Group Blog
 
All Blogs
 

เงินออมในการประกันสังคม

เงินออมในการประกันสังคม
- ท่านสามารถเข้าไปเช็คเงินของท่านได้ที่
//www.sso.go.th/info/info_fundmid_logon.asp
โดยต้องเข้าไปลงทะเบียนก่อน ถึงจะเช็คได้
วิธีการ
เพียงใส่เลขที่บัตรประชาชน วัน (วรรค)เดือนภาษาไทย(วรรค)พศ.เกิด ก็สามารถตรวจสอบได้แล้ว
ผลประโยชน์ของเราอย่ามองข้าม เงินออมเล็ก ๆ น้อย ๆ จากประกันสังคมที่ท่านไม่ควรลืม เช่น ทุกเดือนบริษัทจะหักเงิน 5% ของ 15,000.- (เงินเดือนขั้นสูงสุด) = 750บาท จากเงินเดือนของท่าน
1.5% = 225 บาท จะประกันเจ็บป่วย ตาย
0.5% = 75บาท จะประกันการว่างงาน
3% = 450 บาท จะประกันชราภาพ

สรุปว่าท่านจะถูกหักเป็นเงินออมชราภาพทุกเดือน@ละ 450.- บาท = ปีละ5,400.-บาท
ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการออมเงิน 1 ปี 5,400 บาท คือท่านจะได้เงินสบทบอีก100%
จากนายจ้างคือปีละ 5,400.- + ดอกเบี้ยจากประกันสังคม ปี 45 = 4.2%, ปี 46= 6.5%
(สรุปท่านได้ผลประโยชน์ 106.5% เชียวละ คือฝาก 5,400 เงินของท่านจะได้รับประมาณ11,502 บาท เห็นมั๊ยละว่าสูงมาก ๆ จึงอยากจะเตือนท่านว่าอย่าเห็นเป็นเงินเล็กน้อย

ท่านจะได้คืนเงินจำนวนนี้เมื่ออายุครบ 55 ปี หรือถ้า 55ปี แล้วยังทำงานก็จนกว่าจะเลิกทำคือเลิกส่งเงินประกันสังคม

***** ที่สำคัญ *** คือ ต้องขอคืนภายใน 1 ปี หลังจากเกษียณเท่านั้นห้ามเกิน แม้แต่ 1 วัน มิฉะนั้นจะถูกยกเข้าเงินกองกลางไปเลย ****
ไม่สามารถฟ้องอุทธรณ์ ได้เลย

การขอคืน
1. ถ้าท่านส่งเงินสมทบน้อยกว่า 15 ปีท่านจะได้เป็นเงินบำเหน็จ คือได้ไปเป็นก้อนไปเลย เยอะอยู่นา อย่าลืมละ
2. แต่ถ้าท่านส่งเงินมากกว่า 15ปี ท่านจะได้เป็นบำนาญ(ถามแล้วไม่สามารถเลือกเป็นบำเหน็จได้) 15%
บวกอีกร้อยละหนึ่งต่อระยะเวลาจ่ายเพิ่ม 1 ปี เช่น ส่งเงินสมทบ 20 ปี ได้ 20%ของ 15000.-บาท เท่ากับ 3,000 บาท ต่อเดือน

ย้ำ
***ท่านสามารถเข้าไปเช็คเงินของท่านได้ที่
//www.sso.go.th/info/info_fundmid_logon.asp




 

Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2552 15:07:05 น.
Counter : 886 Pageviews.  

การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ2

จากที่กล่าวไปแล้วในตอนที่ 1 ว่า เมื่อเกษียณอายุไปแล้วนั้น สิ่งที่ทุกคนจะต้องเผชิญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลง
สถานภาพทางสังคม การต้องสูญเสียรายได้หลักในขณะที่รายจ่ายยังมีอยู่ตลอดจนสิ้นอายุขัย การเสื่อมโทรมของสภาพ
ร่างกาย การเจ็บไข้ได้ป่วยที่มาพร้อมกับการชราภาพ เป็นต้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เรามีความจำเป็นที่จะต้องมีการ
เตรียมความพร้อมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และการเงิน เพื่อรองรับและรักษามาตรฐานการดำเนินชีวิตในช่วงหลังวัย
เกษียณให้เทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับการดำเนินชีวิตในช่วงก่อนเกษียณอายุ ทั้งนี้ การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่วัย
เกษียณอายุนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ
1. การเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย และจิตใจ
เมื่อเกษียณอายุนั้นทุกคนจะต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ สิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงทาง
ด้าน
ร่างกาย และสถานภาพทางสังคม ซึ่งทำให้หลายคนเกิดความรู้สึกว่าสูญเสียความสามารถ และอำนาจที่เคยมี โดย
เฉพาะคนที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และยังคงยึดติดอยู่กับความคิดในอดีตที่ตนเคยมีมาก่อน
จนเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้น การเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจแต่เนิ่นๆ จะทำให้ผู้
เกษียณอายุนั้นมีความเข้าใจ และเกิดความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น สามารถอยู่ร่วมกับครอบครัว และสังคมได้อย่างมี
ความสุข ซึ่งการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจนั้น ได้แก่
- การปรับเปลี่ยนทัศนคติและยอมรับว่าเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว กำลังร่างกายย่อมมีน้อยลง ดังนั้น จึงต้อง
ปรับตัวให้เข้ากับสังคมและหน้าที่การงานที่เหมาะสม
- พยายามรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
- ทำจิตใจให้แจ่มใส ให้ความใส่ใจกับผู้คนและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
- ให้ความสำคัญกับคำสอนทางศาสนา และทำกิจกรรมทางศาสนาให้มากขึ้น เป็นต้น
2. การเตรียมความพร้อมทางด้านการเงิน
ความพร้อมทางด้านการเงินนั้น เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากเรื่องหนึ่งที่จะต้องมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าก่อน ที่
จะเกษียณอายุ แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องการเตรียมความพร้อมทางด้านการเงินเพื่อวัยเกษียณมาก
นัก และโดยส่วนใหญ่จะเริ่มเตรียมความพร้อมก็ต่อเมื่อมีอายุใกล้จะเกษียณแล้ว ซึ่งทำให้มีเวลาน้อยเกินไปที่จะเตรียม
ความพร้อมได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมทางด้านการเงินเพื่อวัยเกษียณนั้นมีขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ประมาณการอายุที่คาดว่าจะอยู่ในช่วงเกษียณอายุไปจนสิ้นอายุขัย:
โดยอาจจะประมาณการจากบุคคล ในครอบครัว เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย บิดา หรือมารดา เป็นต้น โดยพิจารณาจาก
อายุของบุคคลดังกล่าวว่าโดยเฉลี่ยแล้วมีอายุยืนยาวเพียงใด และนำมาใช้เป็นตัวเลขสำหรับการประมาณการ
อายุขัยของตนเอง และตามหลักความระมัดระวัง (Conservative) ควรจะบวกเพิ่มไปอีก 8 ปี โดยประมาณ เช่น
ปู่ ย่า ตา ยาย อายุขัยเฉลี่ย 80 ปี อายุขัยที่ประมาณการได้ควรจะเท่ากับ 88 ปี เป็นต้น

ขั้นที่ 2 กำหนดเป้าหมายการดำเนินชีวิตที่ต้องการเมื่อเกษียณอายุ:
เป็นการวาดภาพการดำเนินชีวิตตลอดในช่วงหลังเกษียณอายุที่ได้ประมาณการไว้ว่าต้องการใช้ชีวิตแบบไหน และ
ต้องการจะทำสิ่งใดบ้างหลังจากเกษียณอายุไปแล้ว แต่โดยพื้นฐานแล้วบุคคลทั่วไปนั้นต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ไม่
แตกต่างจากช่วงก่อน เกษียณอายุมากนัก เช่น ต้องการมีเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้เท่ากับค่าใช้จ่ายใน
ช่วงก่อน เกษียณอายุ เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าคุณภาพชีวิตต่ำลง นอกจากนี้ บางคนเมื่อเกษียณอายุแล้วอาจจะ
ต้องการมีเงินสำหรับไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ต้องการมีเงินที่จะนำไปใช้ในการทำบุญ ต้องการเงิน เพื่อรองรับค่าใช้
จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ เพิ่มเติมอีก เป็นต้น
ขั้นที่ 3 ประมาณการค่าใช้จ่ายที่ต้องการสำหรับการเกษียณอายุ:
หลังจากที่ได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินชีวิต ในช่วงหลังเกษียณอายุแล้วนั้น ให้ประมาณการว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้
ในช่วงเกษียณอายุทั้งหมดนั้นมี จำนวนเท่าใด แต่โดยทั่วไปแล้วควรจะมีค่าใช้จ่ายอย่างน้อยให้เพียงพอกับความเป็น
อยู่ขั้นพื้นฐาน สำหรับวัยเกษียณ ซึ่งมีวิธีที่ใช้ในการประมาณการอยู่ 2 วิธี ทั้งนี้ ทุกท่านสามารถติดตามตอนต่อไปได้
ในฉบับหน้านะครับ




 

Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2552 14:33:24 น.
Counter : 1112 Pageviews.  

การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ1

บุคคลผู้ที่ทำงานอยู่ในบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจ หรือรับราชการ ที่เริ่มมีอาย
เข้าสู่ขวบปีที่ 50 หรือใกล้ๆ ที่จะเข้าสู่อายุ 60 ปีนั้น ช่วงอายุดังกล่าวทำให้หลายคนเริ่มที่จะตระหนักและนึกถึงปัญหาที่ทุกคนจะต้องเผชิญในอนาคต
อันใกล้ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกับการดำเนินชีวิตของทุกคน ปัญหานั้นก็คือ “เราจะดำเนินชีวิตหลังเกษียณอายุอย่างไร” แน่นอน หลายท่านอาจจะคิดว่า ช่วงชีวิตหลังเกษียณอายุนั้นเป็นช่วงเวลาที่จะมีความสุข เนื่องจากจะได้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้นหลังจากที่ได้ทำงานหนักมาค่อนชีวิต รวมทั้งยังจะมีเวลามากพอที่จะท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ที่อยากจะไป หรือทำในสิ่งที่อยากจะทำ มีเวลาอยู่กับลูกกับหลานมากขึ้น แต่หลายท่านอาจจะลืมคิดไปว่าการเกษียณอายุนั้น นอกจากจะมาพร้อมกับการมีเวลาว่างมากขึ้น และไม่ต้องทำงานแล้วนั้น ยังมีบางสิ่งที่ตามมาพร้อมกับการเกษียณอายุและเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องควรคำนึงถึงอย่างมาก ได้แก่

􀂂 การสูญเสียรายได้หลัก เมื่อเกษียณอายุแล้วนั้น ก็หมายความว่าไม่มีงานทำ และเมื่อไม่มีงานทำก็ไม่มีรายได้หลักเหมือนเช่นแต่ก่อน ซึ่งจะสวนทางกับค่าใช้จ่ายที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย ค่าเดินทาง เป็นต้น ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะมีสัดส่วนลดลงเมื่อเกษียณอายุแล้ว แต่ก็ยังเป็นค่าใช้จ่ายประจำและต่อเนื่องไปจนสิ้นอายุขัย นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเกษียณอายุแล้วได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพ ค่าใช้จ่ายเดินทางท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายในการบริจาค และอื่นๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ทุกคนยังต้องเผชิญเมื่อเกษียณอายุ

􀂂 โรคภัยไข้เจ็บที่มาพร้อมกับการชราภาพ เมื่อคุณเกษียณอายุหรือเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุนั้น สิ่งที่ตามมาก็คือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพบว่าโรคที่จะมาพร้อมกับการเกษียณอายุสูงสุด 5 อันดับแรกคือ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคต่อมไร้ท่อ โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกและข้อ โรคระบบทางเดินอาหาร และโรคระบบทางเดินหายใจ ตามลำดับ ซึ่งหากพิจารณาถึงวิธีการดูแลและรักษาโรคดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็พอจะคาดเดาได้ว่าจะต้องใช้เงินเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลค่อนข้างสูง และเมื่อท่านเข้าสู่วัยเกษียณอายุนั้น โอกาสที่ท่านจะต้องเผชิญกับโรคดังกล่าวข้างต้นนั้น ก็จะมีเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
ร้อยละของประชากรสูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง/โรคประจำตัว จำแนกตามกลุ่มโรคสูงสุด 5 อันดับแรก
ลำดับที่ กลุ่มโรค ร้อยละ
1 โรคหัวใจและหลอดเลือด 42.66
2 โรคของต่อมไร้ท่อ 24.34
3 โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกและข้อ 20.85
4 โรคระบบทางเดินอาหาร 8.48
5 โรคระบบทางเดินหายใจ 7.96
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2548. การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ

􀂂 การเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินชีวิต หลังจากที่เริ่มเข้าสู่วัยเกษียณแล้วนั้นทุกคนจะต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชีวิต ไม่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านสถานะทางสังคม การเปลี่ยนแปลงในบทบาทและหน้าที่จากที่เคยเป็นผู้นำครอบครัวก็เปลี่ยนมาเป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว ซึ่งหลายคนอาจจะยังปรับตัวไม่ได้ในช่วงแรกๆ และอาจทำให้รู้สึกหงุดหงิดและสิ้นหวังกับชีวิตได้ ดังนั้น ควรพึงระลึกไว้เสมอว่าใบไม้เมื่อถึงเวลาก็ต้องผลัดใบและปล่อยให้ใบใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่แทนเสมอทั้งนี้ สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทุกคนต้องเผชิญเมื่อเริ่มก้าวเดินเข้าสู่เส้นทางชีวิตที่เรียกว่า “วัยเกษียณอายุ” ซึ่งใครจะเผชิญกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้มากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับวิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละคน นอกจากนี้ หากพูดถึงวัยเกษียณอายุแล้วหลายคนอาจจะบอกว่าอายุก็มากแล้วอยู่อีกไม่นานก็ต้องลาจากโลกนี้ไปซึ่งเป็นความคิดที่ผิด เนื่องจากโลกในปัจจุบันนี้นั้นมีพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ และสาธารณสุขที่ก้าวล้ำอย่างมาก ทำให้คนที่มีอายุเข้าสู่วัย 60 ปีนั้น อาจจะสามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกถึง 19 ปี สำหรับผู้ชายไทยและอีก 21.5 ปี สำหรับผู้หญิงไทย นั่นหมายความว่าผู้ชายไทยจะมีอายุขัยยาวถึง 79 ปี และ 81.5 ปี สำหรับผู้หญิงไทย ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนานสำหรับการใช้ชีวิตในช่วงหลังวัยเกษียณของแต่ละคน

ตารางแสดงอายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทย (Life expectancy)
อายุคาดหมายเฉลี่ยปี 2549 (Life expectancy) เท่ากับ
􀂂 อายุคาดหมายเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (Life expectancy at birth) ของเพศชาย 68 ปี
􀂂 อายุคาดหมายเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (Life expectancy at birth) ของเพศหญิง 75 ปี
􀂂 อายุคาดหมายเฉลี่ยที่อายุ 60 ปี (Life expectancy at age 60 years) ของเพศชาย 19 ปี
􀂂 อายุคาดหมายเฉลี่ยที่อายุ 60 ปี (Life expectancy at age 60 years) ของเพศหญิง 21.5 ปี
􀂂 อายุคาดหมายเฉลี่ยที่อายุ 80 ปี (Life expectancy at age 80 years) ของเพศชาย 5.7 ปี
􀂂 อายุคาดหมายเฉลี่ยที่อายุ 80 ปี (Life expectancy at age 80 years) ของเพศหญิง 6.4 ปี
ที่มา: สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2548 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ, สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นอกจากนี้ จากตารางดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าเมื่อท่านมีอายุครบ 80 ปีแล้ว ท่านยังมีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกถึง 5.7 ปี สำหรับผู้ชายไทย และอีก 6.4 ปี สำหรับผู้หญิงไทย ซึ่งหากลองคิดกันเล่นๆ ว่าหากท่านจะต้องมีชีวิตอยู่ในช่วงหลังเกษียณอายุไปจนถึงอายุเกือบจะ 90 ปี โดยที่ไม่มีรายได้ที่จะเลี้ยงดูชีวิตในช่วงหลังเกษียณอายุให้อยู่ได้ตลอดรอดฝั่ง ท่านที่จะมีความรู้สึกเช่นไร และชีวิตของท่านจะอยู่อย่างลำบากยากแค้นแค่ไหน หลายท่านอาจจะคิดว่าไม่เป็นไรยังมีลูกหลานเป็นที่พึ่งสุดท้าย แต่หากท่าพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางสังคมไทยในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า สังคมไทยนั้นมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ไปเป็นสังคมเดี่ยวมากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่า ไม้ตายสุดท้ายของท่านที่จะหวังพึ่งพิงลูกหลานให้เลี้ยงดูในช่วงเกษียณอายุเหมือนยังแต่ก่อนนั้นอาจจะมีความเป็นไปได้น้อยลงอย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวข้างต้นนั้นจะเกิดขึ้นน้อยลงหรือไม่เกิดขึ้นเลย หากท่านได้มีการวางแผนและมีการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านการเงินและด้านจิตใจแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะทำให้ท่านมีความพร้อมและสามารถก้าวเดินเข้าสู่เส้นทางชีวิตในช่วงหลังเกษียณอายุได้อย่างมั่นใจ และไม่เป็นภาระให้แก่ใคร เพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แค่นี้ก็สามารถทำให้ท่านสามารถดำเนินชีวิตในเส้นทางบั้นปลายชีวิตนี้ได้อย่างมีความสุข และยังสามารถรักษามาตรฐานการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ของท่านได้เทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับชีวิตในช่วงก่อนการเกษียณอายุอีกด้วยทั้งนี้ หากท่านต้องการที่จะทราบถึงวิธีการวางแผนหรือการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่วัยเกษียณอายุได้อย่างไรนั้น โปรดติดตามตอนต่อไปครับ




 

Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2552 14:31:26 น.
Counter : 803 Pageviews.  


SupatKa
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Friends' blogs
[Add SupatKa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.