โลกนี้มีเรื่องราวดีๆ ไว้ให้แบ่งปันกันมากมาย

มาร์เก็ตติ้งกูรู : ขอพูดเรื่อง blue ocean strategy บ้าง

นายพอดี

Blue Ocean strategy ถือว่าเป็นแนวทางการตลาดใหม่ที่ฮิตที่สุดในตอนนี้

เป็นวิธีการที่พยายามออกจากตลาดสีเลือด ที่เรียกว่า red ocean ที่แข่งขันกันดุเดือด ช่วงชิงตลาดเดิมๆ ที่กำไรหดลงทุกที ไปหาน่านน้ำใหม่ ด้วยวิธีการใหม่ๆ ไม่สนใจคู่แข่งขันในปัจจุบัน แต่มุ่งหาตลาดใหม่ มุมมองใหม่ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงจากตลาดเดิมที่กำลังจะตาย หรือไม่เหลือกำไรให้แสวงหาจากการแข่งขันที่เข้มข้นรุนแรง

ในหนังสือชื่อดังนี้ ก็ยกตัวอย่างของคณะละครสัตว์ที่เปลี่ยนตัวเองจากคณะละครสัตว์น่าเบื่อแบบเดิมๆ ให้เป็นละครสัตว์ทันสมัยที่ดึงดูดผู้ชมทุกเพศทุกวัย ไม่ได้ยึดติด

พูดถึงไวน์จากออสเตรเลียที่บุกตลาดอเมริกา ทลายกำแพงความซับซ้อนของไวน์โดยนำเสนอความเรียบง่าย เข้าใจง่ายให้กับคนทั่วไป

พูดถึงอีกหลายๆ กรณีที่มีการบุกตลาดใหม่ๆ วิธีคิดใหม่ๆ และทำให้เกิดแนวทางใหม่

บนแนวคิด ให้เลิกในสิ่งที่ไม่จำเป็นหรือไม่มีความต้องการ ให้เพิ่มสิ่งที่ดีอยู่แล้ว ให้ลดสิ่งที่ไม่จำเป็น และให้สร้างกระบวนการหรือแนวทางใหม่ๆ

ฟังๆ ดูแล้วก็เหมือนกับเป็นแนวทางต่อเนื่องจากเรื่องการแสวงหาความต่าง การคิดนอกกรอบ และการสร้าง positioning ที่เคยฮิตมาก่อน

มีหลายๆ บริษัทได้อ้างถึง blue ocean ได้พูดถึง product ที่ตัวเองคิดว่าดำเนินแนวทาง blue ocean ผมเห็นถึงบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งหนึ่ง สร้างปุ่มอะไรพิเศษซักอันหนึ่งแล้วเรียกว่าเป็นปุ่มใหม่ที่ไม่มีใครมี และสร้างจากแนวคิด blue ocean

ส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่า การรีบอ้างอิง และพยายามทำ “blue ocean” ในบริษัทด้วยการสร้าง “ผลิตภัณฑ์” อะไรบางอย่างที่คิดว่าไม่เหมือนใคร เป็นแค่กระพี้ของเรื่องนี้ และเหมือนกับความพยายามที่จะคิดนอกกรอบหรือหา differentiation ในอดีต ผมคิดว่าวิธีนี้มัน “ง่าย” ไปมาก

อะไรที่ง่ายไป คู่แข่งที่ตัวใหญ่กว่าก็ copy ง่าย และเราก็หนีไม่พ้น red ocean เหมือนเดิม เพียงแต่หลอกตัวเองนิดหน่อยให้เท่และเข้ากับสมัยเท่านั้นเอง

แนวทางที่จะหา Blue ocean strategy น่าจะต้องเริ่มจาก “ราก” ของบริษัท ก็คือเหล่าพนักงานและผู้บริหาร เป็นหลัก มากกว่าที่จะพยายามสร้าง killer product ไม่มีประโยชน์อะไรที่ผู้บริหารไม่กี่คนอยากหาทะเลใหม่ๆ และสร้าง product อะไรซักอย่างที่คู่แข่งสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย ทำไม่กี่ครั้งก็ท้อ เพราะองค์กรไม่เอาด้วย

แก่นของ blue ocean น่าจะอยู่ที่ทัศนคติขององค์กรเป็นจุดเริ่ม ความคิดร่วมกันที่ต้องการหา “ทะเล” ใหม่ๆ เพราะที่ที่อยู่นั้นสู้ไม่ได้ หรืออยู่ไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้ทั้งองค์กรเคลื่อนไปด้วยกันตั้งแต่พลังสร้างสรรค์ในการหาไอเดียใหม่ พลังในการผลักดันให้เกิดขึ้น และความร่วมมือร่วมใจทั้งองค์กร

เพราะในที่สุดแล้ว product ที่คิดได้ ก็อาจจะถูก copy อาจจะล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า แต่พลังที่มีจะทำให้องค์กรไม่ยอมแพ้ และหาทางใหม่ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนได้พบ “ทะเลสีน้ำเงิน” ที่ต้องการได้

ผมว่าหนังสือไม่ได้พูดเรื่องนี้ชัดนัก แต่เป็นแก่นของ strategy นี้ในความเห็นของผมครับ

ที่มา : //www.bangkokbizweek.com / Marketing 27-10-2549


Create Date : 27 พฤศจิกายน 2549
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2549 19:08:09 น. 0 comments
Counter : 756 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sriphat
Location :
ภูเก็ต Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




โลกนี้มีเรื่องราวดีๆ ไว้ให้แบ่งปันกันมากมาย
New Comments
[Add sriphat's blog to your web]