ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

ความหมายของคำว่า โอตากุ (Otaku)

1. ประวัติความเป็นมาของคำว่า Otaku

ระยะที่ 1 : ต้นกำเนิดของคำว่า Otaku

คำว่า Otaku (ออกเสียงว่า โอ-ทา-กุ) เป็นคำนาม ดัดแปลงมาจากคำว่า O-taku ซึ่งเกิดจากการนำเอาคำปัจจัย "O-" มาเติมหน้าตัวคันจิ "taku" ซึ่งแปลว่า "บ้าน" และใช้เมื่อกล่าวถึงบ้านของคู่สนทนา ในความหมายว่า "บ้านของคุณ" นอกจากนี้ยังสามารถใช้เรียกแทนตัวคู่สนทนาได้ ในความหมายของ "คุณ" อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะในความหมายของ "บ้าน" หรือ "คุณ" Otaku ก็ถือว่าเป็นคำที่ให้ความรู้สึกสุภาพและเป็นทางการอย่างมาก
การนำเอาคำว่า Otaku มาใช้เรียกกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งนั้น ไม่มีแหล่งยืนยันแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่ตอนไหน แต่ควรจะเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายแล้วในช่วงต้นทศวรรษที่ 80 เนื่องจากวีดิโอที่ชื่อ "Otaku no Video" ของบริษัท GAINAX ที่ออกมาในปี 1992 ซึ่งนำเสนอเรื่องราวของพวก Otaku นั้น ยืนพื้นจากเหตุการณ์ในช่วงปี 1982-85 เฟรเดอริค ชอดต์ (Frederik L. Schodt) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Dreamland Japan : Writing on modern manga ว่า ช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 แฟนการ์ตูนและอนิเมชั่น (Animation) ได้เริ่มใช้คำว่า Otaku เรียกกันและกัน สาเหตุที่ใช้ไม่เป็นที่ชัดเจนแต่คำศัพท์นี้ก็ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับที่กระแสความนิยมในการ์ตูนและอนิเมชั่นได้ก่อให้เกิดการเพิ่มจำนวนของพวกมาเนีย (Mania) หรือแฟนพันธุ์แท้ (Hardcore Fans) มากขึ้น

โวลเกอร์ กลาสมัค (Volker Grassmuck) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมันกล่าวว่า กลุ่มคนที่เรียกว่า Otaku มีสภาพร่างกายและจิตใจที่เปราะบาง แต่ไม่ใช่พวกอารมณ์รุนแรง เพียงขาดความมั่นใจในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นสาเหตุให้เกิดการใช้คำพูดที่สุภาพเรียบร้อยเป็นพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำผิดอันอาจก่อให้เกิดข้อขัดแย้งกับผู้อื่น

ส่วนการใช้คำว่า Otaku ในสิ่งตีพิมพ์ มีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1983 โดยนักเขียนการ์ตูนล้อเลียนชื่อ นากาโมริ อากิโอะ (Nakamori Akio) เขาเขียนคอลัมน์ที่มีชื่อว่า โอทากุ โนะ เคงคิว (Otaku no kenkyu) ลงติดต่อกันในนิตยสารการ์ตูนแนวปลุกใจเสือป่าชื่อ มังงะ บุริกโกะ (Manga Burikko) โดยกล่าวถึงกลุ่มแฟนการ์ตูนที่เรียกกันและกันว่า Otaku เค้าจึงเรียกคนพวกนี้รวม ๆ ว่า โอทากุ-โซกุ (Otaku-zoku) ซึ่งแปลว่า เผ่าพันธุ์ Otaku และต่อมาตัดเหลือเพียง Otaku เขาเขียนบรรยายถึงความประทับใจที่มีต่อเหล่าแฟนการ์ตูนที่มาร่วมงานนิทรรศการการ์ตูนว่า

“เป็นกลุ่มคนที่เล่นกีฬาไม่เก่งและชอบเก็บตัวอยู่ในห้องเรียนในเวลาพักที่เราสามารถพบเห็นได้ในทุก ๆ ชั้นเรียน… รูปร่างถ้าไม่ผอมแห้งเหมือนขาดสารอาหารก็อ้วนฉุจนผิดสัดส่วน… ส่วนใหญ่จะใส่แว่นตากรอบเงินหนาเตอะ… และเป็นคนประเภทที่ไม่มีใครคบหาด้วย”

เขาเห็นว่า คำว่า “มาเนีย" (Mania) หรือ “แฟนที่มีศรัทธาอย่างแรงกล้า” (Enthusiastic Fans) ยังไม่สามารถที่จะใช้เรียกคนกลุ่มนี้ได้อย่างครอบคลุม จึงขอเรียกด้วยคำว่า “Otaku”

แม้ว่าคอลัมน์ของนากาโมริจะถูกยกเลิกไปในเวลาไม่นาน แต่ภาพพจน์ของ Otaku ที่นากาโมริได้บรรยายเอาไว้ก็ได้กลายมาเป็น Stereotyped ของ Otaku ที่ยังคงอยู่ในสังคมและถูกใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการสื่อมวลชน เนื่องจากพวกเขาเริ่มสังเกตเห็นถึงการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วของเยาวชนที่หมกมุ่นอยู่กับการ์ตูนและอนิเมชั่น

ระยะที่ 2 : คดี Miyazaki กับ Otaku panic

คำว่า Otaku panic ถูกนำมาใช้โดยชารอน คินเซลลา (Sharon Kinsella) ในหนังสือ Adult manga : culture & power in contemporary japanese society เมื่อกล่าวถึงคดี Miyasaki ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้คำว่า Otaku เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในญี่ปุ่น

คดี Miyazaki เกิดขึ้นระหว่างปี 1988-1989 ที่จังหวัดไซตามะ (Saitama) โดยนายมิยาซากิ ซึโตมุ (Miyazaki Tsutomu) วัย 27 ปีได้ประกอบคดีฆาตกรรมต่อเนื่องเด็กหญิงวัยก่อนเข้าเรียนจำนวน 4 คน ซึ่งทุกคนจะถูกมิยาซากิลักพาตัวไปที่ห้องพัก เพื่อข่มขืนแล้วฆ่าปิดปาก จากนั้นจึงทำการแยกส่วนศพไปซ่อนเพื่ออำพรางคดี หลังจากนั้นเขายังได้บันทึกเรื่องราวทั้งหมดลงในคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้เขายังเคยส่งชิ้นส่วนกระดูกและฟันของเหยื่อรายหนึ่งไปให้ครอบครัวของเหยื่อ โดยใช้ชื่อปลอมว่า อิมาดะ ยูโกะ (Imada Yuko) ซึ่งเป็นชื่อของตัวละครในอนิเมชั่นที่เขาชื่นชอบ ความโหดเหี้ยมของการกระทำของมิยาซากิทำให้ The New York Times ถึงกับวิจารณ์ว่า "ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นพฤติกรรมของชาวญี่ปุ่น"

หลังจากที่ตำรวจจับตัวมิยาซากิได้นั้น จากการสอบปากคำพบว่าเขามีรูปแบบการดำรงชีวิต 2 แบบ โดยตอนกลางวันจะเป็นเด็กฝึกงานของโรงพิมพ์ในละแวกนั้น แต่ตอนกลางคืนจะเพลิดเพลินอยู่กับการ์ตูนและวีดิโอกว่า 6000 ม้วน ซึ่งส่วนหนึ่งมีเนื้อหาแนวสยองขวัญและลามกอนาจาร การที่ทนายของเขาพยายามแก้ต่างว่ามิยาซากิไม่สามารถแยกแยะระหว่างความเป็นกับความตาย หรือ โลกแห่งความจริงกับโลกในจินตนาการได้นั้น ทำให้สื่อมวลชนพากันประนามการกระทำของเขาว่ามีสาเหตุมาจากการ์ตูนและอนิเมชั่น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ บรรดาสื่อมวลชนได้ใช้คำว่า Otaku เรียกแทนตัวมิยาซากิในการประโคมข่าว ซึ่งก็ได้ก่อให้เกิดภาพพจน์ในแง่ลบต่อคำว่า Otaku นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ชอดต์ (Frederik L. Schodt) กล่าวว่า หลังจากคดี Miyazaki เรื่องราวเกี่ยวกับ Otaku และ Otaku-zoku ได้ถูกนำมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ในที่สุดคำว่า Otaku ก็ได้ถูกใช้แทน ชายหนุ่มที่ไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและโลกแห่งความจริง จมปลักอยู่กับความคิดฟุ้งซ่านจากหนังสือการ์ตูนและอนิเมชั่นแนวลามกอนาจาร และมีแนวโน้มที่จะหมกมุ่นในเรื่องเซ็กส์ ในความหมายหนึ่งก็คือ บุคคลที่มีปัญหาทางจิตและเป็นภัยคุกคามต่อสังคม… เหมือนมิยาซากิ

แม้ว่าจะยังมีนักวิจารณ์บางรายให้ความโต้แย้งว่า Otaku เป็นคำศัพท์ที่สื่อมวลชนนำมาใช้อย่างลำเอียงเพื่อจุดมุ่งหมายในการสร้างข่าวเกี่ยวกับ Otaku แต่ท่ามกลางกระแสความสนใจที่สังคมมีต่อคดีมิยาซากิก็ทำให้ไม่มีใครให้ความสนใจต่อความเห็นเหล่านั้น

อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า Otaku ก็ได้มีความพยายามที่จะลบล้างภาพพจน์ดังกล่าว เช่น ในปี 1992 "Otaku no Video" ของบริษัท GAINAX อันเป็นบริษัทผลิตอนิเมชั่นชื่อดังได้ออกวางตลาดโดยนำเสนอชีวิตและสังคมของกลุ่ม Otaku ในลักษณะที่ขบขันและล้อเลียน แต่แฝงไว้ด้วยความภาคภูมิใจ เพื่อให้คนทั่วไปมีภาพพจน์ที่ดีต่อ Otaku และสร้างความเข้าใจว่าไม่ควรด่วนตัดสินว่าสื่อการ์ตูนทั้งหมดให้โทษต่อสังคมด้วยคดี Miyazaki เพียงอย่างเดียว หรือการที่นายโอกาดะ โทชิโอะ (Okada Toshio) ประธานบริษัท GAINAX ผู้ได้รับสมญานามว่า "Ota-king" ได้พยายามสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ Otaku โดยเขียนหนังสือเกี่ยวกับวัฒนธรรมของ Otaku ออกมาหลายเล่ม ทั้งยังรับเป็นอาจารย์พิเศษในการบรรยายหัวข้อ Otaku Studies ที่มหาวิทยาลัยโตเกียวอีกด้วย ซึ่งการกระทำเหล่านี้ก็สามารถช่วยให้ภาพพจน์ของ Otaku ดีขึ้นมาบ้างในช่วงทศวรรษที่ 1990

หากแต่คดี Miyazaki ไม่ใช่คดีสะเทือนขวัญคดีเดียวที่เกิดขึ้นจากฝีมือของคนที่เป็น Otaku กรณีที่ การ์ตูน อนิเมชั่น Otaku และอาชญากรรมถูกเชื่อมโยงเข้าหากันในแง่ร้ายยังมีอีกมากมาย เช่น เหตุการณ์ปล่อยแก๊สพิษในสถานีรถไฟใต้ดินเมื่อต้นปี 1995 ของลัทธิโอม ชินริเกียว (Aum Shinrikyo) ที่นำโดยนายอาซาฮาระ โชโกะ (Asahara Shoko) ก็ถูกนำมาวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน ซึ่งก็เป็นที่รู้กันดีว่านายอาซาฮาระนั้นชื่นชอบในการ์ตูนและอนิเมชั่นเกี่ยวกับหุ่นยนต์มาตั้งแต่เด็ก ความเชื่อหลายประการในลัทธิของเขาเช่น วันสิ้นโลก (Armageddon) สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลที่ได้รับมาจากอนิเมชั่นในสมัยก่อน นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวของนิตยสาร AERA รายสัปดาห์ยังเคยรายงานถึงการใช้การ์ตูนเป็นสื่อในการดึงดูดคนให้เข้าลัทธิในชื่อของ “AUM COMIC”

เนื่องจากทั้งสองคดีนี้ถือว่าเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคม และต่างก็ถูกสื่อมวลชนนำมาเชื่อมโยงกับคำว่า Otaku เพื่อผลในการประโคมข่าว ทำให้ภาพพจน์ในแง่ลบของคำว่า Otaku ยังคงฝังรากลึกอยู่ในสังคมญี่ปุ่น

ระยะที่ 3 : ความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปของ Otaku

คำว่า Otaku เริ่มถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในความหมายที่เบาและกว้างขึ้นเมื่อราว ๆ กลางทศวรรษที่ 1990 โดยจะถูกนำมาใช้กับใครก็ได้ที่มีความคลั่งไคล้เป็นพิเศษในงานอดิเรกอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น การเล่นเกมส์ การถ่ายรูปหรือการสะสมแสตมป์ และกลุ่มคนที่เป็น Otaku ก็นำมาใช้เรียกตนเองด้วยความรู้สึกที่ภาคภูมิใจมากขึ้น เช่น Tropical Fish Otaku, Idol Otaku, Robot Otaku และ Lolicom Otaku เป็นต้น

เนื่องจากในระยะหลังญี่ปุ่นมีปัญหาสังคมอื่นที่รุนแรงกว่าเพิ่มขึ้นอีกมาก ความสนใจในเรื่องของ Otaku เริ่มลดลง สื่อมวลชนจึงเลิกประโคมข่าวแล้วหันไปจับประเด็นอื่น รวมทั้งสิ่งตีพิมพ์ที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับ Otaku ก็เริ่มแพร่หลายมากขึ้น ข้อเขียนที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ Otaku ในแง่มุมต่าง ๆ (นอกจากในแง่ร้าย) ก็เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงนักวิชาการได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับ Otaku ออกมามากมาย ในฐานะที่เป็น "คนกลุ่มหนึ่งที่มีวิถีชีวิตเป็นเอกลักษณ์"

ยามาซากิ โคอิจิ (Yamazaki Koichi) นักเขียน-นักวิจารณ์ของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งกล่าวว่า Otaku เป็นผลผลิตของลัทธินายทุนและสังคมแบบบริโภคนิยม มีจุดกำเนิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทศวรรษที่ 1970 เป็นพวก Information Fetish ที่เกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและระบบการศึกษาของญี่ปุ่น ไม่ใช่พวกเก็บตัว แต่บางครั้งชอบทำตัวแตกต่างจากคนอื่น เขาเห็นว่าคนกลุ่มนี้เป็นคนรุ่นใหม่ที่สร้างวัฒนธรรมใหม่ ๆ ขึ้นในญี่ปุ่น

กลาสมัค (Volker Grassmuck) กล่าวว่า Otaku เป็นคำที่ใช้เรียกแทนรูปแบบการใช้ชีวิตแบบหนึ่ง เขากล่าวถึงภาพลักษณ์ของ Otaku ในสายตาคนทั่วไปว่าจะต้องเป็นผู้ชายวัย 10-30 ปี ชอบสวมกางเกงยีนส์ เสื้อเชิ้ต และรองเท้าแตะ ไม่ชอบการติดต่อสัมพันธ์ทางกาย คลั่งสื่อมัลติมีเดียและเทคโนโลยี มักจะเป็นพวกนักสะสมสิ่งของและสืบค้นหาข้อมูลต่าง ๆ อย่างบ้าคลั่ง (Information Fetish) เป็นเหมือนพวกใต้ดิน แต่ไม่ต่อต้านระบบ เป็นผลผลิตของสื่อมวลชน และมีพื้นฐานมาจากพวกโมราโทเรียม (Moratorium ningen) ในทศวรรษที่ 1970 ซึ่งพ่อแม่ไม่มีเวลาให้ บังคับให้เรียนอย่างเดียวแล้วปรนเปรอเด็กด้วยของเล่น คอมพิวเตอร์และเกมส์ เมื่อเด็กเกิดความเครียดจากการเรียนก็จะหนีเข้าไปในโลกแห่งจินตนาการ ทำให้เด็กโลกแห่งความเป็นจริงและโลกในจินตนาการไม่ออก

คินเซลล่า (Sharon Kinsella) เห็นว่า Otaku คือคนรุ่นใหม่ที่มีความเป็นปัจเจกสูงผิดปกติ ในระดับที่ไม่รู้สึกถึงความโดดเดี่ยวเมื่อแยกตัวเองออกจากสังคม ซึ่งสิ่งนี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตแบบปัจเจกชนนิยมของชาวญี่ปุ่นที่เพิ่มมากขึ้น จนทำให้คนในสังคมขาดความสามารถที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น จึงเอาแต่หมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ตนสนใจ

เธอยังเห็นว่าพฤติกรรมของพวก Otaku ยังน่าจะมีส่วนเกี่ยวเนื่องกับโรคที่ไม่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ (Peter-pan syndrome) ซึ่งพบมากในคนญี่ปุ่น แม้จะเป็นคนที่อยู่ในวัยทำงานจนถึงวัยกลางคนก็ตาม Otaku จึงนับว่าเป็นสัญลักษณ์แทนสังคมญี่ปุ่นในปัจจุบัน อีกนัยหนึ่งก็คือ คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ที่ถูกหล่อหลอมขึ้นจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและลัทธิปัจเจกชนนิยมตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา จากข้อเขียนใน SPA! magazine ปี 1986 เห็นว่า Otaku เป็นผลิตผลของยุคข้อมูลข่าวสารในโตเกียว เป็นเด็กที่ถูกอบรมให้จดจำข้อมูลต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสอบเข้ามหาวิทยาลัย วิธีการผ่อนคลายของคนเหล่านี้ก็คือการอ่านการ์ตูนที่มีเนื้อหาล่อแหลม เล่นเกมคอมพิวเตอร์ที่มีความรุนแรง เพื่อหลบจากการบีบบังคับของสังคม ผลก็คือ เกิดกลุ่ม Hardcore Otaku ในหมู่คนรุ่นใหม่กว่าแสนคน (แต่จากการประมาณของสำนักข่าวโตเกียวระบุว่ามีถึงล้านคน)

วิลเลียม กิ๊บสัน (William Gibson) เห็นว่า Otaku เป็นคนที่มีพฤติกรรมคลั่งไคล้ในบางสิ่งบางอย่างอย่างรุนแรง (Passionate Obsessive) และจดจ่อต่อการค้นหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ มากผิดปกติ อาจกล่าวได้ว่า ความแตกต่างระหว่าง Otaku กับคนทั่วไปที่เห็นได้ชัดก็คือ ทัศนคติที่ Otaku มีต่อ “ข้อมูล” นี่เอง

ลอเรนซ์ อิง (Lawrence Eng) เห็นว่าเป็นพวก Self-defined cyborgs เนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมากและจะค้นหาข้อมูลจากทุกแหล่งเพื่อที่จะได้รู้จักและเข้าใจสิ่งนั้นมากขึ้น เพื่อความพอใจส่วนตัว

นอกจากนี้คำว่า Otaku ยังได้ถูกนำมาแผลงเป็นคำคุณศัพท์ว่า โอทากิอิ (Otakii) โดยใช้ในความหมายเชิงล้อเลียนของการมีแนวโน้มที่จะหมกมุ่นกับอะไรสักอย่างอยู่เพียงลำพัง

ระยะที่ 4 : Otaku, Shin-jinrui, Moratorium ningen และ Hikikomori no hito

ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา Otaku ซึ่งเคยถูกมองว่าเป็นกลุ่มคนที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมของญี่ปุ่นได้รับการยอมรับในระดับหนึ่ง นั่นก็คือ สังคมเข้าใจว่า "พฤติกรรม" แบบ Otaku มีหลายระดับและไม่ใช่สิ่งเสียหาย คนที่เป็น Otaku ไม่ได้เป็นภัยคุกคามสังคมหมดทุกคน และ Otaku ก็เป็นเพียงหนึ่งในกลุ่มคนที่เป็นผลผลิตของสังคมญี่ปุ่นยุคใหม่ ในปัจจุบัน นักวิชาการและนักวิจารณ์นิยมสร้างคำจำกัดความเกี่ยวกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีพฤติกรรมแบบต่าง ๆ ขึ้นมามากมายและก็นิยมที่จะนำเอาคำว่า Otaku ไปเปรียบเทียบกับคนกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งก็ช่วยทำให้คำจำกัดความของ Otaku มีความเด่นชัดมากขึ้น

คำจำกัดความเกี่ยวกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มักจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับ Otaku คือ ชิน-จินรุย (Shin-jinrui) โมราโทเรียม นิงเกน (Moratorium ningen) และฮิกิโกโมริ โนะ ฮิโตะ (Hikikomori no hito)

Shin-jinrui : จากบทความเรื่อง I’m alone but not lonely กลาสมัค (Volker Grassmuck) เห็นว่าคำนี้ถูกใช้ในความหมายที่กว้างเหมือน Otaku กล่าวคือ เป็นคำเรียกรวม ๆ ที่หมายถึงคนรุ่นใหม่ แต่บางครั้งที่ใช้อย่างจำเพาะเจาะจงเยาวชนบางกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายกับพวก yuppies ในปลายทศวรรษที่ 1970 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษามหาวิยาลัยในวัย 20 ต้น ๆ ที่ให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อเสริมรูปลักษณ์ภายนอก นิยมใช้สินค้าแบรนด์เนม ขับรถยนต์ราคาแพง นิยมทำงานพิเศษที่สบาย ๆ ใช้เวลาน้อยแต่ได้เงินง่าย เช่นการถ่ายแบบและงานโฆษณา คนกลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมที่คล้ายกับ Otaku ตรงที่จะบ้าคลั่งในเรื่องแฟชั่น ที่จะต้องคอยติดตามให้ทันสมัยอยู่เสมอ อาจเรียกว่าเป็นพวก Fashion Otaku, Brand-name syndrome หรือ M(e)-Generation

อาจกล่าวได้ว่า การเกิดขึ้นมาของคนประเภทนี้เป็นผลมาจากสภาพสังคมหลังจากประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศของญี่ปุ่นเอง คนรุ่นใหม่เติบโตขึ้นมาท่ามกลางสังคมที่ร่ำรวย สะดวกสบาย และปลอดภัย ทำให้มีแนวโน้มที่จะรักความสบายเป็นธรรมดา โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับค่านิยมของคนรุ่นเก่า การมองคนอีกรุ่นด้วยค่านิยมของยุคสมัยที่แตกต่างกันย่อมจะทำให้เกิดความรู้สึกที่แปลกแยก เหมือนเป็นบุคคลต่างกลุ่มกัน คำศัพท์ว่า Shin-jinrui จึงเกิดขึ้นมาด้วยลักษณะนี้

Moratorium ningen : โอโกโนงิ เคโงะ (Okonogi Keigo) โปรเฟสเซอร์แห่งมหาวิทยาลัยเคโอ ซึ่งเป็นผู้ที่ริเริ่มใช้คำนี้กล่าวว่า ลักษณะสภาพจิตของกลุ่ม Moratorium ในทศวรรษที่ 1970 เป็นพื้นฐานของปรากฏการณ์ Otaku ในทศวรรษที่ 1980 กลุ่มคนที่เรียกว่า Moratorium ningen เป็นกลุ่มคนที่ขาดจุดมุ่งหมายในชีวิตและขาดความเป็นตัวของตัวเอง ทำให้ต้องแสวงหาเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากแหล่งอื่น เมื่อชื่นชอบซึ่งใดจึงมีพฤติกรรมที่หลงใหลอย่างคุ้มคลั่ง อันเป็นจุดกำเนิดของ Otaku

เนื่องจากสังคมญี่ปุ่นในปัจจุบันเป็นสังคมที่ขาดความอบอุ่น ผู้คนในสังคมมีความสัมพันธ์กันเพียงผิวเผิน ทำให้เกิดความโดดเดี่ยว และจากอัตราการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วซึ่งบังคับให้ทุกคนต้องปรับตัวตามให้ทัน โดยอาศัยการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อชนิดต่าง ๆ สื่อมวลชนที่มีอำนาจครอบคลุมสังคมจึงนับว่ามีอิทธิพลต่อสภาพจิตใจของคนญี่ปุ่นโดยเฉพาะเยาวชน ทำให้เยาวชนญี่ปุ่นถูกครอบงำด้วยสื่อและตกเป็นทาสของโฆษณาต่าง ๆ โอโกโนงิจึงกล่าวประนามสื่อมวลชนว่ามีส่วนก่อให้เกิดปัญหาสังคมด้วยการสร้างโลกที่ลวงตาขึ้นมา

Hikikomori no hito : คำว่า Hikikomori ไม่มีความหมายในแง่บวกเหมือน Otaku อย่างน้อย ๆ คนญี่ปุ่นก็จะไม่รู้สึกภูมิใจเลยถ้าถูกเรียกว่าเป็นพวก Hikikomori ยกเว้นว่าต้องการจะเรียกร้องความสนใจ เพราะนอกจากคำ ๆ นี้จะหมายถึงคนที่เก็บตัวจากสังคมแล้ว ยังหมายถึงคนที่มีแนวโน้มว่าจะมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและชอบใช้ความรุนแรงอีกด้วย เมื่อก่อนพวก Otaku เคยถูกเข้าใจว่าเป็นกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมไม่น่าไว้วางใจและเป็นภัยคุกคามต่อสังคม เนื่องจากทุกคนเคยคิดว่า Otaku เป็นพวกเก็บตัวที่หมกมุ่นอยู่กับหนังสือการ์ตูน อนิเมชั่นและเกมส์ แต่เนื่องจากโลกในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร การเก็บตัวอยู่คนเดียวและท่องโลกทางอินเตอร์เน็ตไม่เป็นสิ่งประหลาดอีกต่อไป Otaku จึงได้รับการยอมรับว่าเป็นคนปกติ เพียงแต่มีวิถีชีวิตอีกแบบ บางคนยังคิดว่าทันสมัยด้วยซ้ำ ไม่รวมที่ในตอนนี้สังคมญี่ปุ่นได้ตระหนักแล้วว่ายังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและเก็บตัวยิ่งกว่า… นั่นก็คือ Hikikomori

Hikikomori no hito เป็นกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมเก็บตัว ไม่สุงสิงกับใครแม้แต่คนในครอบครัว ชอบอยู่แต่ในห้องของตนเอง (Shut-in) สาเหตุเกิดมาจากผลกระทบของปัญหาสังคมต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจไม่มั่นคง การรังแกในโรงเรียน ขาดความอบอุ่นในครอบครัว การสอบ ฯลฯ ทำให้มีคนกลุ่มหนึ่งเกิดปัญหาทางจิต เช่น ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง คิดว่าไม่มีใครต้องการ เก็บกด ซึมเศร้า ก้าวร้าว และมักระบายออกด้วยการทำลายข้าวของ หรือที่ร้ายแรงที่สุดก็คือ การทำร้ายตัวเองและผู้อื่นด้วยวิธีการที่รุนแรง

มุราคามิ ริว (Murakami Ryu) นักเขียนนิยายและบทความเห็นว่า Hikikonomi เป็นผลพวงของสภาพสังคมญี่ปุ่นที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีมากเกินไปในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 Hikikomori จึงนับว่าเป็นผลผลิตของสังคมเช่นเดียวกับ Shin-jinrui, Moratorium และ Otaku แต่ถ้าเทียบกันแล้ว Otaku ยังจัดว่าเป็นกลุ่มที่สามารถปรับตัวเป็นสมาชิกของสังคมได้ดีกว่า เพียงแค่ประหลาดไปบ้าง คำว่า Hikikomori จึงถูกนำมาใช้ในความหมายของพวกโรคจิตที่เป็นภัยสังคมแทนที่ Otaku

บทความจาก //www.TIMEasia.com เรื่อง "Staying In and Tuning Out" กล่าวว่า กลุ่มคนที่เรียกว่า Otaku เป็นที่ยอมรับและได้รับความเข้าใจมากขึ้นก็เมื่อเกิดกลุ่มคนที่เรียกว่า Hikikomori ขึ้นมานั่นเอง

จากที่กล่าวมาทั้งหมดเราจะเห็นได้ว่า คำว่า Otaku ถูกใช้ในความหมายที่ลื่นไหลพอสมควรในสังคมญี่ปุ่น ดูข้อมูลโดยสรุปได้จาก

1. ทศวรรษที่ 1970 Otaku เป็นคำสรรพนามที่กลุ่มแฟนพันธุ์แท้การ์ตูนและอนิเมชั่นใช้เรียกหากันและกัน

2. ทศวรรษที่ 1980 เป็นคำนามที่นากาโมริ อากิโอะนำมาใช้เป็นคำจำกัดความถึงกลุ่มแฟนพันธุ์แท้การ์ตูนและอนิเมชั่นซึ่งมีลักษณะดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

3. ต้นทศวรรษที่ 1990 ยังคงความหมายที่นากาโมริให้คำจำกัดความเอาไว้อยู่ แต่ถูกเน้นย้ำความหมายในแง่ลบ เนื่องมาจากจากคดี Miyazaki

4. ปลายทศวรรษที่ 1990 ถูกใช้ในความหมายที่เบาและกว้างขึ้น ในความหมายของ "คนที่มีความสามารถในการสะสมและเสาะหาข้อมูลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง" ส่วนภาพพจน์ที่นากาโมริเคยบรรยายเอาไว้ก็ยังคงอยู่ ส่วนความหมายในแง่ลบจากคดีมิยาซากิถูกลดทอนความรุนแรงลง และเกิดคำคุณศัพท์ Otakii ขึ้นมา

5. ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา นักวิชาการและนักวิจารณ์ได้ให้คำจำกัดความต่าง ๆ กัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมองว่า Otaku เป็นผลผลิตของยุคสมัย และมักจะนำมาวิเคราะห์กับคำจำกัดความอื่น ๆ เช่น Moratorium ningen, Hokikomori no hito และ Shin-jinrui เป็นต้น

2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับ Otaku

- Otaku เป็นภัยคุกคามสังคม

ภาพลักษณ์ของ Otaku ที่เด่นชัดที่สุดก็คือ บุคคลที่มืดมน ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่มีใครคบหา น่ารังเกียจ มีอาการป่วยทางจิตและเป็นภัยต่อสังคม แม้ในปัจจุบันความหวาดระแวงใน Otaku เบาบางลงมากแล้ว แต่ภาพลักษณ์นี้ก็ยังคงถูกสื่อมวลชนนำมาใช้อยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในนวนิยาย การ์ตูน อนิเมชั่น ละครและเพลง แสดงให้เห็นถึงความแพร่หลายและฝังรากลึกของแนวคิดดังกล่าว

นากาโมริ (Nakamori Akio) เป็นบุคคลแรกที่นำเสนอภาพลักษณ์ในแง่ลบของ Otaku ต่อสังคมโดยบรรยายว่าเป็นพวกเก็บตัว ไม่ชอบเข้าสังคม สกปรก ไม่มีระเบียบ และไม่มีใครชอบ และแนวคิดนี้ก็ได้กลายมาเป็น Stereotyped ของ Otaku ที่ฝังรากลึกอย่างไม่มีวันลบเลือนได้แม้ในปัจจุบัน

แต่กระนั้นคนส่วนใหญ่ก็ยังเห็นว่า Otaku เป็นเพียงเงามืดในสังคมที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพสังคมโดยรวม จวบจนกระทั่งเกิดคดี Miyazaki แนวคิดว่า “Otaku เป็นภัยคุกคามสังคม” ได้รับการโหมประโคมจากสื่อมวลชนทำให้มีความรุนแรงมากในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 สื่อมวลชนพากันลงบทความที่แสดงความเห็นว่า “เราไม่สามารถไว้ใจเยาวชนในปัจจุบันได้ เพราะรู้อยู่แก่ใจว่าพวกเขาสามารถทำอะไรได้บ้าง” เช่น

The Shokan Post เคยลงบทความแสดงความคิดเห็นว่า เด็กประถมและมัธยมทุกวันนี้ส่วนมากเป็น Otaku และเป็นกลุ่มคนที่จะทำให้สังคมมัวหมอง

นักวิจารณ์อย่างโอทสึกะ เอจิ (Otsuka Eiji) กล่าวว่า "มันอาจฟังดูน่ากลัว แต่มีคนอีกกว่าแสนคนที่มีงานอดิเรกเหมือนกับมิสเตอร์ M… พวกเรากำลังประจันหน้าอยู่กับกองทัพฆาตกร"

- Otaku เป็นผลผลิตของสังคม

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า หลังจากต้นทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา นักวิชาการและนักวิจารณ์ต่างเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ Otaku ต่าง ๆ นานา แต่โดยรวมแล้วเห็นว่า Otaku เป็นหนึ่งในผลผลิตของสังคมญี่ปุ่นยุคหลังสงคราม ซึ่งผลผลิตของสังคมยุคหลังสงครามนี้ยังมีอีกมากมาย เช่น Hikikomori no hito และ Shin-jinrui แต่การที่ Otaku ถูกดึงออกมาประนามอย่างร้อนแรงนั้นเนื่องมาจากความต้องการขายข่าวของสื่อมวลชนนั่นเอง

ยามาซากิ (Yamazaki Koichi) กล่าวว่า Otaku เป็นผลผลิตของลัทธินายทุนและสังคมแบบบริโภคนิยม มีจุดกำเนิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทศวรรษที่ 1970 ด้วยอิทธิพลของสื่อและเทคโนโลยี รวมกับผลจากระบบการศึกษาของญี่ปุ่นทำให้เกิดกลุ่ม Information Fetish กลุ่มนี้ขึ้น ซึ่งพวกเขาไม่ได้ทำให้สังคมเสื่อมถอย แค่มีพฤติกรรมที่แตกต่าง ยามาซากิเห็นว่า Otaku เป็นคนรุ่นใหม่ที่จะสร้างวัฒนธรรมใหม่ ๆ ขึ้นในญี่ปุ่น

กลาสมัค (Volker Grassmuck) กล่าวว่า Otaku เป็นผลผลิตของสื่อมวลชน และมีพื้นฐานทางจิตใจมาจากพวก Moratorium ningen ในทศวรรษที่ 19 70 เขาเห็นว่าผู้ใหญ่ในสังคมญี่ปุ่นไม่สามารถทำความเข้าใจกับความคิดของคนรุ่นใหม่ได้ และไม่สามารถสร้างสังคมที่อบอุ่นได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าตัวผู้ใหญ่ชาวญี่ปุ่นที่เกิดในยุคหลังสงครามเองก็ยังไม่เป็นผู้ใหญ่ทางจิตใจ นั่นคือเป็นพวก Moratorium ทำให้ญี่ปุ่นเป็นสังคมที่มีแต่เด็ก

คินเซลล่า (Sharon Kinsella) เห็นว่า otaku เป็นสัญลักษณ์แทนสังคมญี่ปุ่นในปัจจุบัน สะท้อนความกังวลที่นักวิชาการมีต่อสังคมญี่ปุ่นในหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่ทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและลัทธิปัจเจกชนนิยมได้หล่อหลอมคนญี่ปุ่นรุ่นใหม่

อาซาบะ มิจิอากิ (Asaba Michiaki) นักวิจารณ์ กล่าวว่า ผลของการถูกแยกจากเพื่อน ๆ ยัดเยียดให้ตั้งใจเรียนเพื่อเตรียมสอบและอยู่แต่ในห้องนอน ทำให้เด็กญี่ปุ่นเติบโตขึ้นมาโดยที่ได้รับข้อมูลและประสบการณ์ทางสังคมจากสื่อมวลชนเพียงอย่างเดียว ซึ่งเยาวชนเหล่านี้เองที่เป็นผู้ให้กำเนิดวัฒนธรรมแบบ Otaku

- Otaku เป็นเหยื่อของสื่อมวลชน

โยเนซาวะ โยชิฮิโร (Yonezawa Yoshihiro) นักวิจารณ์การ์ตูนและประธานการจัดงาน Comic Market เห็นว่า การนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ Miyazaki และ Otaku ของสื่อมวลชนเป็นต้นเหตุของความความหวาดระแวงต่อผลิตผลทางปัญญาที่ไม่มีลิขสิทธิ์ (หมายถึง การ์ตูน อนิเมชั่นและนิตยสารใต้ดิน) และคำว่า Otaku ถูกนำมาใช้เพื่อดึงคนกลุ่มหนึ่งออกมาจากสังคมและบดขยี้ทิ้งไป ในทางกลับกัน การเปิดกว้างในการตีความคำว่า Otaku ก็ทำให้ปัจเจกบุคคลสามารถที่จะตีความเอาเองได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็นพวกหนอนหนังสือ แฟนภาพยนตร์ แฟนเพลงวงร็อค นักวาดการ์ตูนและแฟนอนิเมชั่นต่างก็ถูกเหมารวมกันไปหมด

ลอเรนซ์ (Lawrence Eng) กล่าวว่า ในต้นทศวรรษที่ 1990 สื่อมวลชนทำให้ผู้ชนหวาดกลัวพวก Otaku และพฤติกรรมของพวกเค้า ลงความเห็นว่าเป็นที่มาของปัญหาสังคม สื่อมวลชนจะกล่าวโทษ Otaku ในทุกกรณีที่เป็นปัญหาต่อสังคม ซึ่งตัวเขาเห็นว่าเป็นการไม่ยุติธรรม เป็นความเห็นที่เลือกที่รักมักที่ชังและควรมีการแก้ไขความเข้าใจผิด เนื่องจาก Otaku ไม่ใช่คนไม่มีเพื่อนหรือฆาตกรโรคจิต แน่นอนว่า Otaku บางรายอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นแต่ไม่ควรใช้แนวคิดนี้มาตัดสินครอบคลุมไปหมด

- ทุกคนคือ Otaku

ผู้เขียนบทความหลายคนจากหนังสือ Otaku no tanjou มีความเห็นตรงกันว่า "ในสังคมที่ให้ความสำคัญกับข่าวสารอย่างประเทศญี่ปุ่นนั้น โดยเฉพาะยุคสมัยที่เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าถึงขีดสุดแบบนี้ ทุก ๆ คนก็เป็น Otaku ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง" เช่น

นากาโมริ อากิโอะ (Nakamori Akio) ผู้เขียนบทความ Boku ga [Otaku] no natsuke oya ni natta jijou เห็นว่า ในอนาคตคู่สามีภรรยาจะเป็น Otaku ทั้งคู่ แต่ก็ไม่มีผลกระทบต่อครอบครัวและการเลี้ยงดูลูกแต่อย่างใด เพราะนี่จะเป็นรูปแบบของครอบครัวคนญี่ปุ่นในอนาคต

อุเอโนะ จิสึโกะ (Ueno Chizuko) ผู้เขียนบทความ Lolicon to Yaoi zoku ni mirai wa aruka !? เห็นว่า เด็กวัยรุ่นที่หมกมุ่นกับการ์ตูนที่มีเนื้อหาในเรื่องเพศนับวันจะเพิ่มจำนวนขึ้น ตัวเธอเองก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าตัวเองเป็น Otaku หรือไม่… แต่ถ้าเธอเป็นคนอื่น ๆ ก็คงเป็น Otaku กันหมด เพราะคนญี่ปุ่นก็ชอบอ่านการ์ตูนเหมือนกันทั้งประเทศ

มาสึยามะ ฮิโรชิ (Masuyama Hiroshi) ผู้เขียนบทความ Kanojo ni KEYBOARD ga tsuite tachi กล่าวว่า "สมัยนี้เราถูกแวดล้อมไปด้วย Otaku" เพราะ Otaku มีอยู่ทั่วไปในสังคม แม้แต่ในที่ทำงานก็อาจมีได้เช่น Computer Otaku

อย่างไรก็ตาม ความเห็นของคนกลุ่มนี้อาจจะมีความลำเอียงผสมอยู่บ้างเนื่องจากต่างก็เป็นผู้ที่อยู่ในสาขาอาชีพที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น Otaku เช่น นักเขียนการ์ตูน นักเขียน นักดนตรี และจุดประสงค์ของการออกหนังสือรวมบทความเล่มนี้ก็เพื่อสร้างเสริมภาพพจน์ที่ดีให้แก่สังคมของ Otaku

อีกข้อหนึ่งก็คือ Otaku ที่คนเหล่านี้พูดถึงจะมีการตีความที่สับสน เนื่องจากช่วงเวลาที่เขียนบทความอยู่ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ซึ่งยังมีความขัดแย้งระหว่างแนวคิดของ Otaku ที่มีอาการหนักและมีปัญหาทางจิตแบบ Miyazaki กับ Otaku ในระดับอ่อน ๆ ที่สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างปกติสุข

บทสรุป

ต้นทศวรรษที่ 1980 หลังจากที่ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยประเทศหนึ่ง รัฐบาลได้พยายามส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใส่ใจในการพักผ่อนและงานอดิเรกมากขึ้น เยาวชนในยุคนั้นจึงเติบโตมาอย่างอิสระและมีเสรีภาพในการเลือกบริโภคจากสื่อต่าง ๆ จากสภาพครอบครัวที่พ่อโหมทำแต่งาน ไม่เคยอยู่บ้าน ฝ่ายแม่ก็คอยเคี่ยวเข็ญให้ลูกเรียน โดยแลกกับการตามใจในเรื่องอื่น ๆ และโรงเรียนที่เป็นนรกแห่งการสอบ ทำให้เยาวชนส่วนใหญ่พากันหลีกหนีเข้าสู่โลกในจินตนาการ จนเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Nijikon Fetchi [Two-Dimensional Fetish] ซึ่งหมายถึง การ์ตูนและอนิเมชั่น

คำว่า Otaku ซึ่งถูกนำมาใช้ในความหมายที่ลื่นไหลไปตามบริบทของสังคมมาตลอด จะไม่มีทางเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในวงกว้างขึ้นมาได้เลย ถ้าสื่อมวลชนไม่นำมาใช้ประโคมข่าวในคดี Miyazaki, Aum Shinrikyo และคดีอื่น ๆ หากแต่ความตื่นตระหนกที่สังคมมีต่อเรื่องของ Otaku ก็แสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลที่นักวิชาการทางสังคมมีต่อสังคมญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้น ในขณะที่สื่อมวลชนกลับให้ความสำคัญต่อความแตกแยกในสังคมน้อยกว่าที่ควร

ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 นักวิชาการทางสังคมของญี่ปุ่นต่างวิตกกังวลถึงการเสื่อมสลายของสังคมแบบเครือญาติที่มาพร้อมกับความเจริญของลัทธิปัจเจกชนนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ เนื่องจากวัฒนธรรมแบบปัจเจกที่คนรุ่นใหม่สร้างขึ้นล้วนบ่งบอกถึงการปฏิเสธที่จะมีความรับผิดชอบต่อสังคม ปฏิเสธหน้าที่ที่มีต่อครอบครัว บริษัทและประเทศชาติตามที่คนรุ่นเก่าเคยยึดถือมา

ในปลายทศวรรษที่ 1980-1990 Subculture ต่าง ๆ พากันผุดขึ้นมาในสังคมและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยด้วยเทคโนโลยีทางข้อมูลข่าวสารที่ก้าวหน้า เยาวชนต่างซึมซับเอา Subculture เข้าไปจนมีพฤติกรรมที่แปลกแยกไปจากความคาดหวังของสังคม ก่อให้เกิดความสับสนในองค์กรทางสังคมตามมา

แต่การที่จะนำเอาการ์ตูน อนิเมชั่น Otaku ศาสนา และอาชญากรรมมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันนั้นควรจะมีหลักการรองรับที่เพียงพอ แน่นอนว่าการที่คนญี่ปุ่นตื่นตัวกับเรื่องของ Otaku แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและบทบาทที่การ์ตูนและอนิเมชั่นมีต่อคนหมู่มาก ซึ่งหากเป็นในสังคมอื่น เราอาจจะโทษไปที่ภาพยนตร์ นวนิยายหรือดนตรี ดังที่ดนตรีร็อค แอนด์ โรลและโทรทัศน์เคยถูกประนามว่าเป็นสิ่งที่บ่อนทำลายศีลธรรมอันดีงามและส่งอิทธิพลในทางลบให้แก่เยาวชนในอเมริกามาแล้ว

การ์ตูนและอนิเมชั่นในญี่ปุ่นก็เช่นกัน เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมการ์ตูนและอนิเมชั่นที่เข้าถึงคนทุกเพศทุกวัยในสังคม ทำให้สามารถที่จะถูกกล่าวโทษว่าเป็นโรคร้ายของสังคมได้อย่างง่ายดาย และในความหมายนั้น Otaku ก็นับว่าเป็นผลผลิตของสังคมที่บริโภคการ์ตูนมากเกินไปนั่นเอง

บทความของเพื่อนคุณkeiji ในคลาส Japan Studies ที่มหาวิทยาลัย ขอถือโอกาสลงWeblogไปด้วยเลยนะครับ




 

Create Date : 26 ธันวาคม 2548    
Last Update : 26 ธันวาคม 2548 20:00:20 น.
Counter : 4808 Pageviews.  

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสัญลักษณ์บนสันหนังสือการ์ตูนของวิบูลย์กิจ

หลายท่านคงจะสงสัยกันอยู่ไม่น้อยนะครับว่าสัญลักษณ์ที่ติดอยู่บนสันหนังสือการ์ตูนด้านบนของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจนั้นคืออะไรกันแน่ จากประสบการณ์ในการสังเกตแยกแยะมาอย่างละเอียด ผมจึงทราบว่ามันมีไว้ใช้แยกแยะว่าการ์ตูนเรื่องนั้นมาจากสำนักพิมพ์ต้นสังกัดญี่ปุ่นที่ใด และจากหัวนิตยสารไหนซึ่งก็ระบุได้ดังนี้ครับ
แมงปอ(แรกๆ) ,พระอาทิตย์หน้ายิ้ม(หลังๆ) = นิตยสารWeekly MagazineของKodansha
เต่าทอง3ตัว = นิตยสารBiweekly Young MagazineของKodansha
ตั๊กแตนเขียว = นิตยสารMonthly MagazineของKodansha
ผีเสื้อ = นิตยสารMonthly NAKAYOSHIของKodansha
โลกหน้ายิ้ม ,ดาว3ดวง = นิตยสารหัวอื่นๆ(ก็มีนิตยสารMorning ,Bom bom ,Magazine ZและAfternoon)ของKodansha (ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมเนกิมะใช้รูปโลกหน้ายิ้มแทนที่จะเป็นพระอาทิตย์เพราะอยู่ในโชเนนแมกกาซีนเหมือนกับเรื่องอื่นๆ)
ซานตาครอส = นิตยสารWeekly ChampianของAkita shoten
พวงกระดิ่ง = นิตยสารMonthly PrincessของAkita shoten
ต้นคริสต์มาส ,หัวฟักทอง และกามเทพ = นิตยสารBonita ,Kirara16 และPrincess Petit ของAkita Pulishing
หัวมังกร = นิตยสารในเครือJumpของShueisha
ม้าสีน้ำตาล = Media Factory
ช่อกุหลาบ = การ์ตูนแนวรักในนิตยสารYoung AnimalของHakusensha
ม้าบินสีขาว = การ์ตูนแนวบู๊เลือดสาดในนิตยสารYoung AnimalของHakusensha
ดอกมอร์นิ่งกลอรี่ = นิตยสารHanatoyume(ดอกไม้กับความฝัน)ของHakusensha
หงษ์ขาว = นิตยสารAceของKadokawa shoten
เหยี่ยวสีดำ = นิตยสารในเครือSundayของShogakukan
ดอกไม้สีชมพู = นิตยสารCiao ComicของShogakukan
ฟินิกซ์ = นิตยสารในกลุ่มGan GanของSquare Enix
ครึ่งคนครึ่งม้า = สำนักพิมพ์A-Girl
ตุ๊กตาหิมะ = นิตยสารChampian Red ของAkita(ไม่100% เพราะRayดวงตาฯซึ่งควรจะใช้หัวนี้กลับใช้ซานครอสแทน แต่ที่แน่ๆคือถ้าลงในYoung Fridayละก็สัญลักษณ์นี้หมด)

ผมชอบสัญลักษณ์บนสันหนังสือในสไตล์แบบนี้ของวิบูลย์กิจครับดูแล้วแปลกตาไม่ซ้ำแบบ ดีกว่าตราโลโก้ของสำนักพิมพ์แบบเดียวกันหมดของสำนักพิมพ์อื่นเยอะเลยครับ




 

Create Date : 06 พฤศจิกายน 2548    
Last Update : 15 สิงหาคม 2549 23:40:46 น.
Counter : 540 Pageviews.  

มุมมองต่อการ์ตูนญี่ปุ่นในสังคมไทย(ไม่เกี่ยวกับหลุมดำนะ)

ถ้าท่านเดินในร้านหนังสือญี่ปุ่น ท่านจะเห็นแผนกหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊ก นิยาย วรรณกรรม และการ์ตูน บนชั้นวางหรูหรา แยกหมวดหมู่สำนักพิมพ์อย่างชัดเจนในระดับเดียวกัน แต่ถ้าท่านเดินร้านหนังสือในไทย หรือแม้แต่ในอเมริกา การ์ตูนจะถูกจัดออกมากองในแผงหน้าร้าน แยกต่างหากจาก “หนังสืออื่น” ที่เหมาะสมจะเอาขึ้นชั้นวางมากกว่า

ถ้าท่านเปิดหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่น มือของท่านจะสัมผัสถึงเนื้อกระดาษที่แสนจะเนียน ผลิตด้วยกระดาษถนอมสายตา ถ้าเพ่งมอง ท่านจะมองเห็นจุดอันละเอียดที่เกิดจากเครื่องพิมพ์ที่ประณีต แต่ถ้าท่านเปิดหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นที่ขายในไทยหรืออเมริกา ท่านจะรู้สึกว่าต้องไปล้างมือ เพราะกระดาษคุณภาพแย่ยิ่งกระดาษหนังสือพิมพ์ คุณภาพงานพิมพ์ก็ห่วยจนบางครั้งหมึกเลอะหน้ากระดาษ

ถ้าท่านเดินตามถนนญี่ปุ่น หรือไปเดินแถวๆสุขุมวิท ท่านจะเห็นผู้ใหญ่ใส่สูทผูกเน็คไท นั่งอยู่ในร้านอาหารหรูหรา กางการ์ตูนอ่านอย่างตั้งใจราวกับเป็นรายงานตลาดหุ้น แต่ถ้าท่านเดินอยู่เมืองไทย ท่านจะเห็นเด็กไร้สมองนั่งหัวเราะไปกับการ์ตูน อันนั้นไม่เท่าไหร่นักถ้าเป็นเด็ก แต่ถ้าวัยรุ่นหรือคนทำงานเปิดหนังสือการ์ตูนอ่าน หรือแม้แต่เดินถือหนังสือการ์ตูนละก็ ท่านจะรู้สึกได้ถึงสายตาที่ดูถูกเหยียดหยามระดับสติปัญญาของคนรอบข้าง

ทำไมเรากางหนังสือนิยายมังกรหยกของกิมย้งเล่มโตอ่านแล้วมีสายตาชื่นชมว่าอ่านหนังสือมีระดับ แต่เรากางหนังสือการ์ตูนมังกรหยกที่วาดโดยหลี่จื้อชิงอ่านแล้วจึงโดนดูถูกด้วยสายตาคู่เดียวกัน ผมอ่านนิยายสามก๊ก ผมเป็นผู้ทรงความรู้ ในขณะที่ผมอ่านการ์ตูนศึกสามก๊ก ผมเป็นเด็กไร้สาระ

นี่แสดงถึงระดับของการ์ตูนที่เป็นอยู่ในสังคมไทย หรือแม้แต่สังคมฝรั่ง เพื่อนผมที่อยู่ในอุรุกวัยหรืออังกฤษ ก็บ่นแบบเดียวกัน

รายการโทรทัศน์รายการหนึ่งเมื่อเร็วๆนี้ สรุปว่า การ์ตูนเป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นพิษภัยต่อเยาวชน โดยเสนอว่าการ์ตูนส่วนหนึ่งไม่เหมาะสมกับเด็ก

ผมเห็นด้วยกับรายการนั้นที่ว่าการ์ตูนบางส่วนไม่เหมาะสมกับเด็ก แต่เราจะจัดการ์ตูนเป็นของเด็กเท่านั้นหรือ?

ก่อนจะวิจารณ์การ์ตูน ต้องศึกษาประวัติของการ์ตูนก่อน

คำว่า การ์ตูน (Cartoon) เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาอิตาเลียนว่า Cartone แปลว่า กระดาษใหญ่

การ์ตูนกำเนิดในปี 1843 โดย John Leech วาดลงนิตยสาร Punch Magazine

หลังจากนั้นเป็นต้นมา การ์ตูนก็เริ่มแยกตัวออกจากภาพเขียน โดยมีการเขียนเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา เรียกว่า Comics และมีพัฒนาการตามกระแสสังคม

การ์ตูนฮีโร่ต่างๆ ในอเมริกา สะท้อนปัญหาสังคมในขณะนั้น และมีเนื้อหาเข้มข้นเป็นที่สุดเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ขึ้น จนรัฐบาลถึงกับแบนการ์ตูนพวกนี้ระยะหนึ่ง

ประวัติของการ์ตูนของฝรั่งนั้นมีมายาวนาน แต่จะไม่ขอพูดถึงในที่นี้ เพราะหัวข้อคือ การ์ตูนญี่ปุ่น ไม่ใช่การ์ตูนไทย หรือการ์ตูนฝรั่ง

คำว่า Comics ตรงกับภาษาญี่ปุ่นว่า มังงะ (漫画)

มังงะ พัฒนามาจากการรวมกันระหว่าง อุกิโยเอะ (浮世絵 - ภาพเขียนแบบญี่ปุ่น) กับการเขียนภาพแบบตะวันตก มีกำเนิดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้เอง

คำว่า มังงะ มีความหมายตรงๆว่า ภาพที่ไม่แน่นอน (Whimsical Pictures) คำนี้ได้รับการกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 19 จากการพิมพ์ โฮคุไซ มังงะ ซึ่งประกอบไปด้วยภาพเขียนต่างๆจากสมุดภาพของศิลปินอุกิโยเอะชื่อดังนามว่า โฮคุไซ แต่สิ่งที่ใกล้เคียงกับความเป็นมังงะในปัจจุบันมากกว่า ได้แต่ กิงะ (ภาพตลก) ซึ่งวาดในศตวรรษที่ 12 โดยศิลปินหลายท่าน ซึ่งประกอบด้วยเนื้อเรื่องและลายเส้นที่เรียบง่าย จึงคล้ายกับมังงะที่เราคุ้นเคยมากกว่า

ดังที่กล่าวว่า มังงะ พัฒนามาจากอุกิโยเอะ + การเขียนแบบตะวันตก สาเหตุที่มีการพัฒนาดังนี้ เริ่มมาจากตอนที่สหรัฐอเมริกาได้เริ่มการค้าขายกับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นพยายามพัฒนาตนเองให้ทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงรับศิลปินตะวันตกเข้ามาสอนการวาดภาพต่างๆ เช่น ลายเส้น รูปร่าง และองค์ประกอบสี (สิ่งเหล่านี้ไม่ได้มีการเน้นในงานเขียนแบบอุกิโยเอะ ซึ่งให้ความสำคัญกับความคิดและอารมณ์ความรู้สึกเบื้องหลังภาพมากกว่า) มังงะอย่างในปัจจุบันนั้นได้รับความนิยมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อรัฐบาลยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรสื่อต่างๆ และสำนักพิมพ์หลายแห่งก็เริ่มฟื้นตัว

ในศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา มังงะ ก็เข้าใกล้เคียงกับความหมายของคำว่า Comic แต่ มังงะ นั้นมีความสำคัญกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น มากกว่าที่ Comic มีความสำคัญกับวัฒนธรรมอเมริกัน ในญี่ปุ่นนั้น มังงะได้รับการยกย่องให้เป็นทั้งศิลปะ และวรรณกรรมสมัยใหม่ ในขณะที่ Comic ไม่ใช่

จากที่กล่าวมานั้น จึงไม่แปลกที่ไทยซึ่งรับวัฒนธรรมจากชาติตะวันตกเข้ามามากกว่า จึงมองหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น หรือ มังงะ ในแง่ที่เป็นสิ่งไร้สาระ ไม่ได้มองเป็นวรรณกรรมหรือวัฒนธรรม แบบที่ญี่ปุ่นมอง

แต่ในขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นและอเมริกันมีปัญหาอย่างเดียวกัน นั่นก็คือ ความรุนแรงและการแสดงออกทางเพศในหนังสือ ญี่ปุ่นยังไม่มีกฎหมายชัดเจนที่จำกัดการวาดมังงะ เพียงแค่มีข้อกำหนดในกฎหมายควบคุมสิ่งพิมพ์ว่า "ห้ามขายสื่อที่ไม่เหมาะสม" ดังนั้น เสรีภาพในการวาดมังงะจึงเปิดกว้าง และมังงะ จึงเป็นสื่อที่ศิลปินสามารถวาดให้กับทุกกลุ่มอายุ และวาดได้ทุกหัวข้อ

กล่าวถึงการ์ตูนญี่ปุ่นในรูปแบบของหนังสือ หรือ มังงะ มาแล้ว คราวนี้จะกล่าวถึงการ์ตูนญี่ปุ่นในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว หรือ อนิเม บ้าง

อนิเม (アニメ เป็นคำญี่ปุ่น ย่อมาจากคำว่า Animation หรือ ภาพเคลื่อนไหว ศัพท์นี้เป็นคำที่แยก Animation ของฝรั่ง ออกจาก Animation ของญี่ปุ่น มีประวัติยาวนานมากกว่า Animation ของฝรั่ง หัวใจของอนิเมคือการเล่าเรื่อง มิใช่ความสวยงามของภาพและการเคลื่อนไหว ปัจจุบันนี้บริษัทสร้างอนิเมยังยึดติดกับแนวคิดนี้อยู่ คือมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมในตลาดโลกน้อยลง ผมจะไม่เขียนถึงประวัติของอนิเม เพราะยาวมาก ท่านที่สนใจสามารถอ่านประวัติได้จากเว็บไซต์ต่างๆ

การพัฒนามังงะของญี่ปุ่นถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เช่น Shonen Jump ซึ่งเป็นบริษัทมังงะที่ใหญ่ที่สุด มียอดขายสัปดาห์ละ 3 ล้านเล่ม เทียบเท่ากับยอดขายหนังสือการ์ตูนของ Marvel Comics ในสหรัฐฯทั้งเดือน

แต่ยอดขายของอนิเมกลับไม่มากเท่าที่ควร ดังเช่น Production I.G. ซึ่งสร้างอนิเมเรื่อง Ghost in the Shell (ซึ่งพี่น้อง Wachowski ยอมรับว่าเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์ The Matrix) รวมทั้งร่วมสร้างภาพเคลื่อนไหวประกอบภาพยนตร์ Kill Bill Vol I ของเควนติน ทาแรนติโน มีรายได้ในปี 2004 เพียง 2,080 ล้านบาท (กำไร 184 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับ Pixar มีรายได้ในปีเดียวกัน 10,940 ล้านบาท (กำไรกว่า 5,600 ล้านบาท) ด้วยสาเหตุอะไรนั้นท่านสามารถอ่านได้จากบทความในแหล่งอ้างอิงที่ 2. ท้ายบทความนี้

กล่าวถึงบางประเทศบ้าง เช่น จีน เขาพัฒนาลายเส้นพู่กันของเขาเอง พัฒนามาจากศิลปะพู่กันจีนรวมกับการแสดงอารมณ์แบบตะวันตก เป็นการ์ตูนในรูปแบบของเขา ในขณะที่ไทยเรายังหารูปแบบของตัวเองไม่เจอ จะหนักไปทางญี่ปุ่นบ้าง หรือฝรั่งบ้าง เป็นต้น
นพ. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกรัฐบาล มีข้อเขียนลงในหนังสือ PC World ฉบับที่ 24 เดือน สิงหาคม 2548 ว่า

“วันนี้เรามีแอนิเมเตอร์ฝีมือดีอยู่จำนวนหนึ่ง แต่ยังน้อยเกินกว่าที่จะสร้างให้เป็นอุตสาหกรรมดาวรุ่งได้ เราต้องเริ่งสร้างแอนิเมเตอร์กันขนานใหญ่โดยฝึกฝนคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะทางศิลปะให้มาเพิ่มเติมทักษะทางคอมพิวเตอร์ เราสร้างคนเขียนลายร่ม ลายผ้า ลายโองราชบุรี ลายเบญจรงค์ได้เยี่ยมยอดฉันใด เรายอมสร้างแอนิเมเตอร์ที่เชียวชาญได้ฉันนั้น”

“วันนี้เรามีนักเขียนและคนเขียนบทฝีมือดีอยู่จำนวนน้อย แต่เรามีนักเขียนและคนเขียนบทที่สร้างบทอันเป็นสากล กินใจคนทุกชาติทุกภาษายิ่งน้อยกว่ามาก เราต้องเร่งสร้างนักเขียน มีโรงเรียนหรือคณะที่สอนการเขียนอย่างจริงจัง มีเวทีส่งเสริมนักเขียนรุ่นใหม่ มีการจัดประกวดวรรณกรรมอย่างต่อเนื่อง ทำหนังสือให้ราคาถูกลง ลดภาษีกระดาษ สร้างห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดสาธารณะ ที่เปิดให้เด็ก เยาวชน คนทั่วไป ได้อ่านหนังสือ อ่านวรรณกรรม อ่านการ์ตูน ชม DVD ที่ให้ความรู้และความบันเทิงในราคาถูก”

“รัฐบาลต้องส่งเสริมอย่างจริงจังทั้งการสนับสนุนเชิงนโยบาย สร้างความเชื่อมั่น ตั้งกองทุนช่วยเหลือสตูดิโอขนาดเล็ก จัดซื้อเทคโนโลยีใหม่ราคาแพงไว้เป็นกองกลางให้สตูดิโอขนาดเล็กเช่าใช้ เป็นตัวกลางต่อรองจัดซื้อซอฟต์แวร์ราคาถูก ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี กำหนดให้สถานีโทรทัศน์ต้องจัดซื้อแอนิเมชันของไทย ควบคู่ไปกับแอนิเมชันของต่างชาติ ฯลฯ”

จากข้อเขียนนี้ ผมอยากให้กระทรวง ICT รับนโยบายไปปฏิบัติให้เห็นผลจริง นพ.สุรพงษ์ ท่านกล่าวอย่างชัดเจนว่า “เด็ก เยาวชน คนทั่วไป ได้อ่านหนังสือ อ่านวรรณกรรม อ่านการ์ตูน” ดังนั้นจึงยืนยันว่า ในวิสัยทัศน์ต่อๆไป การ์ตูน มีค่าเท่ากับ วรรณกรรม และเป็นของคนทั่วไปในสังคม

แต่การ์ตูนไทยยังพัฒนาไม่ได้เท่าที่ควรแน่นอน ถ้าเรายังยึดติดกับวัฒนธรรม

การ์ตูนญี่ปุ่น ไม่ได้มีแต่เรื่อง ซามุไร นินจา แต่การ์ตูนไทยจะมีแต่เรื่อง รามเกียรติ ไกรทอง พระอภัยมณี จ๊ะทิงจา อนิเมญี่ปุ่นเรื่องแรกคือ เจ้าหนูอะตอม ในขณะที่แอนิเมชั่นไทยเรื่องแรกคือ หนุมาน แล้วจะให้ใครดู? จะให้ใครนิยม? จะเป็นสากลได้ตรงไหน?

นอกเรื่องไปมากแล้ว ขอให้เป็นหน้าที่ของกระทรวง ICT พัฒนาต่อไป ต่อไปนี้จะพูดถึงระดับของการ์ตูนญี่ปุ่นในไทยต่อ

สาเหตุที่ทำให้คนไทยมองการ์ตูนเป็นเรื่องไร้สาระของเด็กนั้นไม่ได้มีเพียงแค่ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเป็นจุดขายของสถานีโทรทัศน์หนึ่ง ซึ่งจัดฉายอนิเมมานาน มีนักพากษ์ที่เรารู้จักกันดี อนิเมที่ฉายอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นอนิเมที่คัดเลือกมาสำหรับเด็กเท่านั้น การพากษ์พากษ์แบบเอาใจเด็ก เวลาที่จัดฉายก็เป็นเวลาที่เหมาะกับเด็กได้ดู เช่น ช่วงเย็น เป็นต้น ซึ่งอนิเมเหล่านี้เป็นเพียงส่วนน้อยๆของอนิเมในญี่ปุ่น

ส่วนการ์ตูนที่เป็นมังงะในไทยก็มีแนวโน้มเอาใจตลาด อะไรที่ขายไม่ดีก็เลิกแปล เช่นเรื่อง กลยุทธ์ซุนจื่อ (ฮกเกี้ยนอ่านว่า ซุนวู เรื่องนี้วาดโดยหลี่จื้อชิง) ไม่มีฉากบู๊ใดๆ มีเพียงฉากของกลยุทธ์ การวิเคราะห์ที่เหนือชั้น แทบไม่มีใครรู้จัก ในขณะที่สามก๊กที่มีแต่ฉากสู้กัน (วาดโดยคนเดียวกัน) ได้รับความนิยมมาก ดังนั้น เมื่อผมไปร้านหนังสือแล้วถามหากลยุทธ์ซุนจื่อ จึงได้รับคำตอบว่า เลิกตีพิมพ์แล้ว ก็นับว่าเสียดายการ์ตูนดีๆเรื่องหนึ่ง และเมื่อการ์ตูนส่วนใหญ่ที่เรานำเข้ามาแปล ไม่มีเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ อีกครั้งหนึ่ง: จึงถูกมองโดยรวมว่า ไร้สาระ

เมื่อเราได้รับข้อมูลว่าการ์ตูน (มังงะและอนิเม) เป็นของสำหรับเด็ก ดังนั้น มุมมองของเราจึงผูกติดกับคำนิยามของเด็ก ถ้าเป็นแง่ลบก็คือ ไร้สาระ เป็นแง่บวกคือ จินตนาการหรือพัฒนาสมอง เราจะไม่มีคำว่า การ์ตูนการเมือง เราไม่มีการ์ตูนสีเทา เรามีแต่การ์ตูนสีขาว พระเอกในการ์ตูนจะชั่วไม่ได้ เพราะเด็กจะเลียนแบบ แต่พระเอกในละครน้ำเน่าชั่วได้ ไม่มีใครเลียนแบบ?

สังคมไทยจึงปิดและไม่ยอมรับการ์ตูนระดับอื่นๆ ที่สร้างมาสำหรับผู้ใหญ่

ภาพยนตร์สุริโยไท (ขออภัยที่เอ่ยนาม เพราะเป็นภาพยนตร์ที่ดีมากๆ) มีฉากถวายตัว ไม่มีใครว่า แต่การ์ตูนบางเล่มมีกางเกงในโผล่มานิดหน่อย โจมตีกันแบบถึงขั้นจะคว่ำบาตร

ภาพยนตร์ต้มยำกุ้ง ซึ่งเป็นก้าวใหม่ที่ยิ่งใหญ่ของวงการภาพยนตร์ไทย มีศิลปะการต่อสู้ที่รุนแรง วิจารณ์ว่าสวยงาม การ์ตูนบางเรื่อง รุนแรงเท่ากัน แต่โดนวิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม

ในด้านมืดบ้าง ภาพยนตร์ มีหนังโป๊ นิยาย มีแนวอิโรติก การ์ตูนซึ่งเป็นวรรณกรรมเช่นกัน ก็ย่อมมีการ์ตูนใต้ดินที่มีแต่เรื่องเพศ สิ่งเหล่านี้ก็ต้องให้ความสำคัญในการปราบปรามเท่าๆกัน นอกจากนี้ เราเห็นหนังโป๊แล้วไม่ได้สรุปว่า ภาพยนตร์ไม่ดี ฉันใด เราเห็นการ์ตูนโป๊ ก็ย่อมสรุปไม่ได้ว่าการ์ตูนไม่ดี ฉันนั้น

แต่มุมมองทั้งหมดนี้เกิดจาก การมองว่า การ์ตูน = ของเด็ก

จากที่ท่านได้อ่านมา คงจะพอทราบถึงสิ่งที่ผมต้องการจะสื่อแล้วว่า การ์ตูน /= ของเด็ก

การ์ตูนบางเรื่องให้ความบันเทิง เช่นเดียวกับนิยาย ภาพยนตร์

การ์ตูนบางเรื่อง ให้ข้อคิด สาระ เช่นเดียวกับสารคดี หรือบทความ

ถ้าท่านมองไม่เห็นสาระที่แฝงอยู่ในการ์ตูนหลายๆเรื่อง (เอาเพียงที่มีในไทยก็ได้) ผมจะบอกว่า รายงานที่ผมทำในมัธยมปลาย รวมทั้งรายงานที่ทำในวิชาเลือกปี 4 เกี่ยวกับสงครามและสันติภาพ 70% ผมได้ข้อมูลเบื้องต้นจากการ์ตูน ที่เหลือผมไปค้นคว้าในอินเตอร์เน็ต หรือเขียนขึ้นเอง

ท่านทราบหรือไม่ว่าแรงบันดาลใจที่ผมจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งในไทยนั้น ส่วนหนึ่งมาจากแรงบันดาลใจของการ์ตูนเรื่องหนึ่ง ซึ่งตัวเอกของเรื่องพยายามถึง 4 ปีในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งในญี่ปุ่น

ทำไมนิยายเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาได้ แต่การ์ตูนเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาไม่ได้ ทำไมผมอ่านนิยายบนม้านั่งในโรงเรียนมัธยม ไม่มีอาจารย์ว่า แต่พอหยิบการ์ตูนขึ้นมาอ่านกลับโดนยึดในข้อหานำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนมาในบริเวณโรงเรียน ทำไมเรายกย่องนิยาย แต่ไม่ยกย่องการ์ตูนที่เขียนจากเรื่องเดียวกัน ที่มีตัวหนังสือมากพอๆกับนิยายนั้น

ทำไมเรายกย่องศิลปินผู้วาดภาพอันโด่งดัง ภาพหนึ่งๆของเขาขายได้เป็นหมื่นเป็นแสน แต่เราไม่ยกย่องนักเขียนการ์ตูน ผู้วาดการ์ตูนเล่มหนึ่งๆโดยใช้ความพยายามพอๆกับศิลปินที่วาดภาพ ใช้เวลาไปไม่น้อยกว่ากัน และทุ่มเทชีวิตจิตใจในการวาดแต่ละเส้นของการ์ตูน ไม่ด้อยไปกว่าแต่ละเส้นบนภาพวาดอันมีค่า

ผมไม่ได้อ่านการ์ตูนเป็นชีวิตจิตใจ ถ้าจัดอันดับความชอบ ผมชอบนิยายมากกว่า แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็กล้าบอกว่า ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบอ่านการ์ตูนเช่นกัน

หวังว่าในอนาคต เมื่อเพื่อนๆผมผู้ชื่นชอบการ์ตูนทำงานแล้ว จะไม่ลืมคำของเขาที่เคยเถียงแทนคนอ่านการ์ตูนด้วยกัน นำเข้าการ์ตูนที่มีสาระ พร้อมกับพัฒนาการ์ตูนไทยให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ โดยให้ทุกชนชั้นอ่านได้ และเปลี่ยนมุมมองในปัจจุบัน ให้เป็นมุมมองที่ว่า การ์ตูนไม่ใช่ของสำหรับเด็กอีกต่อไป

โดย Anna_Hawkins แห่งบอร์ดAll-Final
กันยายน 2548
//www.all-final.com/forum/read.php?tid=30427&forumid=3&page=all

แหล่งอ้างอิง
1. //en.wikipedia.org ค้นหาโดยใช้ Keyword: Cartoon, Comics, Manga, Anime
2. บทความเรื่อง จดหมายเหตุไอซีทีไทย ตอน อุตสาหกรรมแอนิเมชันไทย: อดีต ปัจจุบัน อนาคต (ตอนจบ) โดย นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกรัฐบาล จากนิตยสาร PC World ฉบับที่ 24 เดือนสิงหาคม 2548

เก็บตกจากกระทู้เฉลิมไทยมาเผยแผ่หน่อย




 

Create Date : 26 กันยายน 2548    
Last Update : 26 กันยายน 2548 23:29:54 น.
Counter : 1386 Pageviews.  

เดอะไวท์โรด กับคำวิจารณ์ชำแหละถึงความเป็นขยะทางวรรณกรรม

คุณฐาวรา สิริพิพัฒน์หรือ-- Dr.pop -- เจ้าของนวนิยายวิทยาศาสตร์ แฟนตาซี เรื่อง ไวท์โรด ในเวบไซต์ //www.dek-d.com/dek-d/entertain/story23 จน เป็นที่นิยมได้รับการโหลดเข้ามาชมมากที่สุดของเวบขึ้นชาร์ตอันดับ 1 คือตัวอย่างเด็กไทยรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนภาพพจน์ของเด็กเล่นเกมมาเป็นนักเขียนนวนิยายแฟนตาซีแทนที่จะเป็นชอบใช้ความรุนแรงตามคำนิยามเก่าๆ
ด้วยความที่ชอบเล่นเกมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เด็ก แค่อายุ 14 ปี ป๊อปสามารถวางพล็อตเรื่องได้ และเริ่มเขียนนวนิยายลงทางอินเทอร์เน็ตเมื่อเดือนตุลาคม 2544 โดยดึงเอาส่วนที่ดีและส่วนที่ไม่ดีในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ มาสร้างตัวละคร..

"ไวท์โรด เป็นเรื่องราวของโลกอากาเซียคล้ายเมืองลับแลซึ่งคนปกติธรรมดาไม่รู้จักจะเป็นที่รู้จักเฉพาะกลุ่ม ผู้มีพลังพิเศษ ไวท์โรด เป็นโรงเรียนที่ทันสมัยไปด้วยอุปกรณ์การเรียนการสอนใช้เทคโนโลยีขั้นสูง แม้แต่พนักงานขายอาหาร สินค้าเบ็ดเตล็ด ยังเป็นหุ่นยนต์ เซราลอยด์ สามารถตอบโต้สนทนา

เนื้อที่ภายในโรงเรียนกว้างใหญ่ไพศาลที่พักจัดให้อยู่ลำพังภายในห้องพักมีคอมพิวเตอร์ให้ประจำส่วนตัวนักเรียนทุกคน และมีสถานที่พักผ่อนในรูปแบบเกมคอมพิวเตอร์ออนไลท์ขนาดมหึมา และตัวเอกของเรื่องก็คือ พอล ซึ่งมีพลังไฟฟ้าสถิตย์ 200,000 โวลต์ แถมยังเรียนสาขาปราบปรามและป้องกัน (ศิลปะการต่อสู้) แต่เขาไม่สามารถควบคุมพลังงานของตัวเองได้ ถ้าโกรธมากหรือจุดอับ มันจะระเบิดออกมา ดังนั้นเขาจึงถูกส่งตัวมายังโลกอากาเซีย เพื่อประเมินว่าสิ่งที่เรียนรู้ไปสามารถนำมาใช้หรือควบคุมที่ให้ได้หรือไม่...

ป๊อปบอกว่า ไวท์โรด จะเป็นเรื่องยาวซึ่งมีทั้งหมด 4 ภาค ที่เขียนลงทางอินเทอร์เน็ตมีเพียงเฉพาะภาคแรกเท่านั้น


ที่อ่านข้างต้นนั้นคือเกริ่นเรื่องราวคร่าวๆก่อนจะเข้าสู่หัวข้อหลักของBlogนี้ครับ เนื่องจากที่ผ่านมามีกระทู้ชำแหละกันแหลกถึงนิยายแฟนตาซีเรื่องนี้ทำให้เกิดวาทะเด็ดๆอย่างสงสารต้นไม้ที่สละชีพ..มาพิมพ์งานของ ดร. ท่านนี้จัง
มีกระทู้ถึงเรื่องนี้ทีไร ต้องมีประชดซะทุกครั้งไปทั้งๆที่ผมเองก็ไม่เคยอ่านเลยนะ พาลทำให้ผมไม่กล้าอ่านตามไปด้วย กลัวเสียเวลาทำมาหากินอันมีค่าไป
แต่ก็น่าแปลกที่ยังมีเยาวชนในบอร์ดเด็กดีดอทคอมอยู่หลายคนออกมาปกป้องสนับและสนุนผลงานอยู่เรื่อยไป ผมก็ไม่อยากพูดอะไรมากหรอกครับแค่เก็บตกเนื้อหาชำแหละมาเท่านั้นแถมไม่ได้ตามอ่านเรื่องนี้ด้วย
นี่คือคำวิจารณ์เมื่อนานมาแล้วจากในพันทิปซึ่งผมเก็บมาครับ

เริ่มแรกที่ได้อ่านไวท์โรด ความรู้สึกคือมันออกจะคล้ายกับเป็นการ์ตูนและผมก็รู้สึกแปลกมากขึ้นเรื่อยๆเมื่ออ่านถึงบทที่ 1 เป็นต้นไปฉากที่พระเอกตื่นขึ้นมาในห้องพยาบาล มันเหมือนกับไฟนอล 8 ชอบกล จากนั้นผมก็ต้องแปลกใจไปเรื่อยกับการที่เนื้อเรื่องเป็นการผสมกันระหว่าง ไฟนอล 8 และ แฮรรี พอตเตอร์
จุดผิดพลาดที่ทุกคนน่าจะรู้กันคือ
1.การมั่นใจในการเขียนของตัวเองมากเกินไปของคนเขียน ซึ่งอาจจะเป็นผลที่เขาไม่เคยอ่านหนังสืออะไรมากเท่านักเขียนปกติ หรือการที่มีแต่เด็กซึ่งประสบการณ์พอกันมาชมเรื่องของตัวเองก็ตาม ทำให้เกิดการใช้โปรโมทด้วยถ้อยคำโฆษณาเกินจริง ซึ่งส่งผลสะท้อนกลับให้เป็นการคาดหวังที่สูงเหลือเกินของคนที่ได้ยินและเมื่อเขาได้อ่านแล้วพบว่ามันไม่สมราคาคุยนั้นก็……ความผิดหวังจะมากกว่าเรื่องอื่นๆเป็นเท่าตัวน่าเสียดายเหลือเกินเป็นการไม่ฉลาดเลยที่ต้องการดังจนทำแบบนี้ เพราะแทนที่จะได้คำวิจารณ์แบบว่า “ก็ดีนะแต่ต้องปรับปรุงอีก” ก็ได้เป็นความเกลียดของคนจำนวนมากแบบตอนนี้แทน
2.เนื้อเรื่องที่ไม่กลมกลืนไม่สมจริงเหมือนคนเขียนไม่เข้าใจในเทคนิคการเขียนเรื่องพื้นฐาน เช่นการที่ให้ทุกคนในโรงเรียนนี้รักพระเอกกันหมดและ รู้สึกดีกับพระเอกกันทันที ให้พระเอกเป็นคนดังทันทีที่ก้าวมาในโรงเรียนโดยเหตุผลแค่ว่าเขาหล่อ ดูจะเบาหวิวเหลือเกิน เหมือนคนเขียนลอกสูตรมาจากแฮรรี่ ว่าคนอ่านชอบตรงมีคนอื่นชื่นชมแฮรรี่ ดังนั้นเขาจึงทำให้พอลมีคนรักมากๆ และรักมากกว่าแฮรรี่อีกโดยหวังจะให้คนอ่านชอบมากกว่า แต่สิ่งที่ออกมากลายเป็นความไร้เหตุผล เพราะไม่มีอะไรมารองรับคนเขียนอาจจะไม่เข้าใจว่าแฮรรี่มีการปูพื้นมาทั้งในเรื่องและกับคนอ่านเพื่อให้คนอ่านรู้สึกดีก่อนแล้ว แต่ตัวละครพอลของเขาไม่ได้เป็นเช่นนั้น ที่แย่ที่สุดคือการให้ผู้หญิงทั้งโรงเรียนเป็นเหมือนตัวการ์ตูนที่งี่เง่าที่ไร้ตามจีบพระเอก เหมือนจะปล้ำผู้ชาย และให้พระเอกวิ่งหนีเข้าห้องน้ำเป็นการเขียนที่แสดงถึงนิสัยเพศชายของคนเขียนที่ไร้มารยาทและดูถูกเพศแม่ของตัวเอกสิ้นดี ไม่ว่าเขาจะหวังให้ชีวิตของตัวเองเป็นอย่างไรก็ตามก็ไม่ควรจะเขียนอย่างนี้
3.การต่อสู้แบบดาร์ก้อนบอล ที่ลอยไปปล่อยพลัง ชื่อไฟนอลแฟลช (ที่ชื่อเหมือนท่าของเบจิต้า) ทำให้เรื่องออกมาเป็นการ์ตูนที่ไม่มีภาพ และทีให้เรื่องดูไร้คลาสไปชอบกล และตรงนี้ก็แสดงให้เห็นอีกว่า เรื่องที่ผ่านมาดูจะไม่ได้ปูให้เห็นเลยว่าทำไมพระเอกที่ตอนแรกไม่เข้าใจพลังของตัวเองเลยจนอายุ 18 แต่อยู่ดีๆก็ลอยได้ เหาะได้แบบกระโดดข้ามพัฒนาการ ของตัวละคร
4.การออกแบบตัวละครที่ผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง คือคนเขียนคงจะชินกับเกมมากไปที่คนเล่นจะพอใจที่ตัวละครของตัวเองเก่ง แต่ในนิยาย คนอ่านเป็นบุคคลที่ 3 การที่ให้ทุกอย่างมาดีตรงพระเอกหมดไม่ว่าจะหล่อที่สุด เก่งที่สุด เล่นเกมก็ชนะ แข่งอะไรก็ชนะ ทำอะไรดีไปหมด ทำให้คนอ่านรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องลุ้นเอาใจช่วยอะไรพวกตัวเอกแล้วและทำให้เกิดความชอบในตัวละครน้อยลง นอกจากนี้ตัวละคร ชื่อรีเมียสก็เรียนเก่งสุดและหล่ออันดับ 1 เฟริสก็หล่อ ผู้หญิงในกลุ่มก็สวยอันดับ 1 กับ 2 ของโรงเรียน ทำให้จุดดีๆมากองกันที่กลุ่มตัวเอก จนตัวละครอื่นในโรงเรียนไร้ค่าไปเลย คนเขียนลืมแม้กระทั้งพวกอาจารย์ในโรงเรียนจนออกมาดูเหมือนนักเรียนพวกนี้เก่งกว่าอาจารย์ 10 เท่า แล้วคนอ่านจะต้องลุ้นอะไรอีกล่ะในเมื่อพวกนี้เก่งตลอด
5.ความไม่สมจริงของเนื้อเรื่อง โรงเรียนไม่เก็บค่าเล่าเรียนแต่ดันมีเงินให้และยังสร้างห้องที่มีโฮมเธียเตอร์ อ่างน้ำกุชชี่ คาราโอเกะ ให้นักเรียนใช้กันได้ ให้สอบหยุดกระสุนปืนที่ดูราวกับว่าถ้าตัวเอกมันทำไม่สำเร็จแล้วก็ไม่สามารถให้อาจารย์คนไหนมาช่วยได้เลย การแข่งขันที่เกือบจะให้นักเรียนฆ่ากันตาย ถามว่าความปลอดภัยในความเป็นจริงอยู่ที่ไหนครับ ดูอาจารย์ ผู้ใหญ่ทั้งหลายในเรื่องช่างไร้ประโยชน์เหลือเกินทำอะไรไม่ได้เลย ขนาดตอนเกิดเรื่องในตอนแข่งขัน อาจารย์เป็น 10 คนก็หยุดนักเรียนคนเดียวไม่ได้แล้วมาสอนทำไมครับ โครงการลับของรัฐบาล แต่ป้องกันเด็ก 4 คนไม่ให้บุกเข้าไปไม่ได้แถมเป็นการบุกแบบซึ่งๆหน้าด้วยไม่ได้ใช้แผนเลย โอย..พวกพระเอกจะเก่งถึงไหนชนะทั้งโลกแล้ว
6.เนื้อเรื่องเริ่มมั่ว ตอนแรกบอกว่าพระเอกโดนเก็บมาโรงเรียนเพราะเป็นคนมีพลังพิเศษในโลก เหมือนเรื่อง Xmen แต่อยู่ดี พระเอกโอนสัญชาติเป็นชาวโลกอากาเซียโดยอัตโนมัติ กลายมาเป็นความหวังของโลกในภายหลังเฉยเลย และอยู่ดีๆเรื่องก็ขยายขึ้นมีเผ่าต่างโผล่ออกมา ราวกับว่าคนเขียนพึ่งจะได้ดูหนังเรื่อง lord of the ring ตอนปลายปีที่ผ่านมาจึงคิดเพิ่มเรื่องตัวเองให้ยิ่งใหญ่ไปด้วย
7.ฉากบรรยายแต่ วีดีโอเกม โฮมเธียเตอร์ใหญ่ที่สุด ห้องนอนสุดสบาย ระบบอินเตอร์เน็ตหรู แม้แต่ยานของทางการก็บอกว่ามีแต่ของพวกนี้ อ่างอาบน้ำกุชชี่ ที่เล่นเกม สถานที่พักผ่อน สาวๆตามหลงรักตัวเอง แสดงถึงความเป็นวัตถุนิยมของคนรุ่นใหม่และนิสัยของคนเขียนอย่างแท้จริง ที่ทำให้เนื้อเรื่องช่างมีแต่ความสบายเสวยสุขกันของพวกตัวเอกจนคนอ่านไม่รู้ว่าวันๆพวกเขาจะต้องลำบากบ้างไหม สบายกว่าพวกเราอีกที่ผจญน้ำท่วมกันอยู่ตอนนี้ และคนอย่างนี้นะจะมากู้โลก
ตัวอย่างเจ็ดข้อนะครับ จริงมีอีกสัก 93 ข้อ คนอื่นคิดอะไรออกก็เขียนเองแล้วกัน ความจริงถ้าเขาจะแก้ให้ดีคือต้องเปลี่ยนทั้งเรื่องแน่ๆ
ข้อดีของการที่เรื่องนี้ออกมาคืน ความกล้าที่อาจจะส่งเสริมทำให้ค่ายอื่นมาสนับสนุนวรรณกรรมเยาวชนฝีมือคนไทยมากขึ้น บางที พวกอิมเมจ อมรินทร์ เนชั่น นานมี อาจจะคิดทำบ้างแล้วก็ได้เพราะไวท์โรดได้วางฐานไว้แล้ว แต่สำหรับตอนนี้ไวท์โรดไม่ดีพอจะให้ซื้อครับ ผมจะรอเรื่องอื่นซึ่งอาจจะเป็นแนวใหม่อย่างนี้และมีความสมบรูณ์มีมาตรฐานสมควรเป็นวรรณกรรมมากกว่า ตอนนี้อ่านครุฑน้อย กับส้มสีม่วง ของอมรินทร์ไปพลางๆก่อนแม้จะไม่หวือหวาแต่มีสาระมากกว่าเล่มหนาๆแต่ไม่มีอะไรเยอะ และใครที่คิดจะซื้อคุณควรเอาเงินไปซื้อหนังสือดีๆมากมายดีกว่า
เรื่องนี้เอาไป 3 เต็ม 10 ครับ

จากคุณ : 555 - [ 8 ต.ค. 45 08:47:44 A:202.183.228.67 X:202.183.157.41 ]




 

Create Date : 26 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 26 กรกฎาคม 2548 17:44:18 น.
Counter : 12809 Pageviews.  

Webสำหรับทำรูปหน้าแทนตัวเอง(Avatar)

สำหรับหน้าAvatarที่ผมใช้ในWeblogนี่ คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยอาศัยWebsiteนี้เป็นเครื่องมือครับ ช่วงนั้นชาวพันทิปฮิตทำกันสนุกเลยแหละเมื่อกลางปีที่แล้ว
//illustmaker.abi-station.com/index_en.shtml




 

Create Date : 23 มิถุนายน 2548    
Last Update : 23 มิถุนายน 2548 19:03:06 น.
Counter : 1738 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.