โลกนี้มีเรื่องราวดีๆ ไว้ให้แบ่งปันกันมากมาย

CFO ต้องเป็นผู้สนับสนุนที่ดีให้CEO

กรุงเทพฯ--14 ก.พ.--ข่าวหุ้น

พิชัย ชุณหวชิร

นักการเงินเบื้องหลังองค์กรพลังงานขนาดยักษ์หลายแห่งของไทย
วันนี้มันเป็นโลกที่ว่า ทุกเรื่องมันเชื่อมโยงกัน ผลจากการทำเรื่องที่หนึ่งดีผลผลิตดี สินค้ามีคุณภาพดีนำไปซึ่งการขายที่ดี เชื่อถือของลูกค้า นำไปซึ่งอำนาจการต่อรองดี จะเห็นว่ามันเชื่อมโยงกันหมด ดีจากจุดหนึ่งแล้วจะนำไปดีซึ่งอีกจุดหนึ่ง…
ผลงานที่ภูมิใจสุด คือ การนำ ปตท.สผ.เข้าตลาดหุ้น...ครั้งนั้นได้เงินมาจำนวนมาก เพราะในวันนั้น เรากำหนดกลยุทธ์ กำหนดทิศทางที่ดี มันก็ก้าวมาได้ จนทุกวันนี้มีฐานการเงินที่มั่นคง มีบุคลากรที่ดี…
กรณีปัญหาโรงกลั่นน้ำมัน Thai Oil ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ผมถือว่า เป็นกรณีที่สร้างความ "มหัศจรรย์"กับตัวเอง.....
บางคนคิดว่า การทำ Good Governance คือการทำให้ถูกต้อง แต่จริงๆแล้วไใช่เพราะ Good Governance ในที่นี้ คือ วิธีการจัดการที่ทันสมัย เพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน….
นับเป็นโอกาสดีของทีมงาน ข่าวหุ้นธุรกิจ อินไซด์กองทุน ที่ได้รับโอกาสสัมภาษณ์พิเศษดร.พิชัย ชุณหวชิร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ การเงินและบัญชีองค์กร บมจ.ปตท.หรือPTT ผู้ซึ่งถือได้ว่าเป็น superCFO ที่รับงานใหญ่ๆที่ยุ่งยากในองค์กรพลังงานรัฐวิสาหกิจของไทยหลายแห่ง
ผลงานในการบริหารเงินที่ยอดเยี่ยมของ PTT ผลงานการฟื้นฟูและปรับโครงสร้างหนี้ของไทยออยล์ ผลงานฟื้นฟูกิจการของ บมจ. บางจากปิโตรเลียม(BCP) และล่าสุด การเข้าไปทำหน้าที่ในการไฟฟ่าฝ่ายผลิต(กฟผ.) คงไม่ต้องบรรยายสรรพคุณอะไรมาก
นักการเงินเจ้าของผลงานเอกอุผู้นี้ จึงได้แสดงวิสัยทัศน์ ประสบการณ์บริหารงานด้านการเงินทั้งการเงินองค์กร และส่วนบุคคลออกมาให้ได้สัมผัสกันเป็นกรณีพิเศษ ในรูปแบบกลยุทธ์ที่เป็น "เคล็ด(ไม่)ลับ"
เริ่มต้นการสนทนา ทางทีมงานได้ขอให้พูดถึงวิสัยทัศน์การทำงานด้านการเงิน หรือคนที่ทำหน้าที่ CFO ต้องมีองค์ประกอบสำคัญอย่างไร
ดร.พิชัย บอกว่า ในฐานะที่เป็น CFO สิ่งสำคัญสุดในการทำหน้าที่ CFO คือ ต้องเป็นคนที่คอยสนับสนุน หรือ Decision Supporter ด้วยข้อมูลและกลยุทธ์ที่ถูกต้อง เพื่อให้องค์กรหรือ CEO เกิดการตัดสินใจแบบไม่มีความผิดพลาด
"การที่เราจะเป็นผู้สนับสนุนที่ดีได้ ต้องให้ความสำคัญกับวิธีบริหารจัดการ เข้าใจถึงกระบวนการที่เป็นเป้าหมายทางธุรกิจ ที่ไม่ใช่บ่งบอกถึงเพียงวิสัยทัศน์"
ที่สำคัญกว่านั้น คือ ต้องบอกถึงกลยุทธ์ ที่จะเดินไปอย่างไร
ฉะนั้นจริงๆ แล้ว CFO ต้องมั่นใจว่า ในองค์กรนั้นได้เกิดการทบทวน ว่า กลยุทธ์ไหนเหมาะกับบริษัทเอง เช่น อาจจะเป็น กลยุทธ์ ว่า ธุรกิจที่ทำอยู่อะไรเป็นตัวหลัก อันไหนสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาว อันไหนคือบริการเป็นที่ต้องการ และตอบสนองจากลูกค้า อะไรคือทิศทาง
ดังนั้น เรื่องกลยุทธ์ต้องชัดเจน
ประการต่อมา เมื่อเข้าใจการกำหนดกลยุทธ์ ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์นั้น ต้องเข้าใจอีกว่าการจะกำหนดวิธีทำให้บรรลุผล ควรรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยงว่า มีหน่วยงานใดในองค์กร ที่มีความเสี่ยงภัยบ้าง อันอาจทำให้ไม่สามารถนำกลยุทธ์นั้นไปสู่ความสำเร็จได้
ดร.พิชัย ระบุว่า จริงแล้วจะต้องมีวิธีการที่เขาเรียกว่า "การประเมินความเสี่ยง"หรือ การเข้าใจประเมินความเสี่ยง เข้าใจถึงผลลัพธ์ ถ้าเกิดความเสี่ยงขึ้น นั้น เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน มีผลกระทบรุนแรงอย่างไร หรือต้องเข้าใจในกระบวนการความเสี่ยง
"คนมักจะกล่าวกันง่ายๆว่า ความเสี่ยงอาจเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าความเสี่ยงเกิดจากอะไร แต่ทั้งวิธีการที่ลดความเสี่ยงได้ และก่อให้เกิดการทำได้ตามกลยุทธ์เป้าหมายที่วางวาง ประการหนึ่ง คือ การมั่นใจ เข้าใจวิธีการบริหารจัดการที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์ บางคนอาจเรียกว่า Good Governance ซึ่งหากสร้างได้ วิธีการจัดการจะช่วยลดความเสี่ยงได้"
ดร. พิชัยบอกอีกว่าถ้า CFO มี Good Governance แสดงว่าใน Cycle การทำงานขององค์กรนั้นจะมีวิธีประเมินความเสี่ยง มีวิธีการกำหนดกลยุทธ์ วิธีการจัดทัพ วิธีการการจัดเก็บข้อมูล และมีวิธีการวัดผล เช่น ผลการดำเนินงาน ความพึงพอใจของลูกค้า และการจัดโครงการสร้างองค์กรให้มีมีการถ่วงดุล(Check- and- Balance) ที่เหมาะสม
สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยง และจะทำให้บรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
สรุปแล้วกระบวนการที่โยงมาทั้ง 3 ประการ ก็คือ กลยุทธ์ ความเสี่ยง และ GoodGovernance
"บางคนคิดว่า การทำ Good Governance คือการทำให้ถูกต้อง แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เพราะ Good Governance ในที่นี้ คือ วิธีการจัดการที่ทันสมัย เพื่อทำให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน เพราะหากทำอะไรที่มันเป็นเพียง Good Governance อาจเติบโตได้แต่อาจไม่ยั่งยืน" ดร.คนเก่งย้ำ

CFO ในฐานะดัชนีชี้ทาง ปัจจัยอีกประการที่ทั้งผู้บริหาร CFO ต้องมีด้วย ดร. พิชัยบอกว่า ต้องเข้าใจถึงเรื่อง "บุคลากร" ที่จะเป็นเป็นคนขับเคลื่อนกิจการ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นจากบุคลากรองค์กรยังเป็นองค์กร ธุรกิจยังเป็นธุรกิจ ตัวสินค้า บริการ ทั้งหมดนี้จะถูกผลักดันด้วยบุคคลากร
ฉะนั้น จริงๆ แล้ว ในเรื่องของคน ต้องให้ความสำคัญ เพราะวันนี้ความสำคัญของคนในหลายๆ ธุรกิจก็คิดเหมือนกัน แต่ตางกันตรงที่ใครคิดได้รวดเร็วกว่า ทำรวดเร็วกว่าเพราะตอนนี้อยู่ในโลกของความรวดเร็ว
บางคนบอกว่า อยู่ในโลกของความรวดเร็วจะต้องเป็นโลกของเทคโนโลยี มีไอทีดังนั้น วันนี้กลายเป็นว่าคนที่ทำงานต้องทำกับข้อมูล เพื่อนำมาตัดสินใจ ต้องมี "ไอที" ประกอบ แต่การที่จะมีข้อมูล และเข้าใจข้อมูลนำไปซึ่งการตัดสินใจ ก็แปลว่า ในหน้าของคนๆหนึ่งจะไม่เหมือนกับสมัยก่อน
ดร. พิชัยอธิบายว่า หากจำได้ในอดีต วิธีการจัดหน้าที่บุคลากร เขาจะจัดว่า คนไหนดูงานด้านวางแผนบริษัท ใครดูแลการผลิต การตลาด นำสินค้าไปขาย ใครดูแลเรื่องการเงินก็ไปเก็บเงินจากลูกค้า หรือไปหาเงินมา ใครดูแลคนก็บริหารงานบุคคล พัฒนาคน
"วันนี้มันเป็นโลกที่ว่า ทุกเรื่องมันเชื่อมโยงกัน ผลจากการทำเรื่องที่หนึ่งดี ผลผลิตดีสินค้ามีคุณภาพดีนำไปซึ่งการขายที่ดี เชื่อถือของลูกค้า นำไปซึ่งอำนาจการต่อรองดี จะเห็นว่ามันเชื่อมโยงกันหมด ดีจากจุดหนึ่งแล้วจะนำไปดีซึ่งอีกจุดหนึ่ง ขณะนี้ เป็นโลกของ แต่ละคนที่จะต้องเห็นว่า ตั้งแต่ผู้บริหารมาถึงผู้ปฏิบัติ ต้องเข้าใจภาพรวม และความเกี่ยวโยง"
สิ่งที่ดีสุดจึงต้องสร้างคนให้มีลักษณะ Business Indicator หรือสามารถที่จะเชื่อมโยง เช่น คนที่มีหน้าที่ผลิตไม่ใช่คิดเพียงว่า ผลิตสินค้าให้ครบถ้วน แต่จะต้องคิดว่าทำอย่างไรให้สินค้าต้องมีคุณภาพ อยู่ในความต้องการของตลาด ส่งลูกค้าตรงเวลา เพื่อให้ฝ่ายขายเข้าทำงานง่าย นั่นเป็นลักษณะของ Indication
"วันนี้บุคลากรจะต้องเก่งและมีพื้นฐานรองรับเข้าใจภาพรวมที่เหลือ เพื่อให้เข้าใจเรื่องการทำงานเป็นทีมในองค์กรนั้นๆ สามารถที่จะสนับสนุนกันอย่างไร"
จึงย้อนกลับมาที่ว่า ธุรกิจต้องมี "กลยุทธ์" มี "เป้าหมาย" และในการเดินธุรกิจจะต้องนึกถึง "ความเสี่ยง" เพื่อการเติบโตแบบยั่งยืน มีหลัก Good Governance หรือ การบริหารจัดการที่ทันสมัย มีบุคคลากร ที่รอบรู้งานหลายด้าน และสิ่งที่ตามมา คือ "โครงสร้างทางการเงิน" ที่จะต้องจัดให้มีความสอดคล้องกับแผนธุรกิจ
ฉะนั้น หน้าที่ของ CFO ต้องดูว่า โครงสร้างทางการเงินเป็นโครงสร้างที่ควรระวัง ต้องวางโครงสร้างทางการเงินที่ทำให้ผลตอบแทนต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับความพึงพอใจ ทั้ง ลูกค้า เจ้าหนี้ พนักงาน สังคม
"ผลตอบแทนความพึงพอใจที่กล่าวมานั้น ไม่ใช่หมายความว่าจะต้องสูง ลิ่ว"
พิชัยกล่าวว่า หลักทั่วๆ ไป หาก CFO จัดโครงสร้างทางการเงิน เช่น ให้เงินกู้เยอะและถ้าออกมาเป็นผลสำเร็จ ผู้ถือหุ้นจะได้ผลตอบแทนดี แต่หากเกิดข้อผิดพลาดอาจเกิดผลเสียได้ ดังนั้น การจัดโครงสร้างทางการเงิน จะต้องให้มีทุนมากหน่อย ไม่น้อยเกินไป มีความเหมาะสมกับหนี้
ขณะเดียวกันพิชัย ได้บอกด้วยว่า การจัดโครงสร้างทางการเงินต้องนึกถึงการจัดการสมัยใหม่ เพราะที่ผ่านมา จะพูดถึงแต่เจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้น และพนักงาน แต่จริงๆ แล้วต้องนึกถึง"สังคม" มากขึ้น ต้องพิจารณาเรื่องการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ ที่เรียกว่า SocialReusability จะต้องสื่อออกไป หรือเดินให้เห็นชัด อันนั้นถือว่าสร้างกำไรให้กับองค์กร (ทางอ้อม)
"บางคนเห็นว่าการช่วยสังคมเป็นภาระ แต่ในหลักการทุกวันนี้ การช่วยสังคมและไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ถือเป็นการสร้างกำไรอย่างหนึ่ง อาจเป็นกำไรด้านภาพพจน์ ที่จะนำมาซึ่งกำไรในด้านอื่นๆ ด้วย หรืออาจเรียกว่า เป็น Optimized Profit เพราะยุคนี้มันเปลี่ยนไปแล้ว คงไม่มีใครที่จะได้ฝ่ายเดียว"
กุญแจความสำเร็จของCFO
เมื่อถูกถามว่า อะไรคือ กุญแจที่นำไปสู่ความสำเร็จของคนที่เป็น CFO ?
เขาบอกว่า ในฐานะตัวบุคคลคนเดียว จะต้องเข้าใจการบริหารการจัดการสมัยใหม่
เขากล่าวย้ำว่า ในตัวของของคนที่เป็น CFO เองต้องติดตามข่าวให้ทันสมัยตลอดเวลาเพราะต้องดูว่า ตนเองอยู่ในองค์กรใหญ่ใช่ไหม และถ้าเป็นองค์กรระดับประเทศ นั่นหมายความว่า การเปลี่ยนแปลงของประเทศจะมีผลกระทบต่อองค์กรเราแน่นอน นอกจากนั้นความเปลี่ยนแปลงของประเทศ จะมีปัจจัยมาจากนอกประเทศ
"CFO จะต้องเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุด ด้วยวิธีการอ่านหนังสือเอง ฟังจากคนอื่น หรือหน่วยงานที่มีข้อมูล เข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่เปลี่ยนไป"
ประการต่อมาคือ เมื่อมีนโยบายอะไรออกไปแล้วต้องเดินออกไป มี Commitmentหรือ มีคำอธิบายได้อย่างโปร่งใสในการตัดสินใจ หากทำได้แล้วจะเกิดความเข้าใจและเชื่อถือได้เร็วขึ้น
พิชัยกล่าวด้วยว่า การทำหน้าที่ CFO ไม่ว่าจะบริหารงานด้านการเงินในองค์กรที่อยู่ในตลาดหุ้น หรือนอกตลาดหุ้น ควรจะอยู่บนพื้นฐานที่เป็นหลักการเดียวกัน หากCFO ต้องการให้องค์กรเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
พร้อมอธิบายด้วยว่า การอยู่ในหรือนอกตลาดหุ้น จะต้องติดต่อผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ ลูกค้าพนักงาน และหากต้องการให้เติบโตอย่างยั่งยืน ต้องใช้หลักปฏิบัติอย่างเดียว ส่วนสิ่งที่ต่างกัน คือ ผู้ถือหุ้นที่ต่างกัน และบริษัทที่อยู่ในตลาดจะเป็นองค์กรที่ใหญ่ในระบบการบริหาร
"การจัดการที่ดี จะต้องอยู่ในแนวทางเดียวกัน เพื่อรองรับกับกิจการที่จะเติบโตในอนาคต เพราะถึงแม้จะอยู่นอกตลาด ทุกคนต้องการความมั่นใจจากคนที่เกี่ยวข้อง เพียงแต่ว่า ในช่วงที่ยังไม่ได้เข้ามา เราจะต้องขยันในการที่จะให้ข้อมูลและต้องเท่าเทียมกันรวดเร็ว แต่หากอยู่นอกตลาด อาจให้ช้าหน่อยก็ได้"

ผลงานเด่นที่น่าภูมิใจ เมื่อทีมงาน อินไซด์กองทุน ถามถึงผลงานด้านการเงินของ CFO ที่พึงพอใจ ดร.พิชัย บอกว่ามีอยู่ 2-3 ชิ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ทำงานอยู่กับ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ(PTTEP) และกำลังเข้าตลาดหุ้น
"จริงๆ แล้วผมไม่ได้เป็นคนที่ต้องการฟันธงว่า ต้องการแปรรูปกิจการตัวไหน แต่คิดว่า แต่ละตัวไม่เหมือนกันเพราะบางตัวไม่จำเป็น แต่หากจะบอกว่า การแปรรูปทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นก็คิดว่ามันคือเรื่องจำเป็น"
ดร.พิชัยกล่าวว่า ถ้าแปรรูปเพื่อนำไปขาย ขายมากหรือ ขายน้อยก็ย่อมไม่เหมือนกันแต่กรณีของ ปตท.สผ (PTTREP) มีลักษณะธรรมชาติของธุรกิจ คือ ลงทุนสูง เฉลี่ยต่อหลุม 10 - 15 ล้านเหรียญสหรัฐ และหากขุดแล้วไม่เจอจะไม่คุ้ม ทางออกที่ดี คือ "การร่วมทุน"
"การเข้าตลาดหุ้นในขณะนั้น ปตท.สผ. ได้เงินมาจำนวนมาก ในวันนั้น เรากำหนดกลยุทธ์ กำหนดทิศทางที่ดี มันก็ก้าวมาได้ สังเกตได้จากวันนี้มีฐานการเงินที่มั่นคง มีบุคลากรที่ดี"
ดีลต่อมาที่ พิชัย สร้างผลงานไว้ แล้วตัวเขาเองภูมิใจคือ กรณีปัญหาโรงกลั่นน้ำมันThai Oil ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งพิชัยบอกว่า เป็นกรณีที่สร้างความ "มหัศจรรย์"ให้กับตัวเขามาก เพราะเมื่อเข้าไปดูข้อมูลแล้ว กลับพบว่า มีทุนจดทะเบียนน้อยมาก เพียง 20 ล้านบาท กำไรสะสมไม่มีเลย ขาดทุนสะสมด้วย
ที่สำคัญคือมีหนี้อยู่กว่า 9 หมื่นล้านบาท!!!
"ถามว่าจะทำอย่างไรล่ะ" พิชัย กล่าวและว่า "ตอนนั้นมืดไปหมด"
เริ่มต้น พิชัย จึงเข้าไปไล่ตามมุมมอง โดยดูว่า บริษัทแห่งนี้มีมีลักษณะครบถ้วนตามหลักการสมัยใหม่หรือไม่ เพื่อให้เกิด Optimize Value ใน Long Term
"เมื่อเขาไปดูแต่ละตัวพบว่า เช่น โรงกลั่นน้ำมันก็มีความทันสมัย เพิ่งจะอัพเกรด และมาดูต่อว่ามีความจำเป็นต่อประเทศไหม ก็ใช่อีก เพราะบ้านเราใช้เยอะมาก ฉะนั้น ในทางธุรกิจถือว่าเขามาถูกทางแล้ว"
เมื่อมาดูเรื่องบุคลากร พบว่า ดีนะ แต่อาจมี "เยอะ" ไปหน่อย และมีคนที่ทำงานเป็น Functional มากเกินไป คือรู้เฉพาะด้าน เช่น การผลิต การขาย การเงิน แต่โอเคไม่เป็นไร เมื่อมันเกิด "วิกฤต" แล้วมันก็มี "โอกาส"จึงต้องมานั่งทำความเข้าใจกันถึงการเปลี่ยนแปลง
พิชัยกล่าวต่อว่า ขั้นตอนต่อไปมานั่งคิดว่า ในบริษัทฯ มีคนที่เกี่ยวข้องจะต้องทำให้องค์กรอยู่ต่อไป มีใครบ้าง ก็มี ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ และพนักงาน แล้วมาดูต่อว่าทั้ง 3 คนจะช่วยอย่างไร
"ทางฝ่ายจัดการบอกว่าจะทำเต็มที่ พนักงานคนที่คิดจะลาออก จะหางานใหม่ให้ หยุดเพิ่มเงินเดือนเป็นเวลา 3 ปี หรือออฟฟิตที่กรุงเทพก็บอกว่าอย่าอยู่เลยตรงนี้ มันไม่จำเป็นย้ายไปอยู่ที่ศรีราชาให้หมด หรืออย่างโรงงานอื่นๆ ที่คนเขาอยากซื้อ และไม่ได้เกี่ยวกับโรงกลั่นน้ำมันเท่าไหร่ ให้ขายไปเลย รักษาตัวรอดก่อน"
ส่วนหนี้ที่มีอยู่กว่า 9 หมื่นล้านบาท ตรงนี้ยากมาก เพราะมีเจ้าหนี้อยู่ 124 ธนาคารมีหุ้นกู้อยู่ส่วนหนึ่งกระจายเยอะไปหมด แต่ถึงอย่างไรความสำเร็จก็เกิดมาจากนโยบายรัฐบาลที่ว่า โรงกลั่นน้ำมันแห่งนี้ยังไงต้องอยู่ที่ประเทศไทย เพราะถึงอย่างไรก็ปล่อยให้ล้มไม่ได้เลยดังนั้นจึงต้องแก้ให้จบ
"ก็ดีใจที่มันจบ และได้ตามเป้าที่วางไว้ มีผลประกอบการที่ดี ผมภูมิใจ"
ผลงานอีกชิ้นหนึ่ง คือ การที่ ปตท.เข้าไปซื้อโรงกลั่นน้ำมันระยอง ซึ่ง พิชัยบอกว่าเข้าไปซื้อในราคา"ถูก" และเป็นช่วงที่ธุรกิจการกลั่นน้ำมันฟื้นตัว จึงเป็นจังหวะเหมาะสมสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ ปตท. อย่างมาก
ทั้งหมดนี้ พิชัย บอกว่า คือภาพรวมการจัดการของ CFO ที่บังคับให้ต้องรู้สิ่งแวดล้อมภายนอกระดับประเทศ รู้ความเปลี่ยนแปลง รู้เป้าหมายของธุรกิจนั้น รู้จุดอ่อน-จุดแข็งรู้การตลาด รู้การผลิต
แล้วเสนอให้ ซีอีโอ ตัดสินใจ หากเขาเห็นด้วย ก็เอาลงมาทำกัน
กรณีปัญหาการเงินบางจากฯ
พิชัยกล่าวถึงหน้าที่และวิสัยทัศน์ของ CFO โดยยกกรณีย้อนหลังที่ตัวเขาเองได้เข้าไปแก้ปัญหาทางการเงินให้กับ บมจ.บางจากปิโตรเลียม จนลุล่วงว่า สิ่งที่ดำเนินการจะคล้ายกับที่กล่าวมาข้างต้น ที่จะต้องมีกระบวนการ แต่แน่นอนว่า จะไม่ได้ใช้เวลาเพียง 1วัน หรือ 6 เดือน หรือ 1 ปี เพราะต้องทำต่อเนื่อง
"ของ บางจากฯ ต้องทำให้เห็นว่ามันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงต้องแบ่งเป็นเฟสในกระบวนการทั้งหมดต้องเข้าไปทบทวนเป็นกลยุทธ์ธุรกิจเลยว่า อันไหนบ้างที่ควรเป็นทิศทาง อันไหนบ้างที่เป็นความเสี่ยง อันไหนที่ต้องรีบแก้ไข และตรงไหนต้องทำทันที"
ส่วนเรื่องกลไกการทำงาน ส่วนไหนที่ดีอยู่ อันนั้นต้องทำต่อเนื่อง เรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วนก็ทำ
ขณะที่เรื่องบุคลากร เริ่มต้นดูว่าดูว่ามีการพัฒนาไหม ? เมื่อพบว่า นิ่งๆ ไปหน่อยเพราะมัวแต่แก้ปัญหา ฉะนั้นอย่างที่บอกว่า คุณภาพหรือว่าคุณสมบัติบุคลากรจะต้องเป็นIndicator คือ ควรรู้งานทั้งหมดเช่น คนที่อยู่ในโรงกลั่นต้องรู้ว่า ปัญหาด้านการตลาดเป็นอย่างไร คนที่อยู่ในการตลาดก็จะต้องรู้หมดว่า คนการเงิน เขามีปัญหาอะไร และคนการเงินต้องรู้ว่า คนในโรงกลั่นมีปัญหาอะไร
"สิ่งที่ต้องทำคือพยายามนำสิ่งเหล่านั้นมา แล้วทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กับปรับโครงสร้างการเงิน ซึ่งขณะนี้ผ่านไปหนึ่งปี ผมคิดว่าที่วางไว้ต้องทำต่อไป เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเข้มแข็งยิ่งขึ้น"เมื่อถามว่า มีความยุ่งยากไหมกับการแก้ปัญหาการเงิน พิชัยบอกว่า หากมองธุรกิจ เขา(บางจากฯ) มีฐานธุรกิจอยู่แล้ว ไม่ได้เข้าไปเพิ่มส่วนไหน ส่วนเรื่องบุคลากรมีปัญหาอยู่บ้าง
"มันไม่ได้เป็นความยุ่งยากทางธุรกิจ เนื้อหางานหรือทางเทคนิค แต่จะเป็นเรื่องการทำความเข้าใจเพราะความเข้าใจจะต้องไปในแนวทางเดียวกัน บุคลากรทุกระดับ ผู้ถือหุ้นและสังคมด้วย เพราะบางจากเป็นองค์กรที่มีภาพพจน์ต่อสังคม …เมื่อเปลี่ยนแปลงอะไรไปแล้ว จะต้องมั่นใจว่า สิ่งที่ทำไปยังตอบสนองสังคมอยู่ มันเป็นสิ่งที่ต้องทำ เพราะในหลักการสมัยใหม่ต้องนึกถึงสังคม หากไม่นึกถึงจะไปได้ไม่นาน"
ดร.พิชัย กล่าวว่า กรณีการแก้ปัญหาบางจากฯ เป็นการแก้ที่อยู่บนโครงสร้างเดิม จึงได้จัดออกเป็นหลายเฟส เช่น บางจากฯในช่วงแรก อยู่บนเฟสที่ไม่มีเงินเลย และวันนี้แก้มาถึงจุดที่เขาเดินได้ และมีกำไรเป็นไปตามที่คาดไว้ ดังนั้นการแก้ต้องแก้ต่อเนื่องไม่ใช่ 3เดือน 6 เดือน ต้องค่อยๆ แก้กันไป
ในภาคเอกชนผมนับถือคุณชุมพล ณ ลำเลียง เป็นคนตัดสินใจเด็ดขาด ไม่พูดมาก….ผมเห็นเขามาตั้งนานแล้ว ตั้งแต่ยังไม่ขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ปูนใหญ่….

- เครียดไหมกับงานด้าน CFO
มันเป็นธรรมชาติที่หนีไม่พ้น เพราะหากถามว่า หนีได้ไหม มันก็ไม่ได้ เพราะว่าเมื่อก่อนนี้ นั่งก็ต้องคิดยืนก็คิด เดินก็คิด โดยเฉพาะเมื่อผลที่ออกมาไม่ได้เข้าตามเป้า ตามแผนที่วางไว้ จะเครียดมาก
ฉะนั้น จึงมาดูว่า มีทางใดที่คิดให้มันน้อยหน่อย จึงใช้วิธีพยายามลืม
เมื่อมาถึงจุดๆ หนึ่ง ผมลองใช้วิธีคิดแบบมนุษย์ทั่วไป คือ "ทำใจ" เพราะเครียดไปแล้วไม่ได้ช่วยอะไร มีอยู่บางครั้งปัญหาเข้ามาเยอะมาก ตื่นขึ้นมากลางดึกเสมอ เพื่อมานั่งคิดนั่งเขียนไว้ เพราะกลัวลืม แต่เมื่อเวลาผ่านไป มาคิดว่า วิธีคงไม่มีประโยชน์ เพราะตื่นขึ้นมาตอนเช้ากลับหมดแรง
ก็เลยมาคิดว่า งานที่ออกมาเมื่อไม่ได้ผล 100% หากได้ซัก 80% น่าจะพอใจแล้วอย่าไปเครียดเลย เพราะเดี๋ยวมีคนมาทำต่อจาก 80 ให้เป็น 100 เอง พอคิดอย่างนี้ได้ จะเครียดน้อยลง
ประการต่อมา คือ บางครั้งหาอะไรมาทำเพลินๆ เช่น เห็นเขาพูดเขาเรียนภาษาจีนกัน เลยคิดว่า อยากเรียนบ้าง เพราะต่อไปอาจมีความจำเป็นต้องนำมาใช้ หากเรียนได้ซัก 40-50% ก็ยังดี คือเราจะพยายามหาอะไรมาทำอยู่เรื่อยๆ

- แบ่งเรื่องงานกับครอบครัวอย่างไร
เมื่อมาถึงจุดๆ หนึ่งต้องแบ่งเวลาใหม่ เพราะงานจะเยอะมาก ส่วนตัวจะน้อยมากต้อง "ทำใจ" เพราะการทำงานแบบนี้ มันไม่ใช่เข้า 8 โมงเช้า เลิก 5 โมงเย็น คือ มันกี่โมงไม่รู้ แค่ขอให้งานเสร็จ
แต่ก็ยังพอมีเวลาบ้างเช่น ในวันเสาร์-อาทิตย์ จะมี ครึ่งหรือ 1 วันอยู่กับครอบครัวหรือ ใน 1 อาทิตย์อย่างน้อยจะมี 2 วัน ที่จะกลับไปทานข้าว หากอาทิตย์ไหนไปได้เพียงวันเดียว จะชดเชยในอาทิตย์ถัดไป ก็พยายามแบ่งเวลาได้เท่าที่แบ่ง
ในครอบครัวอยู่ด้วยกันมา เข้าใจในลักษณะงาน แต่แน่นอนว่า ใครๆ อยากจะเห็นว่าทุกเย็นกลับไปเจอหน้าทุกวัน ทุกเย็นทานข่าวด้วยกันทุกวัน

- การเดินทางไปท่องเที่ยว
ไม่ค่อยได้ไปเท่าไหร่ หากเป็นเมื่อก่อนอาจใช้ในรูปของ Working Holiday แต่มันไม่เวิร์ค ทำงานคือทำงาน เที่ยวคือเที่ยว หรืออาจขอลาหยุดต่อเนื่อง 3-4 วัน ที่ตรงกับเสาร์-อาทิตย์ เพื่อไปชาร์ตแบต โดยดูว่าเมื่อมาถึงจุดๆ หนึ่ง จึงพยายามจัดโปรแกรมพัก
การเดินทางไปท่องเที่ยว จริงแล้วไปไหนก็ได้ อย่างเมื่อก่อนขับรถไปดูแม่น้ำโขงเพราะมีคนบอกว่าสวยเราก็เลยไป และพบว่า มันสวยจริงๆ นะ ส่วนต่างประเทศ คิดว่าเดินทางน้อยหน่อยน่าจะดี ไปแบบพอดีๆ ไม่ได้พาครอบครัวไปต่างประเทศนานมากแล้ว

- เล่นกีฬาบ้างหรือเปล่า
มีบ้าง เป็นการเล่นรับแขกซะมากกว่า เช่น กอล์ฟ ที่พอเล่นได้ แต่ไม่เก่ง เพราะไม่มีเวลาไปฝึก
แต่ผมพอมีเวลาการอ่านหนังสือ ไปบรรยายให้นักศึกษา เหมือนเป็นการปลดปล่อยด้วยนะ สบายดีอาจถือเป็นงานอดิเรกก็ว่าได้ ไปเล่าประสบการณ์ให้เขาฟัง เพื่อให้นำมาผสมผสานกันกับเทคนิคสมัยใหม่
ผมเป็นห่วงว่า คนที่พูดว่าวิชาการเรียนไปแล้วไม่ได้นำมาใช้หรอก น่าเป็นห่วงนะเพราะวิชาการมันมาจากประมาบการณ์ งั้นถ้าใครบอกว่าวิชานี้เราไม่ได้ใช้ แสดงว่าไม่ได้ใช้ประสบการณ์ของคนอื่นเขา ดังนั้น เรียนแล้วต้องนำมา "ประยุกต์" ใช้

- ด้านการเงินส่วนบุคคลเป็นอย่างไร
ไม่ค่อยมีระเบียบเท่าไหร่(..หัวเราะเสียงดัง....) เพราะการบริหารส่วนตัวจะเหมือนกับพอร์ตเล็กๆ ในสมอง มองเห็นหมด มีความยืดหยุ่นง่ายๆ เพราะถือว่ามันเป็นทุกอย่างในตัวเรา Stakeholder (หุ้นส่วนธุรกิจ)มีคนเดียว คือหากทำงานแล้วเก็บเป็นเงินหมด เก็บเป็นกระดาษ มันต้องรู้จักแบ่งเอามาใช้บ้างเพื่อให้เกิดการหมุนเวียน
ฉะนั้น จะใช้มาก หน่อย เก็บมากหน่อย จะบริหารโดยใช้ "ความพึงพอใจ" เป็นหลักมากกว่าจะไปกำหนดเป้าหมาย เพราะว่าเราเป็นแค่ Stakeholder เดียวที่สำคัญ แต่มีหลักบริหารความเสี่ยงอยู่บ้าง ว่าต้องทำอย่างไร(ออมเงิน) เพราะในประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายรองรับสำหรับคนที่จะเลิกทำงาน ได้เต็มที่นัก
ส่วนเรื่องการลงทุนขึ้นอยู่กับช่วงเวลาแต่ Timing โดยจะประเมินสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า ดูว่า Cycle ไหนมา เช่นเมื่อ 1-2 ปีที่แล้วเก็บหุ้นเยอะ เก็บเงินน้อยหน่อย แต่ตอนนี้เก็บเงินเยอะแต่หุ้นน้อย ส่วนหุ้นที่ซื้อจะดูหุ้นที่เน้นจ่ายเงินปันผล ส่วนประกันชีวิตมีซื้อบ้างให้กับครอบครัว

- บุคคลที่เป็นแบบอย่างในการทำงาน
ผมชอบคนที่ทำงานและตัดสินใจเด็ดขาดในที่นี้จะพูดถึงภาคเอกชน คนๆ นี้เป็นคนที่ ตัดสินใจไวแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ คือ "ชุมพล ณ ลำเลียง"(กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย) เป็นคนตัดสินใจเด็ดขาดไม่พูดมาก ผมเห็นเขามาตั้งนานแล้ว ตั้งแต่ยังไม่ขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ปูนใหญ่



Create Date : 15 กันยายน 2548
Last Update : 15 กันยายน 2548 11:04:31 น. 2 comments
Counter : 6044 Pageviews.  

 
แวะมาให้กำลังสำหรับบทความดีๆเช่นนี้ครับ

ทีมงาน tismarketing
//www.tismarketing.com
//tismarketing.bloggang.com
บริการ บทความไอที อัพเดททุกสัปดาห์
รับออกแบบ จัดทำเว็บไซต์
รับ โปรโมทเว็บไซต์ ให้ติดหน้าแรก Google Yahoo




โดย: tismarketing (tismarketing ) วันที่: 15 กันยายน 2548 เวลา:19:35:00 น.  

 
มีรายได้ 70,000 บาทต่อเดือนและเคยมากถึง 94,000 บาท/เดือน
จากระบบการทำงานผ่าน Internet โดยใช้โปรแกรม Computer เพียงมีเวลาว่างวันละ
2-3 ชม/วัน
ก็สามารถสร้างรายได้ 2,000 - 5,000 บาท/สัปดาห์ ด้วยวิธีง่ายๆผ่านระบบ
INTERNET
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่จริงจังและต้องการมีรายได้เสริมจากการเล่น INTERNET
เราพร้อมที่จะสอนคุณอย่างเต็มความสามารถที่เรามีอยู่ในขณะนี้
ติดต่อมาหาเราสิครับ ที่ วรวุฒิ ปรีชาปัญญากุล
(เรื่องสร้างรายได้เสริม)
เราพร้อมที่จะเปลี่ยนชีวิตคุณให้เป็นชีวิตใหม่ที่พบกับความเป็นอิสระทั้งทาง/ด้านการเงินและเวลาอย่างแท้จริง
คุณสมบัติของผู้ที่สนใจ
1. ชาย/หญิง ที่มีความตั้งใจจะเปลี่ยนแปลงอนาคต
2. ชอบการเรียนรู้ มีความทัศนะคติที่ดี ชอบความท้าทาย
3. สามารถใช้ Technology ใหม่ ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ INTERNET ได้
4. มีอุปกรณ์สื่อสารเป็นของตนเอง
5. มีการอบรมและสอนงานให้
6. ไม่จำกัดเพศอายุ วุฒิการศึกษา จบป.4 ก็มีรายได้ 6 หลักต่อเดือนได้
คุณสามารถทำงานที่บ้านได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานประจำ แม่บ้าน นิสิตนักศึกษา
นักวิชาชีพต่างๆ
- ทำงานวันละ 2-3 ชม ควบคู่งานประจำหรือกิจการที่ทำอยู่
- ทำงานผ่านระบบที่บริษัทสอน ไม่รบกวนเวลาทำงานประจำ
- ใช้เวลาว่างของคุณ ทำงานกับบริษัทฯเราอย่างตั้งใจ
PART-TIME 11,000-35,000 บาท / เดือน
FULL-TIME 40,000-150,000 บาทขึ้นไป / เดือน ตามความขยัน
โอกาศมาหาคุณแล้ว จงคิดสักนิดก่อนที่จะปิดกระทู้ ฉบับนี้ไป
จงคิดที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตเสียแต่วันนี้
ก่อนที่ชีวิตจะไม่มีอะไรให้เปลี่ยนแปลง
หมายเหตุ !!!!!!!! รับเฉพาะผู้ที่ตั่งใจจริงและพร้อมที่จะเรียนรู้เท่านั้น(
สอนฟรีผ่านระบบ internetและtelephone )

สนใจติดต่อ คุณวรวุฒิ 01-6865995


โดย: worawut IP: 58.11.98.5 วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:21:58:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sriphat
Location :
ภูเก็ต Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




โลกนี้มีเรื่องราวดีๆ ไว้ให้แบ่งปันกันมากมาย
New Comments
[Add sriphat's blog to your web]