Group Blog
 
All Blogs
 

กว่าจะมาเป็นโดเรมอน ตอนที่ 4

FromDora'emon
แรงบันดาลใจให้เกิดมาเป็นโดราเอมอน
เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2512 นักวาดการ์ตูนทั้ง 2 ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ ได้ลงโฆษณาการ์ตูนเรื่องใหม่ของเขาทั้งสองไว้ว่าจะมีตัวเอกที่ออกมาจากลิ้นชัก ในนิตยสารการ์ตูนฉบับต้อนรับปีใหม่ แต่ในความจริงแล้วทั้งสองยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้แม้แต่น้อยเลย เมื่อใกล้ถึงเวลาส่งต้นฉบับก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับทั้งสองเป็นอย่างมาก
ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ หนึ่งในนักวาดการ์ตูน ได้เผอิญเห็นแมวจรจัดที่มักแอบเข้ามาเล่นที่บ้านของตนเองเป็นประจำ เขามักจะชอบจับแมวตัวนี้มาหาหมัด จนเวลาล่วงเลยมาถึง 04.00 น. ก็ยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องใหม่ ทำให้ฮิโรชิโมโหตัวเองเป็นอย่างมาก และคิดเลยเถิดไปว่าโลกนี้น่าจะมีไทม์แมชชีน เพื่อย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีต หลังจากนั้นฮิโรชิได้เผลอหลับไปด้วยความอ่อนล้า เมื่อเขาสะดุ้งตื่นขึ้นมา ทำให้เขาตกใจว่าตนเองเผลอหลับไป จึงรีบวิ่งลงจากบันไดบ้านไปสะดุดกับตุ๊กตาล้มลุกญี่ปุ่นของลูกสาวที่ตกอยู่ บนพื้น
เหตุนี้เองทำให้ฮิโรชิเกิดไอเดียขึ้นโดยนำหน้าแมวจรจัดมาผสมกับตุ๊กตา ญี่ปุ่น สร้างออกมาเป็นตัวละครหุ่นยนต์แมวจากอนาคตคอยช่วยเหลือเด็กชายที่แสนจะไม่ ได้เรื่อง และตั้งชื่อว่า โดราเอมอน เป็นคำผสมระหว่าง "โดราเนโกะ" กับ "เอมอน" ในภาษาญี่ปุ่นโดราเนโกะนั้นแปลว่าแมวหลงทาง ส่วนคำว่า "เอมอน" เป็นคำเรียกต่อท้ายชื่อของเด็กชายในสมัยก่อนของประเทศญี่ปุ่น

กำเนิดโดราเอมอน
โดราเอมอนถูกผลิตขึ้นในโรงงานสร้างหุ่นยนต์ที่เมืองโตเกียว เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2112 (พ.ศ. 2655) แต่ในระหว่างการผลิตเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ทำให้โดราเอมอนมีคุณสมบัติไม่เหมือนหุ่นยนต์แมวตัวอื่น ต้องเข้ารับการอบรมในห้องเรียนคลาสพิเศษของโรงเรียนหุ่นยนต์ (และได้พบกับเพื่อนๆ แก๊ง ขบวนการโดราเอมอน ที่นั่น) จนกระทั่งวันหนึ่ง ในงาน "โรบ็อต ออดิชัน" ซึ่งเป็นงานที่จัดให้มีการแสดงความสามารถของหุ่นยนต์ที่ได้ผ่านการอบรมแล้ว ด้วยความซุกซนของเซวาชิใน วัยเด็ก เขาจึงได้กดปุ่มเลือกซื้อโดราเอมอนมาไว้ที่บ้าน ด้วยเหตุนี้ โดราเอมอนจึงได้มาอยู่อาศัยที่บ้านของเซวาชิ ในฐานะของหุ่นยนต์เลี้ยงเด็ก
แต่ในต้นฉบับดั้งเดิมนั้นจะแตกต่างกัน คือ โดราเอมอนได้ถูกนำไปขายทอดตลาด เพราะเป็นสินค้าไม่ได้คุณภาพ จากนั้นพ่อแม่ของเซวาชิจึงมาซื้อโดราเอมอนไปไว้ที่บ้าน

FromDora'emon

แต่เดิมนั้นตัวโดราเอมอนมีสีเหลือง และมีหู แต่แล้วในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2122
ขณะที่โดราเอมอนหลับอยู่นั้น ใบหูก็โดนหนูแทะจนแหว่งไปทั้ง 2 ข้าง และไม่สามารถซ่อมแซมให้เหมือนเดิมได้ หลังจากรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล หุ่นยนต์แมว "โนราเมียโกะ" แฟนสาวของโดราเอมอนก็มาเยี่ยม แต่พอทราบว่าโดราเอมอนไม่มีหู เหลือแต่หัวกลม ๆ โนราเมียโกะถึงกับหัวเราะเป็นการใหญ่ ทำให้โดราเอมอนเสียใจเป็นอย่างมาก แต่ก็พยายามทำใจด้วยการดื่มยาเสริมกำลังใจ แต่ว่าโดราเอมอนหยิบผิดกินยาโศกเศร้าแทน ทำให้โศกเศร้ากว่าเดิม และเริ่มร้องไห้ไม่หยุดอยู่ริมชายหาด3วัน3คืน จนสีลอกเปลี่ยนเป็นสีฟ้าอย่างที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน
FromDora'emon

หลังจากนั้นโดราเอมอนจึงเกลียดและกลัวหนูเป็นอย่างมาก และไม่ค่อยมีความมั่นใจในตัวเองเกี่ยวกับเรื่องความรัก
นอกจากนั้น โดราเอมอนยังมีน้องสาวชื่อโดรามี ที่จริงก็แค่ใช้เศษเหล็กแบบเดียวกันในการผลิต แต่โดเรมีใช้น้ำมันรุ่นใหม่ ขณะที่ผลิตโดราเอมอนอยู่ได้ทำชิปหล่นหายไป 1 ส่วน จึงทำให้หยิบของวิเศษผิดพลาดบ่อยๆ

....
โปรดติดตามตอนต่อไป


(ที่มา: เรียบเรียงจากวิกิพีเดียสารานุกรมเสรี)




 

Create Date : 04 มกราคม 2552    
Last Update : 18 มกราคม 2552 0:54:22 น.
Counter : 3891 Pageviews.  

กว่าจะมาเป็นโดเรมอน ตอนที่ 3

ผลงานสร้างชื่อ

ผลงานของฮิโรชิ และอะบิโคะมีไม่น้อยกว่า 29 เรื่องด้วยกัน บางเรื่องได้รับการตีพิมพ์เป็นฉบับรวมเล่ม ส่วนบางเรื่องนั้นอาจจะตีพิมพ์ลงในนิตยสารการ์ตูน โดยอาจจะแบ่งตามนามปากกา (ไม่ครบทุกเรื่อง) ได้ดังนี้

ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ* ผีน้อยคิวทาโร่ (1964-1969, 1971-1974; ghost Q-taro; オバケのQ太郎)

ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ
ผลงานที่มีการตีพิมพ์ในไทย
* ปาร์แมน (1966-1968, 1983-1986; パーマン)
* 21 เอมอน (1968-1969, 1981; the 21st-generation boy; 21エモン)
* โมจาโกะ (1969-1970; Prince Moja; モジャ公)
* เจ้าชายจอมเปิ่น (1969; the Ume Planet prince; ウメ星デンカ)
* โดราเอมอน (1970-1996; Doraemon; ドラえもん)
* นักประดิษฐ์รุ่นจิ๋ว (1974-1977; キテレツ大百科)
* เอสเปอร์มามิ (1977-1982; エスパー魔美)
* จิมปุย (1985, 1987-1988; チンプイ)

ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ (เอ.)
* นินจาฮาโตริ (1964-1968, 1981-1988; 忍者ハットリくん)
* ไคบุตสึ (1965-1969, 1980-1982; 1972; 怪物くん)
* Warau Salesman (1968-1971, 1989-1996; smiling salesman; 笑ゥせえるすまん)
* Manga-michi (1970-1972, 1977-1982, 1986; 1986-1988; 1989-1990, 1995 - ; the road to a comic artist;まんが道)
* Mataro Ga Kuru!! (1972-1975; Mataro is coming; 魔太郎がくる!!)
* Pro Golfer Saru (1974-1980; 1982-1988; 1989; 1999 - ; プロゴルファー猿)
* Shadow Shokai Henkiro (1976-1977; Henkiro's Shadow Company; シャドウ商会変奇郎)
* Shonen Jidai (1978-1979; the boyhood; 少年時代)

Awards: รางวัลสร้างชื่อ

FromDora'emon

ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ (藤子・F・不二雄, 1 ธันวาคม พ.ศ. 2476 - 23 กันยายน พ.ศ. 2539)
พ.ศ. 2516 - รางวัลนักวาดการ์ตูนยอดเยี่ยมจากชมรมนักวาดการ์ตูนแห่งประเทศญี่ปุ่น จากเรื่อง โดราเอมอน (日本漫画家協会優秀賞)

พ.ศ. 2524 - รางวัลวัฒนธรรมประจำเมืองคาวาซากิ (川崎市文化賞)

พ.ศ. 2525 - รางวัลหนังสือการ์ตูนเด็กโชกาคุคันจากเรื่องโดราเอมอน (小学館漫画賞児童部門)

พ.ศ. 2535 - รางวัลนักวาดการ์ตูนจากกระทรวงศึกษาธิการญี่ปุ่น (日本漫画家協会文部大臣賞)

พ.ศ. 2541 - คนแรกที่ได้รับ รางวัลเทซึกะโอซามุมังงะ สำหรบเรื่อง โดราเอมอน (第1回手塚治虫文化賞マンガ大賞)



From Dora'emon

ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ (เอ.) (藤子不二雄A, ก. 10 มีนาคม พ.ศ. 2477 -)

พ.ศ. 2533 - ได้รับรางวัลมาซุมิ ฟูจิโมโตะ (藤本真澄賞) และ รางวัลพิเศษฟุมิโคะ ยามาจิ (山路ふみ子特別賞) สำหรับภาพยนตร์เรื่อง โชเนน จิได (映画「少年時代」)

พ.ศ. 2548 - ได้รับรางวัลนักวาดการ์ตูนจากกระทรวงศึกษาธิการญี่ปุ่น(日本漫画家協会文部大臣賞)
....
โปรดติดตามตอนต่อไป


(ที่มา: เรียบเรียงจากวิกิพีเดียสารานุกรมเสรี)




 

Create Date : 04 มกราคม 2552    
Last Update : 17 มกราคม 2552 0:01:48 น.
Counter : 1107 Pageviews.  

กว่าจะมาเป็นโดเรมอน ตอนที่ 2

หลังจากนั้นทั้งคู่ก็ได้เขียนการ์ตูนส่งไปยังสำนักพิมพ์เรื่อยมา และเริ่มที่รู้จักกันในวงกว้างมากขึ้น แต่ในช่วงระหว่างปีพ.ศ. 2498 จนถึงต้นปี พ.ศ. 2499 ทั้งคู่ต้องพักงานเนื่องจากเมื่อตอนกลับไปยังบ้านเกิดที่จังหวัดโทะยะมะช่วง เทศกาลปีใหม่ มีการฉลองกันหนักเกินไปจนทำให้เสียงาน ไม่สามารถส่งต้นฉบับการ์ตูนได้ทันตามกำหนด ความน่าเชื่อถือของทั้งคู่ลดลงไปในช่วงเวลานั้น ต่อมาทั้งสองคนจึงได้ตัดสินใจลงทุนจัดตั้งบริษัท "สตูดิโอซีโร" ขึ้นโดยได้เพื่อนเก่าอย่าง ชินอิจิ ซูซูกิ, โชทาโร่ อิชิโนะโมะริ, จิโร่ สึโนะดะ, คิโยะอิจิ สึโนะดะ ซึ่งเป็นเพื่อนจากกลุ่มนักวาดการ์ตูนหน้าใหม่ที่เคยใช้อยู่ร่วมกันในบ้านการ์ตูนมาเป็นทีมงาน

หลังจากต่อตั้งสตูดิโอก็มีผลงานทำภาพยนตร์เรื่องยาวให้กับเรื่อง เจ้าหนูอะตอม (Astro Boy) สตูดิโอก็มีผลงานเรื่อยมา

จนถึงปีพ.ศ. 2505 ฮิโรชิได้แต่งงานเมื่ออายุ 28 ปี

ในปีพ.ศ.2506 ก็ได้รับรางวัลโชกักคังครั้งที่ 8 จากเรื่อง โรบ็อตลุย และเท็ตจังถุงมือ

จนในปีพ.ศ. 2507 ผลงานในนาม ฟูจิโกะ ฟูจิโอกะประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากนับจากเริ่มวาดการ์ตูน
ด้วยการ์ตูนเรื่อง ผีน้อยคิวทาโร่ (Qtaro the Ghost) ได้ลงตีพิมพ์ในนิตยสารการ์ตูน "โชเน็นซันเดย์"มี คนติดตามโดยเฉพาะเด็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้คิวทาโร่ได้ผลิตเป็นการ์ตูนแอนิเมชันจัดฉายทางโทรทัศน์ในเวลาต่อมา ส่งผลให้ชื่อเสียงโด่งดังขึ้นเป็นอย่างมาก และสตูดิโอซีโร ก็เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วจากทีมงานเริ่มต้นเพียง 7 - 8 คน ก็เพิ่มมาเป็น 80 คน ได้มีผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นไคบุซึ (Kaibutsu-kun), นินจาฮาโตริ (Hattori the Ninja), ปาร์แมน (Pāman), 21 เอมอน (21-emon) และเจ้าชายจอมเปิ่น เป็นต้น

ในปีพ.ศ. 2509 อะบิโคะเข้าพิธีแต่งงานเมื่ออายุได้ 32 ปี ทว่าก็ต้องพบกับความไม่สมหวังในด้านการงาน สตูดิโอซีโรต้องปิดตัวลงเนื่องจาก เนื่องจากปัญหาทางด้านการเงินโดยมีผลงานเรื่องสุดท้ายคือ เจ้าชายจอมเปิ่น หรือ เจ้าชายลูกบ๊วย แต่ฮิโรชิไม่ได้ท้อแท้กับการปิดตัวลง กลับมองว่าแม้ต้องปิดตัวลงแต่เขาก็ได้รับประสบการณ์ที่มีค่ามากมาย และทุกอย่างเริ่มจากศูนย์ ก็ต้องจบลงที่ศูนย์ตามชื่อของสตูดิโอ ซึ่งซีโร แปลได้ว่า "ศูนย์" (นิตยสาร aday, 2545)

หลังจากนั้นในปีพ.ศ. 2513 ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นของการ์ตูนที่โด่งดังที่สุดในชีวิตของเขาทั้งสองคือเรื่อง โดราเอมอน ลงใน"โชกักอิจิเน็นเซย์-โยะเน็นเซย์" โดยเน้นไปที่กลุ่มผู้อ่านวัยเด็ก ในช่วงแรกนั้นโดราเอมอนยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่ต่อมาใน 3 ปีให้หลัง โดราเอมอนได้ผลิตเป็นการ์ตูนแอนิเมชันฉายทางโทรทัศน์ ซึ่งทำให้ได้รับความสนใจและนิยมไปอย่างแพร่หลาย ทำให้ฮิโรชิได้รับรางวัล Nihon Mangaka จากโดราเอมอน ในปีพ.ศ. 2516 ส่วนอะบิโคะที่มุ่งออกผลงานสำหรับวัยรุ่นก็ได้มีผลงานเอง Black Salesman (ภายหลังเปลี่ยนเป็น Warau Salesman) อัตชีวประวัติ Manga-michi

จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2530 ทั้งคู่ถึงจุดอิ่มตัวในวัย 54 ปีจึงได้ตัดสินใจแยกกันใช้นามปากกาจาก "ฟูจิโอะ ฟูจิโกะ"

ฮิโรชิ ฟุจิโมะโตะ เป็น "ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ" (藤子不二雄Ⓕ, Fujiko Fujio Ⓕ)

อะบิโคะ โมะโตะโอะ เป็น "ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ (เอ.)" (藤子不二雄Ⓐ, Fujiko Fujio Ⓐ)

เพื่อแยกตัวทำผลงานของตัวเอง ฮิโรชิได้เขียนการ์ตูนเรื่อง โดราเอมอนต่อเรื่อยมา โดยเขาจะเป็นผู้วาดและแต่งเรื่องโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ เป็นประจำทุกปี เมื่อถึงปีพ.ศ. 2539 ฮิโรชิก็ได้ถึงแก่กรรมลงด้วยวัย 62 ปี ส่วนอะบิโคะมีผลงานเรื่องนินจาฮาโตริ และโปรกอล์ฟซารุจัดฉายในโรงภาพยนตร์...

โปรดติดตามตอนต่อไป...



(ที่มา: เรียบเรียงจากวิกิพีเดียสารานุกรมเสรี)




 

Create Date : 04 มกราคม 2552    
Last Update : 12 มกราคม 2552 23:43:56 น.
Counter : 724 Pageviews.  

กว่าจะมาเป็นโดเรมอน ตอนที่ 1

ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ
(ภาษาญี่ปุ่น: 藤子 不二雄, ฮิรางานะ: ふじこ ふじお, Fujiko Fujio)

เป็นนามปากการ่วมกันของคู่นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น


FromDora'emon


ฮิโรชิ ฟุจิโมะโตะ
(藤本弘, ฟุจิโมโตะ ฮิโรชิ 1 ธันวาคม พ.ศ.2476-23 กันยายน พ.ศ.2539)

และ...
From Dora'emon

โมะโตะโอะ อะบิโกะ
(安孫子素雄, อะบิโคะ โมโตโอะ 10 มีนาคม พ.ศ. 2477)

ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ และโมโตโอะ อะบิโคะ ทั้งคู่ต่างก็เกิดในจังหวัดโทะยะมะ ที่ประเทศญี่ปุ่น ฮิโรชิได้มีโอกาสรู้จักกับอะบิโคะ ตอนที่อะบิโคะย้ายเข้ามาโรงเรียนประถมโจซึกะ โรงเรียนประจำในอำเภอทาคาโอกะและได้มาเรียนห้องเดียวกันกับฮิโรชิ ขณะเรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยความที่ทั้งคู่ต่างก็ชอบในการวาดเขียนการ์ตูน และรู้สึกชื่นชอบหนังสือการ์ตูนเรื่อง เกาะมหาสมบัติ ภาคใหม่ ผลงานของ โอซามุ เท็ตซึกะเป็นอย่างมาก ถึงขนาดส่งจดหมายแฟนคลับไปถึง เท็ตซึกะ ในระหว่างที่ทั้งสองคนเร่ำรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นนั้น ก็ได้เริ่มออกนิตยสารการ์ตูนทำมือขึ้น ชื่อ "RING" ต่อมาช่วงก่อนที่จะจบมัธยมศึกษา เขาทั้งสองก็เริ่มวาดการ์ตูนส่งไปตามคอลัมน์สำหรับผู้อ่านทางบ้านในหลาย สำนักพิมพ์ และได้เปิดตัวครั้งแรกเรื่อง นางฟ้าทามะจัง (Tenshi no Tama-chan) ลงตีพิมพ์เป็นประจำในนิตยสาร "ไมนิจิ โชกักเซ" ซึ่งครั้งนั้นเขาทั้งสองก็ได้รับเงินค่าจ้างอีกด้วย หลังจากนั้นทั้งคู่ก็ได้รับเชิญให้ไปเยี่ยมบ้านของเท็ตซึกะในเมืองทาคาราซึก ะ จังหวัดเฮียวโงะ การเยี่ยมบ้านในครั้งนั้นได้จุดประกายในการเขียนการ์ตูนของทั้งสองเป็นอย่างมาก
ด้วยเหตุที่ว่าทั้งสองเป็นลูกชายคนโต ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ต้องรีบหางานทำหลังจากจบมัธยมศึกษา
ในปีพ.ศ. 2495 ฮิโรชิได้เข้าไปทำงานในโรงงานลูกกวาด ส่วนอะบิโคะก็เข้าไปทำงานในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น แต่ภายหลังเนื่องจากฮิโรชิได้รับอุบัติเหตุระหว่างทำงาน จึงลาออกจากงานประจำและตัดสินใจเขียนการ์ตูนอย่างจริงจังอยู่ที่บ้าน โดยมีอะบิโคะคอยมาช่วยเหลืออยู่ตลอดหลังจากเวลาว่างหลังเลิกงาน
ในปี พ.ศ. 2496 ทั้งคู่ก็ได้ออกการ์ตูนเรื่อง ล่องลอย 4 หมื่นปี ลงใน"โบเก็นโอ" และมีผลงานการ์ตูนพ็อกเก็ตบุ๊คเล่มแรกในนามปากการ่วมกันว่า "อาชิซึกะ ฟูจิโอะ" เรื่อง สงครามโลกครั้งสุดท้าย (「UTOPIA—最後の世界大戦」, Utopia: The Last World War, UTOPIA—最後の世界大戦?)
ต่อมา พ.ศ. 2497 ทั้งคู่ได้ตัดสินใจย้ายไปอยู่โตเกียว เพื่อจะเป็นนักวาดการ์ตูนญี่ปุ่น หรือมังงะกะ อย่างเต็มตัว เมื่อย้ายมาอยู่ที่ห้องเช่าเล็ก ๆ ที่เรียวโคะคุ เขตซึมิดะ จังหวัดโตเกียวได้สักระยะหนึ่ง ฮิโรชิก็เกิดป่วยเป็นวัณโรค ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงยากต่อการรักษา แต่สุดท้ายแล้ว ฮิโรชิก็สามารถหายจากอาการป่วยได้ หลังจากนั้นทั้งคู่ได้รับความช่วยเหลือจาก เท็ตซึกะในการจัดหาห้องเช่าให้แถวโทกิว่า ในเขตโทชิม่า จังหวัดโตเกียว ซึ่งบ้านเช่าแห่งนี้มีนักวาดการ์ตูนหน้าใหม่หลายคนอาศัยอยู่ จึงมีชื่อเรียกกันเล่น ๆ ว่า บ้านการ์ตูน และได้จัดตั้งชมรมการ์ตูนยุคใหม่ขึ้น (「新漫画党 」, Shin Manga-to, 新漫画党 ) ทั้งคู่ได้ตัดสินใจเปลี่ยนนามปากกาเป็น "ฟูจิโอะ ฟูจิโกะ" และมีผลงานออกมาเรื่อง สายแร่อวกาศ...

โปรดติดตามตอนต่อไป


(ที่มา: เรียบเรียงจากวิกิพีเดียสารานุกรมเสรี)




 

Create Date : 04 มกราคม 2552    
Last Update : 8 มกราคม 2552 23:36:42 น.
Counter : 1015 Pageviews.  

กว่าจะมาเป็นเณรน้อยเจ้าปัญญา ตอนที่ 5 - ตอนจบ

FromIkkyuu-san

ตัวละคร
FromIkkyuu-san
อิคคิว ซัง
เป็นเณรน้อยเจ้าปัญญา มีจิตใจดีงาม ชอบใช้ความคิดช่วยเหลือคนมีความกตัญญูและรักแม่มาก

FromIkkyuu-san
ซาโยจัง
เด็กผู้หญิงชาวบ้าน ซึ่งอยู่กับตาที่แก่มาก แม่ของซาโยะจังตายตอนสงครามและทิ้งหวีไว้ให้ซาโยจัง เธอมีแมวชื่อทามะเป็นเพื่อน และเธอเป็นเพื่อนรักของอิคคิว

FromIkkyuu-san
นินะงะวะ ชินเอมอน "ชินเอมอนซัง"
เป็นซามูไรของโชกุน อะชิคะงะ เป็นเพื่อนรักของอิคคิวเช่นเดียวกัน เขายอมเป็นศิษย์ของอิคคิวเพราะนับถือในความฉลาดของอิคคิวและคอยช่วยเหลืออิคคิวในเรื่องต่าง ๆ

FromIkkyuu-san
หลวงพ่อ ไกคัง โอะโช
หลวงพ่อ ของวัดอังโคะคุจิ เข้มงวดและเจ้าระเบียบ อิคคิวและเณรคนอื่น ๆ ในวัดต่างเกรงหลวงพ่อ แต่หลวงพ่อก็ดูแลความเรียบร้อยของวัดได้เป็นอย่างดี

FromIkkyuu-san
โชกุน โยชิมิสึ "ท่านโชกุน"
ผู้มีตำแหน่งใหญ่หากเทียบกับปัจจุบัน ก็เปรียบเสมือนผู้ว่าฯ เวลาเหงาชอบเรียกอิคคิว ซัง มาเพื่อตอบปัญหาต่าง ๆ บางครั้งมีนิสัยเป็นเด็ก

FromIkkyuu-san
คิเคียวยะ ริเฮ "คิเคียวยะซัง"
พ่อค้าในย่านนั้น มีนิสัยงก ขี้เหนียวชอบหากำไรกับวัดและหาเรื่องให้อิคคิวต้องปวดหัวเป็นประจำ

FromIkkyuu-san
คิเคียวยะ ยาโยย
ยาโยอิ ซัง ลูกสาวพ่อค้า ชอบแกล้งอิคคิวและเณรในวัด ทุกครั้งที่เธอปรากฎตัวจะต้องมีเรื่องปวดหัว มาให้อิคคิวทุกครั้งเธอมีความกตัญญูกับพ่อของเธออย่างมาก

FromIkkyuu-san
แม่ของอิคคิว เป็นชายาลับ ๆ ของจักรพรรดิ์ เธอพาอิคคิวมาฝากไว้ที่วัดเพื่อบวชเรียนหลายครั้งเธอไม่ยอมพบกับอิคคิว เพราะต้องการให้อิคคิวเป็นคนเข้มแข็งไม่ติดแม่


FromIkkyuu-san
ตุ๊กตาไล่ฝน
แม่ของอิคคิวทำให้เป็นสัญญาลักษณ์แทนตัวแม่ของอิคคิว ทุกครั้งที่อิคคิวคิดถึงแม่ครั้งใดจะมานั่งดูตุ๊กตาตัวนี้

และ...
* ชูเน็น
* จินเน็น
* เท็ซไซ
* เทะสึไบ
* โมะคุเน็น
* เจ้าหญิงสุเอะ
* เจ้าหญิงซึยุ
* เจ้าหนูจัมไม
* แมวทะมะ



เพลงจบ - ฮะฮะอุเอะซะมะ (「ははうえさま」, Hahauesama, ははうえさま)

คำแปลเนื้อร้องภาษาไทย
ท่านแม่ครับ สบายดีหรือเปล่า?
เมื่อคืนผมเห็นดวงดาวสว่างสุกใส อยู่บนปลายยอดต้นสน
ดวงดาวนั้นจ้องมองมาที่ผม
ประกายแสงช่างอ่อนโยนเหมือนท่านแม่
ผมได้พูดคุยกับดาวดวงนั้น
เพราะเป็นลูกผู้ชาย ยังไงก็จะไม่ยอมแพ้
เมื่อใดที่รู้สึกเหงา ผมจะมาคุยด้วยอีก
แค่นี้นะครับ แล้วจะเขียนมาใหม่
อิคคิว

ท่านแม่ครับ สบายดีหรือเปล่า
เมื่อวานคนที่อยู่หมู่บ้านข้าง ๆ เอาลูกแมวตัวหนึี่งมาให้ที่วัด
เจ้าแมวน้อยร้องไห้ เพราะยังติดแม่ของมันอยู่
ผมจึงบอกกับมันว่า อย่าร้องไห้เลย เจ้าจะไม่เหงาหรอก
เป็นลูกผู้ชายใช่ไหม จะต้องได้พบแม่อีกแน่ๆ
สักวันหนึ่ง...แน่นอน
แค่นี้นะครับ แล้วจะเขียนมาใหม่
อิคคิว


(ที่มา: เรียบเรียงข้อมูลจากวิกิพีเดียสารานุกรมเสรี
ข้อมูลตัวแสดงจากjanpankiku.com)




 

Create Date : 04 มกราคม 2552    
Last Update : 6 มกราคม 2552 22:42:12 น.
Counter : 3002 Pageviews.  

1  2  3  4  

ดวงตามังกร
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ดวงตามังกร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.