหุ้นโดยทั่วไปหรือผู้ถือหุ้นรายย่อยให้ทราบถึงความประสงค์ที่จะซื้อหุ้นของกิจการหรือบริษัทหนึ่งๆ โดยระบุจำนวนหุ้น ราคาและระยะเวลาที่ต้องการจะรับซื้อไว้อย่างขัดเจน การเสนอซื้อต่อผู้ถือหุ้นทั่วไปมักถูกนำมาใช้เมื่อผู้เสนอซื้อต้องการถือหุ้นเพิ่มเติมให้ครบตามสัดส่วนที่ต้องการ หรือเมื่อต้องการจะเข้าไปมีอำนาจควบคุมการบริหาร หรือ การครอบงำกิจการ ในบริษัทหนึ่งๆ โดยปกติแล้วราคาที่เสนอซื้อหุ้นต่อผู้ถือหุ้นทั่วไปมักจะสูกกว่าราคาตลาด ทั้งนี้เพื่อจูงใจให้ผู้ถือหุ้นทั่วไปยินดีขายหุ้น นั้นให้แก่ผู้เสนอซื้อ

ตัวแทนถือทรัพย์ = Nominee
บุคคลหรือสถาบันผู้ได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนในการถือและดูแลหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดแทนผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องมีการโอนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดแทนผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องมีการโอนหลักทรัพย์ให้แก่ตัวแทนถือหลักทรัพย์ แต่ตัวแทนจะไม่ได้รับประโยชน์ในรูปของดอกเบี้ย จากหลักทรัพย์นั้นเพียงแต่จะได้รับค่าธรรมเนียมในการดูแลตามอัตราที่ได้ตกลงกัน ผู้ดูแลและรักษาทรัพย์สิน (Custodian) เป็นตัวอย่างหนึ่งของตัวแทนถือหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม มีผู้ลงความเห็นว่า ตัวแทนถือหลักทรัพย์อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือที่ส่อในทางทุจริตได้ เช่น การผ่องถ่ายทรัพย์สิน การซุกหุ้น การถือหุ้นเกินกำหนด และการปั่นหุ้น เป็นอาทิ

ความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ = Conflict of interest
ผลประโยชน์ทับซ้อนหมายถึง ความขัดแย้งหรือไม่ลงรอยกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ขององค์กรหรือส่วนรวม ตัวอย่างเช่น นักธุรกิจที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอาจมีความขัดแย้งกันระหว่างผลกำไรของบริษัทที่ตนเองเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติ จากการตัดสินใจดำเนินมาตรการบางอย่างผ่านกลไกของรัฐ

หุ้นสามัญ = Common Stock
คือตราสารที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ โดยผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิเรียกร้องต่อบริษัทเป็นรายสุดท้ายหลังจากเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นประเภทอื่น ผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นสามัญได้รับอยู่ในรูปเงินปันผล เฉพาะกรณีที่มีการประกาศจ่ายเงินปันผล ซึ่งได้มาจากกำไรจากการประกอบการ

หุ้นบุริมสิทธิ์ = Preferred Stock
คือตราสารที่มีลักษณะกึ่งหนี้และกึ่งเจ้าของ (Hybrid) ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลก่อนผู้ถือหุ้นอื่นและมีสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของบริษัทก่อนผู้ถือหุ้นสามัญแต่หลังเจ้าหนี้

หุ้นกู้ด้อยสิทธิ = Subordinated Debenture
คือหุ้นกู้ที่มีสิทธิในการได้รับชำระหนี้คืนเป็นอันดับรองจากหุ้นกู้

หุ้นกู้ = Corporate Debenture
คือตราสารทางการเงินที่บริษัททั่วไปออกเพื่อกู้เงินระยะยาว (มากกว่า 1 ปี) โดยบริษัทผู้ออกหุ้นกู้จะจ่ายผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยตามระยะเวลาและอัตราที่กำหนดและปกติเป็นการกู้เงินที่ไม่มีหลักประกันแต่บางครั้งก็มีผู้ออกเงินกู้ชนิดมีหลักประกัน

พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ = State Enterprise Bond
คือตราสารทางการเงินที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออกเพื่อนกู้ยืมเงินระยะยาว (มากกว่า 1 ปี)

พันธบัตรรัฐบาล = Government Bond
คือตราสารทางการเงินที่รัฐบาล โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออกเพื่อนเป็นการกู้เงินระยะยาวมากกว่า 1 ปี มีอายุการชำระเงิน งวดการจ่ายดอกเบี้ย และอัตราดอกเบี้ยกำหนดไว้แน่นอน

บัตรเงินฝาก = Certificate of Deposits: CDs
คือตราสารที่ธนาคารออกให้แก่ผู้ฝากเงิน เพื่อเป็นหลักฐานการรับฝากเงินและเพื่อแสดงสิทธิของผู้ทรงตราสารที่จะได้รับเงินฝาก เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ โดยทั่วไปสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้

ตั๋วสัญญาใช้เงิน = Promissory Note
คือ ตราสารทางการเงิน ซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้ออกตั๋ว” ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงิน จำนวนหนึ่งให้ “ผู้รับเงิน” ที่ใช้กันทั่วไปในประเทศคือ ตั๋วเงินที่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิแอร์เป็นผู้ออกเพื่อนระดมเงินจากประชาชนทั่วไป

ตั๋วแลกเงิน = bill of exchange
คือ ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิแห่งหนี้ มักใช้ในการซื้อสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคารโดยทั่วไปสามารุซื้อขายเปลี่ยนมือได้

ตั๋วเงินคลัง = Treasury bill
คือ หลักทรัพย์ที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังออกมาเพื่อกู้ยืมระยะสั้น อายุไม่เกิน 1 ปี ในการขายตั๋วเงินคลังการะทรวงการคลังได้มองหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดการแทน โดยผู้ลงทุนสามารถซื้อตั๋วเงินคลังได้โดยการประมูลซื้อหรือโดยการเสนอซื้อจากธนาคารแห่งประเทศไทย

ตราสารหนี้ = Fixed Income Security
คือ ตราสารเพื่อการกู้ยืมเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาวโดยผู้กู้หรือผู้ออกตราสารจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยและมีกำหนดการจ่ายชำระคืนเงินต้นที่แน่นอน ผู้ถือตราสารจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของกิจการที่ออกตราสารนั้น


Worldwide ทั่วโลก
Retail sales การขายปลีก
Trade การค้า
Imports การนำเข้า
Exports การส่งออก
Markets ตลาด
Consumer confidence ความมั่นใจผู้บริโภค
Tariffs ภาษีศุลกากร
Quotas โควตา
Recession ความถดถอย
Depression ความตกต่ำ
Free-Trade Agreement ข้อตกลงการค้าเสรี
Diversified หลากหลาย
Deficit การขาดดุล
Surplus การเกินดุล
Consumer Spending การใช้จ่ายของผู้บริโภค
Deficit Spending รายจ่ายเกินกว่ารายรับ
Subsidy เงินอุดหนุน
Currency เงินตรา
Loan เงินกู้





 

Create Date : 29 มีนาคม 2554    
Last Update : 29 มีนาคม 2554 11:34:50 น.
Counter : 187537 Pageviews.  

อุปสงค์และอุปทาน

อุปสงค์(demand) และอุปทาน (supply)

อุปสงค์

อุปสงค์ คือ ปริมาณความต้องการสินค้าของผู้บริโภค ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยจะต้องมีทั้งความต้องการที่จะซื้อ และความสามารถในการซื้อ จากกฏอุปสงค์ กล่าวว่า เมื่อปัจจัยอื่นๆคงที่แล้ว อุปสงค์จะมีความสัมพันธ์ในทางลบกับราคา กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ความต้องการสินค้านั้นจะลดลง อุปสงค์สามารถแสดงได้โดยเส้นกราฟและสมการคณิตศาสตร์ โดยเส้นกราฟจะมีความชันลาดลง ปัจจัยที่กำหนดปริมาณอุปสงค์ของผู้บริโภคแต่ละคนได้แก่ ราคาสินค้านั้น รายได้ของผู้บริโภค รสนิยมส่วนบุคคล ราคาของสินค้าทดแทน (substitution goods) และราคาของสินค้าใช้ร่วมกัน (complementary goods) แม้ว่าเส้นกราฟอุปสงค์ของสินค้าส่วนใหญ่ จะมีลักษณะความชันลาดลง ก็ได้มีการยกตัวอย่างถึงสินค้าที่เส้นกราฟดีมานด์มีลักษณะชันขึ้น โดยเรียกสินค้านั้นว่าสินค้ากิฟเฟน (Giffen good) อย่างไรก็ตาม การดำรงอยู่ในสินค้ากิฟเฟนในความเป็นจริงก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

อุปทาน

อุปทาน คือ ปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตเสนอขาย ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ปัจจัยหลักที่กำหนดปริมาณอุปทานคือราคาตลาดและต้นทุนการผลิต จากกฏอุปทาน กล่าวว่า โดยทั่วไปปริมาณอุปทานจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับระดับราคา กล่าวคือ เมื่อระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้ขายจะยินดีเสนอขายสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าโดยทั่วไปเส้นกราฟอุปทานจะมีลักษณะชันขึ้น อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่เส้นกราฟอุปทานไม่เป็นไปตามลักษณะดังกล่าว ตัวอย่างของข้อยกเว้นนี้ได้แก่ เส้นกราฟอุปทานของแรงงานที่มีลักษณะของการโน้มกลับ กล่าวคือ เมื่ออัตราค่าแรงเพิ่มขึ้น แรงงานก็พร้อมจะทำงานเป็นจำนวนชั่วโมงที่มากขึ้น แต่เมื่ออัตราค่าแรงขึ้นถึงจุดที่สูงมากๆ ปริมาณอุปสงค์ของแรงงานจะลดลง ภาวะดุลยภาพ

เมื่อปริมาณอุปสงค์เท่ากับปริมาณอุปทาน จะเรียกว่าตลาดอยู่ในภาวะดุลยภาพ (equilibium) โดยที่ภาวะนี้การกระจายสินค้าและบริการจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะปริมาณสินค้าที่มีการเสนอขายจะเท่ากับปริมาณความต้องการสินค้านั้น จากกราฟ จุดดุลยภาพคือจุดที่เส้นกราฟอุปสงค์และอุปทานตัดกัน เมื่อใดก็ตามที่สินค้าถูกขายในตลาด ณ ระดับราคาที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากกว่าจำนวนสินค้าที่สามารถผลิตได้แล้ว ก็จะเกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้น เรียกว่าเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (excess demand) ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับราคาของสินค้า โดยที่ผู้บริโภคกลุ่มที่มีความพร้อมในการจ่ายชำระ ณ ระดับราคาที่เพิ่มขึ้นนั้นก็จะส่งผลให้ราคาตลาดสูงขึ้น ในทางตรงข้ามระดับราคาจะต่ำลงเมื่อปริมาณสินค้าที่มีให้นั้นมีมากกว่าความต้องการที่เกิดขึ้น หรือเรียกว่าเกิดอุปทานส่วนเกิน (excess supply) กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินไปจนกระทั่งตลาดเข้าสู่ภาวะดุลยภาพ




 

Create Date : 29 มีนาคม 2554    
Last Update : 29 มีนาคม 2554 11:28:00 น.
Counter : 3756 Pageviews.  

เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภา

เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค (Microeconomics and Macroeconomics)

เศรษฐศาสตร์จุลภาค ศึกษาเศรษฐกิจของหน่วยย่อย ได้แก่ การกำหนดราคาของสินค้าแต่ละชนิด ต้นทุนและปริมาณการผลิตของแต่ละอุตสาหกรรม การกำหนดราคาของปัจจัยการผลิต เป็นต้น ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ทฤษฎีผู้บริโภค ทฤษฎีการผลิต และทฤษฎีการกำหนดราคาของปัจจัยการผลิต ซึ่งรวมกันเรียกว่าทฤษฎีราคา กล่าวคือ เศรษฐศาสตร์จุลภาคจะศึกษาในประเด็นเหล่านี้ เช่น ทำไมร้านขายของโชห่วยของคนไทยจึงต้องปิดกิจการลง ถ้าร้านแฟมมิลี่มาร์ท (Family Mart) ลดราคาสินค้าลงแล้วร้านเซเว่น-อีลีเวน (7-Eleven) จะตอบโต้อย่างไร การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการเพียงใด ฯลฯ

เศรษฐศาสตร์มหภาค ศึกษาเศรษฐกิจของทั้งระบบ ได้แก่ รายได้ประชาชาติ ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไป ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ การบริโภค การออม และการลงทุน ระดับการจ้างงานโดยทั่วไป การใช้จ่ายของรัฐบาล การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ กล่าวคือ เศรษฐศาสตร์มหภาคจะศึกษาในประเด็นเหล่านี้ เช่น อะไรคือสาเหตุของการว่างงาน การลดอัตราดอกเบี้ยมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไร รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาภาวะเงินเฟ้อโดยใช้มาตรการอะไร การเปิดเขตเสรีทางการค้ามีผลดีและผลเสียต่อการค้าระหว่างประเทศอย่างไร ฯลฯ




 

Create Date : 29 มีนาคม 2554    
Last Update : 29 มีนาคม 2554 11:24:51 น.
Counter : 4790 Pageviews.  

ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ

ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ กับการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
(Economic System and Solutions)

การตัดสินปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีหลายวิธี สังคมใดจะเลือกวีธีใดขึ้นอยู่กับระบบเศรษฐกิจของสังคมนั้น โดยทั่วไปอาจแบ่งระบบเศรษฐกิจออกเป็น 3 แบบใหญ่ ๆ ดังนี้

1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) หรือเรียกว่า ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด (Market Economy) ได้เช่นเดียวกัน ลักษณะสำคัญของระบบนี้ คือ ครัวเรือน (households)และองค์กรธุรกิจ (firms) ซึ่งเป็นหน่วยเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานมีกรรมสิทธิ์ในทรัพยากร (ownership of resources) เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพเต็มที่ในการจัดการกับปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพในการเลือกประกอบธุรกิจ (freedom of enterprise) ตามต้องการ มีกำไรเป็นเครื่องจูงใจ (profit motive) และใช้กลไกราคา (price mechanism) เป็นเกณฑ์ในการตัดสินปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ถ้ามองสุดขั้วอีกด้านหนึ่งของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมแล้วรัฐบาลแทบไม่มีบทบาททางเศรษฐกิจ หรือเรียกว่าเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรี (laissez-fair economy) ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น

2. ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน (Planned Economy) หรือเรียกว่า ระบบเศรษฐกิจแบบบังคับบัญชา (Command Economy) ลักษณะสำคัญของระบบนี้ คือ ส่วนรวมหรืออีกนัยหนึ่งรัฐเป็นเจ้าของทรัพยากรต่าง ๆ รวมทั้งปัจจัยการผลิตเกือบทุกอย่างแม้กระทั่งแรงงาน การตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจดำเนินไปตามแผนที่วางไว้ แผนคือข้อกำหนดที่ระบุถึงการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ นับตั้งแต่การจัดสรรทรัพยากร การลงทุน การผลิต จนถึงการแจกแจงผลผลิตไปสู่มือผู้บริโภค แผนจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่รัฐใช้ในการตัดสินปัญหาพื้นฐานแทนหน่วยเศรษฐกิจทั้งหลาย กลไกราคาไม่มีบทบาทแต่อย่างใด ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบแบบนี้ ได้แก่ คิวบา เกาหลีเหนือ สหภาพโซเวียตในอดีต ประเทศในแถบยุโรปตะวันออก และจีน ก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด

3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะทุนนิยมผสมกับแบบวางแผนจากส่วนกลาง ทั้งรัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินมีทั้งส่วนที่เป็นของรัฐและของเอกชน กลไกราคามีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากรและการแจกแจงผลผลิต แต่จะมีบทบาทน้อยกว่าในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เนื่องจากในระบบเศรษฐกิจแบบผสมมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของหลายฝ่าย อาทิเช่น สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคมธนาคารพาณิชย์ สมาคมชาวไร่อ้อย สหภาพแรงงาน กลุ่มเหล่านี้สามารถสร้างอิทธิพลและอำนาจผูกขาดบางส่วน ซึ่งมีผลต่อการจัดสรรทรัพยากร การผลิตสินค้า การลงทุน การกำหนดราคาปัจจัยการผลิต รายได้ ฯลฯ ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบแบบนี้ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สวีเดน อิตาลี และไทย




 

Create Date : 29 มีนาคม 2554    
Last Update : 29 มีนาคม 2554 11:35:01 น.
Counter : 58367 Pageviews.  

1  2  

LUGTAEW
Location :
ลำปาง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]





[เจ้าแม่ KITTY เกรด A]
[แถมยังบ้า SJ อีกด้วย]



Friends' blogs
[Add LUGTAEW's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.