ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

ยอเกียรติ VS วิจารณ์ “พระ ว.วชิรเมธี"

สุรพศ ทวีศักดิ์

อ่านข้อเขียนของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ชื่อ “คารวะพระ ว.วชิรเมธี” ในมติชนสุดสัปดาห์ (18-24 ก.พ.54) รู้สึกเหมือนได้อ่าน “บทยอเกียรติพระ” โดยเฉพาะบทกวีสรุปท้ายบทความที่ว่า

“พระผู้สร้างกุศลธรรมนำครรลอง พระผู้ครองสันโดษสมถะ
พระถึงพร้อมวิชชาจรณะ คารวะ พระ ว.วชิรเมธี”


แน่นอนว่าธรรมชาติของ “บทยอเกียรติ” หรือ “ยอพระเกียรติ” ย่อมมีลักษณะ “เกินจริง” ดังบทเทศนายอพระเกียรติกษัตริย์ ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส ที่ว่า

“สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า เสด็จอวตารมาสู่สยามภพพอเหมาะแก่กาลสมัย ราวกับเรื่องพระประถมสมโพธิว่า เหล่าเทวดาสันนิษฐานเห็นเป็นเวลา จึงพร้อมกันไปทูลเชิญอาราธนาพระโพธิสัตว์เพื่อจุติจากดุสิตพิภพมาอุบัติในมนุษยโลก แลยังสัตว์นิกรผู้มีอุปนิสัยให้ข้ามพ้นโอฆสงสารฉะนั้นฯ...” (อ้างใน ปฐม ตาคะนานันท์.คณะสงฆ์สร้างชาติ สมัยรัชกาลที่ 5. [กรุงเทพฯ: มติชน, 2551], หน้า 28)

เช่นเดียวกันข้อความว่า “พระถึงพร้อมวิชชาจรณะ” ในบทกวีข้างต้น ชาวพุทธย่อมรู้ว่าข้อความนี้เป็นคำแปลมาจากภาษาบาลีว่า “วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน” ซึ่งเป็นบทสวดสรรเสริญ “พระพุทธคุณ” ที่ระบุว่าคุณลักษณะของพระพุทธเจ้าประการหนึ่งคือ “ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ” (หมายถึงมีปัญญาดับทุกข์สิ้นเชิงและมีความประพฤติบริสุทธิ์สะอาด)

การยอเกียรติพระไม่น่าจะเป็นเรื่องที่นิยมทำกันในสมัยพุทธกาล แม้จะปรากฏในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาอยู่บ้างว่า มีอุบาสกบางคนเปล่งวาจาสรรเสริญพระพุทธคุณหลังจากฟังพระพุทธองค์แสดงธรรมจบลงและเขาเกิดความปลื้มปีติในธรรม

ส่วนการยกย่องคุณความดีของพระสาวกก็เป็นเรื่องที่พระพุทธองค์ทรงประกาศยกย่องให้เป็นแบบอย่าง โดยพิจารณาจากความสามารถตามที่เป็นจริงของพระสาวกรูปนั้นๆ ดังที่ทรงยกย่องพระสาวกเป็น “เอตทัคคะ” หรือมีความเป็นเลิศด้านต่างๆ เช่น พระสารีบุตรมีความเป็นเลิศด้านสติปัญญา เป็นต้น

การยอเกียรติพระในสังคมไทยน่าจะนิยมทำกันในยุคสมัยที่ “พระกับเจ้า” ถูกผนึกรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนเกิดประเพณีแต่งตั้ง “สมณศักดิ์” หรือศักดินาของพระ ทำให้พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในระบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจและผลประโยชน์อย่างเต็มรูปแบบ ดังข้อเขียนของ จิตร ภูมิศักดิ์ ในหนังสือ “โฉมหน้าศักดินาไทย” ที่ว่า

“ศักดินา (กษัตริย์) แบ่งปันที่ดินให้แก่ทางศาสนา แบ่งปันข้าทาสให้แก่วัดวาอาราม ยกย่องพวกนักบวชให้เป็นขุนนางมีลำดับยศ มีเครื่องประดับยศ มีเบี้ยหวัดเงินปีและแม้เงินเดือน...ศาสนามีหน้าที่สั่งสอนให้ผู้คนเคารพยำเกรงกษัตริย์ พวกนักบวชทั้งหลายกลายเป็นครูอาจารย์ที่ให้การศึกษาแก่กุลบุตรกุลธิดา ซึ่งแน่นอนแนวทางการจัดการศึกษาย่อมเป็นไปตามความปรารถนาของศักดินา”

ในหนังสือเล่มดังกล่าว จิตรยังอธิบายต่อไปว่า ข้าทาสที่ศักดินาแบ่งปันให้แก่วัด เรียกว่า “เลกวัด” หรือ “ข้าพระโยมสงฆ์” และในกฎ “พระอัยการตำแหน่งทหารและพลเรือน” ซึ่งพระบรมไตรโลกนาถ ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ.1998 นอกจากจะกำหนดให้บรรดาเจ้าขุนมูลนายตามชั้นยศต่างๆ ได้รับผลประโยชน์จากที่ดินแล้ว ยังจัดส่วนแบ่งผลประโยชน์ดังกล่าวให้แก่พระสงฆ์ด้วย ตามอัตราส่วนดังนี้
พระครูรู้ธรรม เสมอนา 2,400 ไร่
พระครูไม่รู้ธรรม เสมอนา 1,000 ไร่
พระภิกษุรู้ธรรม เสมอนา 600 ไร่
พระภิกษุไม่รู้ธรรม เสมอนา 400 ไร่
สามเณรรู้ธรรม เสมอนา 300 ไร่
สามเณรไม่รู้ธรรม เสมอนา 200 ไร่


แน่นอนว่า การพูดถึงข้อเท็จจริงของ “เจ้ากับพระ” ในท่วงทำนองแบบจิตร ย่อมเป็นที่ “แสลงหู” ชาวพุทธไทย แต่สำหรับผู้เขียนแล้วนึกถึงคำสำคัญในพุทธศาสนาคำหนึ่ง คือ “ธรรมานุสสติ” หมายถึงการระลึกถึงธรรม หรือการตระหนักรู้ ตื่นรู้ใน “ธรรม” คือความจริงความถูกต้อง

แต่คำถามคือ บทยอเกียรติพระ กับบทวิจารณ์พระ (เช่น ที่จิตร ภูมศักดิ์ ทำ) อะไรคือสิ่งที่กระตุ้นให้เราเกิด “ธรรมานุสสติ” ได้แจ่มชัดกว่า!

คงจำกันได้ว่า เมื่อปี 53 คำ ผกา วิจารณ์ท่าน ว.วชิรเมธี (ผ่านการให้สัมภาษณ์ วิจักขณ์ พานิช) ค่อนข้างแรงว่า

“งานของท่าน ว.วชิรเมธี มันเป็นยากล่อมประสาท หลอกขายกันไปวันๆ ไม่ได้ทำให้คนตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม มันเป็นการเอาตัวรอดคนเดียว...แขกเลยมองว่ามันเป็นการมอมเมาทางปัญญา สอนให้คนหลีกหนีปัญหา แล้วก็ทำให้มืดบอดต่อปัญหาของคนอื่นในสังคมด้วย คำพูดของ ว.วชิรเมธี มีอะไรที่ลึกซึ้งบ้าง ไม่มี แต่ทำไมคนถึงให้ความสำคัญ เพราะมันออกมาจากพระที่บอกว่าตัวเองอ่านพระไตรปิฎกเจนจบ เป็นศิษย์พุทธทาส” (มติชนออนไลน์ 19 ส.ค.53)

คำวิจารณ์ดังกล่าวท้าทายจารีต “ยอเกียรติพระ” อย่างจัง แต่จริงๆ แล้วการวิจารณ์เช่นนี้วิจารณ์จากจุดยืนวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่ถือว่า “ทุกคนมีความเป็นคนเท่าเทียมกัน” แม้สถานะทางสังคมจะต่างกัน โดยเฉพาะบุคคลสาธารณะย่อมควรแก่การวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ

ในทางพุทธศาสนาพระพุทธองค์ก็ยอมรับการถูกวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ ดังที่พระองค์วางหลักปฏิบัติแก่ชาวพุทธว่า “หากมีใครติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ชาวพุทธไม่ควรโกรธ ควรรับฟังอย่างมีสติ และจี้แจงไปตามความเป็นจริง”

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมานานในบ้านเราคือ เวลาเกิดปัญหาทางพุทธศาสนา หรือแม้แต่ปัญหาบ้านเมือง สังคมมักนึกถึงพระสงฆ์ แต่ไม่ได้นึกถึงพระสงฆ์ที่เป็น “องค์กรสงฆ์” มักนึกถึงพระสงฆ์ที่เป็นปัจเจกบุคคล เช่นเมื่อสมัย 6 ตุลา 19 ในยุคที่รัฐปราบปรามนักศึกษาด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็น “คอมมิวนิสต์” สื่อมวลชนก็ไปสัมภาษณ์ กิตติวุฑฺโฒภิกขุ ทำนองว่าฆ่าคอมนิสต์บาปหรือไม่ ท่านก็ตอบว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ได้บุญมากกว่าบาป”

ในยุคปัจจุบันไม่รู้ว่าสื่อไปสัมภาษณ์ท่าน ว.วชิรเมธี อย่างไร ถึงมีการนำเสนอคำตอบออกมาว่า “ฆ่าเวลาบาปมากกว่าฆ่าคน” แต่เท่าที่ผู้เขียนมีโอกาสสัมภาษณ์ท่านได้รับคำอธิบายว่าท่านพูดประโยคนี้ในบริบทการสนทนาเรื่อง “การรู้คุณค่าของเวลา” โดยในการสนทนานั้นไม่ได้มีการพูดถึงปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น แต่เมื่อสื่อนำไปเสนอกลับนำเอาไปโยงกับการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง

แต่อย่างไรก็ตาม ข้อวิจารณ์ของคำ ผกา ที่ว่า “คำพูดของ ว.วชิรเมธี มีอะไรที่ลึกซึ้งบ้าง...” ผู้เขียนคิดว่าคำวิจารณ์นี้อาจนำไปตั้งคำถามกับการแสดงทัศนะทางการเมืองในบางประเด็นของท่าน ว.วชิรเมธี ได้ เช่นที่ท่านเคยให้สัมภาษณ์ทีวีไทย (ช่วงปลาย ปี 51) ตอนหนึ่งว่า

“เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง เราเอาแต่พระราชอำนาจมา แต่ไม่เอาทศพิธราชธรรมมาด้วย” หรือ“ประชาธิปไตยอำนาจเป็นของประชาชน แต่เราลืมไปว่าประชาชนมีศักยภาพในการใช้อำนาจหรือยัง” หรือ“ทหารพยายามเข้ามาแก้ปัญหาคอร์รัปชัน” เป็นต้น

ทัศนะทางการเมืองดังที่ยกตัวอย่าง (เป็นต้น) นี้ย่อมหลีกเลี่ยงการวิจารณ์ “แบบ คำ ผกา” ไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะใครที่เคยอ่าน “ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1” ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ฉบับเต็มย่อมทราบว่า ประกาศฉบับดังกล่าวโจมตีการคอร์รัปชันและการกดขี่ของระบบกษัตริย์อย่างรุนแรง
ส่วนคำถามถึงศักยภาพการใช้อำนาจของประชาชน หรือวาทกรรม “ประชาชนยังไม่พร้อม” ก็เป็นวาทกรรมที่ ท่านรัฐบุรุษปรีดี พนมยงค์ วิจารณ์มานานแล้ว (ทำนอง) ว่า “เป็นคำพูดที่ชนชั้นนำชอบดูถูกประชาชน”

ยิ่งวาทกรรม“ทหารพยายามเข้ามาแก้ปัญหาคอร์รัปชัน” ยิ่งไม่ต้องพูดถึงว่าเป็นวาทกรรมที่ไร้ความหมายแค่ไหน

และข้อเท็จจริงในปัจจุบันยิ่งชี้ชัดว่า ประชาชนที่ถูกดูถูกว่าโง่ ไม่รู้ประชาธิปไตย ถูกซื้อ ฯลฯ กลับเป็นฝ่ายที่เรียกร้องการเลือกตั้ง หรือยืนยัน “เสรีภาพในการปกครองตนเอง” แต่ฝ่ายที่อ้างว่า มีการศึกษาดี มีศีลธรรมสูงส่ง กลับเป็นฝ่ายที่เรียกร้อง “อำนาจนอกระบบ” หรืออำนาจที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับ “เจตจำนงทั่วไป” ของประชาชน

ฉะนั้น เมื่อพระพูดการเมืองก็เป็นเรื่องที่ชาวบ้านอย่างเราๆ มีสิทธิ์วิจารณ์ “คำพูด” ของพระได้เช่นกัน จะให้นั่งพนมมือสาธุๆ!! หรือเอาแต่ “ยอเกียรติพระ” ไปทุกเรื่องคงไม่ดีแน่ๆ

ที่มา ประชาไท




 

Create Date : 20 มีนาคม 2554    
Last Update : 20 มีนาคม 2554 0:49:35 น.
Counter : 727 Pageviews.  

วิจารณ์ความเห็นทางการเมืองของพระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี)

ดร.โสภณ พรโชคชัย (//www.facebook.com/pornchokchai)
25 กรกฎาคม 2553

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ศกนี้ มีเพื่อนใน facebook แนะนำให้ผมฟังบทสัมภาษณ์ “ฝ่าวิกฤติการเมืองไทย” ของพระมหาวุฒิชัย ซึ่งให้สัมภาษณ์ในสมัยที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี และกำลังมีการต่อสู้ทางการเมืองกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ผมก็เพิ่งเคยฟังบทสัมภาษณ์นี้ ซึ่งปรากฏใน //video.mthai.com/player.php?id=0M1221149318M0

ผมฟังความเห็นทางการเมืองของพระมหาวุฒิชัยแล้ว จึงขออนุญาตแสดงความเห็นทั้งนี้เพื่อช่วยกันมองให้รอบด้าน และส่งเสริมการปุจฉาวิสัชนาเพื่อให้เกิดสังคมอุดมปัญญา ท่านที่สนใจร่วมให้ความคิดเห็นก็โปรดแสดงด้วยความสำรวมและช่วยกันพิจารณาในด้านเนื้อหาเป็นสำคัญ เพราะผู้ให้สัมภาษณ์เป็นพระสงฆ์ และแม้เป็นพระหนุ่มระดับมหาคราวลูกอายุเพียง 35 ปี แต่ทุกคนก็ควรแสดงความเคารพผ้าเหลืองด้วย ความเห็นของผมเป็นดังนี้ครับ

1. พิธีกรไปถามพระ ๆ ก็ต้องนึกถึงทางออกด้านพุทธศาสตร์ที่รำเรียนมาเป็นสำคัญ ถามนักเศรษฐศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ ก็ได้มุมมองจากพื้นฐานความรู้นั้น ๆ แต่ว่าแต่ละศาสตร์โดด ๆ ก็คงไม่สามารถนำมาแก้ไขปัญหาการเมืองได้ การบอกว่านักการเมืองไม่มีธรรมะ แล้วในประเทศตะวันตกที่ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา เขามีธรรมะข้อไหน ถ้าบอกว่าศาสนาอื่นก็มีธรรมะของพุทธแฝงอยู่ หรือว่าพุทธศาสนาก็เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาอื่นหรืออย่างไร

2. ที่พระมหาวุฒิชัยบอกทำนองว่า (คณะราษฎร์) เอาพระราชอำนาจมาจากพระมหากษัตริย์ แต่ไม่ได้เอาทศพิธราชธรรมของพระมหากษัตริย์มาด้วย จึงทำให้ขาดธรรมะ ข้อนี้เป็นคำพูดที่ฟังดูดี น่าสนใจ แต่ในความเป็นจริง กษัตริย์บางพระองค์ในอดีตก็ไม่ได้มีทศพิธราชธรรม ก็เหมือนนักการเมือง การที่พระมหาวุฒิชัยพูดในห้วงแหลมคมของการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลกับพันธมิตรก็เท่ากับต้องการตำหนิว่ารัฐบาลในขณะนั้นไม่มีทศพิธราชธรรม ซึ่งจะจริงหรือไม่ผมคงไม่มีความเห็นในเรื่องนี้

3. เรื่องที่ว่าประชาชนไม่มีศักยภาพในการตัดสินใจ โดยยกตัวอย่างความเชื่อแต่เดิมว่าโลกแบน ถ้าให้ประชาชนผู้ไม่รู้วิทยาการออกเสียงในสมัยโบราณว่าโลกกลมหรือแบบ ส่วนใหญ่ก็ต้องออกเสียงว่าโลกกลม กรณีศิลปวิทยาการนั้น เราไม่สามารถถามเสียงส่วนใหญ่ เช่นในขณะนี้เราก็คงไม่สามารถถามคนส่วนใหญ่ว่าจะสร้างจรวดไปดวงจันทร์ได้อย่างไร ต้องถามนักวิทยาศาสตร์ต่างหาก แต่ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เป็นเรื่องของปุถุชน ทุกคนรู้เท่าทันกัน เสียงส่วนใหญ่ย่อมถูกต้องเสมอ <1>

เสียงส่วนใหญ่คือสัจธรรม อย่างผมทำอาชีพการประเมินค่าทรัพย์สิน ผมทราบความจริงอย่างหนึ่งว่า ประชาชนส่วนใหญ่คือเสียงสวรรค์ คือความถูกต้อง ในตลาดเปิดทั่วไป ถ้าคนส่วนใหญ่ซื้อบ้านในราคาหนึ่ง ราคานั้นก็จะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง ในความเป็นจริงอาจมีข้อมูลที่สูงหรือต่ำผิดปกติ (outliers) อยู่บ้างแต่ก็เป็นส่วนน้อย อย่างไรก็ตาม “กฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น” เช่น เสียงส่วนใหญ่ของโจรย่อมใช้ไม่ได้ แต่โจรก็ยังเป็นคนส่วนน้อยในสังคม

4. การที่บอกว่าประชาชนไม่มีศักยภาพ ในแง่หนึ่งอาจเป็นการให้ท้ายกับพวกเผด็จการรัฐประหาร ให้มาตัดสินใจแทนประชาชนโดยอ้างว่าประชาชนไม่มีศักยภาพอยู่ร่ำไป และเมื่อเข้ามาแล้ว ก็มาโกงกิน เห็นได้ชัดตั้งแต่สมัยสฤษดิ์ และสามทรราช อาจรวมทั้ง รสช. หรืออาจรวม คมช. ด้วยก็ได้ มีใครเชื่อได้โดยสนิทใจว่ารัฐมนตรีในยุคสุรยุทธ์ใสสะอาดกว่ายุคอื่น

5. การพูดว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไขก็ต่อเมื่อประชาชนต้องมีศีล สมาธิ และปัญญานั้น ใคร ๆ ก็พูดได้กับแนวทางการแก้ปัญหาแบบครอบจักรวาลอย่างนี้ การพูดอย่างนี้อาจกลายเป็นการไม่นำพาต่อการศึกษาถึงสาเหตุของปัญหาตามอริยสัจ 4 เข้าทำนองเอาแต่ท่องมนต์ ท่องคาถา การแก้ปัญหาแบบข่มใจจึงมักทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่หลายคนพอนั่งสมาธิก็ใจสงบชั่วคราว พอออกจากสมาธิก็กลัดกลุ้มดังเดิม และนี่เองศาสนาจึงถูกทำให้กลายเป็นยาเสพติดที่ให้ผลชั่วคราว

6. การอ้างว่า “Paris Hilton” ที่ได้รับการประกันตัวก็ยังต้องเข้าคุกอีกครั้งเพราะมีเสียงประชาชนไม่เห็นด้วย เรื่องนี้ศาลสหรัฐอเมริกาคงไม่ได้ตัดสินอะไรตามกระแสของสังคมเช่นที่พระมหาวุฒิชัยให้สัมภาษณ์ จากการค้นหาข้อมูลเบื้องต้น ไม่พบเรื่องการขอประกันตัวดังกล่าว แต่เป็นการขออภัยโทษ และจำนวนคนที่ไม่เห็นด้วยกับการขออภัยโทษกับผู้ที่เห็นด้วยก็มีจำนวนนับหมื่น ๆ คนพอ ๆ กัน ไม่ใช่มีแต่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยแต่อย่างใด <2> อย่างไรก็ตามโดยนัยหนึ่ง การกล่าวอ้างเรื่องนี้ของพระมหาวุฒิชัยเป็นส่งสัญญาณให้รัฐบาลฟังเสียงของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่กำลังเรียกร้องอยู่ในขณะนั้นนั่นเอง

7. พระมหาวุฒิชัยบอกว่าถ้าจะแก้ปัญหาการเมืองเฉพาะหน้า ก็ต้องให้ทุกคนมีขันติธรรม สันติธรรม เมตตาธรรม นิติธรรม และสัจธรรม อันนี้ก็พูดกันไปครับ พูดอีกก็ถูกอีกอยู่นั่นเอง คือเหมือนกับบอกว่า ถ้าขาดความอดทนต้องทำอย่างไร คำตอบก็คือต้องมีขันติ ถ้าใจร้ายต้องทำอย่างไร คำตอบก็คือต้องมีเมตตา เป็นต้น ในที่นี้ถ้ายกหลักธรรมกันจริง ๆ ยังมีอีกหลายหลักธรรมที่ยกมาได้อีกเป็นโขยง เช่น มโนธรรม สัปปุริสธรรม ฆราวาสธรรม 4 อัปปมาทธรรม 7 พรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) และสังคหวัตถุ 4 เป็นต้น

8. พระมหาวุฒิชัยได้บอกว่าหลักการตัดสินใจนั้นมีอยู่ 3 อย่างคือ อัตตาธิปไตย เป็นการตัดสินใจโดยยึดตนเองเป็นใหญ่จะทำให้เป็นทรราชได้ (เป็นการเตือน/ปรามรัฐบาลในขณะนั้น) โลกาธิปไตย เป็นการตัดสินใจโดยถือเสียงส่วนใหญ่ (ขณะนั้นรัฐบาลสมัครกุมเสียงส่วนใหญ่อยู่) ซึ่งก็ยังไม่ดีพอ และแนะให้ตัดสินใจบนพื้นฐานของธรรมาธิปไตย โดยยึดธรรมะเป็นที่ตั้ง อย่างไรก็ตามหากไปค้นพระไตรปิฎกในส่วนของ “อธิปไตยสูตร” <3> ตามที่พระมหาวุฒิชัยอ้างถึง กลับปรากฏว่ามีสาระแตกต่างไปโดยสิ้นเชิง เพราะพระไตรปิฎกสอนให้พระบรรลุธรรมโดยอาจพิจารณาจากตน จากโลกหรือจากธรรมเป็นสำคัญ ไม่ได้เกี่ยวกับการปกครองในทางโลกเลย

9. พระมหาวุฒิชัยได้ให้สัมภาษณ์ปิดท้ายว่าให้ทุกฝ่ายวางทิฐิลง เอาชีวิตของประชาชนไว้ดีกว่า อยากให้ทุกฝ่ายถอยสักก้าวหนึ่ง การถอยของรัฐบาลก็คงหนีไม่พ้นการบอกเป็นนัยให้ยุบสภาหรือลาออก แต่ในสมัยพวกเสื้อแดงนับแสน ๆ ชุมนุมซึ่งมากกว่าพวกเสื้อเหลือง (ก่อนที่จะถูกหาว่าก่อการร้ายและมีอาวุธ) พระมหาวุฒิชัยก็ไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นในลักษณะนี้เลย

ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับความเห็นของผม ก็ลองดูนะครับ ผมหวังว่าการเห็นต่างนี้คงจะมีประโยชน์เพื่อการทบทวน สอบทานและพัฒนาความคิดให้เหมาะสมกับความเป็นจริงยิ่งขึ้น แตกต่างทางความคิด คงไม่ใช่การแตกแยกนะครับ ที่สำคัญผมเคารพพระสงฆ์องคเจ้า และไหว้ผ้าเหลืองอยู่แล้วครับ แต่เราก็ควรใช้วิจารณญาณไตร่ตรองด้วยปัญญาเพิ่มเติม

อ้างอิง
<1> กาลามสูตร พ.ศ.2553: //researchers.in.th/blog/006/3653

<2> โปรดอ่านเพิ่มเติมที่ //en.wikipedia.org/wiki/Paris_Hilton#DUI_arrest.2C_driving_violations.2C_and_jail_time

<3> พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 185 อธิปไตยสูตร //www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3827&Z=3899&pagebreak=0

ที่มา //www.facebook.com/note.php?note_id=413256628796&id=1105899523




 

Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2554    
Last Update : 20 มีนาคม 2554 0:35:51 น.
Counter : 439 Pageviews.  

รวมคำถามยอดฮิตในPageเบื่อ ว.วชิรเมธี

ตามที่มีผู้มาเยือนเพจ มีทั้งฝั่งที่ชื่นชอบหลวงเจ๊ และเบื่อหลวงเจ๊
ต่อไปนี้เป็นคำถามที่มักถามกัน

Q1 : "ใช้แต่เหตุผลในการวิเคราะห์คำสอนท่าน ว.? ผมว่าที่คุณพ่นออกมากันเนี่ย มันเปนอารมณ์เกลียดชังล้วนๆ"
A : ถ้าจะพูดว่าเป็นอารมณ์เกลียดชังทั้งหมดคงไม่ใช่ มีทั้งอารมณ์โกรธ ผิดหวัง สงสัยเคลือบแคลงใจ หรืออย่างอื่น เพียงแต่ที่สำคัญคือเราควรโต้เถียงกันโดยใช้เหตุผล

Q2 : บอกว่าคนในเพจนี้เป็นมารศาสนา ,เสี้ยนหนามศาสนา ทำให้ศาสนาเสื่อมเสีย
A : ถ้างั้นคุณก็ต้องนิยามคำว่า "มารศาสนา" , "เสี้ยนหนามศาสนา" , "ศาสนาเสื่อมเสีย" และอื่นๆให้ชัดเจนแล้วค่อยมาว่ากัน

Q3 : พระนั้นถือว่าเป็นที่เคารพของชาวไทยไม่ควรด่าคนที่ด่าไม่เจริญมามากแล้ว
A : ก็ต้องมาคิดกันว่า "ชาวไทย" ในความหมายนี้หมายถึงใคร? ชาวไทยพุทธ? หรือคนไทยทั้งหมด? หรืออะไร
ถ้าหมายถึงคนไทยทั้งหมดจะน่าเกลียดไปมั้ย ศาสนาอื่นเขานับถือกันก็มีถมเถ ถ้าหมายถึงชาวไทยพุทธก็ต้องมาดูเรื่องการด่า การด่านั้นเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเกิดจากความไม่พอใจ แน่นอนว่าเราไม่ควรด่าใครทั้งนั้น แต่เราก็ยังทำกันทุกคน ถ้าหากจะมาเถียงกันว่าไม่สมควร โดยมองพระ"ในฐานะคนธรรมดา" จึงเป็นเรื่อง non-sense เพราะมันอยู่ที่แต่ละบุคคลจริงว่าเขาจะเห็นสมควรหรือไม่สมควร หากจะมองว่าไม่ควรด่าพระ เพราะท่านเป็นผู้ที่อยู่สูงก็ต้องดูว่าท่านได้ทำตัวให้สูงสมกับที่อยู่สูงหรือไม่คนเขาถึงไม่พอใจเอา แล้วที่ว่า "ไม่เจริญมามากแล้ว" ต้องการ statistic สนับสนุนจ้า ไม่ใช่มาพูดลอยๆ

Q4 : บอกว่าเราโง่ที่ไปด่าว่าหลักธรรมที่หลวงเจ๊บอกผ่าน social network
A : โง่ คือ ไม่รู้ , ไม่ฉลาด ; ธรรม คือ ของที่เป็นกลางๆ จะว่าไปแล้วธรรม คือ ธรรมชาติ เช่น "น้ำมีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง" นี่ก็คือธรรมหรือธรรมชาติของน้ำ เป็นสิ่งที่ไม่บิดเบือน วิบัติ ไปจากความจริง
การที่มีคนไปด่าว่าหลักธรรมจึงเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น เว้นแต่นั่นไม่ใช่ธรรม (บิดเบือน , วิบัติ) เขาจึงด่าว่ากัน ส่วนจะบิดเบือนหรือวิบัติอย่างไรก็คงต้องมองกันให้ดีๆนั่นคือเอาธรรมที่เป็นของกลางๆเป็นตัวเปรียบเทียบ ถ้าคุณไม่ใจแคบสักหน่อยก็ลองรับฟัง พูดคุยกับคนในเพจนี้แล้วลองวิเคราะห์เองดู จะได้รู้ว่าเขา "โง่" กันจริงหรือไม่ หรือ "หลักธรรม" นั้นจริงหรือไม่

Q5 : "แล้วพวกคุณละบอกท่าน ว สอนบิดเบือนรู้จุดประสงค์ที่แท้จริงของท่านหรือป่าว อย่าเชื่อโดยคิดเอาเอง บอกว่าท่าน ว เป็นตุ๊ดเคยเห็นกับตาตัวเองไหม แล้วถ้าเรื่องที่คุณพูดมาทั้งหมด ทำไมยังมีคนไปอยู่ฝั่งท่าน ว เกือบ 300000คนละครับ พวกเขาก็มีสมองนะคับ"
A : เรื่องบิดเบือนนี้ต้องดูธรรมเป็นตัวเปรียบเทียบอย่างที่บอกไป จุดประสงค์ของหลวงเจ๊นั้นคงทราบได้ยากเพราะ "ใจคนยากแท้หยั่งถึง" อีกอย่างใครเค้าบังคับให้คุณต้องเห็นด้วยกับ3แสนคนนั้น? (ทีผลการเลือกตั้งไม่เสือกเคารพ) ถ้าสมองคุณมีก็ต้องคิดเอง ไม้หลักปักขี้เลนรึเปล่านิคุณ ถ้า3แสนนั้นด่าก็คือพระรูปนี้ไม่ ดีจริงงั้นหรือ? ตามกระแสที่สุดใน3โลก!

Q6 : "พูดในฐานะชาวพุทธคนนึง การเอาพระเอาเจ้ามาตั้งแล้วกร่นแขวะ(หรืออาจด่า) ลงรูปนั่นนี่ สมควรหรือเปล่า มันไม่ทำให้ศาสนาพุทธเสื่อมหรือถดถอยหรอกหรือ"
A : ในเรื่องความสมควรมันอยู่ที่มุมมองของแต่ละคน คนในเพจนี้อาจจะมองเห็นว่าพระรูปนี้มีพฤติกรรมที่ไม่เข้าเค้าพระสงฆ์ที่ดี หรือคุณที่อาจจะมองว่าพระรูปนี้ประพฤติดีแล้ว ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ตนเองมาตัดสินว่าสิ่งนี้สมควรหรือไม่สำหรับผู้อื่น แต่ควรจะยอมเปิดใจฟังซึ่งกันและกันมากกว่าว่าทำไมจึงเห็นต่างกัน ส่วนการตั้งข้อสงสัยและวิพากษ์วิจารณ์ "ตัวบุคคล" (ในที่นี้คือ ว.) นั้นที่ล้วนเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่ทุกคนสามารถทำได้ ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ แล้วมันจะทำให้ "สถาบัน" (ในที่นี้คือศาสนาพุทธ ถ้ายอมรับได้ว่าศาสนาก็เป็นสถาบัน) เสื่อมลงไปได้อย่างไร รู้สึกว่าเพจนี้เค้าจะพูดกันถึงตัวบุคคล ไม่ได้ดูหมิ่นศาสนาแต่อย่างใดนะจ๊ะ ถ้ามองว่า พระ = ศาสนาพุทธ --> วิจารณ์พระ = ดูหมิ่นศาสนาพุทธ อย่างนี้ก็บรรลัยกันพอดี

Q7 : ถ้างั้น ว. วชิรเมธีไม่ดียังไงพวกคุณถึงได้โจมตีเขานัก
A : ถ้าคุณไม่ใจแคบเกินไปและพร้อมจะรับฟัง เราคิดว่า
1.หลวงเจ๊ ใช้ความเป็นนักบวชในศาสนาพุทธ เผยแพร่ข้อมูลที่ผิดเพี้ยนหรืออยู่นอกเหนือชุดข้อมูลของศาสนาพุทธ
1.1เพื่อดึงดูดฝูงชน มุ่งผลิตข้อความที่ดูสวยหรู ไร้แก่นสาร ไม่ช่วยแก้ปัญหาสังคมไทยอย่างแท้จริง เปรียบเหมือนยากล่อมประสาท อีกทั้งอิงอุดมการณ์ชาติและศักดินามากเสียกว่าการยึดแก่นแท้กระพุทธศาสนา
1.2เพื่อชี้นำสังคมหรือฝูงชนนั้นๆ ด้วยความคิดเห็นส่วนตัว บางครั้งก็ถึงขั้นฉ้อฉล เช่น การทวิตประโยคว่า "ฆ่าเวลาบาปเสียยิ่งกว่าการฆ่าคน" เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2553 , คำพูดในรายการวู้ดดี้เกิดมาคุยว่า "คนสมัยก่อนเหาะได้ อย่างมงายในวิทยาศาตร์"
2.การโฆษณาตัวเองในรูปแบบต่างๆ ที่ "มากเกินไป" จนทำให้เกิดความรู้สึกว่า "เอียน"... บางทีถ้าเราอยากได้ธรรมะด้วยใจจริง เราจำเป็นมั้ย? ที่ต้องจ่ายตังแพงๆ ไปซื้อหนังสือของหลวงเจ๊
3.การใช้คำพูดบางคำพูดที่มาจาก Quote ดังๆของบุคคลสำคัญเพื่อเสริมสร้างความโด่งดังให้กับตนเอง โดยที่ในบางครั้งไม่ได้ให้ credit เขาเลย หรือในกรณีที่ให้ credit ก็ให้อย่างกำกวมไม่ได้บอกชื่อเจ้าของ Quote ไปตรงๆ
4.การกระทำบางอย่างที่อยู่นอกเหนือกิจของสงฆ์ เช่น การจัด "การแข่งขันฟุตบอลนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ว.คัพ ๒๐๑๑"

Q8 : ทำไมพวกคุณไม่วิจารณ์อย่างสร้างสรรคบ้างหาเหตุผลและหลักฐานพิสูจน์สิ
A : ถ้าคุณไม่ตาถั่วและตั้งแง่จะเข้ามาด่าคนในเพจนี้จนเกินไป กรุณาย้อนกลับไปอ่านในโพสต์เก่าๆด้วย ในนั้นมี discussion ที่อาตมินคิดว่ามีเหตุผลกันในตัวดีทีเดียว

Q9 : ประเด็นเรื่องการมองว่าคนในเพจนี้มีอคติกับหลวงเจ๊มากซะจนมองไม่เห็นความดี
A : ประเด็นของการเบื่อ ว. และด่า ว. ณ เพจแห่งนี้ ไม่มีใครเคยเสนอเลยว่า ว. นั้นมีแต่ความเลวบริสุทธิ์ จนหาดีอะไรไม่ได้
เป็นเพียงการเสนอว่า เรื่องไหนที่เห็นว่า ว. เลว เราก็บอกได้ว่าเลวอย่างไร

ที่ดูเหมือนจะมีปัญหา ก็แค่มีสาวกโง่ๆ ที่ใช้สมองไม่ค่อยเป็น มาคอยแหกปากด่าคนที่วิจารณ์ว่า "ด่าพระ มันเลว มันบาป" โดยที่ไม่สามารถ defend ประเด็นอะไรที่คนเค้าด่า ว. กันได้เลย ว่า ที่เราด่า ว. กันไปนั้น มันไม่ถูกต้องอย่างไร

ประเด็นที่ง่ายที่สุดที่สาวกโง่ๆของ ว. ไม่เข้าใจก็คือ การที่มีคนเสนอว่า ว. เลว ไม่ได้หมายความว่าคนนั้นมี "อคติ" แล้วมองว่า ว. นั้นไม่มีอะไรดีเลย
ถ้าไม่โง่บัดซบจนเกินไป สาวกของ ว. ต้องถามตัวเองว่า ตนเองมี "อคติ" อะไรอยู่ จึงมองว่า ว. นั้นมีแต่ข้อดี ปราศจากซึ่งความเลวใดๆ ทั้งปวง?

ที่มา : Pageเบื่อ ว.วชิรเมธี

Fanpage Facebookเบื่อ ว. วชิรเมธี ทั้ง2Page
//www.facebook.com/pages/beux-w-wchir-methi/110239892341726
//www.facebook.com/pages/beux-wwchir-methi-return/153963051314184




 

Create Date : 19 มกราคม 2554    
Last Update : 23 มกราคม 2554 19:27:47 น.
Counter : 1401 Pageviews.  

พระพิมลธรรมผจญมาร อำนาจและความชอบธรรมในสถาบันสงฆ์เมื่อครั้งอดีต?

เสขิยธรรม ฉบับ ๕๑
เสขิยบุคคล

อธิฐาน์ คงทรัพย์ –รวบรวมและเรียบเรียง

ข้าพเจ้าเชื่อว่าคงมีน้อยคนในยุคนี้ ที่เคยได้ยินเรื่องราวของพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) พระผู้พัฒนางานด้านพระพุทธศาสนา และการฟื้นฟูเผยแผ่พระพุทธศาสนาหัวก้าวหน้า ในยุครัฐบาลเผด็จการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม จวบจนถึงสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ งานที่พระพิมลธรรมได้บุกเบิกไว้ ถือว่าเป็นงานที่ท้าทายต่อความคิดและความรู้สึกผู้คนในสมัยนั้นไม่น้อย ด้วยเหตุนี้ท่านจึงต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง ความริษยา และการคุกคามของผู้มีอำนาจทั้งทางตรงและทางอ้อม เรื่องราวความเป็นมาของท่านนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นตำนานแห่งการยืนหยัดต่อสู้กับความขัดแย้ง มิจฉาทิฐิ และการใช้อำนาจอันอยุติธรรมที่แอบแฝงอยู่ในสถาบันสงฆ์

การนำเรื่องราวของท่านมาเล่าสู่กันฟัง อาจช่วยให้เราได้ทบทวนความทรงจำ และรำลึกถึงหนทางการต่อสู้กับอำนาจอยุติธรรมด้วยการยึดมั่นในธรรมของท่านด้วยจิตคารวะ

ในยุคนั้นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างแนวทางการทำงานของพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ที่มีต่อความคิด ความรู้สึกของพระผู้ใหญ่และคณะสังฆมนตรีบางรูปในคณะสงฆ์ รุนแรงถึงขั้นที่ฝ่ายตรงข้ามต้องยืมมือรัฐบาลเผด็จการในสมัยนั้นเข้ามาใช้อำนาจแทรกแซง เพื่อกำจัดท่านออกไปจากวงการสงฆ์เลยทีเดียว จนภายหลังแม้ท่านจะถูกถอดถอนจากสมณศักดิ์ ถูกรัฐบาลสั่งจับคุมขังด้วยข้อหาว่ามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ (อันเป็นข้อหายอดนิยมที่อุกฉกรรจ์มากในสมัยนั้น) และถูกบีบบังคับให้สึกออกจากสมณเพศ ท่านก็ยังคงยืนหยัดยึดมั่นอยู่ในธรรม ปฏิบัติธรรมอยู่ในห้องขัง ไม่ต่างจากตอนที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์ เป็นเวลาถึง ๕ พรรษา จนเมื่อรัฐบาลเดิมหมดอำนาจไป กอรปกับมีการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ ศาลทหารกรุงเทพฯ จึงได้มีการสอบสวนและพิสูจน์ได้ว่าท่านบริสุทธิ์ ในครั้งนั้นท่านได้รับอิสรภาพ และได้กลับมาครองสมณเพศท่ามกลางความยินดีของศาสนิกจำนวนมาก แต่กระนั้นก็ใช่ว่าจะได้รับสมณศักดิ์กลับคืน จนในภายหลังที่พระสงฆ์ได้รวมตัวกันเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ท่าน ท่านจึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์คืนกลับมาดังเดิม

สาเหตุเบื้องหลังเหตุการณ์อันอยุติธรรม และความขัดแย้งที่รุนแรงทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ อาจกล่าวได้ว่ามีรากเหง้ามาจากอำนาจกิเลส มิจฉาทิฐิ ความริษยา และการผูกใจอาฆาตอย่างที่คนทั่วไปนึกไม่ถึง ว่าพระผู้ใหญ่ระดับชั้นสมเด็จฯ และสังฆมนตรีบางรูปในสมัยนั้นจะเป็นไปได้ถึงเพียงนี้ ดังที่จะขอกล่าวต่อไปโดยลำดับ

ประวัติโดยสังเขป

พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) มีนามเดิมว่า อาจ ดวงมาลา ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๖ ณ ตำบลบ้านโต้น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๔ ปี ได้ศึกษาพระพุทธศาสนา ทั้งทางด้านปฏิบัติและปริยัติเรื่อยมา เมื่ออายุย่างเข้า ๑๘ ปีก็ได้ย้ายเข้ามาศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในกรุงเทพฯ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยได้พำนักอยู่ ณ วัดมหาธาตุฯ นั้นเอง ต่อมาท่านได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดมหาธาตุฯ โดยมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “อาสโภ”

ท่านได้หมั่นเพียรศึกษาเรื่อยมาจนสอบได้เป็นเปรียญธรรม ๘ ประโยค และได้เป็นครูสอนประจำสำนักวัดมหาธาตุฯ เป็นเวลาถึง ๗ ปี (๒๔๖๗–๒๔๗๕) ต่อมาจึงได้ถูกส่งไปเป็นเจ้าอาวาส ณ วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อไปฟื้นฟูการงานพระพุทธศาสนาที่นั่น ภายหลังได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกด้วย ท่านได้ทำงานฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่นั่นเป็นระยะเวลาถึง ๑๖ ปี (๒๔๗๕–๒๔๙๑) ในระหว่างนั้นท่านได้สร้างผลงานด้านการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาไว้ไม่น้อย และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ หลายประการ เป็นต้นว่า สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา เจ้าคณะตรวจการภาค แม่กองธรรมสนามหลวง และยังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีสุธรรมมุนี และเลื่อนชั้นเรื่อยมาจนเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านได้ย้ายกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ และได้เลื่อนสมณศักด์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้ารองสมเด็จที่ “พระพิมลธรรม” ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งในระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสนั้น ท่านยังได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองถึง ๔ สมัย

เหตุแห่งความขัดแย้ง

สาเหตุความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับพระพิมลธรรม จนท่านถึงกับต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดถอนสมณศักดิ์ ตลอดจนจับกุมคุมขังนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาตั้งแต่เมื่อครั้งที่ท่านดำรง ตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ และสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง เพราะในช่วงเวลาที่ท่านได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ท่านได้สร้างสรรค์งานทางด้านการศึกษา และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างใหม่ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการสงฆ์ อันก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เพราะมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และมีทั้งผู้ที่ริษยาในความสำเร็จและชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านอยู่ไม่น้อย งานสำคัญ ๆ ที่ท่านได้บุกเบิกไว้ในยุคนั้นมีสามประการคือ

๑.การขอพระอาจารย์ชั้นธัมมาจริยะจากประเทศพม่ามาช่วยสอนพระอภิธรรมปิฎกในเมืองไทย

๒. การส่งพระภิกษุนักเรียนพุทธศาสนบัณฑิตไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ เพื่อต่อปริญญาโท และปริญญาเอก ดังที่ยังคงดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

๓.การฟื้นฟูวิปัสสนาธุระ คือตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นที่วัดมหาธาตุฯ เป็นแห่งแรก แล้วขยายให้กว้างขวางมากขึ้นโดยลำดับไปสู่อำเภอและจังหวัดต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศ

นอกจากงานสำคัญทั้งสามประการนี้แล้ว ท่านยังได้มีการทำงานด้านอื่น ๆ ที่ท้าทายความรู้สึกของคนยุคนั้นและมหาเถระสมาคมอีกไม่น้อย เช่น การไม่ออกกฎห้ามคอมมิวนิสต์บวชในพระพุทธศาสนา การเป็นประธานนำคณะพระสังคีติการกะไทยไปร่วมประชุมกระทำฉัฏฐสังคยานาพระไตรปิฎก ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า การนำพระพุทธศาสนาไปเผยแพร่ในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย กัมพูชา อังกฤษ อินเดีย และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น และการทำงานร่วมกับองค์กรฟื้นฟูศีลธรรรมจากต่างประเทศ (Moral Rearmament : M.R.A. ) หรือที่คนทั่วไปรู้จักในชื่อว่า เอ็ม. อาร์. เอ. โดยไม่ยึดถือศาสนาไหนของใครว่าเป็นสำคัญ เป็นต้น

งานเหล่านี้เป็นสิ่งที่พระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่บางท่านไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะพระมหาเถระระดับสังฆนายกในสมัยนั้น คือสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) และสังฆมนตรีบางท่าน เพราะท่านเหล่านั้นไม่เข้าใจและมองไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่พระศาสนาในทางใด แต่ไม่กล้าขัดขวางโดยตรง ได้แต่แสดงความเห็นคัดค้าน ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา ก่อให้เกิดเป็นพลังกดดันและความขัดแย้งที่ค่อย ๆ สะสมเพิ่มมากขึ้นภายในสังฆสมาคมชั้นสูง

สาเหตุที่สำคัญอีกประการ ที่นำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงก็คือ ความอิจฉาริษยาในชื่อเสียงเกียรติคุณของพระพิมลธรรมที่เฟื่องฟูมากในยุคนั้น เนื่องจากงานบุกเบิกใหม่ ๆ ที่พระพิมลธรรมได้มุ่งมั่นทำขึ้นเหล่านี้ยังผลให้ชื่อเสียง เกียรติคุณของท่านขจรขจายไปไกลยังนานาประเทศ ได้รับความเชื่อถือจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า และกัมพูชา และยังได้รับเชิญเป็นรูปแรกให้เดินทางไปร่วมงานกับองค์กรทางศีลธรรมและศาสนาระดับนานาชาติ เช่น เอ็ม. อาร์. เอ. เป็นต้น

เพื่อให้เห็นสาเหตุและประเด็นความขัดแย้งที่ชัดเจนขึ้น เราอาจทำได้ด้วยการย้อนพิจารณาถึงงานสำคัญ ๆ ที่พระพิมลธรรมได้บุกเบิกทำขึ้นในยุคนั้นตามลำดับดังนี้

การขอให้รัฐบาลพม่าส่งพระภิกษุจากประเทศพม่ามายังประเทศไทย

งานประการแรก คือ การขอพระอาจารย์ชั้นธัมมาจริยะจากประเทศพม่ามาช่วยสอนพระอภิธรรมปิฎกในเมืองไทย ในปีพ.ศ. ๒๔๙๑ พระพิมลธรรมได้เคยปรึกษากับเอกอัครราชฑูตพม่า เพื่อขอให้ทางพม่าช่วยจัดส่งพระภิกษุ ชั้นธัมมาจริยะที่มีความเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎกมายังประเทศไทย พร้อมทั้งจัดส่งพระไตรปิฎกภาษาบาลี อรรถกา และฎีกาฉบับอักษรพม่ามาให้ด้วย ทั้งนี้เพราะท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกันเป็นอย่างมาก

ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ สภาการพุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่าจึงได้จัดส่งพระภิกษุระดับบัณฑิต ชั้นธัมมาจริยะ มายังประเทศไทย ๒ รูปคือ ท่านสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ และท่านเตชินทะ ธัมมาจริยะ ธัมมกถิกะ ซึ่งท่านอาจารย์ทั้งสองนี้ได้ช่วยฝังรากฐานวิชาความรู้พระอภิธรรมปิฎกไว้ให้อย่างดี เป็นระเบียบ เป็นหลักฐาน คือได้เขียนและแปลทำเป็นหลักสูตรไว้ให้ได้ใช้ศึกษาสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน

ในปี ๒๔๙๓ ทางพม่าได้จัดส่งสมณฑูต พร้อมทั้งอัญเชิญพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรพม่าพร้อมอรรถกถาและฎีกามายังประเทศไทยอีก ๓ ชุด ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ทางการคณะสงฆ์แห่งประเทศไทย จึงได้จัดส่งพระสมณฑูตพร้อมทั้งพระไตรปิฎกฉบับอักษรไทย ไปเยี่ยมตอบและมอบให้ประเทศพม่าด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พระพิมลธรรมได้ขอให้สภาการพุทธศาสนาสหภาพพม่า จัดส่งพระเถระฝ่ายวิปัสสนาจารย์ ให้มาสอนวิปัสสนาในเมืองไทย ๒ รูปคือ ท่านอูอาสภะ กัมมัฏฐานาจริยะ และท่านอูอินทวํสะ กัมมัฏฐานาจริยะ ซึ่งท่านพระอาจารย์ทั้งสองน ี้ก็ได้ช่วยเป็นกำลังเสริมสร้างการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานให้เจริญขึ้นในประเทศไทย โดยเริ่มเปิดฝึกสอนขึ้นที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ก่อนเป็นแห่งแรก และได้ดำเนินสืบเนื่องเรื่อยมาดังที่ปรากฏผลให้เห็นในปัจจุบัน

แม้งานเหล่านี้จะปรากฏผลให้เห็นว่า ได้สร้างประโยชน์ให้กับการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทยอย่างมาก แต่เนื่องจากในยุคนั้นยังมีคนไทยและพระภิกษุอีกไม่น้อยที่ยังมีอคติต่อพม่า จึงเป็นไปได้ว่างานที่พระพิมลธรรมได้ริเริ่มขึ้นนี้ คงมีฆราวาสและพระเถระหลายรูปที่นึกค้านไม่เห็นด้วย แต่ไม่กล้าออกมาต่อต้านขัดขวางโดยตรงในตอนนั้น

การส่งพระภิกษุไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ

งานประการที่สอง คือ การส่งพระภิกษุนักเรียนพุทธศาสนบัณฑิตไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ เมื่อพระพิมลธรรมได้ประกาศถึงความตั้งใจในการนี้ออกไปในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ปรากฏว่ามีเสียงคัดค้านอย่างหนักหน่วง เพราะเป็นงานใหม่ที่ผู้บริหารคณะสงฆ์ไทยไม่เคยคิดมาก่อน และมองไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ได้อย่างไร แต่พระพิมลธรรมยังคงยืนยันในเจตนาเดิมต่อคณะสังฆมนตรี เพราะเห็นว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อการศาสนา และยังอาจได้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนิกในประเทศต่าง ๆ อีกด้วย (แม้จะมีผู้พบในภายหลังว่า การส่งพระเดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศจะให้ทั้งคุณและโทษไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แต่ข้าพเจ้าไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดไว้ ณ ที่นี้ หากท่านสนใจประเด็นดังกล่าวสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ ความเข้าใจในเรื่องพระรัตนตรัย จากมุมมองของ ส.ศิวรักษ์ –ผู้เขียน)

เมื่อพระพิมลธรรมซึ่งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีในขณะนั้นได้แสดงเจตจำนง และแจ้งเรื่องไปว่า จะเดินทางไปส่งพระภิกษุสามเณรไปศึกษาวิชาพระพุทธศาสนายังประเทศพม่า อธิบดีกรมการศาสนา (นายบุญช่วย สมพงศ์) กับท่านสังมนตรีในสมัยนั้นต่างพากันคัดค้านโดยอ้างเหตุผลหลายประการ อาทิเช่น

“ประเทศพม่าเพิ่งหลุดจากความเป็นทาสของอังกฤษมาไม่นาน (คือเมื่อ ๔ มกราคม ๒๔๙๑) ส่วนประเทศไทยมีเอกราชสมบูรณ์เป็นประเทศอิสระมาเป็นเวลานาน ตามรูปการณ์นี้แสดงว่า สถาบันของประเทศพม่าย่อมต่ำกว่าของประเทศไทย ไม่ควรไปศึกษาในประเทศที่ต่ำกว่า” ๑

เหตุผลอีกประการที่นำมาอ้างก็คือ “พระพุทธศาสนาของประเทศไทย มีค่าสูงกว่าพระพุทธศาสนาของประเทศใดในโลก ไม่มีชาติใดสู้ได้ การนำนักศึกษาของเราไปศึกษาพระพุทธศาสนาของเขา จึงไม่เป็นการสมควร แต่ควรให้คนอื่นมาศึกษาในประเทศของเราจึงจะถูก ข้อสำคัญยิ่งกว่านั้นคือ การที่ท่านเจ้าคุณสังฆมนตรีนำพระภิกษุไปศึกษาในประเทศพม่าคราวนี้ จะเป็นการเสียสถาบันของประเทศ...” ๒

พระพิมลธรรมมิได้ต่อรองเป็นทำนองหักล้างข้ออ้างของอธิบดี กรมการศาสนามากนัก ท่านปรารภเพียงแต่ว่า การเดินทางในครั้งนี้ได้รับความเห็นชอบจากกรรมสัมปาทิก ของสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพร้อมกันแล้ว และได้เตรียมการทุกอย่าง พร้อมทั้งติดต่อเป็นการส่วนตัวกับผู้รู้จักในประเทศพม่า โดยการช่วยเหลือของอุปฑูตพม่าไว้พร้อมแล้ว จึงยากที่จะระงับการเดินทางได้ และท่านยังได้ยืนยันการเดินทางต่ออธิบดีกรมการศาสนาเป็นครั้งสุดท้ายว่า การเดินทางครั้งนี้เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องของตำแหน่งและทางราชการแต่อย่างใด

ครั้นเมื่อพระพิมลธรรมได้นำพระภิกษุที่จะเดินทางไปศึกษาต่อ ไปกราบลาท่านสังฆนายกในสมัยนั้น คือสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) เพื่อรับโอวาทและอนุโมทนา แต่แทนที่ท่านสังฆนายกจะให้โอวาทอันไพเราะ ท่านกลับแสดงข้อขัดแย้งที่ท่านมีอยู่ออกมาให้พระหนุ่มที่จะเดินทางไปศึกษาต่อได้ฟังว่า “ท่านพิมลธรรมเอ๋ย ท่านจะเอาดีไปถึงไหน การพระศาสนาในเมืองไทยเราดีที่สุดอยู่แล้ว” ๓

แต่กระนั้นการที่พระพิมลธรรมนำพระภิกษุไปศึกษาต่อยังประเทศ พม่านี้ก็ประสบความสำเร็จ และได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่และรัฐบาลพม่าเป็นอย่างดี และในกาลต่อมา ท่านยังได้ขยายขอบเขตในการส่งพระภิกษุไปศึกษาต่อไปยังประเทศอินเดีย ที่สถาบันนวนาลันทา และประเทศศรีลังกา ที่สถาบันธรรมฑูตวิทยาลัย เหล่านี้เป็นต้น นับว่าเป็นการทำงานชนิดท้าทายความคิดของสงฆ์และฆราวาสในยุคนั้นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีการส่งภิกษุไปศึกษาต่อยังต่างประเทศที่พระพิมลธรรมได้วางรากฐาน ไว้ในสมัยนั้น ก็ยังคงดำเนินการสืบเนื่องมาจนปัจจุบันนี้ ทั้งยังได้ขยายขอบเขตออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในแถบยุโรปและอเมริกาอีกด้วย

การริเริ่มตั้งสำนักสอนวิปัสสนาขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย

งานประการที่สาม คือ การฟื้นฟูวิปัสสนาธุระ คือตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นที่วัดมหาธาตุฯ เป็นแห่งแรก แล้วขยายให้กว้างขวางมากขึ้นโดยลำดับไปสู่อำเภอและจังหวัดต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศ

นับตั้งแต่ครั้งที่พระพิมลธรรมได้ส่งพระภิกษุไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ เพื่อให้นำความรู้กลับมาช่วยเสริมสร้างงานด้านพุทธศาสนาในประเทศไทย รวมทั้งการที่ท่านได้ขอเชิญพระพม่ามาช่วยทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระร่วมกันนั้น ได้ช่วยให้งานศาสนาในประเทศไทยก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก จนก่อให้เกิดการตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นวัดมหาธาตุฯ เป็นแห่งแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นต้นมา มีพระเถรานุเถระและคณะอุบาสก–อุบาสิกาสมัครเข้ามาปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก จนเต็มพระวิหารหลวงและระเบียงพระอุโบสถทั้ง ๔ ด้าน และภายใน ๑ ปีต่อมา ก็สร้างพระเถระวิปัสสนาจารย์ออกมาไม่น้อย ซึ่งวิปัสสนาจารย์เหล่านี้ก็ได้ออกไปช่วยขยายงานพระศาสนาด้านวิปัสสนาธุระให้กว้างขวางยิ่ง ๆ ขึ้นไป โดยได้ไปตั้งสำนักสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นในจังหวัดต่าง ๆ อีกเกือบทั่วประเทศ

การไม่ออกกฎห้ามคอมมิวนิสต์บวชในพระพุทธศาสนา

นอกจากงานสำคัญสามประการข้างต้นแล้ว พระพิมลธรรมยังได้บุกเบิกงานพระพุทธศานาด้านอื่น ๆ ที่เป็นการท้าทายความรู้สึกของคนในยุคนั้นอีกไม่น้อย เช่น การที่ท่านไม่ออกกฎห้ามคอมมิวนิสต์บวชในพระพุทธศาสนา ตามความตอนหนึ่งที่เล่าไว้ในหนังสือศึกสมเด็จ ๔ ว่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีองค์การปกครองนั้น รัฐบาลภายใต้การนำของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันการเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๔๙๓ โดยรัฐบาลได้ใช้กลไกทุกชนิดในการประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงอันตราย และความร้ายกาจของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มีต่อความมั่นคงของชาติ ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์


รับประเคนภัตตาหารจาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม

รัฐบาลได้มีหนังสือกราบเรียนสังฆนายกในสมัยนั้น คือสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) เพื่อขอให้ทางคณะสงฆ์ออกกฎห้ามรับคอมมิวนิสต์บวชในพระพุทธศาสนา เมื่อท่านสังฆนายกนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะสังฆมนตรี ปรากฏว่าสังฆมนตรีหลายรูปเห็นชอบด้วย และมีมติมอบให้พระพิมลธรรม (อาจ อาสภเถร) สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง รับไปดำเนินการให้เป็นไปตามความมุ่งหมายของรัฐบาล

แต่วันนั้นพระพิมลธรรมมิได้เข้าร่วมประชุมด้วย ทำให้ท่านตกอยู่ในฐานะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกต่อการดำเนินการเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าจะเป็นผลเสียแก่พุทธศาสนามากกว่าผลดี แต่หากปฏิเสธก็เท่ากับเป็นการขัดนโยบายของรัฐบาลและมติคณะสังฆมนตรี เมื่อยังหาทางออกไม่ได้ท่านจึงต้องเก็บเรื่องนี้ไว้ก่อน

อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็ยังคงติดตามเรื่องและทวงถามอยู่เสมอ ๆ ทำให้ท่านสังฆนายกและคณะสังมนตรีอีกหลายรูปต่างร้อนใจไปตาม ๆ กัน และมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา เป็นต้นว่าพระพิมลธรรมหัวดื้อบ้าง อวดดีบ้าง เป็นคอมมิวนิสต์บ้าง ฯลฯ จนมีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งไปขอสัมภาษณ์พระพิมลธรรมว่า การที่ท่านไม่ยอมออกกฎห้ามคอมมิวนิสต์บวชนั้น หมายความว่าท่านไม่กลัวคอมมิวนิสต์ใช่หรือไม่ ท่านก็ตอบว่า ท่านไม่กลัว เพราะท่านเป็นศิษย์พระพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งจึงไม่กลัว

เมื่อข่าวถูกตีพิมพ์ออกไป ทำให้รัฐบาลร้อนใจ จนต้องให้ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้นไปพบพระพิมลธรรมด้วยตนเอง เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงว่าท่านมีเหตุผลอย่างไรต่อเรื่องนี้ พระพิมลธรรมจึงได้ชี้แจงว่า ที่ท่านไม่กลัวคอมมิวนิสต์นั้น เพราะเชื่อมั่นว่าถ้าเราชาวพุทธเคารพสักการะพระรัตนตรัย ยึดพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ศึกษาให้รู้ให้เข้าใจศาสนา ปฏิบัติตามคำสอนในทางศาสนาอย่างจริงจังแล้ว จะไม่มีสิ่งใดมาทำลายสถาบันที่เราเคารพอยู่ได้เลย ขณะนี้ปัญหาเฉพาะหน้าจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรคนจึงจะรู้และปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้องและจริงจัง เมื่อแก้ปัญหานี้ได้แล้วท่านเชื่อว่า ความหวาดกลัวภัยพิบัติต่าง ๆ ก็จะหมดไป และท่านยังเห็นต่อไปว่า หากเราสามารถสอนพวกคอมมิวนิสต์ให้รู้ธรรมะ ให้เลื่อมใสในศาสนาได้ ก็จะเป็นการดี เป็นบุญกุศลด้วย ด้วยเหตุนี้ท่านจึงไม่กลัวคอมมิวนิสต์ และอยากเทศน์ให้คอมมิวนิสต์ฟังด้วย

เมื่อเหตุผลเป็นเช่นนี้ พล.ต.อ. เผ่า จึงกล่าวว่าเห็นด้วยกับท่าน และนำความไปกราบเรียนให้ท่านนายกทราบ ซึ่งเมื่อ จอมพล ป. ได้รับทราบแล้ว ทางรัฐบาลก็ไม่ได้มีการขัดขวางในเรื่องนี้อีก

การเป็นประธานไปร่วมประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกที่ประเทศพม่า

นอกจากเหตุการณ์ข้างต้นแล้ว ในสมัยหนึ่ง เมื่อประเทศพม่าตกลงจะประชุมกระทำฉัฏฐสังคายนาพระไตรปิฎก ที่มหาปาสณาคูหา กรุงย่างกุ้งนั้น ทางราชการพม่าได้อาราธนามายังคณะสงฆ์ไทย ขอให้ส่งพระคณะสังคีติการกะไปร่วมประชุมกระทำฉัฏฐสังคายนานี้ด้วย แต่เมื่อนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะสังฆมนตรีพิจารณา ที่ประชุมส่วนมากกลับไม่เห็นด้วยในการนี้ เพราะเห็นว่าพม่าเพิ่งจะได้เอกราชใหม่ ๆ การคิดจะกระทำฉัฏฐสังคายนา เป็นการคิดใหญ่เกินตัว บางท่านก็เห็นว่าควรส่งไปร่วมสังเกตการณ์ด้วยแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ไปร่วมประชุมลงมติ มีเพียงพระพิมลธรรมรูปเดียว ที่เห็นว่าควรส่งพระคณะสังคีติการกะไทยไปร่วมประชุมลงมติด้วย เพราะท่านเห็นว่าเป็นเรื่องของพระพุทธศาสนาที่สำคัญ ไม่ควรนำอคติทางชนชาติและการปกครองมาข้องเกี่ยว

เรื่องนี้ประเทศพม่าได้เสนอเรื่องไปยังคณะรัฐบาลไทยด้วย เมื่อคณะรัฐบาลมีมติให้คณะสงฆ์ไทยจัดส่งคณะพระสังคีติการกะไปร่วม พระพิมลธรรมจึงต้องรับหน้าที่เป็นประธานนำคณะพระสังคีติการกะไทยไปร่วม ประชุมยังประเทศพม่า ทั้งนี้เพราะท่านเป็นเพียงรูปเดียวในคณะสังฆมนตรีที่เห็นว่าควรส่งพระไทยไป ร่วมประชุมสังคยานาดังกล่าว พระเถระสังฆมนตรีในสมัยนั้นจึงยกให้งานนี้เป็นภาระของท่านแต่เพียงผู้เดียว

ด้วยเหตุที่พระพิมลธรรมเป็นผู้นำจากประเทศไทยในการไปร่วมร่วมประชุมกระทำฉัฏฐสังคายนาครั้งนั้น ทำให้ท่านเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลพม่าในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ให้เป็น “อัครมหาบัณฑิต” พร้อมกับสังฆนายกแห่งกัมพูชา และท่านก็ยังได้เดินทางไปร่วมประชุมกระทำฉัฏฐสังคายนาที่ประเทศพม่านี้อีกถึง ๑๒ ครั้ง จนกระทั่งแล้วเสร็จ และทำการฉลองเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ พอดี ๕

เหตุที่ท่านได้รับการยอมรับนับถือจากรัฐบาลพม่าเป็นอย่างมาก จนกระทั่งเป็นภิกษุไทยรูปแรกได้รับเกียรติแต่งตั้งให้เป็น “อัครมหาบัณฑิต” นี้ อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดความไม่พอใจ และความริษยาในพระผู้ใหญ่บางรูป บางกลุ่มในคณะสังฆมนตรีก็เป็นได้

พระพิมลธรรมกับ เอ็ม. อาร์. เอ.

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ท่านเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่ได้รับนิมนต์ จาก ดร.แฟรงค์ บุชแมน ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานของขบวนการส่งเสริมศีลธรรม (Moral Rearmament : M.R.A.) ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ เอ็ม.อาร์.เอ. เพื่อไปร่วมงานฉลองอายุครบ ๘๐ ปีของดร.แฟรงค์ บุชแมน และฉลองครบรอบ ๑๐ ปี ของเอ็ม.อาร์.เอ. ที่มลรัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเสร็จจากการเดินทางไปประชุมดังกล่าวแล้ว

พระพิมลธรรมพร้อมด้วยคณะยังได้เดินทางไปประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาในมลรัฐต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในยุโรปร่วมกับองค์กร เอ็ม.อาร์.เอ. อีกด้วย

ถือได้ว่าท่านเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ได้เดินทางไปประกาศพุทธธรรมยังประเทศเหล่านั้น เพราะก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีพระสงฆ์ไทยรูปใดเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่าง ๆ ดังกล่าวมาก่อนเลย นอกจากนี้พระพิมลธรรมยังเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ได้เข้าพบองค์พระสันตะปาปา ประมุขแห่งศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ณ กรุงวาติกัน เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี และหาทางแลกเปลี่ยนศาสนฑูตระหว่างศาสนาต่อกันและกันอีกด้วย

หลังจากการเดินทางในครั้งนั้น พระพิมลธรรมก็ได้รับนิมนต์จากองค์กร เอ็ม.อาร์. เอ. มาอีกเกือบทุกปีให้ไปร่วมเผยแผ่ศีลธรรมในประเทศต่าง ๆ ด้วยกัน ซึ่งท่านสามารถหาโอกาสเดินทางไปร่วมกับเอ็ม.อาร์. เอ. ได้อีก ๒–๓ ครั้ง ซึ่งท่านได้เล่าว่า “ปรากฏว่า สำหรับพระสงฆ์ไทยนั้น เขานิมนต์ไปร่วมเผยแผ่แต่ข้าพเจ้ารูปเดียว และการนิมนต์นั้น เขานิมนต์มาเกือบทุกปี แต่เราไม่มีโอกาสที่จะไปร่วมทุกปี” ๖

อนึ่งการเดินทางไปเผยแผ่ศีลธรรมร่วมกับ เอ็ม.อาร์.เอ. เป็นไปอย่างที่ไม่ยึดถือศาสนาไหนของใครว่าสำคัญ แต่ให้ยึดถือธรรม ๔ ประการเหมือนกันคือ ๑. จริงที่สุด ๒. บริสุทธิ์ที่สุด ๓. อดทนที่สุด ๔. เสียสละที่สุด ซึ่งใกล้เคียงกับฆราวาสธรรม ๔ ข้อของศาสนาพุทธ คือ ๑. สัจจะ ๒. ทมะ ๓. ขันติ ๔. จาคะ จึงเป็นโอกาสให้ท่านเดินทางไปทำงานร่วมกับเขาได้โดยไม่ขัดข้อง เพราะท่านเห็นว่าการที่ไปเผยแผ่ศีลธรรมร่วมกับคณะบุคคลากร เอ็ม.อาร์.เอ. นั้น ก็เหมือนกับการไปเผยแผ่ธรรมในพุทธศาสนานั่นเอง ซึ่งท่านก็ได้กล่าวถึงความรู้สึกของท่านที่มีต่อการทำงานร่วมกับองค์กร เอ็ม.อาร์.เอ. ไว้ว่า “...เราจึงไปร่วมกันได้อย่างสนิทชิดชอบเหมือนอย่างพี่น้องตลอดกาล” ๗

การที่พระพิมลธรรมได้ทุ่มเทสติปัญญา แรงกาย แรงใจ ในการพัฒนางานด้านพระพุทธศาสนาเหล่านี้จนประสบความสำเร็จดังที่ปรากฏอยู่ กลับกลายเป็นเหตุให้เกิดความไม่เข้าใจกันกับพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่บางท่าน และคณะสังฆมนตรีบางรูป อันเป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้ง การใส่ร้ายป้ายสี และเหตุการณ์ที่ตามมาคุกคามพระพิมลธรรมได้อย่างไม่น่าเชื่อ คือ ถึงกับทำให้ท่านต้องถูกปลดออกจากสมณศักดิ์ โดยเฉพาะงานสำคัญประการที่สาม คือการริเริ่มตั้งสำนักวิปัสสนาขึ้นในวัดมหาธาตุนั้น ได้กลายเป็นข้ออ้างที่ฝ่ายตรงข้ามใช้กล่าวหาท่านว่า มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ คือมีการซ่องสุมกำลังเพื่อก่อการบ่อนทำลายประเทศชาติ จนเป็นเหตุให้ท่านต้องถูกจับกุมตัวไปคุมขังไว้ ณ กรมตำรวจเป็นเวลาถึง ๕ พรรษา

ซึ่งก่อนหน้าที่เหตุการณ์จะดำเนินไปจนถึงขั้นนั้น ก็ได้มีเสียงติฉินนินทาท่านนานัปการ จากบรรดาฆราวาสและพระเถระบางรูปที่มีจิตริษยาและมีความเห็นขัดแย้งกับท่าน มีเสียงเรียกร้องให้เปลี่ยนตำแหน่ง หรือลาออกจากตำแหน่งเสีย ฯลฯ เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งท่านได้รับลิขิตจากสมเด็จสังฆนายกในสมัยนั้น คือ สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) ลงวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ที่ตำหนิการทำงานของท่านอย่างรุนแรง ทั้งยังแนะนำให้ท่านลาออกจากคณะสังฆมนตรีเสีย ท่านจึงได้ตัดสินใจไปพบสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) สังฆนายก เพื่อเรียนชี้แจงเรื่องราวการทำงาน และเรื่องต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงตามความเป็นจริงนานถึง ๔ ชั่วโมง

แต่การณ์กลับกลายเป็นว่าตลอดเวลา ๔ ชั่วโมง ที่ท่านพยายามเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) สังฆนายกนั้นกลับไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด หนำซ้ำอาจจะยิ่งเพิ่มไม่พอใจ ไม่เข้าใจกันให้มากขึ้น ดังคำพูดของสมเด็จพระวันรัตที่กล่าวกับพระพิมลธรรม หลังจากที่คุยกันมานานถึง ๔ ชั่วโมงว่า “ท่านพิมลธรรมนี่ คุยกันตั้งแต่ ก–ฮ หาช่องลงกันไม่ได้สักตัวเลย” ๘

เมื่อกลายเป็นเช่นนี้พระพิมลธรรมจึงต้องยึดอุเบกขาธรรมเป็นที่ ตั้ง ด้วยการวางเฉยต่อเสียงติฉินนินทาทั้งปวง สิ่งใดจะเกิดก็คงต้องปล่อยให้เกิด และท่านยังคงมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ พัฒนางานด้านศาสนาเหล่านี้ต่อไป โดยไม่สนใจหรือหวั่นไหวต่อคำคัดค้านหรือวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ ด้วยเชื่อว่างานเหล่านี้จะเป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยในอนาคต และยังผลให้กิจการพระพุทธศาสนาที่มีอยู่แล้วให้เจริญวัฒนายิ่งขึ้นไปตาม ลำดับ

การเปลี่ยนแปลงทางอำนาจในคณะสงฆ์

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก และได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ดำรงสังฆนายก และคณะสังฆมนตรีชุดใหม่ โดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺ€ายีมหาเถร) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสังฆนายก และได้เสนอชื่อคณะสังฆมนตรีชุดใหม่ต่อสมเด็จพระสังฆราชฯ

ซึ่งในคณะสังฆมนตรีชุดใหม่นั้นไม่ได้มีชื่อของพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) รวมอยู่ด้วย ทั้งที่ท่านมีผลงานและเกียรติคุณมากมาย ตลอดจนมีอายุยังไม่มาก ยังพร้อมที่จะบริหารงานต่อไปได้อีกหลายปี (ขณะนั้นท่านมีอายุ ๕๗ ปี) นับได้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจภายในคณะสงฆ์ในครั้งนี้ ทำให้พระพิมลธรรมได้พ้นออกจากตำแหน่งสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง สมดังพระประสงค์ขององค์สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่นี้

เมื่อท่านไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางอำนาจใด ๆ ในคณะสังฆมนตรีแล้ว เหตุการณ์ก็น่าจะยุติลงเพียงเท่านั้น แต่เป้าหมายแท้จริงของผู้มีอำนาจระดับสูงในคณะสงฆ์ มิใช่เพียงเพื่อกันพระพิมลธรรมออกจากตำแหน่งสังฆมนตรีเท่านั้น หากแต่มุ่งที่จะกำจัดออกไปจากวงการสงฆ์เลยทีเดียว ดังที่เคยมีพระภิกษุที่เคารพรักและนับถือพระพิมลธรรมได้มากราบเรียนท่านว่า สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) ได้ทรงตั้งพระทัยและปรารภไว้ว่า “จะทำพระพิมลธรรมให้เป็นพระมหาอาจ และจะทำพระมหาอาจให้เป็นนายอาจในที่สุด” ๙

แม้พระพิมลธรรมจะได้รับทราบความข้อนี้แล้ว แต่ท่านกลับรู้สึกเฉย ๆ เพราะท่านมีความมั่นใจอยู่เสมอในพระพุทธพจน์ที่ว่า “หมู่สัตว์ที่มีชีวิตทุกจำพวก มีกรรมเป็นของแห่งตน” และได้พิจารณาเห็นว่า เมื่อเรารับสนองกรรมใดก็ตามที่คู่ควรกัน กรรมอันนั้นก็จะหมดสิ้นอายุกันเสียที ถ้าเรามีเจตนาหลบเลี่ยงไม่ยอมรับผลกรรมนั้นแต่โดยดีในครั้งนี้ ครั้งต่อไปก็จะต้องรับผลสนองกรรมนั้นอีกจนได้ ท่านจึงไม่สนใจที่จะป้องกันตัว หรือระวังอะไรเป็นพิเศษ ยังคงมุ่งหน้าปฏิบัติภารกิจที่ยังมีอยู่ต่อไป

ถูกถอดออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส และถูกถอดสมณศักดิ์

ต่อมาไม่นานแผนการที่มุ่งหมายจะกำจัดพระพิมลธรรมก็เริ่มปรากฏให้เห็นจริง ดังคาด กล่าวคือ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๐๓ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ อุฏฺ€ายีมหาเถร สังฆนายก ได้ทำหนังสือกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช กิตฺติโสภณมหาเถร มีความว่า พระพิมลธรรม วัดมหาธาตุฯ ได้เสพเมถุนทางเวจมรรคกับศิษย์ภายในวัด และทำอัชฌาจารปล่อยสุกกะ ทั้งนี้ทางการตำรวจสันติบาล มีรองผู้บังคับการตำรวจสันติบาล พร้อมด้วยผู้กำกับการตำรวจสันติบาล ได้นำพยานในฐานะผู้เสียหาย ๕ คนมาให้คำยืนยันรับรองคำให้การในคดีดังกล่าวต่อหน้ากรรมการสงฆ์ทีละคน พร้อมกับได้จดบันทึกและลงนามเป็นหลักฐานไว้พร้อมกันนี้แล้ว คณะกรรมการสงฆ์จึงลงความเห็นว่า พระพิมลธรรมต้องศีลวิบัติ ขาดจากความเป็นภิกษุแล้ว ไม่สมควรทรงเพศเป็นบรรพชิต และไม่สมควรดำรงสมณศักดิ์ต่อไป พร้อมกับขอประทานเสนอให้สมเด็จพระสังฆราช ทรงจัดการในชั้นปกครองต่อไป

โดยไม่คาดฝัน พระพิมลธรรมก็ได้รับพระบัญชาจากสมเด็จพระสังฆราช กิตฺติโสภณมหาเถร ลงวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๐๓ ให้ท่านออกเสียจากสมณเพศภายใน ๑๕ วัน ดังมีข้อความว่า “..คณะกรรมการฝ่ายสงฆ์เห็นว่า ท่านถึงศีลวิบัติ ขาดจากความเป็นภิกษุแล้ว ไม่สมควรทรงเพศบรรพชิตในพระพุทธศาสนา และไม่สมควรดำรงสมณศักดิ์ต่อไป ...ขอให้ท่านพิจารณาตนด้วยตน ขอให้ท่านออกเสียจากสมณเพศและหลบหายตัวไปเสีย ...ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำนี้ภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่ปรากฏในลิขิตนี้” ๑๐

หลังจากได้รับลิขิตดังกล่าว พระพิมลธรรมตลอดจนคณะสงฆ์วัดมหาธาตุ จึงได้ทำหนังสือกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช และผู้มีอำนาจฝ่ายบ้านเมือง เพื่อขอความเป็นธรรม และขอโอกาสชี้แจงเพื่อแก้ข้อกล่าวหาดังกล่าวหลายครั้ง แต่กลับไม่เคยได้รับโอกาสแก้ข้อกล่าวหา หรือมีการสอบสวนรับฟังข้อเท็จจริงแต่อย่างใด

จนกระทั่งวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๐๓ สมเด็จพระสังฆราชทรงอาศัยอำนาจตามมาตรา ๔๖ แห่งสังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้มีพระบัญชาให้พระพิมลธรรมพ้นออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ ฐานประพฤติผิดอย่างร้ายแรง

และในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๐๓ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺ€ายีมหาเถร) สังฆนายกในสมัยนั้นได้เรียกคณะสังฆมนตรีมาประชุมเพื่อลงมติให้ถอดพระพิมล ธรรมและพระศาสนโสภณ เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส ออกจากสมณศักดิ์ และได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เสนอให้ดำเนินการถอดพระพิมลธรรมออกจากสมณศักดิ์ ในวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๐๓

ต่อมาวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีถอดพระพิมลธรรม ออกจากสมณศักดิ์ มีความว่า “ด้วยพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งคณะสังฆมนตรีได้พิจารณาแล้วมีมติว่า ไม่สมควรจะได้ดำรงอยู่ในสมณศักดิ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ถอดพระพิมลธรรมออกเสียจากสมณศักดิ์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป...”

เมื่อเหตุการณ์ดำเนินมาถึงขั้นนี้แล้ว พระพิมลธรรมจึงจำต้องยอมรับปฏิบัติตามพระบรมราชโองการนั้น โดยไม่ได้ขัดขืนแต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี คดีความที่ท่านถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าเสพเมถุนวิตถารกับศิษย์ในวัดนั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีมูลความจริงเลยแม้แต่น้อย หากเป็นการใส่ร้ายป้ายสี และสร้างความมัวหมองในการดำรงสมณเพศของท่านอย่างเลวร้าย ท่านจึงจำต้องหาทางแก้ข้อกล่าวหานี้ เมื่อไม่อาจได้รับความเป็นธรรมจากคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่และฝ่ายปกครองบ้านเมือง ท่านจึงต้องขอพึ่งศาลยุติธรรม โดยท่านได้มอบอำนาจให้ศิษย์ดำเนินการฟ้องจำเลยที่ให้การแก่ตำรวจเหล่านั้น เป็นคดีอาญาฐานใส่ร้ายแจ้งความเท็จและหมิ่นประมาท โดยเฉพาะนายวีรยุทธ์ วัฒนานุสรณ์ ซึ่งเป็นพยานปากสำคัญที่ให้การแก่ตำรวจ

ในที่สุดนายวีรยุทธ์ วัฒนานุสรณ์ ก็ได้สารภาพต่อศาล เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๐๓ ว่า
“...ข้าพเจ้านายวีรยุทธ์ วัฒนานุสรณ์ ได้กราบเรียนต่อศาลรับสารภาพว่า ข้าพเจ้าได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาจริง และเพื่อรับบาปกรรมที่กระทำผิดไปแล้ว ตามวิธีการทางศาสนา ข้าพเจ้าได้กราบขอขมาโทษและขออโหสิกรรมแต่พระเดชพระคุณท่านต่อหน้าศาลแล้ว จึงขอโฆษณา ณ ที่นี้ว่า พระเดชพระคุณพระอาจ อาสโภ มิเคยได้ประพฤติล่วงละเมิดสิกขาบทเป็นศีลวิบัติ ดังที่ข้าพเจ้าต้องกล่าวใส่ร้ายพระเดชพระคุณท่านแต่ประการใด...”

ถูกจับกุมและบังคับให้สึก

แม้ท่านจะสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง ต่อคดีใส่ร้ายป้ายสีถึงขั้นอาบัติปาราชิกมาได้ในภายหลัง แต่บรรดาพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่พยายามเอาความผิดท่านทางพระวินัย จนท่านต้องพ้นออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ และถูกถอดสมณศักดิ์นั้น ก็ยังไม่ลดละความพยายามที่จะกำจัดท่าน ให้พ้นออกจากการดำรงสมณเพศให้ได้ ตามประสงค์ที่เขาได้มีมาแต่ต้น ด้วยเหตุนี้ หลังจากเหตุการณ์ที่ท่านถูกถอดสมณศักดิ์ผ่านไปได้เพียงปีกว่า ๆ ท่านก็ต้องเผชิญกับมรสุมแห่งการคุกคามอย่างเลวร้ายจากผู้มีอำนาจเหล่านั้นอีกครั้ง

ในวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๐๕ เวลาประมาณ ๑๒.๓๐ น. ได้มีคณะนายตำรวจ อันประกอบด้วย พ.ต.อ. เอื้อ เอมมะปาน พ.ต.ต.สุพันธ์ แรมวัลย์ พร้อมด้วยผู้กำกับการตำรวจนครบาล และนายร้อย นายสิบ สารวัตรทหารจำนวนมาก ได้บุกไปล้อมจับกุมท่านถึงกุฏิ โดยตั้งข้อหาว่า ท่านมีการกระทำอันเป็นคอมมูนิสต์ และกระทำผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร อันเป็นความผิดอาญามีโทษร้ายแรงถึงขั้นประหารชีวิต

เมื่อท่านได้เจรจากับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใหญ่ จนเข้าใจเรื่องโดยตลอดแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้นำตัวท่านไปสอบสวน ณ สันติบาลกอง ๑

และภายในวันเดียวกันนั้นก็ได้มีบันทึกคำสั่งจากสมเด็จสังฆนายก (จวน อุฏฺ€ายีมหาเถร) ให้จัดการสึกพระภิกษุอาจ อาสโภ เสียจากสมณเพศ เพื่อสะดวกแก่การสอบสวนคดี และเพื่อรักษาความปลอดภัยแห่งชาติและพระพุทธศาสนาไว้ โดยสมเด็จสังฆนายกได้มอบอำนาจให้พระธรรมวโรดม สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง เป็นผู้บังคับบัญชาการให้เป็นไปตามความมุ่งหมาย ซึ่งท่านสังฆมนตรีได้มีบันทึกสั่งการให้เจ้าคณะจังหวัดพระนครดำเนินการสึก พระพิมลธรรม หรือ ภิกษุอาจ อาสโภในขณะนั้นทันที

ด้วยเหตุนี้ ค่ำวันเดียวกันนั้นพระธรรมคุณาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดพระนคร พร้อมด้วยพระธรรมมหาวีรานุวัตร ได้เดินทางไปยังกรมตำรวจสันติบาลกอง ๑ เพื่อสึกพระภิกษุอาจ อาสโภ แต่ท่านได้ร้องขอความเป็นธรรมว่า ขอให้ท่านได้มีโอกาสต่อสู้คดีนี้ในเพศบรรพชิตจนกว่าจะชนะหรือแพ้ในที่สุด แต่เจ้าคณะจังหวัดพระนครก็ไม่สามารถยินยอมได้ตามลำพัง เนื่องจากไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของท่านที่จะอนุญาตได้ ทั้งการจับสึกครั้งนี้ยังเป็นคำสั่งโดยตรงจากสมเด็จสังฆนายก และท่านสังฆมนตรี

ในที่สุดเมื่อเจรจาตกลงกันไม่ได้ พระพิมลธรรม หรือ ภิกษุอาจ อาสโภ จึงขอโอกาสเขียนคำร้องทุกข์ต่อผู้มีอำนาจ ให้ท่านได้มีโอกาสต่อสู้คดีในเพศบรรพชิต แต่บันทึกที่ได้รับตอบกลับมาในคืนนั้น คือ คำสั่งเฉียบขาดจากสมเด็จสังฆนายก (จวน อุฏฺ€ายีมหาเถร) ให้สึกท่านเสีย โดยไม่มีการลดหย่อนผ่อนผันให้แต่อย่างใด เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านจึงได้ทำหนังสือปฏิญาณตนร้องขอความเป็นธรรมเป็นครั้ง สุดท้าย มีข้อความว่า

“...กระผมก็จะขอความกรุณาอีก คือไม่ยอมสึกตามข้อบังคับอันมิชอบด้วยพระธรรมวินัยและกฎหมายนั้น จะยอมเอาชีวิตบูชาพระรัตนตรัยไปจนถึงที่สุด ...และกระผมจะยังปฏิญญาณเป็นพระภิกษุในพระศาสนาอยู่ตลอดไป ถึงแม้จะมีผู้ใจโหดร้ายทารุณแย่งชิงผ้ากาสาวพัสตร์ของกระผมไป กระผมก็จะนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ชุดอื่นแทน ซึ่งกระผมมีสิทธิตามพระธรรมวินัยและกฎหมาย จึงขอให้ท่านเจ้าคุณผู้รู้เห็นอยู่ ณ ที่นี้โปรดทราบและเป็นสักขีพยานให้แก่กระผม ตามคำปฏิญาณนี้ด้วย”

จากนั้นพระพิมลธรรม ก็นั่งขัดสมาธิบนเก้าอี้นวม หลับตานับลูกประคำ ใจเจริญพระพุทธคุณ ๑๐๘ บท ปล่อยให้ผู้มีอำนาจทำตามอำนาจ คือ ปล่อยให้เจ้าคณะจังหวัด และพระธรรมมหาวีรานุวัตรเข้ามาเปลื้องผ้าเหลืองออก เมื่อเสร็จสิ้นแล้วพระธรรมคุณาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดและพระธรรมมหาวีรานุวัตรก็เดินทางกลับไป

จำพรรษาที่สันติปาลาราม

นับตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๐๕ เป็นต้นมา พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ต้องจำพรรษาอยู่ในห้องขัง ณ กรมตำรวจสันติบาลกอง ๑ หรือที่เรียกกันในหมู่ผู้ถูกคุมขังเมื่อพระพิมลธรรมมาจำพรรษาอยู่ว่า สันติปาลาราม สภาวะของพระพิมลธรรม ในตอนนั้นยังคงเต็มไปด้วยความสงบ สบายใจ เป็นปกติอยู่เช่นเดิม มิได้หวั่นไหว ทุกข์ร้อนใจในชะตากรรมที่ประสบแต่อย่างใด ดังที่ท่านได้บันทึกไว้ว่า

“รู้สึกขอบใจพระเจ้าอยู่มาก ที่พระพุทธองค์ทรงบันดาลให้เรามีน้ำใจเป็นนักกีฬา นับแต่วาระที่นายตำรวจเข้าไปติดต่อที่ห้องรับแขก แจ้งถึงการที่เขาจะมาจับกุมตัว จนกระทั่งถึงในขณะที่กำลังนั่งเขียนหนังสืออยู่นี้ จิตไม่เสื่อมทรุดหรือเรียกว่าไม่ย่นย่อต่ออารมณ์เลย คงเป็นปกติอยู่เช่นเดิม โทมนัสจิตไม่ได้โอกาส แม้แต่อุทธัจจะสหรคตก็ไม่บังเกิด กุศลจิตได้โอกาสมากอยู่ ...ก็ได้แต่ปีติโสมนัสจิตก็เกิดขึ้นว่า เป็นโอกาสที่ดีหาได้ยากที่ประสบอยู่นี้ คนอื่น ๆ นับจำนวนหมื่น ๆ แสน ๆ ไม่เคยได้ประสบเลย เราจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในเกณฑ์ที่มีโชคดีที่สุดและเป็นการประลองกำลังใจไปในตัว...”

ท่านยังเห็นว่าการที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในห้องขังนั้น เป็นโอกาสอันดียิ่งที่ท่านจะได้ใช้เวลาเขียนหนังสือ ศึกษาพระธรรม และเจริญภาวนาอย่างเต็มที่ เพราะไม่ต้องถูกรบกวนด้วยภาระหน้าที่การงานด้านอื่น เหมือนเมื่อครั้งที่ยังดำรงตำแหน่งอำนาจอยู่ ท่านกล่าวว่า “...จะอยู่ไหน ก็ใต้ฟ้าเหนือดินเหมือนกัน ทำประโยชน์ได้ทั้งนั้น แม้ในห้องขังเล็ก ๆ เราก็เป็นใหญ่ได้ เพราะใจของเราเป็นอิสระเสรีในขอบเขตของธรรม”

ตลอดเวลาที่ท่านถูกคุมขังอยู่นั้น ท่านได้รักษาความประพฤติปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัยทุกประการ นับได้ว่าท่านเป็นพระที่แท้ คือเป็นพระที่หัวใจ ในยามนี้ความเป็นพระของท่านไม่ได้ขึ้นอยู่กับผ้าเหลืองหรือการให้ตำแหน่งแต่งตั้งของสถาบันใด ๆ หากแต่อยู่ที่ใจที่ยึดมั่นในธรรม ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนบนผืนแผ่นดินนี้ ท่านก็ดำรงอยู่ในธรรม ยึดธรรมะเป็นที่พึ่งและปฏิบัติธรรมอยู่ตลอดเวลา เมื่อหัวใจที่มั่นคงในธรรม ย่อมมีความหาญกล้าและเบิกบานในธรรมนั้นเป็นธรรมดา ไม่มีภยันอันตรายใด ๆ จะมาทำให้หวาดกลัว เสียกำลังใจไปได้

ศาสพิพากษาพิจารณาคดี

เมื่อคณะเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดดังกล่าวจับกุมพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) มาแล้ว ก็พยายามหาหลักฐานเพื่อเอาผิดท่านอย่างเต็มที่ เพื่อจะประมวลให้ได้ว่า พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) มีการกระทำอันเป็นคอมมูนิสต์ และกระทำผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามข้อกล่าวหาที่ได้ยัดเยียดไว้ให้ท่าน แต่การหาหลักฐานเพื่อเอาผิดกับคนที่ไม่ได้ทำความผิดไม่อาจทำได้ง่ายเหมือนการตั้งข้อกล่าวหา เรื่องนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจหนักใจไม่น้อย

ทางฝ่ายกลุ่มพระเถระชั้นผู้ใหญ่ผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นั้น ก็มีการสูญเสียและการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน เพราะในกาลต่อมา สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร) ได้สิ้นพระชนม์ลง เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ หลังจากที่เกิดเหตุการณ์จับกุมพระพิมลธรรมไปคุมขังได้ไม่กี่เดือน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาโณทยมหาเถร ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชสืบแทน

แต่กระนั้นคดีของพระพิมลธรรมก็ยังคงยืดยื้ออยู่ ทางกรมตำรวจได้พยายามสืบหาหลักฐานมาสรุปสำนวน จนสามารถยื่นฟ้องต่ออัยการศาลทหารกรุงเทพฯ ได้ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ศาลทหารกรุงเทพฯ จึงได้นัดสืบพยานฝ่ายโจทก์และจำเลยหลายครั้งหลายหนเป็นระยะเวลานานยืดยื้อถึง ๓ ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๗–๒๕๐๙

ในระหว่างนั้นบรรดาพระภิกษุสามเณร และสาธุชนผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจำนวนนับพันที่เชื่อมั่นว่า พระพิมลธรรมเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ได้ทำความผิดตามข้อกล่าวหาได้พากันยื่นจดหมายร้องขอความเป็นธรรมให้กับ ท่าน และเรียกร้องให้มีการพิจารณาคดีนี้เพื่อพิสูจน์ความจริงอยู่ไม่ขาดสาย

จนกระทั่งในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๐๙ เวลา ๙.๐๐ ศาลทหารกรุงเทพได้นัดให้โจทก์และจำเลยมาฟังคำพิพากษาตัดสินคดีประวัติศาสตร์ดังกล่าว อนึ่งคำวินิจฉัยพิพากษาคดีนี้ยืดยาวเป็นเอกสารหนาถึง ๖๘ หน้า จึงขอคัดเฉพาะข้อความบางตอน อันเป็นการสรุปผลการตัดสินของศาลไว้ดังนี้

“...ตามที่ศาลได้ประมวลวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามฟ้อง และกล่าวหามาหลายข้อหา หลายประเด็นนี้ มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ก็ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดๆเลย พอที่จะชี้ให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำหรือน่าจะกระทำผิด ...แต่กลับมาต้องถูกออกจากเจ้าอาวาส ถูกออกจากสมณศักดิ์ ถูกจับกุม ถูกบังคับให้สละเพศพรหมจรรย์ นับว่ารุนแรงที่สุดสำหรับพระเถระผู้ใหญ่ที่ปวงชนเคารพนับถือ พระธรรมโกศาจารย์ถึงกลับกล่าวว่า คิดได้อย่างเดียวว่า เกิดขึ้นเพราะความอิจฉาริษยากันในวงการสงฆ์ หรือมิฉะนั้นก็เป็นกรรมเก่าของจำเลยเท่านั้นเอง ...จำเลยถูกกลั่นแกล้งโดยไม่เป็นธรรมจริง ๆ ไม่ได้กระทำผิดตามกล่าวหา ...ศาลนี้รู้สึกสลดใจและเห็นใจจำเลย แต่เชื่อว่าจำเลยซึ่งอบรมอยู่ในพระศาสนามานาน คงจะทราบซึ้งดีในอุเบกขาญาณที่ว่า สัตว์ทั้งปวงมีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ดีหรือชั่วก็ตาม ก็จะเป็นกรรมทายาทรับผลของกรรมนั้น และคงจะตั้งอยู่ในคุณธรรมอันเป็นลักษณะของบัณฑิตในพระพุทธศาสนาสืบไป

อาศัยเหตุผลและดุลยพินิจที่ได้วินิจฉัยมา จึงพร้อมกันพิพากษายกฟ้องโจทก์ ปล่อยจำเลยพ้นข้อหาไป”

ในครั้งนั้นพระภิกษุสามเณร และบรรดาพุทธศาสนิกจำนวนนับพันที่ไปร่วมฟังคำพิพากษาตัดสินคดีครั้งสำคัญนี้ ต่างพากันชื่นชมยินดีอนุโมทนาสาธุการต่อพระพิมลธรรม ในการที่ท่านได้พ้นจากมลทินข้อกล่าวหาอันฉกรรจ์นั้น ทั้งนี้รวมระยะเวลาที่ท่านถูกคุมขังอยู่ในสันติบาลโดยไม่มีความผิดใด ๆ เป็นเวลานานถึง ๕ พรรษา

ส่วนตัวท่านเองนั้นทันทีที่สิ้นคำพิพากษาของศาล ก็ได้ผลัดเปลี่ยนนุ่งห่มผ้าไตรจีวรสีกลักที่ได้เตรียมมาให้พร้อมแล้วทันที ณ ศาลทหารกรุงเทพฯ กระทรวงกลาโหมนั่นเอง จากนั้นท่านก็ได้กลับมาพำนักอยู่ ณ วัดมหาธาตุฯ ดังเดิม ท่ามกลางความชื่นชมยินดีและการยอมรับของคณะสงฆ์วัดมหาธาตุ

ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ท่านได้กลับมาจำพรรษาและปฏิบัติศาสนกิจอยู่ ณ วัดมหาธาตุฯ นี้ ท่านก็ได้ช่วยทำนุบำรุงศาสนาอย่างเต็มกำลังเกือบเหมือนเดิมแทบทุกอย่าง ท่านได้ช่วยอุปถัมภ์การศึกษาพระอภิธรรมปิฎกและการวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วยดีตลอดมา ทั้งยังได้เดินทางไปเทศน์ ปาฐกถา และอบรมศีลธรรมแก่ภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกตามสถานที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ

แม้ท่านจะได้รับยอมรับนับถือ และได้รับการเคารพยกย่องจากคณะศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ด้วยดี ไม่ต่างไปจากเมื่อครั้งที่ยังคงครองสมณศักดิ์และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่ แต่ท่านก็มิได้ต้องการจะกลับคืนสู่สมณศักดิ์และตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ อีก เพราะได้รู้อย่างเท่าทันแล้วว่าตำแหน่งต่าง ๆ เป็นเพียงสิ่งสมมติที่โลกแต่งตั้งให้เท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่จีรังยั่งยืนแต่ประการใด เท่าที่ท่านได้ถูกโลกแต่งตั้งตำแหน่งสมมติมาแล้ว และรับใช้โลกมาตามสมควรแก่เหตุแล้วนั้น ก็เป็นการเพียงพอและสมควรแก่เวลาแล้ว ท่านต้องการจะใช้เวลาที่เหลืออยู่นั้นปฏิบัติธรรม บำเพ็ญอัตหิตประโยชน์ ตามวิสัยของชาวพุทธต่อไปอย่างสงบ

อย่างไรก็ดีบรรดาสานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและฆราวาส ได้ยืนยันที่จะเรียกร้องขอความเป็นธรรม ให้แก่ท่านและท่านเจ้าคุณพระศาสนโศภณ วัดราชาธิวาสวิหาร ตลอดมา แม้ว่าพระพิมลธรรมจะได้เคยทักท้วงไว้แล้วก็ตาม แต่บรรดาสานุศิษย์กลับโต้แย้งอย่างมีเหตุผลว่า สิ่งกระทำลงไปนี้ไม่ได้กระทำเพื่อผลประโยชน์ของท่าน หากแต่เป็นการเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่สังคมมนุษยชาติต่างหาก หากสังคมมนุษยชาติไม่ได้รับความเป็นธรรมแล้ว ก็ยากที่จะหาความสันติสุขได้ ทั้งนี้จำเป็นต้องกราบขออภัยท่านอย่างมาก ที่จำเป็นต้องขออาศัยกรณีของท่านขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานในการดังกล่าว

แม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคและการขัดขวางนานัปการ จากกลุ่มพระเถระชั้นผู้ใหญ่บางกลุ่ม ที่ยังทรงอำนาจอยู่ในคณะสงฆ์ กระนั้นบรรดาสานุศิษย์ก็ได้พยายามดำเนินการเรียกร้องขอความเป็นธรรม ให้แก่พระพิมลธรรมเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๑๘ ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่า ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าให้คืนสมณศักดิ์ให้ท่านและพระศาสนโศภณดังเดิมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป

ต่อมาก็ได้มีการประกาศแต่งตั้งให้พระพิมลธรรม กลับคืนสู่ตำแหน่งกรรมการสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสภานายกมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ และได้กลับคืนสู่ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ ดังเดิม ในวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๒๔ ทั้งนี้รวมระยะเวลานับตั้งแต่ที่ท่านต้องต่อสู้กับอำนาจอยุติธรรม จนถึงวันที่ได้รับสมณศักดิ์และตำแหน่งกลับคืนดังเดิม เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น ๒๑ ปี

นับได้ว่าเรื่องราวการยืนหยัดต่อสู้กับอำนาจอธรรมของพระพิมล ธรรม บนพื้นฐานแห่งสันติวิธีในพุทธศาสนา ควรได้รับการจดจารจารึกไว้เป็นอนุสรณ์และเป็นตัวอย่างแก่สาธุชนรุ่นหลังสืบ ไป ทั้งยังอาจเป็นเครื่องเตือนใจให้ผู้มีอำนาจทางศาสนจักรและอาณาจักรได้พึง สังวร และเจริญโยนิโสมนสิการในการใช้อำนาจของตนในทางที่ชอบธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป

๑แสวง อุดมศรี, ศึกสมเด็จ, อมรการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๘, น. ๑๔๙–๑๕๐
๒อ้างแล้ว, น. ๑๕๐
๓พระพิมลธรรม, ผจญมาร, เทพนิมิตการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๖, น. ๖–๗
๔แสวง อุดมศรี, ศึกสมเด็จ, อมรการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๘, น. ๑๕๗–๑๖๓
๕พระพิมลธรรม, ผจญมาร, เทพนิมิตการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๖, น. ๕
๖อ้างแล้ว, น. ๕
๗อ้างแล้ว, น. ๕
๘แสวง อุดมศรี, ศึกสมเด็จ, อมรการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๘, น. ๑๘๐
๙พระพิมลธรรม, ผจญมาร, เทพนิมิตการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๖, น. ๙
๑๐อ้างแล้ว, น. ๑๐

เอกสารอ้างอิง
๑.พิมลธรรม. ๒๕๒๖. ผจญมาร. กรุงเทพฯ: เทพนิมิตการพิมพ์.
๒.มหาพล. ๒๕๒๑. พระพิมลธรรมกับเอ็ม. อาร์. เอ. กรุงเทพฯ: หจก. การพิมพ์พระนคร.
๓.ส. ศิวรักษ์. ๒๕๔๒. ความเข้าใจในเรื่องพระรัตนตรัยจากมุมมองของ ส. ศิวรักษ์. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
๔.แสวง อุดมศรี. ๒๕๒๘. ศึกสมเด็จ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ที่มา เครือข่ายศาสนิกชนแห่งประเทศไทย




 

Create Date : 09 มิถุนายน 2552    
Last Update : 9 มิถุนายน 2552 17:43:02 น.
Counter : 644 Pageviews.  

พุทธศาสนากำลังเติบโตก้าวไกลไปทั่วโลกในแดนคริสต์

ราวสิบกว่าปีมาแล้ว สื่อมวลชนในยุโรปได้แถลงกันยกใหญ่ว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่จะเติบโตเร็วที่สุดในสมัยศตวรรษที่ 21 เพราะเห็นว่ากระแสผู้นับถือเติบโตเร็วมากทั้งในทวีปยุโรป, ออสเตรเลีย และอเมริกาเหนือ ไม่ว่าฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, อังกฤษ, สเปน, ออสเตรเลีย ฯลฯ วัดวาอารามผุดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง คนเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการนำพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศฝรั่งเหล่านี้แต่ไหนแต่ไรมาส่วนมากแล้วนับถือศาสนาคริสต์มาก่อน และกระแสชาวคริสต์หันมานับถือพระพุทธศาสนานี้ก็ก่อตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19

ประเทศยุโรปบางแห่ง เช่น อิตาลีได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ยกพระพุทธศาสนาให้เป็นหนึ่งในศาสนาสำคัญของชาติ ไม่ต่างอะไรกับศาสนาคริสต์



สมเด็จพระสันตปาปา จอห์น ปอล ที่สองซึ่งเป็นประมุขของคริสตจักร นิกายโรมันคาทอลิก
ทรงมองเห็นกระแสดังกล่าว ครั้งได้ประทานสัมภาษณ์แก่วิตโดริโอ เมสซุรี่ นักเขียนและนักสื่อมวลชนที่มีชื่อของอิตาลี เมื่อ ค.ศ. 2536 อันเป็นช่วงที่มีการเฉลิมฉลองครบ 15 นับแต่ที่พระองค์ได้ ทรงรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสันตปาปา จึงทรงตั้งพระทัยวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาพระพุทธศาสนาอย่างตรงๆ ต่อมาบทประทานสัมภาษณ์ซึ่งมีหลายตอนนี้มาพิมพ์รวมเล่มในรูปหนังสือชื่อ Crossing the Threshhold of Hope (London, Jonathan Cape, 1994) มีทั้งหมด 244 หน้า (รวมดรรชนีคำศัพท์)

ตอนที่ทรงวิพากษ์วิจารณ์คำสอนพระพุทธเจ้า (ซึ่งทรงเข้าพระทัยผิดๆ อยู่มาก) อยู่ในบทที่ 12 มีทั้งหมด 7 หน้า (ตั้งแต่หน้า 84-90)

สาเหตุที่ทรงวิจารณ์พระพุทธศาสนา มีกล่าวชัดในบทประทานสัมภาษณ์ กล่าวคือทรงต้อง การเตือนสติชาวคริสต์ทำนองว่าไม่ควรด่วนเข้าไปนับถือคำสอนพระพุทธศาสนา แต่ควรใช้วิจารณญาณ (For this reason, it is not inappropriate to caution those Christians who enthusiastically welcome certain ideas originating in the religious traditions of the Far East, pp.89-90) ที่เป็นดังนี้ เพราะกระแสคนหันมานับถือพระพุทธศาสนา และช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างแข็งขันในยุโรป ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมักเป็นชาวคริสต์มาก่อน หลายคนเคยเป็นบาทหลวงระดับสูง ต่อมาก็มีฝรั่งนักวิชาการชาวพุทธหลายคนทั้งพระ ทั้งฆราวาส ซึ่งเคยเป็นชาวคริสต์มาก่อน ได้เขียนตอบโต้พระองค์ลงวารสารต่างๆ มากมาย ที่โดดเด่นก็ คือ กลุ่มพระสงฆ์ชาวอิตาเลี่ยนในอิตาลี นำโดย พระฐานวโร ได้เข้าเฝ้าเพื่อทูลชี้แจงให้สมเด็จพระสันตปาปาทรงทราบด้วยซ้ำว่าทรงอธิบายพระพุทธศาสนาผิดๆ

ยุโรปตอนนี้จึงเหมือนอินเดียครั้งพุทธกาล ศาสนาเดิมที่ผู้คนนับถือคือศาสนาพราหมณ์ แต่เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาก็มีผู้เคยนับถือศาสนาพราหมณ์มานับถือ และขวนขวายเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่
ที่จริงแล้ว พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงเดือดเนื้อร้อนพระทัยว่าใครจะหันมานับถือศาสนาของพระองค์หรือไม่ ทรงสอนให้ผู้ฟังเทศน์ของพระองค์รู้จักไตร่ตรองหาเหตุผลให้รอบคอบก่อนถึงจะเชื่อ หลายคนที่หันมานับถือคำสอนของพระองค์เคยให้ความอุปถัมภ์ศาสนาอื่นมาก่อนก็มี พระองค์ก็ทรงแนะให้คนเหล่านี้กลับไปคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ มิหนำซ้ำพระองค์ยังคงแนะให้บรรดาผู้หันมานับถือพระพุทธศาสนาเหล่านี้ยังคงอุปถัมภ์บำรุงศาสนาอื่นๆ ที่ตนเคยนับถือตามปกติไปด้วย

แต่เดิม ศาสนาคริสต์ถูกลัทธิมาร์กซ์โจมตีอย่างรุนแรงมาร์กซ์ได้ประณามศาสนาว่า คือยาเสพติด เพราะสอนให้ประชาชนศรัทธาแบบหัวปักหัวปำโดยไม่ใช้ปัญญาไตร่ตรอง หลายอย่างขัดแย้งหลักวิทยาศาสตร์ เช่น โลกแบน, โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ฯลฯ นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบความจริงใหม่ ๆ หลายคนถูกศาสนจักรลงโทษจนตายในคุก
แต่เมื่อพระพุทธศาสนาเข้าสู่ยุโรป พระพุทธศาสนาได้สอนให้ปัญญาชนชาวยุโรปได้เข้าใจความหมายของ Religion เสียใหม่ว่า ศาสนาของพระพุทธเจ้าคือคำสอน ซึ่งทรงสอนให้ผู้ฟังใช้ปัญญาพิจารณาอย่างถ่องแท้ก่อนจะปลงใจเชื่อ ไม่ใช่เทวโองการ (Gospel)จากพระเจ้าซึ่งแย้งไม่ได้ พระสงฆ์หรือพุทธสาวกก็มิใช่มิชชันนารี ซึ่งมีภารกิจหลักคือจาริกไปชี้ชวนให้ใครต่อใครมานับถือพระศาสนา พระสงฆ์หรือพุทธสาวกมีหน้าที่เพียงอธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ คนที่สนใจฟังเท่านั้น ใครไม่สนใจฟัง ชาวพุทธก็ไม่เคยใช้กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญบังคับให้นับถือ ไม่เคยตั้งกองทุนให้การศึกษาฟรี แล้วสร้างเงื่อนไขให้ผู้รับทุนเปลี่ยนมาเป็นชาวพุทธ ไม่เคยสร้างที่พักอาศัยให้หรือแจกทานให้อาหารฟรีๆ แล้ววางเงื่อนไขให้คนมาขออาศัยตนต้องหันมานับถือศาสนาในภาวะจำยอม

ความใจกว้างและมีหลักคำสอนที่เป็นสัจธรรม เชิญชวนให้มาพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติเองและเน้นให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนนับถือ ทำให้พระพุทธศาสนาได้รับการยอมรับจากวิญญูชนไปทั่วโลก นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ดัง ๆ ระดับโลกจำนวนมาก เช่น โซเพน ฮาวเออร์, ไอน์สไตน์ ต่างหันมานับถือพระพุทธศาสนา
นับแต่พระพุทธศาสนาเข้ายุโรปสมัยศตวรรษที่ 19 ก็มีงานวิจัยหลายชิ้นแสดงสถิติว่าคนยุโรปและอเมริกาชาติต่าง ๆ หันมาเข้าวัดในพระพุทธศาสนามากขึ้นบ้าง ประกาศตนเป็นพุทธมามกะมากขึ้นบ้าง สถานปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนาซึ่งรวมทั้งวัดวาอารามเพิ่มขึ้นที่นั่นที่นี่ประจำบ้าง

เดือน ธ.ค. ที่ผ่านมาก็มีข่าวออกมาอีกว่า ดาราฮอลลี้วูดอังกฤษ ชื่อ ออร์นันโด บลูม ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้แสดงนำในหนังเรื่อง The Lord of the Rings ได้ทำพิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะต่อหน้าสาธารณชนอย่างเป็นทางการไปเรียบร้อยแล้ว

ระหว่างทหารอเมริกันพยายามไล่บี้ทหารอิรักอย่างเมามันตามคำสั่งของประธานาธิบดีบุชไม่นานมานี้ ทหารอเมริกันคนหนึ่งนามว่า เจเรมี่ ฮินซ์แมน วัย 26 ปี ได้ตัดสินใจหนีทัพอเมริกาในอิรักไปปักหลักลี้ภัยในแคนาดา เขาให้เหตุผลว่าสงครามที่อเมริกาทำกับชาวอิรักเป็นสงครามผิดกฎหมาย ประเด็นที่น่าสนใจก็คือเขาเป็นชาวพุทธที่สนใจปฏิบัติธรรมคนหนึ่ง เขาให้สัมภาษณ์ว่าคำสอนพระพุทธศาสนาสอนให้เขาไม่อยากทำสงคราม เขาตั้งปฏิญาณว่าจะรับใช้ชาติหรือพิทักษ์ชาติจากการรุกรานของข้าศึกศัตรู แต่มิใช่ไปทำสงครามแบบก้าวร้าวต่อชาติอื่นดังที่ทหารอเมริกันกำลังทำอยู่ในอิรักเวลานี้

ผมได้ข่าวจากหนังสือพิมพ์ Lanka Daily News ในลังกาตั้งแต่ 23 ต.ค. ที่แล้วว่าปัจจุบันพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เติบโตเร็วที่สุดในแคนาดา ประเทศแคนาดาเป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างที่สุดในอเมริกาเหนือ พระพุทธศาสนาเข้าแคนาดาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และมาบูมขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2503-2513 (1960s) เป็นต้นมา ช่วงนั้นมีการสำรวจพบว่าวัดชาวพุทธมีแค่ 18 วัด มีชาวแคนาดาปฏิบัติธรรมราวๆ 10,000 คน แต่เมื่อสำรวจผู้นับถือพระพุทธศาสนาอีกครั้งในพ.ศ. 2528 ชาวพุทธมีเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 คน หกปีหลังจากนั้นคือพ.ศ. 2534 รัฐบาลสำรวจคร่าวๆ อีกครั้งพบว่าผู้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะมีเพิ่มเป็น 163,415 คน รัฐมาสำรวจครั้งล่าสุดอีกครั้ง เมื่อพ.ศ. 2544 พบว่าพุทธมามกะแท้ ๆ มีไม่ต่ำกว่า 5 แสนคน แซงหน้าจำนวนผู้นับถือศาสนาฮินดูและศาสนาซิกข์ ซึ่งเคยตามหลัง จำนวนผู้นับถือยังเติบโตแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ทุกปี

ผลสำรวจยังบอกว่าวัด, สถานที่ปฏิบัติธรรม หรือศูนย์กลางของชาวพุทธในแคนาดาตอนนี้มีเกือบๆ จะถึงหนึ่งพันแห่งทั่วประเทศ เมืองที่มีชาวพุทธมากที่สุดคือ ออนตาริโอ, บริติชโคลัมเบีย และควิเบก ข่าวยังลงด้วยว่าแม้จำนวนคนนับถือจะยังอยู่เรือนแสน แต่จำนวนผู้แสดงความสนใจและเริ่มศึกษาพระพุทธศาสนาบ้างแล้วมีหลายล้านคนทั่วประเทศ

เมื่อ 9 พ.ย. ที่ผ่านมา โฆษกประจำรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย กระพือข่าวว่า
องค์ทะไลลามะจะได้รับอนุญาตให้เข้ารัสเซีย หลังจากถูกแบนเพราะเกรงจะกระทบความสัมพันธ์กับจีน หลังจากรัสเซียเซ็นสัญญามิตรภาพกับจีน เมื่อ พ.ศ. 2544 แต่ชาวรัสเซียก็แสดงจุดยืนชัดเจน
ว่าองค์ทะไลลามะจะมาเยือนด้วยภารกิจศาสนา เมื่อกระแสประชาชนเรียกร้องหนักขึ้น รัสเซียก็ยอมอนุญาตให้ท่านเข้ารัสเซียแต่โดยดี ปลาย พ.ย.ที่ผ่านมา ท่านทะไลลามะจึงมีโอกาสแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทและประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกที่เมืองกัลมิเกีย ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงมอสโกประมาณหนึ่งพันไมล์

ชาวรัสเซียหลายคนในเมืองนี้มีบรรพบุรุษเป็นชาวมองโกลซึ่งอพยพจากทางตะวันตกของจีนเข้าสู่รัสเซียเมื่อราว 4 ร้อยกว่าปีมาแล้ว พระพุทธศาสนาที่นำเข้ามาจึงเป็น พระพุทธศาสนาแบบทิเบต ผลปรากฏว่า มีชาวพุทธและผู้สนใจทั่วๆ ไปชาวรัสเซียแห่กันมาฟังธรรมล้นหลามเป็นจำนวนหลายพันคน
ผู้สื่อข่าวรายงานลงใน Ireland Online ว่าจากจำนวนประชากรของเมืองนี้ ทั้งหมดราว 3 แสนคน ประมาณครึ่งหนึ่งนับถือพระพุทธศาสนา รัสเซียมีประชากรราว 144 ล้านคน ในจำนวนนี้มีราว 1 ล้านคน ที่ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ

ผมดูภาพรวมพระพุทธศาสนาจากข่าวสารต่างๆ แล้วก็รู้สึกได้ว่าวัฒนธรรมแบบพุทธกำลังเติบโตและเบ่งบานในหลาย ๆ ประเทศของทวีปยุโรป, ออสเตรเลีย และอเมริกาบางแห่ง เช่น รัสเซียแม้จะเติบโตช้า แต่ปีที่กำลังจะผ่านไปนี้ก็เริ่มมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ผมคิดว่าปัญญาชนในประเทศทุนนิยมทั่วโลกเวลานี้คงเอือมระอากับ “ทุนนิยมเสรี” หรืออีกชื่อหนึ่งว่า กระแสโลกาภิวัตน์กันไม่น้อยและก็คงเห็นชัดเจนแล้วว่ามีแต่ศาสนาเท่านั้นที่จะช่วยเปลี่ยนให้มนุษย์มีความเป็นผู้เป็นคน(ใจสูง) มากขึ้น ท่ามกลางกระแสสังคมที่มีแต่นายทุนจอมตะกละตะกรามแสวงหากำไรสูงสุดอยู่ทุกแห่ง ดังนั้น จึงเริ่มผ่อนปรนให้ผู้นำศาสนาทำงานได้สะดวกขึ้น

จากคุณ : kaspersky - [ 1 ต.ค. 50 21:06:20 A:222.123.81.44 X: ]




 

Create Date : 02 ตุลาคม 2550    
Last Update : 2 ตุลาคม 2550 18:51:25 น.
Counter : 428 Pageviews.  

1  2  3  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.