Welcome to my blog.

ระบบสุริยะ



ระบบสุริยะที่โลกของเราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 9 ดวง ที่เราเรียกกันว่า ดาวนพเคราะห์ ( นพ แปลว่า เก้า) เรียงตามลำดับ จากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต และยังมีดวงจันทร์บริวารของ ดวงเคราะห์แต่ละดวง (satellites) ยกเว้นเพียง สองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร นอกจากนี้ยังมี ดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร ภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูด จากดวงอาทิตย์ ขนาดของระบบสุริยะ กว้างใหญ่ไพศาลมาก เมื่อเทียบระยะทาง ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 149 ล้านกิโลเมตร หรือ 1 หน่วยดาราศาสตร์ (astronomy unit - au) กล่าวคือ ระบบสุริยะมีระยะทางไกลไปจนถึงวงโคจร ของดาวพลูโตดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในระบบสุริยะ ซึ่งอยู่ไกลเป็นระยะทาง 40 เท่าของ 1 หน่วยดาราศาสตร์ และยังไกลห่างออก ไปอีกจนถึงดงดาวหางอ๊อต (Oort's Cloud) ซึ่งอาจอยู่ไกลถึง 500,000 เท่า ของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ด้วย

ดวงอาทิตย์มีมวลมากกว่าร้อยละ 99 ของมวลทั้งหมดในระบบสุริยะ ที่เหลือนอกนั้นจะเป็นมวลของ เทหวัตถุต่างๆ ซึ่ง ประกอบด้วยดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต รวมไปถึงฝุ่นและก๊าซ ที่ล่องลอยระหว่าง ดาวเคราะห์ แต่ละดวง โดยมีแรงดึงดูด (Gravity) เป็นแรงควบคุมระบบสุริยะ ให้เทหวัตถุบนฟ้าทั้งหมด เคลื่อนที่เป็นไปตามกฏแรง แรงโน้มถ่วงของนิวตัน ดวงอาทิตย์แพร่พลังงาน ออกมา ด้วยอัตราประมาณ 90,000,000,000,000,000,000,000,000 แคลอรีต่อวินาที เป็นพลังงานที่เกิดจากปฏิกริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ โดยการเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม ซึ่งเป็นแหล่งความร้อนให้กับดาว ดาวเคราะห์ต่างๆ ถึงแม้ว่าดวงอาทิตย์จะเสียไฮโดรเจนไปถึง 4,000,000 ตันต่อวินาทีก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังมีความเชื่อว่าดวงอาทิตย์ จะยังคงแพร่พลังงานออกมาในอัตราที่เท่ากันนี้ได้อีกนานหลายพันล้านปี

ชื่อของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวงยกเว้นโลก ถูกตั้งชื่อตามเทพของชาวกรีก เพราะเชื่อว่าเทพเหล่านั้นอยู่บนสรวงสวรค์ และเคารพบูชาแต่โบราณกาล ในสมัยโบราณจะรู้จักดาวเคราะห์เพียง 5 ดวงเท่านั้น(ไม่นับโลกของเรา) เพราะสามารถเห็นได้ ด้วยตาเปล่าคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ประกอบกับดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ รวมเป็น 7 ทำให้เกิดวันทั้ง 7 ในสัปดาห์นั่นเอง และดาวทั้ง 7 นี้จึงมีอิทธิกับดวงชะตาชีวิตของคนเรา ตามความเชื่อถือทางโหราศาสตร์ ส่วนดาวเคราะห์อีก 3 ดวงคือ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ถูกคนพบภายหลัง แต่นักดาราศาสตร์ก็ตั้งชื่อตามเทพของกรีก เพื่อให้สอดคล้องกันนั่นเอง

ทฤษฎีการกำเนิดของระบบสุริยะ

หลักฐานที่สำคัญของการกำเนิดของระบบสุริยะก็คือ การเรียงตัว และการเคลื่อนที่อย่างเป็นระบบระเบียบของดาวเคราะห์ ดวงจันทร์บริวาร ของดาวเคราะห์ และดาวเคราะห์น้อย ที่แสดงให้เห็นว่าเทหวัตถุทั้งมวลบนฟ้า นั้นเป็นของระบบสุริยะ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยที่เทหวัตถุท้องฟ้า หลายพันดวง จะมีระบบโดยบังเอิญโดยมิได้มีจุดกำเนิด ร่วมกัน

Piere Simon Laplace ได้เสนอทฤษฎีจุดกำเนิดของระบบสุริยะไว้เมื่อปี ค.ศ.1796 กล่าวว่า ในระบบสุริยะจะมีมวลของก๊าซรูปร่างเป็นจานแบนๆ ขนาดมหึมาที่เรียกว่า protoplanetary disks หมุนรอบ ตัวเองอยู่ ในขณะที่หมุนรอบตัวเองนั้นจะเกิดการหดตัวลง เพราะแรงดึงดูดของมวลก๊าซ ซึ่งจะทำให้ อัตราการหมุนรอบตัวเองนั้นมีความเร็วสูงขึ้น เพื่อรักษาโมเมนตัมเชิงมุม (Angular Momentum) ในที่สุด เมื่อความเร็ว มีอัตราสูงขึ้น จนกระทั่งแรงหนีศูนย์กลางที่ขอบของกลุ่มก๊าซมีมากกว่าแรงดึงดูด ก็จะทำให้เกิดมีวงแหวน ของกลุ่มก๊าซแยกตัวออกไปจากศุนย์กลางของกลุ่มก๊าซเดิม และเมื่อเกิดการหดตัวอีกก็จะมีวงแหวนของกลุ่มก๊าซเพิ่มขึ้นๆต่อไปเรื่อยๆ วงแหวนที่แยกตัวไปจากศูนย์กลางของวงแหวนแต่ละวงจะมีความกว้างไม่เท่ากัน ตรงบริเวณที่มีความหนาแน่นมากที่สุดของวง จะคอยดึงวัตถุทั้งหมดในวงแหวน มารวมกันแล้วกลั่นตัว เป็นดาวเคราะห์ ส่วนดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ จะเกิดขึ้นจากการหดตัวของดาวเคราะห์ สำหรับดาวหาง และสะเก็ดดาวนั้น เกิดขึ้นจากเศษหลงเหลือระหว่าง การเกิดของดาวเคราะห์ดวงต่างๆ ดังนั้น ดวงอาทิตย์ในปัจจุบันก็คือ มวลก๊าซดั้งเดิมที่ทำให้เกิดระบบสุริยะขึ้นมานั่นเอง

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายทฤษฎีที่มีความเชื่อในการเกิดระบบสุริยะ แต่ในที่สุดก็มีความเห็นคล้ายๆ กับแนวทฤษฎีของ Laplace ตัวอย่างเช่น ทฤษฎีของ Coral Von Weizsacker นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ซึ่งกล่าวว่า มีวงกลมของกลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองหรือเนบิวลา ต้นกำเนิดดวงอาทิตย์ (Solar Nebular) ห้อมล้อมอยู่รอบดวงอาทิตย์ ขณะที่ดวงอาทิตย์เกิดใหม่ๆ และ ละอองสสารในกลุ่มก๊าซ เกิดการกระแทกซึ่งกันและกัน แล้วกลายเป็นกลุ่มก้อนสสารขนาดใหญ่ จนกลายเป็น เทหวัตถุแข็ง เกิดขั้นในวงโคจรของดวงอาทิตย์ ซึ่งเราเรียกว่า ดาวเคราะห์ และดวงจันทร์ของ ดาวเคราะห์นั่นเอง

ระบบสุริยะของเรามีขนาดใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับโลกที่เราอาศัยอยู่ แต่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับกาแล็กซีของเราหรือกาแล็กซีทางช้างเผือก ระบบสุริยะตั้งอยู่ในบริเวณ วงแขนของกาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky Way) ที่ชื่อแขนโอไลออน ซึ่งเปรียบเสมือนวงล้อยักษ์ที่หมุนอยู่ในอวกาศ โดยระบบสุริยะจะอยู่ห่างจาก จุดศูนย์กลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 30,000 ปีแสง ระนาบของระบบสุริยะเอียงทำมุมกับระนาบของกาแลกซี่ประมาณ 60 องศา ดวงอาทิตย์ จะใช้เวลาประมาณ 225 ล้านปี ในการเคลื่อนครบรอบจุดศูนย์กลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกครบ 1 รอบ นักดาราศาสตร์จึงมีความเห็นร่วมกันว่า เทหวัตถุทั้งมวลในระบบสุริยะ ไม่ว่าจะเป็นดาวเคราะห์ทุกดวง ดวงจันทร์ของ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต เกิดขึ้นมาพร้อมๆกัน มีอายุเท่ากันตามทฤษฎีจุดกำเนิดของระบบสุริยะ และจากการนำ เอาหินจากดวงจันทร์มาวิเคราะห์การสลายตัวของสารกัมมันตภาพรังสี ทำให้ทราบว่าดวงจันทร์มี อายุประมาณ 4,600 ล้านปี ในขณะเดียวกันนักธรณีวิทยาก็ได้คำนวณ หาอายุของหินบนผิวโลก จากการสลายตัวของอะตอมธาตุยูเรเนียม และสารไอโซโทปของธาตุตะกั่ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า โลก ดวงจันทร์ อุกกาบาต มีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี และอายุของ ระบบสุริยะนับตั้งแต่เริ่มเกิดจากฝุ่นละอองก๊าซในอวกาศจึงมีอายุไม่เกิน 5,000 ล้านปี ในบรรดาสมาชิกของระบบสุริยะซึ่งประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์ ของดาวเคราะห์ดาวหาง อุกกาบาต สะเก็ดดาว รวมทั้งฝุ่นละองก๊าซ อีกมากมาย นั้นดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ 9 ดวง จะได้รับความสนใจมากที่สุดจากนักดาราศาสตร์

อ้างอิงจาก :

วิภู รุโจปการ. "เอกภพ เพื่อความเข้าใจในธรรมชาติของจักรวาล".

Skywatcher. "ระบบสุริยะ". แหล่งที่มา //www.darasart.com

Astronomy Picture of the Day Archive. //antwrp.gsfc.nasa.gov/apod/archivepix.html




 

Create Date : 18 มิถุนายน 2551   
Last Update : 18 มิถุนายน 2551 22:06:33 น.   
Counter : 2375 Pageviews.  

โลกของเรา



โลกของเรา (The Earth) เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ (The Solar System) ซึ่งประกอบด้วยดาวเคราะห์หลักเก้าดวงและมีดวงอาทิตย์อยู่เป็นศูนย์กลาง ดวงอาทิตย์เป็นหนึ่งในดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในจำนวนกว่า 2 แสนล้านดวงในกาแลคซี่ทางช้างเผือก กาแลคซี่ทางช้างเผือกก็เป็นกาแลคซี่ดวงหนึ่งในจำนวนกว่าสามสิบดวงในกระจุกกาแลคซี่ประจำถิ่น (The Local Group) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระจุกกาแลคซี่ยิ่งยวดเวอร์โก (The Virgo Supercluster) และกระจุกกาแลคซี่เวอร์โกรวมทั้งกระจุกกาแลคซี่อื่นๆ อีกมากมายจึงประกอบเป็นโครงสร้างโดยรวมของจักรวาล

ดาวเคราะห์สีน้ำเงินดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 3 และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 5 ในจำนวนดาวเคราะห์ทั้งหมดของระบบสุริยะ ซึ่งดาวเคราะห์ดวงนี้มีความหนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ โครงสร้างภายในของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ มีความคล้ายคลึงกัน แต่ก็มีส่วนอื่นที่แตกต่างกันด้วย เช่น ดวงจันทร์จะมีแกนกลางที่เล็ก ดาวพุธมีแกนกลางภายในที่ใหญ่มาก (สัมพันธ์กับเส้นผ่านศูนย์กลาง) ชั้นแมนเทิลของดาวอังคารและดวงจันทร์มีความหนามาก โลกอาจจะเป็นวัตถุชนิดเดียวที่มีแกนกลาง 2 ชั้น อย่างไรก็ตาม ความรู้เกี่ยวกับดาวเคราะห์ดวงอื่นยังเป็นแค่ทฤษฎี ซึ่งรอวันพิสูจน์ในอนาคต อาจจะมีสิ่งที่เหมือนหรือไม่เหมือนกับโลกทั้งหมดก็ได้

พื้นผิวของโลกมีอายุน้อยมาก (ค่ามาตรฐานดาราศาสตร์) ประมาณ 500,000,000 ปี หรืออาจจะมีการเปลี่ยนแปลงจากการกัดเซาะ และถูกกระทำโดยกระบวนการทางธรณีวิทยาแล้วเกิดพื้นผิวใหม่ๆ ขึ้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกมีอายุประมาณ 4.5 ถึง 4.6 พันล้านปี แต่หินที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบมีอายุประมาณ 4 พันล้านปีในขณะที่หินอายุประมาณ 3 พันล้านปียังหาได้ยาก ฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดที่ถูกค้นพบมีอายุน้อยกว่า 3.9 พันล้านปี และสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไรก็ไม่มีบันทึกไว้ หรือปรากฏร่องรอยให้เห็น

พื้นที่ของโลกส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยน้ำกว่า 71% ซึ่งน้ำจำนวนนี้มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตพื้นภาคพื้นทวีป คือ ความร้อนที่ถูกกักเก็บไว้ในมหาสมุทรทำให้โลกมีอุณหภูมิที่คงที่ และน้ำการกัดเซาะของน้ำกำหนดสภาพอากาศของพื้นทวีป

อ้างอิงจาก :
วิภู รุโจปการ. "เอกภพ เพื่อความเข้าใจในธรรมชาติของจักรวาล".

TS Sky Club. "โลก (The Earth)". //www.tsshoponline.com/tsskyclub/index.html

Astronomy Picture of the Day Archive. //antwrp.gsfc.nasa.gov/apod/archivepix.html




 

Create Date : 18 มิถุนายน 2551   
Last Update : 18 มิถุนายน 2551 21:54:54 น.   
Counter : 1105 Pageviews.  

ทฤษฎีบิ๊กแบง

ทฤษฎีบิ๊กแบง (Big Bang Theory)

เป็นทฤษฎีที่ให้คำตอบได้ชัดเจนและถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการกำเนิดของจักรวาล นักวิทยาศาสตร์พบว่า จักรวาลของเราขณะนี้กำลังขยายตัวออกไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด สร้างความประหลาดใจว่าแรงอะไรที่ทำให้ดวงดาวและดาราจักรต่างๆ เคลื่อนที่ขยายหนีออกจากกัน ทฤษฎีนี้ให้คำตอบว่า จักรวาลเราเกิดจากความไม่มีอะไรเลย กำเนิดจากการระเบิดใน"จุดเดียว" และ "ปริมาตรที่เป็นศูนย์"

โดยเมื่อประมาณ 14,000 ล้านปีก่อนหน้านี้ไม่มีจักรวาล ไม่มีแม้แต่ความว่าง ไม่มีเวลา มีเพียงจุดพลังงานที่อัดรวมกันแน่นและมีความกดดันมหาศาลจนขาดความเสถียรแล้วเกิดระเบิดขึ้นครั้งใหญ่ จากการระเบิดในครั้งนั้นทำให้พลังงานส่วนหนึ่งเปลี่ยนเป็นเนื้อสาร และถูกอัดให้กระจัดกระจายออกจากกัน มีวิวัฒนาการกลายเป็นดาราจักร (Galaxies) ระบบสุริยะ (Solar System) โลก ดวงจันทร์ มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในทางกลับกัน เนื้อสาร วัตถุต่างๆ ที่เราเห็นทุกวันนี้ก็สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นพลังงานได้เช่นกัน

ทฤษฎีบิ๊กแบงได้รับการพิสูจน์จากปริมาณรังสีความร้อนที่หลงเหลือจากการระเบิดครั้งใหญ่ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่า ปัจจุบันมีปริมาณรังสีความร้อนนี้อยู่เต็มไปทั่วจักรวาล ทฤษฎีนี้สามารถพิสูจน์ที่มาของธาตุๆ ในจักรวาลได้อย่างถูกต้อง ซึ่งยังไม่มีทฤษฎีไหนที่สามารถมาหักล้างได้

ที่มา : ทพ.สม สุจีรา "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น".




 

Create Date : 19 พฤษภาคม 2551   
Last Update : 20 มิถุนายน 2551 19:38:11 น.   
Counter : 686 Pageviews.  


ลมร้อน
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ลมร้อน's blog to your web]