ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง นำหายนะสู่ประเทศ(ขอย้ำวิพากษ์นโยบายมิใช่ปรัชญา)

โดย ศิลาแรง

ขอชี้แจงก่อน

ก่อนอื่น ผมต้องขอชี้แจงก่อนว่า สิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ เป็นแนวความคิดส่วนตัวของผม ซึ่งมิได้ต้องการที่จะวิพากวิจารณ์แนวทางและปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" หรือ "Sufficient Economy" ของพระองค์ท่าน ที่ได้มอบเป็นแนวทางการปฏิบัติให้แก่พวกเราชาวไทย มากว่า 25 ปีแล้ว ซึ่งในสมัยนั้นเศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังล้มลุกคลุกคลานอย่างไร้ทิศทาง แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน ที่ทำให้คนไทยจำนวนมากได้เห็นแล้ว ซึ่งสัจธรรมในการดำรงชีวิตให้อยู่รอดได้อย่างไรกับแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่าน

แต่สิ่งที่ผมกำลังจะเขียนให้ท่านได้อ่านนี้ มันเกี่ยวข้องกับนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงของรัฐบาลสุรยุทธ์ ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องประการใดกับแนวทางหรือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านแม้แต่นิดเดียว ด้วยเหตุที่ว่า ประชาชนคนไทยจำนวนมากกำลังถูกรัฐบาลของท่านสุรยุทธ์หลอกลวง ด้วยการอันเชิญชื่อ "เศรษฐกิจพอเพียง" ของพระองค์ท่านมาใช้ในการตั้งชื่อนโยบายของรัฐบาล และใช้อย่างผิดๆ มาโดยตลอด ทำให้ประชาชนคนไทยต้องไขว้เขว และสับสน จนทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยทรุดลงอย่างรวดเร็วป่านสายฟ้าแล็ป ทำให้พวกเราได้เห็นความแตกต่างในการบริหารประเทศระหว่าง "นโยบายทักษิโณมิกส์" กับ "นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง"

ถึงบางอ้อ

เมื่อคณะปฏิรูประบบการปกครอง (คปค.) ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาลของพันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 เดือนกันยายน พ.ศ.2549 เป็นต้นมา และได้แต่ตั้งให้พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนาท์ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และให้จัดตั้งคณะรัฐมนตรี โดยชูนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงนั้น

หลังจากรัฐบาลของท่านสุรยุทธ์ได้บริหารประเทศมาเป็นระยะเวลากว่า 5 เดือน ได้มีการปรับเปลี่ยนเรื่องต่างๆ โครงการต่างๆ มากมาย จนทำให้ประเทศไทยขาดความเชื่อถือและขาดทิศทางในการบริหารประเทศ อีกทั้งยังทำให้เศรษฐกิจของชาติ ที่กำลังเจริญรุ่งเรืองต้องหยุดชะงัก ถอยหลังลงคลอง และเศรษฐกิจทรุดลงอย่างไม่เป็นท่านั้น ทำให้ผมต้องหันกลับมามองและคิดอย่างละเอียดว่า เหตุใด นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งบอกมาว่าเป็นนโยบายของรัฐบาลที่เดินตามแนวทางและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่าน ถึงประสพกับความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง แบบไม่เป็นกระบวนท่า ซึ่งต่างจากสิ่งที่พระองค์ท่านได้ชี้นำและแสดงให้เห็นแล้วว่า ใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว จะนำพาไปสู่ความเจริญอย่างยั่งยืนได้

สิ่งที่ผมได้มองเห็นและเข้าใจด้วยตัวของผมเองนั้น ผมได้มีความเข้าใจว่า ตอนที่ท่านสุรยุทธ์เข้ามารับตำแหน่งใหม่ๆ นั้น ท่านสุรยุทธ์เป็นคนที่รับราชการมาโดยตลอด หาเป็นนักธุรกิจไม่ อีกทั้งบุคคลต่างๆ ที่ท่านสุรยุทธ์ได้แต่งตั้งเข้ามาเป็นคณะรัฐมนตรี ก็ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่มีประสบการณ์อันโชคโชนมาจากสายราชการทั้งสิ้น ที่เคยทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม มีความคิดที่ล้าสมัยยิ่งกว่าเต่าล้านปี สมแล้วที่ท่านสุรยุทธ์ได้รับฉายาของ "ฤๅษีเลี้ยงเต่า"

การเร่งรีบในการแต่งตั้งรัฐบาล ทำให้ไม่มีเวลาแม้แต่จะคิดว่า จะใช้นโยบายอะไรในการบริหารประเทศ จึงหยิบฉวยเอาคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" มาเป็นนโยบาย เพราะเป็นคำที่ดูๆ แล้วว่า ศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้งคำๆ นี้ จะอ้างอิงถึงแนวทางและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่าน ที่ได้พิสูจน์มาแล้วว่า ประสพความสำเร็จ จนนานาชาติยอมรับ แม้กระทั่งสหประชาชาติยังถวายรางวัลให้แก่พระองค์ท่านมาแล้ว

ความที่ท่านสุรยุทธ์คิดอะไรไม่ออกในขณะนั้น จึงหยิบเอาคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" มาชูเป็นโยบายในการบริหารประเทศ มันเป็นทางออกที่ดูเหมือนกับว่า จะเป็นทางออกที่ดี และคงจะไม่มีใครกล้าพอที่จะวิพากวิจารณ์นโยบายของรัฐบาลนี้เป็นแน่นอน เพราะคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" นั่นเอง และมันเป็นเกราะป้องกันรัฐบาลได้เป็นอย่างดีและเหมาะสมในขณะนั้น ที่กระแสต่อต้านระบบทุนนิยมของรัฐบาลนายกทักษิณกำลังมาแรง

ย้อนอดีต

ผมขอย้อนอดีตไปถึงปีพ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลไทยอยู่ภายใต้การนำของท่านนายกชวลิต ยงใจยุทธ และมีดร. ทนงพิทยะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งท่านดร.ทนงได้รับการแต่ตั้งมาเป็นรมว.กระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2540 รับช่วงต่อมาจากท่านดร.อำนวย วีรวรรณ

สถานการณ์ในขณะนั้น เงินบาทถึงตรึงราคาไว้ที่ 25 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐ และได้มีการโจมตีเงินบาทจากต่างประเทศ จนทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใต้การบริหารและจัดการของนายเริงชัย มะระกานนท์ต้องอัดฉีดเงินจากเงินทุนสำรองของชาติ เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทเอาไว้จนแทบหมดเงินในธนาคารแห่งประเทศไทย จากคำให้สัมภาษณ์ของท่าน ดร. ทนง พิทยะ ที่ให้ไว้กับหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน เมื่อวันที่ วันที่ 04 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ได้เล่าถึงสถานการณ์ในช่วงนั้นไว้ดังนี้

"หลังจากที่ผมได้รับโปรดเกล้าฯ ก็ได้ไปพูดคุยกับคุณอำนวย วีรวรรณ (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) ท่านบอกว่ามีเรื่องที่ฝากให้ทำต่อ คือเรื่องการลดค่าเงินบาท เพราะในระหว่างที่ท่านเป็นรัฐมนตรีนั้น ในที่ประชุมเรื่องนี้มีความเห็นขัดแย้งกัน 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าต้องมีการลดค่าเงินบาท แต่อีกฝ่ายหนึ่งยืนยันว่ายังไม่ต้อง

อย่างไรก็ตาม ในวันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน 2540 หลังจากประชุมสภาเสร็จ ผมก็ได้รับแจ้งจากผู้ว่าการ ธปท. (นายเริงชัย มะระกานนท์) ให้เดินทางไปประชุมกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สถานที่ประชุมคือ วังมัจฉา ครั้งนั้น ธปท.ได้แสดงฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ ว่าเหลืออยู่เพียง 2.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในจำนวนนี้เป็นทุนสำรองของฝ่ายออกบัตรที่ต้องใช้หนุนหลังการพิมพ์ธนบัตรประมาณ 2.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เท่ากับเราเหลือทุนสำรองที่ไร้ภาระเพียง 3-4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งไม่พอรับมือหากเกิดเหตุอะไรขึ้น

ผมรับฟังแล้วก็บอกแบงก์ชาติว่า ให้ไปคิดมาว่าจะทำอย่างไร ระหว่างการขยายแบนด์หรือลอยตัวค่าเงินบาท

ส่วนผมเองก็คิดหนักเหมือนกันว่าจะประกาศลอยตัววันไหน ตอนนั้นคิดถึงขั้นว่าจะให้ธนาคารพาณิชย์ปิดทำการวันที่ 30 มิถุนายน แล้วประกาศ แต่เผอิญวันนั้นแบงก์ต้องปิดบัญชีงวดครึ่งปี จะยุ่งมากปิดแบงก์ไม่ได้ ก็พอดีว่าวันที่ 1 กรกฎาคม เป็นวันหยุดครึ่งปีของแบงก์ ไม่มีใครทำงานอยู่แล้ว ซึ่งวันนั้นมีการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พอประชุมเสร็จ คุณเริงชัย กับ ดร.ศิริ การเจริญดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.ขณะนั้น ก็มาขอพบบิ๊กจิ๋ว เพื่อจะแจ้งให้ทราบว่าจะประกาศลอยตัวค่าเงินบาท วันที่ 2 กรกฎาคม"

นั้นคือ จุดเริ่มต้นของความหายนะและการล่มสลายของเศรษฐกิจของประเทศไทย จนต่างชาติให้สมญานามว่า "เศรษฐกิจต้มยำกุ้ง" ซึ่งได้ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้น ต้องพบเจอกับความหายนะเช่นเดียวกัน เหมือนกับการล้มของตัวโดมิโน ที่ตั้งเรียงแถวกัน อันเป็นการแสดงให้เห็นแล้วว่า หากประเทศใดประเทศหนึ่งมีการล่มสลายของเศรษฐกิจ ย่อมมีผลกระทบไปยังไปเทศต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพราะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในโลกนี้ มีความสัมพันธ์กัน โยงใยกัน และต้องพึงพากัน

นี่แหละ ทำให้ผมได้มองเห็นและเข้าใจได้อีกว่า ทำไมเราถึงต้องไปเกี่ยวข้องกับองค์การเช่น "World Trade Organization" (WTO) หรือองค์กรการค้าระหว่างประเทศ และเราถึงต้องมีสัญญาและข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน ที่เราเรียกว่า "Free Trade Area" (FTA) หรือเขตการค้าเสรี ที่เป็นการช่วยเหลือในการสร้างเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ

การสูญเสียเอกราชครั้งที่ 3

ปี 2540 เวลานั้นเอง ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างหนี้อย่างมหาศาลให้แก่ประเทศ และทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเอกราชเป็นครั้งที่ 3 โดยสองครั้งแรกเกิดขึ้นในยุคของกรุงศรีอยุธยา จากการบุกและยึดประเทศไทยโดยกองทัพอันเกรียงไกรของพม่า แต่ครั้งที่ 3 นี้ เป็นการสูญเสียจากความผิดพลาดในการบริหารประเทศและบริหารเศรษฐกิจของประเทศโดยรัฐบาลนายกชวลิต ที่ทำให้ประเทศไทยต้องยอมเสียอิสรภาพให้แก่ IMF (International Monetary Fund) จากการกู้เงินเข้ามารักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ และยินยอมที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ของ IMF ทุกประการ ดุลดังเป็นเมืองขึ้นต่อ IMF

การล่มสลายของสถาบันทางการเงิน จนต้องปิดธนาคารและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำนวน 56 แห่ง ทำให้เกิดความวุ่นวายของเหล่าผู้ที่มีเงินฝากและผู้ที่กู้เงินจากสถาบันเหล่านั้น

ต่อมา รัฐบาลของพลเอกชวลิต ก็ต้องถึงกาลอวสานในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2540 และพรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ามาเป็นรัฐบาล โดยการนำของนายชวน หลีกภัย มาเป็นนายกรัฐมนตรีและนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) ขึ้นมาเพื่อจัดการและบริหารสินทรัพย์ต่างๆ ที่เป็นของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดไป


รัฐบาลขายทุกอย่างที่ขวางหน้า

การบริหารงานแบบเดิมๆ ของรัฐบาลนายกชวน รายได้ของประเทศยังคงมีน้อยกว่ารายจ่ายเป็นจำนวนมาก นอกจากรัฐบาลชุนนี้จะต้องกู้เงินเพิ่มอีกแล้ว ยังจะต้องหาเงินจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินกู้ให้ IMF อีกด้วย จึงจำเป็นต้องขายทรัพย์สินต่างๆ ที่เป็นของชาติและของประชาชน ที่ติดอยู่กับทรัพย์สินของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกสั่งปิดไป ซึ่งเป็นการเอาทรัพย์สินต่างๆ ออกมาขายแบบประมูล และขายยกล็อตแบบมีลดแลกแจกแถม ชนิดที่หาซื้อกันราคาถูกแสนถูกแบบนี้ไม่ได้อีกแล้วในชาตินี้ จนก่อให้เกิดข้อสงสัยในความโปร่งใสของรัฐบาลนายกชวนเป็นอย่างมาก เพราะมีข้อมูลออกมาแสดงได้ว่า มีผู้ได้รับผลประโยชน์จาการขายทรัพย์สินเหล่านี้ ในขณะที่ประชาชนและชาติต้องเสียผลประโยชน์เป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้แล้ว ยังมีโครงการต่างๆ ที่เรียกว่า โครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ในเชิงการขายรัฐวิสาหกิจให้แก่ต่างชาติโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นโครงการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และโครงการขายฝ่ายช่างของการบินไทย เป็นต้น อันเนื่องมาจากหนี้สินจำนวนมาก ที่รัฐบาลไทยในสมัยนั้น ไม่สามารถหาเงินมาชำระได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำเอารัฐวิสาหกิจบางราย ที่มีผลการดำเนินการที่ดี มาแปรรูปเพื่อขาย แล้วเอาเงินที่ได้มาไปชำระเงินให้แก่ IMF นั่นเอง ตามนโยบายของรัฐบาลนายกชวนที่แถลงไว้เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2540 ที่มีส่วนหนึ่งได้กล่าวว่า

"ข้อ ๑.๑.๔ การบริหารงานงบประมาณแผ่นดิน ในข้อย่อย (๒) สนับสนุนการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจ โดยเน้นกลุ่มรัฐวิสาหกิจที่มีหุ้นอยู่ แล้วในตลาดหลักทรัพย์และที่มีโอกาสจะออกหุ้นทุนขยายในตลาดหลักทรัพย์ได้อีก ทั้งนี้เพื่อ ลดภาระการลงทุนของรัฐ"

โครงการเหล่านี้ ยังไม่ทันได้เริ่มต้นดำเนินอย่างชัดเจน ยังเป็นแค่โครงการอยู่จนกระทั่งสิ้นสุดสมัยรัฐบาลนายกชวน

ไม่ว่ารัฐบาลนายกชวนจะบริหารประเทศอย่างไรก็ตาม ดูเหมือนกับว่า หนี้สินของประเทศมีแต่จะเพิ่มขึ้นมากกว่าที่จะลดลง จนมีคำกล่าวว่า "คนไทยเกิดออกมาจากท้องแม่ ก็เป็นหนี้ทันที" นั่นหมายความถึง จำนวนเงินที่ประเทศไทยเราต้องเป็นหนี้นั้น ดูเหมือนว่า "ชาตินี้ คงไม่สามารถใช้เงินคืน IMF ได้หมด" ประชาชนคนไทยได้แต่ก้มหน้าก้มตายอมรับกรรมต่อไป อย่างพูดไม่ได้

4 ปีซ่อมของรัฐบาลนายกทักษิณ

รัฐบาลนายกทักษิณเข้ามาบริหารประเทศเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 ด้วยการเลือกตั้งครั้งแรก ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรตราไว้ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พุทธศักราช 2540 เป็นปีที่ 52 ในรัชกาลปัจจุบัน)

ประเทศไทยในขณะนั้น ยังคงเป็นประเทศที่ล้มละลาย มีหนี้สินเป็นจำนวนมาก เศรษฐกิจยังไม่ฟื้น ธุรกิจล้มละลายมีเป็นจำนวนมาก ประชาชนตกงานและมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก สถาบันการเงินมีหนี้สูญ (NPL) เป็นจำนวนมาก สภาวะต่างๆ ในประเทศไทยล้วนแล้วมืดมัวมองไม่เห็นอนาคตว่าจะสดใสขึ้นได้อย่างไร

ในเมื่อรัฐบาลสุรยุทธ์ พยายามบอกให้ประชาชนรู้จักพอเพียง หลังจากที่ถูกกล่าวหาว่า ประชาชนได้หลงทางและหลงใหลอยู่กับความเลวร้ายของระบบทุนนิยม และระบบประชานิยม ที่ท่านประธานคมช.และท่านสุรยุทธ์ต่างก็มีความเชื่อว่า

- ระบบทุนนิยมของรัฐบาลนายกทักษิณกำลังทำลายล้างเศรษฐกิจของชาติ แบบที่พลเอกสนธิ ได้กล่าวไว้ว่า "หากปล่อยเอาไว้ ประเทศไทยจะเหลือแต่กระดูก" ในขณะเดียวกันผมก็ได้ยินคำกล่าวร้องของประชาชนว่า "จะให้ประชาชนอยู่อย่างพอเพียงได้อย่างไร หากประชาชนมีไม่เพียงพอ"
- ระบบประชานิยม ที่พลเอกสนธิได้กล่าวหาว่า รัฐบาลนายกทักษิณเอาโครงการต่างๆ ไปหลอกลวงประชาชน ถือว่าเป็นการซื้อเสียงและส่อไปในทางทุจริต เพราะแต่ละโครงการมีการโกงกินกันอย่างเปิดเผยและแพร่หลาย

จึงทำให้ผมต้องย้อนกลับไปดูว่า รัฐบาลนายกทักษิณทำอะไรไปบ้าง

นโยบายรัฐบาลนายกทักษิณสมัยที่ 1

มันเป็นประเพณีนิยมสำหรับนายกรัฐมนตรีในแต่ละสมัย จะต้องแถลงนโยบายของตนเองให้สภาและประชาชนทราบ เพื่อทุกๆ คน ทุกๆ ฝ่าย จะได้รู้ว่า รัฐบาลจะดำเนินการบริหารประเทศอย่างไร และใครบ้างจะมีส่วนร่วมในการสนองตอบรับนโยบายของรัฐบาลบ้าง ดังนั้นผมจึงขอเข้าไปสำรวจดูว่า รัฐบาลนายกทักษิณสมัยแรก ที่เข้ามารับหน้าที่ในการบริหารประเทศที่ล้มละลาย มีนโยบายอย่างไรบ้าง

สิ่งที่ผมได้พบในนโยบายและโครงการต่างๆ ของรัฐบาลนายทักษิณ ซึ่งมีอยู่อย่างมากมาย หลายๆ นโยบายและหลายๆ โครงการ เป็นการดำเนินการสืบสานต่อจากแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านอย่างแท้จริง แต่เอามาประยุกต์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของความเป็นจริง และได้ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างจริงจัง จึงถูกเรียกว่าเป็น "ระบบประชานิยม" และมีอีกหลายนโยบายและหลายโครงการ ที่เป็นการพัฒนาประเทศในเชิงรุก เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ใน "ระบบทุนนิยม"

ในส่วนของนโยบายเร่งด่วน ที่เป็นนโยบายในการช่วยทำให้ประชาชนสามารถมีได้อย่างเพียงพอ เพื่อที่ดำรงชีวิตได้อย่างพอเพียง และมีฐานเศรษฐกิจส่วนบุคคลที่มั่นคง เพื่อดำรงชีวิตได้อย่างพอเพียง หรือประชานิยม เช่น

พักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรรายย่อย เป็นเวลา 3 ปี เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกร อย่างเร่งด่วน โดยวางระบบการฟื้นฟูและให้ความช่วยเหลือปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร
จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง แห่งละ 1 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงิน หมุนเวียนในการลงทุน สร้างอาชีพเสริม และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน และวิสาหกิจขนาดเล็ก ในครัวเรือนพร้อมทั้งรัฐบาลจะจัดให้มีโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพื่อให้แต่ละชุมชน ได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือในด้านความรู้สมัย ใหม่ และการบริหารจัดการ เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศด้วยระบบร้านค้า เครือข่ายและอินเตอร์เน็ต
จัดตั้งธนาคารประชาชน เพื่อกระจายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินให้กับประชาชนผู้มี รายได้น้อย เพื่อสร้างทางเลือกและลดการพึ่งพาแหล่งกู้นอกระบบ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีโอกาส ในการสร้างงาน สร้างรายได้ด้วยตนเอง
จัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการเดิมและ เพิ่มจำนวนผู้ประกอบการใหม่อย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างและรักษาฐานการผลิต การจ้างงาน การ สร้างรายได้ การส่งออก และเป็นแกนหลักในการสร้างความเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต
สร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อลดรายจ่ายโดยรวมของประเทศและประชาชน ในการดูแลรักษาสุขภาพ โดยเสียค่าใช้จ่าย 30 บาทต่อครั้ง และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการ สาธารณสุขที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
ในขณะเดียวกัน ก็ได้นำเอาแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาช่วยธุรกิจ สถาบันการเงิน และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อสร้างให้เกิดความเข้มแข็ง เพื่อรอบรับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ

จัดตั้งบรรษัทกลางในการบริหารสินทรัพย์ เพื่อดำเนินการให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ออกจากระบบของธนาคารพาณิชย์โดยเร็ว และเป็นระบบเบ็ดเสร็จ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ แก่สถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคการผลิตและบริการ
พัฒนารัฐวิสาหกิจ ให้เป็นองค์กรหลักในการกอบกู้เศรษฐกิจ และสร้างรายได้ให้กับ ประเทศ โดยรวมรัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพและมีความพร้อมเข้าด้วยกัน ภายใต้การบริหารขององค์กร ที่เป็นมืออาชีพ มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และปลอดจากการเมืองแทรกแซงในการ บริหารพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยมีโอกาสลงทุนในกิจการของรัฐวิสาหกิจ และ สนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจที่มีความพร้อมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาที่ เหมาะสม
นอกจากนั้นแล้ว ยังวางนโยบายในการกำจัดจุดอ่อนของประชาชน ที่ทำให้เกิดความเสื่อมต่อประชาชนโดยร่วม และสานต่อแนวทางการปราบปรามยาเสพติด ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยน ดังที่พระองค์ท่านได้ทำให้ประชาชนชาวเขาในภาคเหนือของประเทศเทศ เปลี่ยนจากการปลูกพื้ชที่ใช้ในการผลิตยาเสพติด มาเป็นพื้นเศรษฐกิจ ที่ประสพความสำเร็จเป็นอย่างดีมาแล้ว ด้วยนโยบาย

เร่งจัดตั้งสถานบำบัดผู้ติดยาเสพติด ควบคู่ไปกับการปราบปรามและป้องกัน ด้วยการแพร่กระจายและระบาดของยาเสพติดประเภทยาบ้า ซึ่งเป็นปัญหาของชาติ ทำให้ประชาชนและเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ต้องสูญเสียอนาคตและเป็นทาสของยาเสพติด
ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามคอรัปชั่น ที่เป็นส่วนหนึ่งที่บ่อนทำลายเศรษฐกิจของชาติ และขัดขวามความก้าวหน้าของประชาธิปไตยของประชาชน
ในตอนแรกๆ หลายๆ คนไม่ค่อยเข้าใจในแนวทางการทำงานของรัฐบาลนายกทักษิณ เพราะจากความเคยชินของรัฐบาลในอดีต ที่ทำงานในเชิงอนุรักษ์นิยม (Conservative) ที่ค่อยทำแบบไปเลื่อยๆ เฉื่อยๆ สบายๆ มาเป็นการทำงานแบบครบวงจร ทำพร้อมๆ กันทั้งรับ (Defensive) และรุก (Offensive) อย่างมีเป้าหมายและตารางเวลาที่แน่นอน ซึ่งเป็นลักษณะการบริหารงานของภาคเอกชน โดยเฉพาะเอกชนที่ทำธุรกิจแข่งขันกับต่างประเทศ ซึ่งในประเทศไทยยังไม่เคยเจอนายกรัฐมนตรีที่ทำงานแบบ aggressive และทุ่มเทอย่างนี้มาก่อน จนหลายๆ คนกล่าวหาว่า นายกทักษิณเป็นคนทำงานแบบ Double-Standard ซึ่งในที่สุด เมื่อผลงานเริ่มออก มีคนเข้าใจมากขึ้น จึงได้กลายมาเป็น Dual-Tracks นั่นก็คือ ทำสองอย่างพร้อมๆ กันอย่างสอดคล้องร่วมกัน เดินเคียงคู่และเคียงข้างไปด้วยกัน

พลิกฟื้นเศรษฐกิจ

ด้วยนโยบายและวิธีการทำงานของรัฐบาลนายกทักษิณ ทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ จากเศรษฐกิจที่เสื่อมโทรมมาเป็นเศรษฐกิจที่เฟื่องฟู ภายในระยะเวลาอันสั้น และทำให้ประเทศไทยมีเงินทุนสำรองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีทั้งเงินที่สามารถนำไปชำระคืนให้แก่ IMF ทั้งหมด ภายในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งเร็วกว่ากำหนดเวลาตามสัญญาเงินกู้ ทำให้ประเทศไทยประหยัดเงินหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ


อีกทั้งยังมีเงินทุนจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาลงในประเทศไทย ประชาชนชาวไทยมีงานทำกันอย่างทั่วหน้า จนทำให้ประชาชนที่ไม่เคยมีรายได้เพียงพอที่จะดำรงชีวิตได้อย่างพอเพียง เป็นประชาชนที่มีรายได้มากว่าเพียงพอ สามารถดำรงชีวิตได้ดีกว่าพอเพียงกันอย่างทั่วหน้า

ผลจากนโยบาย "4 ปีซ่อม" ของรัฐบาลนายกทักษิณ ทำให้ต่างประเทศถึงกับตลึงในความสามารถของรัฐบาลชุดนี้ ในการพลิกสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างรวดเร็ว จนประธานธิบดีของประเทศฟิลิปปินส์ได้ตั้งสมญานามการบริหารประเทศของนายกทักษิณแบบแหวกแนว ที่ไม่เหมือนใคร แต่ประสพความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วว่า "Taksinomics" หรือที่คนไทยรู้จักกันในนามของ "ระบอบทักษิณ" นั่นเอง และเป็นที่กล่าวขวัญกันทั่วโลก

นอกจากสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศได้แล้ว นายกทักษิณยังทำให้คนไทยทั้งประเทศได้ภูมิใจในความเป็นไทยและทั้งในเวทีโลก ผลงานของรัฐบาลนายกทักษิณออกมาให้ห็นอย่างมากมาย ทั้งน้อยและใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประเทศที่ปลอดจากยาเสพติด, สนามบินสุวรรณภูมิ, งานครองราชย์ครอบ 60 ปีที่ยิ่งใหญ่ดังไปทั่วโลก

ระบอบทักษิณในระยะเวลา 4 ปีซ่อม ทำให้ประเทศร่ำรวย เศรษฐกิจมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง

เศรษฐกิจมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง

ส่วนที่สำคัญ ที่รัฐบาลหลายชุดหลายสมัยได้ละเลย แต่นายกทักษิณหยิบขึ้นมาทำ นั่นก็คือ หน้าที่ในการดูแลประชาชน เพราะประชาชนเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของชาติ แม้กระทั่งพระองค์ท่านได้ทุ่มเทพระวรกายและพระปรีชาสามารถในรูปแบบต่างๆ ในการช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ท่านมาตลอดทั้ง 60 ปีแห่งการครองราชย์


การช่วยเหลือประชาชนของรัฐบาลนายกทักษิณ เราสามารถเห็นได้ในหลายๆ โครงการ เช่น โครงการกองทุนหมู่บ้าน, กองทุนเพื่อการศึกษาของเยาวชนคนจน, โครงการ OTOP, โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นต้น ที่ได้ทำให้ประชาชนชาวรากหญ้า กินดีอยู่ดีขึ้น มีความมั่นคงในการดำรงชีวิต และทำให้เศรษฐกิจพื้นฐานของประชาชนมีความมั่นคงขึ้น

สิ่งที่นายกทักษิณทำให้แก่ประเทศไทยและประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ มีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ทำให้นายกทักษิณจะไปประเทศไหน ประตูของประเทศนั้นพร้อมเปิดต้อนรับด้วยความเต็มใจ จะยกเว้นก็เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น และสิ่งที่นายกทักษิณทำให้แก่คนไทยทั้งประเทศ ทำให้นายกทักษิณยังคงอยู่ในใจของประชาชนเกือบทั้งประเทศ

นโยบายรัฐบาลสุรยุทธ์

การที่รัฐบาลสุรยุทธ์ได้นำเอาคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" มาเป็นชื่อของนโยบายนั้น ผลงานของรัฐบาลชุดนี้ได้ออกมาทำให้เห็นแล้วว่า เป็นนโยบายที่นำพาประเทศไปสู่ความหายนะทางเศรษฐกิจโดยแท้จริง

หากใครได้ไปอ่านนโยบายของรัฐบาลสุยุทธ์ คงจะเห็นได้ว่า เป็นการกำหนดนโยบายแบบกว้างๆ ในเชิงนามธรรมมากกว่ารูปธรรม หากจุดวัดผลอะไรไม่ได้เลย ซึ่งตรงกันข้ามกัยนโยบายของรัฐบาลนายกทักษิณ ที่เป็นนโยบายชี้แจงอย่างละเอียดใชเชิงของรูปธรรม ที่สามารถตรวจวัดผลได้อย่างชัดเจน

หลักใหญ่ๆ ของนโยบายของรัฐบาลสุรยุทธ์ก็คือ "นโยบายเศรษฐกิจยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การใช้หลักคุณธรรมกำกับการพัฒนาเศรษฐกิจในระบบตลาดเสรี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเปรียบเสมือนรากแก้วของประเทศ เศรษฐกิจระบบตลาดและเศรษฐกิจส่วนรวม ให้มีส่วร่วมในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบความยั่งยื่นและความพอดี โดยเน้นให้ภาคเอกชนมีบทบาทนำและผนึกกำลังร่วมกับภาครัฐและภาคประชาสังคม เพื่อความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจทั้งสามภาคดังกล่าว"


ส่วนต่างๆ ของนโยบาย ก็บอกกล่าวคล้ายๆ แบบนี้ ถึงแม้จะมีการแบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ก็ตาม แต่มิได้บ่งบอกอะไรที่เป็นรูปธรรมเลยแม้แต่นิดเดียว เหมือนกับว่าผู้ที่ร่างนโยบายนี้ ไม่มีความรู้อะไรเลยในวิธีการหรือขั้นตอนในการบริหารประเทศอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้อย่างไร

อีกทั้ง ผู้ร่างนโยบายยังมองไม่เห็นด้วยซ้ำว่า ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่ก้าวล้ำคำว่า "พอดี" ไปหลายปีแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ที่เรียกว่า "รากหญ้า" หรือ "รากแก้ว" นั้น ก็ได้อยู่ดีกินดีเกินคำว่า "เพียงพอ" กันนานแล้ว

การที่จะบอกให้ประชาชนย้อนกลับไปสู่ความพอเพียง ตามแบบที่รัฐบาลต้องการนั้น มันเป็นการบังคับให้ประชาชนต้องถอยหลังลงคลอง สละสิ่งที่พวกเขามี ทั้งๆ ที่พวกเขาทำได้เกินกว่าพอดีอย่างมั่นคงแล้ว

ทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า

นับตั้งแต่พลเอกสุรยุทธ์ได้จัดตั้งรัฐบาลและคณะรัฐมนตรีขึ้นมา ก็เห็นแต่รัฐบาลออกมาโจมตีการทำงานของนายกทักษิณ โดยยึดคำกล่าวหาที่ไร้หลักฐานและเหตุผล ของคปค.ที่ใช้ในการปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งวันนี้ หลังจากเวลาได้ผ่านไปกว่า 5 เดือนแล้ว ก็ยังไม่สามารถหาหลักฐานที่จะสามารถยื่นฟ้องศาลเพื่อเอาผิดนายกทักษิณและคณะรัฐบาลได้แม้แต่เรื่องเดียว

การกระทำต่างๆ ของผู้ที่มีอำนาจในรัฐบาลสุรยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกโครงการและการปรับเปลี่ยนโครงการ ที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลนายกทักษิณก็ดี ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มองรัฐบาลชุดนี้ว่า เป็นรัฐบาลที่ตามล้างตามผลาญนายกทักษิณ โดยไม่คำนึงถึงผลเสียต่อประเทศชาติหรือต่อประชาชนเลยแม้แต่น้อย และได้กระทำด้วยความคับข้องใจและด้วยความสะใจที่ได้ทำลายสิ่งต่างๆ ที่นายกทักษิณได้สร้างมาทั้งสิ้น ซึ่งดูเหมือนกับว่า คนในรัฐบาลชุดนี้ ไม่มีความรู้เลยว่า ทุกโครงการ ล้วนแล้วมีสายสัมพันธ์และเกื้อหนุนกันและกัน ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจของชาติโดยรวม หากโครงการหนึ่งโครงการใด ต้องมีอันเป็นไป ถึงกับต้องล้มและเลิกไป มันจะมีผลต่อโครงการอื่นๆ ที่ทำให้ต้องล้มตามกัน ในแบบของทฤษฎีโดมิโน (Domino Theory) ซึ่งผลนี้ เราก็ได้เริ่มเห็นกันแล้ว เช่น

การยกเลิกโครงการหวยบนดิน ทำให้รัฐขาดรายได้นับหมื่นล้านต่อเดือน ซึ่งเงินจำนวนนี้เคยถูกใช้ไปกับโครงการกองทุนหมู่บ้าน กองทุนเพื่อการศึกษา และเงินทุนสนับสนุนธนาคารประชาชนและธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก


เมื่อกองทุนเพื่อการศึกษาถูกยกเลิก เพราะไม่มีเงินที่เคยได้จากการขายหวยบนดิน ทำให้เยาวชนที่มาจากครอบครัวยากจน ไม่มีเงินสำหรับการศึกษา ซึ่งจะทำให้เยาวชนเหล่านี้ขาดการพัฒนาด้านการศึกษา และจะกลับไปเป็นประชากรที่ด้อยพัฒนาของประเทศตามเดิม ซึ่งจะทำให้แรงงานไทยในอนาคตเป็นแรงงานที่ด้อยคุณภาพ หางานทำไม่ได้ เป็นปัญหาต่อสังคมและเป็นภาระของชาติ

เมื่อธนาคารประชาชนและธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ถูกรัฐบาลชุดนี้ยกเลิก ทำให้ธุรกิจที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของชาวบ้านที่เรียกกันว่า "OTOP" และธุรกิจท้องถิ่นต่างๆ ขาดการสนับสนุนด้านเงินทุน ก็จะไม่ได้รับการพัฒนา และบางรายถึงกับต้องเลิกกิจการไป ทำให้ประชาชนที่เคยมีงานทำในส่วนนี้ ต้องตกงานและขาดรายได้ สินค้าที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ก็จะหายไปจากตลาด ทำให้รัฐขาดรายได้จากภาษี

เมื่อประชาชนขาดรายได้ ก็ทำให้ประชาชนที่มีหนี้สิ้น ไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินต้นได้ ทำให้เกิดปัญหา NPL กับสถาบันการเงิน อีกทั้งจะทำให้ประชาชนเหล่านี้ไม่สามารถมีเงินจับจ่ายใช้สอยได้เหมือนเดิม อันมีผลกระทบต่อภาษีรายได้บุคคลและทำให้สินค้าต่างๆ ขายได้น้อยลง ภาษีมูลคาเพิ่มก็ลดน้อยลงไปด้วย

เมื่อสินค้าขายได้น้อยลง ผู้ผลิตก็ต้องลดการผลิต เพื่อให้สอดคล้องกับอุปทานของตลาด นั่นหมายถึงการลดจำนวนลูกจ้างลง ทำให้ผู้ใช้แรงงานต้องตกงาน ไม่มีรายได้ ภาษีรายได้บุคคลที่รับจะได้รับก็หดหายไป ภาษีมูลคาเพิ่มที่รัฐจะได้รับจากการขายก็ลดน้อยลง

เมื่อการว่างจ้างแรงงานลดน้อยลง ยิ่งทำให้ประชาชนตกงานมากขึ้น รายได้ของผู้ผลิตลดลง รายได้ของรัฐลดลง มันเป็นวัฏจักรของเศรษฐกิจ ที่จะทำให้เกิดเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งต่อไปรัฐก็จะมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย ทำให้กองทุนสำรองของชาติหดหายไป ถึงขนาดที่รัฐจะต้องกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อเอามาใช้จ่ายในการบริหารประเทศ หากสถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้นนานวัน สุดท้ายแล้วประเทศไทยก็จะกลับไปเป็นประเทศที่ล่มสลาย เหมือนตอนที่เกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2540 อีกครั้งหนึ่ง ด้วยน้ำมือของรัฐบาลชุดนี้

อำนาจและความร่ำรวย บนความเดือนร้อนของประชาชน

หากเราจะมองดูโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลนายกทักษิณ แต่ถูกยกเลิกในรัฐบาลของท่านสุรยุทธ เช่น โครงการ OTOP, โครงการหวยบนดิน, โครงการกองทุนหมู่บ้าน, โครงการกองทุนเพื่อการศึกษา เป็นต้น เราต้องมองดูว่า ผลรับที่ได้จากโครงการเหล่านั้น ใครคือผู้ที่ได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง นั่นก็คือประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมิใช่หรือ โดยเฉพาะประชาชนที่เรียกว่า "ประชาชนชาวรากหญ้า" ดังนั้นผลกระทบในการกระทำของรัฐบาลสุรยุทธ์นี้ จึงมีผลกระทบต่อประชาชนทั่วทั้งประเทศ ที่ได้ทำลายเศรษฐกิจพื้นฐาน และทำลายความมั่นคงในการดำรงชีวิตของประชาชนชาวรากหญ้า

ยิ่งทุกวันนี้ รัฐบาลได้จับจ่ายใช้งบประมาณอย่างสนุกสนานและฟุ่มเฟือย เพราะคิดว่าเศรษฐกิจของชาติมีความมั่นคงเหมือนสมัยของรัฐบาลนายกทักษิณ อีกทั้งได้ตั้งงบแบบขาดดุล เพื่อเกื้อหนุนเหล่าผู้มีอำนาจและสมุนต่างก็เข้ามาเพื่อแบ่งเค๊กและกอบโกย โดยเข้ารับตำแหน่งต่างๆ ที่มีเงินเดือนสูงๆ ด้วยแล้ว ยิ่งจะทำให้สภาวะเศรษฐกิจถดถอยมีอัตราเร็วขึ้น ซึ่งขัดแย้งกับนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงที่รัฐบาลได้ประกาศออกมาอย่างสิ้นเชิง

สรุป

ระบบทุนนิยม เป็นระบบของชาวโลก ที่ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ แม้แต่ประเทศเล็กๆ อย่างประเทศไทย มันอยู่ที่ว่า ผู้บริหารประเทศจะมีความรู้และความสามารถเพียงพอหรือไม่ ที่จะบริหารและจัดการประเทศภายใต้กฏกติกาของระบบทุนนิยม ให้ประสพความสำเร็จและสร้างผลประโยชน์ให้แก่ประเทศ
ระบบประชาชนนิยม เป็นหน้าที่ที่รัฐบาลพึงกระทำ ในการช่วยเหลือประชาชน ทำให้ประชาชนกินดีอยู่ดี ทำให้เศรษฐกิจระดับรากหญ้า (หรือรากแก้ว) มีความมั่นคง และพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทันตามโลกาภิวัตน์ที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว


การที่อดีตรัฐบาลของนายกทักษิณ ได้นำเอาแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ปฏิบัติในช่วงเวลา 4 ปีแรกของการบริหารงานราชการ ที่เรียกว่า "4 ปีซ่อม" ทั้งในรูปแบบการบริหารงานแบบเชิงรับและเชิงรุกพร้อมๆ กัน ที่เรียกกันว่า "Double-Standard" และต่อมาเปลี่ยนมาเป็น "Dual-Tracks" ทำให้เกิดกระแสของระบบประชานิยมและระบบทุนนิยม ได้ทำให้เกิดผลประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนเป็นอย่างมาก และเห็นได้ชัดเจน ที่สามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่เสื่อมโทรมให้เป็นเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองได้อย่างรวดเร็ว จนชาวโลกให้สมญานามว่า "Taksinomics" หรือ "ระบบทักษิณ" นั่นเอง

รัฐบาลของท่านสุรยุทธ์ เข้ามาบริหารประเทศด้วยการชู "นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง" โดยได้ทำลายทุกอย่างที่รัฐบาลของนายกทักษิณได้ทุ่มเทสร้างไว้ให้แก่ประเทศและประชาชน ด้วยการยกเลิกโครงการต่างๆ และ/หรือปรับเปลี่ยนให้แย่ลงกว่าเดิม เท่ากับเป็นการทำลายฐานรากของเศรษฐกิจของประเทศ อันจะมีผลประทบทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจะต้องล่มสลายมาอย่างไม่เป็นท่า ในอนาคตอันไม่ไกลนัก ขนาดรัฐบาลสุรยุทธ์เข้ามาบริหารประเทศได้แค่ 5 เดือน ผลที่ได้เกิดขึ้น และเห็นได้ชัดเจนว่า


- ต่างชาติเสื่อมศรัทธาและขาดความเชื่อมั่น ในการบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้
- การลงทุนของต่างชาติหดหาย
- การค้าระหว่างประเทศลดน้อยลง
- แนวโน้มการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2550 เป็นถดถอย
- จำนวนประชาชนผู้ใช้แรงงานมีอัตราว่างงานเพิ่มขึ้น
- เศรษฐกิจภายในประเทศเขาสู่สภาวะเงินฝืด
- ภาษีจัดเก็บลดลงต่ำกว่าเป้า และจะต่ำลงไปเลื่อยๆ
- การจัดสรรงบประมาณของประเทศแบบขาดดุล (รายจ่ายมากกว่ารายรับ)

หลายๆ ตัวบ่งชี้และตัววัดผลต่างๆ (indicators) กำลังค่อยบอกว่า นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงของรัฐบาลสุรยุทธ์นี้ กำลังนำพาประเทศไทยไปสู่ความหายนะทางเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อยู่ที่ว่าความหายนะนี้ จะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าเท่านั้น


(ท่านได้อ่านแล้ว กรุณาแสดงความเห็นด้วย จะขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง)


ที่มา จากชาวราชดำเนินนาม ศิลาแรง ส่งเข้ามาที่สนามหลวง forum ครับ




 

Create Date : 07 พฤษภาคม 2550    
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 18:21:24 น.
Counter : 482 Pageviews.  

เศรษฐกิจพอเพียงแบบเลื่อนลอย ทำลายเศรษฐกิจของชาติ

เศรษฐกิจพอเพียงแบบเลื่อนลอย ทำลายเศรษฐกิจของชาติ

ผมยอมรับว่า นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง ของพระองค์ท่านเป็นเรื่องที่ดีมาก
แต่วันนี้ เศรษฐกิจพอเพียง กลับกลายเป็นดาบสองคม ที่หวลกลับมาทำร้ายเศรษฐกิจของชาติอย่างสิ้นเชิง

อันที่จริงแล้ว เศรษฐกิจพอเพียง ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่นายกทักษิณใช้ในช่วง 2 ปีแรกที่การบริหารประเทศ จนทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยมั่นคง สามารถปลดหนี้ IMF ได้อย่างรวดเร็ว แถมยังทำให้ประเทศมีเงินสำรองคงคลังเป็นจำนวนมากอีกด้วย ที่ได้นำมาพัฒนาประเทศ ช่วยเหลือประชาชนอยู่ตลอดเวลาที่บริหารประเทศอยู่

แต่การบริหารประเทศแบบเศรษฐกิจพอเพียงนั้น มันไม่พอเพียงในการนำพาประเทศไปสู่ความยั่งยืนและมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจได้ ในขณะที่ทั่วโลกเข้าสู่โลกาภิวัฒน์ มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง แบบที่ฝรั่งเรียกว่า "Survival of the Smartest" ไม่ใช่ "Survival of the Fittest" เหมือนแต่ก่อน

ดังนั้นนโยบายของรัฐบาลนายกทักษิณจึงเป็นไปในรูปแบบที่ว่า "จะพอเพียงได้ เมื่อเราได้เพียงพอแล้ว" อันเป็นหลักในการทำงานของนายกทักษิณ คือ มุ่งทำงานเพื่อให้ได้มามากๆ ให้มีมากพอที่จะดูแลประชาชนได้อย่างพอเพียงและทั่วหน้า

มันก็ตรงกับคติที่นายกทักษิณเคยบอกว่า "ผมรวยแล้ว ไม่โกงหรอก" เพราะนายกทักษิณทำธุรกิจจนรวยมากเพียงพอแล้ว เลยอาสาเข้ามาทำงานเพื่อชาติ ไม่ใช่เพื่อเข้ามาหาเงินให้ตัวเองมากขึ้น แต่เอาวิชาการต่างๆ และประสบการณ์ต่างๆ มาหาเงินให้แก่ประเทศชาติอย่างมากมาย เพื่อให้เพียงพอ ให้อยู่รอด ให้ก้าวหน้า ให้ประชาชนอยู่ได้อย่างพอเพียง "แบบกินดีอยู่ดี" กันทั่วหน้า

ในด้านกลับกัน รัฐบาลชุดนี้ เป็นรัฐบาลที่ยึดติดแต่คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" เพียงอย่างเดียว โดยไม่เข้าใจลึกซึ่งในวิธีการและหลักการ ที่จะนำมาประยุกต์ปฏิบัติให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศ แบบที่เรียกว่า "ไม่รู้แล้วยังดันทุรังทำไปอย่างโง่ๆ"

ข้าราชการ หน่วยงานต่างๆ ที่เคยกระตือรือร้นในการทำงานเพื่อประชาชนในยุคสมัยรัฐบาลนายกทักษิณ กลับถูกบอกให้รู้จักพอเพียง ก็เลยทำงานกันอย่างพอเพียง แค่ "เชาชาม เย็นชาม" ก็พอแล้ว

ธุรกิจโดนบีบจากหน่วยงานของรัฐ ให้ชะลอการพัฒนา ชะลอการลงทุน และให้ทำงานอย่างพอเพียง โดยทางรัฐได้ออกมาตรการณ์ต่างๆ ที่บีบธุรกิจทางอ้อม ทำลายตลาดเงินทุนทุกรูปแบบ เพียงเพื่อสนองนโยบาย "เศรษฐกิจพอเพียง" ของรัฐบาลขิงเหี่ยวๆ

ประเด็นที่แท้จริงๆ แล้ว ไม่ได้อยู่ที่คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" แต่อยู่ที่คนที่นำเอาไปปฏิบัติต่างหาก ที่ไร้ความรู้ ไร้ความสามารถ ไร้ฝีมือ ที่จะนำเอาแนวทางพระราชทานไปประยุกต์และปฏิบัติได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ผลงานที่ผ่านมา 4 เดือน ของรัฐบาลชุดนี้ หากเป็นนักเรียนก็คงบอกได้ว่า สอบตกแน่นอน แต่ก็ไม่ใช่แค่นั้น เพราะรัฐบาลไม่ใช่นักเรียน
หากเป็นผู้จัดการบริษัท ก็คง "ไม่ผ่านงาน" แล้วคณะกรรมการบริษัทคงเชิญออกจากการเป็นผู้จัดการและพนักงานของบริษัทไปนานแล้ว

แต่รัฐบาลเป็นผู้นำ ซึ่งผมบอกได้อย่างเต็มปากเลยว่า เป็นผู้นำที่ผมไม่ต้องการตาม เพราะจะนำพาประเทศชาติของเราไปสู่ความหายนะ

ผมห็นว่า รัฐบาลสมควรจะต้องพิจารณาตัวเองได้แล้วว่า มีศักยภาพในการทำงานอยู่หรือไม่ ควรลงจากการเป็นผู้นำ แล้วให้คนอื่นที่มีความสามารถมากกว่ามาทำงานมาเป็นผู้นำแทนได้หรือยัง ก่อนที่ประเทศชาติจะสิ้นแล้วในความเป็นชาติไทย ที่พวกเราชาวไทยเคยภาคภูมิใจในอดีต

จากคุณ : ศิลาแรง javascript:openProfileWindow('273383')- [ 5 ม.ค. 50 11:32:24 A:124.121.47.177 X: ]

เสริมเรื่องว่าทำไมทุกประเทศใช้เงินดอลลาห์เป็นทุนสำรองแทนทองคำ

เรื่องจริงคือ ทุกประเทศก็ใช้ทองคำนี่แหละครับเป็นทุนสำรอง แต่ด้วยเพราะทุกประเทศยอมรับว่าเงินตอลลาห์เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนที่ใช้ซื้อสินค้าระหว่างประเทศ มีเงินดอลลาห์ก็เลยเหมือนมีทองคำไป ทำไปทำมาการซื้อขายสินค้าส่วนใหญ่ก็เลยใช้เงินดอลลาห์เป็นตัวกลาง

ทีนี้ประเทศไทยเราจะซื้อน้ำมันเราก็ต้องเอาเงินบาทไปแลกตอลลาห์เพราะโอเปกเขาไม่รับเงินบาท (ใครจะการันตีครับว่าจะไม่มีกรณีนโยบายการเงินแบบมั่วๆเหมือนเดือนที่แล้วอีก) คราวนี้เราจะมีเงินไปซื้อน้ำมัน ก็หมายความว่าเราต้องขายของออกไปเพื่อเอาตอลลาห์ ตอนนี้ประเทศไทยก็บ้าพอเพียงกัน จนลืมมองไปว่าเงินบาทไทยในสายตาประเทศอื่นก็เปรียบได้กับแบงค์กงเต็กไร้ค่าในสายตาเขา เราหยุดความพยายามหาเงินเข้าประเทศ หยุดการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ เงินหมุนเราก็จะหมดไปเรื่อยๆ เรื่องนี้มันเป็น Business Common Sense ครับ แต่ผู้ปกครองไทยตอนนี้จบนักเรียนนายร้อย ที่เขาสอนอย่างเดียวคือจะปล้นอย่างไรด้วยปืน เรื่องอย่างนี้ก็คิดกันไม่ถึง

อีกอย่างที่อยากจะบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียง นั่นคือพื้นฐานการใช้เงินธรรมดานี่แหละครับ ไม่ได้ยิ่งใหญ่หรือตรงข้ามกับทุนนิยม เพราะเรื่องนี้ประเทศที่เป็นทุนนิยมสุดโต่งอย่างอเมริกาเขามีสอนกันตั้งแต่เด็ก พอเพียงที่แท้จริงคือ พอเพียงเมื่อเรามีเพียงพอ อย่างที่คุณศิลาแลงบอก

อีกสิ่งที่อยากให้ลองกลับไปคิดดูว่า ประเทศไทยส่งออกสินค้าหลักอะไรกันแน่ หากตอบว่าสินค้าเกษตร ผิดครับ แล้วหากตอบว่าสินค้าอุตสาหกรรมละ ผิดอีกเช่นกัน

คำตอบคือ ประเทศไทยส่งออกแรงงานราคาถูกผ่านในรูปสินค้าราคาถูก ดังนั้นเราเลยต้องแข่งราคาถูกกับจีน เวียดนาม อินเดีย บังคลาเทศ ซื่งเรากำลังแพ้เพราะค่าแรงเราแพงขึ้น และเราทำงานแบบไร้ประสิทธิภาพ อย่างที่เจ้าของกระทู้บอกแหละครับว่า เช้าชามเย็นชาม

ผมเทียบให้ชัดเลยครับ ชาวนาไทยตามแบบพอเพียง มีที่แบ่งปลูกบ้าน ขุดบ่อ ทำนา ทำไร่ สวนผสม หากจะทำเพื่อกินในครอบครัวก็อาจจะพอยาไส้อยู่ แต่ถ้าจะขายรับรองได้ทำไปทำมาไม่มีบ้านอยู่ เพราะชาวนาไทยหนึ่งคนควายเหล็กหนึ่งตัวทำนาสิบไร่ก็รากเลือดแล้ว ปีหนึ่งทำได้สองรอบก็เก่งแล้ว
ชาวนาอเมริกันที่คนไทยบอกพวกทุนนิยมไม่พอเพียง หนึ่งคนพร้อมเครื่องจักรครบวงจร ทำนาเป็นพันไร่ ปีหนึ่งทำสี่รอบ ผมยืนยันได้เลยว่าข้าวไทยแบบพอเพียงขายสู้ข้าวอเมริกันแบบทุนนิยมไม่ได้เลยครับ ราคาข้าวอเมริกันถูกกว่าเยอะ

ชาวนาไทยไม่ได้ขายข้าว ชาวนาไทยขายแรงงานถูก ชาวนาอเมริกันไม่ได้ขายแรงงาน แต่ขายสินค้าที่เป็นข้าวที่ผ่านการพัฒนาขบวนการผลิต ตราบใดที่เรายังพอเพียงแบบไม่ลืมหูลืมตา อีกสิบปีข้างหน้าไม่แน่เราต้องซื้อข้าวอเมริกันกินก็ได้นะครับ

การพัฒนาประเทศไทยเราไปขายแรงงานราคาถูกอย่างเดียวเราก็รอวันตาย เราต้องขายเทคโนโลยี หรือขายสินค้าที่เพิ่มคุณค่า (Added Value Product) แทนที่จะขายข้าว ก็ขายเป็นข้าวที่ใส่ไมโครเวฟแล้วทานได้เลย หรือข้าวพร้อมกับข้าวใน Package สวยงาม จริงแล้วเมื่อก่อนผมก็เคยเห็นของ CP ทำขายในร้าน Seven-Eleven ในอเมริกาผมยังไม่เห็นที่เป็นของไทย แต่ผมเห็นแล้วที่เป็นของจีน
ผมยกตัวอย่างให้ดู ข้าวหอมมะลิไทยแบบเกรดเอ ไม่มีขายในร้านอเมริกัน เพราะแพงอยู่ ถุงสิบกิโลกรัมราคาประมาณ 12 US Dollar ซื้อแล้วต้องไปหุง รออีกสิบห้านาทีถึงทานได้ แถมยังต้องมีกับข้าวจะทานข้าวเปล่าก็ไม่ได้ แต่เมื่อเทียบกับข้าวจีนที่ทำพร้อมกับกับข้าวใส่ Package มาแล้ว ราคาประมาณ 5 US Dollar น้ำหนักไม่น่าเกินครึ่งกิโลกรัม เพราะฉะนั้นหากขายเท่ากับข้าวไทย 10 กิโลกรัมจะได้เงินประมาณ 100 US Dollar สินค้าพวกนี้ขายผ่านระบบ Distributor ซี่ง Distributor จะได้ประมาณ 30% เพราะฉะนั้นหากหักค่าใช้จ่ายในการขนส่งและโฆษณาจะอีก 20% แสดงว่าโรงงานจะได้ประมาณ 50% สินค้าพวกนี้ส่วนมากจะต้องมีต้นทุนและค่าแรงไม่เกิน 50% ของราคาขายส่ง ดังนั้นเจ้าของโรงงานจะได้เงินเข้ากระเป๋าประมาณ 25 US Dollar ในขณะที่ข้าวไทยต่อให้ชาวนามาขายเองไม่ผ่านนายหน้าขายด้วยน้ำหนักเท่ากันยังไม่ได้เท่ากับเจ้าของโรงงานขายอาหารจีนเลยครับ

เหตุที่เมืองไทยเอะอะก็จะขายข้าวสารท่าเดียว เพราะเมืองไทยค่าแรงมันถูก จนคนลึมคิดเรื่องประสิทธิภาพของการทำงาน (Produtivity) เราเลยตกอยู่ในหลุมพรางความพอเพียงที่ไม่เพียงพอ แล้วเราก็สงสัยกันว่า เอ! ทำไมยิ่งทำนา ที่นายิ่งหดไปหว่า ทำไมยิ่งขายข้าวรัฐบาลยิ่งจนเพราะต้องนำเงินไปประกันราคาข้าว

เรื่องที่ว่าหากมีการล่มสลายทางเศรษฐกิจรอบใหม่ของไทยแล้วกลุ่มทุนใหญ่จะอยู่รอด

อันนี้ผมเห็นว่าจะจริงครับ เพราะพวกนี้ได้รับบทเรียนจากการล่มสลายทางเศรษฐกิจรอบที่แล้ว ครั้งก่อนกลุ่มทุนต่างๆใช้วิธีการลงทุนแบบไปกู้เขามา แล้วพวกปล่อยกู้ก็ไปกู้คนอื่นมาปล่อยกู้อีกต่อหนึ่ง เมื่อเศรษฐกิจไทยพังชั่วข้ามคืน คนกู้ล่างสุดไม่มีเงินจ่ายกลายเป็น NPL มันก็เลยพังทั้งระบบ นี่ไม่รวมพวกที่รวมหัวกันเอาสินทรัพย์ราคาถูกมาค้ำประกันเงินกู้เกินมูลค่านะครับ อันนั้นเข้าข่ายโกง

แต่หลังจากการล่มสลายรอบนั้น พวกกลุ่มทุนฉลาดขึ้น เมื่อเขาต้องการใช้เงินแทนที่จะไปกู้ เขากลับเอาเข้าตลาดหุ้น เป็นการระดมทุนโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ตราบใดที่บริษัทยังกำไร มีแนวโน้มสดใส หุ้นเขาซื่งเป็นกระดาษเปล่าก็กลับมีราคา ไม่ต้องใช้สินทรัพย์จำนอง กลุ่มทุนพวกนี้มีหน้าที่อย่างเดียวคือบริหารธุรกิจให้กำไรเพื่อรักษาราคาหุ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพวกก็ได้เงินบางส่วนจากหุ้นมาแล้วเรียบร้อย ยิ่งกฏหมายไทยยกเว้นภาษีเลยรวยกันไปใหญ่ ตัวอย่างที่เห็นชัดในการใช้ตลาดหุ้นระดมทุนคือเบียร์ช้าง จากพันล้านกลายเป็นหลายพันล้านเพียงชั่วข้ามคืน กลุ่มทุนใหญ่เหล่านี้หากเศรษฐกิจล้มเขาก็ไม่กระเทือนมากนักเพราะเงินที่ได้มามาจากการขายหุ้นไม่ใช่ไปกู้มา

แต่คนที่จะเดือดร้อนคือชนชั้นกลางกินเงินเดือนบริษัทนี่แหละครับที่จะสาหัสที่สุด เพราะกลุ่มทุนเมื่อเขามีแววว่ากำไรจะหด เขาก็ขายหุ้นทิ้งซะ ตัวบริษัทจะไปอยู่กับใครหรือจะต้องปิดอันนั้นเขาไม่สนใจแล้ว คนทีทำอะไรไม่ได้คือลูกจ้างที่ถูกลอยแพ และอย่างที่ผมบอกไว้คือชนชั้นกลางที่เป็นลูกจ้าง ส่วนใหญ่ทำงานบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ต้องส่งออก ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม พอประเทศไทยลดความสามารถในการแข่งขันลง เราก็ไม่มีรายได้เข้ามา ภาคการผลิตก็ต้องหยุด เมื่อโรงงานมันหยุดแล้วคนกินเงินเดือนจะเอาที่ไหนให้ไปทำงานเล่าครับ

ส่วนคนจนระดับรากหญ้านั้น เขาไม่เดือดร้อนอะไรมาก เพราะเขาจนประเภทที่ไม่มีอะไรจะกินอยู่แล้ว จะล้มละลายกันอีกทีเขาก็ยังจนอยู่เหมือนเดิม

จริงๆแล้วผมว่ามันก็เป็นกรรมสนองชนชั้นกลางของไทยในกรุงเทพ และหัวเมืองใหญ่ ที่ชอบดูถูกคนยากจนว่าไม่มีสมอง และมักทำตามความพอใจมากกว่าความถูกต้อง ทำให้ประเทศไทยเดินมาถึงจุดนี้ หลังจากพิษเศรษฐกิจรอบใหม่ผมก็หวังว่าชนชั้นกลางคงจะได้บทเรียนและรู้จักเคารพกฏหมายมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา


ส่วนอีกคำถามเรื่อง

ตอนเรียนเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน ปี 1 ตำราเค้าให้ความหมายของ "เศรษฐศาสตร์" ว่า

"การบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่ไม่สิ้นสุด"

คำตอบก็คือเรื่องชาวนาอเมริกันและข้าวจีนที่ผมเล่าไปแหละครับ หากมองดีๆแล้ว มันก็เกิดมาจากความคิดพื้นฐานนี่แหละครับ พูดง่ายๆ "การพัฒนาเกิดจากความไม่เพียงพอครับ"

หากคุณได้ลองสัมผัสทุนนิยมอย่างสุดขั้วอย่างที่ผมเผชิญอยู่ จะตอบได้ครับว่าทุนใหญ่ใช่ว่าจะอยู่รอดในโลกทุนนิยมครับ

ข้อดีของทุนนิยมคือหากมันเป็นทุนนิยมเต็มรูปแบบมันจะเป็นการแข่งขันกันเสรีทำให้เกิดการพัฒนาใหม่ๆตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกันมันก็กลายเป็นข้อเสียด้วยคือคนที่อ่อนแอต้องหายไปจากธุรกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้

จริงๆแล้วทุนนิยมนี่แหละเลียนแบบกฏธรรมชาติเลยครับคือ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่ผมบอกได้เลยว่าการเป็นปลาใหญ่แล้วจะไปไล่กินชาวบ้านทั้งหมดก็ไม่ใช่ครับ เพราะปลาใหญ่มันก็มีข้อเสียของมันเหมือนกัน

ทุนใหญ่นั้นมีข้อดีตรงที่ทุนหนาจะทำอะไรก็ง่าย จะจ้างคนงานระดับเก่งแค่ไหนก็ได้ แต่มันก็มาพร้อมกับไขมันส่วนเกิน (Fat) พวกนี้จะเห็นได้ง่ายในบริษัทระดับใหญ่เมืองไทยที่ระดับบริหารบริษัทงานการไม่ทำ ตีกันแต่กอล์ฟ พูดกันง่ายๆคือเขาเล่นการเมืองในองค์กรมากกว่าทำงาน เพราะฉะนั้นทุนใหญ่ก็จะเสียเงินไปจ้างคนเหล่านี้มาเล่นกอล์ฟ เล่นการเมืองขัดขากันเอง บริษัทใหญ่ๆจึงมีปัญหาในการพัฒนาเทคโนโลยีแบบที่เรียกว่านวัตกรรม (Cutting Edge) เพราะโครงสร้างมันใหญ่เกินไปที่จะเคลื่อนตัวได้รวดเร็ว ตัวอย่างเห็นได้ชัดคือ Big 3 (GM, Ford and Crysler) พวกนี้เป็นบริษัทใหญ่ที่ใกล้ตาย รู้ไหมครับว่า GM นี่เป็นหนี้สหภาพไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านเหรียญ ส่วน Ford ต้องไปกู้เงินมาจ่ายหนี้สหภาพ ส่วน Crysler นี่เปลี่ยนเจ้าของไม่รู้กี่รอบ เพราะไม่กำไร

ในทางกลับกันบริษัทเล็กทุนเล็ก อาจมีเงินหมุนได้ไม่คล่องเท่ากับบริษัทใหญ่ แต่ไม่ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายไปจ้างคนมาเล่นละครในที่ทำงาน ทำให้องค์กรปรับตัวเข้ากับตลาดได้ง่าย บริษัทพวกนี้เขาไม่โง่ไปชนกับบริษัทใหญ่ แต่เขาจะทำการตลาดแบบเฉพาะ (Nitch Market) เขาจะหาช่องที่บริษัทใหญ่ไม่สามารถทำได้ หรือทำแล้วไม่คุ้ม เป็นตลาดที่มีคู่แข่งน้อย หรือยังไม่มีใครทำมาก่อน เรียกว่า Untap Market จุดนี้ครับคือจุดแข็งของทุนเล็กที่ทุนใหญ่สู้ไม่ได้ ทำให้บริษัทขนาดเล็กมากมายในอเมริกาอยู่ได้ แถมกำไรเป็นเปอร์เซ็นต์มากกว่าบริษัทใหญ่ด้วย

จริงๆแล้ว Key ของทุนนิยมคือ ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสถานการณ์ ดาวินชี่ เคยพูดไว้ว่า "เผ่าพันธุ์ที่อยู่รอดไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่แข็งแรงที่สุด แต่เป็นเผ่าพันธุ์ที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เก่งที่สุด" หลักของทุนนิยมก็ตรงกับข้อนี้แหละครับ

ที่เมืองไทยเราต้านการเปลี่ยนแปลงเป็นทุนนิยมก็เพราะว่า เราคุ้นเคยกับการอยู่สภาพเดิมๆ เราคุ้นเคยกับการมองปัญหาเป็นปัญหา แทนที่จะมองปัญหาเป็นโอกาส ใครๆก็รู้ครับว่าประเทศไทยเมื่อไปเทียบกับประเทศที่เจริญแล้วมันก็เหมือนปลาเล็กตัวนิดเดียว แทนที่เราจะมองว่าเราได้เปรียบ เคลื่อนที่เร็ว เข้าไปหากินในช่องที่ปลาใหญ่เข้าไปไม่ได้ เรากลับมองว่าเราเป็นปลาเล็ก ออกไปข้างนอกต้องถูกกินแน่เลย ดังนั้นทางที่ดีที่สุดนอนรอเหยื่อว่ายเข้ามาในถ้ำ ไม่ออกไปหากิน คิดอย่างนี้เราก็คงอดตายก่อนจะมีเหยื่อโง่เข้ามาให้กินซิครับ

การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมชาติครับ หากคิดให้ดีสมัยรัชกาลที่ห้า ก็มีการเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ ใช่ว่าจะไม่มีใครต่อต้าน แต่สุดท้ายทุกคนก็เห็นว่าวันนั้นหากเราไม่เปลี่ยนแปลงตัวเองให้ทันสมัยเหมือนตะวันตก วันนี้เราอาจเป็นหนึ่งใน Great Britain ไปแล้วก็นะครับ
"ที่ผ่านมา นโยบายเชิงการตลาดของผู้นำนักธุรกิจ ...สนับสนุนให้เกิดกระแสการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น ด้วยการให้เครดิตคนไทย มาใช้เป็นทุน (หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้) หมดไปกับการจับจ่ายใช้สอย(จนเกินดัว) แต่ก็ทำให้เกิดภาพความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจในทุกระดับ"

เรื่องนี้ผมยกตัวอย่างแนวคิดของคนอเมริกันให้ฟังแล้วกันครับ อเมริกามีระบบอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "Credit History Report" พูดง่ายๆคือ ประวัติการเป็นหนี้ เขาทำไว้เป็นคะแนนโดยบริษัทจัดคะแนน Credit อิสระไม่ขึ้นกับรัฐบาล บริษัทเหล่านี้จะจดบันทึกประวัติการเป็นหนี้ของแต่ละบุคคลไว้ และให้คะแนนจากปริมาณเงินที่เป็นหนี้ ความสามารถในการใช้หนี้ และการตรงต่อเวลาในการใช้หนี้ คะแนนเหล่านี้มีประโยชน์เมื่อคนอเมริกันต้องการจะกู้เงินจากสถาบันการเงิน หรือจะซื้อบ้าน ซื้อรถ ผู้ให้กู้หรือผู้ขายก็จะเช็คกับบริษัทเหล่านี้ว่าคนที่มาขอกู้นั้นมีประวัติดีหรือเลวอย่างไร เหมาะสมให้กู้หรือไม่ หรือถ้าให้กู้จะคิดดอกเบี้ยอัตราเท่าไหร่ ซึ่งก็ขึ้นกับคะแนน หากคะแนนดีดอกเบี้ยก็จะถูก การอนุมัติก็จะง่าย ด้วยวิธีนี้ทำให้คนอเมริกันเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้โดยไม่จำเป็นต้องรู้จักคนในแบงค์ หรือมีนามสกุลใหญ่โต
ในทำนองเดียวกันคนไทยเราไม่มีระบบเครดิต การเข้าถึงเงินกู้จึงยากกว่าของอเมริกัน คนจะกู้ต้องมีนามสกุลดี มีคนรู้จักข้างใน ส่วนคนที่ไม่มีเส้นสายก็ต้องไปกู้เงินนอกระบบ ทำให้เกิดกลุ่มผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นปล่อยกู้แล้วคิดดอกเบี้ยแพงเกินกว่าที่กฏหมายกำหนด นโยบาย SME หรือกองทุนหมู่บ้านก็คือแนวคิดที่จะให้คนไทยระดับล่างเข้าถึงเงินกู้ในระบบได้ง่าย แต่ต้องยอมรับว่าคนไทยไร้วินัยในการใช้เงิน ภาพที่ออกมาเลยกลายเป็นว่าไปกู้มาซื้อของฟุ่มเฟือย ตรงนี้แหละที่ควรจะนำความคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ คือกู้ได้ แต่ต้องกู้ไปหมุนต่อเงิน และต้องมีวินัยในการใช้คืน
ต่อมาคือเรื่องเครดิต ที่คนไทยเป็นหนี้ เรื่องนี้มีข้อดีและข้อเสีย หากมองว่าการเป็นหนี้แล้วเป็นข้อเสียทั้งหมดเป็นการมองแง่เดียว จริงๆแล้วต้องลองมองอีกมุมว่า เพราะเป็นหนี้ทำให้คนต้องหาทางทำมาหากินให้ได้กำไรมากขึ้นมาผ่อนหนี้ เกิดความคิดธุรกิจใหม่ๆ และเกิดการจ้างงาน หากคนไทยทุกคนเก็บเงินซื้อบ้านเงินสด ผมรับรองได้ว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยล้มละลาย เพราะคนจบใหม่รับราชการรับเงิน 8,000 บาท เดือนหนึ่งเหลือเก็บ 2,000 ก็เก่งแล้ว ต้องเก็บอีกกี่ปีครับจะซึ้อบ้านราคา 200,000 บาทได้ เกือบสิบปีนะครับ ในขณะที่หากเก็บเงินไว้ส่วนหนึ่งแทนที่จะรอสิบปี พอได้สัก 20,000 บาท เอาเงินนั้นไปดาวน์บ้านแล้วกู้เงินมาผ่อน แทนที่จะต้องเสียค่าเช่าบ้านให้กับเจ้าของบ้าน โดยที่เราไม่ได้มีอะไรเป็นชื่อเราเลย สู้เอาเงินนั้นมาใส่ในบ้านที่เป็นของเราไม่ดีกว่าหรือครับ


"ขณะเดียวกัน ก็เปิดเสรีให้เงินทุนต่างชาติ เข้ามายึดครองตลาด นั้นหมายถึง การยึดครองระบบเศรษฐกิจ ผนวกกับ กลไกการบริหารประเทศที่ไร้จริยธรรม ขาดการตรวจสอบ ยินยอมให้กลุ่มทุนเข้ามามีบทบาทในอำนาจการบริหาร ทั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ สาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งควรจะเป็นทรัพย์สินของชาติ ให้ตกอยู่ในมือของกลุ่มทุน ที่มุ่งหวังผลกำไร และไม่ใสใจว่า คนส่วนใหญ่จะได้รับความเป็นธรรมหรือไม่"

เอาเรื่องการเปิดเสรี และการแปรรูปรัฐวิสหกิจ มาถกกัน เริ่มที่การเปิดเสรีก่อน การเปิกเสรีนั้นอย่างที่ผมบอกว่ามันเป็นทุนนิยม มันทำเป็นการเปิดให้แข่งขันกันได้โดยรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงน้อยที่สุดหรือไม่แทรกแซงเลย วิธีเป็นการขจัดกลุ่มทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพออกจากตลาด ที่คงเหลือก็คือผู้ที่รู้จักปรับตัวให้เข้ากับตลาดเท่านั้น ผมยกตัวอย่างให้ชัดเจนคือรัฐวิสาหกิจไทย ที่หลายคนบอกว่าเป็นสมบัติชาติ ผมถามว่าทุกวันนี้ที่มันเป็นของรัฐนี่เราจ่ายค่าไฟ ค่าน้ำ ค่ารถไฟเกินราคาที่เราควรจะจ่ายหรือเปล่า ในเมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจหลายคนทำงานแบบราชการแต่ได้เงินแบบเอกชน บิลล์เก็บเงินที่มาเรียกเก็บเรานั้นบวกค่าแรงที่จ่ายให้คนเหล่านี้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ เราจ่ายเงินซื้อสินค้าในราคาที่เกินความเป็นจริง ที่เขาทำได้เพราะเขาผูกขาดครับ เขาจะกำหนดราคาอย่างไรก็ได้ เพราะไม่มีคู่แข่ง
แต่หากแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ในรูปที่เปิดให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรีจริงๆ มีการเปิดโอกาสให้มีคู่แข่งเกิดขึ้นในตลาด ยกเลิกการผูกขาด ผู้ผลิตต้องแข่งกันการด้านราคา ต้องพยายามไม่ให้ราคาสูงเกินคู่แข่ง เป็นผลให้บริษัทเหล่านั้นไม่สามารถจ้างคนที่ไม่มีประสิทธิภาพมาทำงานได้ เราก็ไม่ต้องไปจ่ายเงินเกินจริงเลี้ยงคนเหล่านั้น
ในระบบทุนนิยมมันมีวิธีการในการควบคุมกลุ่มทุนของมันเอง ตราบใดที่รัฐเปิดเสรีไม่ให้มีการผูกขาด กลุ่มทุนนั้นมุ่งหวังกำไรเป็นเรื่องหลักนั้นแน่นอนอยู่แล้ว แต่วิธีที่ทุนนิยมใช้ในการควบคุมกลุ่มทุนคือ หลักการ Demand-Supply เมื่อกลุ่มทุนหรือฝั่ง Supply มีน้อย แต่ผู้บริโภคมีมาก มันก็ทำให้ราคาสูงตามไปด้วย แต่ด้วยระบบเปิดเสรี ยิ่งสินค้าราคาสูง มีกำไรมาก ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้มีคู่แข่งเข้ามาแข่งขันแบ่งเค้กก้อนนั้นด้วย เมื่อมีคู่แข่งก็ต้องเกิดการปรับตัว ไม่ว่าจะปรับคุณภาพสินค้าและราคา สุดท้ายมันก็จะปรับเข้าสมดุลที่ทั้ง Supply และ Demand อยู่ในระดับที่เพียงพอที่จะเอื้อประโยชน์กัน ที่เขาเรียกว่าราคาตลาดครับ
ที่คุณไวรัสกังวลเพราะไม่เคยเห็น เนื่องจากเมืองไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบช่วยเหลือจุนเจือ (หรือแบบพวกใครพวกมัน) จะเห็นได้จากเมื่อก่อนตอน ปตท. ยังอยู่ภายใต้รัฐบาล เวลาราคาน้ำมันขึ้น รัฐก็จะให้ ปตท. ตรึงราคาน้ำมัน โดยที่รัฐต้องใช้เงินมาโป๊ะให้ ปตท. สุดท้ายเราก็ไม่ได้ใช้น้ำมันถูกหรอกครับ มันภาพลวงตา เพราะจริงๆแล้วเราก็ใช้น้ำมันราคาตลาดนั่นแหละ ส่วนที่มันหายไปจากตาเรา มันไปควักจากเงินภาษีที่เราจ่ายให้รัฐนั้นเอง คนไทยเราไม่มีทางที่จะได้ใช้ของราคาตลาดได้เลย หากเรายังอยากให้รัฐวิสหกิจอยู่ภายใต้รัฐ อยากให้รัฐเข้าควบคุมเศรษฐกิจ เราก็จะถูกหลอกไปเรื่อยๆว่าได้ใช้ของถูก แต่กลับถูกขโมยเงินภาษีมาอุด แทนที่เราจะได้โรงเรียนอีกหลังแทนที่ถูกเผา ก็เลยได้เป็นโบนัสพนักงานไร้คุณภาพแทน
ที่กลุ่มทุนเข้าไปกำหนดราคาสินค้า สวัสดิการ หรือแทรกแซงท้องถิ่นได้ เพราะมันไม่เปิดเสรีจริงๆครับ มันยังเป็นระบบเศรษฐกิจแบบช่วยเหลือจุนเจืออยู่ครับ

ประเทศอย่างอเมริกานั้นเป็นประเทศที่มีความเจริญด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างสูง แต่ไม่ได้ประสบปัญหาสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมตกต่ำอย่างที่เข้าใจกันนะครับ

เรื่องสภาพแวดล้อมนั้นอเมริกาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีต้นทุนทางด้านสูงแวดล้อมสูงแบบที่ประเทศไทยเราไม่ติดฝุ่น มาตราฐานน้ำทิ้งโรงงานกระดาษในจอร์เจียที่ผมเคยไปมา ต้องอยู่ในระดับที่คนดื่มได้ถึงจะทิ้งลงแม่น้ำได้ ราคากระดาษที่นี่เลยไม่ถูก เพราะต้องบวกค่าบำบัดสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย ในขณะที่ประเทศไทยเมืองพอเพียง โรงงานทำแบตเตอรี่เล่นทิ้งน้ำเสียผสมตะกั่วลงแม่น้ำไม่มีการบำบัด ชาวนาทำนาแล้วปล่อยน้ำในนาที่ผสมยาฆ่าแมลงลงในแหล่งน้ำอย่างไม่มีมาตราฐานควบคุมใดๆ ประเทศไหนกันแน่ครับที่อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม

ส่วนเรื่องสภาพสังคมนั้นอิทธิพลส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากความเจริญทางเทคโนโลยีหรือทางเศรษฐกิจ แต่อยู่ที่การอบรมสั่งสอนของครอบครัวต่างหากที่เป็นจุดหลัก คนบ้านเราเลี้ยงลูกกันไม่เป็น พอมันออกมาไม่ดีก็โทษสังคม โทษโรงเรียน โทษรัฐบาล โทษต่างชาติ โทษความเจริญ แต่ผมไม่เคยเห็นใครออกมาพูดเลยครับว่ามันเป็นความผิดของตัวพ่อแม่เองที่เลี้ยงดูออกมาไม่ดี จริงๆแล้วเด็กจะโตออกมาอย่างไร คนที่ต้องรับผิดชอบมากที่สุดคือผู้ปกครองนะครับ ไม่ใช่สังคม ไม่ใช่หน้าที่ของสังคมที่ต้องมารับภาระเลี้ยงดูเด็กทุกคนให้เป็นคนดี เราต้องเริ่มจากการยึนบนลำแข้งเราก่อน อยากให้สังคมมันดี ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน แล้วสอนลูกหลาน อย่างนี้สิครับพอเพียงของแท้ ไม่ใช่พูดกันเฉยๆ

จากคุณ : BoydKansasCity//boydkc.bloggang.com/- [ 5 ม.ค. 50 13:11:19 A:24.163.236.226 X: ]

ในมุมของลัทธิเศรษฐกิจการเมือง

มีแนวคิดหนึ่งที่ให้มนุษย์เชื่อ และยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ทะเยอะทะยานจนเกินตัว ยอมรับระบบที่เป็นอยู่ ไม่เห่อเหิมฟุ้งเฟ้อ ไม่พยายามเอาชนะสภาพเศรษฐกิจการเมืองและธรรมชาติ
แนวคิดนี้เป็นแนวคิดในยุโรปสมัยกลางที่ยกขึ้นอ้างความชอบธรรมที่จะปกครองประชาชน
และเพื่อชี้ว่าระบบเศรษฐกิจการเมืองศักดินาที่ดำรงอยู่ในยุคนั้นเป็นระบบที่ชอบธรรมแล้ว
ในยุคนั้นจะให้เชื่อในศาสนาคริสต์ ให้เชื่อในพระเจ้า
ไม่เชื่อในศักยภาพของมนุษย์
ผลคือมนุษย์จึงไม่คิดเปลี่ยนแปลงระบบใดๆ และทำให้ระบบศักดินาในยุโรปได้รับการยอมรับและคงอยู่นับพันปี

มีแนวคิดที่ตรงข้ามกับแนวคิดข้างต้น คือ แนวคิดมนุษยนิยม ที่สอนให้เชื่อในความสามารถของมนุษย์เอง
สิ่งทั้งหลายจะเป็นมาอย่างไรและจะเป็นไปอย่างไร มนุษย์เป็นผู้กำหนด

(อ้างอิงจากหนังสือ "ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง" ของ ศ.ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา)

จากคุณ : PDF //apang.bloggang.com/- [ 6 ม.ค. 50 15:41:18 A:161.200.255.162 X: ]

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นส่วนย่อยภายใต้ ระบบเศรษฐกิจใดเศรษฐกิจหนึ่ง ถ้าเรายอมรับความจริงข้อนี้เสีย ทุกคนจะหยุดหาเหตุผลมาเข้าข้างตนเอง ทำควบคู่มันไปทั้งสองแบบนั้นแหละ จะเป็นแบบทุนนิยมอย่างพอเพียง หรือสังคมนิยมอย่างเพียงพอ

ท้าฟ้าท้าดินได้เลย ต่อให้เทวดามาทำให้ทั้งประเทศอยู่แบบพอเพียง ก็ไม่มีปัญหาทำได้ เพราะเทวดายังมีกิเลส และ 1 ใน 3 กิเลสคือ ความไม่พอ ความโลภ

ของดี ๆ จะทิ้งไปไย ในเมื่อดีทั้งสอง คนฉลาดก็ย่อมนำประยุกต์ ประสานเป็นหนึ่งเดียว หรือจะเรียกให้เท่ว่า ทุนนิยมภายใต้คุณธรรม
เท่ไหม ระบบใหม่ของโลก

จากคุณ : แสนแมน - [ 6 ม.ค. 50 17:19:12 A:124.121.57.74 X: ]




 

Create Date : 08 มกราคม 2550    
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 18:31:37 น.
Counter : 441 Pageviews.  

Black Tuesdayหายนะแห่งประวัติศาสตร์ของตลาดทุนไทย

ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับที่ 51/2549

เรื่อง มาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น

นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงว่า ตามที่ ธปท. ได้ออก มาตรการดูแลเงินทุนนำเข้าระยะสั้นมาเป็นลำดับ เพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท และดูแลเงินบาท ไม่ให้ผันผวนเกินกว่าพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ นั้น

ในช่วงที่ผ่านมา พบว่ายังคงมีเงินทุนนำเข้าระยะสั้นเพื่อเก็งกำไรในค่าเงินบาทในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้ค่าเงินบาทยังคงผันผวนและแข็งค่าขึ้นเกินกว่าพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ จึงเห็นควรมีมาตรการ เพิ่มเติมโดยกำหนดให้สถาบันการเงินที่รับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาท ต้องกันเงินสำรองเป็นเงินตราต่างประเทศไว้จำนวนร้อยละ 30 ของเงินตราต่างประเทศดังกล่าว ส่วนที่เหลือร้อยละ 70 ให้รับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทให้แก่ลูกค้า ยกเว้นเงินตราต่างประเทศที่รับซื้อ หรือแลกเปลี่ยนเป็น เงินบาทที่ได้รับจากค่าสินค้า บริการ หรือเงินที่บุคคลหรือนิติบุคคลไทยได้รับคืนจากการลงทุนในต่างประเทศ ไม่ต้องกันเงินไว้ตามมาตรการนี้ โดยมีรายละเอียดและวิธีปฏิบัติดังนี้

1. ลูกค้าที่สถาบันการเงินกันเงินไว้จะขอคืนเงินได้ เมื่อครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ถูกกันเงิน โดยลูกค้าต้องแสดงเอกสารหลักฐานให้ชัดเจนว่าเงินที่ตนนำเข้ามาลงทุนนั้นอยู่ในประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี

2. เมื่อสถาบันการเงินพิสูจน์และรับรองแล้วว่าลูกค้ารายนั้นมีการนำเข้าเงินทุนและอยู่ในประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปีแล้ว ให้แจ้ง ธปท. เพื่อดำเนินการส่งเงินให้สถาบันการเงินคืนแก่ลูกค้าต่อไป

3. ลูกค้ารายใดนำเงินลงทุนกลับคืนก่อนครบระยะเวลา 1 ปี จะได้รับเงินคืนเพียง 2 ใน 3 ของเงินที่กันไว้

4. ธุรกรรมเงินตราต่างประเทศที่สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามสัญญาการรับซื้อหรือ แลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทที่ได้ตกลงก่อนวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องกันเงินตราต่างประเทศดังกล่าว

5. สำหรับธุรกรรมเงินตราต่างประเทศที่เป็นการลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment) ที่เป็นส่วนของทุน หรือเงินโอน ให้ลูกค้าผู้ถูกกันเงินยื่นคำร้องผ่านสถาบันการเงินพร้อมเอกสารหลักฐาน เมื่อสถาบันการเงินพิสูจน์และรับรองความถูกต้อง และ ธปท. เห็นสมควร จะคืนเงินดังกล่าวแก่ลูกค้าโดยเร็ว

6. เมื่อสถาบันการเงินกันเงินดังกล่าวแล้ว ให้นำส่งแก่ ธปท. ทุกวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

7. ผลประโยชน์ที่ ธปท. ได้จากมาตรการนี้จะดูแลเพื่อใช้เป็นประโยชน์ของรัฐและสาธารณชนต่อไป

มาตรการที่กำหนดให้ต้องดำรงเงินสำรองเงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศ ที่ออกเพิ่มเติมในวันนี้ เคยใช้มาแล้วในหลายประเทศในภาวะที่จำเป็น เพื่อควบคุมการนำเข้าเงินทุนระยะสั้น และ ธปท. เห็นว่า เป็นมาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท ธปท. จะได้ติดตาม และประเมินผลของมาตรการอย่างใกล้ชิดต่อไป

ธนาคารแห่งประเทศไทย
18 ธันวาคม 2549

ข้อมูลเพิ่มเติม : ทีมกลยุทธ์การแลกเปลี่ยนเงิน โทร. 0-2356-7345-6 E-mail: KleddaoS@bot.or.th

//www.bot.or.th/bothomepage/General/PressReleasesAndSpeeches/PressReleases/News2549/Thai/n5149t.htm

ตัดแปะ ที่มาตลาดดิ่งเหว

วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2549 ครบรอบ3เดือนของการปฏิวัติรัฐประหารโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) กับนโยบายสกัดค่าเงินบาทแข็งแบบหักดิบของท่านรัฐมนตรีคลัง มรว.ปรีดียาธร เทวกุล

ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยทำสถิติตกต่ำมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ภายในวันเดียว ตกถึง108จุด กับปริมาณซื้อเทขายถึง71000กว่าล้านบาท ต่างชาติเทขายสุทธิถึง20000กว่าล้าน
เรียกว่าเป็นปรากฏการณ์อังคารทมิฬ(Black Tuesday)ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะได้มาเห็นกับตลาดหุ้นไทย ในเมื่อตลาดหุ้นสหรัฐก็เคยมีBlack Mondayมาแล้ว

แม้ว่าผมจะไม่ได้เล่นหุ้น แต่ผมจะจดจำวันนี้ไปจนตายเลยครับ ผมเดาว่าโอกาสที่หุ้นจะReboundปรับตัวขึ้น หลังจากที่แบ๊งค์ชาติประกาศยกเลิกหักเงินสำรอง30%(ยกเว้นเงินลงทุนต่างชาติในตราสารหนี้) ภายในไม่กี่วันเป็นไปได้ยากมากครับ ต่างชาติหมดความเชื่อถือศรัทธาในตลาดหุ้นไทยไปแล้วจะกู้คืนมานี่ยากครับ ผมเดาว่าต่างชาติจะกลับมาอีกครั้งก็หลังจากที่เลือกตั้งใหม่ และตั้งรัฐบาลเสร็จเรียบร้อยแล้วโน่นต่างหากครับ




 

Create Date : 19 ธันวาคม 2549    
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 18:31:55 น.
Counter : 753 Pageviews.  

เบื้องลึกการแปรรูปปตท.

กรณีศึกษา:การจัดการทางการเงินหลังการแปรรูป ปตท.


การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้แปรรูปจากการเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติการ ปิโตรเลียม มาเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยการแปลงสภาพภายใต้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ (พ.ร.บ.ทุนฯ) และกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปลายปี 2544 โดยยังคงมีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และในปี 2545 ซึ่งเป็นปีแรกของการเปลี่ยนระบบจากการจ่ายเงินนำส่งเข้าสู่รัฐ เป็นการจ่ายภาษีเงินได้นิติ บุคคล และเงินปันผล ปตท.ได้จ่ายเงินให้รัฐเป็นจำนวน 17,240 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าปี 2544 ที่มีการนำเงินส่งรัฐ 11,269 ล้านบาท และในครึ่งปีแรกของปี 2548 นี้ ปตท. และบริษัทในเครือได้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล และเงินปันผล เป็นเงิน 25,911 ล้านบาท

ทำไม หลังแปรรูป ปตท. มีผลประกอบการแบบก้าวกระโดด ทั้งๆที่มีผู้บริหาร และพนักงานคณะเดิม

หาก ปตท. ทำเพียงจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนและระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เท่านั้น โดยยังบริหารงานอย่างเดิมๆ ก็คงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่กว่า ปตท. และบริษัทในเครือจะประสบ ความสำเร็จได้มากขนาดนี้ ต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายประการ ต้องเป็นองค์กรที่ดี มีผู้บริหารที่ดีมีวิสัยทัศน์ บุคลากรในบริษัทต้องมีคุณภาพ ต้องดำเนินงานอย่างมีความเที่ยงธรรม สิ่งสำคัญที่สุดต้องมีความคล่องตัวและยืดหยุ่นรู้จักปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ความจริงแล้ว การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ในปี 2540 เป็นแรงกระตุ้นทำให้ ปตท. และบริษัทในเครือต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างทางธุรกิจให้มีความเข้มแข็งในระยะยาว พร้อมรับกับสถานการณ์ทุกรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยการแปรรูปเป็นคำตอบหนึ่งที่ ทำให้ ปตท.เข็มแข็งในระยะยาว ดังตัวอย่างในปี 2536 ที่ปตท. ได้นำ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด มหาชน (ปตท.สผ.) ซึ่งเป็นบริษัทแรกในเครือ ปตท. เข้ากระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะธุรกิจของ ปตท.สผ. ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก ซึ่งในขณะนั้น บริษัทแม่ก็ คือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถให้เงินสนับสนุนในจำนวนจำกัด จึงจำเป็นต้องหาวิธีการระดมทุน แบบอื่นๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากเงินทุนจากบริษัทแม่ ดังนั้น การเข้ากระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ของ ปตท.สผ. จึงเป็นทางหนึ่งในการระดมทุนเพื่อให้มีเงินมากพอที่จะซื้อทรัพย์สินได้ใหญ่ขึ้น จนวันนี้ ปตท.สผ. มีทรัพย์สินมูลค่ามหาศาล ทำให้มีศักยภาพเพียงพอในการเข้าไปลงทุนในสัมปทาน แหล่งก๊าซธรรมชาติ และ น้ำมันทั้งในและต่างประเทศ เช่น แหล่ง S1 แหล่งบงกช แหล่งไพลิน แหล่งยาดานา แหล่งเยตากุน เป็นต้น

วันนั้นถ้า ปตท.ไม่ทำให้ ปตท.สผ. มีเงินทุนเพื่อไปลงทุนได้ ปตท.สผ. คงมีสัมปทาน เพียงแหล่ง S1และแหล่งอื่นอีกเล็กน้อย จะไม่มีแหล่งบงกช แหล่งไพลิน แหล่งยาดานา แหล่งเยตากุน รวมถึง แหล่งเจดีเอ เพราะฉะนั้นหาก ปตท.สผ.ไม่ได้แปรรูป และ ปตท.เป็นเจ้าของ 100% จะมีมูลค่าเพียง 5 หมื่นล้านบาท แต่วันนี้ ปตท. เป็นเจ้าของ 60 % ของมูลค่าบริษัทที่ 3 แสนล้านบาท พร้อมกับ ศักยภาพ ในการหาแหล่งพลังงานได้มากขึ้น

การแก้ปัญหาบริษัทในเครือ หลังระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ

หลังปี 2540 ทุกบริษัทประสบปัญหาขาดทุน และภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น เพราะค่าเงินบาทตกต่ำลง ทำให้ภาระหนี้เมื่อคิดเป็นเงินบาทเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันราคาผลิตภัณฑ์อยู่ในช่วงขาลง หลายบริษัทอยู่ในขั้นไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้ ปตท.เองก็อยู่ในภาวะตึงตัว อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในอัตรา 5:1 แต่ประโยชน์ที่ได้ จากการแปรรูป และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คือ ทำให้ ปตท. ได้รับเงินจากการขายหุ้นเพิ่มทุนประมาณ 26,000 ล้านบาท โดย ปตท. ได้นำมาลดหนี้สินและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนบางส่วน ซึ่งมีผลให้ โครงสร้างทางการเงินของ ปตท. แข็งแรงขึ้น มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนลดลงมาอยู่ที่ระดับ 2 :1 .ในระยะแรก และ มีเงินสดเพียงพอ สำหรับให้ความช่วยเหลือบริษัทในเครือที่ประสบปัญหาทางการเงิน นอกจากนั้นปตท. ยังมีความคล่องตัวเพิ่มขึ้น สามารถตัดสินใจเข้าลงทุน เข้าบริหารจัดการได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งดำเนินการเจรจาปรับลดหนี้ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างทางการเงิน และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจของบริษัทในเครือที่ประสบปัญหาจนกลับมาแข็งแรง เป็นบริษัทที่มีผลดำเนินงานที่ดี และสามารถขยายกิจการเพิ่มเติม ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าว ไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หาก ปตท.ไม่ได้แปรรูป และระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์

เริ่มจากบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เดิมมีทุนจดทะเบียนอยู่ 20 ล้านบาท แต่มีหนี้อยู่เกือบแสนล้านบาท เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ส่งผลให้ไทยออยล์ประสบปัญหาทางการเงิน เมื่อรวมกับค่าการกลั่นในขณะนั้นซึ่งอยู่ที่ระดับต่ำมากคือประมาณ 2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล รายได้จากการดำเนินงานนำมาหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดเหลือจ่ายดอกเบี้ยได้น้อยมาก จึงมีความจำเป็นต้องทำการปรับโครงสร้างหนี้

วิธีปรับโครงสร้างหนี้ของไทยออยล์ ที่มีหนี้ทั้งหมดประมาณ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปตท.ได้เจรจาขอลดหนี้ลงประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีเงื่อนไขว่า ปตท.ต้องเพิ่มทุนในไทยออยล์ เป็นเงิน 250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 11,000 ล้านบาท) และส่วนของเจ้าหนี้ ให้แปลงหนี้เป็นทุน 250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่ากับลดหนี้ได้ 900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้เหลือหนี้ ประมาณ 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ นำมาจัดโครงสร้างในการชำระหนี้ใหม่ โดยกำหนดให้มีระยะเวลาในการชำระหนี้มากกว่า 10 ปี อัตราดอกเบี้ยจ่ายก็จะจ่ายในช่วงปีแรกน้อย และเพิ่มขึ้นในช่วงปีหลัง

การปรับโครงสร้างหนี้ของ ไทยออยล์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ร่วมมือกันทั้งหมด ทั้งผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ และพนักงานในบริษัท ทำควบคู่กันไป โดยในส่วนของบริษัทเองมีการให้พนักงานลาออกโดยสมัครใจ ซึ่งมีคนสมัครเข้าโครงการ 200 กว่าคน พนักงานส่วนที่เหลือไม่ขึ้นเงินเดือน 3 ปี มีลาออกไปบางส่วน ขายธุรกิจ
บางอย่าง ส่วนฝ่ายบริหารเปลี่ยนรถประจำตำแหน่งจากเบนซ์มาเป็นวอลโว่ ผู้บริหารระดับรองลงมานั่งโตโยต้า ส่วนระดับล่างไม่มี มีการขายธุรกิจเรือออกไปได้เงิน ประมาณ 10 กว่าล้านเหรียญฯ และขายหุ้นโรงไฟฟ้าออกไป 25%

จน ปี 2546 ไทยออยล์ เริ่มมีกำไร 6,750 ล้านบาท และในครึ่งปีแรกของปีนี้ มีกำไร 7,222 ล้านบาท ถ้า ปตท. ไม่มีกำลังเข้าไปปรับโครงสร้างในขณะนั้น ไทยออยล์วันนี้จะกลายเป็นของเจ้าหนี้ ซึ่งอาจจะมีการขายออกไปให้ต่างชาติ เพราะผู้ที่อยู่ในธุรกิจการเงินไม่ต้องการที่จะมาลงทุนในธุรกิจที่ตัวเองไม่ถนัด วันนี้โรงกลั่นไทยออยล์ก็อาจจะกลายเป็นของต่างชาติ

สำหรับการดำเนินการกับโรงกลั่นน้ำมันระยอง ( RRC) ซึ่ง ปตท. ถือหุ้นอยู่ 36% บริษัทขาดทุนสะสม มาตลอดจากวิกฤตเศรษฐกิจ เพราะความต้องการใช้น้ำมันลดลง ค่าการกลั่นต่ำมาก ทำให้ประสบปัญหาการเงินจากภาระหนี้สูง โดยมีหนี้อยู่ 1,335 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปตท. ใช้วิธีในการเจรจากับเจ้าหนี้ ทำให้ลดหนี้ได้ประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และใช้เงิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 200 ล้านบาท ในการซื้อหุ้นอีก 64% จาก บริษัท เชลล์ ทำให้ ปตท. มีหุ้นในโรงกลั่นระยอง 100% ซึ่งถือเป็นโชคดีเพราะหลังจากที่ ปตท. เป็นเจ้าของโรงกลั่นระยอง ในครึ่งปีแรกค่าการกลั่นดีขึ้น ทำให้มีกำไรถึง 11,000 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ได้มีการรวมกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ( ประมาณ 7,700 ล้านบาท ) ด้วยแล้ว และโดยที่ค่าการกลั่นดีขึ้น ส่งผลให้บริษัทมีกำไรมากขึ้น จึงสามารถนำกำไรส่วนนี้ไปทยอยคืนหนี้ของบริษัท ทำให้วันนี้ โรงกลั่นระยองมีภาระหนี้ลดลงจาก 1,135 ล้านเหรียญฯ เหลือเพียง 600 กว่าล้านเหรียญสหรัฐฯ

ทางด้านกรณีของ บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ทีโอซี และ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ เอทีซี ใช้วิธีเดียวกันในการแก้ปัญหาโครงสร้างเงินทุนคือ ทำการลดทุน ลดหุ้นบริษัทเพื่อล้างขาดทุนสะสม เพื่อให้บริษัทมีความน่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากสามารถจ่ายเงินปันผล โดยกรณี ทีโอซี ได้ทำการเพิ่มทุนใหม่ในภายหลัง และเข้ากระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อนำเงินที่ได้จากการระดมทุนมาใช้ในการชำระหนี้ และลงทุนในการขยายงานของบริษัท ซึ่งปัญหาของ ทีโอซี และ เอทีซี ในด้านปฏิบัติการจะคล้ายกันคือ กำลังการผลิตของโรงงานที่มีอยู่ไม่
อยู่ในระดับโลก ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าผู้ผลิตปิโตรเคมีรายอื่น เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจึงไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายคืนเงินต้น แต่มีความสามารถเพียงการจ่ายค่าดอกเบี้ยเท่านั้น จึงต้องมีการขอยืดระยะเวลาในการชำระหนี้ออกไป และจะต้องมีการลดต้นทุนการผลิต โดยในส่วนของ ทีโอซี ต้องมีการขยายกำลังการผลิตปิโตรเคมีขั้นต้น (เอทธิลีน) เพิ่มเติมอีก 3 แสนตันต่อปี จากเดิมที่มีกำลังการผลิตอยู่แล้ว 5.75 แสนตันต่อปี โดยโรงงานส่วนขยายนี้จะต้องมีการลงทุนเพิ่มอีก 140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่จะช่วยทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลงมา อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ ปตท. จึงได้ตัดสินใจที่จะใส่เงินลงไปใน ทีโอซี อีก 70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 2,800 ล้านบาท) ส่วนอีก 70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทีโอซี กู้จากสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ปตท. ยังให้เงินหมุนเวียนเพื่อใช้ในการดำเนินงานของ ทีโอซี อีก 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ( ประมาณ 4,000 ล้านบาท ) โดยในเดือนธันวาคม 2547 ที่ผ่านมา โรงงานก็ได้ก่อสร้างเสร็จ แม้ว่าราคาปิโตรเคมีจะตกลงในช่วงปีนี้ แต่ด้วย
ต้นทุนการผลิตที่ลดลงจากการขยายกำลังการผลิตเพิ่ม ทำให้กำไรครึ่งปีนี้ของ ทีโอซี เพิ่มขึ้นกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว แต่หากไม่ขยายกำลังการผลิตเลยกำไรในปีนี้จะน้อยกว่าปีที่แล้ว

สำหรับในส่วนของ เอทีซี ก็ลงทุนขยายโรงงาน (Debottleneck) ซึ่ง ปตท.คาดการณ์ว่า ราคาผลิตภัณฑ์น่าจะดีขึ้น และจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 1-2 ปี ปตท. ได้ให้เงินทุนหมุนเวียน จำนวน 90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 3,600 ล้านบาท ) ซึ่งก็เป็นไปตามคาด นอกจากนั้น ปตท. ได้เข้ามาช่วยเจรจาปรับ
โครงสร้างหนี้ ทำให้ฐานะการเงินของ เอทีซี เกิดความเข้มแข็ง กอปรกับผลดำเนินงานที่ดีขึ้น เอทีซี จึงสามารถเจรจาหาเงินกู้มาลงทุนในโรงอะโรเมติกส์ โรงที่ 2 เองได้

สรุปภาพรวม ตั้งแต่ แปรรูป ปตท.มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งและใช้ศักยภาพที่มีเพื่อการลงทุนทั้งในบริษัทในเครือ และในธุรกิจของ ปตท. เอง ( สร้างโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 5 / เพิ่มประสิทธิภาพการส่งก๊าซฯ ของระบบท่อส่งก๊าซฯ เดิม และเร่งก่อสร้างท่อส่งก๊าซฯ สายประธานเส้นที่ 3 ฯลฯ ) รวมทั้งการปรับโครงสร้างการบริหารภายในของ ปตท. เอง จนทำให้ในปีที่ผ่านมา และ ในปีนี้เป็นปีที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จอย่างชัดเจนของ ปตท. ในรูปของผลการดำเนินงาน โดยจะเห็นได้ว่ากำไรส่วนใหญ่ของ ปตท. มาจากส่วนแบ่งเงินกำไรจากบริษัทในเครือ ที่เป็นผลจากเม็ดเงินที่ ปตท. เพิ่มการลงทุนในบริษัทในเครือทั้งสายการกลั่นน้ำมัน และปิโตรเคมี ทำให้บริษัทในเครือที่ประสบปัญหาตั้งแต่ช่วงปี 2543 และ 2544 สามารถพลิกฟื้นธุรกิจกลับมาได้ในปัจจุบัน และส่งผลกำไรจำนวนมากกลับมาให้กับ ปตท. ในวันนี้

นอกจากนี้ ในส่วนของธุรกิจก๊าซธรรมชาติที่เป็นธุรกิจหลักของ ปตท.เอง ก็มีกำไรเพิ่มขึ้น เป็นเพราะมีการขายผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น (สินค้าในธุรกิจนี้ คือ ก๊าซธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ) เนื่องจาก ในช่วง 3-4 ปีหลังแปรรูป ปตท.ได้ลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มศักยภาพของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติแห่งที่ 5 ซึ่งใหญ่ที่สุด
ในประเทศไทยแล้วเสร็จเมื่อปลายปี 2547 ทำให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์จากโรงแยกก๊าซฯออกมาขายได้มากขึ้นถึง เกือบ 50% และนำก๊าซธรรมชาติจากหลุมขึ้นมาขายเพิ่มขึ้นอีก 20%

ถ้า ปตท. ไม่แปรรูปวันนี้รัฐบาลก็เป็นเจ้าของ ปตท. 100% แต่ธุรกิจนั้นอาจจะกำไร 2-3 หมื่นล้านบาท แต่วันนี้ รัฐ / กองทุนของคนไทย ถือหุ้นกว่า 70% ปตท. และบริษัทในเครือมีกำไร 7-8 หมื่นล้านบาท จะเห็นว่าเมื่อแปรรูปแล้ว ปตท. ไม่ได้อยู่เฉยๆ แต่ทำหลายอย่างให้บริษัทในเครือเจริญเติบโตขึ้นด้วย และที่สำคัญการปรับโครงสร้างหนี้ของไทยออยล์ และ RRC มีผลทำให้หนี้ของประเทศลดลงด้วย ในทางกลับกัน ถ้าไม่ได้ทำ หรือไม่มีกำลังที่จะทำ นอกจากไม่มีวันนี้วันที่รายได้ของทุกบริษัทดีขึ้น และกลับมาสู่ ปตท. แล้ว แต่ธุรกิจเหล่านั้นก็อาจจะไปอยู่ในมือธนาคารต่างประเทศ และจะขายต่อให้ใครก็ไม่มีใครรู้

ปัจจุบัน ปตท.ดำเนินธุรกิจ ในกรอบของกฎระเบียบเดิมเหมือนกับบริษัทน้ำมันอื่นๆ เหมือนกับโรงกลั่นแห่งอื่นๆ ของเอกชน และเหมือนกับโรงงานปิโตรเคมีของเอกชนอื่นๆ ทุกประการ ดังนั้น การแปรรูปจึงไม่ใช่เหตุผลเดียวที่ทำให้ ปตท.กลายเป็นบริษัทชั้นนำของประเทศ แต่ต้องประกอบด้วยหลายปัจจัย อาทิ ความยืดหยุ่นในการทำงาน ระบบบริหารงานที่เอื้อต่อการดำเนินงาน พนักงานต้องพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถมองการลงทุนในระยะยาวได้ การลงทุนจะต้องลงทุนอย่างระมัดระวัง รอบคอบ และมีการศึกษาอย่างดี บางครั้งจะต้องมีการคิดนอกกรอบ แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือจะต้องมีความแข็งแกร่งทางด้านฐานะการเงิน และ ท้ายสุดหากต้องการซื้อคืนก็สามารถทำได้ และไม่ว่าก่อน หรือหลังการแปรรูป ความเข้มแข็งของ ปตท. ทั้งที่ผ่านมาและในอนาคตต้องเป็นไปเพื่อความมั่นคงทางพลังงานและเศรษฐกิจของประเทศ โดยยืนอยู่บนการทำธุรกิจที่สมเหตุสมผล และเป็นธรรม

แก้ไขเมื่อ 08 เม.ย. 49 17:12:32

จากคุณ : Gump - [ 8 เม.ย. 49 17:11:06 ]


ประชาชาติธุรกิจ

วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3822 (3022)

ปั๊มย่อยสุดทนครึ่งปีปิดตัว2,000แห่ง "ยักษ์ใหญ่น้ำมัน"ได้ทีคุมเองเบ็ดเสร็จ

กรมธุรกิจพลังงานเผยไตรมาส 2/49 ปั๊มน้ำมันปิดตัวเกือบ 2,000 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นปั๊มน้ำมันอิสระ ปิดแล้วกว่า 1,600 แห่ง สาเหตุมาจากขาดสภาพคล่อง ค่าการตลาดต่อลิตรแทบไม่เหลือ ขณะที่ ปตท.ยังคงครองแชมป์มีจำนวนสถานีบริการน้ำมันมากที่สุดเหมือนเดิม

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานจำนวนสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศจากการจัดเก็บสถิติของกรมธุรกิจพลังงาน เข้ามาว่า ตัวเลข ณ ไตรมาส 2/2549 มีจำนวนสถานีบริการน้ำมัน 17,351 แห่ง ลดลงจากไตรมาส 1/2549 ที่มี 18,993 แห่ง หรือลดลง 1,642 แห่ง โดยสถานีบริการน้ำมันที่หายไปนั้นส่วนใหญ่เป็นสถานีบริการน้ำมันอิสระที่ครอบคลุมตั้งแต่ปั๊มหลอดไปจนถึงสถานีบริการน้ำมันแบรนด์ท้องถิ่นเป็นของตัวเองกระจายอยู่ทั่วประเทศส่วนสถานีบริการน้ำมันของผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปตท.ยังคงครองแชมป์มีจำนวนสถานีบริการน้ำมันมากเป็นอันดับ 1 กล่าวคือมีถึง 1,248 แห่ง และเมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 1/2549 กับไตรมาสที่ 4/2548 จำนวนสถานีบริการน้ำมันของ ปตท.ลดลงไปเพียง 29 แห่งเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งในระบบค้าน้ำมันของ ปตท.ที่มีทั้ง โรงกลั่นน้ำมัน และจำนวนสถานีบริการที่ยังไม่มีผู้ค้าน้ำมันรายใดแซงหน้าได้

ขณะที่จำนวนสถานีบริการน้ำมันของบริษัทเชลล์-เอสโซ่-เชฟรอน (คาลเท็กซ์เดิม) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนสถานีบริการที่เป็นนัยสำคัญ และเป็นที่น่าสังเกตว่า สถานีบริการน้ำมันเจ็ท

(คอนอโค) ที่มีข่าวออกมาตลอดว่า จะขายสถานีบริการน้ำมันนั้น ล่าสุดตัวเลขสถานีบริการน้ำมันเจ็ทยังคงอยู่ที่ 147 แห่ง หรือเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4/2548 จำนวน 2 แห่ง ในจำนวนนี้สถานีบริการน้ำมันเจ็ทมีจำนวนปั๊มหนาแน่นในบริเวณภาคตะวันออก (34 แห่ง) กับจังหวัดรอบนอกกรุงเทพฯ (31 แห่ง) ส่วนในกรุงเทพฯมีปั๊มน้ำมันเจ็ททั้งหมด 22 แห่ง

สำหรับจำนวนสถานีบริการน้ำมันอิสระที่ลดลง 1,621 แห่ง ระหว่างไตรมาส 1/2549 กับ 2/2549 นั้น มีรายงานข่าวจากวงการค้าน้ำมันเข้ามาว่า ปั๊มที่ปิดไปส่วนใหญ่เป็นปั๊มหลอด มีสาเหตุมาจาก 1) ขาดสภาพคล่อง 2) การจำหน่ายน้ำมันผ่านปั๊มหลอด หรือปั๊มแบรนด์อิสระท้องถิ่นแทบจะไม่เหลือ "ค่าการตลาด" เนื่องจาก จ็อบเบอร์ผู้ซัพพลายน้ำมันให้ รับเนื้อน้ำมันจากผู้ค้าน้ำมันมาแพง 3) จ็อบเบอร์ หรือผู้ค้าน้ำมัน ตัด "เครดิต" ที่ให้ปั๊มแบรนด์อิสระ

"ยิ่งมาเจอกับภาวะราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นสูงอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ ปั๊มอิสระเหล่านี้อยู่ไม่ได้ น้ำมันที่รับมาจำหน่ายก็แทบจะไม่มีส่วนต่างกับปั๊มใหญ่ๆ ผู้บริโภคก็ใช้น้ำมันลดลง ส่งผลให้ปั๊มอิสระอยู่ไม่ได้ ต้องทยอยปิดกิจการลง" แหล่งข่าวกล่าว

นายพานิช พงศ์พิโรดม อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตัวเลขสถานีบริการน้ำมันที่ลดลงนั้นเป็นผลมาจากราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นและผันผวนตลอดในทุกๆ สัปดาห์ ประกอบกับ "ค่าการตลาด" ที่สถานีบริการน้ำมันได้รับนั้นต่ำมาก เฉพาะค่าการตลาดน้ำมันทุกประเภทเฉลี่ยอยู่ที่ 0-35 สตางค์/ลิตรเท่านั้น ในขณะที่ยอดขายต่อวันต่อสถานีมีอยู่เพียงไม่เกิน 10,000 ลิตร/วัน ทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องปิดตัวลง แต่ไม่ใช่เรื่องผิดปกติภายใต้สถานการณ์น้ำมันแบบนี้

นอกจากเหตุผลในเรื่องของค่าการตลาดกับการขาดสภาพคล่อง แล้ว บรรดาเจ้าของพื้นที่ตั้งสถานีบริการในเขตเมืองที่ค่อนข้างมีการแข่งขันสูง เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ต้องการปิดสถานีบริการเพื่อพัฒนาพื้นที่ไปทำธุรกิจประเภทอื่นที่ได้กำไรมากกว่าการจำหน่ายน้ำมัน รวมทั้งยังมีสถานีบริการน้ำมันบางส่วนที่ไม่ดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมรายปีต่อกรมธุรกิจพลังงานด้วย

โดยตัวเลขจำนวนสถานีบริการน้ำมันที่ชำระค่าธรรมเนียมรายปี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549 ล่าสุดมีจำนวน 14,176 แห่ง และในจำนวนนี้เองก็ไม่ทราบว่ายังเปิดจำหน่ายน้ำมันหรือให้บริการอยู่หรือไม่ ขณะนี้ได้เร่งให้กรมธุรกิจพลังงาน

ในส่วนภูมิภาคออกสำรวจจำนวนสถานีบริการน้ำมันที่ยังเปิดอยู่หรือปิดกิจการไปแล้วโดยละเอียดอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม สถานีบริการน้ำมันที่ปิดตัวลงส่วนใหญ่จะเป็น สถานีบริการอิสระมากที่สุด เมื่อเทียบกับผู้ประกอบการที่เป็นดีลเลอร์ให้กับผู้ค้าน้ำมันอย่างบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือรายอื่นๆ เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มีความเข้มแข็งเรื่องส่วนแบ่งการตลาดและมีการประกันการจำหน่ายให้

นายพานิชกล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ จำนวนสถานีบริการน้ำมันไม่น่าจะลดลงมากนัก เนื่องจากจำนวนปั๊มที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของพื้นที่ หรือ เป็น ดีลเลอร์ให้กับผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ หรือเป็นปั๊มที่บริษัทแม่เข้ามาดำเนินกิจการเอง ดังนั้นจะไม่ค่อยประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน รวมถึงขณะนี้ค่าการตลาดน้ำมันได้เริ่มปรับตัวกระเตื้องขึ้นในบางผลิตภัณฑ์ ประกอบกับผู้ประกอบการรายเดิมที่ยังไม่แจ้งต่ออายุกิจการในไตรมาสที่ 1-2 ที่ผ่านมา น่าจะ ทยอยเข้ามาแจ้งดำเนินกิจการต่อมากขึ้นด้วย


รายได้ของรัฐจากกลุ่ม ปตท. ภายใต้ 2 รัฐบาลเปรียบเทียบ
เงินนำส่งรัฐจาก ปตท. ภายใต้ช่วงรัฐบาล ปชป. กับรัฐบาล ทรท. หากนำมาแยกเป็นรายปี..ตามประเภทการนำส่งในรูปแบบต่างๆ ซึ่งแยกเป็นการนำส่งในรูปของภาษีนิติบุคคล เหมือนผู้ประกอบการ นิติบุคคลทั่วไป ส่วนหนึ่งนำส่งในรูปเงินนำส่งรัฐ (ส่วนแบ่งกงสี) ในฐานะที่รัฐเป็นเจ้าของ 100 % เต็ม ซึ่งยังไม่มีการแปรรูป ยังไม่ได้แปลงสินทรัพย์เป็นทุน ต่อมาเมื่อแปรรูปแล้ว แปลงสินทรัพย์เป็นทุนเรือนหุ้นแล้ว...การนำส่งรัฐแบบกงสีก็ต้องยกเลิก เป็นการนำส่งในรูปเงินปันผลแทนที่...ผลสรุปพัฒนาการของรายได้ของรัฐจาก ปตท. สรุปได้ใน 2 ช่วงรัฐบาล เป็นดังนี้

======ปตท. ภายใต้รัฐบาล ประชาธิปัตย์========

ปี 2542 (รวม 7,862 ล้านบาท)

ในรูปภาษีเงินได้นิติบุคคล....1,212 ล้านบาท
เงินนำส่งรัฐ.......................6,650 ล้านบาท

ปี 2543 (รวม 6,102 ล้านบาท)

ในรูปภาษีเงินได้นิติบุคคล....2,250 ล้านบาท
เงินนำส่งรัฐ.......................3,852 ล้านบาท

========ปตท.ภายใต้รัฐบาลไทยรักไทย=======

ปี 2544 (รวม 11,210 ล้านบาท)

ในรูปภาษีเงินได้นิติบุคคล....4,181 ล้านบาท
เงินนำส่งรัฐ.......................7,029 ล้านบาท

=====รัฐบาลแปรรูป ปตท. ตาม พรบ.ทุนฯ========

ปี 2545 (รวม 16,718 ล้านบาท)

ในรูปภาษีเงินได้นิติบุคคล....6,874 ล้านบาท
เงินนำส่งรัฐ.......................5,000 ล้านบาท
เงินปันผลจากหุ้น...............4,844 ล้านบาท

ปี 2546 (รวม 15,294 ล้านบาท)

ในรูปภาษีเงินได้นิติบุคคล....9,771 ล้านบาท
เงินนำส่งรัฐ.......................(ยกเลิก)
เงินปันผลจากหุ้น...............5,523 ล้านบาท

ปี 2547 (รวม 22,703 ล้านบาท)

ในรูปภาษีเงินได้นิติบุคคล....15,089 ล้านบาท
เงินนำส่งรัฐ.......................(ยกเลิก)
เงินปันผลจากหุ้น.................7,614 ล้านบาท

ปี 2548 (รวม 35,344 ล้านบาท)

ในรูปภาษีเงินได้นิติบุคคล...22,495 ล้านบาท
เงินนำส่งรัฐ......................(ยกเลิก)
เงินปันผลจากหุ้น..............12,849 ล้านบาท

ปี 2549 (รวม 51,400 ล้านบาท)

ในรูปภาษีเงินได้นิติบุคคล....33,792 ล้านบาท
เงินนำส่งรัฐ.......................(ยกเลิก)
เงินปันผลจากหุ้น...............17,608 ล้านบาท

======****************************======


ถ้ารัฐบาลสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศแบบนี้เรียกว่าขายชาติ....เหรอครับ...????????

ปชป. จะตั้งนโยบายถลุงเงิน...เอารายได้ส่วนนี้ไปใช้ก็ดูให้ดีนะครับ...ให้มันเกิดประโยชน์คุ้มค่า กว่าจะบริหารให้ได้เงินมาใช้ในกิจการต่างๆตามงบประมาณของประเทศ...มันเหนื่อยนะครับ...

คนเสนอหาเงิน หารายได้ให้ประเทศมันไม่ค่อยจะมี...มีแต่คนเสนอใช้เงิน....กึ๋นมันต่างกันตรงนี้
จากคุณ : TRAT

ระบบเศรษฐกิจมันมีใหญ่ๆ อยู่สามอย่าง
1. ทุนนิยม - กิจการทั้งหมดเป็นของเอกชน - ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกตลาด
2. สังคมนิยม - กิจการทั้งหมดเป็นของรัฐ - รัฐกำหนดทุกอย่างว่าจะผลิตอะไรเพื่อใคร
3. แบบผสม - ส่วนใหญ่เป็นของเอกชนบางส่วนเป็นของรัฐ - ปัจจุบันเราเป็นแบบนี้

แต่ไม่ว่าจะเชื่อแบบไหน ก็เป็นสิทธิจะเชื่อเพราะนักวิชาการก็ไม่สามารถฟันธงได้ ซึ่งอีกหลายร้อยปีข้างหน้าหากยังอพยพไปอยู่ดาวอื่นไม่ได้ โลกทั้งหมดจะใช้ระบบสังคมนิยมเพราะทรัพยากรไม่เพียงพอ

ปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่เป็นระบบผสมแบบเอียงไปข้างทุนนิยม และนโยบายของ ทรท. ฟันธงว่าต้องการทำให้ประเทศเป็นทุนนิยมมากขึ้น ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไรเพราะเขาเชื่อแบบนั้น

ปตท. หากเป็นรัฐวิสาหกิจหากเป็นของรัฐมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี เช่น รัฐควบคุมราคาสินค้าน้ำมันได้, รายได้ทั้งหมดกลับมาเป็นของรัฐ
ข้อเสีย เช่น รัฐแบกรับภาระหนี้ และปัญหาที่เป็นผลกระทบอื่นๆ (เมื่อรัฐเป็นผู้ควบคุมกลไกก็ต้องควบคุมไปทุกจุดที่สัมพันธ์กัน)

ผลเสียจากการบิดเบื้อนราคาน้ำมันในตลาด
1. พฤติกรรมการบริโภคไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง คนไม่ประหยัดน้ำมัน ทั้งที่เป็นสินค้านำเข้าเกือบ 100%
2. ส่งผลให้การซื้อรถยนต์ส่วนตัวไม่ลดลง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้า ไม่ว่าจะรูปแบบรถสำเร็จหรือในรูปแบบชิ้นส่วนผลิต
3. ใช้รถยนต์มากขึ้น รถติดมากขึ้น
4. สินเปลื้องพลังงานไปกับรถติดมากขึ้น
5. ต้องชดเชยเงินให้กับ ปตท. หรือกองทุนน้ำมันมากขึ้น กำไรน้อยลง

กรณียังเป็นรัฐวิสาหกิจทุนจะเท่าเดิม อัตราหนี้สินต่อสินทรัพย์ หรือต่อทุนจะมาก การกู้เงินลงทุนก็ลำบาก
1. หากจะแก้ด้วยการเพิ่มทุนก็เป็นเงินภาษีของประชาชน ที่อาจจะเอาไปใช้ในส่วนอื่นได้
2. หากจะแก้ด้วยการออกพันธบัตรรัฐบาล ก็เท่ากับเพิ่มหนี้สาธารณะ แล้วสัดส่วนหนี้จะยิ่งสูงขึ้นไปอีก ยิ่งแก้ยิ่งเป็นปัญหา
3. หากจะแก้ด้วยการลดกำไรให้เหลือน้อยมาก ๆ ความสามารถในการชำระหนี้ก็จะลดลง กู้เงินลงทุนยิ่งยาก แล้วข้อดีที่ว่ารายได้เป็นของรัฐก็จะมีมูลค่าน้อยมากจนไม่อาจจะนับเป็นข้อดี

กรณีเปลี่ยนเป็นเอกชน โดยระดมทุนเพิ่มจากตลาดหลักทรัพย์
1. สัดส่วนหนี้สินต่อทุนจะน้อยลง กู้เงินเพิ่มทำได้ง่าย รัฐไม่ต้องนำรายได้ส่วนอื่นมาชดเชย
2. รัฐยังบริหารให้กิจการให้เป็นของรัฐได้โดยวิธีการทางตลาดหลักทรัพย์
3. ทางตรงรายได้ของรัฐจะกำไรน้อยลง แต่ก็ลงเงินลงแรงน้อยลงด้วย
4. ทางอ้อมมูลค่าของตลาดหลักทรัพย์ใหญ่ขึ้น ทำให้นักลงทุนสนใจมากขึ้นเงินลงทุนจะไหลเข้ามากขึ้น
5. เมื่อกิจการมีกำไรมากปันผลมาก ราคาหุ้นจะดี ระดมทุนเพิ่มจะยิ่งง่าย วนกลับไปกู้เงินได้ง่ายขึ้น
6. เมื่อมีเงินทุนมากขึ้นบริหารงานก็ง่ายขึ้น กำไรก็จะมากขึ้น รัฐก็ได้รายได้มากขึ้นแต่ไม่ต้องลงทุนเพิ่มมาก แค่บริหารสัดส่วนของหุ้นให้พอเหมาะก็พอ
7. หุ้นของ ปตท. ที่รัฐถืออยู่จะมีสถานะเป็นสินทรัพย์ทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ของรัฐดีขึ้นกว่าเดิม

ในด้านความเป็นเจ้าของ - รัฐยังเป็นเจ้าของกิจการอยู่ เพราะถือหุ้นใหญ่ แต่ต้องฟังหุ้นอื่นด้วย

ในด้านราคาน้ำมัน - รัฐยังทรงนโยบายราคาต่ำได้โดยอาศัยความเป็นหุ้นใหญ่ แต่จะไม่ถูกมากจนบิดเบื้อนราคาตลาดจนรายอื่นๆ อยู่ไม่ได้ และยังควบคุมพฤติกรรมของผู้บริโภคผ่านทางนโยบายราคาได้ด้วย

ในด้านกำไรที่ออกไปสู่ต่างประเทศ - คิดอีกมุมว่าต้องนำเงินทุนเข้ามาก่อน จึงจะนำกำไรออกไปได้ เงินที่เข้ามาเป็นเงินลงทุนจะถูกผันเข้าระบบเศรษฐกิจอย่างต่ำสองรอบตามทฤษฎี(ฟังมาจาก อ.เศรษฐศาสตร์ จาก ม.ราม ในช่วงวิกฤตปี 40) เช่นหนึ่งร้อยจะวนในระบบสองร้อย และจะก่อให้เกิดผลผลิตเพิ่มขึ้น GDP เพิ่มขึ้น ได้มากกว่าเสีย

ในด้านนายทุน(คนส่วนน้อย)ได้ประโยชน์จากหุ้น - ก็ไม่ได้ต่างอะไรกับการซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยจากรัฐ และก็ยังเป็นคนกลุ่มเดียวกันอยู่ดีเพราะชาวบ้านตาดำๆ คงไม่มีกำลังไปซื้อหุ้นหรือพันธบัตรในปริมาณมากๆ

โดยสรุปการเป็นเจ้าของปตท. 100% จะจัดการอย่างไรก็เหมือนกับโยกเงินกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา แต่รายละเอียดเรื่องนี้ลึกมากพอจะใช้ตบตาคน แล้วใช้เป็นนโยบายชวนเชื่อได้โดยง่าย
แก้ไขเมื่อ 11 ก.ย. 49 11:11:01

จากคุณ : เทพบุตรเร็วกว่านรก - [ 11 ก.ย. 49 11:03:22 ]

ลองอ่านกระทู้ของคุณm_pleแห่งโต๊ะสินธรประกอบการพิจารณาด้วยนะครับ

น้ำมันแพงเพราะอะไร? มันจะทำให้เศรษฐกิจโลกล่มสลาย จริงเหรอ?
//topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2007/11/I6071100/I6071100.html

"น้ำมันแพง-W1" เก็บเงินกองทุนน้ำมันฯ แถมยังมาลอยตัว LPG อีก รัฐคิดอะไรอยู่เนี่ย?
//topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2007/12/I6120968/I6120968.html

น้ำมันแพงเพราะการเก็งกำไร จริงเหรอ?
//www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I6672270/I6672270.html




 

Create Date : 11 กันยายน 2549    
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 18:22:13 น.
Counter : 489 Pageviews.  

"ปั่นหุ้น" เขาทำกันอย่างไร

"ปั่นหุ้น" เขาทำกันอย่างไร
บรรยง วิทยวีรศักดิ์

แมลงเม่า หมายถึง ปลวกในวัยเจริญพันธุ์ มีปีก ชอบบินเข้าเล่นแสงไฟในยามค่ำคืน และมักจบชีวิตในเปลวไฟ

นักลงทุนรายย่อย หมายถึง ผู้คนซึ่งพอจะมีสตางค์ ที่เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้น เพราะทนต่อความยั่วยวนของราคาหุ้นที่ขึ้นลงหวือหวาไม่ได้ สุดท้ายมักจะหมดตัวไปกับหุ้นปั่น

ส่วนนิยามโดยสรุปของการปั่นหุ้น คือ การล่อ และลวงนักลงทุนรายย่อยให้เข้าไปซื้อหรือขายหุ้น ที่มีราคาสูงหรือต่ำกว่าสภาวะปกติ โดยเจตนาไม่สุจริต

การเปรียบนักลงทุนรายย่อยว่าเป็นแมลงเม่า จึงเหมาะสมด้วยประการฉะนี้

ลักษณะของหุ้นที่นิยมปั่น

มีมูลค่าทางตลาด ( MARKET CAPITALISATION ) ต่ำ จะได้ไม่ต้องใช้จำนวนเงินมากในการไล่ราคา
ปัจจัยพื้นฐานยังไม่ดี เพื่อที่นักลงทุนสถาบันจะไม่เข้ามาซื้อขายด้วย ซึ่งจะทำให้ยากต่อการควบคุมปริมาณ และราคาหุ้น
มีราคาต่อหุ้น ( MARKET PRICE ) ต่ำ ถ้าราคาต่ำกว่า 10 บาทยิ่งดี ด้วยเหตุผลสองประการ หนึ่งเป็นผลทางจิตวิทยา เช่น หุ้นถูกไล่ราคา จาก 3 บาท เป็น 6 บาท ถึงแม้ราคาจะปรับขึ้นมา 100% แล้ว แต่คนยังรู้สึกว่าไม่แพง เพราะยังถูกกว่าราคาพาร์ ( PAR ) สองผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เป็นนักลงทุนสถาบัน มักมีต้นทุนที่ราคาพาร์ หรือสูงกว่า แม้หุ้นจะขึ้นมามาก แต่ถ้าเขาเชื่อว่าแนวโน้มของธุรกิจดี เขามักจะไม่ขาย ( ถ้าแนวโน้มธุรกิจไม่ดี เขาก็ขายทิ้งไปนานแล้ว ) ดังนั้น จึงไม่ต้องกังวลว่านักลงทุนสถาบันจะเข้ามาแทรกแซงในการซื้อขาย

4) มีจำนวนหุ้นหมุนเวียนน้อย เพื่อความมั่นใจว่าจะสามารถควบคุมปริมาณหุ้นได้ตามที่ต้องการ

5) ผู้ถือหุ้นใหญ่รู้เห็นเป็นใจ หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ถือหุ้นเพื่อการลงทุนระยะยาว จึงไม่สนใจเมื่อราคาหุ้นขึ้น หรือลงหวือหวามีข่าวดีมารองรับ ระยะหลังเริ่มมีการใช้ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นมาเป็นตัวล่อใจนักลงทุนรายย่อย เพื่อให้ตายใจว่าราคาหุ้นถูกไล่ขึ้นมาสมเหตุสมผล เช่น ข่าวการปรับโครงสร้างหนี้ ,ข่าวการร่วมกิจการ , กำไรรายไตรมาสที่พุ่งขึ้นสูงเป็นต้น

ขั้นตอนในการปั่นหุ้น

1) การเลือกตัวหุ้น นอกจากจะต้องเลือกตัวหุ้นที่มีลักษณะตามที่กล่าวไว้เบื้องต้นแล้ว ยังต้องมีการนับหุ้นด้วยว่าหุ้นตัวนี้ตอนนี้มีใครถืออยู่ในสัดส่วนเท่าไร หากจะเข้ามาปั่นหุ้น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือนักลงทุนสถาบันจะเข้ามาแทรกแซงหรือไม่ ถ้าผู้ถือหุ้นรายใหญ่ให้ความร่วมมือด้วยก็จะง่ายขึ้น

2)การกระจายเปิดพอร์ตการลงทุน จะเปิดพอร์ตกระจายไว้สัก 4 - 5 โบรกเกอร์ ในชื่อที่แตกต่างกัน มักจะใช้ชื่อคนอื่นที่ไว้ใจได้เช่น คนขับรถ , เสมียน , คนสวน เพื่อป้องกันไม่ให้โยงใยมาถึงตนได้

3)การเก็บสะสมหุ้น มีหลายวิธีทั้งวิธีสุจริต และผิดกฎหมายในลักษณะการลวงให้คนทั่วไปเข้าใจว่า ราคาหุ้นตัวนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปการเก็บสะสมหุ้น มีวิธีดังต่อไปนี้

การทยอยรับหุ้น เมื่อเห็นว่าราคาหุ้นลงมามากแล้ว ก็ใช้วิธีทยอยซื้อหุ้นแบบไม่รีบร้อนวันละหมื่น วันละแสนหุ้น ขึ้นกับว่าหุ้นตัวนั้นมีสภาพคล่องมากน้อยขนาดไหน วิธีนี้เป็นวิธีสุจริตไม่ผิดกฎหมาย จะใช้เวลาในการเก็บหุ้นตั้งแต่ 2 สัปดาห์ถึง 2 เดือน
การกดราคาหุ้น ถ้าระหว่างที่กำลังเก็บสะสมหุ้น ยังไม่ได้ปริมาณที่ต้องการ เกิดมีข่าวดีเข้ามาหรือตลาดหุ้นเปลี่ยนเป็นขาขึ้น เริ่มมีรายย่อยเข้ามาซื้อหุ้นตัวนี้ ก็จะใช้วิธีขายหุ้นล็อตใหญ่ๆ ออกมาเป็นการข่มขวัญนักลงทุนรายย่อย ถือเป็นการวัดใจ นักลงทุนรายย่อยมักมีอารมณ์อ่อนไหว เห็นว่าถือหุ้นตัวนี้อยู่ 2 - 3 วันแล้วหุ้นยังไม่ไปไหน แถมยังมีการขายหุ้นล็อตใหญ่ๆ ออกมา ก็จะขายหุ้นทิ้งแล้วเปลี่ยนไปเล่นตัวอื่นแทน สุดท้ายหุ้นก็ตกอยู่ในมือรายใหญ่หมด วิธีนี้จะใช้เวลา 5 - 10 วัน
การเก็บแล้วกด วิธีนี้มักใช้เมื่อมีข่าววงใน ( INSIDE NEWS ) ว่าหุ้นตัวนี้กำลังจะมีข่าวดีเข้ามาหนุน ถ้าหุ้นตัวนั้นไม่มีสภาพคล่อง จะใช้วิธีโยนหุ้นไปมาระหว่างพอร์ตของตนที่เปิดทิ้งไว้
รายย่อยเมื่อเห็นว่าเริ่มมีการซื้อขายคึกคัก ก็จะเข้าผสมโรงด้วย คนที่ถือหุ้นอยู่แล้ว ก่อนนี้ไม่มีสภาพคล่อง จะขายหุ้นก็ขายไม่ได้ไม่มีคนซื้อ พอมีปริมาณซื้อขายมากขึ้นก็รีบขายหุ้นออก บางคนถือหุ้นมาตั้งแต่บาทหุ้นตกลงมาถึง 5 บาท พอเห็นหุ้นตีกลับขึ้นไป 5.5 บาท ก็รีบขายออก คิดว่าอย่างน้อยตนก็ไม่ได้ขายที่ราคาต่ำสุด ช่วงนี้รายใหญ่จะเก็บสะสมหุ้นให้ได้มากที่สุด โดยใช้เวลาประมาณ 5 วันทำการ
ขณะเดียวกันต้องคอยดูแลไม่ให้หุ้นมีราคาขึ้นไปเกิน 10 % เพื่อไม่ให้ต้นทุนของตนสูงเกินไปถ้าเกิดราคาสูงขึ้นมากจะใช้วิธีโยนขายหุ้นล็อตใหญ่ๆ ออกมา โดยให้พวกเดียวกันที่ตั้งซื้อ ( BID ) อยู่แล้วเป็นคนรับเมื่อได้จำนวนหุ้นตามที่ต้องการแล้ว สุดท้ายจะกดราคาหุ้นให้ต่ำลงมายังจุดเดิม โดยใช้วิธีโยนขายหุ้นโดยให้พวกเดียวกันตั้งซื้อเหมือนเดิม แต่จะทำอย่างหนักหน่วง และรวดเร็วกว่า ทำให้ราคาหุ้นลดอย่างรวดเร็ว ช่วงนี้จะใช้เวลา 3 - 5 วัน รายย่อยบางคนคิดว่าหมดรอบแล้ว จะรีบขายหุ้นออกมาด้วย

รายใหญ่ก็จะมาตั้งรับที่ราคาต่ำอีกครั้ง ช่วงนี้จะตั้งรับอย่างเดียว ไม่มีการไล่ซื้อ หรือไม่ก็หยุดการซื้อขายไปเลยให้เรื่องเงียบสัก 4 - 5 วันเป็นการสร้างภาพว่าก่อนข่าวดีจะออกมา ไม่มีใครได้ข่าววงในมาก่อนเลย รอจนวันข่าวดีประกาศเป็นทางการ จึงค่อยเข้ามาไล่ราคาหุ้น

วิธีสังเกตว่าในขณะนั้นเริ่มมีการสะสมหุ้นแล้วคือ ปริมาณซื้อขายจะเริ่มมากขึ้นผิดปกติ จากวันละไม่กี่หมื่นหุ้น เป็นวันละหลายแสนหุ้น ราคาเริ่มจะขยับแต่ไปไม่ไกลประมาณ 5-10% มองดูเหมือนการโยนหุ้นกันมากกว่า กดราคาหุ้นจนกว่าจะเก็บได้มากพอ แล้วค่อยไล่ราคาหุ้น

ข้อระวังอย่างหนึ่ง คือ มีหุ้นบางตัวโดยเฉพาะหุ้นตัวเล็กๆ นักลงทุนรายใหญ่มีข่าวอินไซด์ว่า ผลประกอบการงวดใหม่ที่จะประกาศออกมาแย่มาก หากภาวะการซื้อขายหุ้นตอนนั้นซึมเซา เขาจะเข้ามาไล่ซื้อ โยนหุ้นกันระหว่าง 2-3 พอร์ตที่เขาเปิดไว้ ให้ดูเหมือนรายใหญ่เริ่มเข้ามาเก็บสะสมหุ้นรายย่อยจะแห่ตาม รุ่งขึ้นรายใหญ่จะเทขายหุ้นขนานใหญ่ รายย่อยเริ่มลังเลใจ ขอดูเหตุการณ์อีกวัน

พอผลประกอบการประกาศออกมา ราคาก็หุ้นดิ่งเหวแล้ว รายย่อยจึงถูกดึงเข้าติดหุ้นราคาสูงในที่สุด

4) การไล่ราคาหุ้น เมื่อได้ปริมาณหุ้นมากพอ ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการไล่ราคา แต่การไล่ราคาต้องหาจังหวะที่เหมาะสมเหมือนกัน หากจังหวะนั้น ไม่มีเหตุผลเพียงพอ รายย่อยก็จะขายหุ้นทิ้งเมื่อราคาหุ้นขึ้นไปสูงพอประมาณ แต่หากหาเหตุผลมารองรับได้ รายย่อยจะยังถือหุ้นไว้อยู่ เพราะเชื่อว่าราคาหุ้น น่าจะสูงกว่านี้อีก กว่าจะรู้สึกตัว ปรากฏว่ารายใหญ่ขายหุ้นทิ้งหมดแล้ว เหตุผลหรือจังหวะที่ใช้ในการไล่ราคา มักจะใช้ 3 เรื่องนี้

ภาวะตลาดรวมเริ่มเป็นขาขึ้น
กราฟทางเทคนิคของราคาหุ้นเริ่มดูดี
มีข่าวลือ ซึ่งปล่อยโดยนักปั่นหุ้นว่า หุ้นตัวนี้กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงทางพื้นฐานไปในทางที่ดีขึ้น
การไล่ราคา คือ การทำให้ราคาปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว วิธีการคือ จะมีการเคาะซื้อครั้งละมากๆ แบบยกแถว แล้วตามด้วยการเสนอซื้อ ( BID ) ยันครั้งละหลายๆ แสนหุ้นจนถึงล้านหุ้น เพื่อข่มขวัญไม่ให้รายย่อยขายสวนลงมา

รายย่อยเห็นว่าแรงซื้อแน่น จะถือหุ้นรอขายที่ราคาสูงกว่านี้ รายใหญ่บางคนอาจจะแหย่รายย่อยด้วยการเทขายหุ้นครั้งละหลายแสนหุ้น เหมือนแลกหมัดกับหุ้นที่ตนเองตั้งซื้อไว้เอง รายย่อยอาจเริ่มสับสนว่ามีคนเข้ามาซื้อแต่เจอรายใหญ่ขายสวน ราคาจึงไม่ไปไหน สู้ขายทิ้งไปเสียดีกว่า รายใหญ่จะโยนหุ้นแหย่รายย่อยอยู่สัก 1-2 ชั่วโมง จากนั้นจะตามมาด้วยการไล่ราคาอย่างจริงจังทีละขั้นราคา ( STEP )

ถ้าหุ้นที่ปั่นเป็นหุ้นตลาด คนชอบซื้อขายกัน การไล่ราคาจะไล่แบบช้าๆ แต่ปริมาณ ( VALUME ) จะสูง ราคาเป้าหมายมักจะสูงขึ้นประมาณ 20-25% หากภาวะตลาดกระทิง ราคาเป้าหมายอาจจะสูงถึง 50% แต่ถ้าหุ้นที่ปั่นเป็นหุ้นตัวเล็กพื้นฐานไม่ค่อยดี ปริมาณการซื้อในช่วงเวลาปกติมีไม่มาก การไล่ราคาจะทำอย่างรวดเร็ว ราคาเป้าหมายมักจะสูงถึง 40-50% ถ้าเป็นภาวะกระทิง ราคาเป้าหมายอาจขยับสูงถึง 100%

ช่วงไล่ราคานี้ อาจจะกินเวลา 3 วันถึง 1 เดือน ขึ้นกับว่าเป็นหุ้นอะไร ภาวะตลาดอย่างไร เช่น ถ้าเป็นหุ้นเก็งกำไรที่ไม่มีพื้นฐานจะกินเวลาสั้น แต่ถ้าเป็นหุ้นพื้นฐานดีจะใช้เวลานานกว่า และถ้าเป็นภาวะกระทิง นักปั่นหุ้นจะยิ่งทอดเวลาออกไป เพื่อให้ราคาหุ้นขึ้นไปสูงที่สุดเท่าที่ตั้งเป้าเอาไว้

ในช่วงต้นของการไล่ราคา นักลงทุนรายใหญ่อาจยังคงมีการสะสมหุ้นเพิ่มอยู่บ้าง แต่รวมกันต้องไม่เกิน 5% ของทุนจดทะเบียนในแต่ละพอร์ตที่ใช้ปั่นหุ้นอยู่ พอปลายๆ มือจะใช้วิธีไล่ราคาแบบไม่เก็บของ คือ ตั้งขายเอง เคาะซื้อเอง เมื่อซื้อได้ ก็จะนำหุ้นจำนวนนี้ย้อนไปตั้งขายอีกในราคาที่สูงขึ้น และเคาะซื้อตามอีก

ทำเช่นนี้หลายๆ รอบ สลับกันไปมาระหว่างพอร์ตต่างๆของตนเอง ค่อยๆ ดันราคาสูงขึ้นไปเรื่อยๆ หากมีหุ้นของรายย่อยถูกซื้อติดเข้ามาจนรู้สึกว่าเป็นภาระมากเกินไป ก็อาจมีการเทขายระบายของออกไปบ้าง แต่เป็นการขายไม้เล็กๆ ในลักษณะค่อยๆ รินออกไป เพื่อไม่ให้นักลงทุนรายย่อยตกใจเทขายตามมากเกินไป ตัวหุ้นเองจะได้มีการปรับฐานตามหลักเทคนิค เพื่อจูงใจนักลงทุนรายใหม่ที่ยังไม่ได้ซื้อ จะได้กล้าเข้ามาซื้อ

5) การปล่อยหุ้น เมื่อหุ้นขึ้นมาได้ 80% ของราคาเป้าหมายแล้ว ระยะทางที่เหลืออีก 20% ของราคาคือช่วงของการทยอยปล่อยหุ้น ช่วงนี้จะเป็นช่วงชี้เป็นชี้ตายการลงทุนของนักปั่นหุ้น ถ้าทำพลาด นักลงทุนรายย่อยรู้เท่าทัน หรือตลาดไม่เป็นใจ เช่น เกิดสงครามโดยไม่คาดฝัน นักปั่นหุ้นเองที่จะเป็นผู้ติดหุ้นอยู่บนยอดไม้ จะขายก็ไม่มีใครมารับซื้ออาจต้องรออีก 6 เดือนถึง 1 ปีกว่าจะมีภาวะกระทิงเป็นจังหวะให้ออกของได้อีกครั้ง อีกทั้งอาจจะไม่ได้ราคาดีเท่าเดิม หรือถึงกับขาดทุนก็ได้

วิธีการปล่อยหุ้น เริ่มจากการรอจังหวะที่ข่าวดีจะประกาศออกมาเป็นทางการ นักปั่นหุ้นซึ่งรู้มาก่อนแล้วจะเริ่มไล่ราคาอย่างรุนแรง 4-5 ช่วงราคา มีการโยนหุ้น เคาะซื้อเคาะขายกันเองครั้งละหลายแสนหุ้นปริมาณซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพื่อดึงดูดความสนใจของรายย่อย

เมื่อรายย่อยเริ่มเข้าผสมโรง นักลงทุนรายใหญ่จะตั้งขายหุ้นในแต่ละช่วงราคาไว้หลายๆ แสนหุ้น และจะเริ่มเคาะนำ ส่งสัญญาณไล่ซื้อครั้งละ 100 หุ้นบ้าง 3,000 หุ้นบ้างหรือแม้แต่ครั้งละ 100,000 หุ้น หลายๆ ครั้ง เมื่อหุ้นที่ตั้งขายใกล้หมด เขาจะเคาะซื้อยกแถวพร้อมกับตั้งซื้อยันรับที่ราคานั้นทันที ครั้งละหลายแสนหุ้น ถามว่าเขาตั้งซื้อครั้งละหลายแสนหุ้น เขากลัวไหมว่าจะมีคน หรือนักลงทุนสถาบันขายสวนลงมา คำตอบคือ กลัว แต่เขาก็ต้องวัดใจดูเหมือนกัน หากมีการขายสวนก็ต้องใช้วิธีเคาะซื้อแต่ไม่ใช้วิธีตั้งซื้อ นักลงทุนรายย่อยเมื่อสังเกตว่ามีการไล่ซื้อ จะเข้ามาซื้อตาม นักลงทุนรายใหญ่ซึ่งคอยนับหุ้นอยู่ พอเห็นมีเหยื่อมาติด จะเคาะนำที่ราคาใหม่ที่สูงขึ้นอีก แต่เพื่อให้ไม่ต้องซื้อหุ้นเข้ามาเพิ่ม เขาจะเคาะซื้อไม้หนักๆ ก็ต่อเมื่อหุ้นที่ตั้งขายอยู่เป็นหุ้นในกลุ่มของตนเอง สมมติตนเองตั้งขายไว้ 500,000 หุ้น เมื่อได้รับการยืนยันจากเทรดเดอร์ว่า เริ่มมีการเคาะซื้อ จากนักลงทุนอื่น ถึงคิวหุ้นของตนแล้ว เช่นอาจมีคนเคาะซื้อเข้ามา 10,000 หุ้น เขาจะทำทีเคาะซื้อเองตามอีก 200,000 หุ้น เพื่อให้รายย่อยฮึกเหิม เมื่อซื้อแล้วเขาก็จะเอาหุ้น 200,000 หุ้นนี้มาตั้งขายใหม่ ยอมเสียค่านายหน้า ซื้อมาขายไปเพียง 0.5% แต่ถ้าสำเร็จจะได้กำไรตั้ง 50-100% เพราะฉะนั้น การไล่ซื้อช่วงนี้จึงเป็นการซื้อหนักก็ต่อเมื่อ ซื้อหุ้นตนเองตบตารายย่อยขณะที่ค่อยๆ เติมหุ้นขายไปทีละแสนสองแสนหุ้น

ส่วนการตั้งซื้อ ( BID ) ที่ตบตารายย่อยว่าแรงซื้อแน่นนั้น หากสังเกตดีๆ จะพบว่าเมื่อตั้งซื้อเข้ามาสองแสนหุ้น สามแสนหุ้น สักพักจะมีการถอนคำสั่งซื้อออก แล้วเติมเข้ามาใหม่เพื่อให้การซื้อนั้นไปเข้าคิวใหม่อยู่คิวสุดท้าย และจะทำอย่างนี้หลายๆ ครั้ง นักลงทุนรายย่อยที่ตั้งซื้อเข้ามา จะถูกดันไปอยู่คิวแรกๆ หมด และถ้าเขาเห็นว่านักลงทุนอื่น มีการตั้งซื้อเข้ามามากพอสมควรแล้ว นักลงทุนรายใหญ่ก็จะมีการเทขายสลับเป็นบางครั้ง เรียกได้ว่ามีทั้งการตั้งขายและเคาะขายพร้อนกันเลยทีเดียว
หากจะสรุปวิธีการที่ใช้ในช่วงปล่อยหุ้นนี้ สามารถแบ่งออกได้ 4 วิธีการย่อย

มีการตั้งขายหุ้น ( OFFER ) ไว้ล่วงหน้า หลายแสนหุ้นในแต่ละขั้นเวลา
เริ่มเคาะซื้อนำครั้งละ 100 หุ้น 2-3 ครั้ง และจะเคาะซื้อหนักๆ ก็ต่อเมื่อหุ้นที่ตั้งขาย ( OFFER ) เป็นหุ้นในกลุ่มของตน เมื่อซื้อได้จะรีบนำมาตั้งขายต่อ และจะมีการเติมขายหุ้นตลอดเวลา
เมื่อหุ้นที่เสนอขาย ( OFFER ) ใกล้หมด จะเคาะซื้อยกแถว แล้วตั้งเสนอขาย ( BID )เข้ามายันหลายแสนหุ้น แต่จะทยอยถอนออกแล้วเติมเข้าตลอดเวลา
4) เมื่อหุ้นของคนอื่นที่ตั้งซื้อ ( BID ) มีจำนวนมากพอจะมีการเทขายสวนลงมาเป็นจังหวะๆ

เขาจะทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ หุ้นในพอร์ตของตนเอง จะค่อยๆ ถูกระบายออกไป และในสุดท้ายเมื่อข่าวดีได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ในวันรุ่งขึ้น เขาจะทำทีเคาะไล่ซื้อหุ้นตนเองอย่างหนัก แต่จะไม่ตั้งซื้อแล้ว เพราะกลัวถูกขาย ดังนั้นจึงเป็นภาพเหมือนมีคนมาไล่ซื้ออย่างรุนแรง แล้วอยู่ๆ ก็หยุดไปเฉยๆ ถามว่าแล้วเขาปล่อยหุ้นไปตอนไหน คำตอบคือ เขาทยอยตั้งขายไปในระหว่างที่เขาทำทีซื้อนั่นเอง ผู้เคราะห์ร้าย คือ รายย่อยที่ไปเคาะซื้อตาม แต่รีรอที่จะขายเพราะเห็นว่ายังมีแรงซื้อแน่นอยู่ สุดท้ายต้องติดหุ้นในที่สุด

บทสรุป

ตลาดหลักทรัพย์ ถือเป็นแหล่งระดมทุนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจ และความเจริญของประเทศชาติ ประชาชนทุกคนได้รับโอกาสให้นำเงินออมเข้ามาลงทุนกับบริษัทชั้นดีในตลาดหลักทรัพย์ หากเขาเหล่านั้นลงทุนด้วยความรู้ ความเข้าใจ ย่อมสามารถสร้างผลกำไร และความมั่นคงให้กับตนเอง และครอบครัว แต่ถ้าเข้ามาลงทุนด้วยวิธีเก็งกำไรโดยปราศจากความรู้ ย่อมมีโอกาสตกเป็นเหยื่อของนักปั่นหุ้นที่มีอยู่มากมายในตลาดหุ้นได้

เศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว เปรียบได้ดั่งสายฝนซู่ใหญ่ที่พัดสาดเข้ามาอีกครั้ง แสงระยิบระยับของกระดานหุ้นเร้าใจแมลงเม่าไม่แพ้แสงไฟในฤดูฝน เหล่าแมลงเม่าน้อยใหญ่พากันโบยบินเข้าตลาดหุ้น และแล้วตำนานเรื่องเดิมของเหล่าแมลงเม่าก็เริ่มต้นอีกครั้ง

หมายเหตุปั่นหุ้น
1) สมัยก่อนหุ้นปั่นจะเป็นหุ้นตัวเล็กที่พื้นฐานไม่ดี ปัจจุบันนี้ หุ้นปั่นจะเป็นหุ้นตัวเล็ก หรือหุ้นที่มีสภาพคล่องน้อยแต่พื้นฐานดี เนื่องจากนักลงทุนรายย่อยฉลาดขึ้น แต่สุดท้ายก็ถูกหลอกอยู่ดี

2) นักลงทุนรายย่อยจะไม่สนใจหุ้นพื้นฐานดี แต่ไม่มีสภาพคล่อง แต่จะชอบหุ้นปั่น (ทั้งๆ ที่รู้ว่าปั่น) เพราะราคาวิ่งทันใจดี ส่วนใครออกตัวไม่ทัน ติดหุ้น เขาจะโทษตัวเองว่า โชคไม่ดีไหวตัวไม่ทันเอง

3) นักลงทุนรายย่อยจะไม่ซื้อหุ้นที่ขาดสภาพคล่อง ถึงแม้จะมีพื้นฐานดี แต่จะรอจนมีคนไปไล่ซื้อหุ้นให้มีปริมาณซื้อขายคึกคักและราคาขยับสัก 5%-10% แล้วจึงเข้าไปผสมโรง เพราะทุกคนมีคติว่า "ขาดทุนไม่กลัว กลัวติดหุ้น" (หุ้นขาดสภาพคล่อง)

4) นักลงทุนรายย่อยจะภาคภูมิใจหากสามารถซื้อขายหุ้นในวันเดียวแล้วได้กำไรเล็กๆ น้อยๆ สัก 1-2% มากกว่าซื้อหุ้นไว้ 1 ปีแล้วกำไร 20%-30% เพราะคิดว่าการซื้อขายหุ้นในวันเดียว แล้วได้กำไรต้องใช้ฝีมือมากกว่า (ทั้งที่จากเฉลี่ยทั้งปีแล้วมักขาดทุน)

5) หุ้นหลายๆ ตัวในตลาดหลักทรัพย์ มีนักลงทุนรายใหญ่คอยดูแล เวลามีข่าวดีต่อหุ้นตัวนั้นเข้ามา ถ้าคนดูแลไม่ต้องการให้ราคาหุ้นปรับขึ้น หุ้นตัวนั้นก็จะถูกกดราคาไว้ แต่ถ้าคนดูแลเข้ามาไล่ราคาหุ้นเมื่อไร หุ้นก็จะเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้นทันที และข่าวหนังสือพิมพ์จะออกมาว่า นักลงทุนตอบรับข่าวดีของหุ้นตัวนั้น จึงได้เข้ามาซื้อเก็บเอาไว้ ทั้งๆ ที่ หลายๆ ครั้ง เป็นการทำราคาของรายใหญ่เพียงรายเดียว ที่เป็นผู้กำหนดทิศทางของหุ้นตัวนั้นว่าจะขึ้นหรือลง

6) นักปั่นหุ้นจะกลัวสภาวะตลาดมากกว่า ก.ล.ต. (คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) เนื่องจาก ก.ล.ต. ไม่เคยลงโทษนักปั่นหุ้นรายใหญ่ได้ แต่เขาจะกลัวว่า ถ้าคาดการณ์ภาวะตลาดผิด ตนเองจะติดหุ้นเอง

7) เหตุผลที่นักปั่นหุ้นต้องใช้ชื่อคนอื่น ตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป เป็นตัวแทนในการถือหุ้น (NOMINEE) ช่วยซื้อขายหุ้นนั้น เพื่อไม่ต้องการให้ทางการสาวเรื่องมาถึงตนได้ ขณะเดียวกัน ก็ต้องการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์การถือหุ้นเกินคนละ 5% ของทุนจดทะเบียน ที่ต้องแจ้งเรื่องนี้กับ ก.ล.ต.เพื่อเผยแพร่ต่อนักลงทุนทั่วไปด้วย

วิธีสังเกตเมื่อมีการปั่นหุ้น
1) มีข่าวดีมา แต่ราคาหุ้นไม่ไปทั้งๆ ที่มีปริมาณการซื้อขายมากขึ้น เหมือนมีคนกด

ราคาอยู่ (เพื่อเก็บของ)

2) หลังจากนั้น มีการไล่ราคาอย่างรวดเร็วรุนแรง ปริมาณการซื้อขายพุ่งขึ้นอย่างเห็น

ได้ชัด

3) จำนวนหุ้นที่ตั้งซื้อ (BID) มีการเติมเข้าถอนออกอยู่ตลอดเวลา

4) การเคาะซื้อไล่ราคาจะมีการเคาะนำครั้งละ 100 หุ้น 2-3 ครั้ง จากนั้นจะเป็น

การไล่เคาะซื้อยกแถว

5) หลังจากหุ้นขึ้นมานานแล้ว พอมีข่าวดีมา จะเห็นการเคาะซื้อครั้งละมากๆ

แต่การตั้งซื้อ (BID) ไม่หนาแน่น

จังหวะที่ใช้ในการปั่นหุ้น
1) เมื่อหุ้นตัวนั้นราคาตกลงมาจนราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานมาก ในภาวะตลาดขาลง นักลงทุนรายใหญ่จะทยอยสะสมหุ้นแบบไม่รีบร้อน เมื่อตลาดกลับเป็นขาขึ้น จะมีการไล่ราคาหุ้นอย่างรวดเร็ว แล้วทยอยขาย ปีหนึ่งทำได้สัก 2-3 รอบ ก็คุ้มค่าต่อการรอคอยแล้ว

2) เมื่อมีข่าวที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนั้น โดยทั่วไป นักลงทุนรายใหญ่จะรู้เห็นข่าววงในก่อน (INSIDER) และซื้อหุ้นเก็บไว้ เมื่อข่าวดีออกมา จะมีการไล่ราคาแล้วขายหุ้นออกไป

หรือในทางตรงกันข้าม หากมีข่าวปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนั้นแย่ลงมาก เช่น ใกล้หมดอายุการใช้สิทธิของ WARRANT, ข่าวขาดทุนรายไตรมาส, ข่าวบริษัทลูกขาดทุน จะเป็นการปั่นหุ้นรอบสั้นๆ เพื่อออกของ หรือหากได้ปล่อยขายไปเกือบหมดแล้ว จะใช้วิธีทุบหุ้นเพื่อเก็บของถูก แล้วรอปั่นในรอบถัดไป

3) ปลายตลาดขาขึ้น เมื่อหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี (BLUE CHIP) ทุกกลุ่มถูกนักลงทุนไล่ซื้อ จนราคาหุ้นขึ้นมาสูงหมดแล้ว โดยทั่วไปจะไล่เรียงจากหุ้นกลุ่มใหญ่ๆ เช่น กลุ่มธนาคาร ไฟแนนซ์ ที่ดิน วัสดุก่อสร้าง สื่อสาร และพลังงาน เมื่อนักลงทุนหมดตัวเล่น รายใหญ่จะเข้ามาปั่นหุ้นตัวเล็กๆ ที่ปัจจัยพื้นฐานไม่ดีราคาต่ำ รายย่อยจะเข้าผสมโรงเพราะเห็นว่าหุ้นกลุ่มนี้ยังขึ้นไม่มาก ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อหุ้นตัวเล็กๆ ถูกนำขึ้นมาเล่นไล่ราคา มักเป็นสัญญาณว่าหมดรอบของภาวะขาขึ้นแล้ว (เพราะถ้าหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี ราคายังต่ำกว่าความเป็นจริง นักลงทุนก็ยังพุ่งเป้าซื้อขายหุ้นกลุ่มนี้อยู่ จนกระทั่งราคาหุ้นขึ้นสูงเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานแล้ว จึงละทิ้งไปเล่นหุ้นปั่น เมื่อราคาหุ้นโดยรวมสูงเกินปัจจัยพื้นฐาน ตลาดหุ้นย่อมพร้อมที่จะปรับฐานได้ตลอดเวลา)

ท่านผู้รู้ผู้มากด้วยประสบการณ์กรุณาให้ความเห็นหรือแชร์ประสบการณ์ด้วยครับ ผมมันคนประสบการณ์น้อย

จากคุณ : กุญแจบู้ลิ้ม - [10 มิ.ย. 2545 23:44:20 น.] แห่งโต๊ะสินธร




 

Create Date : 22 สิงหาคม 2549    
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 18:32:22 น.
Counter : 424 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.