ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

ไทยหลอกไทย: อีเมล์อ้าง‘นิติภูมิ’ต้านต่างชาติเพื่อนายทุนไทย(เก่าแล้ว)

ดร.โสภณ พรโชคชัย <1>
.
หลายท่านคงเคยอ่านอีเมล์ลูกโซ่ที่ว่า “ปี 2553 จุดจบประเทศไทย . . . ถ้ายังเป็นคนไทยอยู่ช่วยอ่านด้วย . . .” เนื้อหาของอีเมล์นี้แอบอ้างคุณนิติภูมิแล้วมุ่งโจมตีพวกต่างชาติว่าจะมาฮุบประเทศไทย โดยยกตัวอย่างห้างสรรพสินค้าต่างชาติ เป็นต้น
.
ผมเองก็ต่อต้านการซื้อที่ดินของต่างชาติ <2> แต่ผมอ่านอีเมล์นี้แล้วคิดว่า เรากำลังถูกคนไทยด้วยกันที่เป็นนายทุนใหญ่หลอกให้ร่วมสู้กับคู่แข่งต่างชาติของเขา เช่นบอกว่า “ถ้าซื้อจากห้าง (ต่างชาติ) 1,000 บาท มันไหลไปต่างประเทศ 900 บาท ที่เหลือ 100 บาท”
.
ผม มั่นใจว่าการอธิบายอย่างนี้ผิด เพราะซื้อของ 1,000 บาท เป็นค่าของ ค่าดำเนินการสารพัด ที่เป็นกำไรแท้ ๆ คงประมาณ 10-20% เขาก็เอาไปขยายสาขาในไทยต่อไปเรื่อย ๆ ที่ได้กำไรส่งไปต่างประเทศคงเป็นส่วนน้อย และถ้าเขาจะส่งกำไรกลับบ้านบ้าง จะไม่ได้เลยหรือ ถ้าเราไปลงทุนต่างประเทศ แล้วเจอบ้านป่าเมืองเถื่อนไหนบอกว่า เราเอาเงินกลับบ้านไม่ได้ มันจะเป็นธรรมหรือครับ
.
ประเทศไทยเราเจริญขึ้นมาได้ทุกวันนี้ ก็เพราะการลงทุนของต่างชาติ โดยเฉพาะญี่ปุ่น มาลงทุนจนประเทศไทยทุกวันนี้กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม <3> จนคนส่วนใหญ่พ้นไปจากความยากจนแล้ว <4>
.
ที่ผ่านมานายทุนไทยรายใหญ่เคยตั้งราคาขายสินค้าตามใจชอบ แต่ตอนนี้ทำอย่างนั้นไม่ได้เพราะไทยมีห้างสรรพสินค้าต่างชาติมาช่วยต่อรองราคาแทนคนไทยส่วนใหญ่ ถ้าคิดในมุมกลับ หากไม่มีห้างเหล่านี้ ป่านนี้คนไทยคงกินบะหมี่สำเร็จรูปซองละ 10 บาทแทนซองละ 5 บาทไปแล้ว
.
ผมเชื่อว่านายทุนไทยรายใหญ่คงโกรธแค้นชิงชังพวกนายทุนต่างชาติที่ก้าวหน้า
กว่า พวกตนมาก พวกนายทุนไทยรายใหญ่ร้องแรกแหกกระเชอว่า ห้างสรรพสินค้าต่างชาติรังแกผู้ผลิตคนไทย แต่พวกเขาไม่เคยคิดที่จะทำห้างสรรพสินค้าแบบเดียวกันขึ้นมาต่อกรกับต่างชาติ บ้างเลย ไม่เคยคิดจะลำบากลงทุนระยะยาว ขยายสาขาให้มั่นคงแบบนายทุนต่างชาติ หรือไม่เคยคิดจะทำร้าน Fast Food ของคนไทยขึ้นมาอย่างญี่ปุ่นหรือชาติอื่นทำบ้างเลย
.
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะในหัวของพวกเขาคงไม่เคยคิดที่จะขายของให้ถูกลงหรือไ
ม่ค ิดจะค้าขายอย่างบริสุทธิ์ใจต่อลูกค้าคนไทยเอง ผมเชื่อว่า หากนายทุนไทยรายใหญ่จะเรียกร้องให้คนไทยด้วยกันใช้ของไทยแบบ “เราคนไทย ใช้บางจาก” พวกเขาก็ต้องสามารถผลิตสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพทัดเทียมกับต่างชาติ แต่ขายได้ในราคาที่ถูกกว่า ไม่เช่นนั้นพวกเขาไม่มีหน้า “สะเออะ” มาขอให้คนไทยใช้สินค้าไทย เพราะกำไรที่ได้ ก็เข้ากระเป๋านายทุนไทย ไม่ใช่เข้ากระเป๋าคนไทยสักหน่อย
.
ถ้านายทุนไทยรายใหญ่ยอมขาดทุนกำไร หรือยอมกำไรแต่น้อย ๆ ให้เป็นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสู้กับต่างชาติก็ย่อมชนะใจพี่น้องร่วมชาติได้ แต่พวกเขาไม่ทำเช่นนั้นเพราะพวกเขาเห็นคนไทยเป็นแค่เบี้ย แค่ไพร่ หรือแค่ข้าทาสที่ตนจะสูบเลือดเอากำไรมาก ๆ การเรียกร้องให้คนไทยตาดำ ๆ ต้องยอมซื้อของแพงกว่าเพื่อพวกนายทุนไทยรายใหญ่เอง เป็นการเรียกร้องที่น่าละอาย เป็นการปล้นเพื่อนร่วมชาติ
.
อย่างไรก็ ตาม แม้วันหนึ่งนายทุนไทยจะทำดีแล้ว ด้วยการขายสินค้าคุณภาพทัดเทียมต่างชาติในราคาถูกกว่า แต่ก็อาจยังมีคนไทยใจทาส ที่ยังพยายามใช้ของต่างชาติ เข้าทำนอง “เห็นขี้ฝรั่งหอม” อยู่ เรื่องนี้นายทุนไทยก็ยังต้องใช้ความอดทนเอาชนะใจคนไทยเหล่านี้ให้ได้ในระยะยาว ด้วยคุณภาพของสินค้าหรือบริการของเรานั่นเอง
.
ในอีกแง่หนึ่งนายทุนไทยรายใหญ่ทั้งหลายนั้นมักชอบทำดีก็ด้วยการลูบหน้าปะจ
มูก หรือบางทีพวกเขาทำดีด้วยการทำตัวผูกพันกับสถาบันอันเป็นที่เคารพของคนไทย กิจกรรมทำดีมีคุณธรรมของนายทุนไทยรายใหญ่ก็ได้แก่ การแจกของแบบคุณหญิง คุณนาย ช่วยพัฒนา หรือการปลูกป่า ซึ่งไม่ได้ผลอะไร เพราะปีหนึ่ง ๆ ไทยเราปลูกป่าได้เพียงหมื่นไร่ แต่ป่าถูกทำลายไปนับแสน ๆ ไร่ แถมที่ปลูกไป ตายเสียเท่าไหร่ก็ไม่มีใครรู้ การโหมโฆษณาให้คนปลูกป่า ก็เท่ากับเรา “ปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ” ไม่ให้คนไทยได้เห็นความจริงของการบุกรุกทำลายป่า ปล่อยให้คนชั่วลอยนวล <5>
.
การส่งเสริมให้สำลักความดีกันอย่างเป็นบ้าเป็นหลังนั้นอาจถือเป็นการมอมเม
าทาง หนึ่ง อย่าลืมว่า ปัญหาสังคมทุกวันนี้ ไม่ได้อยู่ที่คนทำดีน้อยไป แต่อยู่ที่คนทำผิดกฎหมายจำนวนน้อยนิด ก่อปัญหาให้กับสังคมโดยไม่ได้ถูกกำราบต่างหาก <6>
.
ยิ่งกว่า นั้น สิ่งที่คนไทยต้องระวังนายทุนไทยรายใหญ่ก็คือ หากพวกเขาสู้ต่างชาติไม่ได้ พวกเขาอาจไปสมคบกับต่างชาติ ทำตัวเป็นนายทุนนายหน้า คือแทนที่จะส่งเสริมตราสินค้าไทยเอง ก็กลับไป “สวมหนังสือ” เอายี่ห้อต่างชาติมาแปะ หรือยอมศิโรราบกับต่างชาติมาปล้นคนไทยด้วยกันเอง
.
รักชาติคือ รักประชาชน เห็นหัวประชาชน ไม่ใช่เห็นประชาชนเป็นแค่เบี้ย
.
.
.
หมายเหตุ
.
<1> ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย Email: sopon@thaiappraisal.org
.
<2> โปรดอ่านบทความของผู้เขียน “ต่างชาติกับที่ดินไทย: ไม่ให้ซื้อ” อาคารที่ดินอัพเกรด 12-19 มีนาคม 2550 หน้า 63-64 และโพสต์ทูเดย์ 28 กุมภาพันธ์ 2550 หน้า A13 ได้ที่ //www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market147.htm
.
<3> โปรดอ่านบทความของผู้เขียนเรื่อง “วงจรชีวิตตลาดที่อยู่อาศัยไทย” วารสารธนาคารอาคารสงเคราะห์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 47 ตุลาคม-ธันวาคม 2549
.
<4> โปรดอ่านบทความของผู้เขียนเรื่อง “คนจนในไทยมีเพียง 10%” ThaiAppraisal กรกฎาคม-สิงหาคม 2551 ได้ที่ //www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market180.htm
.
<5> โปรดอ่านบทความของผู้เขียน “อย่าปล่อยให้ "สืบ นาคะเสถียร" ตายฟรี” ที่ //www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market203.htm
.
<6> โปรดอ่านบทความของผู้เขียน “CSR, ทำดีเพื่อปกปิดความชั่ว?!?” กรุงเทพธุรกิจ : จุดประกาย วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม 2551 หน้า 4 ที่ //www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market175.htm
.
.
.
ภาคผนวก: อีเมล์ “ปี 2553 จุดจบประเทศไทย......ถ้ายังเป็นคนไทยอยู่ช่วยอ่านด้วย”
.
เรื่อง นี้คนไทยทุกคนควรที่จะได้รู้ .....ประเทศต่าง ๆ ในโลกนี้มีเกิด มีดับ ตลอดเวลา .....ประเทศไทยก็ไม่พ้นวิถีนี้เช่นกัน . . . ในวันที่ 11 ธันวาคม 2543 ที่ผ่านมาที่งานคนดีศรีสังคม ณ หอประชุมวัฒนธรรมฯ คุณนิติภูมิได้บรรยายว่า ประเทศไทยจะต้องแตกเป็นประเทศใหม่อีก 4 - 6 ประเทศ แน่นอน! ทั้งนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดขึ้นอย่างมีกระบวนการ โดยสถานการณ์จะเริ่มชัดขึ้นในปี 2553 ซึ่งเป็นปีที่ข้อตกลง GATTs จะเริ่มมีผลสมบูรณ์ การค้าเสรีจะมีผลสมบูรณ์ สินค้าเกษตรต่าง ๆ จากต่างประเทศจะทะลักเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมหาศาล
.
(อ่านรายละเอียดอีเมล์ ฉบับดังกล่าวได้ที่: //researchers.in.th/blog/006/1104)




 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 18:19:05 น.
Counter : 441 Pageviews.  

ฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติด้วยวิธีเพิ่มมูลค่าอสังหาริมทรัพย์

จดหมายถึงนายกรัฐมนตรี ฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติด้วยวิธีเพิ่มมูลค่าอสังหาริมทรัพย์

10 ถ.นนทรี ยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
Email: sopon@area.co.th

12 พฤษภาคม 2552

เรื่อง ฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติด้วยวิธีการเพิ่มมูลค่าอสังหาริมทรัพย์

กราบเรียน นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี

เนื่อง ด้วยรัฐบาลมีนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติที่กำลังตกต่ำในปัจจุบัน กระผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง และจึงทำหนังสือนี้มาเสนอแนวคิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติด้วยวิธีการเพิ่มมูล ค่าอสังหาร
ิมทรัพย์เพื่อโปรดพิจารณา ดังรายละเอียดต่อไปนี้:


1. การจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน {1}

ตาม ที่รัฐบาลมีแนวคิดจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน กระผมเห็นว่าเป็นแนวคิดที่ดี เป็นสากล และแทบไม่ส่งผลกระทบต่อเจ้าของที่อยู่อาศัย เพราะภาษีทรัพย์สินมีอัตราการจัดเก็บต่ำมาก โดยในประเทศตะวันตกจัดเก็บในอัตราปีละ 1-2% ของมูลค่าตลาดของทรัพย์สิน แต่ในกรณีประเทศไทยอาจเริ่มต้นจัดเก็บในอัตราเพียง 0.5% และหากที่อยู่อาศัยหน่วยหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานครมีราคาเฉลี่ยประมาณ 2 ล้านบาท ก็จะจัดเก็บเพียง 833 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นจำนวนเงินใกล้เคียงกับค่าจัดเก็บขยะหรือดูแลชุมชนเท่านั้น {2}

จะ สังเกตได้ว่า ในเขตเมืองมีแปลงที่ดินเปล่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เป็นจำนวนมาก ที่ดินเหล่านี้ควรนำมาเสียภาษีทรัพย์สิน ทั้งนี้เป็นไปตามหลักการที่ชัดเจนเช่นเดียวกับกรณีของห้องชุดซึ่งแม้เจ้าของ ไม่ได้เข
้าอยู่อาศัย กฎหมายก็บังคับให้เจ้าของต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนกลาง หากไม่เสีย ก็ไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนได้ ดังนั้นที่ดินเปล่าที่ไม่ใช้ประโยชน์ใด ๆ แต่กลับมีมูลค่าเพิ่มจากการพัฒนาสาธารณูปโภคของรัฐ จึงสมควรเสียภาษีเป็นอย่างยิ่ง

มาตรการภาษีทรัพย์สิน จะกระตุ้นให้เจ้าของทำการพัฒนาที่ดิน เพื่อให้เมืองไม่มีช่องว่างมากเกินไป การใช้สาธารณูปโภคในเมืองจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือในอีกทางหนึ่งหากการพัฒนาในเมืองเข้มข้น สาธารณูปโภคราคาแพง ก็ไม่จำเป็นต้องขยายตัวออกไปอย่างไม่สิ้นสุด เป็นการช่วยประหยัดต้นทุนทางสังคมอีกด้วย นอกจากนี้ยังอาจกล่าวได้ว่าภาษีทรัพย์สินให้ประโยชน์ต่อทุกฝ่าย เพราะภาษีที่เสียก็เพื่อนำมาพัฒนาท้องถิ่น และยิ่งท้องถิ่นพัฒนา ก็ย่อมทำให้ที่ดินของเจ้าของทั้งหลายยิ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีก

กระผม เคยศึกษาพบว่า ที่อยู่อาศัยทุกประเภทและที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมในประเทศไทย มีมูลค่ารวมกันประมาณ 47.533 ล้านล้านบาท ณ พ.ศ.2550 {3} หากเก็บภาษีทรัพย์สิน ณ อัตรา 0.5% ก็จะเป็นเงินถึง 237,668 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ยังไม่รวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมและเพื่อการพาณิชย์ หากนำมารวมด้วย ก็คาดว่าจะสามารถจัดเก็บภาษีทรัพย์สินได้ถึงราว 300,000 ล้านบาท

ยิ่งกว่านั้นภาษีทรัพย์สินนี้เก็บและใช้สอยเฉพาะในท้องถิ่น ท้องถิ่นย่อมมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ โอกาสที่จะเกิดการทุจริตย่อมมีน้อยลง ประชาชนในท้องถิ่นจะหวงแหนทรัพยากรของตนเองมากขึ้น ผู้มีความรู้ความสามารถจะหันมาทำงานการเมืองเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของท้อง ถิ่น และการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสียภาษีทรัพย์สินเช่นนี้จึงเป็นรากฐานการ พัฒนาประช
าธิปไตยให้มั่นคงอย่างแท้จริง


2. การสร้างมูลค่าเพิ่มของระบบถนน

ถนน นำความเจริญไปสู่ท้องถิ่นต่าง ๆ ทุกวันนี้ ประเทศต้องเสียเงินค่าก่อสร้างถนนและสาธารณูปโภคต่าง ๆ นับแสนล้านบาทต่อปี ทั้ง ๆ ที่ความจริงสามารถสร้างได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นที่พอใจของทุกฝ่าย และยังอาจได้กำไรไว้พัฒนาประเทศอีกต่างหาก

แผนภูมิแนวคิดการซื้อที่ดินริมถนนตัดใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า


โดยปกติเมื่อมีถนนใหม่เกิดขึ้น ที่ดินริมถนนที่แต่เดิมเป็นที่ว่างเปล่า รกร้าง ที่ตาบอด ที่ในซอยแคบ ที่ปลายหรือสุดซอย จะมีมูลค่าสูงขึ้นมาก จากการศึกษาของกระผมเรื่องการจัดรูปที่ดินบริเวณถนนประชาอุทิศ ห้วยขวาง เมื่อปี 2533 พบว่า การตัดถนนใหม่เข้าไปในที่ดินย่านนั้น ทำให้ราคาที่ดินเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากตารางวาละ 14,000 บาท เป็น 38,000 บาท หรือประมาณ 2.71 เท่า {4} และการศึกษาของกระผมอีกครั้งหนึ่งเพื่อการจัดรูปที่ดินบึงบัวมน รามอินทรา กม.8 พ.ศ.2534 ก็พบว่า ราคาที่ดินเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากตารางวาละ 8,675 เป็น 20,228 บาท หรือประมาณ 2.33 เท่า {5} โดยสรุปแล้วจึงอนุมานว่า ภายหลังการตัดถนน ราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้นถึง 2.5 เท่า

จากแผนภูมิที่ แสดงไว้ข้างต้น ต้นทุนถนนเส้นหนึ่งเท่ากับค่าก่อสร้างถนนกับค่าค่าเวนคืน โดยหากสมมติให้ค่าก่อสร้างถนนเท่ากับ 1 ต้นทุนค่าเวนคืนที่ดินมาสร้างถนนจะประมาณ 3, 2 หรือ 1 เท่าของค่าก่อสร้างถนนในเขตในเมือง เขตต่อเมือง และเขตชานเมืองตามลำดับ

ดังนั้น ในกรณีตัดถนนในเขตเมืองที่ต้องลงทุน 4,000 ล้าน (เป็นค่าก่อสร้าง 1,000 ล้าน และค่าเวนคืน 3,000 ล้านบาท ตามสัดส่วน 1:3) หากทางราชการเวนคืนที่ดินสองฝั่งถนนเพิ่มอีกสองเท่าของตัวถนน เช่น ถนนกว้าง 40 เมตร ก็เวนคืนอีกข้างละ 40 เมตรแล้ว ต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ล้านบาท (ค่าสร้างถนน 1,000 ล้านบาท, ค่าเวนคืนที่ดินที่เป็นถนน 3,000 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มอีก 2 ฝั่งถนนขนาดเท่าตัวถนน อีก 6,000 ล้านบาท) และเมื่อก่อสร้างถนนแล้วเสร็จ ต้นทุนที่ดินสองฝั่งถนน 6,000 ล้านบาทนี้ก็จะกลายเป็น 15,000 ล้าน (หรือเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าตามที่ประมาณการไว้ข้างต้น) ซึ่งสูงกว่าต้นทุนทั้งโครงการ (10,000 ล้านบาท) ถึง 5,000 ล้าน ซึ่งเท่ากับสามารถสร้างถนนได้โดยไม่เสียงบประมาณแผ่นดิน อีกทั้งยังได้ “กำไร” ไว้บำรุงชาติอีกต่างหาก

โดยหลักการนี้ ต่อไปรัฐบาลก็ไม่ต้องจำกัดงบประมาณในการจ่ายค่าเวนคืนที่ดินในราคาต่ำ ๆ และก็ยังสามารถสร้างถนนได้ทั่วไป ถือเป็นโครงการประเภทที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย (win-win) คือ

1. ราชการก็ไม่เสียงบประมาณแผ่นดิน สามารถนำงบประมาณไปช่วยประชาชนที่ขาดแคลนทางอื่นดีกว่า

2. เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนก็ยินดี เพราะได้รับการเวนคืนในราคาที่เป็นธรรม

3. ประชาชนทั่วไปก็มีถนนหนทางไว้สัญจรเพิ่มมากขึ้น

4. สังคมโดยรวมก็มีความสุข เพราะสองข้างทางแทนที่จะต้องแบ่งขายกลายเป็นตึกแถวมากมายจนเสียทัศนียภาพ รัฐบาลอาจเอาพื้นที่บางส่วนมาทำเป็นสวนสาธารณะ เมืองก็จะมีการวางแผนและผังที่ดี

โดยสรุปแล้ว หัวใจสำคัญของความเป็นไปได้นี้ก็คือ ถนนเป็นตัวสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ที่ดินได้อย่างมหาศาล ในประเทศไทยยังมีถนนไม่เพียงพอ เมื่อใดที่มีการสร้างถนน ราคาที่ดินสองข้างทาง ก็จะเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นในกรณีที่ดินใจกลางเมือง ที่ดินเขตต่อเมือง ที่ดินชานเมือง หรือแม้แต่ที่ดินชนบทก็ตาม {6}

อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคก็ตรงที่ว่า กฎหมายเวนคืนปัจจุบันไม่อนุญาตให้เวนคืนมาเพื่อการพาณิชย์ รัฐบาลเองก็ไม่มีหน่วยงานที่ดูแลการลงทุนหรือพัฒนาที่ดิน แต่กระผมเชื่อว่า รัฐบาลคงสามารถขจัดอุปสรรคเหล่านี้ให้หมดไปได้ เพื่อว่าประเทศไทยจะสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ทรัพยากรให้น้อยและคุ้มค่าที่สุด และกรณีตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซียก็สามารถเวนคืนที่ดินเพื่อการพาณิชย์ตราบเท่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อ สังคมและประเทศชาติโดยรวม


3. การนำที่ดินของรัฐใจกลางเมืองมาพัฒนาเชิงพาณิชย์

ที่ดิน ของรัฐใจกลางเมืองสามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้ได้อย่างยั่งยืน {7} เช่น นำมาใช้ก่อสร้างเป็นศูนย์ธุรกิจใจกลางเมือง (Central Business District: CBD) แห่งใหม่ โดยให้มีอาคารสำนักงานขนาดใหญ่รวมกันในที่เดียว ทำให้เกิดพลังเกื้อหนุนกัน คล้ายบริเวณสีลม-สุรวงศ์-สาทร ซึ่งทำให้การดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพ ไม่เสียเวลาเดินทาง ราคาค่าเช่าก็จะไม่ตกต่ำเช่นอาคารที่ตั้งอยู่โดด ๆ ตัวอย่างความสำเร็จใปประเทศอื่นก็ได้แก่การพัฒนาย่านมากาตี กลางกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

ตัวอย่างที่ดินตามภาพต่อไปนี้น่าจะนำมาใช้เป็น CBD ใหม่ได้ ที่ดินแปลงนี้มีขนาดประมาณ 900 ไร่ เป็นที่ตั้งของราชการทหาร มีอาณาบริเวณตั้งแต่สนามเป้าถึงสโมสรกองทัพบก โดยด้านตะวันออกติดถนนวิภาวดีซึ่งมีดอนเมืองโทลเวย์และทางด่วนขั้นที่หนึ่ง ส่วนด้านตะวันตกก็ติดกับถนนพหลโยธินซึ่งมีรถไฟฟ้าบีทีเอสและทางด่วนขั้นที่ 2 ที่สามารถต่อเชื่อมเข้าแปลงที่ดินได้ ภายในที่ดินแปลงนี้ยังสามารถเพิ่มสาธารณูปโภค เช่น รถรางไฟฟ้าขนาดเล็กระหว่างอาคาร ทางด่วน และระบบโทรคมนาคมที่ทันสมัย ฯลฯ ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของการเป็น CBD ทั้งนี้สิงคโปร์ก็เคยทำรถไฟฟ้าขนาดเล็กเชื่อมต่อพื้นที่จนสำเร็จแล้ว

อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษก็คือการจ่ายค่าชดเชยในการย้ายหน่วยราชการ ออกไป รวมทั้งความสูญเสียประโยชน์ในการอยู่ใจกลางเมืองของครอบครัวข้าราชการ ซึ่งคงต้องใช้เงินพอสมควรเพื่อให้สมเกียรติ แต่ก็คงไม่มากนักหากเทียบกับประโยชน์ที่ประเทศชาติจะได้รับ

การพัฒนาเมืองในเชิงรุกนี้ อาจถือเป็นการเกี่ยวร้อยการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาเมือง การวางผังเมือง และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเชิงสร้างสรรค์ต่อประเทศชาติไปพร้อม ๆ กัน อันถือเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ในการพัฒนาประเทศในอนาคต

ตัวอย่างที่ดินของรัฐที่สามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ใจกลางเมือง: กรณีที่ดินสนามเป้า


ที่ดินขนาด 900 ไร่ดังกล่าวนี้ หากนำที่ดิน 40% ไปพัฒนาเป็นสาธารณูปโภค ยังเหลือที่ดินเพื่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์ถึง 540 ไร่ และสามารถตั้งอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ที่สีลมซึ่งมีขนาดประมาณ 8 ไร่ ได้ถึงประมาณ 68 อาคาร สำหรับความเป็นไปได้ทางการเงินเบื้องต้นโดยสังเขปของการพัฒนาที่ดินแสดงไว้ ในตารางท้
ายนี้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ที่ดินแปลงดังกล่าวมีมูลค่าประมาณ 73,122.9 ล้านบาท หรือเป็นเงินตารางวาละประมาณ 203,119 บาท ที่สำคัญก่อให้เกิดการพัฒนาที่มีมูลค่ารวมถึง 311,821 ล้านบาท อันช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้มากทีเดียว

ตารางประมาณการมูลค่าที่ดินของทางราชการใจกลางเมือง: กรณีที่ดินสนามเป้า


นอกจากที่ดินแปลงดังกล่าวข้างต้น ในเขตกรุงเทพมหานครยังมีที่ดินของทางราชการอีกเป็นจำนวนมากที่สามารถนำมาพัฒนาเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติโดยรวมได้ กระผมเคยนำเสนอไว้ในการเสนอที่ตั้งรัฐสภาแห่งใหม่ไว้นับสิบแห่ง {8} เช่น

1. ที่ดินกรมทหาร เขตดุสิต ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางหลายพันไร่
2. พื้นที่กรมทหาร ถ.โยธี พญาไท ซึ่งมีขนาดใหญ่และมีทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าผ่านเช่นกัน
3-4 สนามม้าทั้งสองแห่งในกรุงเทพมหานคร
5. โรงซ่อมรถไฟ บึงมักกะสัน ซึ่งมีทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าผ่านเช่นกัน
6. โรงงานยาสูบเดิม ถ.พระรามที่ 4 ซึ่งมีรถไฟฟ้าและทางด่วนผ่านบริเวณใกล้เคียง
7. ที่ดินคลังน้ำมัน ถ.พระราม 3 ติดแม่น้ำเจ้าพระยา
8. ที่ดินการรถไฟฯ ถ.เชื้อเพลิง ติดแม่น้ำเจ้าพระยา
9. ท่าเรือคลองเตยที่อาจจะย้ายไปแหลมฉะบัง
10. ที่ตั้งขององค์การแบตเตอรี่ผนวกกับองค์การแก้วเดิม

นอกจากนี้ยังมีที่ดินรถไฟชุมทางบางซื่อ ที่ดินที่ให้สถานทูตต่างประเทศเช่า ที่ดินของหน่วยราชการอื่น ฯลฯ ที่ดินเหล่านี้หากสามารถนำมาพัฒนาได้จริง ย่อมทำให้เกิดมูลค่าการพัฒนาไม่ต่ำกว่า 4 ล้านล้านบาท หรือมากกว่างบประมาณแผ่นดินไทยถึง 2 เท่าตัว ที่ผ่านมาประเทศเพื่อนบ้านก็ได้ทำการย้ายส่วนราชการออกนอกเมืองเป็นจำนวนมาก ทั้งในกรุงมะนิลาและนครโฮชิมินห์ซิตี้ เป็นต้น


4. การอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารความหนาแน่นสูง

ที่ ผ่านมาทางราชการมักมีแนวคิดแบบที่ปฏิบัติตาม ๆ กันมา (Conventional Belief) ว่า ไม่ควรทำกรุงเทพมหานครหนาแน่น น่าจะเก็บรักษาที่ดินไว้เพื่อชนรุ่นหลัง กระผมว่าแนวคิดนี้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และกลับจะเป็นภัยต่อลูกหลานในอนาคตที่ต้องซื้อบ้านในย่านชานเมืองไกล ๆ กระผมจึงเห็นว่ารัฐบาลควรวางแผนให้กรุงเทพมหานครมีความหนาแน่นขึ้น ทำให้ที่ดินในเมืองได้รับการใช้สอยอย่างเข้มข้น ทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ต้องขยายตัวออกสู่ชานเมืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เป็นการประหยัดภาษีของประชาชน

ในปัจจุบัน ผังเมืองกำหนดให้อัตราส่วนพื้นที่อาคารต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) ต่ำมาก แต่เดิมกำหนดให้ทั่วกรุงเทพมหานครมีสัดส่วน 10:1 แต่ตามผังเมืองปัจจุบัน มีพื้นที่จำกัดที่ให้มีการพัฒนาในสัดส่วนดังกล่าว กระผมจึงขอเสนอให้แก้ไขผังเมืองให้สามารถพัฒนาที่ดินตาม FAR เป็น 10:1 หรือ 15:1 และให้ส่วนที่สามารถพัฒนาได้เพิ่มจากปัจจุบัน ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม เพื่อรัฐบาลจะสามารถนำรายได้จากส่วนนี้มาใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ

การนี้จะสามารถทำให้เกิดพื้นที่ก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น สมมติเป็น 1 ล้านตารางเมตรต่อปี และหากมูลค่าของพื้นที่เป็นเงินประมาณ 50,000 บาทต่อตารางเมตร ก็จะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 50,000 ล้านบาท

และ หากมาตรการนี้เป็นจริง อาคารใจกลางเมืองที่มีการพัฒนาบนพื้นที่ที่มีความหนาแน่นน้อย ก็จะขออนุญาตพัฒนาใหม่ อันจะเป็นกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง ที่ดินใจกลางเมืองก็จะได้รับการใช้สอยอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ภาษีที่ได้ก็จะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศในทางอื่นนั่นเอง


5. การก่อสร้างรถไฟฟ้าใจกลางเมือง

ใน ขณะนี้รัฐบาลพยายามก่อสร้างรถไฟฟ้าออกไปชานเมืองจำนวนหลายสาย ซึ่งบางสายก็อาจมีความจำเป็น แต่บางสายก็อาจเป็นการสร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชน เช่น ประชาชนผู้มีรายได้ปานกลางอาจคิดว่าจะสามารถซื้อห้องชุดในโครงการอาคารชุด นอกเมืองได้ แต่หากรถไฟฟ้าชานเมืองแล้วเสร็จ ค่าโดยสารอาจเป็นประเด็นปัญหาสำคัญ เพราะผู้โดยสารต้องเสียค่ารถไฟฟ้าอีกเท่าตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าต่อวันอาจตกเป็นเงินถึง 150-200 บาท และเมื่อนั้นประชาชนก็จะตระหนักว่ารถไฟฟ้าชานเมืองบางสายไม่อาจประหยัดค่า เดินทางได้ ต่างจากทางด่วน ซึ่งยังมีรถประจำทางหรือรถตู้ขึ้นทางด่วนในราคาที่ถูกกว่า

กระผมจึง ใคร่ขอเสนอให้เพิ่มความสำคัญของการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าใจกลางเมือง เช่น ที่ครั้งหนึ่งรัฐบาลจะสร้างรถไฟฟ้าจากบางซื่อผ่านถนนสามเสนเข้าเมืองจนถึง หัวลำโพง และควรดำเนินการในพื้นที่ใจกลางเมืองบริเวณอื่น ๆ ทั้งเขตพระนคร สัมพันธวงศ์ ยานนาวา ลาดพร้าว ฯลฯ การสร้างรถไฟฟ้ายังอาจใช้การก่อสร้างระบบรางเบา อย่างไรก็ตามระบบรถด่วนประจำทาง (Bus Rapit Transit: BRT) ไม่ควรสร้างเพราะทำให้เสียช่องทางจราจรไป 1 ช่องทาง และจากประสบการณ์ที่กระผมเคยไปเป็นที่ปรึกษากระทรวงการคลัง อินโดนีเซีย พบว่า ระบบนี้ซึ่งกรุงจาการ์ตาใช้มาก่อนไทยนั้น ไม่มีประสิทธิผลเพียงพอและกลายเป็นปัญหาในระยะยาว {9}

ในการก่อ สร้างรถไฟฟ้าใจกลางเมืองนั้น อาจมีข้อสงสัยว่า จะเป็นการจัดสรรงบประมาณให้เฉพาะผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครหรือไม่ กระผมเห็นว่าข้อนี้ไม่ใช่การมุ่งประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เพราะการลงทุนนี้จะสามารถคืนทุนโดยไม่เสียภาษีอากรของประชาชน และที่สำคัญยังจะสามารถช่วยให้นครหลวงแห่งนี้สามารถทำการหน้าที่ได้อย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยยิ่งขึ้น และหากมีระบบรถไฟฟ้าที่ดียิ่งขึ้น อาคารต่าง ๆ ใจกลางเมืองก็ไม่จำเป็นต้องมีที่จอดรถมากมายเช่นในปัจจุบัน สามารถนำพื้นที่ไปใช้เพื่อการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น เพราะการใช้รถส่วนตัวจะลดลง ทำให้ความต้องการใช้ที่จอดรถจะลดลงตามไปด้วย

ตัวอย่างอาคารโรงแรมแม็กซ์ พระราม 9 ซึ่งมีพื้นที่จอดรถจำนวนมากเทียบกับอาคารในนครนิวยอร์กที่มีสัดส่วนที่จอดรถน้อยกว่า



6. การจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาที่ดินแห่งชาติ

อาจกล่าวได้ว่าการใช้ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนเมืองใหญ่ทั่วประเทศยังขาดประสิทธิภาพเท่าที่ควร ในสมัยที่กระผมทำการศึกษาการใช้ที่ดินเมืองตามงบประมาณของธนาคารโลก ได้แปรภาพถ่ายทางอากาศพบว่า ในอดีตที่ผ่านมา ที่อยู่อาศัยหลักในเขตกรุงเทพมหานครก็คือ ที่ดินจัดสรร {10} ซึ่งในภายหลังถูกปล่อยทิ้งร้างไว้มากมาย เพราะไม่มีผู้เข้าอยู่อาศัยเพียงพอ ทำให้เกิดความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีบ้านหรือโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ทิ้งร้างไว้อีกจำนวนมาก หากนำมาพัฒนาจะทำให้เกิดการเพิ่มมูลค่าขึ้นมหาศาล {11}

ในขณะเดียวกันการพัฒนาที่ดินของภาคเอกชนก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรวบรวมที่ดิน ซึ่งมักใช้เวลานาน เจ้าของที่ดินบางส่วนก็ไม่ยินยอมขาย ทำให้ที่ดินในเขตเมืองไม่ได้รับการพัฒนา และเป็นการกีดขวางการพัฒนาเมือง เมืองก็จำต้องขยายตัวในแนบราบอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้เมืองยิ่งขาดระเบียบยิ่งขึ้นต่อไป

โดยปกติ การจะซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ซื้อและผู้ขาย แต่ในกรณีเพื่อการพัฒนาเมืองและการวางผังเมืองในเชิงรุก แนวคิดใหม่ที่ควรพิจารณาก็คือทางราชการโดยองค์การพิเศษหนึ่งสามารถบังคับจัด ซื้อบนพื้นฐานราคาตลาดหรืออาจกำหนดให้ซื้อได้สูงกว่าราคาตลาด 30% เพื่อจูงใจให้ผู้ขายยินดีขาย เพื่อนำที่ดินมาพัฒนาให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างทันการ

ภาพถ่ายทางอากาศแสดงโครงการที่ดินจัดสรรที่มักมีผู้เข้าอยู่อาศัยน้อยมาก
แม้จะจัดสรรมาประมาณ 40 ปีแล้ว (ตัวอย่างบริเวณถนนติวานนท์)


ภาพกรณีการรวบรวมที่ดินซึ่งไม่มีประสิทธิภาพ (บางแปลงไม่ยินยอมขาย)
ซึ่งส่งผลเสียต่อทุกฝ่ายทั้งผู้ประกอบการ เจ้าของที่ดินและสังคมโดยรวม
//www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market228.htm

{2} เช่นบ้านหลังหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร มีราคาเฉลี่ยประมาณ 2 ล้านบาท หากรัฐบาลตั้งใจจะจัดเก็บเพียง 0.5% ดังที่แถลง ก็จะเป็นเงินเพียงปีละ 1,000 บาท หรือเดือนละ 833 บาท

{3} โปรดอ่านผลการศึกษาเรื่อง การเปลี่ยนแปลงมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ประเทศไทยและภัยความมั่นคงต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ //www.thaiappraisal.org/pdfNew/Research/research_2007-05-215-land.pdf

{4} Pornchokchai, Sopon (1992). Bangkok Slums: Review and Recommendations. Bangkok: Agency for Real Estate Affairs (p.179).

{5} Pornchokchai, Sopon (1995). Innovative Land Readjustment in Thailand Where Public and Private Benefits Meet. Paper presented at the International Congress on Real Estate, April 24-26, 1995 organized by National University of Singapore and American Real Estate and Urban Economics Association.

{6} โปรดดูบทความเรื่อง “เชื่อหรือไม่… สร้างถนนได้โดยรัฐไม่เสียเงินสักบาท” ในผู้จัดการรายวัน ปีที่ 14 ฉบับที่ 4229 (4227) 1 กรกฎาคม 2547 หน้า 32 หรือที่ //www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market46.htm

{7} โปรดอ่าน “วางผัง-สร้างเมืองเชิงรุก: สร้าง CBD ใน CBD” ดร.โสภณ พรโชคชัย. หนังสือ อสังหาริมทรัพย์เรื่องสำคัญของชีวิต หน้า 107-112

{8} โปรดอ่าน โสภณ พรโชคชัย. 12 พื้นที่สร้างรัฐสภาใจกลางกรุง นิตสารตลาดบ้าน ฉบับที่ 253 / สิงหาคม 2551 หน้า 150 และ ฐานเศรษฐกิจ 17-19 เมษายน 2551 หน้า 37 หรือที่ //www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market179.htm

{9} โปรดอ่านเกี่ยวกับโครงการ BRT ของกรุงจาการ์ตา ซึ่งเรียกว่า “TransJakarta” ได้ที่ //en.wikipedia.org/wiki/TransJakarta

{10} โปรดดูได้ที่ Sopon Pornchokchai and Shlomo Angel. Working Paper No.5: The Informal Land Subdivision Market in Bangkok: A Preliminary Investigation. Bangkok: Bangkok Land Management Study (An ADB Project), Mar. 1987, 23 pp.

{11} โปรดดูรายละเอียดที่ โสภณ พรโชคชัย. องค์การบริหาร-พัฒนาที่ดินแห่งชาติ. หนังสือพิมพ์บิสิเนสไทย ปีที่ 5 ฉบับที่ 245 วันที่ 22-28 พฤษภาคม 2549 หน้า 23 หรือที่ //www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market109.htm


หรือดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่นี่:
//www.thaiappraisal.org/Thai/letter/letter16.htm




 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 18:23:19 น.
Counter : 2148 Pageviews.  

ฐานะทางการคลัง : ดูไปข้างหน้าเหมือนจะตีบตันมากยิ่งขึ้น

โดย วีรพงษ์ รามางกูร
ที่มา เวบไซต์ ประชาชาติธุรกิจ
11 พฤษภาคม 2552

เกาะกระแสรัฐถังแตก ส่องฐานะทางการคลัง รบ.มาร์ค ผ่านสายตา′ดร.โกร่ง′ คนเดินตรอก ผลจากรัฐบาลจัดเก็บภาษีไม่ได้ตามเป้า กระทั่งเป็นที่มาของ"วิกฤตการณ์รายได้” ของรัฐบาลงวดนี้ ทำไม ดร.วีรพงษ์ถึงบอกว่า′ตกใจ′ และ′กังวลใจ′ !!


เมื่อเร็วๆ นี้รู้สึกตกใจและกังวลใจเมื่อได้อ่านหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับระบุว่า กรมบัญชีกลางออกมาเตือนว่า กระทรวงการคลังอาจจะต้องยืมเงินค่าลงทะเบียนของนักศึกษา และค่าธรรมเนียมวางศาลมาใช้ไปพลางก่อน คิดในใจว่าเอาอีกแล้ว

แม้ว่าคงจะเป็นคำพูดที่เปรียบเปรย ไม่ใช่ว่าจะทำจริงๆ ก็เท่ากับเป็นการให้สัญญาณที่ค่อนข้างแรง เพราะก่อนหน้านั้น กระทรวงการคลังก็ปล่อยข่าวออกมาว่า อาจจะต้องดึงเงินก่อสร้างโรงงานยาสูบ 6.8 พันล้านบาท มาใช้ก่อน เหตุเพราะโครงการล่าช้า พร้อมๆ กับจะเอาเงินหวยบนดินจำนวน 1.7 หมื่นล้านบาทมาใช้ก่อน

ข่าว ดังกล่าวถ้าเป็นความจริง ก็เท่ากับว่า ทางกระทรวงการคลังกำลังวิตกว่ากระแสเงินสด หรือเงินคงคลัง น่าจะมีปัญหาอย่างหนัก เพราะรายรับจากภาษีอากรคงจะไม่เข้าเป้า และน่าจะเป็นปัญหารีบด่วนที่ต้องแก้ไข เพียงแต่ไม่บอกจำนวนตัวเลขว่า ปัญหาการขาดสภาพคล่องของกระทรวงการคลังนั้น มีมากน้อยเพียงใด

ข่าวอีกข่าวที่ทำให้กังวลใจก็คือ รัฐบาลประกาศว่า งบประมาณรายจ่ายในปี 2553 จะลดลงจากงบประมาณรายรับปี 2552 ประมาณ 2 แสนล้านบาท กล่าวคือ จะลดลงจาก 1.90 ล้านล้านบาท มาเป็นยอดงบประมาณรายจ่าย 1.70 ล้านบาท โดยยังมียอดขาดดุลงบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งเท่ากับ 20 เปอร์เซ็นต์ของประมาณรายจ่าย

รายรับของรัฐบาล มีจำนวนเท่ากับรายจ่ายประจำของรัฐบาลพอดี ไม่มีเหลือใช้สำหรับการลงทุนเลย งบฯการลงทุนทั้งหมด มาจากเงินกู้ เงินกู้จากในประเทศนั้น มีจำนวนเต็มพิกัด คือเท่ากับร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่าย ส่วนที่เกินจากนี้ จะกู้จากต่างประเทศ เพราะงบประมาณรายจ่ายที่จ่ายจากการกู้ในบางประเทศ ไม่ต้องบรรจุไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี

ถ้าข่าวนี้เป็นจริง ก็เท่ากับว่า ปีงบประมาณ 2553 ที่จะมาถึงนี้ เป็นปีแรกที่รัฐบาลจำต้องตั้งงบประมาณรายจ่าย ลดลงจากงบประมาณปีก่อน ซึ่งเราไม่เคยทำมาก่อน ในสมัยก่อนอย่างมาก เราก็มีแต่การตั้งงบประมาณรายจ่ายเท่าเดิม หรือ “zero growth budget” ไม่ยอมให้มีการตั้งงบประมาณรายจ่ายลดลง หรือ “negative growth budget” โดยพยายามหารายได้ให้มากขึ้น เพื่อจะไม่ให้ต้องลดงบประมาณรายจ่ายลง ขณะเดียวกัน ก็พยายามรักษาเสถียรภาพทางการคลังไว้ ไม่ให้ยอดการขาดดุลงบประมาณที่จะต้องกู้เงินมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ เกินกว่าร้อยละ 20 ของยอดงบประมาณรายจ่าย

รัฐใช้วิธีขึ้นภาษีเหล้า เบียร์ บุหรี่ เพื่อชดเชยรายได้จากภาษีอากรที่ไม่ได้ตามเป้า

แต่ในขณะเดียวกัน เนื่องจากยอดหนี้ต่างประเทศของทั้งรัฐบาลและเอกชน ยังมีน้อยเมื่อเทียบกับทุนสำรองระหว่างประเทศ รัฐบาลจึงใช้วิธีกู้จากต่างประเทศมา เพื่อการใช้จ่ายเพิ่มเติม งบประมาณรายจ่ายที่ชดเชยจากการกู้เงินจากต่างประเทศมาใช้จ่ายนั้น ไม่อยู่ใน พ.ร.บ.งบประมาณแผ่นดิน ที่จะต้องอนุมัติจากรัฐสภา แต่เมื่อถึงคราวที่จะต้องตั้งงบประมาณเพื่อชดใช้เงินต้นและดอกเบี้ย จึงจะปรากฏในเอกสารงบประมาณที่จะต้องอนุมัติจากรัฐสภา

สมัยก่อนทำอย่างนี้ไม่ได้ เพราะยอดหนี้ต่างประเทศมีปริมาณสูงแล้ว หากกู้เงินในตลาดการเงินไม่ได้ ต้องกู้จากสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย และหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศเท่านั้น

จากการดำเนินการดังกล่าว ก็สามารถคาดการณ์ได้ว่า ที่รัฐบาลต้องทำเช่นนั้น ก็เพราะการจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรของรัฐบาล คงจะหลุดเป้าการจัดเก็บเป็นอันมาก คาดการณ์กันว่า ในปีงบประมาณ 2552 นี้ รายรับของรัฐบาล คงจะต่ำกว่าเป้าหมายประมาณ 3 ถึง 3.5 แสนล้านบาท เงินคงคลังติดลบไปแล้วประมาณ 1 แสนล้านบาท ขณะเดียวกัน ก็คาดการณ์ได้ว่า ในปีงบประมาณถัดไปคือปี 2553 รายรับของรัฐบาลก็คงจะหลุดจากเป้าอีก ในปริมาณที่เท่ากัน คือประมาณ 3.5-4.0 แสนล้านบาท

รัฐบาลจึงต้องตราพระราชกำหนดอย่างฉุกเฉิน 4 แสนล้านบาท

3 แสนล้านบาท เพื่อชดเชยรายได้ที่ต่ำกว่าเป้าหมาย อีก 1 แสนล้านบาท เพื่อนำไปคืนเงินคงคลัง

กฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่จะเสนอต่อรัฐสภา เพื่อขอกู้เงินฉุกเฉินพิเศษอีก 4 แสนล้านบาท เพื่อใช้ลงทุนในโครงการพื้นฐานในปีงบประมาณ 2552 และปีงบประมาณ 2553

เหตุที่ต้องตรา พ.ร.บ.เป็นพิเศษ ก็คงจะเป็นเพราะรัฐบาลคงจะคาดการณ์ได้ว่า การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณต่อไป ก็คงจะลดลงอีก หรือไม่ก็คงจะไม่กระเตื้องเพิ่มขึ้นจากปีนี้

การที่ รัฐบาลต้องออกพระราชกำหนด และพระราชบัญญัติฉุกเฉินพิเศษดังกล่าว ก็เพราะรัฐบาลต้องกู้มาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ สูงกว่าเพดานที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหมายถึงการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เป็น “วินัยทางการคลัง” ซึ่งเป็นเรื่องน่าห่วงมาก

จากคำให้สัมภาษณ์ของท่านปลัดกระทรวงการคลัง ก็น่าจะพอประมาณได้ว่า ผลการจัดเก็บภาษีอากรของปีงบประมาณนี้ ก็คงจะมาจากภาวะเศรษฐกิจ จากการทำมาค้าขายของประชาชนในปีที่แล้ว ดังนั้นยอดการจัดเก็บภาษีอากรของรัฐบาลในปีต่อไป ก็จะขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของปีนี้ คือปี 2552 และเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของปีนี้ เป็นเรื่องที่ทำนายได้ว่า เศรษฐกิจจะหดตัวถึงประมาณร้อยละ 4-5 ซึ่งก็ต้องถือว่าเป็นอัตราการหดตัวที่รุนแรง คล้ายกับการหดตัวทางเศรษฐกิจในช่วงปี 2540-41

ถ้าเป็นอย่างนั้น รายรับของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2553 ก็คงจะลดต่ำลงกว่ารายรับของรัฐบาลในปีงบประมาณนี้อีก ยังนึกไม่ออกว่า ปีหน้ารัฐบาลจะสามารถตั้งงบประมาณรายจ่าย ให้อยู่ในกรอบตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้อย่างไร กล่าวคือ การขาดดุลไม่ควรจะเกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่าย หรือคิดว่า เมื่อสามารถออก พ.ร.บ.ให้อำนาจรัฐบาลกู้เงินฉุกเฉินได้อีก 4.0 แสนล้านบาทแล้วอาจจะพอ

แต่ในส่วนที่งบประมาณรายจ่ายประจำ จะไม่เกินรายรับของรัฐบาล อาจจะไม่สามารถรักษาหลักการอันนี้ไว้ได้อีกต่อไป

เหตุการณ์ทางด้านการคลังดังกล่าว น่าจะต้องถือว่า เป็นสัญญาณเตือนภัยที่ร้ายแรง อย่างที่ท่านปลัดกระทรวงการคลังออกมาเตือนว่า ท่านมีความเป็นห่วงว่า ปีงบประมาณ 2553 นี้ ประเทศของเราอาจจะพบกับปัญหา “วิกฤตการณ์รายได้”

" วิกฤตการณ์รายได้” นอกจากจะเป็นเครื่องเตือนภัยว่า ภาวะเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มที่จะดิ่งหัวลงแล้ว ก็ยังจะทำให้การดำเนินนโยบายทางการเงิน ต้องมีข้อจำกัดมากขึ้น รัฐบาลคงต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า จะทำอย่างไร

การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม หรือเศรษฐกิจมหภาค ตามแนวที่ไอเอ็มเอฟแนะนำ ตามการชี้นำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกา โดยการใช้จ่ายจากงบประมาณแบบ “ลดแหลกแจกแถม” หรือนโยบายการโปรยเงิน ที่ไอเอ็มเอฟกับอเมริกาเรียกว่า “money helicopter” เช่น โครงการแจกเงิน 2,000 บาท หรือแจกเงิน 500 บาท สำหรับคนมีอายุเกิน 60 ปี ทุกคน ไม่ว่าคนจนคนรวย โดยไม่ได้คำนึงถึงรายได้จากภาษีอากรที่จะไม่ได้ตามเป้าหมาย

แม้ว่ารัฐบาลจะเตรียมออก พ.ร.บ.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท เพื่อเตรียมไว้สำหรับการขาดดุลในปี 2552 และการขาดดุลในปี 2553 ถ้าดูจากภาวะเศรษฐกิจในปี 2552 นี้ที่มีแนวโน้มว่า จะย่ำแย่กว่าปี 2551 รายรับของรัฐบาลจากการจัดเก็บภาษีอากรในปี 2553 ก็น่าจะมีจำนวนลดลงกว่าการจัดเก็บงบประมาณในปี 2552 เงิน 4 แสนล้านบาท ที่จะขอรัฐสภาเผื่อไว้ ก็น่าจะไม่เพียงพอ แม้ว่าในยามจำเป็น อาจจะเบิกใช้จากบัญชีเงินคงคลังที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย

เงินจำนวน 8 แสนล้านบาทนี้ รัฐบาลอธิบายว่า จะออกเป็นพันธบัตรขายให้กับธนาคารพาณิชย์ เพื่อดูดซับสภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ส่วนหนึ่ง และถ้าไม่พอ ก็จะขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย รับซื้อไว้ส่วนหนึ่ง

ในส่วนที่ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อไว้ ก็เท่ากับเป็นการเพิ่มปริมาณเงินในตลาดให้มากขึ้น ภาษาชาวบ้านถือว่า เป็นการพิมพ์ธนบัตร ในที่สุด ปริมาณเงินที่มากขึ้นนี้ ก็จะไหลกลับไปที่ระบบธนาคารพาณิชย์ ทำให้สภาพคล่องในระบบธนาคารมากขึ้นอยู่ดี ซึ่งสามารถคำนวณได้ เมื่อรัฐบาลแถลงรายละเอียดนั้นมาให้ ในขณะนี้ยังไม่ทราบ

เมื่อทางกระทรวงการคลังเปิดเผยข้อมูล และวิธีดำเนินนโยบายการคลังออกมาเช่นนี้ ก็พอสรุปได้ดังนี้

1. ฐานะการคลังของประเทศเข้าขั้นวิกฤตแล้ว เพราะรัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนด กล่าวคือ การชดเชยงบประมาณขาดดุล ไม่ควรเกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่าย การที่รัฐบาลเลือกวิธีออกพระราชกำหนดขอกู้เงินเพิ่มเติม 4 แสนล้านบาท เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปี 2552 3 แสนล้านบาท และนำไปคืนเงินคงคลัง 1 แสนล้านบาท แทนการตัดงบประมาณรายจ่ายและเพิ่มภาษี เพื่อให้การขาดดุลงบประมาณยังอยู่ในกรอบของวินัยทางการคลัง

ถ้า จะดูภาวะทางเศรษฐกิจในภายภาคหน้า ก็ยังไม่เห็นแสงสว่าง ภาวะเศรษฐกิจจะหยุดการชะลอตัวลงเมื่อใด การคาดหวังว่า เศรษฐกิจจะหยุดการชะลอตัวในปี 2554 ก็ดูเป็นความหวังที่เลื่อนลอย

2. การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค จะมีความยากลำบากมากขึ้น ไม่ต้องพูดถึงว่า รัฐบาลจะตั้งงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แม้จะรักษางบประมาณรายจ่ายเท่าเดิม ก็ยังยาก หากจะทำ ก็ต้องหาทางขึ้นภาษี เพื่อโอนเงินจากประชาชนมาให้รัฐบาลมากขึ้น ซึ่งก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และการเมืองแบบนี้

3. รัฐบาลชี้แจงว่า เมื่อรัฐบาลกู้เพิ่มขึ้นอีก 8 แสนล้านบาทแล้ว ถ้าเศรษฐกิจหยุดหดตัวในปี 2554 ยอดหนี้ของรัฐบาลจะขึ้นไปเป็น 61 เปอร์เซ็นต์ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ พอๆ กับตอนปี 2542 เมื่อรัฐบาลโอนหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มาเป็นหนี้ของรัฐบาล คราวก่อนนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยทำพัง เพราะไปต่อสู้กับกองทุนเก็งกำไรเพื่อพยุงค่าเงินบาท แต่คราวนี้ไม่รู้ใครทำ แต่ผลเหมือนกันคือ ประเทศชาติมีหนี้สินเมื่อเทียบกับจีดีพีพอๆ กัน การตั้งใจจะรักษายอดหนี้สาธารณะไว้ให้ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของจีดีพีทำไม่ได้แล้ว

4. ถ้าจะต้องลงทุนในโครงการพื้นฐาน ซึ่งคงต้องรีบเร่งก่อนจะมีการเลือกตั้ง ก็คงต้องกู้จากต่างประเทศทั้งหมด การกู้จากต่างประเทศ ก็คงยากขึ้น เพราะ “ความน่าเชื่อถือ” ของประเทศลดลง เพราะมีทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาฐานะการคลัง และปัญหาการเมือง ถ้าสามารถกู้ได้ ก็คงต้องเสียดอกเบี้ยแพงขึ้น เอกชนก็คงจะกู้จากต่างประเทศยากขึ้น ถ้าใครกู้ได้ตอนนี้ ก็เริ่มกู้เสีย ในภายภาคหน้า จะยิ่งกู้ยากขึ้น

ดูไปข้างหน้าก็ดูเหมือนจะตีบตันมากยิ่งขึ้น




 

Create Date : 12 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 18:19:24 น.
Counter : 418 Pageviews.  

วิกฤตเศรษฐกิจโลก : ทำไมจึงไม่ใช่เป็นเพียงแค่วิกฤตการเงิน แต่เป็นวิกฤตทางปัญญา

โดย ดร.ทักษิณ ชิณวัตร

ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ฮ่องกง

12 มีนาคม 2552

ฟางเส้นสุดท้าย ที่ทำให้สถาบันการเงิน ล่มสลาย จนได้ลุกลามกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจระดับโลกครั้งนี้ เกิดขึ้นจากนักการเงินใช้จ่ายเงินเกินตัวอย่างไร้เหตุผล การกำกับดูแลตรวจสอบสถาบันการเงินที่ไร้ประสิทธิภาพ และถ้าเราเชื่ออีกว่า การโยกย้ายผ่องถ่ายเงินไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว เป็นต้นเหตุสำคัญของวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ผมคิดว่าเรากำลังจะพลาดประเด็นที่สำคัญของปัญหาไปอย่างน่าเสียดาย


เราทราบกันดีว่าต้นเหตุของวิกฤตครั้งนี้ เกิดขึ้นชัดเจนตั้งแต่ปี 1997 โดยการโจมตีค่าเงินบาท และลุกลามกลายเป็น “ วิกฤตการเงินของเอเชีย ” ทุกประเทศในเอเชีย ยกเว้นเกาหลีเหนือได้ดำเนินนโยบายตาม “ฉันทามติแห่งวอชิงตัน ” ( Washington’s Mantra ) ซึ่งแต่ละประเทศประสบความสำเร็จมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป แต่ดูเหมือนว่าประเทศที่เดินตาม“ฉันทามติแห่งวอชิงตัน” อย่างเคร่งครัด ในครั้งนั้น จะกลับกลายเป็นประเทศที่ได้ผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตการ เงินรอบใหม่ในครั้งนี้


“ ฉันทามติแห่งวอชิงตัน ” ที่ทุกประเทศท่องจำจนขึ้นใจ คือ คำว่า “ ตลาดเสรี ” ( Free Markets ) ตลาดที่เป็นอิสระจากการกำกับควบคุมดูแล และจะนำไปสู่ความมั่งคั่งอย่างไม่มีขีดจำกัด สำหรับคนทุกหมู่เหล่า


ผมเติบโตมาในประเทศที่ได้รับประโยชน์มหาศาล จากการยอมรับนโยบายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ยุคสงครามอินโดจีน ชนชั้นปกครองเชื่อว่า ประเทศจะประสบความสำเร็จและก้าวหน้าด้วยการเปิดประเทศ ทำตัวเป็นเจ้าบ้านที่ดี ต้อนรับใครก็ตามที่ต้องการทำธุรกิจกับเรา โดยเฉพาะ เมื่อมีข้อเสนอดี ๆ จาก 2 ประเทศมหาอำนาจ คือ สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น ที่เวลานั้นเป็นหัวขบวนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก


แนว ความคิดจากต่างประเทศ ได้รับการยอมรับและนำไปปฏิบัติด้วยดี โดยไม่มีการตั้งคำถามว่า เราจะถูกกลืนเข้าไปในวังวนห่วงโซ่อุปสงค์และอุปทาน ของสินค้าและบริการหรือไม่ อย่างไร รวมทั้งระบบการเงินที่เราไม่สามารถตีตัวออกห่างได้ แม้ในยามที่เราประสบกับวิกฤตที่ร้ายแรงที่สุด เราไม่สามารถมีปากเสียงที่จะไปต่อกรว่า ความเชื่อมโยงต่าง ๆ เหล่านี้ ถูกบงการมาอย่างไร เราต้องปล่อยไปตามกระแส หรือไม่เช่นนั้น ก็ต้องถูกตราหน้าว่าเป็นพวกชาตินิยมและจะไม่สามารถแข่งขันกับใครได้ การพัฒนาทักษะจากจุดแข็งที่มีอยู่ของคนในประเทศ ถูกกล่าวหาว่าเป็นสิ่งเชื่องช้าล้าหลัง


การ หมุนเวียนของเงิน และความหลากหลายของตราสารทางการเงินที่ถูกสร้างขึ้นจากศูนย์กลางการเงินต่าง ๆ ของโลกนั้น เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณวันต่อวัน ความรุ่งเรืองและความถดถอยเป็นวัฏจักรของธรรมชาติ แต่จะเป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก ถ้าเกษตรกรและคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมของเราต้องเดือดร้อน โดยได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากปัญหาภายในประเทศ แต่ วิกฤตกลับเกิดเพราะรัฐบาลในขณะนั้นไม่มีความรู้ รู้ไม่เท่าทันการไหลเวียนของตราสารทางการเงินในตลาดต่างประเทศที่อยู่ห่าง ไกลจากอีกซีกโลกหนึ่ง


วิกฤตเศรษฐกิจในปี 1997 ทำ ให้เราต้องกลับมาเริ่มต้นคิดใหม่ว่า เราจะสามารถก่อร่างสร้างตัวได้อย่างไร ในแนวทางที่มีเหตุมีผล ซึ่งจะทำให้เราสามารถควบคุมเศรษฐกิจ ให้ดำเนินไปในแบบอย่างที่เราอยากจะให้เป็นได้มากขึ้น ผลของการคิดอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ถูกร่างเป็นนโยบายของพรรคการเมือง ที่ผมก่อตั้งขึ้น ด้วยแนวความคิดหลัก ที่ต้องการให้คนไทยทั่วทั้งประเทศทุกพื้นที่ นำจุดเด่น จุดได้เปรียบ ของตนเองมาผลิตสินค้าและบริการออกไปขาย และแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพได้ในตลาดโลก ทั้งยังเสนอวิธีการช่วยเหลือและพัฒนาความได้เปรียบเหล่านั้นให้มี ประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรม


แนว ความคิดนี้ ไม่เชื่อเรื่องการปิดประเทศ การปิดประเทศอาจเป็นไปได้ เพราะประเทศไทย เป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ แต่เราเลือกที่จะไม่ถอนตัวจากเศรษฐกิจโลก แต่จะทำให้ประเทศไทยดีขึ้น และเป็นประเทศที่น่าอยู่สำหรับทุกคน ผมมีความยินดีที่จะรายงานว่า หลายนโยบายที่ผมได้พัฒนาไว้ รัฐบาลต่อ ๆ มาของไทยเห็นด้วยและนำมาใช้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง แม้บางครั้งจะถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็นอย่างอื่น แต่สาระสำคัญของนโยบายยังคงอยู่เหมือนเดิม


ครั้งนี้ไม่ใช่เป็นเพียงวิกฤตการเงิน แต่เป็นวิกฤตทางปัญญาของโลก นาย โทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ให้ความเห็นว่า ถ้าคุณไปถาม ผู้เชี่ยวชาญว่า จะแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลกครั้งนี้อย่างไร คำตอบที่คุณจะได้รับ น่าจะเป็นคำตอบว่า “ ผมจนปัญญาจริง ๆ ครับ ”


วิกฤติครั้งนี้เป็นวิกฤตทางปัญญาของโลก ( Intellectual Crisis ) ซึ่งเป็นผลจากการปฏิเสธที่จะเผชิญหน้ากับความเป็นจริง และที่สำคัญที่สุดปฏิเสธที่จะคิดแก้ปัญหาจากภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ( Real Economy )


ความสำเร็จของอเมริกาและญี่ปุ่น เกิดขึ้นจากการที่ประเทศทั้งสองเรียนรู้ความก้าวหน้าจากการปฏิวัติ อุตสาหกรรมในยุโรป รวมทั้งการพัฒนาทักษะความสามารถในการผลิตสินค้าจำนวนมาก ( Mass Production ) เพื่อ ตอบสนองความต้องการของโลก นวัตกรรมใหม่ถูกคิดค้นด้วยมันสมองและแรงงานที่มีคุณภาพ แต่ในปัจจุบัน กลับไม่เป็นเช่นนั้น นักศึกษาที่ฉลาดที่สุด เก่งที่สุด ดีที่สุด เมื่อจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และ ญี่ปุ่น ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา กลับหลั่งไหลไปทำงานในธุรกิจบริการด้านการเงินการธนาคาร ดัง นั้นความคิดสร้างสรรค์ใหม่จึงถูกจำกัดอยู่เพียงแค่การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการ เงิน ที่สัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนสูงลิบลิ่วเท่านั้น และถ้าหากว่ามีใครกล้าตั้งคำถามว่า ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจะมีความยั่งยืนมั่นคงเพียงใด คนแหล่านั้นก็อาจจะถูกโจมตีได้ว่า เป็นพวกมีความคิดล้าหลังและเป็นพวกต่อต้านความเจริญก้าวหน้าของโลกยุคโลกาภิ วัฒน์

วันนี้ไม่มีใครสามารถหมุนเวลาย้อนกลับ และถอนตัวจากเศรษฐกิจยุคโลกาภิวัตน์ ได้ สิ่งที่เศรษฐกิจยุคโลกาภิวัตน์ต้องการ คือ การถูกกำกับดูแลระดับโลก ( Globalized Regulation ) ซึ่ง ยังไม่มีประเทศใดกล้าที่จะพูดถึง เพราะการทำเช่นนั้น หมายถึงการท้าทายความเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกของสหรัฐอเมริกา คู่ค้าที่สำคัญอย่างประเทศจีน มีประสบการณ์มากมายในอดีต น่าจะมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาในขณะนี้ได้ แต่ก็ยังไม่กล้าทำเช่นนั้น เพราะด้วยเหตุผลทางการเมืองที่ไม่ต้องการแสดงให้เห็นว่า จีนอยากแข่งขัน และเป็นผู้นำของโลกแทนสหรัฐอเมริกา จีนต้องการคงบทบาทเป็นแค่เพียงผู้สนับสนุนที่ดีเท่านั้น


ขณะที่สหรัฐอเมริกาและยุโรป กำลังหาทางแก้ปัญหาวิกฤตทางปัญญาอยู่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ กำลังหาทางที่จะผลิตสินค้าและบริการอะไรสักอย่างที่ดีกว่า การสร้างตราสารทางการเงิน และเป็นความต้องการของตลาดโลกชิ้นใหม่ที่สำคัญ ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่จีนและอินเดียไม่สามารถผลิตได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า

อะไรคือหนทางรอดของประเทศเล็ก ๆ ที่เหลืออยู่ในภูมิภาคเอเชีย ?


เรา ต้องสร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพให้ได้ ด้วยทรัพยากรที่เรามีอยู่ ซึ่งไม่ด้อยไปกว่าใครทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ คนของเราได้รับการศึกษาที่ดีกว่าในอดีตมาก ประกอบกับคนงานของเราไม่ได้มีความมั่นคงในหน้าที่การงาน เหมือนกับที่ชาวอเมริกันในอุตสาหกรรมรถยนต์และเหล็กได้รับมายาวนาน ดังนั้นเราจึงสามารถฝึกอบรมคนงานของเราใหม่ได้ไม่ยาก โดยไม่ต้องกลัวกับการต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้จัดการทั้งหลาย ที่หมดไฟในการทำงานและขาดแคลนความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ


อุตสาหกรรม การเกษตรของเรา ก็ก้าวมาถึงขั้นที่สามารถปรับปรุงคุณภาพและความหลากหลายเพื่อตอบสนองความ ต้องการของตลาดต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมาย ทั่วโลก อุตสาหกรรมระดับหมู่บ้านก็สามารถปรับให้อยู่ในรูปของอุตสาหกรรมขนาด กลางและขนาดเล็กคล้ายกับของประเทศอิตาลีที่สามารถเอาตัวรอดได้ในยาม วิกฤตมานับครั้งไม่ถ้วน ระบบเศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ ( Creative Economy ) ไม่ จำเป็นที่จะต้องถูกผูกขาดเฉพาะชาวยุโรปเท่านั้น ระบบเศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ และจะต้องถูกพัฒนาอย่างจริงจัง จะเป็นทางออกที่สำคัญของประเทศในอนาคต จะเป็นตัวจักรสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ จะทำให้เกิดการสร้างงานที่มั่นคงและสังคมที่แข็งแรงในอนาคต


ทั้งหมดที่ผมได้กล่าวมานี้ จำเป็นจะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างมีเป้าหมายซึ่งสามารถทำได้ ทุนสำรองระหว่างประเทศไม่ใช่สิ่งที่ไม่สำคัญแต่คงไม่มีประเทศใดใช้ทุนสำรอง ระหว่างประเทศที่มีอยู่ทั้งหมดไปกับการแก้ไขปัญหาของประเทศ เพราะกลัวว่าประเทศจะประสบกับภาวะวิกฤตทางการเงิน ด้วยเหตุนี้เองที่แนวทางในการพัฒนาตลาด “ พันธบัตรเอเชีย ” ( Asia Bonds ) ที่ผมเป็นผู้ริเริ่มจึงมีบทบาทสำคัญ หากจีนและญี่ปุ่นยอมรับที่จะเป็นผู้นำในการนี้ ประกอบกับความร่วมมือของประเทศอื่น ๆ ที่มีทุนสำรองส่วนเกิน เราจะมีแหล่งเงินทุนสำหรับใช้พัฒนาเศรษฐกิจของเราในอนาคตได้อย่างมั่นใจ


ทั้ง นี้ ไม่ได้หมายความว่าประเทศในเอเชียและประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ในโลกจะอยู่ได้อย่างมั่นคง โดยไม่คำนึงถึงประเด็นเกี่ยวกับธรรมาภิบาล ซึ่งขณะเดียวกันเรายังต้องรักษาและยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย ดังการศึกษาของ “ อมาตยา เซน ” ( Amartya Sen ) ที่แสดงให้เห็นว่า “ ระบอบประชาธิปไตย เป็นหนทางเดียวที่จะช่วยป้องกันปัญหาความอดอยาก ” มีแต่การพัฒนาที่สมดุลที่คนจนและคนด้อยโอกาสไม่ถูกละเลยเท่านั้น ที่จะนำมาซึ่งเสถียรภาพในระยะยาว


เรา จำเป็นต้องเรียนรู้ความสำเร็จ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ใช้นโยบายยืดหยุ่นและละเอียดอ่อน ในการปกครองประชาชนและการบริหารประเทศ จนประสบความสำเร็จอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ ทำให้จีนกลายเป็นโรงงานของโลก ผลิตสินค้า ทำรายได้ และที่สำคัญมีเงินออมมากมายเพียงพอ ที่จะอุดหนุนการใช้จ่ายการบริโภคของประชาชนในประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่ สุดในโลกได้


จาก วิกฤตครั้งนี้ ถึงเวลาแล้วที่จีนจะต้องใช้เงินออมที่มีอยู่ เป็นแหล่งทุน สำหรับการสร้างโอกาส สร้างความมั่งคั่ง ให้กับประชาชนของตน ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ทั่วทั้งประเทศทัดเทียมและดียิ่งขึ้น มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะการทำเช่นนี้นอกจากจะช่วยลดแรงกดดันทางสังคมและการเมืองที่มีต่อพรรค คอมมิวนิสต์แล้ว ยังช่วยลดแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาได้อีกด้วย


เรา ต่างรู้ดีว่าปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้...ร้ายแรงกว่าที่หลายคนคิดไว้มาก จนในที่สุดรัฐบาลอาจหนีไม่พ้น จำเป็นต้องเข้าไปช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่กำลังล่มสลาย แต่รัฐบาลของเราต้องให้ความช่วยเหลืออย่างมีความซื่อสัตย์ทางปัญญา กล้าปฏิเสธความไม่ถูกต้อง หากจำเป็นต้องเข้าไปรับผิดชอบความเสียหายของธุรกิจใด ๆ ก็ตาม ต้องทำอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม รัฐบาลต้องกล้าที่จะประกาศว่า เงินภาษีของประชาชนที่รัฐบาลจะนำไปให้ความช่วยเหลือนั้นจะต้องไม่ถูกนำไป จ่ายเป็นค่าโบนัสให้กับบรรดาผู้บริหารทั้งหลายที่สร้างความเสียหายให้กับ ธุรกิจนั้น


ปัญหา วิกฤตเศรษฐกิจโลกจะไม่มีทางแก้ไขได้ ถ้านักเศรษฐศาสตร์ยังคิดว่าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินไปข้างหน้า ต้องพึ่งพาพลังเศรษฐกิจขนาดใหญ่เท่านั้น ถึงวันนี้เราต้องยอมรับความจริงว่า ความสามารถในการชำระหนี้ต่างหากคือกุญแจสำคัญไม่ใช่เรื่องของขนาดเท่านั้น “ ขนาด ” จะมีบทบาทช่วยได้ ตราบเท่าที่ “ ขนาด ” และความสามารถในการชำระหนี้เดินหน้าไปพร้อมๆ กัน


ธุรกิจจะเติบโตได้ตราบเท่าที่มีความสามารถในการชำระหนี้ ความสามารถในการชำระหนี้ย่อมเกิดจากความสามารถในการสร้างรายได้สุทธิ ( Net Income ) เงินออมจะมีประสิทธิภาพได้ ก็ต่อเมื่อเงินออมนั้นมาจากรายได้สุทธิเช่นกัน



สมมติ ว่าเราสามารถคลี่คลายวิกฤตสถาบันการเงินของโลกได้แล้ว ธนาคารกลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง เพราะได้รับการชดเชยและสนับสนุนจากรัฐบาล ธนาคารเหล่านั้นจะทำธุรกิจอะไร พวกเขาจะให้ใครกู้เงิน และจะให้เงินกู้เพื่อทำธุรกิจแบบเดิม ๆอีก...อย่างนั้นหรือ


วันนี้ ท่าเรือสำคัญของโลกเต็มไปด้วยตู้คอนเทนเนอร์ ที่อัดแน่นด้วยสินค้าที่ผลิตแบบเดียวกัน เหมือนกัน จำนวนมากมายมหาศาล เราจะผลิตสินค้าแบบนั้นเพิ่ม ขึ้น.....อีกหรือ คนงานจีนจะยังเดินหน้าผลิตรถยนต์เหมือนกับที่คนงานอเมริกันคงผลิตและขายไม่ ออก....อีกหรือ


เราต้องยอมรับว่าสินค้ากำลังล้นตลาด การผลิตสินค้าแบบอุตสาหกรรม ( Mass Production ) มีขีดจำกัด เราจึงจำเป็นต้องสนับสนุนการสร้างรายได้แบบใหม่ด้วยการผลิตสินค้าและบริการที่ อาศัยความได้เปรียบจากสินทรัพย์วัฒนธรรม ภูมิปัญญาแห่งชนชาติ และการผลิตด้วยทักษะแรงงาน ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ อย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พร้อมทั้งสนับสนุนการสร้างตลาดที่จะแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างท้องถิ่นที่ คึกคักและมีชีวิตชีวา


วันนี้ ...จึงเป็นหน้าที่ที่เราจะต้องพยายามค้นหาสินค้าและบริการเหล่านั้นให้พบ รวมทั้งให้การสนับสนุนด้านเงินทุนในทุกวิถีทาง เพื่อทำให้ธุรกิจเหล่านี้อยู่รอด เราจึงจะสามารถสร้างระบบเศรษฐกิจที่มั่นคงและสังคมที่แข็งแรงได้ในระยะยาว



ผม เชื่อว่า อเมริกา มีพลังของภูมิปัญญาในหลากหลายแขนง ซึ่งสามารถสร้างสรรค์สินค้าและบริการอย่างมีคุณภาพสูง โดยไม่จำเป็นต้องแข่งขันด้านราคากับใคร โลกกำลังต้องการพลังงานทดแทนที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำอย่างพลังงานนแสง อาทิตย์ โลกกำลังต้องการเทคโนโลยีและบริการที่ให้ความสำคัญกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม


อเมริกา มีผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และสามารถสร้างนวัตกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของโลกยุคใหม่นี้อย่างไม่ยากเย็น เมื่อสหรัฐอเมริกา เริ่มที่จะใช้เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเหล่านี้ ก็จะเป็นการบังคับให้ประเทศต่างๆ ในเอเชียรวมทั้งประเทศอื่น ๆ ในโลก ต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ


สติปัญญาของชาวอเมริกัน สามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ ให้เกิดขึ้นมาได้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อชาวอเมริกันเอง รวมทั้งต่อประเทศอื่นๆ ในโลก เพียงแต่ชาวอเมริกันต้องยอมรับว่า “ โลก ในอนาคตจะต้องไม่ถูกกำหนดจากวอลสตรีท ที่สำคัญสินค้าและบริการต้องมีความสัมพันธ์กับการจ้างงาน รวมทั้งให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และนำมาซึ่งรายได้สุทธิ ( Net Income) ที่คุ้มค่ากับความตั้งใจที่ใส่ลงไป ”


การสร้างเศรษฐกิจที่แท้จริง ( Real Economy ) มีความสำคัญอย่างยิ่ง การค้าตราสารทางการเงิน ( Paper Trading ) จะเป็นประโยชน์ก็ต่อเมื่ออยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่เหมาะสมเท่านั้น


หากบรรดาผู้นำทางปัญญาในสหรัฐอเมริกา ยอมรับแนวคิดนี้ได้เร็วเท่าใด ผลดีที่จะเกิดขึ้นต่อเราทุกคนในโลกก็จะมีมากขึ้น...เท่านั้น




 

Create Date : 12 มีนาคม 2552    
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 18:29:28 น.
Counter : 562 Pageviews.  

ค่าการกลั่นคืออะไร

ระยะนี้มีการพูดถึงค่าการกลั่นกันเยอะมาก ทำให้ผมถูกถามบ่อยๆ ว่า "ค่าการกลั่น" คืออะไร กล่าวโดยสรุปและเพื่อความเข้าใจง่ายๆ ไม่ต้องเอาเรื่องเทคนิคการกลั่นหรือวิชาเศรษฐศาสตร์การกลั่นน้ำมันมาคิดให้ ยุ่งยาก

ค่าการกลั่น (Gross Refining Margin-GRM) ก็คือส่วนต่าง (Spread) ระหว่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น (Ex.Refinery Price) กับราคาน้ำมันดิบที่โรงกลั่นซื้อมาเป็นวัตถุดิบในการกลั่นนั่นเอง

ถ้า เปรียบโรงกลั่นน้ำมันเป็นเหมือนกับโรงงานผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง ค่าการกลั่นก็เหมือนกับกำไรของสินค้าชนิดนั้นก่อนหักค่าใช้จ่ายในการผลิต นั่นเอง เปรียบเป็นสมการได้ดังนี้

โรงงาน A ผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง กำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายของสินค้าชนิดนั้นก็คือราคาขายส่งสินค้าหน้าโรงงาน -ต้นทุนวัตถุดิบ = กำไรก่อนหักค่าใช้จ่าย

ถ้าเป็นโรงกลั่นน้ำมัน ค่าการกลั่นก็คือ ราคาขายส่งผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น - ราคาน้ำมันดิบ = กำไรก่อนหักค่าใช้จ่าย

ค่า การกลั่นนี้เป็นกำไรเบื้องต้น ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายต่างๆในการกลั่น เช่น ค่าพลังงานที่ใช้ในการกลั่นน้ำมัน ค่าเงินเดือนพนักงาน/ลูกจ้าง ค่าเสื่อมราคาของโรงงานที่ลงทุนไปเป็นแสนล้าน ค่าดอกเบี้ย ค่าวัสดุที่ใช้ในการกลั่น ค่าบำรุงรักษาโรงกลั่น ค่าสารเคมีและสารเพิ่มคุณภาพต่างๆที่ใช้ในกระบวนการกลั่น ดังนี้เป็นต้น

ฟัง ดูก็ง่ายๆใช่ไหมครับ ไม่น่าจะซับซ้อนอะไร แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆก็คือ มีความเข้าใจผิด หรือ จงใจจะทำให้เข้าใจผิด ว่าค่าการกลั่นน้ำมันของโรงกลั่นในประเทศไทยสูงเกินจริง

เข้าใจผิดอย่างไรต้องอธิบายถึงกระบวนการกลั่นน้ำมันของโรงกลั่นดังนี้ครับ

เวลา เราซื้อน้ำมันดิบมาป้อนเข้ากระบวนการกลั่นของโรงกลั่น น้ำมันดิบ 1 บาร์เรล (ประมาณ 159 ลิตร) จะกลั่นเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้หลายชนิด ไล่มาตั้งแต่ก๊าซหุงต้ม (LPG) น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และยางมะตอย (Asphalt)

ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีราคาแตกต่าง กัน เช่น เบนซิน ราคา 130-150 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ดีเซล ราคา 150-170 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล น้ำมันเตาราคา 70-110 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ดังนี้เป็นต้น

ดังนั้นเวลาคำนวณค่าการกลั่นเราต้องเอาราคาน้ำมัน สำเร็จรูปแต่ละชนิดมาหาส่วนต่างกับน้ำมันดิบ จึงจะรู้ว่าน้ำมันสำเร็จรูปแต่ละชนิดมีกำไร/ขาดทุนเท่าไร

สมมติว่า เราเอาราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เป็นมาตรฐานในการคิด (ซึ่งจริงๆโรงกลั่นในประเทศไทยอาจไม่ได้ใช้น้ำมันชนิดนี้ก็ได้) แต่เป็นน้ำมันดิบที่ใช้อ้างอิงในตลาดสิงคโปร์ ซึ่งเราถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียและอยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด

ถ้า เราใช้ราคาน้ำมันดิบ Dubai และราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่สิงคโปร์มาคิดค่าการกลั่น เราจะได้ส่วนต่าง (Spread) ของน้ำมันแต่ละชนิดดังนี้ครับ (อ้างอิงราคาวันที่ 6 มิ.ย. 51)

1. ราคาน้ำมันเบนซิน = 137 $/บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบ Dubai = 123 $/บาร์เรล
ส่วนต่าง (Spread) = 14 $/บาร์เรล

2. ราคาน้ำมันดีเซล = 163 $/บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบ Dubai = 123 $/บาร์เรล
ส่วนต่าง (Spread) = 40 $/บาร์เรล

3. ราคาน้ำมันเตา = 95 $/บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบ Dubai = 123 $/บาร์เรล
ส่วนต่าง (Spread) = -28 $/บาร์เรล

โรง กลั่นน้ำมันแต่ละแห่งกลั่นน้ำมันชนิดต่างๆได้ไม่เท่ากัน บางแห่งกลั่นน้ำมันเบนซิน/ดีเซลได้มาก กลั่นน้ำมันเตาได้น้อย (Complex Refinery) แต่บางโรงกลั่นน้ำมันเบนซิน/ดีเซลได้น้อย กลั่นน้ำมันเตาได้มาก (Simple Refinery) ดังนั้นเวลาคิดค่าการกลั่นของโรงกลั่นแต่ละโรง ต้องเอาสัดส่วนน้ำมันที่ผลิตได้มาคิดด้วย เพราะถ้าโรงกลั่นไหนกลั่นน้ำมันเตาซึ่งมีส่วนต่างติดลบได้มาก ค่าการกลั่นจะต่ำกว่าโรงกลั่นที่กลั่นน้ำมันเตาได้น้อย ดังนี้เป็นต้น

ความ สับสนอยู่ตรงนี้ครับ มีความเข้าใจผิด (จริงๆ) เพราะไม่รู้และมีความพยายามจะทำให้เข้าใจผิด โดยเอาส่วนต่างระหว่างน้ำมันดีเซลและราคาน้ำมันดิบซึ่งในระยะนี้สูงถึง 40 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล (เป็นบางช่วงเท่านั้นนะครับ โดยทั่วไปจะอยู่ที่เฉลี่ย 25-35 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรลเท่านั้น) มาบอกว่าเป็นค่าการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศไทยและบอกว่าโรงกลั่นมีกำไรมาก เกินไป

จริงๆแล้วเราต้องเอาส่วนต่าง (Spread) ของผลิตภัณฑ์ทุกชนิดมาคิดค่าการกลั่น โดยคิดตามสัดส่วนผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่โรงกลั่นนั้นๆกลั่นได้

ยกตัวอย่างเช่น โรงกลั่นแห่งหนึ่งกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปได้ตามสัดส่วนดังนี้
• น้ำมันเบนซิน 30% ส่วนต่างน้ำมันดิบ 14 $/บาร์เรล
• น้ำมันดีเซล 40% ส่วนต่างน้ำมันดิบ 40 $/บาร์เรล
• น้ำมันเตา 30% ส่วนต่างน้ำมันดิบ -28 $/บาร์เรล

เวลาคำนวณค่าการกลั่นต้องคำนวณดังนี้
• น้ำมันเบนซิน 14 x 0.30 = 4.2 $/บาร์เรล
• น้ำมันดีเซล 40 x 0.40 = 16.0 $/บาร์เรล
• น้ำมันเตา -28 x 0.30 = -8.4 $/บาร์เรล

ฉะนั้นค่าการกลั่นของโรงกลั่นโดยเฉลี่ย = 11.8 $/บาร์เรล = 2.41 บาทต่อลิตร (อัตราแลกเปลี่ยน1$=32.50บาท)

ขอ ย้ำว่านี่เป็นค่าการกลั่นของวันที่ 6 มิถุนายน วันเดียวเท่านั้นนะครับ ค่าเฉลี่ยทั้งเดือน ทั้งปีอาจสูงหรือต่ำกว่านี้ก็ได้ และการคำนวณนี้เป็นการคำนวณอย่างคร่าวๆ เท่านั้นนะครับ จริงๆแล้วเราต้องเอาราคา LPG ซึ่งขายต่ำกว่าต้นทุน หรือราคายางมะตอยซึ่งราคาต่ำกว่าน้ำมันเตามาคำนวณด้วย ซึ่งจะทำให้ค่าการกลั่นต่ำลงไปอีก

เห็นอย่างนี้แล้วหากยังจะบอกว่า ค่าการกลั่นของโรงกลั่นน้ำมันในบ้านเราสูงเกินไปผมก็จนใจ พูดมากไปเดี๋ยวจะหาว่าผมเข้าข้างบริษัทน้ำมันอีก เอาเป็นว่าถ้าไม่เชื่อลองเปิดประมูลให้มีการสร้างโรงกลั่นใหม่ในบ้านเราดูก็ ได้ครับ ดูสิจะมีใครสนใจมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่ได้ BOI หรือสิทธิพิเศษอื่นๆ เพราะโรงกลั่นใหม่เดี๋ยวนี้ลงทุนอย่างต่ำ 120,000 ล้านบาทครับ!

ที่มา ฐานเศรษฐกิจ

ค่าการกลั่น อัพเดททุกวัน

สนพ. : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน

Reported by Petroleum Division, EPPO
รายงานโดยส่วนปิโตรเลียม สนพ.
Tel 0-2612-1555 ext 562 - 568

หากอยากได้ข้อมูลค่าการกลั่นย้อนหลัง ก็ตามนี้ครับ ย้อนหลังเป็นรายวัน จะเอาไปลองทำกราฟด้วยก็ดีครับ แต่ค่าการกลั่นนี้เป็นข้อมูลของอุตสาหกรรมนะครับ โดยค่าการกลั่นของแต่ละโรงกลั่นก็คงต้องขึ้นอยู่กับโครงสร้างการกลั่นเหมือน ที่คุณต๋อยให้ข้อมูลไว้ครับ อย่างไรก็ตามค่าการกลั่นของอุตสาหกรรมก็สะท้อนถึงแนวโน้มค่าการกลั่นของโรง กลั่นได้ระดับหนึ่งครับ
ค่าการกลั่นของอุตสาหกรรมย้อนหลัง


ตัวอย่างปัจจัยที่มีผลกระทบกับค่าการกลั่นค่ะ

เทคโนโลยีสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อม

บริษัทฯ ได้ลงทุนในโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (Product Quality Improvement: PQI) เพื่อให้โรงกลั่นมีระบบการกลั่นแบบ Complex Refinery ซึ่งใช้เทคโนโลยี Hydrocracking ที่ทันสมัยล่าสุดของ UOP ประเทศสหรัฐอเมริกาทำให้สามารถผลิต น้ำมันดีเซลและเบนซิน ได้ในสัดส่วนที่สูงขึ้นสอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น ตามสภาวะเศรษฐกิจที่ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเทียบเคียงกับ โรงกลั่นชั้นนำอื่น ส่งผลให้บริษัทฯ มีรายได้เพิ่มมากขึ้น

ประโยชน์ของโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน
การ ดำเนินโครงการฯ จะช่วยลดปริมาณการผลิตน้ำมัน เตาลงจากร้อยละ 31ให้เหลือร้อยละ 9 ซึ่งจะทำให้โรงกลั่น บางจากมีประสิทธิภาพสูงเทียบเคียงกับโรงกลั่นอื่น

สร้างผลตอบแทน การลงทุนที่สูง ทำให้ค่าการกลั่นเพิ่มขึ้น จากประมาณ 2-3 ดอลลาร์ สรอ./บาเรล เป็นประมาณ 6-8 ดอลลาร์ สรอ./บาเรล ส่งผลให้รายได้ก่อนหัก ดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) เพิ่มขึ้น จากประมาณ 2,000 - 3,000 ล้านบาท/ปี เป็นประมาณ 6,000 - 8,000 ล้านบาท/ปี ด้วยเงินลงทุนประมาณ 348 ล้านดอลลาร์ สรอ.

ช่วยเพิ่มปริมาณการผลิต น้ำมันแก๊สโซฮอล์และ น้ำมันดีเซลที่มีคุณภาพสูงดีต่อสิ่งแวดล้อมตาม ข้อกำหนดคุณภาพใหม่ของรัฐบาล ลดปริมาณกำมะถัน ซึ่งทำให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ อันเป็นสาเหตุของฝนกรด

ความคืบหน้าโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI)

บริษัทฯ ได้ลงทุนในโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน เพื่อพัฒนาโรงกลั่นให้เป็นแบบ Complex Refinery โดยการติดตั้งหน่วยแตกตัวโมเลกุลน้ำมัน (Cracking Unit) หน่วยกลั่นสูญญากาศ (Vacuum Unit) หน่วยผลิตไฮโดรเจน (Hydrogen Plant) และหน่วยสนับสนุนอื่น ๆ สามารถผลิตน้ำมันดีเซลและเบนซินได้ในสัดส่วนที่สูงขึ้น สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น และลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาที่มีราคาต่ำและมีแนวโน้มความต้องการใช้ลดลงใน อนาคต ซึ่งจะเพิ่มรายได้และความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมกับโรงกลั่นประเภท Complex โดยใช้เงินลงทุนมูลค่าประมาณ 348 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือประมาณ 14,000 ล้านบาท) และจะทดลองเดินเครื่องในปลายปี 2551

ณ เดือนเมษายน 2551 โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) มีความคืบหน้าประมาณร้อยละ 85 โดยมีการก่อสร้าง ติดตั้งอุปกรณ์ส่งต่อ ทั้งกังหันไอน้ำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และหอกลั่น เตา อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน เครื่องอัดก๊าซ เป็นต้น ในหน่วยผลิตหลัก เช่น หน่วยกลั่น สุญญากาศ หน่วยผลิตไฮโดรเจน หน่วยแตกตัวโมเลกุลน้ำมัน (Cracker) แล้วซึ่งในส่วนที่เหลือส่วนใหญ่จะเป็นการประกอบและการติดตั้งโครงสร้างท่อ ทางน้ำมัน รวมถึงระบบไฟฟ้า และระบบควบคุม ซึ่งคาดว่าจะเสร็จพร้อมทดลองเดินเครื่องได้ในปลายปีนี้

ที่มา น้ำมันบางจาก





ค่าการกลั่นน้ำมัน - เรื่องที่ควรรู้

--------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจมติชน 10 พ.ค. 2548 และหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2047 25 ก.ย. 2548

กระบวนการกลั่น (ภาพประกอบจากเว็บไซด์ บมจ. บางจากปิโตรเลียม)



การดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันต้องใช้เงินลงทุนนับแสนล้านบาทและมีความเสี่ยง ที่สูง เนื่องจากอุตสาหกรรมน้ำมันมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างจากธุรกิจทั่ว ไป กล่าวคือ ณ วันที่ตัดสินใจสั่งซื้อน้ำมันดิบมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปเพื่อจำหน่าย นั้น ก็เกิดความเสี่ยงเกิดขึ้นแล้ว เพราะไม่ทราบว่าจะมีกำไรหรือขาดทุน เนื่องจากการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศมากลั่น ต้องสั่งซื้อล่วงหน้าประมาณ 1 - 2 เดือนก่อนการส่งมอบ โดยการตกลงซื้อขายจะระบุเพียงปริมาณเท่านั้น ส่วนราคาจะอ้างอิงกับราคาน้ำมันตลาดโลกในเดือนส่งมอบ ขณะเดียวกันในด้านการจำหน่าย โรงกลั่นมีการตกลงกับผู้ค้าน้ำมันล่วงหน้าว่าจะมีการซื้อขายในปริมาณเท่า ไหร่ในเดือนข้างหน้าโดยมีสูตรราคาที่อิงกับตลาดซื้อขายที่สิงคโปร์ในช่วงวัน ส่งมอบ

อีกทั้งวงจรของธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันมีความผันผวนสูง ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงขาลงของธุรกิจ โรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ในประเทศไทยแทบทุกแห่งต่างประสบกับการขาดทุนเป็น จำนวนมากจนไม่สามารถชำระหนี้สินได้ ต้องปรับโครงสร้างหนี้ และเพิ่มทุนเป็นจำนวนมากเพื่อให้มีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เพิ่งจะเริ่มมีกำไรเมื่อ 2- 3 ปี ที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ถือว่าอยู่ในช่วงขาขึ้น เนื่องจากมีค่าการกลั่นสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยปกติ ผลกำไรที่เกิดขึ้นบริษัทนำไปลดขาดทุนสะสมในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่าภาวะเช่นนี้จะอยู่ได้นานเพียงใด

ค่าการกลั่นเกิดจากราคา ณ โรงกลั่น ของน้ำมันสำเร็จรูปที่โรงกลั่นผลิตได้เฉลี่ยตามสัดส่วนปริมาณการผลิตของ น้ำมันสำเร็จรูปชนิดต่างๆ ที่กลั่นได้ หักด้วยต้นทุนวัตถุดิบ คือ ราคาน้ำมันดิบรวมกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการนำเข้า เช่น ค่าขนส่ง แต่รายได้จากค่าการกลั่นนี้ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า สารเคมี ค่าซ่อมบำรุง และค่าแรงต่างๆ เป็นต้น ซึ่งโรงกลั่นน้ำมันแต่ละแห่งจะมีค่าการกลั่นที่ไม่เท่ากัน เนื่องจากมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันทำให้ได้ผลผลิตน้ำมันสำเร็จรูปชนิด ต่างๆ ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน แม้จะใช้น้ำมันดิบประเภทเดียวกันก็ตาม

สำหรับราคา ณ โรงกลั่น ของประเทศไทยนั้น เป็นสูตรราคาที่กำหนดขึ้นเพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับราคาน้ำมันสำเร็จรูป ที่นำเข้าจากตลาดสิงคโปร์ ซึ่งเป็นต้นทุนการนำเข้าที่ต่ำสุด เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศผู้ส่งออกที่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด ถ้าหากโรงกลั่นน้ำมันในประเทศกำหนดราคาแพงกว่า ผู้ค้าน้ำมันก็จะหันไปนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงคโปร์แทน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกำลังการกลั่นในประเทศไทยมีเกินปริมาณความต้องการใช้ ทำให้ต้องส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งราคาส่งออกนั้นถูกกว่าราคานำเข้า ดังนั้นโรงกลั่นต่างๆ จึงให้ส่วนลดแก่ผู้ค้าน้ำมันเพื่อจูงใจให้ซื้อน้ำมันจากโรงกลั่นในประเทศ ซึ่งการกำหนดราคาดังกล่าว ใช้มานานนับสิบปีแล้ว

ปัจจุบันค่าการกลั่นของโรงกลั่นต่างๆ ในประเทศอยู่ระหว่าง 2 - 7 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาเรล โดยโรงกลั่นที่มีการกลั่นหลายขั้นตอน (Complex Refinery) จะมีค่าการกลั่นในระดับสูง ในขณะที่โรงกลั่นที่มีการกลั่นแบบง่ายๆ (Simple Refinery) จะมีค่าการกลั่นที่ต่ำกว่าเนื่องจากมีผลผลิตของน้ำมันใส คือ น้ำมันเบนซิน และดีเซล ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีราคาแพง อยู่ในสัดส่วนที่ต่ำกว่า

การดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ไม่แตกต่างจากวัฏจักรเศรษฐกิจ ที่มีทั้งขาขึ้นและขาลง บางช่วงขาดทุนมาก บางช่วงก็มีกำไรสูง ผู้ลงทุนในธุรกิจนี้นอกจากจะต้องใช้เงินลงทุนที่สูงแล้ว ยังต้องสามารถรับความเสี่ยงในช่วงธุรกิจขาลงได้ด้วย ซึ่งต้องมีสายป่านของเงินทุนที่ยาวพอ และปัจจัยที่มีความสำคัญอีกประการหนึ่งในการตัดสินใจสร้างโรงกลั่นแห่งใหม่ คือ นักลงทุนต้องการความมั่นใจในนโยบายของรัฐที่จะปล่อยให้มีการแข่งขันเสรี อย่างแท้จริง



ค่าการกลั่นน้ำมัน: เรื่องที่ควรรู้ ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยจัดให้ วิธีคำนวณโปร่งใส..ไม่ซ่อนเร้น

เมื่อ วันที่ 9 พฤษภาคม คุณหญิง ทองทิพ รัตนะรัต ที่ปรึกษาสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย บรรยายพิเศษเรื่อง "ค่าการกลั่นน้ำมัน: เรื่องที่ควรรู้" เพื่อให้ความรู้เรื่องค่าการกลั่นให้กับกลุ่มคนที่สนใจ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่จัดบรรยายให้ความรู้เรื่องดังกล่าวนับจากที่นายโสภณ สุภาพงษ์ สว.กทม. ผู้คร่ำหวอดในวงการน้ำมันจากที่เคยนั่งบริหารที่บริษัทบางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ออกมาเปิดเผยว่าโครงสร้างการคิดค่าการกลั่นในประเทศไม่เป็นธรรม มีการตั้งราคาสูงกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ประชาชนต้องใช้ในราคาแพง "มติชน" จึงได้สรุปเรียบเรียงคำบรรยายมานำเสนอ

หลักที่จะนำไปสู่ความเข้าใจ เรื่องราคาน้ำมัน ต้องเข้าใจว่ารัฐบาลมีนโยบายที่สร้างราคาน้ำมันด้วยปัจจัยสำคัญคือ ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ส่วนเรื่องค่าการกลั่นน้ำมันนั้นจะต้องทำความเข้าใจกับโครงสร้างราคาน้ำมัน สำเร็จรูปก่อน ซึ่งประกอบด้วย โครงสร้างราคาหน้าปั๊ม และโครงสร้างราคาหน้าโรงกลั่น เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่เข้าใจยากแต่มีตัวแปรมาก เวลาคนพูดก็พูดถึงไม่หมด และต้องเข้าใจด้วยว่าราคาน้ำมันดิบกับราคาน้ำมันสำเร็จรูปไม่จำเป็นต้องไปใน ทิศทางเดียวกันเสมอเพราะ

ปัจจัยที่เป็นตัวผลักดันเป็นคนละตัว

หากราคา น้ำมันดิบปรับราคา ไม่จำเป็นต้องปรับราคาน้ำมันสำเร็จรูปในสัดส่วนที่เท่ากัน เพราะทั้ง 2 ชนิด ไม่ได้อยู่ในตลาดเดียวกัน แต่สำหรับธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันเป็นธุรกิจที่อยู่ตรงกลางระหว่างน้ำมันดิบกับ น้ำมันสำเร็จรูป เป็นธุรกิจที่ถูกบีบมากที่สุด เพราะรับทั้งปัจจัยของทั้ง 2 ตลาด

เราต้องมีการนำเข้าน้ำมันดิบกว่า 99% ซึ่งเป็นการนำเข้าน้ำมันจากหลายประเทศ ไม่ใช่ประเทศเดียว เพราะน้ำมันแต่ละแหล่งที่นำเข้ามาสามารถกลั่นน้ำมันชนิดต่างๆ ได้ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน ในขณะที่เราต้องการใช้น้ำมันในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน เราต้องการใช้น้ำมันดีเซลมากกว่าน้ำมันเบนซิน นอกจากนี้แต่ละโรงกลั่นน้ำมันก็ได้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น แต่ละแห่งจึงต้องซื้อมาจากหลายประเทศมาผสมกัน เพื่อให้สามารถกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปได้ตามที่ต้องการ หรือได้ในส่วนที่ผู้บริโภคต้องการใช้มากที่สุด ซึ่งจะได้ในสัดส่วนเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยคือ น้ำมันดิบที่นำเข้ามา และชนิดของโรงกลั่นน้ำมัน

โครงสร้างราคาน้ำมันหน้าปั๊ม

เพื่อให้เห็นความแตกต่างจะแบ่งเป็น 3 ยุค

1. ช่วงที่รัฐควบคุมราคาก่อนเปิดเสรี ปี 2534 สภาวะตลาดในช่วงนี้ ต้องมีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปทุกชนิด และมีเพียงโรงกลั่นน้ำมันในประเทศเพียง 3 แห่ง คือ ไทยออยล์, เอสโซ่, บางจาก ส่วนการตั้งราคานั้นรัฐบาลเป็นผู้ตั้งราคาหน้าปั๊มและกำหนดค่าการตลาด โดยอยู่บนหลักการให้ราคาอยู่ในระดับที่ประชาชนกินดีอยู่ดีและพัฒนาประเทศได้ สูตรราคาหน้าปั๊ม คือ = (P) ราคา ณ โรงกลั่น +ภาษีต่างๆ + กองทุนต่างๆ + ค่าการตลาด โดยการปรับราคาหน้าปั๊มในระยะแรก รัฐปรับทุก 15 วัน ต่อมาปรับทุก 7 วัน

2. ช่วงเปิดเสรีตั้งแต่ปลายปี 2534 สภาวะตลาดต้องนำเข้าน้ำมันในช่วงแรก และต้องส่งออกตั้งแต่ปี 2538 เพราะกำลังการผลิตในประเทศเกินความต้องการ มีโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นเป็น 7 แห่ง ประกอบด้วย ไทยออยล์, เอสโซ่, บางจาก, SPRC, RRC, TPI, RPC โดยการตั้งราคานั้นผู้ค้าปลีกเป็นผู้กำหนดราคาให้เป็นไปตามกลไกของการแข่ง ขันในธุรกิจขายปลีก โดยหลักในการตั้งราคานั้นผู้ค้าปลีกใช้การที่โรงกลั่นต้องส่งออกเป็นข้อต่อ รองราคาซื้อจากโรงกลั่น แสดงให้เห็นถึงการเป็นตลาดเสรี มีสูตรราคาหน้าปั๊ม คือ = (P) ราคา ณ โรงกลั่น + ภาษีต่างๆ + กองทุนต่างๆ + ค่าการตลาด สำหรับการปรับราคาหน้าปั๊ม ผู้ค้าปลีกปรับตามสภาวะตลาด

3. ช่วงที่รัฐแทรกแซงชั่วคราวครั้งล่าสุด ตั้งแต่ 10 มกราคม 2547 สภาวะตลาดภายในปี 2549 คาดว่าตลาดจะสมดุล ดังนั้น ช่วงนี้เมื่อมีบางโรงกลั่นปิดซ่อมแซมก็จะต้องมีการนำเข้า เช่นเริ่มมีการนำเข้าดีเซลเดือนมกราคม และ กุมภาพันธ์ 2547 การตั้งราคา ณ วันนี้รัฐบาลตรึงราคาดีเซลไว้ที่ 18.19 บาท/ลิตร ผลิตภัณฑ์อื่นลอยตัว นอกจาก LPG เป็นกึ่งลอยตัว โดยใช้หลักการรัฐตั้งให้ราคาดีเซลอยู่ในระดับที่ประชาชนกินดีอยู่ดีและพัฒนา ประเทศได้ ส่วนผลิตภัณฑ์อื่นเป็นไปตามกลไกตลาด สูตรราคาหน้าปั๊ม คือ = (P) ราคา ณ โรงกลั่น + ภาษีต่างๆ + กองทุนต่างๆ + ค่าการตลาด การปรับราคา ผู้ค้าปลีกปรับตามสภาวะตลาด นอกจากดีเซลซึ่งรัฐบาลปรับเมื่อเห็นเหมาะสม

โครง สร้างราคาหน้าโรงกลั่น ถ้าเป็นแบบตลาดเสรี แต่ละแห่งก็ต้องสู้เพื่อให้ลูกค้ามาซื้อของตน ซึ่งตามปกติก็จะต้องสู้กับโรงกลั่นแห่งอื่นเพื่อขายในประเทศให้ได้มาก ที่เหลือจึงจะส่งออกและสู้กับการนำเข้า แต่ถ้าโรงกลั่นไม่พอแล้วต้องมีการนำเข้าทุกชนิด โรงกลั่นก็ต้องสู้โดยตั้งราคาแข่งกับราคานำเข้า ส่วนธุรกิจค้าปลีกนั้นก็ต้องมาดูกันว่ามีคู่แข่งหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องสู้กับคู่แข่ง แต่ในกรณีที่รัฐบาลเข้าไปควบคุมราคารัฐบาลก็จะดูแลกำไรให้ ซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างราคาหน้าโรงกลั่นบวกกับภาษีกองทุน ภาษีสรรพสามิตกับราคาขาย ที่เหลือก็เป็นค่าการตลาด ซึ่งค่าการตลาดนี้ก็ต้องไปหักค่าดำเนินการปั๊ม ทั้งค่าน้ำ ไฟฟ้า และค่าจ้างเด็กปั๊ม

สรุปในการกำหนดราคาหน้าโรงกลั่นจะใช้ราคาน้ำมันนำเข้าเป็นตัวตั้งแล้วใช้กองทุนน้ำมันเป็นตัวปรับราคาให้สมน้ำสมเนื้อกับราคานำเข้า

" มีคนชอบถามว่าทำไมเราต้องอิงราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์ ความจริงเราไม่ได้อิงราคาสิงค์โปร์ แต่เราอิงราคาตลาดโลกที่อยู่ในสิงคโปร์ เพราะที่สิงคโปร์มีการซื้อขายน้ำมันกันมาก แต่ถ้าเมื่อใดที่เรามีการซื้อขายน้ำมันในประเทศมาก เราก็สามารถกำหนดราคาเป็นไทยแลนด์ไพรซ์ได้ ซึ่งเราก็พยายามให้มีการซื้อขายกัน"

ค่าการกลั่น ความจริงแล้วค่าการกลั่นมีทั้งค่าการกลั่นรวม และค่าการกลั่นสุทธิ ซึ่งเวลามีการพูดถึงค่าการกลั่น ไม่มีใครพูดว่าเป็นตัวไหนแต่เข้าใจว่าจะเป็นค่าการกลั่นรวม หรือที่เรียกว่า GRM เพราะค่าการกลั่นสุทธิซึ่งเป็นกำไรสุทธิของโรงกลั่นจริงๆ ไม่มีใครรู้ ซึ่งโครงสร้างค่าการกลั่นรวมนี้จะขึ้นอยู่กับส่วนต่างมูลค่าของทุกผลิตภัณฑ์ รวมกัน และมูลค่าน้ำมันดิบผสมที่ใช้การกลั่นรวม ไม่ใช่การนำน้ำมันสำเร็จรูปมาลบออกจากน้ำมันดิบดูไบเลย เพราะในการกลั่นน้ำมันของแต่ละโรงกลั่นจะได้ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วย นอกจากน้ำมันเบนซินและดีเซล เช่นน้ำมันเตาซึ่งมีราคาถูก และแต่ละโรงกลั่นก็ได้ผลิตภัณฑ์ไม่เท่ากัน

"ในการกลั่นไม่ได้ใช้ น้ำมันดิบดูไบเพียงอย่างเดียว แต่ที่ต้องอ้างอิงราคาดูไบเพื่อให้ง่ายขึ้น เช่นถ้ามีการซื้อน้ำมันที่มีคุณภาพดีกว่าน้ำมันดูไบราคาที่นำเข้าก็แพงกว่า ดูไบ แต่ถ้าคุณภาพแย่กว่าราคาก็ต้องถูกลง ซึ่งก็ต้องมีต้นทุนในการจัดหา ก็มีคำถามมาอีกว่าทำไมค่ากลั่นในช่วงนี้มันสูงนัก ความจริงสูงแล้วก็น่าจะดี เพราะประเทศจะได้เก็บภาษีได้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งค่าการกลั่นจะสูงหรือต่ำนั้นขึ้นอยู่กับราคาของผลิตภัณฑ์ แต่ก็มีตัวแปรหลายตัวที่จะทำให้เปลี่ยน เช่นสเปคของน้ำมัน ถ้าสเปคสูงมากราคาก็จะสูงมากตามไปด้วย"

นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับ ดีมานด์และซัพพลายของน้ำมัน ซึ่งขณะนี้ดีมานด์ในภูมิภาคมีสูง โดยเฉพาะจากจีนและอินเดียที่มีความต้องการใช้น้ำมันมาก ขณะที่ปริมาณการกลั่นของโรงกลั่นใกล้จะเต็ม ภายใน 2-3 ปีข้างหน้านี้ หรือแม้แต่ไทยดีมานด์ก็สูงโดยเฉพาะน้ำมันดีเซล จะเดินเต็มที่ในปี 2548-2549 แต่ยังไม่มีใครกล้าที่จะลงทุนสร้างโรงกลั่นแห่งใหม่ เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูงเป็นแสนล้านบาท จึงยังไม่มีใครกล้าเสี่ยง กลัวว่าจะประสบปัญหากำลังการกลั่นเกินความต้องการเหมือนที่ผ่านมา จึงคาดการณ์ได้ว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปแพงแน่

สรุปได้ว่า ราคาน้ำมันหน้าปั๊มขึ้นอยู่กับราคาหน้าโรงกลั่น และถ้าเป็นตลาดเสรีก็ต้องขึ้นอยู่กับการแข่งขันด้วย ส่วนราคาหน้าโรงกลั่นก็ต้องขึ้นอยู่กับภาวการณ์แข่งขันและราคานำเข้าน้ำมัน ซึ่งสูตรในการคิดไม่มีอะไรพิสดาร อิงราคาตลาดโลกที่อยู่ในตลาดจรสิงคโปร์ ส่วนค่าการกลั่นนั้นเป็นรายได้รวมจากหลายผลิตภัณฑ์ ทั้งน้ำมันเบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา เป็นต้น มาลบออกจากต้นทุนในการกลั่นทั้งของโรงกลั่นและจากราคาน้ำมันดิบผสมที่ซื้อ มากลั่น ซึ่งจะสูงหรือต่ำก็ขึ้นอยู่กับตลาด ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์และดีมานด์ของผู้ซื้อรายใหญ่อย่างจีน อินเดีย สหรัฐอเมริกา แต่พอมีการพูดถึงเรื่องนี้ก็พูดกันคนละที 2 ที จึงสร้างความสับสนให้กับสังคม

อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน

หลักพื้นฐานของการกลั่นน้ำมัน - ภาพรวมของกระบวนการกลั่นน้ำมัน

กระบวน การกลั่นน้ำมัน คือกระบวนการการแยกโมเลกุลสารไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ในน้ำมันดิบ และแปรสภาพสสารดังกล่าวให้เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปที่มีมูลค่าสูงก ว่า

โรงกลั่นน้ำมันได้รับการออกแบบให้สามารถกลั่นน้ำมันดิบหลาย ประเภทรวมถึงวัตถุดิบอื่น ๆ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ ตามความต้องการของตลาด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กำไรในการกลั่นน้ำมัน (Refinery Margin) สูงสุด โดยทั่วไปแล้ว หน่วยผลิตแต่ละหน่วยภายในโรงกลั่นน้ำมันจะทำหน้าที่ได้อย่างน้อยอย่างหนึ่ง อย่างใดดังต่อไปนี้

* กลั่นแยกสารไฮโดรคาร์บอนหลาย ๆ ประเภทที่อยู่ในน้ำมันดิบตามจุดเดือดที่ต่างกัน
* แปรสภาพไฮโดรคาร์บอนให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่ามากขึ้น
* ปรับปรุงผลิตภัณฑ์โดยการแยกสารปนเปื้อนออก
* ผสมผลิตภัณฑ์ชั้นกลาง (Intermediate Streams) เป็นน้ำมันสำเร็จรูป

น้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการกลั่นน้ำมัน คุณภาพของน้ำมันดิบและชนิดหน่วยกลั่นต่าง ๆ ในโรงกลั่นน้ำมันจะกำหนดวิธีการกลั่นน้ำมัน และระดับความสามารถในการเปลี่ยนน้ำมันดิบ เป็นน้ำมันสำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ ที่เหมาะสม โดยทั่วไป การแบ่งประเภทของน้ำมันดิบจะแบ่งตามความหนาแน่น (Density) จากต่ำไปสูง (Light to Heavy) และปริมาณกำมะถัน จากต่ำไปสูง (Sweet to Sour) น้ำมันดิบประเภทที่มีความหนาแน่นและกำมะถันต่ำ (Light Sweet Crude Oil) จะมีราคาสูงกว่าน้ำมันดิบประเภทที่มีความหนาแน่นและกำมะถันสูง (Heavy Sour Crude Oil) ทั้งนี้ เพราะกระบวนการกลั่นและกระบวนการกำจัดสารปนเปื้อนที่มีขั้นตอนน้อยกว่า และให้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่มีราคาสูงในปริมาณมากกว่า เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าดและ น้ำมันดีเซล

โดยปกติน้ำมันดิบประเภทที่มีความหนา แน่นสูงและกำมะถันสูงจะขายในราคาถูกกว่าน้ำมันดิบประเภทที่มีความหนาแน่นต่ำ หรือมีกำมะถันต่ำเพราะจะให้ผลิตภัณฑ์มูลค่าต่ำและต้องใช้กระบวนการผลิตเพิ่ม เติมเพื่อให้ได้น้ำมันชนิดเบาที่มีมูลค่าสูง ผลที่ตามมาคือ โรงกลั่นน้ำมันพยายามที่จะมีการกลั่นน้ำมันดิบและวัตถุดิบอื่น ๆ เพื่อให้ผลประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงหน่วยเปลี่ยนแปลงสภาพโมเลกุล (Conversion Unit) และหน่วยกำจัดสารปนเปื้อน (Treating Unit) ของแต่ละโรงกลั่นราคาของสินค้าในปัจจุบันและที่คาดการณ์ในอนาคต ชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ และราคาน้ำมันดิบและวัตถุดิบอื่น

กระบวนการกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์เป็นกระบวนการที่สามารถแปลงสภาพวัตถุดิบที่มี ราคาต่ำ เช่น น้ำมันดิบที่มีความหนาแน่นสูงและกำมะถันสูงให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่ามาก ขึ้น โดยทั่วไปแล้ว ระดับความซับซ้อน(Complex) ของโรงกลั่นน้ำมันขึ้นอยู่กับจำนวน และชนิดหน่วยเปลี่ยนแปลงสภาพโมเลกุล (Conversion Unit) ที่มี และความยืดหยุ่นและความสามารถในการเลือกใช้วัตถุดิบต่าง ๆ ที่มี จะทำให้โรงกลั่นน้ำมันอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบที่จะใช้ประโยชน์จากน้ำมันดิบ ที่ราคาถูก ซึ่งจะทำให้บริษัทได้รับกำไรขั้นต้นที่สูงขึ้น

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปที่สำคัญ
ผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปหลักที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน

* ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
* น้ำมันเบนซิน
* สารทำละลาย (Solvent)
* ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
* น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน/น้ำมันก๊าด
* น้ำมันดีเซล
* น้ำมันเตา
* ยางมะตอย
* ถ่านโค้ก

เศรษฐศาสตร์การกลั่นน้ำมัน (Economics of Refining)

โดย หลักแล้วการกลั่นน้ำมันเป็นธุรกิจที่อยู่บนฐานกำไร (Margin) โดยเป้าหมายของผู้กลั่นน้ำมันคือ การทำให้กระบวนการกลั่นน้ำมันมีประสิทธิภาพสูงสุดและได้ผลิตภัณฑ์ที่มีผลตอบ แทนดีที่สุดจากวัตถุดิบที่ใช้ ในโรงกลั่นน้ำมันแบบพื้นฐาน (Simple Refinery) ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปส่วนใหญ่ จะเป็นน้ำมันชนิดหนัก (Heavy Products) และมีมูลค่าน้อย เช่น น้ำมันเตาและผลผลิตส่วนน้อยอันได้แก่ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด และน้ำมันดีเซล ทั้งนี้ ปริมาณผลิตภัณฑ์จะขึ้นอยู่กับชนิดน้ำมันดิบ และวัตถุดิบที่ใช้ กำไรจากการกลั่นน้ำมัน (Refinery Margin) คำนวณโดยการนำมูลค่าทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้หักด้วยต้นทุนราคาน้ำมัน ดิบและวัตถุดิบอื่น และสาธารณูปโภคที่ซื้อจากภายนอก

กำไรการกลั่นของ โรงกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Refining Margin) ต่างจากกำไรของโรงกลั่นน้ำมันแบบพื้นฐาน (Simple Refining Margin) ตรงที่การกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ จะได้น้ำมันชนิดหนัก (Heavy Products) เป็นสัดส่วนที่น้อยกว่าเพราะโรงกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Refinery) จะมีหน่วยกลั่นที่สามารถแปรสภาพน้ำมันชนิดหนักที่มีมูลค่าต่ำให้เป็นน้ำมัน ชนิดเบา (Light Products) ที่มีมูลค่าสูงกว่าได้

โรงกลั่นน้ำมัน ที่มีระบบที่คอมเพล็กซ์กว่าจะสามารถให้ผลตอบแทนการผลิตที่สูงกว่าเนื่องด้วย ความสามารถในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง โดยใช้น้ำมันดิบหรือวัตถุดิบอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่า ผลที่ตามมาก็คือกำไรการกลั่นแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Margin) จะสูงกว่ากำไรการกลั่นแบบพื้นฐาน โรงกลั่นน้ำมันที่มีหน่วยเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ (Upgrading Unit) จะสามารถเพิ่มปริมาณน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าดและน้ำมันดีเซล น้ำมันเหล่านี้ จะมีมูลค่ามากกว่าน้ำมันเตา

รายได้ของผู้ค้าน้ำมัน

รายได้ของผู้ค้าน้ำมันประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนของการผลิตหรือการกลั่น และส่วนของการจำหน่ายหลังจากออกจากโรงกลั่นแล้ว รายได้ของผู้ผลิตหรือโรงกลั่น หมายถึง ค่าการกลั่น (Refining Margin) ส่วนรายได้จากการจำหน่ายน้ำมันหลังจากออกจากโรงกลั่นแล้วหมายถึง ค่าการตลาด (Marketing Margin)

(1) ค่าการกลั่น (Refining Margin)

ค่า การกลั่นเป็นรายได้ของผู้ผลิตหรือโรงกลั่น โดยพิจารณาจากผลต่างระหว่างราคา ณ โรงกลั่นเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์ตามปริมาณการผลิต กับต้นทุนราคาน้ำมันดิบ (ราคา ณ โรงกลั่น หมายถึง ราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นที่หักภาษี และกองทุนต่างๆ แล้ว) ค่าการกลั่นดังกล่าวเป็นค่าการกลั่นโดยรวม ส่วนค่าการกลั่นแยกตามผลิตภัณฑ์น้ำมัน จะพิจารณาจากค่าการกลั่นรวมที่แจงออกมาเป็นค่าการกลั่นของแต่ละผลิตภัณฑ์ ตามสัดส่วนของปริมาณการผลิตและราคา ณ โรงกลั่นของผลิตภัณฑ์น้ำมันในช่วงนั้น ๆ

(2) ค่าการตลาด (Marketing Margin)

ค่า การตลาด คือ ส่วนต่างระหว่างราคาขายปลีก ณ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นในเวลาเดียวกัน ซึ่งแสดงถึงรายได้ของผู้ค้าน้ำมันและสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง แต่โดยที่ค่าการตลาดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นกราฟรูปฟันเลื่อย กล่าวคือ ในช่วงเวลาที่ราคากำลังลดลง ราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นจะลดลงก่อนราคาขายปลีก ณ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้ค่าการตลาดสูงขึ้น ในทางกลับกันในช่วงเวลาที่ราคากำลังสูงขึ้น ราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นจะสูงขึ้นก่อนราคาขายปลีก ณ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้ค่าการตลาดลดลง ค่าการตลาดนอกจากจะแสดงถึงรายได้ของผู้ค้าน้ำมันและสถานีบริการน้ำมันเชื้อ เพลิงแล้ว ยังรวมต้นทุนอื่นๆ ของผู้ค้าน้ำมันไว้ด้วย เช่น การเติมสารเติมแต่ง (Additive) เพื่อลดมลพิษไอเสียในรถยนต์ รวมทั้ง ค่าบริหารจัดการอื่นๆ ของผู้ค้าน้ำมันด้วย ค่าการตลาดจึงไม่ใช่กำไรของผู้ค้าน้ำมัน แต่เป็นรายได้ที่ยังไม่ได้หักต้นทุนอื่นๆ นอกจากต้นทุนน้ำมันเท่านั้น

ดังนั้น ธุรกิจการกลั่นน้ำมันจะมีกำไรมากหรือน้อย จะมีความเสี่ยงจาก

1.ต้นทุนราคาน้ำมันดิบ และโครงสร้างการจำหน่าย ว่าจะมี สเปรดมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นไปตามภาวะการแข่งขันของตลาดที่อ้างอิงกับตลาดโลก

2.นอกจากสเปรดที่กำหนดจากราคาตลาดแล้ว ยังต้องดูว่าลักษณะการกลั่นน้ำมันเป็นโรงงานแบบใด เป็นแบบง่าย หรือแบบซับซ้อน ถ้าแบบง่ายก็จะได้สเปรดน้อยกว่าแบบซับซ้อนที่สามารถผลิตน้ำมันคุณภาพสูง โดยใช้ต้นทุนน้ำมันดิบที่ต่ำกว่า

3.โครงสร้างของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ ก็จะมีผลกระทบกับเสปรดในภาพรวม กล่าวคือ ถ้าสามารถผลิตน้ำมันที่มีเสปรดสูงได้มาก ก็จะได้กำไรมาก แต่ถ้าผลิตนำมันสำเร็จรูปที่มีคุณภาพต่ำ เช่น น้ำมันเตาจำนวนมาก ก็จะทำให้ขาดทุนได้ จึงต้องดูโครงสร้างการผลิตเป็นโรงกลั่นไปประกอบด้วย และคุณภาพของการกลั่นน้ำมันดิบตรงนี้ จะทำให้มีผลกรทบกับกำลังการผลิตของโรงกลั่นด้วย เพราะโรงกลั่นจะต้องพยายามผลิตน้ำมันสำเร็จรูปคุณภาพสูงที่ได้ราคาดีกว่า น้ำมันเตา จึงมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มในส่วนนี้ของโรงกลั่น แบบง่าย ซึ่งอาจต้องแลกกับการลงทุนปรับปรุงการผลิต และการใช้กำลังการผลิตที่ไม่เต็มประสิทธิภาพ เพราะหากผลิตเต็มการผลิต อาจจะได้รับผลกระทบจากน้ำมันสำเร็จรูปที่ได้จากน้ำมันเตาสูง หรือผลิตภัณฑ์มีกำมะถันสูง ทำให้ได้คุณภาพน้ำมันที่กลั่นได้ไม่ดีพอ

4.ผลกระทบจากการแทรกแซงราคาน้ำมันในแต่ละช่วงเวลาก็มีผลกระทบกับการจำหน่าย น้ำมันดิบ เช่น ปัจจุบันมีการบริโภคกาซแอลพีจีที่สูง เนื่องจากมีการสนับสนุนราคาให้ต่ำกว่าราคาตลาดมาก ทำให้โรงงานอุตสาหกรรม การบริโภคในประเทศ มีการใช้ก๊าซแอลพีจีที่สูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้รัฐบาลต้องมีภาระในการใช้เงินอุดหนุนที่สูง และทำให้โครงสร้างการบริโภคพลังงานในประเทศเพี้ยนไปจากกลไกตลาด เพราะทุกคนต้องการใช้ของถูกกว่า

5.ค่าการกลั่นรวมของโรงงานที่กลั่นน้ำมันนั้น แต่ละโรงจะมีประสิทธิภาพการทำกำไรที่แตกต่างกันที่นอกจากผลผลิตของน้ำมัน สำเร็จรูปแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถนำผลิตภัณฑ์ขั้นต้นที่ผลิตได้เช่น น้าฟตา ไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มที่ใช้ในปิโตรเคมีขั้นต่าง ๆ ได้มากน้อยเพียงใด บางแห่งสามารถผลิตไปจนถึงขั้นปลายหรือเม็ดพลาสติกคุณภาพสูง พลาสติก หรือ ฟิลม์ ซึ่งในช่วงนี้มีราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก ก็จะทำให้ค่าการกลั่นรวมทั้งหมดมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นจากผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย ดังกล่าวด้วย

ลองดูในเว็ปนี้เพิ่มเติม จะมีข้อมูลของกำลังการผลิตของแต่ละโรงกลั่น และที่กลั่นจริง จะเห็นโครงสร้างของกำลังการผลิตโรงกลั่นทั่วประเทศ และขนาดของแต่ละโรงกลั่น และประสิทธิภาพของการกลั่นน้ำมันของแต่ละโรงในช่วงที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
ดูในส่วนของ 2.2 Refinery จะเห็นกำลังการผลิตของแต่ละโรงกลั่นที่ชัดเจนครับ
สำหรับโครงสร้างสถิติน้ำมันนำเข้าและส่งออก และอื่น ๆ ที่น่าสนใจก็ดูได้จาก เวปนี้ครับ
//www.eppo.go.th/info/index.html




 

Create Date : 12 มีนาคม 2552    
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 18:29:14 น.
Counter : 889 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.