+++ ความล้มเหลว เป็นก้าวแรกของชัยชนะ+++ศรีกรม
 

การจัดการความรู้ (KM)



เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙นางสาวพรพิมล พัวพันประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาระบบบริหารได้ประชุมคณะทำงานการจัดการความรู้ (KM)ของสำนักงานพัฒนาระบบบริหารครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ ณ ห้องประชุม ๔๐๑ ชั้น ๔ สำนักงานอัยการสูงสุด

ที่ประชุมได้รับทราบเกี่ยวกับคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดการความรู้(KM),ตัวชี้วัดและเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัดที่ ๔.๒ระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้ในระดับสำนักงานกิจกรรมการสร้างชุมชนแนวปฏิบัติ(COP) ในปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๕๙

นอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณา เรื่อง กำหนด/เลือกหัวข้อเรื่องความรู้/ประเด็นปัญหา เพื่อสร้าง รวบรวม ความรู้ แนวทางปฏิบัติ/แนวทางแก้ไขปัญหา และกำหนด/มอบหมาย ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิที่จะถ่ายทอดความรู้ตามหัวข้อเรื่องที่เลือก เพื่อสร้าง รวบรวมความรู้

คณะทำงานฯได้พิจารณาและระดมความคิดเห็นกันอย่างทั่วถึงโดยพิจารณาถึงปัญหาที่วิกฤติของสำนักงานฯ เพื่อนำมาเป็นหัวข้อในการจัดการความรู้โดยองค์ความรู้ดังกล่าวจะต้องสามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาในการทำงานได้ทั้งนี้ให้แต่ละกลุ่มงานได้เสนอปัญหา องค์ความรู้ที่จะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหามีผู้เชี่ยวชาญเรื่องดังกล่าวใครบ้าง และจะหาจากที่ใดและให้แต่ละคนได้แสดงความคิดเห็น

มีคณะทำงานบางท่านเสนอว่าองค์ความรู้ที่จะมาจัดการในครั้งนี้ควรจะเป็นองค์ความรู้ที่เป็นสมรรถนะหลักของสำนักงานฯ ซึ่งเป็นภารกิจและหน้าที่โดยตรง ควรจะสร้างความเชี่ยวชาญขึ้นมา หากสำนักงานฯขาดผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นภารกิจหลักของสำนักงานฯแล้ว จะทำให้สำนักงานฯขาดความเชื่อถือและไม่สามารถจะพึ่งตนเองได้

ปัจจุบันสำนักงานฯขาดความต่อเนื่องข้าราชการที่เข้าปฏิบัติงานประจำ อยู่ได้สักระยะหนึ่ง ต้องขอย้ายหรือเปลี่ยนสายงานทำให้สำนักงานฯขาดเจ้าหน้าที่ที่มีองค์ความรู้ขององค์กรที่มีทักษะ มีความเชี่ยวชาญขาดหายไป ทำให้การทำงานขาดความต่อเนื่อง ทั้งคนที่มีความรู้และองค์ความรู้ของสำนักงานฯก็ติดตัวบุคคลไปด้วยทำให้การพัฒนาขาดช่วงและไม่ต่อเนื่อง

ที่ประชุมได้พิจารณาแล้ว มีมติให้นำปัญหาที่สำนักงานประสบอยู่และมีความเร่งด่วนที่จะต้องนำความรู้ดังกล่าวเข้าไปแก้ไขปัญหาและจะทำให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ ได้ทั้งความรู้และได้รับการแก้ไขปัญหาไปด้วย จึงมีความเห็นว่า ควรจัดการความรู้เรื่องการบริหารโครงการของสำนักงานฯ มาเป็นหัวข้อ ในการจัดการความรู้ในครั้งนี้

ที่ประชุมได้มอบหมายให้แต่ละกลุ่มงานได้ค้นหาประเด็นของปัญหาของแต่กลุ่มงานในการบริหารโครงการว่า มีปัญหาด้านใดบ้างจะต้องใช้องค์ความรู้ด้านใด จะหาผู้เชี่ยวชาญจากที่ไหนแล่้วนัดประชุมคณะทำงานฯในครั้งต่อไป ทั้งนี้ให้ดำเนินการให้เสร็จภายในกำหนดระยะเวลาที่จะต้องจัดทำรายงานส่งให้สำนักงานฯเจ้าภาพตัวชี้วัด




 

Create Date : 16 สิงหาคม 2559    
Last Update : 16 สิงหาคม 2559 10:33:12 น.
Counter : 456 Pageviews.  

ประชุมคณะทำงานทบทวนระบบรายงาน



เมื่อวันที่ ๘ กรฎาคม ๒๕๕๙ นายอาทรสิขัณฑกนาค รองอัยการสูงสุดเป็นประธานประชุมคณะทำงานทบทวนและปรับปรุงระบบการรายงานของสำนักงานอัยการสูงสุดครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ ณ ห้องประชุม ๙๐๑ ชั้น ๙ สำนักงานอัยการสูงสุด

ที่ประชุมได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานทบทวนและปรับปรุงระบบการรายงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักงานอัยการสูงสุดและรับทราบ รายงานความเป็นมาและผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดที่ ๓.๒ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖- ๒๕๕๘

ผลการดำเนินงานของคณะทำงานในการทบทวนและปรับปรุงระบบการงานมีดังนี้

๑. สำนักงานอัยการสูงสุดมีระบบงานทั้งหมดจำนวน ๑๐ ระบบงาน มีจำนวนรายงาน  ๗๙ ประเภทรายงานแยกได้แต่ละประเภท คือ

๑.๑ ระบบรายงานตามภารกิจหลัก มีจำนวน ๕ ระบบ มีจำนวนรายงานจำนวร ๕๐ ประเภทรายงาน ได้แก่

             - ระบบงานประเมินผลการปฏิบัติราชการจำนวน ๘ รายงาน

             - ระบบงานการดำเนินคดีอาญา จำนวน ๒๐รายงาน

              - ระบบงานการดำเนินคดีแพ่ง จำนวน ๖รายงาน

               - ระบบงานคุ้มครองสิทธิ์ฯจำนวน ๙ รายงาน

               -ระบบงานอื่น ๆ ตามภารกิจหลัก จำนวน ๗รายงาน

๑.๒ ระบบงานตามภารกิจสนับสนุน จำนวน ๕ ระบบงาน มีจำนวนรายงาน๒๙ ประเภทรายงาน ได้แก่

            - ระบบงานด้านบุคลากร จำนวน ๑๖ รายงาน

            - ระบบงานบริหารทรัพย์สิน จำนวน ๒รายงาน

             - ระบบงานงบประมาณจำนวน ๒ รายงาน

              - ระบบงานควบคุมภายใน จำนวน ๑ รายงาน

               - ระบบงานอื่น ๆ ตามภารกิจสนับสนุนจำนวน ๘ รายงาน

๒.ผลการดำเนินการทบทวนและปรับปรุงระบยการรายงาน โดยสรุป ดังนี้

๒.๑ ปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๕๖ ได้ดำเนินการจัดทำแนวทางปรับปรุงการรายงาน จำนวน ๓ ระบบงานคือระบบงานประเมินผลการปฏิบัติราชการ ระบบงานด้านบุคลากร และระบบงานงบประมาณ

๒.๒ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗ ได้จัดทำแนวทางการปรับปรุงระบบงานจำนวน๖ ระบบงาน และได้ปรับปรุงแล้วจำนวน ๓ ระบบงาน และจำนวน ๑๘ ประเภทรายงาน

๒.๓ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘ ได้จัดทำแนวทางปรับปรุงปรับปรุงระบบงานจำนวน๙ ระบบงาน จำนวน ๒๑ ประเภทรายงานนอกจากนี้ในปีนี้ยังได้จัดทำระบบรายงายด้วยระบบอิเล็กทรอนิคส์ ขำนวน ๓ ระบบงาน คือรายงานข้อมูลและสถิติคดีที่มีการร้องขอความเป็นธรรม รายงานตัวชี้วัดที่ ๑.๒ระดับความสำเร็จของการจัดทำฐานข้อมูลและวิเคราะห์คำพิพากษา และรายงานตัวชี้วัดที่๑.๒ ระดับความสำเร็จของการจีัดทำฐานข้อมูลและวิเคราะห์ผลคำพิพากษา

ปัจจุบัน สำนักงานอัยการสูงสุดมีระบบงานที่เหลือและจะต้องดำเนินการปรับปรุงและทบทวนจำนวน๗ ระบบงาน มีจำนวนรายงาน ๑๑ ประเภทรายงาน

๒.๔ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙มีเป้าหมายที่จะต้องดำเนินการปรับปรุงระบบงานจำนวน ๗ ระบบงาน จำนวนรายงาน ๑๑ประเภทรายงาน และมีเป้าหมายที่จะต้องจัดทำรายงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์จำนวนไม่น้อยกว่า ๓ รายงาน นอกจากนี้จะต้องสำรวจความพีงพอใจจากข้าราชการที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรายงานที่ได้ดำเนินการปรับปรุงและทบทวนต้องอยู่ในระดับมากขึ้นไปไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐โดยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน ๒๕๕๙

ที่ประชุมยังได้พิจารณาอนุมัติแผนการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่๓.๒และการแต่งตั้งคณะทำงานชุดย่อยประสานงานจัดทำระบบการรายงาน/รายงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักงานอัยการสูงสุด และ แจ้งแผนการดำเนินงานให้หน่วยงานที่รับผิดชอบแต่ละประเภทรายงานได้ดำเนินการตามแผนการดำเนินงานฯดังกล่าว

หากการดำเนินการทบทวนและปรับปรุงระบบงานและจำนวนรายงานเป็นไปตามแผนฯก็จะทำให้สำนักงานอัยการสูงสุดลดจำนวนประเภทรายงานลงไปเป็นจำนวนมากทำให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน ลดระยะเวลา ลดภาระหน้าที่ลง ส่งผลต่อการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น!!!




 

Create Date : 16 สิงหาคม 2559    
Last Update : 16 สิงหาคม 2559 10:28:38 น.
Counter : 441 Pageviews.  

การลดประเภทรายงาน



การรายงานเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ทุกสำนักงานจะต้องจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบความก้าวหน้า ผลการดำเนินงาน ปัญหา และอุปสรรคในการปฏิบัติงาน สำหรับใช้ในการติดตามประเมินผลและวิเคราะห์ผล นำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงกระบบงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น

ปัจจุบัน สำนักงานอัยการสูงสุดมีจำนวนประเภทรายงานจำนวน ๑๐ ระบบงาน รวมรายงานทั้งสิ้นจำนวนประมาณ 79 รายงานนับว่าเป็นภาระที่หนักของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำรายงาน ไม่ว่าจะเป็นระบบรายงานภารกิจหลักจำนวน 5 ระบบมีจำนวนรายงาน รวม 50 รายงานและระบบรายงานภารกิจสนับสนุน จำนวน 5 ระบบมีจำนวนรายงานจำนวน 29 รายงานรวมทั้งสิ้นจำนวน 79 รายงานในส่วนนี้ยังไม่รวมรายงานที่จะต้องรายงานเป็นครั้งคราว และเร่งด่วนอีกต่างหาก

บางท่านถามว่า สำนักงานอัยการสูงสุดได้มีโครงการทบทวนและปรับปรุงการรายงานให้ลดลงหรือเหลือน้อยกว่าเดิมหรือไม่ ?

ขอเรียนว่า ปัจจุบันสำนักงานอัยการสูงสุด มีเป้าหมายที่จะลดระบบรายงานต่าง ๆ ลงให้เหลือเท่าที่จำเป็นและมีเป้าหมายที่จะนำระบบรายงานที่เป็นระบบกระดาษทั้งหมด เข้าสู่ระบบรายงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดแต่เป้าหมายดังกล่าว คงจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ทั้งนี้ มีปัจจัยหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งรายงานระบบต่าง ๆ มีเจ้าภาพหรือผู้รับผิดชอบหลายหน่วยงานจำเป็นต้องมีคณะทำงานหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมและพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาระบบรายงานต่างๆ ว่า มีรายงานใดบ้างที่จำเป็นต้องยกเลิก หรือปรับปรุง หรือ คงเดิมไว้

ในปีงบประมาณ พ.ศ.2559 สำนักงานอัยการสูงสุด มีคำสั่งที่ 1/2559 ลงวันที่  8 กรกฎาคม 2559 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานชุดย่อยประสานงานจัดทำระบบรายงาน/รายงานด้วยระบบอิเล็กรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสำนักงานอัยการสูงุด ขึ้นโดยมีรองอธิบดีอัยการ สำนักงานวิชาการ เป็นหัวหน้าคณะทำงานฯมีภารกิจหน้าที่ในการดำเนินการทบทวนและปรับปรุงระบบการรายงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจัดทำแนวทางการวิเคราะห์ระบบการรายงาน และิเคราะห์รายละเอียดของระบบรายงานรวมถึงแบบฟอร์มและ แบบเอกสารที่ใช้ในการายงานเพื่อให้เป็นไปตามทิศทางและขั้นตอนการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 3.2 จำนวนระบบงานและการรายงานที่ได้รับการปรับปรุงตามเป้าหมาย

ปีงบประมาณ พ.ศ.2559 มีเป้าหมายที่จะดำเนินการปรับปรุงระบบรายงานจำนวน7 ระบบงาน จำนวน 11 ประเภทรายงานและมีเป้าหมายที่จะจัดทำรายงานเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 รายงาน ในการลดจำนวนรายงานดังกล่าวจะต้องแสดงให้เห็นว่า สามารถลดความซ้ำซ้อนของการปฏิบัติงานลดภาระการรายงานข้อมูลผลการดำเนินงาน ลดต้นทุน และระยะเวลาการดำเนิงานและสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและผู้มีส่วนได้เสียอีกด้วย

ในการดำเนินการคณะทำงานฯอยู่ในระหว่างดำเนินการและจะมีการนัดประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ โดยมีสำนักงานพัฒนาระบบบริหารเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการในครั้งนี้

หากมีการดำเนินการปรับปรุงและลดรายงานต่างๆ ลง ก็จะทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อนและจัดทำรายงานเป็นจำนวนมากอีกต่อไป จะส่งผลให้ปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความรวดเร็วลดขั้นตอน ลดระยะเวลา และส่งผลให้การบริการแก่ประชาชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น




 

Create Date : 16 สิงหาคม 2559    
Last Update : 16 สิงหาคม 2559 10:23:11 น.
Counter : 536 Pageviews.  

การจัดทำตัวชี้วัด



สำนักงานฯได้เริ่มดำเนินการจัดทำคำรับรองผลการปฏิบัติราชการ (ตัวชี้วัด)
มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 254๗โดยระยะเริ่มแรกได้ดำเนินการอยู่ภายใต้การกำกับ ควบคุม และดูแลของสำนักงาน ก.พ.ร.ต่อมามีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552 เรื่องการปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร โดยไม่นับรวมสำนักงานฯ ซึ่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550ไม่นับเป็นหน่วยงานของรัฐ ในกำกับของฝ่ายบริหาร ส่งผลให้ต้องมาดำเนินการจัดทำคำรับรองผลการปฏิบัติราชการด้วยตนเอง

ปัญหามีว่า ส่วนราชการจำเป็นต้องมีการจัดทำคำรับรองผลการปฏิบัติราชการ (ตัวชี้วัด) หรือไม่ ?

สาเหตุที่จำเป็นจะต้องมีการจัดทำคำรับรองผลการปฏิบัติราชการ โดยมีเหตุผลและความจำเป็นดังนี้

1. มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำมีกฎหมายหลายฉบับบังคับให้หน่วยงานราชการต้องมีการจัดทำคำรับรองผลการปฏิบัติราชการพอสรุปได้ ดังนี้

1.1ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550ได้เน้นถึงความสำคัญและบัญญัติสาระที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือธรรมาภิบาลไว้ใน มาตรา 78 ของส่วนที่ 3 และนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ไว้ว่า มาตรา 78รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน พัฒนาระบบงานภาครัฐโดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทำงานเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ

1.2 ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 3/1 บัญญัติ...ไว้ว่า
“ การบริหารราชการแผ่นดินตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐความมีประสิทธิภาพ และการตอบสนองความต้องการของประชาชน...”

วรรคสอง“…ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานการมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย..”

1.3 พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 6กำหนดให้การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อ....เป้าหมายให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐไม่มีขั้นตอนของการปฏิบัติงานมากเกินความจำเป็น ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก และได้รับการตอบสนองตามที่ต้องการและให้มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

2. มีนโยบายให้ต้องทำ

2.1นโยบายของรัฐบาล เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีนโยบาย ข้อ 10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมมาภิบาล และการป้องกันปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในภาครัฐด้านการส่งเสริมการบริหารข้อ 10.1 และ ข้อ 10.3มุ่งเน้นในด้านการปรับปรุงระบบราชการในด้านองค์กร หรือหน่วยงานภาครัฐ ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีการบริหารจัดการภาครัฐแบบใหม่การตอบสนองความต้องการของประชาชนในฐานะที่เป็นศูนย์กลางและยกระดับสมรรถนะของหน่วยงานของรัฐให้มีประสิทธิภาพ

2.2 นโยบายของผู้บริหารหน่วยงาน โดยมีนโยบายเพื่อพัฒนาองค์กรอัยการในการเพิ่มศักยภาพ และประสิทธิภาพของพนักงานอัยการในการสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักนิติธรรม รัฐธรรมนูญ และกฎหมายพัฒนาองค์กรอัยการให้สอดคล้องกับการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมรวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานภายในสำนักงานอัยการสูงสุดให้สอดคล้องกับการปฏิรูปดังกล่าว

๓. มีแผนให้ต้องจัดทำ

๓.๑ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ กาหนดยุทธศาสตร์ไว้ทั้งหมด กลุ่มยุทธศาสตร์ ซึ่งจะนาเสนอไว้ในที่นี้ เพียงกลุ่มยุทธศาสตร์เดียว ที่เกี่ยวข้องได้แก่ กลุ่มยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องได้แก่....(4) การสานสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมให้มีคุณค่าร่วมและตระหนักถึงผลประโยชน์ของสังคม และเสริมสร้างการบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีระบบตรวจสอบและการรับผิดชอบที่รัดกุม

๓.๒ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยพ.. ๒๕๕๖ - .. ๒๕๖๑

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยพ.. ๒๕๕๖- .. ๒๕๖๑ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาระบบราชการไว้ กล่าวคือ

“ระบบราชการไทย มุ่งเน้นพัฒนาการทางานเพื่อประชาชนและรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ยกระดับขีดสมรรถนะไปสู่ความเป็นเลิศ บูรณาการและเพิ่มประสิทธิภาพงานของภาครัฐ ประสานการทางานกับทุกภาคส่วน สร้างความโปร่งใสต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ให้เป็นที่น่าเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชน”

๓.๓ แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.. 2558 - 2561

แผนแม่บทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการประสานการบริหารงานยุติธรรมของชาติให้เป็นไปโดยสอดคล้องกันและมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะทาให้การอานวยความยุติธรรมมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของสังคมตามพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.. ๒๕๔๙ โดยหลักการสาคัญของแผนแม่บทนี้เป็นการนำสภาพความเป็นจริงความต้องการของประชาชนเป็นตัวตั้ง และหลักการสากลนามาเป็นหลักสาคัญในการกาหนด โดยมีเป้าหมาย4 ประการ คือ 1) การบริการประชาชนจะต้องมีความสะดวกรวดเร็วมีค่าใช้จ่ายเหมาะสม 2) ให้ประชาชนเข้าถึงการบริการในด้านความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน3) การบังคับใช้กฎหมายต้องมีความเสมอภาคและเป็นธรรม 4) ปริมาณคดีที่จะเข้าสู่ศาลจะต้องลดลง โดยมีวิสัยทัศน์ดังนี้ “การบริหารงานยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากลสร้างความเป็นธรรมและประชาชนพึงพอใจ”

๓.๔ แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี  พ.. ๒๕๕๙- ๒๕๖๒ ได้จัดทาขึ้นภายใต้กรอบการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างบรรลุเป้าหมายและตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใต้อานาจหน้าที่และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.. 2546

โดยวางเป้าหมายให้หน่วยงานมุ่งสู่ความเป็นเลิศในการยุติธรรมซึ่งอยู่บนพื้นฐานของแนวความคิดขององค์การแห่งความเป็นเลิศ (High Performance Organization-HPO) ที่องค์กรจะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาให้หน่วยงานสามารถบรรลุพันธกิจที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องการมีการจัดทำคำรับรองและลงนามตามคำรับรองการการปฏิบัติราชการ(ตัวชี้วัด)ประจำปีเพื่อตรวจติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการประจำปีดังกล่าว

๔. จะทำให้ตกยุค จากรายงานประจำ พ.ศ.๒๕๕๗ ของสำนักงานพัฒนาระบบราชการ(กพร.)มีหน่วยงานที่จะต้องลงนามตามคำรับรองการปฏิบัติราชการภายใต้การกำกับควบคุมและดูแลของสำนักงานกพร. มีจำนวน ๑๘ กระทรวง ๑๕๕ กรม จังหวัด ๗๖ จังหวัด สถาบันอุดมศึกษาจำนวน ๖๘ แห่งและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอีกจำนวน ๓๕ แห่ง นอกจากนี้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานอิสระอื่น ๆก็ล้วนมีการจัดทำคำรับรองและลงนามตามคำรับรองการปฏิบัติงานประจำปี ทั้งสิ้นหากสำนักงานฯซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมไม่ได้ดำเนินการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี ก็น่าเป็นห่วงว่า...สำนักงานฯจะอยู่ในสถานะภาพเช่นไร...น่าคิด!!!




 

Create Date : 26 กรกฎาคม 2559    
Last Update : 26 กรกฎาคม 2559 15:49:27 น.
Counter : 465 Pageviews.  

การจัดระบบงาน



 วันนี้ มีโอกาสเข้าร่วมตรวจประเมินหน่วยงานนำร่อง ของหน่วยงานในสังกัด เพื่อตรวจตามเกณฑ์คุภาพการบริหารจัดการ(TQA) รายหมวด มีข้อสังเกตุจากการตรวจดังนี้.-

    1. ระบบงาน : ในการตรวจประเมิน จะตรวจดูงานแต่ละงานมีกระบวนการทำงานอย่างไร มีเอกสารการจัดทำเก็บไว้หรือไม่ มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร ปรากฎว่า...งานส่วนมาก เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่มีหลักฐาน ไม่กระบวนการทำงานที่ชัดเจน ไม่มีการประเมิน ติดตาม และตรวจสอบ และไม่มีการเรียนรู้แล้วนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงและพัฒนา

    2. การจัดทำแผน : ในการตรวจอาจารย์ที่ปรึกษาจะถามว่า..มีแนวทางแน่นอนชัดเจนในการปฏิบัติงานหรือไม่ กล่าวคือ มีการจัดทำแผน มีระเบียบ มีกฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ มีการทำเป็นไปในแนวทางเดียวกันมัย หรือต่างกันต่างทำ และการทำคงเส้นคงวา สม่าเสมอหรือไม่ ปรากฎว่า...เจ้าหน้าที่ส่วนมากจะทำตามหน้าที่ ตามที่เคยกระทำกันต่อ ๆ มา มีการวางแผนหรือไม่ มีระเยียบใดรองรับ จะไม่มีการการกำหนดที่แน่นอน เป็นการทำงานโดยปราศจากแผนงาน แนวทาง ที่แน่นอน

   3. การจัดเก็บเอกสาร : การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มีการจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระบบ เมื่อผู้ตรวจต้องการเอกสารในการอ้างอิง จะค้นหา หรือสืบค้น ได้ยาก อยู่กระจัดกระจาย ทำให้การเรียนรู้ หรือต่อยอดขาดหายไป ทำให้องค์ความรู้ขององค์กร ไม่ได้รับการถ่ายทอดไปยังคนรุ่นต่อไป

   4. การประเมินผล : จากการตรวจประเมิน การปฏิบัติงานในแต่ละงาน บางงานไม่มีแนวทางชัดเจน ไม่มีรอบระยะเวลาในการตรวจ ติดตาม การประเมิน ที่แน่นอน บางงานไม่มีการประเมินผล ทำเสร็จแล้ว ก็ถือว่าเสร็จ ไม่มีการประเมินผลว่า..ผู้รับบริการ/ลูกค้า มีความคิดเห็นอย่างไร พอใจ หรือไม่พอใจ

   5. การเรียนรู้: จากการตรวจประเมิน แต่ละส่วนงานไม่มีการเรียนรู้ร่วมกัน ไม่มีการจัดการความรู้ในองค์กร อย่างเป็นระบบ ไม่มีการนำข้อผิดพลาด บกพร่อง ในการปฏิบัติงาน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่นำผลการเรียนรู้ไปปรับปรุงและพัฒนางานให้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นในองค์กร ทำให้การจัดการความรู้ในองค์กรขาดความต่อเนื่อง ทำให้องค์ความรู้ในองค์การสูญหายไป

     ดังนั้น หากหน่วยงานได้นำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการ(TQA) มาใช้ในหน่วยงานได้แท้จริง จะทำให้การทำงานมีระบบชัดเจน ลดระยะเวลาในการทำงาน มีการติดตามประเมินผล และมีการเรียนรู้และพัมนางานในองค์กรได้อย่างดียิ่งขึ้น!!!




 

Create Date : 26 กรกฎาคม 2559    
Last Update : 26 กรกฎาคม 2559 13:11:40 น.
Counter : 592 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  
 
 

สมาชิกหมายเลข 3206122
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 3206122's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com