โลกนี้มีเรื่องราวดีๆ ไว้ให้แบ่งปันกันมากมาย

SmartBusinessman : ปลูกฝังค่านิยม "ร่วม"

โดย...ดร.เกศรา รักชาติ ketsara_rugchart@yahoo.com

คุณเคยถูกคาดหวังให้ทำตัว หรือมีพฤติกรรมอย่างไรในองค์กรจากเจ้านาย หรือเพื่อนร่วมงานมั้ยคะ ดิฉันถามเช่นนี้ ก็เพราะว่าระยะสองสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมทำงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ 3-4 องค์กร ในฐานะที่ปรึกษาและวิทยากรหัวข้อ ค่านิยมร่วมและการสร้างวัฒนธรรมองค์กรค่ะ

บางองค์กรมีค่านิยมร่วมหรือตัววัฒนธรรมองค์กรที่พึงประสงค์เรียบร้อยแล้ว บางองค์กรกำลังเริ่มตั้งหลักค้นหากันอยู่ บางองค์กรมีทีเด็ดมีโปรแกรมให้พนักงานมีความฝัน มีความหวัง มีการเรียนรู้ มีการค้นหาความปรารถนาที่ซ่อนอยู่ภายใน มีการค้นหาความหมายต่อการทำงานในแต่ละวัน ด้วยการส่งเสริมให้พนักงานเขียนวิสัยทัศน์ส่วนตนเกี่ยวกับวิชาชีพของตนเอง

ดิฉันเลยขอถือโอกาสนำเอาประสบการณ์ที่ได้ในช่วง 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา มาคุยกับท่านผู้อ่านค่ะ

เรามาเริ่มจากองค์กรที่มีการกำหนดค่านิยมร่วมขององค์กรมาเรียบร้อยแล้วก่อนค่ะ ซึ่งองค์กรนี้ได้ผ่านช่วงของการสื่อสาร และการประชาสัมพันธ์ให้พนักงานในองค์กรได้มีการตระหนักรับรู้ (Awareness) ถึงตัวค่านิยมร่วมหรือวัฒนธรรมองค์กรมาเรียบร้อยแล้ว โดยพนักงานส่วนใหญ่รับรู้ รับทราบว่านี่คือค่านิยมองค์กร

ดิฉันได้ลองให้ผู้บริหารซึ่งเป็นระดับผู้จัดการยกตัวอย่างว่า ในช่วง 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา พวกเขาได้ปฏิบัติตัวอย่างไรบ้างในการแสดงออกว่าได้ปฏิบัติตามค่านิยมร่วมหรือวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งแต่ละท่านก็ได้ยกตัวอย่างว่า ได้ปฏิบัติตามค่านิยมขององค์กร โดยในแต่ละตัวอย่างจะมีพนักงานเข้ามาเกี่ยวข้องในซีน (scene) ตลอด

คำถามย้อนกลับค่ะว่า แต่ละท่านได้บอก ได้กล่าวกับลูกทีมหรือไม่ว่าสิ่งที่ได้ทำร่วมกันนั้นเรากำลังปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรอยู่

คำตอบที่ได้คือ “ไม่ได้บอก” แถมยังไม่ได้ชม อีกต่างหาก

ได้ทีดิฉันเลยให้ข้อแนะนำไปว่า ในฐานะที่เป็นผู้จัดการ พวกเขาต้องมีบทบาทหน้าที่อย่างไรในเรื่องการปลูกฝัง ปลุกจิตสำนึกในการที่จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรที่พึงประสงค์ และซึมลึกลงไปในสายเลือดได้ โดยที่เขาไม่ต้องรู้สึกว่าองค์กรชอบทำอะไรแบบไฟไหม้ฟาง ประเภทเห่อกันตอนแรกๆ แล้วอีกซักพักก็จะค่อยๆแผ่วไป สุดท้ายก็หายไปจริงๆ

ข้อแนะนำให้ระดับผู้จัดการที่จะทำการปลูกฝังเรื่องวัฒนธรรมองค์กรให้กับลูกทีม

ประการแรก ทุกครั้งที่มีการประชุมของทีมตนเองก่อนเริ่มประชุมควรพูดเปิดโดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ ค่านิยมร่วม หรือวัฒนธรรมองค์กร โดยใช้เวลาประมาณ 3-5 นาที ก่อนเข้าเนื้อหาการประชุม

ยกตัวอย่างเช่น บริษัทบางแห่ง มีค่านิยมเรื่อง ความปลอดภัยหรือ Safety ดังนั้นก่อนเริ่มประชุมจะมีการแจ้งทุกครั้งว่าหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ขอให้ทุกคนอยู่ในความสงบและรอฟังเสียงสัญญาณอพยพ และแจ้งทางหนีไฟให้ผู้เข้าร่วมประชุมอย่างละเอียด และให้ไปรวมพลกันที่ไหน องค์กรแห่งนี้จะแจ้งเรื่องนี้ทุกๆ ครั้งไม่ว่าจะเป็นการประชุมที่มีการดำเนินการในหรือนอกสถานที่

อีกองค์กรหนึ่งที่ดิฉันประทับใจ CEO มากคือ ก่อนการประชุม CEO จะขอให้ผู้เข้าร่วมประชุมปิดเสียงโทรศัพท์มือถือ โดย CEO เอาโทรศัพท์ของตนเองปิดให้ดูด้วย และขอไม่ไห้มีการรับโทรศัพท์ขณะประชุม เพราะต้องการให้ผู้เข้าร่วมประชุมจดจ่ออยู่กับการประชุม และเป็นการฝึกค่านิยมร่วมคือการเคารพต่อซึ่งกันและกันด้วย (Mutual Respect)

ประการที่สอง ผู้จัดการยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในหน่วยงาน หรือองค์กร ที่สามารถสื่อถึง การปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กร เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกัน หรือเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมทำการเล่าถึงประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงบ้างและต้องให้ feedback ที่เหมาะสมกับผู้ที่ได้ทำตามวัฒนธรรมองค์กรด้วย

สาม จัดทำป้าย Ground Rules ติดไว้ในห้องประชุมประมาณ 3-4 ป้ายในห้องประชุม โดยเขียนพฤติกรรมที่สำคัญบางพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมร่วมหรือวัฒนธรรมองค์กรเอาไว้ เพื่อจะได้ตอกย้ำให้เห็นอย่างชัดเจน โดยอาจจะมีการเปลี่ยนรูปแบบของป้ายบ้างเพื่อจะได้รู้สึกไม่น่าเบื่อ หรือเห็นจนชาชิน แล้วมองข้าม Ground Rules ไป

สี่ ก่อนออกจากห้องประชุมหรือทุกครั้งที่มีโอกาสอย่าลืมทำการเน้นย้ำ และกระตุ้นเตือนให้พนักงานทุกคนร่วมมือในการปฏิบัติตามค่านิยมร่วมหรือวัฒนธรรมองค์กร อย่างสม่ำเสมอ

ประการที่ห้า- ทำตัวให้พนักงานเห็นเป็นตัวอย่าง เสมอๆ ในการเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามค่านิยมร่วม หรือเป็น Role Model

ส่วนพนักงานเองก็ใช่ว่าจะเฝ้ามองและรอให้ผู้บริหารทำก่อนแล้วตัวเองถึงจะลงมือทำในเรื่องการปฏิบัติตามค่านิยมหรือวัฒนธรรมองค์กร

หลายๆ ครั้งดิฉันมักจะได้ยินเพื่อนๆ พนักงานบ่นให้ฟังเสมอๆว่า “พวกเราเปลี่ยนไม่ยากหรอก ขอให้นายเปลี่ยนก่อนแล้วพวกเราจะเปลี่ยนตาม”

ไม่เถียงค่ะว่าปัจจัยหลักที่จะทำให้พนักงานมีพฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยนไปตามที่องค์กรต้องการคือปัจจัยเรื่องภาวะผู้นำ หรือ Leadership แต่หากว่าปัจจัยที่ว่านี้เป็นสิ่งที่พนักงานควบคุมไม่ได้ เราก็อย่านำมาเป็นสิ่งที่จะทำให้เราเสียศูนย์ในการทำงานที่เราควรจะต้องเคารพต่ความเป็นมนุษย์ในตัวเราเลย จริงไหมคะ

ดังนั้นหากอยู่ในองค์กรที่ได้กำหนดค่านิยมร่วมขึ้นมาแล้ว ในฐานะที่เป็นพนักงานคนหนึ่ง สิ่งที่เราต้องทำคือ

หยิบเอาคู่มือค่านิยมร่วมหรือคู่มือวัฒนธรรมองค์กรมาอ่าน มาทบทวน ว่าพฤติกรรมที่องค์กรกำหนดเอาไว้ในแต่ละค่านิยมมีอะไรบ้าง ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้

เมื่อรู้ว่าตัวเราในฐานะที่เป็นพนักงานขององค์กรนี้ถูกคาดหวังว่าต้องทำอะไร อย่างไรในที่ทำงาน (I know what is expected of me at work) ก็ต้อง "ลงมือ" ทำตามที่ถูกคาดหวัง เพราะองค์กรจ้างเรามา จ่ายเงินเดือนให้เรา เขามีสิทธิที่จะคาดหวังให้ทำตามพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้ในค่านิยมร่วมค่ะ

และหากเราในฐานะที่เป็นทั้งผู้บริหารและพนักงานได้ อ่านและพิจารณาพฤติกรรมที่องค์กรได้กำหนดไว้ในคู่มือค่านิยมร่วมดีๆ แล้ว เราจะเห็นว่าแต่ละองค์กรก็มุ่งเน้นและเคารพพนักงานของตัวเองเป็นมนุษย์ทำงานที่มีคุณค่าทั้งนั้น

ดิฉันยังไม่เคยเห็นองค์กรไหนกำหนดค่านิยมร่วมที่สอนให้พนักงานตนเองเป็นคนไม่ดีเลยค่ะ พวกเรามนุษย์ทำงานมาสืบสานปณิธานสู่การทำงานอย่างมีความสุขกันเถอะค่ะ

-------------


ในฐานะที่เป็นผู้จัดการ พวกเขาต้องมีบทบาทหน้าที่อย่างไรในเรื่องการปลูกฝัง ปลุกจิตสำนึกในการที่จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรที่พึงประสงค์ และซึมลึกลงไปในสายเลือดได้

โดย ดร.เกศรา รักชาติ: Ph.D. Leadership and Human Behavior ผู้มีประสบการณ์ตรงจากการสร้าง Learning Organization วิทยากรและที่ปรึกษาทางด้าน Learning Organization, Leadership, Coaching, Communication & Interpersonal Skills, ทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาองค์กร

ที่มา : //www.bangkokbizweek.com/Bschool-24-11-2549


Create Date : 27 พฤศจิกายน 2549
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2549 2:06:06 น. 0 comments
Counter : 1310 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sriphat
Location :
ภูเก็ต Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




โลกนี้มีเรื่องราวดีๆ ไว้ให้แบ่งปันกันมากมาย
New Comments
[Add sriphat's blog to your web]