เกิดมาทั้งทีต้องมีรสชาติ
Group Blog
 
All Blogs
 

ย้อนรอยสายราชสกุล... ในพระบรมราชจักรีวงศ์ (๑)

ย้อนรอยสายราชสกุล... ในพระบรมราชจักรีวงศ์ (๑)

ในวันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สมาชิกราชสกุลทุกมหาสาขา และราชนิกุล ในพระบรมราชจักรีวงศ์ร่วมเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญพระกุศลถวายพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ซึ่งไม่บ่อยนักที่จะมีพระญาติจาก 131 ราชสกุลแห่งราชวงศ์จักรีมารวมกัน ครั้งนี้ถือเป็นการแสดงถึงความผูกพันใกล้ชิดของราชสกุลวงศ์ ผู้สืบเชื้อสายจากพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี


* ปฐมบทของราชสกุลในพระบรมราชจักรีวงศ์

กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องราวประวัติศาสตร์และราชวงศ์ไทย ซึ่งมีผลงานด้านหนังสือออกมาเป็นจำนวนมาก และกิตติพงษ์ ได้เคยรวบรวมการสืบเชื้อสายราชสกุลวงศ์แห่งราชวงศ์จักรี ออกมาเป็นหนังสือ 2 เล่มคือ “ย้อนรอยราชสกุลวงศ์-วังหลวง” และ “ย้อนรอยราชสกุลวงศ์-วังหน้า,วังหลัง” ซึ่งเขาได้สืบย้อนลำดับการสืบเชื้อสายราชสกุลวงศ์ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับได้ 131 ราชสกุล

กิตติพงษ์ กล่าวว่าแต่เดิมนั้นคนไทยมีแต่ชื่อตัว ยังไม่มีนามสกุลใช้ หากเป็นชาวบ้านทั่วไปก็มักจะใช้ชื่อที่เป็นพยางค์เดียวสั้นๆ หรือใครที่เป็นขุนนางก็จะมีบรรดาศักดิ์ยืดยาว และต้องใส่ชื่อตัวไว้ในวงเล็บท้ายนามบรรดาศักดิ์นั้น เพื่อให้รู้ว่าเป็นใคร ส่วนบรรดาสร้อยพระนามพระราชวงศ์ ก็ล้วนแต่มีสร้อยพระนามสั้นยาวต่างกันไป ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่มีนามสกุลใช้เช่นกัน

ซึ่งถ้าเป็นเจ้านายชั้นหม่อมเจ้าที่มีพระบิดาทรงพระยศเป็นถึงชั้นเจ้าฟ้า ชั้นพระองค์เจ้า หรือเป็นเจ้านายที่ทรงกรม ก็จะใช้การเอ่ยพระนามว่าหม่อมเจ้า....ในสมเด็จเจ้าฟ้า,หม่อมเจ้า...ในพระองค์เจ้า หรือ หม่อมเจ้า...ในกรม เพื่อให้รู้ว่าทรงเป็นธิดา หรือโอรสของเจ้านายพระองค์ใดเท่านั้น

จนเมื่อ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.๖) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตรา พ.ร.บ. ขนานนามสกุลขึ้นเป็นครั้งแรกของสยาม เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2461 นับจากนั้นคนไทยทุกคนจึงมีนามสกุลใช้กันทั่วไป เฉพาะล้นเกล้าฯ ร.๖ ทรงพระราชทานนามสกุลแก่ผู้มาร้องขอทั้งสิ้นประมาณ 6,500 นามสกุล

ภายหลังทรงตรา พ.ร.บ. นามสกุลขึ้นแล้ว ไม่เพียงแต่ชาวบ้านเท่านั้น ที่เริ่มมีนามสกุลของตัวเอง สำหรับราชสกุลวงศ์ในพระราชวงศ์จักรีก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำว่า “ณ กรุงเทพ” ให้ทุกราชสกุลใช้ต่อท้ายนามราชสกุลของเหล่าเชื้อพระวงศ์ที่เป็นชั้นลูกหลานหม่อมหลวงสืบต่อลงมา ถือเป็นการพระราชทานนามสกุลให้บรรดาสายราชสกุลต่างๆ ย้อนหลังจนถึงรัชกาลของพระองค์

ต่อมาวันที่ 6 เม.ย.2468 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้คำว่า “ณ อยุธยา” แทน “ณ กรุงเทพ” ด้วยเหตุผลว่า องค์ปฐมพระบรมราชจักรีวงศ์นี้ คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงสืบเชื้อสายมาจากสกุลใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จึงใช้ “ณ อยุธยา” สืบทอดกันมาตามพระราชบัญญัตินับแต่นั้นเรื่อยมา

สิริรวมราชสกุลในพระบรมราชจักรีวงศ์ตั้งแต่ ร.๑ - รัชกาลปัจจุบัน ทั้งสายวังหลวง วังหน้า และวังหลัง มีทั้งสิ้น 131 ราชสกุล โดยตามพระราชบัญญัติของ ร.๖...

* พระปฐมบรมราชจักรีวงศ์

กิตติพงษ์ศึกษาย้อนหลังราชวงศ์จักรี โดยต้นราชวงศ์รัชกาลที่ 1 ทรงสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยามหาโกษาบดี(ปาน) อดีตเสนาบดีว่าการกระทรวงต่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผู้เป็นบุตรชายของเจ้าแม่วัดดุสิต (พระนมเอกผู้อภิบาลสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ ที่ต่อมาเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้าแม่วัดดุสิตขึ้นเป็นพระองค์เจ้า ด้วยทรงเคารพเสมือนหนึ่งพระราชมารดา)

โดย สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ (ทองดี) ทรงมีพระโอรสธิดาทั้งสิ้น 7 พระองค์ (พระโอรส 4 พระธิดา 3) ซึ่งนับเป็นชั้นที่ 1 ในพระปฐมวงศ์ หลังจากที่ ร.1 ทรงปราบดาภิเษก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระชนก ทรงเฉลิมพระยศเป็น “สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ” พร้อมทั้งทรงสถาปนาพี่น้องทั้ง 7 พระองค์ขึ้นเป็นพระราชวงศ์ด้วย ดังรายนามต่อไปนี้

1. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระเทพสุดาวดี (สา)
2. สมเด็จพระเจ้ารามณรงค์ (ไม่ปรากฏพระนามเดิม)
3. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว)
4. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
5. สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (บุญมา)
6. ทรงหลวงนรินทรเทวี(พระองค์เจ้าหญิงกุ)
7. สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา(ลา)

กิตติพงษ์ ขยายความว่า สำหรับเจ้านาย 5 พระองค์แรก ประสูติจากอัครมเหสี (หยก ) ส่วนอีก 2 พระองค์ประสูติจากพระน้องนางของพระอัครมเหสี (หยก) ซึ่งต่อมาพระปฐมวงศ์ในชั้นที่ 1 นี้ มีสายราชสกุลสืบต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ทั้งหมด 6 สายสกุล

นรินทรกุล องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงนรินทรเทวี(พระองค์เจ้าหญิงกุ) พระเจ้าน้องนางเธอใน ร.1
เจษฎางกูร องค์ต้นราชสกุล คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา
นรินทรางกูร องค์ต้นราชสกุล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทรรณเรศ พระนามเดิม(ทองจีน) ทรงเป็นโอรสองค์ที่ 3 ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี(พระพี่นางองค์ใหญ่ ร.1)
เทพหัสดิน ณ อยุธยา องค์ต้นราชสกุล คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ มีพระนามเดิม “ตัน” ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 1 ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์(พระพี่นางองค์น้อยในร.1) กับเจ้าขรัวเงิน
มนตรีกุล องค์ต้นราชสกุล คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี มีพระนามเดิม “จุ้ย” ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 5 ในสมเด็จฯ เจ้าฟ้าศรีสุดารักษ์กับเจ้าขรัวเงิน
อิศรางกูร องค์ต้นราชสกุล คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ มีพระนามเดิม “เกศ” ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 6 ในสมเด็จฯ เจ้าฟ้าศรีสุดารักษ์กับเจ้าขรัวเงิน

* สายราชสกุลวงศ์ในรัชกาลที่1

สำหรับรัชกาลที่ 1 ซึ่งมีพระนามเดิมว่า “ทองด้วง” หลังจากขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2325 ทรงมีพระราชโอรส 17 พระองค์ พระราชธิดา 25 พระองค์ รวมทั้งสิ้น 42 พระองค์ และทรงมีพระราชทายาทสืบราชสกุลรวมทั้งสิ้น 8 ราชสกุล ดังนี้

อินทรางกูร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอินทรพิพิธมีพระนามเดิมว่า “ พระองค์เจ้าทับทิม” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 12 ในเจ้าจอมมารดาจันทา

ทัพพะกุล องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นจิตรภักดี มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าทับ” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 18 ในเจ้าจอมมารดาน้อย

สุริยกุล องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าสุริยา” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 22 และที่ 1ในเจ้าจอมมารดาเพ็งใหญ่

ฉัตรกุล องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าฉัตร” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 29 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาตานี

พึ่งบุญ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมรักษ์รณเรศ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าไกรสร” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 33 ในเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว

ดารากร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศรีสุเทพ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าดารากร” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 34 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาเพ็งใหญ่

ดวงจักร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าดวงจักร” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 35 ในเจ้าจอมมารดาปาน

สุทัศน์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไกรสรวิชิต มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าสุทัศน์” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 40 ในเจ้าจอมมารดากลิ่น

* ราชสกุลวงศ์ สายวังหน้า-วังหลัง ในร.1

ไม่เพียงแต่ราชสกุลผู้สืบเชื้อสายจากวังหลวงเท่านั้น เมื่อเข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ทันทีที่รัชกาลที่ 1 ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ยังปรากฏว่าทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังหลวงกับวังหน้าขึ้นพร้อมๆ กัน เสมือนเป็นวังพี่วังน้อง ตามราชประเพณีที่สืบต่อกันมา และโปรดฯ ให้สถาปนา สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช หรือ พระยาเสือ ซึ่งมีพระนามเดิมว่า “บุญมา” ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ทรงเฉลิมพระยศให้เป็น “สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ดำรงตำแหน่งพระประมุขแห่งวังหน้า เช่นเดียวกับที่เคยมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงมีพระราชโอรส 18 พระราชธิดา 25 รวมทั้งสิ้น 43 พระองค์และทรงมีพระราชทายาทสืบสายสกุลรวม 4 ราชสกุลโดยเรียงลำดับพระชันษา ดังนี้

อสุนี องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเสนีเทพ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าชายอสุนี” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 8 และเป็นโอรสเพียงหนึ่งเดียวในเจ้าจอมมารดาขำ

สังขทัต องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนนรานุชิต มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าชายสังกะทัต” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 21 และที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาฉิม

ปัทมสิงห์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายบัว (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 26 ในเจ้าจอมมารดาศรี

นีรสิงห์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายเณร (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 41 ในเจ้าจอมมารดาไผ่

นอกจากนี้ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ กิตติพงษ์ กล่าวต่อว่า ในรัชกาลเดียวกัน ยังปรากฏว่ารัชกาลที่1 ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนา สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ พระโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (พระเจ้าพี่นางเธอพระองค์ใหญ่กับพระอินทรรักษา(เสม) หรือ หม่อมเสม) ซึ่งมีพระนามเดิมว่า “ทองอิน” ให้ทรงดำรงตำแหน่ง “กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข” หรือ “กรมพระราชวังหลัง” เสด็จดำรงพระเกียรติยศในตำแหน่งได้ 21 ปี และทรงเป็นกรมพระราชวังหลังพระองค์สุดท้ายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากในภายหลังมิได้ทรงโปรดฯ แต่งตั้งเจ้านายพระองค์ใดขึ้นมาดำรงตำแหน่งอีกเลย จึงถือได้ว่าเป็นการยกเลิกวังหลังไปโดยปริยาย

สำหรับ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุขพระองค์นี้ ทรงมีพระราชโอรส-พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 35 พระองค์ และทรงมีพระราชทายาทสืบสายสกุล รวม 2 ราชสกุล ดังนี้

ปาลกะวงศ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราเทเวศร์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าชายทองปาน” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 1 ในกรมพระราชวังบวรสถานภิมุขกับพระอัครชายาเจ้าครอกทองอยู่

เสนีวงศ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหลวงเสนีบริรักษ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าชายแตงโม” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 4 ในกรมพระราชวังบวรสถานภิมุขกับพระอัครชายาเจ้าครอกทองอยู่

* สายราชสกุลในรัชกาลที่ 2

รัชกาลที่ 2 ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า “ฉิม” ครั้นเมื่อพระบรมราชชนกเสด็จขึ้นเสวยราชย์ในปี 2325 ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงอิศรสุนทร

ในช่วงปลาย ร.1 ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ต่อมาเมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จสวรรคต จึงได้เสด็จสืบราชสมบัติเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งราชจักรีวงศ์ ทรงสืบทอดราชบัลลังก์รวม 15 ปี พระองค์ทรงมีพระราชโอรส 28 พระองค์ พระราชธิดา 35 พระองค์ ทรงมีพระราชทายาทสืบสกุลรวมทั้งสิ้น 20 สายสกุล ดังรายพระนาม ดังนี้

อาภรณกุล องค์ต้นราชสกุล คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 60 และที่ 1 ในสมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี

มาลากุล องค์ต้นราชสกุล คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ มีพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้าชายกลาง” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 65 และที่ 2 ในสมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี

กล้วยไม้ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสุนทรธิบดี มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ากล้วยไม้” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 8 และที่ 3ในพระเจ้าจอมมารดาสวน

กุสุมา องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเสพสุนทร มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ากุสุมา” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 13 ในพระเจ้าจอมมารดากรุด
เดชาติวงศ์ องค์ต้นราชสกุล คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ามั่ง” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 15 และที่ 2 ในพระเจ้าจอมมารดานิ่ม

พนมวัน องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าพนมวัน” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 17 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาศิลา

กุญชร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ากุญชร” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 22 และที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาศิลา

เรณุนันท์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเรณู (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 26 ในเจ้าจอมมารดาบุนนาค

นิยมิศร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเนียม (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 30 ในเจ้าจอมมารดาเหมใหญ่

ทินกร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าทินกร” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 35 และที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาศิลา

ไพฑูรย์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสนิทนเรนทร มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าไพฑูรย์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 38 และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาทิม

มหากุล องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 41 และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาเลี้ยง

วัชรีวงศ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าชายกลาง” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 44 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาน้อยระนาด

ชุมแสง องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าชุมแสง” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 45 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาทิม

สนิทวงศ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้านวม” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 49 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาปรางใหญ่

มรกฎ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสถิตย์สถาพร มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ามรกฎ” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 51 ในเจ้าจอมมารดาทองดี

นิลรัตน์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้านิลรัตน์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 57 ในเจ้าจอมมารดาพิม

อรุณวงษ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมวรศักดาพิศาล มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าอรุณวงษ์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 58 ในเจ้าจอมมารดาเอม

องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ากปิตถา” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 59 และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาอัมพา

ปราโมช องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 61 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาอัมพา มีพระอนุชาร่วมเจ้าจอม คือ องค์ต้นราชสกุล “ปราโมช”

ส่วนสายราชสกุล ผู้สืบเชื้อสายจาก สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ (วังหน้า) พระนามเดิมว่า “จุ้ย” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 7 ในรัชกาลที่ 1 และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ผู้ทรงเป็นพระอนุชาร่วมพระบรมราชชนนีเดียวกับรัชกาลที่ 2 ซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอุปราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระมหาอุปราช (วังหน้า) เมื่อพระชนมายุ 36 พรรษา

สมเด็จพระบรมราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ฯ เสด็จดำรงพระราชอิศริยยศเป็นพระมหาอุปราชรวม 8 ปี ทรงมีพระราชโอรส 23 พระองค์ พระราชธิดา 17 พระองค์ ทรงมีพระราชทายาทสืบสายสกุลรวม 10 ราชสกุล

บรรยงกะเสนา องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนธิเบศร์บวร มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าประยงค์” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 2 และที่ 1ในเจ้าจอมมารดาน่วม

อิศรเสนา องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าพงศ์อิศเรศ” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 8 และที่ 5ในเจ้าจอมมารดาสำลี

ภุมรินทร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภุมริน (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 11 และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์

พยัคฆเสนา องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสือ(มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 16 และที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาน่วม

รังสิเสนา องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าใย (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 17 และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาศิลา

สหาวุธ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง(มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 27 ในเจ้าจอมมารดาเล็ก

ยุคันธร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าพงศ์ยุคันธร” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 32 และที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก

สีสังข์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสีสังข์ (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 33 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาเอี่ยม

รัชนิกร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนิกร(มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 35 ในเจ้าจอมมารดาน่วม

รองทรง องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ารองทรง” ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 38 ในเจ้าจอมมารดาภู่ (อิเหนา)

* สายราชสกุลในรัชกาลที่ 3

เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต บรรดาเจ้านายและขุนนางชั้นผู้ใหญ่จึงได้อัญเชิญ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิม “ทับ” ผู้ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับเจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุราลัย) เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติในปี พ.ศ. 2367 และทรงดำรงสิริราชสมบัติ27 ปี ก่อนเสด็จสวรรคต ทรงมีพระราชโอรส 22 พระองค์พระราชธิดา 29 พระองค์ รวมทั้งสิ้น 51 พระองค์

สำหรับรัชกาลนี้ กิตติพงษ์ กล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าบรรดาพระราชโอรส-ธิดาทุกพระองค์ ล้วนมีพระอิสริยศักดิ์เป็น “พระองค์เจ้า” ทั้งสิ้น ส่วนสาเหตุเหตุที่มิได้มีพระอิสริยศักดิ์เป็น “เจ้าฟ้า” แม้แต่พระองค์เดียวและมิได้ทรงสถาปนาพระสนมขึ้นเป็นพระอัครมเหสีเช่นกัน เพราะมิได้ทรงปรารถนาที่จะให้พระราชโอรสขึ้นเป็นกษัตริย์ เนื่องจากทรงมีพระราชประสงค์จะมอบราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ(ร.4) แต่เพียงพระองค์เดียว และราชสกุลของพระองค์ที่สืบต่อมาถึงรัชกาลปัจจุบัน มีทั้งสิ้น 13 ราชสกุล ดังนี้

ศิริวงษ์ องค์ต้นราชสกุล คือ สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าศิริวงษ์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์

โกเมน องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าโกเมน” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 11 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาเฟื่อง

คเนจร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าคเนจร” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 12 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาน้อยเมือง

งอนรถ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้างอนรถ(มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 14 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาจาด

ลดาวัลย์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าลดาวัลย์” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 15 ในเจ้าจอมมารดาเอมน้อย

ชุมสาย องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าชุมสาย” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 21 ในเจ้าจอมมารดาเอมใหญ่

ปิยากร องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปียก (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 27 ในเจ้าจอมมารดาเหม็น

อุไรพงศ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าอุไร” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 29 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาเขียว

อรณพ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าอรณพ” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 32 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง

ลำยอง องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลำยอง (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 39 ในเจ้าจอมมารดาวัน

สุบรรณ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ กรมขุนภูวนัยนฤเบนนราธิบาล มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าสุบรรณ” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 46ในเจ้าจอมมารดาขำ

สิงหรา องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าสิงหรา” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 48 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาคล้าย

ชมพูนุท องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าชมพูนุท” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 49 ในเจ้าจอมมารดาสัมฤทธิ์

สำหรับกรมพระราชวังหน้าในสมัย รัชกาลที่ 3 คือ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพกรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีพระนามเดิม “พระองค์เจ้าอรุโณทัย” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 17 ในรักาลที่ 1 และเจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ ทรงได้รับการโปรดเกล้าฯ จากรัชกาลที่ 2 ให้เป็นแม่ทัพยกกำลังไปสกัดข้าศึกที่เมืองเพชรบุรี พร้อมกับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3) ที่ขณะนั้นทรงตั้งทัพทางด่านเมืองราชบุรีและกาญจนบุรี

เมื่อถึงสมัย รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงประทับที่วังหน้าตลอดพระชนม์ชีพ จนพระชนมายุ 48 พรรษา ทรงมีพระราชโอรส 14 พระองค์ พระราชธิดา 6 พระองค์ และทรงมีพระราชทายาทสืบสายสกุลรวม 5 ราชสกุล ดังนี้

กำภู องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากำภู (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 6 ในเจ้าจอมมารดาคำ

เกสรา องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าเกสรา” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 9 ในเจ้าจอมมารดาคุ้มเล็ก

อิศรศักดิ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงษ์ (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 12 ในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี ซึ่งเป็นพระราชธิดาในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท

อนุชะศักดิ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านุช (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 14 และที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาเฟือง

นันทิศักดิ์ องค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเริงคนอง (มิได้ทรงกรม) ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 18 ในเจ้าจอมมารดาเอม

เรื่องโดย : ภาษิตา ภิบาลญาติ และศศิวิมล แถวเพชร




 

Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 28 มีนาคม 2551 11:03:43 น.
Counter : 611 Pageviews.  

ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย

ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย


สมัยราชอาณาจักรสุโขทัย

ราชวงศ์พระร่วง


พระนาม ปี พ.ศ.
1. พระเจ้า (พ่อขุน) ศรีอินทราทิตย์
พ.ศ. 1781- ?

2. พระเจ้า (พ่อขุน) บางเมือง (บางตำราเขียน บาลเมือง)
พ.ศ. ? -1822

3. พระเจ้า (พ่อขุน) รามคำแหงมหาราช
พ.ศ. 1822-1842

4. พระเจ้า (พระยา) เลอไท
พ.ศ. 1842-1891

5. พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระเจ้าลิไท)
พ.ศ. 1891-1912

6. พระมหาธรรมราชาที่ 2 (พระเจ้าไสยลือไท)
พ.ศ. 1913-1931

7. พระมหาธรรมราชาที่ 3
พ.ศ. 1931-1962

8. พระมหาธรรมราชาที่ 4
พ.ศ. 1962-1981


สมัยราชอาณาจักรศรีอยุธยา

ราชวงศ์อู่ทอง (เดิมเรียกราชวงศ์เชียงราย)

พระนาม ปี พ.ศ.
1. สมเด็จพระเจ้ารามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง)
พ.ศ. 1893-1912 (19 ปี )

2. สมเด็จพระราเมศวร (สมัยที่ 1) พ.ศ. 1912-1913 (ไม่ถึงปี)
(ถวายราชสมบัติแด่ขุนหลวงพะงั่ว)

ราชวงศ์สุพรรณภูมิ


3. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พ.ศ. 1913-1931 (18 ปี )
เป็นพระมาตุลา (ลุง) ของสมเด็จพระราเมศวร
4. เจ้าทองลั่น พ.ศ. 1931-1931 ( 7วัน )
(ถูกสมเด็จพระราเมศวรปลงพระชนม์ชิงราชสมบัติคืน

ราชวงศ์อู่ทอง


สมเด็จพระราเมศวร (สมัยที่ 2) พ.ศ. 1931-1938 ( 7ปี )
5. สมเด็จพระเจ้ารามราชาธิราช พ.ศ. 1938-1952 (14 ปี )
(ถวายราชสมบัติแด่สมเด็จพระนครรินทราธิราช)

ราชวงศ์สุพรรณภูมิ


6. สมเด็จพระนครินทราธิราช หรือ สมเด็จพระอินทราชา พ.ศ. 1952-1967 (15 ปี )
7. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) พ.ศ. 1967-1991 ( 24 ปี )
8. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1991-2031 ( 40 ปี )
9. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระอินทราราชาที่ 2) พ.ศ. 2031-2034 ( 3 ปี )
10. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) พ.ศ. 2034-2072 ( 38 ปี )
ทรงเป็นพระราชอนุชาของสมเด็จพระบรมราชาที่ 3
11. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (หน่อพุทธางกูร) พ.ศ. 2072-2076 ( 4 ปี )
12. พระรัษฎาธิราช พ.ศ. 2076-2077 ( 5 เดือน )
13. สมเด็จพระไชยราชาธิราช พ.ศ. 2077-2089 ( 12 ปี )
14. พระยอดฟ้า หรือ พระแก้วฟ้า พ.ศ. 2029-2091 ( 2 ปี )
(ถูกขุนวรวงศาธิราชปลงพระชนม์ชิงราชบัลลังก์)
15. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ. 2091-2111 ( 20 ปี )
16. สมเด็จพระมหินทราธิราช พ.ศ. 2111-2112 ( 1 ปี )
(เสียกรุงศรีอยุธยาแกพม่าครั้งที่ 1)

ราชวงศ์สุโขทัย
(ไม่เรียกราชวงศ์พระร่วง เพราะเป็นเพียงเชื้อสาย)


17. สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พ.ศ. 2112-2133 ( 31 ปี )
18. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ. 2133-2148 ( 15 ปี )
19. สมเด็จพระเอกาทศรถ พ.ศ. 2148-2153 ( 5 ปี )
20. เจ้าฟ้าเสาวภาคย์ พ.ศ. 2153-2153
21. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พ.ศ. 2153-2171 ( 17 ปี )

( ข้อ 19-21 ลงปีพุทธศักราชตามข้อมูลใหม่ที่นักประวัตืศาสตร์ค้นคว้าจากหลักฐานเก่า ๆ ซึ่งสอดคล้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในรัชสมัย ข้อมูลเดิมคือ สมเด็จพระเอกาทศรถครองราชย์ พ.ศ. 2148-2163 เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ครองราชย์ พ.ศ. 2163-2163 และสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมครองราชย์ พ.ศ. 2163-2171 )

22. สมเด็จพระเชษฐาธิราช พ.ศ. 2171-2172 ( 8 เดือน )
23. สมเด็จพระอาทิตย์วงศ์ พ.ศ. 2172-2172 ( 28 วัน )
ราชวงศ์ปราสาททอง

24. สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2172-2199 ( 27 ปี )
25. สมเด็จเจ้าฟ้าไชย พ.ศ. 2199-2199 ( 3-4 วัน )
26. สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา พ.ศ. 2199-2199 ( 2 เดือน )
27. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2199-2231 ( 32 ปี )

ราชวงศ์บ้านพลูหลวง


28. สมเด็จพระเพทราชา พ.ศ. 2231-2246 ( 15 ปี )
29. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ สมเด็จพระเจ้าเสือ (ขุนหลวงสรศักดิ์) พ.ศ. 2146-2251 ( 5 ปี )
30. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ. 2251-2275 ( 24 ปี )
31. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. 2275-2301 ( 26 ปี )
32. สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) พ.ศ. 2301-2301 ( 2 เดือน )
33. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หรือ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ (บางตำราเขียน สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์) พ.ศ. 2301-2310 ( 9 ปี )
(เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 )


สมัยราชอาณาจักรธนบุรี

ราชวงศ์ธนบุรี


สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พ.ศ. 2310-2325


สมัยราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์

ราชวงศ์จักรี


พระนาม ปี พ.ศ.
1. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พ.ศ. 2325-2352

2. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พ.ศ. 2352-2367

3. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. 2367-2394

4. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. 2394-2411

5. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. 2411-2453

6. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. 2453-2468

7. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. 2468-2477

8. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
พ.ศ. 2477-2489

9. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน




 

Create Date : 29 มกราคม 2551    
Last Update : 28 มีนาคม 2551 11:03:56 น.
Counter : 754 Pageviews.  

พระนามกรมพระราชโอรสพระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 (ชื่อเมืองต่างๆ) และเรื่องฐานันดรศักดิ์สำหรับพระเจ้าแผ่นด

เป็นที่น่าสังเกตว่าพระนามกรมของพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นชื่อเมืองแทบทั้งสิ้น
เป็นกรณีเอาอย่าง Prince of Wales หรือ Duke of York หรือไม่ อย่างไรคะ
( **กรณียกเว้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์**)

ที่น่าสนใจคือ พระราชโอรสพระราชธิดาร่วมพระมารดาเดียวกัน จะทรงกรมเป็นชื่อเมืองในเขตใกล้ๆ กันเช่น

พระราชโอรสธิดา(ที่ทรงกรม)ในพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ได้แก่

๑. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามาลินีนพดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา
๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัติยนารี

เป็นภาคกลางหมดเลย

พระราชโอรส(ที่ทรงกรม)ในเจ้าจอมมารดาโหมด
๑. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
๒ใ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
เป็นภาคใต้ตอนบนหมดเลย

พระนามทรงกรมของพระราชโอรส พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารานุกรมประเทศไทย...พระนามทรงกรมของพระราชโอรส พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ ตั้งตามชื่อหัวเมืองในราชอาณาจักร

สุพรรณภาควดี - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๔๗)
พิจิตรเจษฎ์จันทร์ - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ (พ.ศ. ๒๔๑๖-๒๔๔๗)
สวรรคโลกลักษณาวดี - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี (พ.ศ. ๒๔๑๖-๒๔๕๒)
จันทบุรีนฤนาถ - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๗๔)
ราชบุรีดิเรกฤทธิ์ - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๖๓)
ปราจิณกิติบดี - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม กรมหลวงปราจิณกิติบดี (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๔๖๒)
นครไชยศรีสุรเดช - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (พ.ศ. ๒๔๑๙-๒๔๕๖)
รัตนโกสินทร - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร (พ.ศ. ๒๔๒๐-๒๔๖๕)
เทพนารีรัตน์ - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. ๒๔๒๑-๒๔๓๐)
ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (พ.ศ. ๒๔๒๓-๒๔๖๖)
เทพทวาราวดี - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี พ.ศ. ๒๔๓๑) (พ.ศ. ๒๔๒๓-๒๔๖๘)
นครสวรรค์วรพินิต - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๘๗)
มไหสูริยสงขลา - (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนมไหสูริยสงขลา พ.ศ. ๒๔๓๔ ต่อมาโปรดให้เปลี่ยนนามกรมเป็น กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔)
กำแพงเพ็ชรอัครโยธิน - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๗๙)
ศรีธรรมราชธำรงค์ฤทธิ์ - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ (พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๔๒)
พิไชยมหินทโรดม - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๕๓)
พิษณุโลกประชานาถ - สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๖๓)
ลพบุรีราเมศวร์ - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ (พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๗๕)
ลพบุราดิศร - (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมขุนลพบุราดิศร พ.ศ. ๒๔๓๔ ต่อมาโปรดให้เปลี่ยนนามกรมเป็น กรมขุนลพบุรีราเมศวร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙)
สิงหวิกรมเกรียงไกร - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร (พ.ศ. ๒๔๒๖-๒๔๙๐)
เพชรบุรีราชสิรินธร - สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร (พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๘๑)
สรรควิสัยนรบดี - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี (พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๕๕)
ไชยาศรีสุริโยภาส - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส (พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๖๒)
ศรีสัชนาลัยสุรกัญญา - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา (พ.ศ. ๒๔๒๘-๒๗๖๗)
ชัยนาทนเรนทร - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร (พ.ศ. ๒๔๒๘-๒๔๙๓)
อู่ทองเขตขัตติยนารี - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี (พ.ศ. ๒๔๒๙-๒๔๗๔)
นครราชสีมา - สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. ๒๔๓๒-๒๔๖๗)
สงขลานครินทร์ - สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พ.ศ. ๒๔๓๔-๒๔๗๒)
เพ็ชรบูรณ์อินทราชัย - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๖๖)
สุโขทัยธรรมราชา - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จฯ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา พ.ศ. ๒๔๔๘) (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๘๔)
ในจำนวนนี้ มี ๘ พระองค์ ที่เป็นพระราชธิดา คือ กรมขุนสุพรรณภาควดี กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร กรมพระเทพนารีรัตน์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา และกรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
ในบรรดาพระราชโอรส-ธิดาของรัชกาลที่ 5 พระองค์ใดที่มีพระชนมายุยืนที่สุด

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร
เป็นพระราชธิดาในรัชกาล๕ พระองค์สุดท้าย ที่สิ้นพระชนม์
สิ้นพระชนม์ ปี ๒๕๒๕ พระชนมายุ ๙๑ พรรษา ค่ะ

พระราชโอรสธิดา ในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งทรงอยู่ถึงรัชกาลปัจจุบัน นอกจากเสด็จฯพระองค์วาปีก็มี

เรียงตามลำดับพระชนมายุนะคะ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ กรมพระยาไชยนาทนเรนทร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา
และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี
เป็นพระราชโอรสธิดา ลำดับที่ ๕๒ ลงไปแล้วทั้งนั้นเลยนะคะ
เจ้านายที่ทรงมีพระชนมายุ ๖๐ พรรษาขึ้นไปก็มีอยู่ไม่น้อยพระองค์นะคะ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร
และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี

เป็นเจ้านายฝ่ายใน ใน รัชกาลที่ ๕ ซึ่งทรงมีพระชนมายุอยู่ถึงปัจจุบัน
ในหลวงทรงมีพระมหากรุณาเอาพระทัยใส่ทุกพระองค์อย่างดียิ่งจนสิ้นพระชนม์
ทรงสร้างวังราชทัต พระราชทาน เสด็จฯพระองค์เหมวดี
ทุกพระองค์ ในหลวงทรงเสด็จฯพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ เฝ้าเยี่ยมที่วังที่ประทับเสมอ

สำหรับถวายบังคมเจ้านายเหล่านั้น ทรงถวายแน่นอนค่ะ
และในหลวงและสมเด็จฯ ก็ทรงแสดงคาระวะ และพระราชทานเกียรติแก่เสด็จฯอย่างมากเช่นกัน
โดยปกติ หากทรงพระสำราญดี มิได้ประชวร
เสด็จฯ ในรัชกาลที่ ๕ ก็จะทรงประทับเฝ้ากับพื้น แต่ไม่ถึงกับหมอบกราบนะคะ
สมเด็จพระนางเจ้าก็ทรงประทับอยู่กับพื้นเช่นกัน
ในเวลาที่เสด็จฯทรงมาเฝ้าใกล้ๆพระองค์ เพื่อรับพระราชทานหรือถวายของ
ในหลวงก็จะทรงประทับคุกพระชานุลงกับพื้น เพื่อรับของถวายหรือพระราชทานของ

อันที่จริงไม่เฉพาะพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ นะคะ
พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งทรงประทับอยู่เวลานั้น
คือ เสด็จฯพระองค์ประดิษฐารี ซึ่งทรงมีศักดิ์ เหมือนเป็นย่า
ในหลวงก็ทรงเสด็จฯเยี่ยม ณ พระตำหนักในพระบรมมหาราชวังเสมอ
และ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในการต่างๆ เป็นต้นว่าการครบรอบพระชนมายุเสด็จฯ
ดูเสด็จฯจะทรงเอ็นดูรักใคร่ ในหลวง และ สมเด็จฯมากนะคะ
ในหลวง และ สมเด็จฯ ก็ดูจะทรงรักและเคารพ เสด็จพระองค์นี้มากเช่นกัน

เจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕ ก็ทรงมีพระกรุณามากเช่นกัน
เป็นต้นว่า เจ้าจอมมารดาอ่อน หรือ เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ


ฐานันดรศักดิ์สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน
ฐานันดรศักดิ์ของพระเจ้าแผ่นดินไทยนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เป็นฐานันดรที่ใช้เรียกพระเจ้าแผ่นดินของประเทศไทยโดยทั่วไป
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เป็นฐานันดรที่ใช้เรียกพระเจ้าแผ่นดินของประเทศไทย ที่ซึ่งยังมิได้ทรงผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ฐานันดรศักดิ์สำหรับพระภรรยาเจ้า
ตามประเพณีไทย ฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชชายาไทยนั้น จะขึ้นอยู่กับฐานันดรศักดิ์ตั้งแต่กำเนิด เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง จะสามารถมีฐานันดรศักดิ์สูงกว่าเจ้าจอม ฐานันดรศักดิ์ในที่นี้ ได้เรียบเรียงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2467
สมเด็จพระราชินี
ฐานันดรศักดิ์สมเด็จพระราชินีนั้น ได้ปรากฏขึ้นในรัชกาลพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ คือ ฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระอัครมเหสี ที่มีฐานันดรสูงที่สุด รองลงมาจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานหลังจากสมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์นั้น ได้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มี 2 พระองค์ ได้แก่
สมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์แรก ได้แก่ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์ที่ 2 ได้แก่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ หลังจาก ทรงสำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างทรงผนวช
สมเด็จพระบรมราชินี
สมเด็จพระบรมราชินี คือ ฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระราชินีที่มีฐานันดรรองลงมาจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถ และยังมิได้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทน เช่น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7
สมเด็จพระราชินี
สมเด็จพระราชินี คือ ฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระราชินี ที่มีฐานันดรรองลงมาจากสมเด็จพระบรมราชินี พระราชทานเมื่อพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น ยังมิได้ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เช่น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ (ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับพระบรมราชาภิเษกแล้ว)
พระภรรยาเจ้า
ฐานันดรศักดิ์สำหรับพระภรรยาเจ้านั้น เป็นฐานันดรสำหรับพระภรรยาที่ทรงเป็นเจ้าหญิงมาตั้งแต่กำเนิด อันได้แก่ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และ หม่อมเจ้า
สมเด็จพระบรมราชเทวี และ สมเด็จพระอัครราชเทวี
สมเด็จพระบรมราชเทวี คือ ฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาเจ้าที่สูงที่สุด ก่อนที่จะมีฐานันดรสมเด็จพระราชินีในรัชกาลที่ 5 มี 2 พระองค์ที่ทรงมีฐานันดรนี้ ได้แก่
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระอัครราชเทวี เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 และมี 2 พระองค์ที่ทรงมีฐานันดรนี้ ได้แก่
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี ได้รับการสถาปนาในรัชกาลที่ 5 ในฐานะที่ทรงเป็นพระชนนีของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ได้รับการสถาปนาในสมัยรัชกาลที่ 7
พระนางเจ้า...พระราชเทวี , พระนางเจ้า...พระวรราชเทวี และ พระนางเจ้า...พระอัครราชเทวี
พระนางเจ้า...พระราชเทวี ,พระนางเจ้า...พระวรราชเทวี และ พระนางเจ้า...พระอัครราชเทวี คือ ฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาเจ้า ที่มีฐานันดรรองลงมาจากสมเด็จพระบรมราชเทวี พระภรรยาเจ้าที่ทรงมีฐานันดรนี้ ก็อย่าง เช่น
พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 5
พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6
พระนางเธอ
พระนางเธอ คือ ฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาเจ้า ที่มีฐานันดรรองลงมาจาก พระนางเจ้า...พระราชเทวี พระนางเจ้า...พระวรราชเทวี และ พระนางเจ้า...พระอัครราชเทวี พระภรรยาเจ้าที่ทรงมีฐานันดรนี้ เช่น พระนางเธอลักษมีลาวัณ ในรัชกาลที่ 6
พระอัครชายาเธอ
พระอัครชายาเธอ คือ ฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาเจ้า ที่มีฐานันดรรองลงมาจาก พระนางเธอ พระภรรยาเจ้าที่ทรงมีฐานันดรนี้ เท่าที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ มักเป็นเจ้านายที่ประสูติเป็นหม่อมเจ้าหลานเธอในพระมหากษัตริย์มาก่อน เช่น พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ พระอัครชายาเธอในรัชกาลที่ 5
พระราชชายา
ปรากฏพระนามเพียงแค่ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ราชธิดาใน พระเจ้าอินทวิชยานนท์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระราชชายาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม
เจ้าจอมมารดา คือ ฐานันดรศักดิ์ของเจ้าจอม ผู้ซึ่งมีพระราชโอรส หรือ พระราชธิดา เช่น เจ้าจอมมารดาตลับ และ เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกษร ณ เชียงใหม่ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าจอม คือ ฐานันดรศักดิ์ที่พระราชทานให้สำหรับภรรยาของพระมหากษัตริย์ ผู้ที่มีกำเนิดเป็นเจ้าประเทศราช หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง และสามัญชนทั่วไป เช่น เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
หมายเหตุ ตำแหน่งเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ไม่ได้รับพระราชทานสถาปนายศให้เป็นเจ้า

พระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา และพระราชสกุล
ลูกหลวง (ชั้นพระบรมวงศ์-พระราชโอรสธิดาของพระมหากษัตริย์)
เจ้าฟ้า
เจ้าฟ้า เป็นฐานันดรศักดิ์ที่รองลงมาจากพระภรรยาเจ้า แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่
เจ้าฟ้าชั้นเอก เป็นฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชโอรสธิดา ประสูติแต่พระเจ้าแผ่นดินกับสมเด็จพระอัครมเหสี หรือพระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวง คือภรรยาที่มีกำเนิดเป็นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ขานพระนามโดยลำลองว่า ทูลกระหม่อมชาย และ ทูลกระหม่อมหญิง
เจ้าฟ้าชั้นโท เป็นฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชโอรสธิดา ประสูติแต่พระเจ้าแผ่นดินกับพระมเหสีชั้นหลานหลวง คือภรรยาที่มีกำเนิดเป็นพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์ หรือพระมเหสีเทวีชั้นรองลงมาที่มีกำเนิดเป็นสามัญชนแต่ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นเจ้า เช่น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีพระราชธิดาในรัชกาลที่ 6 กับ[[พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี] (มีพระกำเนิดเป็นสามัญชน--คุณเครือแก้ว อภัยวงศ์)
นอกจากนี้ เจ้าฟ้าชั้นโทยังหมายถึงผู้ที่เป็นพี่น้องร่วมกับพระมหากษัตริย์ แล้วต่อมาได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้า เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ขานพระนามโดยลำลองว่า สมเด็จชาย และ สมเด็จหญิง
เจ้าฟ้าชั้นตรี เป็นฐานันดรศักดิ์สำหรับเจ้าฟ้าที่พระมหากษัตริย์พระราชทานสถาปนาเป็นกรณีพิเศษ เช่น เจ้าฟ้าหลานเธอในรัชกาลที่ 1 และ เจ้าฟ้าพระราชโอรสธิดาใน กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าฟ้าเป็นกรณีพิเศษ เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงพิกุลทอง กรมขุนศรีสุนทร พระราชธิดาใน สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท กับ พระอัครชายาเธอ เจ้าครอกฟ้าศรีอโนชา ซึ่งทรงเป็นพระราชขนิษฐาใน พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
พระองค์เจ้า (ชั้นลูกหลวง)
พระองค์เจ้า คือฐานันดรศักดิ์ที่รองลงมาจากเจ้าฟ้า คือพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวงได้แก่
1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า คือ ฐานันดรศักดิ์สำหรับ พระราชโอรส-ธิดา ซึ่งประสูติแต่พระเจ้าแผ่นดิน กับเจ้าจอมมารดาสามัญชน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ฯลฯ
หลานหลวง (ชั้นพระอนุวงศ์-พระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์)
1. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า โดยปกติแล้ว คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชนัดดาของพระเจ้าอยู่หัว จำแนกได้อีก ดังนี้
พระโอรส-ธิดา ใน เจ้าฟ้า กับ พระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้าที่เป็นชายาเอก (สะใภ้หลวง) เช่น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตมงคล
หม่อมเจ้าหลานเธอบางองค์ ซึ่งได้รับพระราชทานฐานันดรเป็นพระองค์เจ้าเป็นกรณีพิเศษ เช่น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์
2. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระราชนัดดาของพระเจ้าอยู่หัว จำแนกได้อีก ดังนี้
พระโอรส-ธิดา ใน เจ้าฟ้า กับ หม่อมสามัญชน(ในบางกรณี) เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับ หม่อมสมพันธ์ บริพัตร(ราชสกุลเดิม ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา) พระโอรส-ธิดา ใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (ชั้นลูกหลวง) กับ พระองค์เจ้า เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธินฤมล
หรือหม่อมเจ้าที่รับพระราชทานสถาปนาเป็นพิเศษ
กรณีได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพิเศษก็เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ พระราชบิดาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งประสูติเป็นหม่อมเจ้า (ส่วนพระโอรสธิดาของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านั้น จะมีฐานันดรศักดิ์เป็นสามัญชน คือหม่อมราชวงศ์)
หม่อมเจ้า หม่อมเจ้าหญิง
หม่อมเจ้า(ม.จ.) คือฐานันดรศักดิ์ที่รองลงมาจากพระองค์เจ้า เป็นชั้นสกุลยศที่ต่ำที่สุดสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ โดยปกติแล้วฐานันดรนี้ จะได้แก่โอรสธิดาในเจ้าฟ้า กับ สามัญชน และ โอรสธิดาใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าที่ได้รับพระราชทานสถาปนาพระยศเป็นพิเศษในบางกรณี
เจ้านายชั้นจะเรียกกันโดยลำลองว่า ท่านหญิง ท่านชาย
ราชนิกุล และสายสัมพันธ์
บุคคลนับเนื่องราชราชสกุล ลำดับรองลงมาจากหม่อมเจ้า แม้มีคำนำหน้านามเป็นพิเศษอยู่ แต่ก็ถือเป็นสามัญชนหม่อมราชวงศ์
หม่อมราชวงศ์(ม.ร.ว.) คือฐานันดรศักดิ์ที่รองลงมาจากหม่อมเจ้า เป็นคำนำหน้านามสำหรับโอรสธิดาในหม่อมเจ้า เรียกโดยลำลองว่า คุณหญิง คุณชาย
หม่อมหลวง
หม่อมหลวง (ม.ล.) คือบุตรธิดาของหม่อมราชวงศ์ เป็นคำนำหน้านามขั้นสุดท้ายของเชื้อพระวงศ์
ณ อยุธยา
ณ อยุธยา นั้น คือคำต่อท้ายนามราชสกุลของผู้สืบสกุลต่อมาจากหม่อมหลวง ซึ่งให้เป็นที่รู้กันว่าเป็นสามัญชนผู้สืบเชื้อสายในราชสกุลรองจากชั้นหม่อมหลวงลงมา อนึ่ง บุคคลผู้มีนามสกุลต่อท้ายว่า ณ อยุธยา นั้นมิได้เป็นเจ้านายในพระราชวงศ์ (พระราชวงศ์หมายถึงหม่อมเจ้าขึ้นไป) และมิใช่เชื้อพระวงศ์ (หมายถึงสามัญชนผู้มีคำนำหน้านามว่า หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง)
หม่อม
หม่อม นั้น มีอยู่ 3 ลักษณะ ดังนี้
หม่อมราชนิกุล คือ หม่อมราชวงศ์ หรือ หม่อมหลวง ที่รับราชการ มีความดีความชอบ กระทั่งได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น เช่น หม่อมอนุวัตรวรพงษ์ ซึ่งมีนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สิงหนัด ปราโมช
เจ้าชาย เจ้าหญิง ที่ทรงต้องพระราชอาญาถูกถอดพระยศ เช่น หม่อมไกรสร (เดิมคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษรณเรศ)
สตรีสามัญชนผู้เป็นภรรยาของเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า ลงมาถึงชั้นหม่อมเจ้า เช่น หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา ในสมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ หม่อมไฉไล ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ฯลฯ
ชายผู้ดี ใช้เรียกกันอย่างลำลองใช้เมื่อครั้งกรุงเก่าและตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น หม่อมมุก พระสวามีในพระเจ้าน้องนางเธอ กรมหลวงนรินทรเทวีในรัชกาลที่ ๑ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์

พระภรรยาของเจ้าชาย
มีทั้งหมด 3 ฐานันดร ได้แก่
พระชายา
พระชายา คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระภรรยาของ เจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า ซึ่งเป็นเจ้าหญิงมาตั้งแต่กำเนิด เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ "พระชายา" ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
ชายา
ชายา คือฐานันดรศักดิ์สำหรับภรรยาของหม่อมเจ้า ซึ่งมีกำเนิดเป็นเจ้าเหมือนกัน เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารำไพประภา "ชายา" ในหม่อมเจ้าเศิกสงัด ชุมพล
หม่อม
หม่อม คือคำนำหน้านามสำหรับภรรยาที่เป็นหญิงสามัญชนของเจ้าชาย เช่น หม่อมแจ๊กเควลิน จิตรพงศ์ ณ อยุธยา ในหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์




 

Create Date : 28 มกราคม 2551    
Last Update : 28 มกราคม 2551 16:50:16 น.
Counter : 1243 Pageviews.  

เคราะห์กรรมของ..พระองค์เจ้าหญิงยิ่งเยาวลักษณ์. และ...การมีคู่ครองของชาววัง..

เคราะห์กรรมของ..พระองค์เจ้าหญิงยิ่งเยาวลักษณ์.


เคราะห์กรรมของพระองค์เจ้าหญิงยิ่งเยาวลักษณ์มิใช่เป็นความลับ เรื่องปรากฏอยุ่ในจดหมายเหตุรายวัน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ภาค ๒๓.อ่านแล้วชวนให้สลดใจด้วยเป็นเรื่องของความรักที่ทำให้ถึงแก่ชีวิต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น ๘๒ พระองค์ พระโอรสสองพระองค์แรก ประสูติก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ ครั้นเสวยราชสมบัติแล้วจึงทรงมีพระราชธิดาเป็นพระองค์แรก คือ พระองค์เจ้าหญิงยิ่งเยาวลักษณ์อัครราชสุดา ทรงประสูติเมื่อเดือนยี่ ปี จ.ศ ๑๒๑๓ ตรงกับปีพุทธศักราช ๒๓๙๕.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๙ และทรงมีพระชนมายุอ่อนกว่าพระองค์เจ้าหญิงยิ่งเยาวลักษณ์ ๑ ปี เมื่อยังทรงพระเยาว์น่าจะทรงคุ้นเคยกับเจ้าพี่และเจ้าน้องในวัยไล่เลี่ยกันเป็นอย่างดี ในราชสำนักนั้นเท่าที่ได้ตรวจหนังสือหลายเล่มยังไม่พบว่า พระองค์เจ้าหญิงยิ่งเยาวลักษณ์ทรงเป็นข่าวในราชกิจใดๆ อาจจะทรงดำเนินชีวิตเช่นฝ่ายในอีกหลายๆพระองค์ที่สนองงานราชสำนักไปตามปรกติ จนกระทั่งก่อนจะสิ้นพระชนม์ จึงได้ทราบกันว่าทรงประชวรด้วย โรคมาน คือโรคท้องโตผิดคนธรรมดา

เดือน ๓ จุลศักราช ๑๒๔๘ หรือตรงกับปีพุทธศํกราช ๒๔๒๙ ได้เกิดเหตุวิบัติขึ้นในเขตพระราชฐาน ขณะนั้นพระบาทสมเด็จสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำลังเสด็จประพาสเพชรบุรึ เพื่อทอดพระเนตรสถานที่ต่างๆในตัวเมือง เช่น เขามหาสวรรค์ พระนครคีรี ถ้ำเพิง ถ้ำพัง และวัดพระนอน เป็นต้น.ทางฝ่ายพระนครเกิดความเป็นที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศนั่นคือ "พระองค์เจ้ายื่งเยาวลักษณ์
ซึ่งเดิมเชื่อว่าเป็นโรคท้องมานนั้น ทรงปวดครรภ์แลคลอดออกมาเป็นบุตรชาย ณ.ตำหนักที่ประทับภายในพระบรมมหาราชวัง.."เหมือนสายฟ้าฟาด เพราะคงไม่มีใครเคยคาดคิดมาก่อนว่า จะเกิดเรื่องร้ายแรงเช่นนี้ภายในราชสำนัก ภายหลังจากเกิดเหตุแล้ว เจ้านายสองพระองค์คือ สมเด็จฯกรมพระภาณุพันธ์วงศ์วรเดช และกรมหลวงเทวะวงส์ รีบเสด็จไปเมืองเพชรบุรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณา

ส่วนภายในพระบรมมหาราชวังกรมหมื่นอดิศรอุดมเดช ทรงสืบสาวชำระเรื่อง กระทั่งรู้ต้นสายปลายเหตุทั้งหมด.หนังสือจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ได้สรุปความไว้อย่างสั้นและเข้าใจได้ง่ายที่สุดคือ "..ได้ตัวอีเผือก บ่าวพระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ ซึ่งเป็นผู้ชักสื่อ แลอ้ายโต ผู้ล่วงพระราชอาญามาถาม ได้ความว่ารักใคร่กันมาแต่ยังเป็นภิกษุอยู่ในวัดราชประดิษฐ์ จนอ้ายโตสึกมา พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ได้หาตึกให้อยู่ที่ถนนเจริญกรุง แล้วลอบเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง โดยเข้าไปได้ทางพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท เข้าไปนอนอยู่กับพระองค์เจ้ายื่งเยาวลักษณ์ ๔คราวๆละคืนบ้าง ๒คืนบ้าง ได้มีเรื่องราวโดยพิศดาร.."

ที่เพชรบุรี หลังจากทรงทราบความทั้งหมดแล้ว เวลา๔ทุ่มเศษเสด็จออก มีพระราชดำรัสว่า พระองค์เจ้าหญิงยื่งเยาวลักษณ์ทรงประพฤติการอันอุกฤษฏ์ขั้นมหันตโทษ ทรงโปรดเกล้าฯให้ริบราชบาตรป็นของหลวงสำหรับจ่ายซ่อมแปลงพระอาราม และสิ่งของที่พระบรมชนก คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างไว้ ให้ถอดยศพระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ลงเหลือเพียงระดับหม่อมเรียกว่า "หม่อมยิ่ง"ทรงมีพระราชบัญญํติห้ามมิให้พระภิกษุที่มีพรรษาต่ำกว่า ๒oพรรษาเข้าไปในพระบรมมหาราชวังชั้นใน อุบาสิกาอายุต่ำกว่า ๔oปี ก็ห้ามมิให้ออกไปฟังเทศนาถืออุโบสศิลที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม.

ส่วนการวางโทษอื่นๆนั้น ต่อมาเมื่อทรงฟังคำพิจารณาของคณะลูกขุนแล้ว โปรดเกล้าฯให้ลงพระราชอาญา เฆี่ยนหม่อมยิ่ง อีเผือก และอ้ายโต คนละ ๓ ยก ๙oที แล้วให้นำตัวอ้ายโตผู้บังอาจไปทำการประหารชีวิตเสีย.ในวันศุกร์ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน๔ ปีจอ จุลศักราช ๑๒๔๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังคงทรงประทับอยู่ที่เพชรบุรี

"วันนี้ที่พระนคร เจ้าพนักงานกรมพระนครบาล นำตัวอ้ายโตไปประหารชีวิตที่วัดพลับพลาไชย "(คือวัดโคก ที่ห้าแยกพลับพลาไชยข้างวัดเทพศิรินทราวาส หรือข้างธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาพลับพลาไชยเดี๋ยวนี้ )

หนังสือจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน มิได้เอ่ยถึงเรื่องหม่อมยิ่งต่อเนื่องไปจากนี้อีกไม่มีใครทราบว่าภายหลัง
จากเหตุการณ์อันร้ายแรงครั้งนั้นแล้ว พระองค์เจ้ายื่งเยาวลักษณ์ต้องทรงระทมทุกข์ในสภาพเช่นไร แต่หนังสือราชสกุลวงศ์กล่าวว่า ทรงสิ้นพระชนม์ในปีจอ พุทธศักราช ๒๔๒๙ ขณะพระชนมายุ ๓๔ พรรษา.

คำให้การหม่อมยิ่ง และผู้เกี่ยวข้องทุกคนซึ่งเคยนำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย ขณะนี้ยังค้นหาไม่พบ บางทีกระดาษซึ่งบรรจุเรื่องอันน่าเศร้าเช่นนี้ อาจผุพังสูญหายไปแล้วก็ได้

ปลายปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ ผม(ผู้เขียน)พบรูปถ่าย"หม่อมยิ่ง" ติดอยู่ในอัลบัมรหัส ภอ.oo๑ หวญ.๑๖-๒๕ ชองจดหมายเหตุแห่งชาติโดยบังเอิญ เป็นภาพทรงสวมฉลองพระองค์แขนยาว หม่สไบ นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมกำไลข้อพระบาท ประทับนั่งข้างโต๊ะ ด้านหลังมีคำบรรยายสมัยเก่าเขียนไว้สั้นๆว่า "หม่อมยิ่ง ราชธิดา ร.๔ " ผมรู้สึกเศร้าและสลดใจในเหตุที่เกิดขึ้นกับพระชนม์ชีพของพระองค์.

คัดลอกจากหนังสือ "หญิงชาวสยาม"
โดย อเนก นาวิกมูล.


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระองค์เจ้าหญิงยิ่งเยาวลักษณ์


...การมีคู่ครองของชาววัง..


การมีคู่ครองชองหญิงชายทั่วไปเป็นเรื่องธรรมชาตและธรรมดาโลกแต่ในราชสำนักฝ่ายในซึ่งประกอบด้วยสตรีล้วนหลากหลายฐานะ หลายฐานันดรศักดิ์มีขนบธรรมเนียมเฉพาะกลุ่ม การมีคู่ก็เป็นหนึ่งในขนบธรรมเนียมในประเพณีนั้น จึงทำให้การมีคู่ของชาววังแตกต่างไปจากชาวบ้าน ดังเช่น พระมเหสีเทวี เจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม ท่านเหล่านี้ล้วนยินยอมพร้อมใจที่จะถวายความจงรักภักดี
ต่อพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว.

ส่วนพระราชธิดาแม้จะไม่มีข้อกำหนดห้ามปรามมิให้ทรงมีคู่ แต่ด้วยพระอิสริยศักดิ์อันสูงส่ง และโดยความเป็น
ขัตติยนารีซึ่งทรงได้รับการปลูกฝังให้มีพระสำนึกเกี่ยวกับชาติตระกูล ความเลื่อมล้ำของฐานันดรศักดิ์ จนซึมซาบอยู่ในสายพระโลหิต ประกอบกับความยุ่งยากของข้อบังคับในกฏมณเทียรบาล ทำให้มิใคร่มีพระราชธิดาพระองค์ใดมีประสงค์จะมีคู่ครอง.

สตรีอีกกลุ่มหนึ่งคือพระบรมศานุวงศ์ ข้าราชบริ- พาร และข้าหลวงตามตำหนักต่างๆซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก
สตรีเหล่านี้แม้จะไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับการมีคู่ครอง แต่ก็มี
ขนบประเพณีอันเป็นเสมือนกรอบบังคับมิให้ชาววังประพฤติ
ปฏิบัติตนออกนอกลู่นอกทาง ถึงกระนั้นก็ยังไม่อาจเอาชนะอิทธิพลของธรรมชาติ ที่แม้จะถูกเก็บกดไว้ลึกเพียงใดก็ยังมีวันเวลาสำแดงความต้องการออกมาในรูปของ
" ความรัก "

ความรักตามธรรมชาติของสตรีบางคน เมื่อถูกสกัดกั้นด้วยขนบประเพณีทำให้ไม่ใคร่มีโอกาสพบปะเพศตรงข้าม มองเห็นคลุกคลีอยู่แต่เพศเดียวกัน ความรักของสตรีที่ว่านี้จึงมอบให้แก่เพศเดียวกันอย่างที่เรียกว่า" เล่นสวาท"
หรือ " เล่นเพื่อน"

ถ้าจะพูดไปแล้ว ความรักระหว่างสตรีที่เกิดขึ้นในวังนั้นเกือบจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่มีมาทุกยุคทุกสมัย แต่ไม่เป็นที่เปิดเผย เพราะถือเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ ที่น่าอับอาย แต่บางเรท่องก็ปิดไม่มิด แถมยังเป็นเรื่องโด่งดังจนมีผุ้จดจำและเล่าขานกันต่อมา ดังเช่นเรื่องของ หม่อมสุด กับ หม่อมขำ ข้าหลวงในกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว.

หม่อมสุด และ หม่อมขำ เดิมเคยเป็นหม่อมห้ามในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทั้ง ๒ คน เมื่อกรมพระ ราชวังบวรฯพระองค์นั้นทิวงคต จึงโอนมารับราชการในวังหลวงประจำพระตำหนัก กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ

หม่อมสุดเป็นผู้มีความรู้หนังสือ จึงมีหน้าที่อ่านหนัง สือถวายเมื่อเวลาบรรทม ครั้งหนึ่งหม่อมสุดและหม่อมขำอยู่เวรห้องบรรทมคู่กัน ทั้งคู่เข้าใจว่ากรมหมื่นอัปสรสุดาเทพบรรทมหลับแล้ว จึงดับเทียนและเอาผ้าคลุมโปงกอดจูบกันอยู่ที่ปลายพระบาท กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพยังไม่หลับจึงเห็นพฤติกรรมทั้งหมด และโปรดให้สมญาหม่อมสุดว่า " คุณโม่ง " เพราะมีพฤติกรรม " เอาแพรเพลาะหอมกรอมหุ้มกันคลุมโปง จึงตรัสเรียกว่า คุณโม่ง แต่นั้นมา "

ส่วนหม่อมขำทรงให้สมญาว่า " หม่อมเป็ด " เพราะกิริยาอาการเดินมีลักษณะ " เดินเหินโยกย้ายส่ายกิริยา จึงชื่อว่า หม่อมเป็ดเสด็จประทาน "

เรื่องคุณโม่ง กับ หม่อมเป็ด ยิ่งเป็นที่เล่าลือสนุกสนานเพิ่มขึ้น เมื่อ คุณสุวรรณ กวีคนสำคัญในราชสำนักนำเรื่องหม่อมทั้งสอง มาแต่งเป็นกลอนเพลงยาว ชื่อ "หม่อมเป็ดสวรรค์ " กล่าวถึงพฤติกรรมเป็นทำนองตลกขบขัน จนชาววังสมัยนั้นสามารถจดจำและท่องกลอนเรื่องนี้ได้อย่างขึ้นใจ และยิ่งเป็นที่ฮือฮาแพร่หลายขึ้นอีก เมื่อ ครูแจ้งวัดระฆัง นักขับเสภามีชื่อนำเรื่องนี้มาขับเป็นเสภา

โดยปรกติแล้วพฤติกรรมเล่นเพื่อนจะกระทำกันอย่างซ่อนเร้นปิดบัง แต่เป็นที่รุ้กันทั่วไปว่ามีพฤติกรรมเช่นนี้ในหมู่สาวๆชาววัง แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงทราบ ดังปรากฏหลักฐานในพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่โปรดพระราชทานพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ มีข้อความเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า...

"...พ่อขอเสียเป็นอันขาดทีเดียว คิดถึงคำพ่อให้มากนักหนา อย่าเล่นเพื่อนกับใครเลย มีผัวมีเถิด แต่อย่าให้ปอกลอกเอาทรัพย์ของเจ้าไปได้..."

แต่อย่างไรก็ตามเรื่องความรักหรือการมีคู่ระหว่างชายหญิงนั้น สาวๆชาววังก็มีโอกาสบ้างเหมือนกันแม้จะเป็นไปอย่างไม่สะดวกนัก เพราะมีขนบประเพณีเป็นเครื่องกีดกั้นอยู่ แต่ก็ไม่ยากเย็นจนเกินไปเพราะขึ้นชื่อว่า " สตรีชาววัง " แม้แต่ที่มีฐานะเป็นเพียงทาสน้ำเงินของพระองค์หญิงพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง หรือคุณจอมท่านใดท่านหนึ่งก็ตาม ล้วนเป็นที่หมายปองของบุรุษเพศ ทั้งนี้เพราะถีอว่าสตรีชาววังทุกคนได้ผ่านการฝึกหัดงานบ้านงานเรือน และการอบรมกิริยามารยาท ตลอดจนเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความรู้รอบตัวเป็นอย่างดี นับเป็นคุณสมบัติที่พอเพียงต่อสู้การสู่ขอมาเป็นแม่ศรีเรือน.

ในกรณีเช่นนี้บางทีทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายอาจจะไม่เคยมีโอกาสได้พบหน้ากันเลย จะมีพ่อสื่อแม่สื่อเป็นผู้นำคุณสมบัติของฝ่ายหญิงไปบรรยายให้พ่อแม่ฝ่ายชายฟัง และนำคุณสมบัติฝ่ายชายมาพรรณนาให้พ่อแม่ของฝ่ายหญิงทราบ เมื่อเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย แม่สื่อพ่อสื่อจึงดำเนินการในส่วนรายละเอียดต่างๆเป็นชั้นตอนจนสำเร็จ บิดามารดาของสตรีที่ว่าก็จะเข้ามากราบถวายบังคมเจ้านายที่ทรงอุปถัมภ์ลูกสาวอยู่ เพื่อขอทูลลานำลูกสาวออกไปแต่งงานมีเหย้ามีเรือนตามประเพณีต่อไป.

ในบางคู่บางคน หนุ่มๆไม่ยอมให้พ่อแม่จับคลุมถุงชน ประสงค์จะได้เห็นตัวเจ้าสาวก่อนตกลงใจรับเป็นภรรยา กรณีแม่สื่อจะนัดแนะพวกหนุ่มๆให้มาดักคอยแอบดูตัวฝ่ายหญิง สถานที่ที่หนุ่มๆสามารถจะเห็นสาวๆชาววังได้ก็คือที่ หน้าประตูศรีสุดาวงศ์ ซึ่งเป็นประตูด้านหลังของกำแพงพระราชวังฝ่ายในตรงกับ ประตูช่องกุด ซึ่งเป็นประตูกำแพงวังชั้นนอกกล่าวกันว่าเป็นบริเวณที่คึกคักที่สุดในช่วงเช้า เพราะเป็นที่ซึ่งคนนอกวังนำสินค้าต่างๆเข้ามาขายกันมากมาย สาวๆชาววังก็จะพากันมาหาซื้อของใช้ของกินที่ต้องการและเป็นโอกาสที่จะได้พบเห็นผู้คนภายนอกบ้าง.

เวลานี้เองที่แม่สื่อพ่อเสื่อจะนัดหนุ่มๆมาดูตัวสาวที่ตนจะเป็นสื่อให้ข้างฝ่ายสาวจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวว่ากำลังถูกดูอยู่ก็ตาม จะต้องเก็บอาการยินดียินร้ายให้มิดชิด วางกิริยาเฉย และไม่ปริปากพูดอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ทั้งสิ้น จนกว่าแม่สื่อจะดำเนินการจนถึงขั้นตอนสุดท้าย คือขั้นตอนที่บิดามารดาของฝ่ายหญิงมากราบทูลเจ้านายที่อุปการะลูกสาว หลานสาวอยู่เพื่อขอลาออกไปแต่งงาน.

ในส่วนสตรีที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งถวายตัวเข้ามาอยู่กับพระญาติตามตำหนักต่างๆนั้นถือเป็น ชาววังชั้นสูง การพบปะสังสรรค์ก็ต้องอยู่ในกลุ่มคนที่มีฐานะทางสังคมใกล้เคียงกัน เช่น พบปะกันในงานพระราชพิธี หรืองานรื่นเริงที่จัดขึ้นในหมู่เจ้านาย งานที่ขึ้นเชื่อว่าเป็นงานสำหรับหนุ่มสาวเลือกคู๋กัน ได้แก่ งานฤดุหนาว ซึ่งจัดขึ้นที่วัดเบญจมบพิตร มีการออกร้านขายของเพื่อหาเงินบำรุงวัด ในงานนี้จะมีทั้งเจ้านายฝ่ายหน้าและฝ่ายในพากันไปออกร้าน และไปเที่ยวโดยเฉพาะในช่วงที่เจ้านายหญิงและชายทั้งหลายกำลังอยู่ในวัยหนุ่มสาว เจ้านายฝ่ายชายเริ่มเรียนจบต่างประเทศทยอยกลับกันมาทุกปี หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงกล่าวว่า
"...ท่านพวกนี้เปรียบเสมือนเทวดาตกลงมาจากสวรรค์ ความคิดของท่านไม่ยอมให้คลุมถุงชนเป็นแน่..." ดังนั้นในงานนี้จึงเป็นงานที่เจ้านายผู้ชายจะได้มีโอกาส " ดูตัวผู้หญิง "ซึ่งมีฐานะทางสังคมเดียวกัน.

ถึงกระนั้นการดูก็มิใช่จะดูได้อย่างสะดวกและใกล้ชิด จะต้องใช้กลวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อจะได้ดูหญิงอย่างแนบเนียนไม่ประเจิดประเจ้อน่าเกลียด วิธีที่ใช้กันมากคือการแสดงความสนใจในสิ่งของหรือสินค้าที่อยู่ในร้านของฝ่ายหญิง ด้วยการเข้าไปชมถามไถ่ เพื่อเป็นหนทางจะได้พูดจาโต้ตอบกันบ้าง แต่ทั้งหมดจะต้องอยู่ในสายตาของบิดามารดาฝ่ายหญิง ลงท้ายเพื่อแสดงความสนใจให้สมจริงฝ่ายชายก็จะต้องควักกระเป๋าซื้อของนั้น หรืออาจมีวิธีอื่นๆแล้วแต่กลยุทธ์ของแต่ละองค์แต่ละท่าน.

บางองค์บางท่านก็ไม่มีความกล้าหาญพอที่จะเข้าไปทำความรู้จักกับฝ่ายหญิง หากเป็นเช่นนั้นก็จะต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ดังเรื่องของ สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตรมงคลเรื่องนี้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ทรงเล่าให้หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ฟังว่า..

"...ในงานออกร้านวัดเบญจมบพิตร เจ้านายหนุ่มๆอยากดูผู้หญิงก็ไม่กล้า เราต้องจัดการให้ลุงนั่งอยู่กับหนุ่มๆหน้าร้าน เรียกสาวๆเข้าไปรับแจกเงิน บางคนทำดัดจริตกระมิดกระเมี้ยนเพราะมีหนุ่มๆอยู่ด้วยแต่พอถึง ยายบี้(ทรงหมายถึงพระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตร์ฯ) แกก็ทำหน้าเป๋อเข้าไปหมอบกราบเอาเงินแจก แล้วยังซ้ำกราบเจ้านายหนุ่มๆนั้นเสียด้วย สมเด็จชายก็เลยพอพระทัยว่าไม่มีจริต.."

และด้วยความ " สมน้ำสมเนื้อ "กันทั้งสองพระองค์จึงได้เสกสมรสกันนับว่าเป็นคู่หนึ่งที่เป็นผลจากการได้ "ดูตัว"กันในงานฤดูหนาววัดเบญจมบพิตร หลังจากงานฤดูหนาวผ่านไปแต่ละปีจะมีข้าหลวงจากตำหนักต่างๆ กราบบังคมทูลลาออกไปมีเรือนปีละหลายๆคน

ในส่วนพระมเหสีเทวีทั้งหลายนั้น แม้จะมิได้ทรงยุ่งกับเรื่องคู่ครองของพระองค์ แต่เมื่อพระราชโอรสของแต่ละพระองค์ทรงถึงวัยที่จะต้องมีคู่ บรรดาพระราชมารดาและพระมารดา ต่างก็ทรงมองหาผู้ที่เหมาะสมจะมาทรงดำรงตำแหน่งพระสุณิสา โดยเฉพาะพระราชมารดาที่มีพระราชโอรสที่ทรงศึกษาอยู่ยุโรปยิ่งจะต้องทรงพิถีพิถันและรอบคอบในการที่จะเสาะหาลูกสะใภ้ ดังปรากฏเรื่องนี้ในลายพระหัตถ์ของ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี ที่ทรงมีถึง สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระราชโอรสขณะทรงศึกษาอยู่ในยุโรป ความตอนหนึ่งว่า..

"...ผู้หญิงคนที่สมเด็จชายแนะนำให้นั้น ถ้าหากต้องมาเป็นลูกสะใภ้แม่เห็นจะวิงเวียนเต็มที เพราะแกป่าเถื่อนเหลือทน เรื่องพรรณอย่างนี้แม่ชอบพูดที่สุด เกือบจะยอกได้ว่าจะนึกจะพูดอะไรไม่สนุกเหมือนคิดจะมีบ้านเรือนมีลูกสใภ้มีหลาน แต่เรื่องหาเมียให้ลูกนี้แต่แม่ดูๆมาถึง ๓ ปีเข้านี่แล้วยังไม่เหมาะใจเลย จนต้องร้องอยู่เสมอว่า ลูกสใภ้ของแม่ยังไม่เกิด (ที่กล่าวว่าหานี้ ไม่ใช่จะหาให้เป็นอย่างตกลงแน่นอนก่อนที่ลูกจะได้เลือกแล้วนั้นก็หาไม่ เป็นแต่จะเลือกหมายไว้สำหรับจะแนะนำให้เท่านั้น)เพราะใจแม่ที่จะนึกเลือก เดี๋ยวนี้ไม่แต่เลือกผู้หญิงให้ดีสารพัดเหมือนดังเช่นที่ลูกกล่าวแล้ว มันเลือกเลยไปถึงตัวพ่อตาแม่ยายด้วย จึงต้องหายากนักเพราะมันไปขัดกันเสียดังนี้ คือถ้าตัวผู้หญิงพอจะเห็นว่าดี ก็ไปถูกที่พ่อตาไม่ดี ถ้าท่านพวกที่อยากจะต้องการให้เป็นพ่อตาก็ไม่มีลูกสาวที่ถูกใจ มันขัดกันอยู่เสียงดังนี้ร่ำไป..."

สตรีที่พระมเหสีเทวีทั้งหลายทรงเลือกและมีพระประสงค์ให้ดำรงตำแหน่งพระสุณิสานั้น โดยมากก็คือบรรดาพระธิดาของพระบรมวงศานุวงศ์ที่ใกล้ชิดกันนั่นเอง เรื่องการเลือกหรือเสาะหาคู่สำหรับพระราชโอรสนั้นน่าจะเป็นเรื่องราวที่สาวๆชาววังทุกคนตื่นเต้นสนใจใคร่รู้ ดังเรื่องที่หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงเล่าว่าเมื่อครั้งสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เสด็จกลับจากประเทศอังกฤษเพื่อทรงเยี่ยมบ้านชั่วคราวนั้น พระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ พระราชมารดาทรงจัดข้าหลวงวัยชรา และข้าหลวงรุ่นเล็กมาคอยรับสั่งด้วยเกรงว่าเจ้าฟ้าพระองค์นั้นจะทรงมีพระกังวลเกี่ยวกับเรื่องสตรีก่อนจะทรงศึกษาสำเร็จเพราะทรงได้ชื่อว่าทรงเป็น " เจ้าฟ้าหนุ่มเนื้อหอม " พระองค์หนึ่ง.

เรื่องนี้หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลว่า

"...ทุกครั้งที่สมเด็ขชายเสด็จกลับออกไปแล้ว เราเด็กๆมักจะถูกพวกสาวๆคอยจับตัวซักไซร้ไล่เรียงว่า ได้ยินท่านรับสั่งว่าอย่างไรบ้าง ทรงออกชื่อใครบ้าง เราก็ตอบได้แต่ว่าไม่รู้ ไม่ได้ยิน ซึ่งเป็นความจริงเพราะไม่ได้เอาใจใส่ แต่ก็ลงลัยว่าทำไมถูกถามนัก จนต่อมาอีกสักหน่อยหนี่ง จึงได้รู้ว่าท่านทรงกำลังเลือดคู่กันอยู่..."

อาจกล่าวได้ว่าบรรยากาศในราชสำนักฝ่ายในขณะนั้นน่าจะตื่นตัวซู่ซ่ากันอยู่ด้วยเรื่องเลือกคู่ครอง ดังปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับบรรยากาศการหาคู่ของสตรีชั้นสูงสมัยนั้น ในลายพระหัตถ์ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินีที่ทรงมีถึง สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระนัดดา ความตอนหนึ่งว่า.

"...ทูลหม่อมที่ว่า เมื่อไหร่จะได้กลับมา เมียเขาคอยอยู่ออกส้าๆไปในกรุงเทพมีสี่องค์เท่านั้นไม่พอแย่งกัน....ในหมู่นั้นไม่ทราบว่าอะไรกันเต็มหูไปด้วยเรื่องหาเมียหาผัวออกกลุ้มไปทั้งนั้น..."

การมั่นหมาย มองหาคู่ครองให้พระราชโอรสนั้น บางครั้งก็ทรงสมพระประสงค์ของฝ่ายพระมารดา แต่บางครั้งก็ทรงผิดหวังเพราะพระราชโอรสไม่ทรงพอพระทัยสตรีที่พระมารดาทรงมั่นหมายไว้ให้กลับพอพระทัยสตรีอื่นและมีพระประสงค์จะเสกสมรสกับสตรีนั้น เรื่องที่ว่านี้เป็นที่สนใจใคร่รู้ของชาววัง ว่าผลสุดท้ายจะลงเอยอย่างไรกลายเป้นเรื่องที่สนทนาซุบซิบประจำวัน ดังเช่นที่ทรงมีพระประสงค์ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ อภิเกสมรสกับ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุทธวิไลยลักขณา พระธิดาองค์กลางสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ ถึงกับทรงหมายมั่นว่าพระองค์เจ้าหญิงท่านนี้จะทรงได้เป็นพระราชินีในอนาคตเป็นที่รู้กันในวัง แต่เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จกลับเมืองไทยก็มิได้ทรงสนพระทัยพระองค์หญืงนัก การณ์กลับกลายเป็นว่า สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ทรงมีพระทัยปฏิพัทธ์พระองค์หญิง แต่มิทรงกล้า เพราะทรงทราบถึงพระราชประสงค์ที่หมายมั่นพระองค์หญิงไว้สำหรับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และเมื่อทรงได้พบ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตรมงคล พระธิดาสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จึงตัดสินใจพระทัยเสกสมรสครองรักกันสืบมา

ส่วนสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตนั้น สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชมารดาทรงเตรียมพร้อมเจ้าหญิงที่งามพร้อมไว้ให้ทรงเลือกสรรหลายพระองค์ ซึ่งก็ทรงเลือก หม่อมเจ้าหญิงประสงค์สม ไชยันต์ พระธิดาในพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เป็นอันสมพระทัยพระราชมารดา

สมเด็จฯเจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงเป็นอีกพระองค์หนึ่งที่พระราชมารดาทรงมั่นหมายที่จะให้เสกสมรสกับ หม่อมเจ้าหญิงอุไรวรรณ ทองใหญ่พระธิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม แต่ต้องทรงผิดหวัง เพราะสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯเสด็จกลับจากการศึกษาพร้อมด้วยหม่อมชาวรัสเซียชื่อคัทริน เดสนิตสกี

ส่วนสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมานั้นพระราชมารดาทรงมีพระประสงค์จะสู่ขอ หม่อมเจ้าหญิงปลื้มจิตรพระธิดาสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ให้เสกสมรสด้วยแต่สมเด็จเจ้าฟ้าฯกลับเลือก คุณแผ้วตัวเอกในละครรำส่วนพระองค์ตั้งขึ้นเป็นหม่อมแต่เพียงผู้เดียว.

สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้าก็ทรงหมายมั่น หม่อมเจ้าหญิงวงศ์ทิพย์สุดา และ หม่อมเจ้าหญิงอัจฉรา เทวกุลพระธิดาสมเด็จฯกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ไว้ให้สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ ทรงเลือกสมรสเป็นพระขายา แต่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลาฯ กลับทรงเลือก คุณสังวาลย์สตรีสามัญชนนักเรียนพยาบาลทุน เป็นคู่สมรสแทน

สำหรับ สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา นั้นพระราชมารดาก็ทรงมั่นหมาย หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ดิศกุล พระธิดาสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพไว้ให้ แต่เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าฯทรงเสด็จกลับจากการศึกษาจากประเทศอังกฤษ กลับทรงพอพระทัย หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์พระธิดาสมเด็จฯ กรมพระสวัสดิ์วัฒฯวิศิษฐ์ และได้ทรงเสกสมรสกับ หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สมพระประ -สงค์.

การมีคู่ครองเป็นเรื่องปรกติสามัญ แต่การมีคู่ครองของชาววังแตกต่างจากชาวบ้าน เพราะชาววังมีขนบประเพณเฉพาะกลุ่ม มีฐานันดรศักดิ์บังคับอยู่ จนยากที่จะมีผู้ใดฟันฝ่ากฏบังคับเหล่านั้นเข้าไปเพื่อเป็นคู่ครองได้ แต่ในส่วนที่เป็นชาววังชั้นกลาง เป็นสตรีที่มีคุณค่าเป็นที่หมายปองของบุรุษที่มีทั้งตำหน่งและฐานะ ทำให้ชาววังกลุ่มนี้เป็นสตรีที่มีโอกาสอันดี สำหรับการมีคู่ครอง.


สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชาและหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี


สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์และคุณสังวาลย์


สมเด็จฯเจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถและหม่อมคัทริน เดสนิตสกี


สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตและหม่อมเจ้าหญิงประสงค์สม บริพัตร พระชายา


สมเด็จฯเจ้าฟ้าอัษฏางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาและหม่อมแผ้ว พระชายา




 

Create Date : 28 มกราคม 2551    
Last Update : 28 มกราคม 2551 16:44:23 น.
Counter : 4652 Pageviews.  

การลำดับชั้นพระอิสริยยศพระมเหสี ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และ ว่าด้วยเรื่อง ... พระยศของพระราชนัดดา และ“สมเด

การลำดับชั้นพระอิสริยยศพระมเหสี ในสมัยรัชกาลที่ ๕


นับตั้งแต่สมัยโบราณในราชสำนักไม่มีการลำดับชั้นพระราชอิสริยยศของพระมเหสีอย่างชัดเจน เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานว่าเคยมีธรรมเนียมการอภิเษกพระมเหสีหรือจารึกพระนามลงในแผ่นพระสุพรรณบัฏแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ตลอดจนการมีพระมเหสีนั้นไม่มีการกำหนดว่ามีได้จำนวนเท่าใด จึงก่อให้เกิดความสับสนในการเลือกใช้คำเรียกขานเพื่อบ่งลำดับชั้นยศ มาถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระภรรยาเจ้าหลายพระองค์ด้วยกัน ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความสับสนในการสืบราชสันตติวงศ์ได้ จึงได้ทรงเริ่มกำหนดลำดับชั้นพระอิสริยยศของพระภรรยาเจ้าอย่างเป็นทางการตามลำดับดังนี้

พระบรมราชเทวี (พระอัครมเหสี) --- สมเด็จพระนางเจ้าสวว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี

พระวรราชเทวี --- พระนางเจ้าเสาวภาผ่่องศรี พระวรราชเทวี

พระราชเทวี --- พระนางเจ้าสุขุมาลมมารศรี พระราชเทวี

พระอัครชายา --- เช่น พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์

ต่อมาเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรก เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ขึ้นเป็นสมเด็จพระโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารพระองค์ใหม่ จึงก่อให้เกิดความสับสนในเกี่ยวกับฐานะของพระอัครมเหสี เนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ซึ่งทรงเป็นพระราชชนนีของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศนั้นทรงยังเป็นพระอัครมเหสีอยู่ แต่ในขณะเดียวกันตามธรรมเนียมการสืบราชสันตติวงศ์ตำแหน่งองค์รัชทายาทจะตกอยู่กับพระราชโอรสของพระอัครมเหสี ซึ่งเวลานั้นสมเด็จพระนางเจ้าเสวาภาผ่องศรี พระราชชนนีของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงมีพระอิสริยยศเป็นที่พระวรราชเทวี พระมเหสีรอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระนางขึ้นเป็นที่ พระอรรคราชเทวี พระอัครมเหสีอีกพระองค์หนึ่ง จึงทำให้เกิดตำแหน่งพระอัครมเหสีซ้อนขึ้นมา ก่อให้เกิดความสับสนในการบริหารราชการแผ่นดินบางประการ

ดังนั้นในปีพุทธศักราช 2440 ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จประพาสยุโรป เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการบริหารราชการแผ่นดินในระหว่างที่พระองค์ไม่ประทับอยู่ในพระราชอาณาจักร จึงได้ทรงสถาปนาพระราชชนนีแห่งองค์รัชทายาทขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พร้อมกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ไปจนกว่าจะเสด็จพระราชดำเนินกลับ และด้วยเหตุที่พระอิสริยยศพระมเหสีที่ทรงสถาปนาขึ้นใหม่นี้ มีพระเกียรติยศเสมอด้วยองค์พระมหากษัตริย์ จึงทำให้ตำแหน่งสมเด็จพระบรมราชินีนาถ กลายเป็นพระอิสริยยศสูงสุดในบรรดาพระมเหสีและพระภรรยาเจ้าทั้งปวง และมีความหมายตรงกับคำว่า Queen ตามธรรมเนียมของทางตะวันตกอย่างแท้จริง

นอกจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงแก้ไขเพิ่มเติมพระอิสริยยศของพระภรรยาเจ้าที่เป็นพระอัครมเหสีแล้ว ยังได้ทรงสถาปนาตำแหน่ง พระราชชายา ขึ้นเป็นพระอิสริยยศของพระภรรยาเจ้าอีกตำแหน่งด้วย ดังนั้นลำดับชั้นพระอิสริยยศของพระมเหสีในรัชกาลที่ 5 จึงได้รับการจัดลำดับใหม่ภายหลัง ดังนี้

พระบรมราชินีนาถ --- สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (พระอัครมเหสี)

พระบรมราชเทวี และพระอรรคราชเทวี --- สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี

พระวรราชเทวี

พระราชเทวี --- พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี

พระอัครชายา ---- เช่น พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ

พระราชชายา ---- พระราชชายาเจ้าดารารัศมี

ว่าด้วยเรื่อง ... พระยศของพระราชนัดดา


ตามที่หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีประสูติกาลพระโอรสนั้น นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีแก่พสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะพระราชวงศ์จักรี จะทรงมีสมาชิกซึ่งเป็นพระราชนัดดาเพิ่มอีกหนึ่งพระองค์

รอยใบลานจึงขอนำความรู้เกี่ยวกับพระยศของเจ้านายหลานเธอมาให้อ่านกันครับ พระราชนัดดา ของพระเจ้าแผ่นดินนั้น ตามธรรมเนียมแล้วจะทรงมีพระยศแตกต่างกันออกไปตามศักดิ์ของพระมารดา แต่ทั้งนี้ก็ต้องเป็นไปโดยพระบรมราชวินิจฉัยเป็นหลัก เพราะในบางครั้งพระราชนัดดาบางพระองค์ก็อาจได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเกียรติยศเป็นพิเศษ เจ้านายชั้นหลานเธอนี้มิได้หมายความเฉพาะ หลานปู่ หรือ หลานตาของพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงพระภาคิไนย และพระภาติยะของพระองค์ด้วย ในบทความนี้รอยใบลานจะขอกล่าวถึงพระราชนัดดาที่มีพระสกุลยศเป็นพระองค์เจ้า กับหม่อมเจ้าเท่านั้น เนื่องจากพระราชนัดดาที่ทรงเป็นเจ้าฟ้านั้น ตามธรรมเนียมก็คือพระราชโอรสธิดาของพระมหากษัตริย์ที่ประสูติจากพระมเหสีเทวี หรือพระราชมารดาที่เป็นเจ้าฟ้า เช่น สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาบำราบปรปักษ์ พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 1 ซึ่งทรงเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 กับเจ้าฟ้ากุณฑล นอกจากนี้ยังมีกรณีเจ้าฟ้าหลานเธอ ซึ่งประสูติแต่พระมารดาที่เป็นเจ้าฟ้า จะทรงมีศักดิ์แตกต่างกันตามศักดิ์ของพระบิดา เช่น เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด พระราชภาคิไนยในรัชกาลที่ 1 ซึ่งเจ้าฟ้าหลานเธอในลักษณะนี้ปรากฏเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 1 เนื่องจากติดด้วยธรรมเนียมที่ว่าเจ้าฟ้าหญิงจะต้องทรงเสกสมรสกับผู้ที่คู่ควรแก่ฐานันดรศักดิ์

เจ้านายหลานเธอชั้นพระองค์เจ้า จะใช้คำนำหน้าพระนามต่างกันออกไปตามพระเกียรติยศ ดังนี้

พระจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า

พระราชนัดดาที่จะใช้คำนำหน้าพระนามว่า พระเจ้าหลานเธอ หรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ นั้น มีกฎเกณฑ์ดังนี้

1. เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งพระบิดาเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชร่วมพระบรมราชชนกแลพระบรมราชชนนีเดียวกันกับพระเจ้าแผ่นดิน ประสูติจากพระชายาเอก ซึ่งพระราชทานให้เป็นสะใภ้หลวง เช่น พระโอรสธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ กับหม่อมราชวงศ์สว่าง และพระโอรสธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช กับหม่อมแม้น ซึ่งทั้ง 2 พระองค์ เป็นพระอนุชาร่วมพระครรโภทรเดียวกับรัชกาลที่ 5

2. พระราชนัดดาของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งมีพระบิดาเป็นเจ้าฟ้า และพระมารดาเป็นพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า เช่น

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงศบริพัตร พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กับหม่อมเจ้าประสงค์สม

4. พระราชนัดดา (หลานตา) ของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระเกียรติยศเป็นพิเศษ เช่น

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ พระธิดาในสมเด็จพระลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กับ น.อ.วีระยุทธ ดิษยะศริน

3. หม่อมเจ้า ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณยกขึ้นเป็นพระองค์เจ้า เช่น

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ พระโอรสในสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กับหม่อมคัทริน เนื่องจากรัชกาลที่ 6 ทรงพระเมตตาโปรดปรานว่าเป็นพระราชภาติยะ (หลานลุง) เพียงพระองค์เดียวในสมเด็จพระอนุชาธิราชร่วมพระครรโภทร

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และหม่อมเจ้าทิพยสัมพันธ์

ซึ่งทั้งสองพระองค์นี้ได้รับพระเกียรติยศเป็นพิเศษเฉพาะพระองค์ มิได้สืบไปถึงพระทายาท โอรสธิดาที่ยังคงเป็นหม่อมราชวงศ์ ซึ่งตามปกติเจ้านายชั้นนี้ทรงมีพระทายาทเป็นหม่อมเจ้า

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า

พระราชนัดดาที่ทรงใช้คำหน้าพระนามว่า พระวรวงศ์เธอ นั้น เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งพระบิดาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก แต่พระมารดาเป็นสามัญชนที่เป็นสะใภ้หลวง ซึ่งได้เลื่อนขึ้นจากหม่อมเจ้าในสมัยรัชกาลที่ 6 - 7 และทำให้พระโอรสธิดาที่ประสูติหลังจากประกาศนี้ มีพระยศเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ทุกพระองค์ตั้งแต่แรกประสูติ เช่น

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ (หม่อมเจ้าสุขุมาภินันท์) ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช (หม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช) ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช ในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ กับหม่อมสังวาลย์

นอกจากนี้พระราชนัดดาที่มีพระบิดาเป็นพระองค์เจ้า และพระมารดาเป็นพระองค์เจ้า ก็ใช้คำนำหน้าพระนามว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ด้วย เช่น

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล

หม่อมเจ้าหลานเธอ

พระราชนัดดาในสมเด็จเจ้าฟ้า เจ้าต่างกรม พระองค์เจ้า ที่พระมารดาเป็นสามัญชนตั้งแต่หม่อมราชวงศ์ลงไป เจ้านายหลานเธอชั้นนี้ทรงมีพระทายาทเป็นหม่อมราชวงศ์ เช่น

หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล พระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กับหม่อมสุจาริณี

“สมเด็จพระบรมราชกุมารี”

เขียนโดย ... รอยใบลาน

ข้อมูลใน เว็บนี้ได้รับการแก้ไขครั้งล่าสุด 05/11/06


“... อนึ่ง ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ทรงพระเจริญเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ ปฏิบัติพระองค์ตามขัตติยราชกุมารี สนองพระเดชพระคุณในพระราชภารกิจที่ทรงมอบหมายแทนพระองค์ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี กอปรทั้งมีพระหฤทัยเปี่ยมไปด้วยความรักชาติ ศาสนาและมีพระหฤทัยจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง ในมหามงคลสมัยการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษานี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยศักดิ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ เพื่อเป็นเกียรติประวัติตามโบราณราชประเพณีในมหามงคล สมัยเฉลิมพระชนมพรรษา...”

วันที่ 5 ธันวาคม 2520 ในงานพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคมเพื่อรับการถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชกุมารี ดังปรากฎในประกาศสถาปนาความว่า

“... สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้ กอปรด้วยพระจรรยามารยาทเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติขัตติยราชกุมารีทุกประการ เป็นที่รักใคร่นับถือ ยกย่องสรรเสริญพระเกียรติคุณกันอยู่โดยทั่วไป บัดนี้ทรงพระเจริญวัยสมบูรณ์ด้วยพระเกียรติคุณดังกล่าวมา สมควรได้รับพระราชทานสถาปนาพระอิสริยยศและพระอิสริยยศักดิ์ให้สูงขึ้น ให้ทรงรับพระราชบัญชาและสัปตปฎลเศวตรฉัตร เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไปตามโบราณขัตติยราชประเพณี
จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ เฉลิมพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร สยามบรมราชกุมารี…”

ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของราชวงศ์จักรีที่เจ้านายฝ่ายในชั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็นพิเศษ ให้ดำรงพระอิสริยยศสูงสุดถึง “สมเด็จพระ” ในตำแหน่งสมเด็จพระบรมราชกุมารี อันมีพระเกียรติยศรองลงไปจากตำแหน่งสมเด็จพระยุพราช สยามมกุฎราชกุมาร

หากเราย้อนกลับไปดูในประวัติศาสตร์การสถาปนาพระอิสริยยศเจ้านายฝ่ายในในสมัยรัตนโกสินทร์ เราจะพบว่าพระอิสริยยศสูงสุดที่เจ้านายชั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า เคยได้รับ คือ "กรมหลวง" เช่น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 5 เป็นต้น ส่วนพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ฝ่ายในชั้นเจ้าฟ้าเคยได้รับพระอิสริยยศสูงสุดเป็นที่ "กรมสมเด็จพระ" หรือ "กรมพระยา" ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาเทพสุดาวดี พระเจ้าพี่นางเธอพระองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 1 และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร

โดยพระอิสริยยศ "กรมสมเด็จพระ" นั้น มีขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามพระอัฐิสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดขึ้นเป็น "กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์" ในตำแหน่งสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมกันนั้นโปรดให้เปลี่ยนพระนามกรมสมเด็จพระพันปีหลวงในรัชกาลก่อนๆ เป็น "กรมสมเด็จพระ" ด้วยทุกพระองค์

พระอิสริยยศ "กรมสมเด็จพระ" นี้ นอกจากจะเป็นพระอิสริยยศสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงแล้ว รัชกาลที่ 4 ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยศสูงสุดสำหรับเจ้านายฝ่ายหน้าด้วย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศกรมขุนเดชอดิศร พระเชษฐาขึ้นเป็น "กรมสมเด็จพระเดชาดิศร" ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมพระสุดารัตนราชประยูร ซึ่งได้ถวายการอภิบาลพระองค์มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และทรงเคารพเสมอด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ฝ่ายในในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระนามว่า "พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร" ครั้นเมื่อกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูรสิ้นพระชนม์ ทรงมีพระราชดำริว่าแม้จะทรงยกย่องให้มีพระอิสริยยศเสมอด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี แต่พระเกียรติยศบางอย่างยังเว้นอยู่มิได้พระราชทาน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานสัตปฎลเศวตรฉัตร และใช้คำว่า "สวรรคต" ในบาดหมายราชการทั้งปวง แต่กระนั้นในงานถวายพระเพลิงพระศพก็ต้องถวายต่อจากพระบรมศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำริให้เปลี่ยนพระอิสริยยศ "กรมสมเด็จพระ" เป็น "กรมพระยา" จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ซึ่งเคยดำรงพระอิสริยยศ "กรมสมเด็จพระ" เป็น "กรมพระยา" ทุกพระองค์ เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาบำราบปรปักษ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร เป็นต้น ส่วนพระอิสริยศแห่งสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงนั้น โปรดให้เปลี่ยนจาก "กรมสมเด็จพระ" เป็น "สมเด็จพระ" ในคราวที่ทรงเฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เป็นสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พร้อมกันนั้นโปรดให้เฉลิมพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมราชชนนีในรัชกาลก่อนๆ ซึ่งเคยทรงศักดิ์เป็นพระอัครมเหสีขึ้นเป็น "สมเด็จพระ" แล้วเปลี่ยนคำว่า "มาตย์" ในท้ายพระนามเป็น "บรมราชินี" ทุกพระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เว้นแต่กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัยเพียงพระองค์เดียว ที่ได้รับการเฉลิมพระนามเป็น "สมเด็จพระศรีสุลาลัย" ในตำแหน่งสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องจากมิได้ทรงเป็นพระอัครมเหสีในรัชกาลก่อน อีกทั้งยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมนามอัฐิของเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม พระชนนีในสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ เป็น "สมเด็จพระปิยะมาวดีศรีพัชรินทรมาตา"

มาในรัชกาลปัจจุบันได้ทรงพระราชทานพระอิสริยยศ "สมเด็จพระ" ให้กับเจ้านายฝ่ายหน้าเป็นครั้งแรกเมื่อครั้งที่ทรงเฉลิมพระนามพระอัฐิสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชชนก เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก มีพระเกียรติยศเสมอด้วยสมเด็จพระบวรราชเจ้าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทุกประการ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ขึ้นเป็น "สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี" ในคราวเดียวกันนั้นด้วย จนกระทั่งในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 50 พรรษา และเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติได้หมื่นวันเศษ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรฯ ให้มีพระอิสริยยศเป็นที่ "สมเด็จพระ" ในตำแน่งสมเด็จพระบรมราชกุมารี เฉลิมพระนามว่า "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี"

ตำแหน่งสมเด็จพระบรมราชกุมารีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นใหม่ในครั้งนี้ ผู้รู้หลายๆ ท่านให้ความเห็นว่าพระอิสริยยศของสมเด็จพระเทพฯ นี้เทียบเท่ากับ "กรมสมเด็จพระ" ในสมัยโบราณ เพราะสมเด็จพระเทพฯ ทรงรับสัตปฎลเศวตรฉัตร และได้เครื่องประกอบพระอิสริยยศเสมอด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เช่นเดียวกับกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร (ภายหลังเป็น "กรมพระยา") ซึ่งทรงรับสัตปฎลเศวตรฉัตร และทรงมีพระเกียรติยศเสมอด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี แต่หากนำไปเปรียบเทียบกับพระยศสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาเทพสุดาวดี ซึ่งมีความตอนหนึ่งในประกาศสถาปนากรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ ว่าทรงมีพระยศเสมอด้วย "กรมสมเด็จพระ" นั้น จะเห็นว่าสมเด็จพระเทพฯ ทรงมีพระยศสูงกว่า แต่หากนำไปเปรียบเทียบว่าตำแหน่ง "สมเด็จพระบรมราชกุมารี" เทียบเท่ากับ "กรมสมเด็จพระ" ของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่มิได้เป็นพระอัครมเหสีในรัชกาลก่อนๆ นั้นก็คงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะพระเกียรติยศหลายอย่างมิได้พระราชทานให้ทรงสูงศักดิ์ถึงเพียงนั้น แต่หากจะเปรียบเทียบการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ในครั้งนี้น่าจะคล้ายคลึงกับเมื่อครั้งที่รัชกาลที่ 7 ทรงเฉลิมพระอิสริยยศสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช ขึ้นเป็นพิเศษให้ทรงศักดิ์สูงกว่าสมเด็จเจ้าฟ้าต่างกรมธรรมดา โดยโปรดให้เฉลิมพระนามว่า "สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช" ทรงศักดินา 100,000 เสมอด้วยกรมพระราชวังบวรฯ แต่ยังคงรับฉัตร 5 ชั้น เช่นเดียวกับสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยา เหมือนเดิม เมื่อสิ้นพระชนม์ก็โปรดให้ใช้ "ทิวงคต" เช่นสมเด็จเจ้าฟ้าที่ได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็นพิเศษ

ดังนั้นตำแหน่ง "สมเด็จพระบรมราชกุมารี" จึงเป็นการเฉลิมพระอิสริยยศเป็นพิเศษเฉพาะพระองค์ ให้ทรงศักดิ์สูงกว่าเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในธรรมดา และน่าจะมีพระยศสูงกว่า "กรมสมเด็จพระ" หรือ "กรมพระยา" ฝ่ายใน เพราะความแจ้งอยู่ในประกาศสถาปนาแล้วว่า นอกจากจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัตปฎลเศวตรฉัตร ประกอบพระเกียรติยศแล้ว ยังโปรดให้สมเด็จพระเทพฯ ทรงรับพระราชบัญชา เสมอด้วยคำสั่งของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข(วังหลัง) อีกด้วย

สำหรับเครื่องยศของสมเด็จพระเทพฯ ที่ระบุไว้ในหมายกำหนดการพระราชพิธีมีดังนี้

1. พานพระศรีทองคำลงยา เครื่องพร้อม 1 ชุด

2. หีบพานพระศรีทองคำลงยา ตราพระจุลมงกุฎประดับเพชรเครื่องพร้อม 1 ชุด (รับพระราชทานจากพระหัตถ์)

3. พานทองรองหีบพระศรี 1 ชุด

4. พระสุพรรณศรีทองคำลงยา

5. ทองคำรูปกระบอกมีถาดรอง

6. ขันน้ำเสวยทองคำลงยา มีจอกทอง

7. ขันสรงพระพักตร์ทองคำลงยา พร้อมพานรอง

นอกจากนี้ยังได้รับพระราชทานพระที่นั่งกงประกอบพระเกียรติยศด้วยอีกอย่างหนึ่ง

สำหรับตำแหน่งสมเด็จพระบรมราชกุมารี อันเป็นพระอิสริยยศของสมเด็จเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในที่ได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็นพิเศษนี้ ทรงมีพระเกียรติยศบางประการที่ยกเว้นมิได้พระราชทานให้เสมอด้วยเจ้านายที่ทรงสัตปฎลเศวตรฉัตร ดังมีรายละเอียดดังนี้

1) การบรรเลงเพลงรับ และส่งเสด็จ

สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระยุพราช สยามมกุฎราชกุมาร จะเสด็จฯ ไปในงานพิธีใด ไม่ว่าจะแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือไม่ จะใช้เพลงสรรเสริญพระบารมี บรรเลงรับและส่งเสด็จฯ ส่วนสมเด็จพระบรมราชกุมารี ใช้เพลงมหาชัย รับและส่งเสด็จฯ แต่หากเสด็จฯ แทนพระองค์เมื่อถึงที่ประทับเรียบร้อยแล้ว จึงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นการเปิดงาน และปิดงาน

2) ธงประจำพระอิสริยยศ

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี ทรงใช้ธงราชินี เป็นธงประจำตำแหน่งพระอัครมเหสี

สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงใช้ธงบรมราชวงศ์ เป็นธงประจำตำแหน่งสมเด็จพระบรมราชชนนี

สมเด็จพระยุพราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงใช้ธงเยาวราช เป็นธงประจำตำแหน่งรัชทายาท

สมเด็จพระบรมราชกุมารี ทรงใช้ธงราชวงศ์ฝ่ายใน เป็นธงประจำตำแหน่งเสมอด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้า

3) คำสั่ง

พระราชเสาวนีย์ ใช้กับสมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมราชชนนี

พระราชบัณฑูร, พระราชดำรัสสั่ง ใช้กับสมเด็จพระยุพราช เสมอด้วยสมเด็จพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

พระราชบัญชา, พระราชดำรัสสั่ง ใช้กับสมเด็จพระบรมราชกุมารี เสมอด้วยกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข

4) การใช้คำเนื่องในงานบำเพ็ญกุศลวันเกิด

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ใช้ว่า "วันเฉลิมพระชนมพรรษา"

สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช ใช้ว่า "บำเพ็ญพระราชกุศเฉลิมพระชนมพรรษา" หรือ "บำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระชนมายุ"

ส่วนสมเด็จพระบรมราชกุมารี ใช้ว่า "บำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระชนมายุ" ได้เพียงอย่างเดียว





 

Create Date : 28 มกราคม 2551    
Last Update : 28 มกราคม 2551 16:31:03 น.
Counter : 826 Pageviews.  

1  2  3  

LowLow
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add LowLow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.