สุภารัตถะ บล็อก
Group Blog
 
All Blogs
 
การบรรลุธรรม


โลกุตตรผลมีได้จากการตั้งจิตไว้ถูก
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนเดือยเมล็ดข้าวสาลี หรือเดือยเมล็ดข้าวยวะ ที่มันตั้งอยู่ในลักษณะผิดปกติ ถูกย่ำด้วยมือหรือด้วยเท้าแล้ว จักตำมือหรือเท้าที่ย่ำลงไป หรือจักทำโลหิตให้ห้อขึ้นมาได้ นี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้ เพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุว่าเดือยแห่งเมล็ดข้าวสาลีนั้นตั้งอยู่ผิดลักษณะ ภิกษุ ท.! ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุมีจิตตั้งไว้ผิด จักทำลายอวิชชา จักทำวิชชาให้เกิดขึ้น หรือจักกระทำนิพพานให้แจ้งได้ นั้นไม่เป็นฐานะที่มีได้ เพราะเหตุไรเล่า? เพราะความที่ตั้งจิตไว้ผิด แล.
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนเดือยเมล็ดข้าวสาลี หรือเดือยเมล็ดข้าวยวะ ที่มันตั้งอยู่ถูกลักษณะ ถูกย่ำด้วยมือหรือด้วยเท้าแล้ว จักตำมือหรือเท้าที่ย่ำลงไป หรือจักทำโลหิตให้ห้อขึ้นมาได้ นี้เป็นฐานะที่มีได้ เพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุว่าเดือยแห่งเมล็ดข้าวสาลีนั้นตั้งอยู่ถูกลักษณะ ภิกษุ ท.! ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุมีจิตตั้งไว้ถูก จักทำลายอวิชชา จักทำวิชชาให้เกิดขึ้น หรือจักกระทำนิพพานให้แจ้งได้ นั้นเป็นฐานะที่มีได้ เพราะเหตุไรเล่า? เพราะความที่ตั้งจิตไว้ถูก แล.

-เอก. อํ. ๒๗/๙/๔๒-๔๓
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย ธรรมโฆษณ์ของพุทธทาส


เบญจพล (พละห้าหรือกำลังห้า) กำลังที่ใช้ในการตัดกิเลสเพื่อเข้าสู่การบรรลุธรรม

ภาวะที่จะตัดกิเลสขาด หรือตัดความคิด (เบญจขันธ์) ขาดนั้น คุณจะต้องมีกำลังห้าเสมอกัน คือมีการกำหนดอย่างต่อเนื่อง จนกำลังของ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เปี่ยมกำลังขึ้นมาจนแก่กล้าและเสมอกัน อันใดอันหนึ่งนำอยู่ก็ยังไม่พอดี.. ยังไม่ได้จังหวะ..

การกำหนดอย่างต่อเนื่องนั้น (กำหนดจิตให้ปกติ “ตั้งจิตไว้ถูก” ไม่ซัดซ่าย หรือที่เรียกว่านิพพานชั่วคราว) จึงนับเป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเหมือนการเตรียมตัวพร้อม พอมีจังหวะเหมาะเท่านั้น มันก็จะหลุดผั๊วะออกมาจากตัวตนได้ทีเดียว

สมาธิภาวนาหรือที่เรียกว่า วิปัสสนาหรือการกำหนดนั้น จึงเหมือนการเติมหยดน้ำเล็กๆ (นิพพานชั่วคราวหรือตั้งจิตไว้ถูก) ลงตุ่มรั่ว ผู้เขียนใช้ตุ่มรั่วเพราะ ตลอดเวลาเราก็จะตกต่ำไปด้วยกิเลสตัณหาที่พร้อมเรียกเราออกไปเล่นจนหลุดออกไปจากสติได้เช่นกัน คนเติมน้ำน้อยแต่รั่วมาก ถึงจะดีกว่าพวกไม่เติม แต่ก็อย่าได้หวังว่าตุ่มนั้นจะเต็มได้

คนเติมต่อเนื่องเป็นเส้นสาย (กำหนดได้ดี) จะทำให้เกิดกำลังมหาศาล จิตจะตื่นหรือเบิกบานอย่างยิ่ง ซึ่งเรียกว่ามีอินทรีย์ห้าแก่กล้าหรือพละห้าแก่กล้านั่นเอง และภาวะที่มีกำลังห้าแก่กล้านี่แหละ ที่จะทำให้เราหลุดจากความคิดได้เมื่อได้สบขณะจังหวะที่มันเสมอกัน

คนที่กำหนดเก่งจนพละห้าแก่กล้ามาก แต่ยังไม่เสมอนั้น คือเกือบๆ จะเสมอแล้วแต่ก็พลาดไป ถือว่าเป็นการพลาดโอกาสทองอย่างยิ่ง เพราะจะเข้าสภาวะฟันกิเลสขาดอยู่แล้ว พอพลาดไปนิดไปหน่อยก็จะหลุดจากโอกาสนั้นทันที ท่านอาจารย์พุทธทาสเรียกโอกาสทองนี้ว่า “ขณะสัมปัตติ” ซึ่งเป็นโอกาสที่เกิดได้ยากยิ่ง ต้องปล่อยวางอย่างยิ่ง ถ้าพลาดแล้วก็น่าเสียดายมาก แต่บางคนก็พลาดแล้วพลาดอีก.. คือมันเสมอได้ยาก อาจจะเสียจังหวะกันไป อันนี้ก็คิดมากไม่ได้อีก คิดมากจิตจะร่วงเปล่าๆ คือเกิดขึ้นได้ยากแต่เสียโอกาสได้ง่าย


สมาธิขั้นไหน สำหรับการบรรลุธรรมแต่ละขั้น

สมาธินับเป็นกำลังสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการทะลวงเข้าสู่ความจริง ถ้าพูดกันตามอริยมีองค์แปด ก็ถือเป็นกำลังของหนึ่งในแปด ถ้าพูดกันตามศีลสมาธิปัญญา ก็เป็นกำลังของหนึ่งในสาม หรือพูดง่ายๆ ตามหลักการวิปัสสนา ที่ท่านพุทธทาสอธิบายว่าวิปัสสนาเป็นคำใหม่ สมัยก่อนไม่มีคำนี้เพราะใช้คำว่า “สมาธิภาวนา” ก็ถือว่าสมาธิเป็นกำลังของหนึ่งในสอง นั่นคือ สมาธิกับปัญญา (จริงๆ แล้วย่อมาจากกำลังห้า แต่เหลือแค่ สมาธิภาวนา (ปัญญา))

สมาธิภาวนา หรืออธิบายง่ายๆ ว่า การกำหนดรู้เห็นทุกสิ่งตามความเป็นจริง

ไม่ว่าจะกำหนดสมาธิภาวนาโดยอานาปานสติ หรือทางลัด”ใบมือในกำมือ”ที่เป็นทางให้พ้นทุกข์ เข้าถึงภาวะนิพพานหรือความจริงที่พระสัมมาสัมโพธิตรัวสอนไว้ คือ สติปัฏฐานสี่ ในทุกขณะของการกำหนดสตินั้น จะมีสภาวะของสมาธิและปัญญาเกาะเกี่ยวกันอยู่ ผู้มีสติจะมีกำลังของสมาธิและปัญญาควบคู่อยู่ในสตินั้นเสมอ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นกำลังหนุนเนื่องกันตลอดเวลา จะพูดให้เต็มก็คือ การกำหนดสติสัมปัชชัญญะทำให้พละห้าหรืออินทรีย์ห้าแก่กล้าขึ้น

การกำหนดสตินั้น ผู้ที่กำหนดยิ่งมาก จากสมาธิที่ได้เพียงขณิกะสมาธิ หากกำหนดได้ต่อเนื่อง สมาธิจะเพิ่มจากขั้นขณิกะ เป็นอุปจารสมาธิ จากอุปจารเข้าสู่อัปนาสมาธิ (จิตเป็นเอกัคตา) ซึ่งจะเป็นปฐมฌาน (ฌาน1) ไปถึงทุติยณาน (ฌาน2) ตติยณาน (ฌาน3) จตุตถฌาน (ฌาน 4) ได้ทั้งนั้น

คนไม่ชำนาญกว่าจะเข้าสมาธิระดับอัปนาได้ อาจต้องผ่านฌานหนึ่ง อยู่ คือมี วิตก วิจารณ์ ปิติสุข เอกัคตา (แบบทั่วไป คือนั่งทนไปเรื่อยๆ เดี๋ยวดีเอง)
คนที่ชำนาญอาจไม่ต้องคิดอะไรมาก พอกำหนดก็เข้าสู่ฌานสอง ไม่ผ่านวิตก วิจารณ์ก็ได้ คือมีแค่ ปิติ สุข เอกัคตา เท่านั้น (เก่งมากๆ)
ยิ่งชำนาญขนาดไม่ต้องผ่านปิติด้วยก็เข้า ฌานสาม ได้เลยคือ มีสุข และเอกัคตา
หรือที่เข้าณานสี่ เอกัคตา ได้เลยก็มี กำหนดปุ๊บเข้าณานสี่ได้ (เก่งอะไรจะปานนั้น)

เพียงไม่ทิ้งตัวสติให้อ่อนกว่าสมาธิเท่านั้น กำลังจะมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าสมาธิมีกำลังสูงอย่างนั้นแล้วแต่ปล่อยให้สติอ่อนกว่า ในสภาวะของสมาธิที่มีกำลังมาก อาจเข้าไปเห็นนั่นเห็นนี่มากกว่ากายหยาบที่เคยเห็น เช่นได้ยินเสียงจากมิติอื่น จิตจากมิติอื่นมารบกวน หากสติตามไม่ทันสมาธิที่มีกำลังมาก ก็อาจจะมีการปรุงแต่งความคิดไปอีกแบบ อธิบายง่ายๆ คนที่เห็นโลกมนุษย์ก็เชื่อโลกนี้ตามที่เห็น คนที่เข้าไปเห็นโลกอื่นถ้าไม่ตั้งสติดีๆ ก็เชื่ออีกโลกใหม่ที่เห็น เราก็ใคร่รู้ใคร่สนใจ จนปล่อยสติไปบ้าง สนุกไปกับภาพมายาใหม่ๆ หรือใครไปเห็นภาพน่ากลัวเข้าหากขาดสติก็จะตกใจ ฟุ้งซ่านไป

แต่หากไม่ปล่อยสติแล้ว ยิ่งกำหนดได้อย่างต่อเนื่อง ภาวะจิตปกติหรือนิพพานชั่วคราวก็จะยาวนานขึ้น ภาวะความคิดน้อยมาก นิมิตไม่รบกวน จิตตื่นตัวทั่วพร้อม ทุกอย่างแจ่มชัด ยิ่งความคิดน้อยลงเท่าไรภาวะความจริง (นิพพาน) ก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น จนที่สุดหากดับคิดดับตัวตนได้ นิพพานชั่วคราวก็จะกลายเป็นนิพพานถาวร โดยกำลังของการภาวนาจะเข้าไปตัดกิเลสตัณหา (ตัดสังโยชน์ ตามกำลังของอินทรีย์ห้าหรือพละห้า)

โดย - ระดับพระโสดาบันกับพระสกทาคามี ต้องใช้กำลังสมาธิขั้นอุปจารสมาธิขึ้นไปแต่ไม่ถึงขั้นอรูปฌานที่ขาดสติ - ระดับพระอนาคามีกับพระอรหันต์ ต้องใช้กำลังสมาธิปฐมฌานขึ้นไป แต่ไม่ถึงขั้นอรูปฌานที่ขาดสติ (เคยอ่านในหนังสือพุทธธรรมของท่านธรรมปิฎกนานแล้วนะ แต่เนื้อหาในตอนนี้ คงไม่อธิบายรายละเอียด เพราะขี้เกียจกลับไปค้น)

แม้เรื่องของบาปบุญจะไม่เกี่ยวกับการบรรลุธรรม เพราะการหลุดจากกระแสสมมุติเป็นเรื่องเหนือดีเหนือชั่วลอยบุญลอยบาปและลักษระทวิภาวะทั้งปวง แต่โดยทางอ้อมผู้ที่มีศีลหรือดำเนินไปตามความดีงาม ย่อมเข้าสู่กระแสโลกุตตรธรรมได้ง่ายกว่า เพราะสมาธิที่เกิดจากศีลนั้นมั่นคงและสงบกว่า แม้นักฆ่าบางคนจะมีสมาธิสูง แต่สมาธิที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนศีล จะหวั่นไหวและแปรปรวนตามจิตที่ชั่วร้ายได้ง่าย ดังคำสอนที่ว่า ละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์


การภาวนาและผล
ทางสายเอกสติปัฏฐานสี่
อานาปานสติ วีถีแห่งสุข
***อานาปานสติ สติปัฏฐานสูตร
เตรียมตัวสู่วิมุติ สำหรับฆราวาส
นิพพานสำหรับทุกคน ..ท่านพุทธทาส


Create Date : 14 ตุลาคม 2548
Last Update : 14 ตุลาคม 2548 18:15:26 น. 16 comments
Counter : 1529 Pageviews.

 
นู๋ฮัลโหล เอาคร่าวๆ นะ

สติปัฎฐานสี่
คือการกำหนดจิตให้เกาะอยู่กับฐานทั้งสี่ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ให้มีที่จับ ไม่ซัดซ่ายไปกับความคิดฟุ้งซ่านปรุงแต่ง ซึ่งเกิดจากกิเลส โลภ โกรธ หลง

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใช้อาการของกายเป็นที่จับ จะด้วยลมก็ดี การเคลื่อนไหวก็ดี

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใช้อาการของกายเป็นที่จับ จะด้วยเวทนาจากร่างกายที่บังคับไม่ได้ เช่น ปวดหนัก ปวดเบา บาดเจ็บ ปวด เมื่อย คัน ฯลฯ โดยให้จิตไปเกาะกับอาการนั้น หรือแม้แต่เวทนาที่เกิดจากจิตเองไม่เกี่ยวกับกาย เช่น โกรธ เศร้า ปวดร้าว ก็กำหนดดูเวทนานั้น อย่าปรุงแต่งต่อ มีสติรู้ตัวก็ดูความคิดนั้น

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใช้ฐานจิตให้เห็นความคิด ถ้ากำหนดเป็นจะเห็นคิด ความคิดจะหยุดก็กลับไปเกาะที่ฐานกายต่อ แต่บ่อยครั้ง ที่เป็นความคิดที่ไม่ได้เกิดจากกิเลส โลภ โกรธ หลง อย่างเดียว จะมีตัวปัญญา หรือตัวรู้เข้ามาพิจารณาถึงสิ่งที่รู้สึกนึกคิดอยู่ หากเป็นการพิจารณาที่ถูกทาง ความเข้าใจจะแตกเป็นเปราะเข้าถึงความเข้าใจที่ลึกขึ้นเรื่อยๆ

ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นอกจากคิดงานคิดการ การครุ่นคำนึงถึงสัจจะต่างๆ ก็จะทำให้แตกฉานขึ้น ฐานธรรมนี่คล้ายฐานจิต เพียงแต่เป็นความคิดที่คิดเรื่องสัจจะทั้งทางโลกและธรรม บางคนคิดจนลืมตัวลืมตนไป ปัญญานำสู่สภาวะพละห้าแก่กล้า จนดับด้วยคิดของตัวเองก็มี หรือความคิดที่ฟังของคนอื่นอยู่ก็มี คล้ายๆ ฐานจิตนะ แต่ลึกซึ้งในเรื่องความเข้าใจความจริง


การตีความสติปัฎฐานสี่
ในหมวดของกายคือฐาน กายกับเวทนา ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าใดนัก เพราะการกระทำจากกายซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวจากกายบ้าง ลมหายใจบ้าง หรือเวทนาที่เกิดขึ้นจากกาย เช่น ปวดหนัก ปวดเบา หรือ เมื่อย คัน ปวด เจ็บ ซึ่งทำงานร่วมกับเวทนาทางจิต ไม่ยากเกินความเข้าใจ
แต่ในหมวดจิตคือฐาน จิตกับธรรม ใช้อะไรล่ะเป็นตัวเกาะ?? บ่อยครั้งที่ถูกตีความจากหลายสำนักให้หยุดคิดแล้วกลับไปอยู่ที่กายกับเวทนา แต่ผู้เขียนคิดว่ามันน่าจะมีความหมายกว้างกว่านั้น คนชอบคิด บ่อยครั้งที่คิดงาน คิดอะไรเล่นๆ คิดถึงสิ่งที่สงสัย ทำให้รู้จักความคิด เห็นธรรมชาติที่บังคับได้ยาก ปรวนแปรและล่อหลอก จนกว่าจะเกิดสมาธิระดับนึง จะเห็นความคิดหนึ่งถูกดับลงไปเพราะอีกความคิดหนึ่ง หรือไม่..มันก็ดับของมันเอง เราใช้ความคิดให้จิตเกาะได้หรือเปล่า?? เกาะที่จะไม่ฟุ้งซ่าน และสงบไปด้วยการพิจารณานั้นๆ ไม่ต่างจากการเกาะอาการการเคลื่อนไหวหรือเวทนา และเวลามันไม่อยากคิดขึ้นมา จิตก็กับไปอยู่กับกายและลมหายใจเอง ไม่ต้องบังคับอะไรทั้งนั้น ซึ่งเหมาะกับจริตของคนอีกประเภทหนึ่ง


โดย: suparatta วันที่: 14 ตุลาคม 2548 เวลา:17:35:29 น.  

 
สวัสดีค่ะ คุณสุภาฯ



โดย: รักดี วันที่: 14 ตุลาคม 2548 เวลา:18:24:30 น.  

 
ขึ้นเรื่องอย่างที่รักดีชอบเลยนะ แล้วก็มาตอบคุณฮัลโหลๆ ด้วย


โดย: suparatta วันที่: 14 ตุลาคม 2548 เวลา:18:34:43 น.  

 
สาธุค่ะ
ตั้งจิตไว้ถูก ไม่ง่ายเลยคะ


โดย: กิ่งไม้ไทย วันที่: 14 ตุลาคม 2548 เวลา:19:01:14 น.  

 
ไปดูหนังแล้วค่ะ

วันนี้มีเรื่อง good boy มีหมาด้วยค่ะ คุณสุภาฯ

ที่ เพราะบรรลุธรรมยากค่ะ

หลับฝันดีนะคะ


โดย: รักดี วันที่: 14 ตุลาคม 2548 เวลา:20:26:07 น.  

 
อยู่ที่ใจจริงๆครับ


โดย: พ่อน้องโจ วันที่: 15 ตุลาคม 2548 เวลา:16:24:36 น.  

 
จิตเป็นอนัตตาครับ บังคับบัญชาไม่ได้จริงๆ


โดย: ตาตี๋ IP: 203.209.121.3 วันที่: 15 ตุลาคม 2548 เวลา:17:00:30 น.  

 
"แม้นักฆ่าบางคนจะมีสมาธิสูง แต่สมาธิที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนศีล จะหวั่นไหวและแปรปรวนตามจิตที่ชั่วร้ายได้ง่าย ดังคำสอนที่ว่า ละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ "

สาธุ ๆ ๆ ....



โดย: ป่ามืด วันที่: 19 ตุลาคม 2548 เวลา:16:52:46 น.  

 


โดย: กาน IP: 58.147.71.248 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2549 เวลา:18:04:43 น.  

 


โดย: กาน IP: 58.147.71.248 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2549 เวลา:18:05:09 น.  

 


โดย: กาน IP: 58.147.71.248 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2549 เวลา:18:06:18 น.  

 
ทำอย่างไรจะไม่ให้เบื่อในการปฏิบัติธรรมได้บ้างค่ะ ตอนนี้หมดศรัทธาขึ้นมาเฉยๆหรือว่าเป็นเพราะตัวเราเองย่อหย่อนในทางปฎิบัติ หรือว่ามัวเมาหลงไปกับโลกธรรมจนปล่อยใจไปกับกิเลส เห็นอะไรก็เบื่อไปหมด เห็นมุมมองในทุกๆมุม ว่าคนเราเนี้ยหลงอยู่ในกิเลสจนขุดไม่ขึ้นแล้ว รวมทั้งตัวเองดัวยค่ะ จะให้ใจมันฝืน ทำยากซะเหลือเกิน ยิ่งเห็นโลกเราทุกวันนี้จิตใจก็เป็นทุกข์ว่าใกล้ถึงอวสานโลกเข้ามาทุกที มีแต่ความทุกข์ทน พอหันจะมาปฏิบัติใจก็ไม่ยอมทำ จะให้ใจอยู่กับปัจจุบันทำยากยิ่งกว่าสิ่งใด พอโกรธใครใจก็เหมือนถูกไฟเผาทั้งเป็นกว่าจะคลายมันยากเหลือกัน
ทำอย่างไรให้ใจมีความเพียรดีละค่ะ เหมือนเห็น รู้ แต่ไม่ยอมปฏิบัติเลย


โดย: mai IP: 124.157.152.231 วันที่: 29 เมษายน 2550 เวลา:23:00:33 น.  

 
ถ้าคุณ mai พอโกรธใครก็ใจก็เหมือนถูกไฟเผาทั้งเป็น
คุณต้องพยายามกำหนดนำความโกรธนั้นมากำหนดว่า
โกรธหนอ โกรธหนอ ทุกลมหายใจเข้าออกโกรธใครก็นึกถึงหน้าเขาคนนั้นไปเพราะการกำหนดนี้เป็นการกำหนดสติ จะทำให้ความโกรธนั้ไม่เข้าไปถึงจิตใจมันจะได้ไม่ไปเก็บอยู่ในดวงจิต คุณจะได้ไม่ต้องเพิ่มเจ้ากรรมหรือนายเวรในอนาคตเพิ่ม ถ้าไม่เข้าใจก็ต้องศึกษาธรรมของ หลวงพ่อ จรัญ วัดอัมพวัน ท่านจะสอนสติปัฎฐานสี่ ลองหาในเนตก็ได้มีเวปของท่านที่บรรดาลูกสิทได้ทำไว้
หรือหากท่านอยากมีแรงบันดารใจในการปฏิบัติธรรม ท่านต้องเข้าไปฟังธรรมบรรยายของ ดร. สนอง วรอุไร ที่เวป//www.kanlayanatam.com/ แล้วท่านจะรุ้ว่าทำไมต้องรีบปฏิบัติธรรม


โดย: อภิญญา IP: 124.120.34.82 วันที่: 6 สิงหาคม 2550 เวลา:13:04:53 น.  

 
คำถามของคุณศุภร้ตตา ที่ว่าจะเอาจิตไปเกาะกับความคิดได้ไหม ก็น่าคิดนะ และของคุณไหม เรื่องเบื่อการปฏิบัติธรรม ลองอ่านหนังสือใบไม้กำมือเดียว หรือรู้เท่านี้ก็พอแล้ว ของอ.ศุภวรรณพิพัฒพรรณวงศ์กรีน มาอ่านนะคะ จะทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติธรรม เพราะรู้เป้าหมายชีวิตที่แท้จริง และหากมีคำถามใดๆ อาจารย์อธิบายกระจ่างมาก เข้าไปในเว็บwww.supawangreen.in.thนะคะ ขอให้มีความเจริญในธรรมค่ะ อ้อ.อาจารย์จะไปเปิดการอบรมที่ก.ท เดือนก.ย นะคะ(ปกติ อาจารย์อยู่อังกฤษ)รายละเอียดดูในเว็บได้ค่ะ ที่ด่วน หากมีเพื่อนอยู่ที่อเมริกา(พ.ค๕๑นี้) หรือเยอรมัน(ส.ค.)กรุณาบอกต่อๆกันไปด้วยค่ะ


โดย: แก้ว IP: 87.179.70.24 วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:2:37:02 น.  

 
ขอโทษค่ะ เพิ่งเข้าบล็อดครั้งแรก เลยเทียบชื่อคุณสุภารัตถะ จากภาษาอังกฤษผิด


โดย: แก้ว IP: 87.179.70.24 วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:3:09:14 น.  

 
ขออนุโมทนาครับ


โดย: nataraja วันที่: 21 กันยายน 2551 เวลา:0:38:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

suparatta
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




..วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร..
..ท่านนาคารชุนะ..
วิภาษวิธี..เกริ่นนำ..ตอนจบ..

๐ สมุดเยี่ยมและบ่นได้..
**ทางลัด**
๐ สารบัญทักทาย(ทั้งหมด)
๐ ชวนคุย&ฟังเพลงปี48(ทั้งหมด)
๐ นอนดูจันทร์..(ส่วนตัว)

**log in หน่อยน่า..



Google.co.th
Friends' blogs
[Add suparatta's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.