ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

ชาวญี่ปุ่นเล่นTwitterมากกว่าFacebook

By: khajochi on 28/06/10 13:59

Twitter เป็นหนึ่งในบริการ Social Network ที่สามารถเจาะตลาดญี่ปุ่นได้สำเร็จ โดยหลังจากที่ได้เริ่มเปิดบริการ Twitter ในภาษาญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2008 จนถึงปัจจุบันมีผู้ใช้ Twitter ในญี่ปุ่นกว่า 10 ล้านคน คิดเป็น 16.3 เปอร์เซนต์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งประเทศ (อเมริกา 9.8 เปอร์เซ็นต์) แซงหน้า Social Network อันดับหนึ่งของญี่ปุ่นอย่าง Mixi ไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ทุกวันนี้จะมีข้อความจากชาวญี่ปุ่นโดยเฉลี่ย 8 ล้านทวีตต่อวัน คิดเป็น 13 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนทั้งหมดทั่วโลก สาเหตุหนึ่งที่น่าสนใจคือเรื่องของภาษา อย่างเช่นคำว่า "information" นั้นสามารถเขียนในภาษาญี่ปุ่นได้เพียงแค่ 2 ตัวอักษรเท่านั้น
ในขณะที่ Facebook มียอดผู้ใช้ในญี่ปุ่นเพียงแค่ 3 เปอร์เซ็นต์ ตรงข้ามกับอเมริกาที่มีผู้ใช้ถึง 62 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด

ที่มา - AP
ที่มาภาษาไทย - Blognone




 

Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2554    
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2554 22:16:39 น.
Counter : 593 Pageviews.  

ทำความรู้จักกับJimmy Walesผู้ก่อตั้งWikipedia

จิมมี ดอนอล "จิมโบ" เวลส์ (Jimmy Donal "Jimbo" Wales) (เกิด 7 สิงหาคม พ.ศ. 2509) เป็นผู้ประกอบการด้านอินเทอร์เน็ตชาวอเมริกัน และเป็นผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย ซึ่งเป็นสารานุกรมเนื้อหาเสรีบนอินเทอร์เน็ตที่เปิดให้ทุกคนร่วมมือกันแก้ไขได้
ประวัติ

ประวัติ
จิมมี เวลส์ เกิด 7 สิงหาคม พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) ที่เมืองฮันตส์วิลล์ มลรัฐแอละแบมา เขาเริ่มการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยออเบิร์น (Auburn University) และได้เปลี่ยนมหาวิทยาลัยมาเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแอละแบมา (University of Alabama) ภายหลังจบการศึกษา เวลส์ได้เข้าศึกษาต่อปริญญาเอกทางด้านการเงิน ทั้งที่มหาวิทยาลัยออเบิร์น และมหาวิทยาลัยอินดีแอนา (Indiana University) พร้อมทั้งทำงานเป็นผู้สอนในมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งด้วย แต่มิได้เขียนดุษฎีนิพนธ์ เพื่อจบการศึกษา ภายหลังเวลส์ได้ออกมาเป็นผู้ค้าตราสารล่วงหน้า (futures contract) และตราสารสิทธิ (stock option) ในชิคาโก ภายในเวลาไม่กี่ปี จิมมี เวลส์ สามารถหาเงินได้มากพอที่จะ "เลี้ยงตัวเขาเองและภรรยาได้ตลอดชีวิต" (อ้างจากบทความในนิตยสาร Wired ฉบับมีนาคม 2005)
ใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) จิมมี เวลส์ได้ก่อตั้งเซิร์ชพอร์ทัลชื่อ โบมิส (Bomis) เซิร์ชพอร์ทัลดังกล่าวมีส่วนหนึ่งที่ชื่อ "โบมิสเบบส์" ซึ่งเป็นเสิร์ชเอนจินสำหรับค้นหาข้อมูล ปัจจุบันเวลส์ไม่ได้เป็นเจ้าของโบมิสแล้ว แต่ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับโครงการวิกิต่าง ๆ ที่เขาก่อตั้งขึ้นภายหลัง
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) จิมมี เวลส์ได้ก่อตั้งสารานุกรมเนื้อหาเสรีที่มีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเนื้อหา (peer review) โดยใช้ชื่อว่า นูพีเดีย (Nupedia) ซึ่งมีคำขวัญคือ "สารานุกรมฟรี" ("the free encyclopedia") และได้ว่าจ้าง แลร์รี แซงเกอร์ ให้เป็นหัวหน้าบรรณาธิการของนูพีเดีย

การพัฒนาวิกิพีเดีย
ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) เวลส์และแซงเกอร์ได้ตั้งวิกิพีเดีย ซึ่งเป็นเว็บไซต์วิกิในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับนูพีเดียขึ้น โดยตั้งใจว่าจะใช้วิกิพีเดียเป็นพื้นที่ระดมความคิดสำหรับเขียนเนื้อหาสารานุกรมในขั้นต้น ก่อนที่จะส่งไปที่นูพีเดียเพื่อตรวจสอบอีกครั้ง การเติบโตอย่างรวดเร็วของวิกิพีเดียในเวลาต่อมาทำให้วิกิพีเดียกลายเป็นโครงการหลักและโครงการนูพีเดียต้องระงับไป ในระยะแรกของการพัฒนาวิกิพีเดียนั้น แซงเกอร์เป็นผู้ดำเนินการเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่เวลส์เป็นผู้ออกเงินทุน เวลส์ถือว่าตนเองเป็นผู้ก่อตั้งวิกิพีเดียแต่เพียงผู้เดียว ถึงแม้ว่าแซงเกอร์จะยังคงเรียกตนเองว่าเป็น "ผู้ร่วมก่อตั้ง" วิกิพีเดียก็ตาม แซงเกอร์ได้ยุติการทำงานในโครงการวิกิพีเดียในเวลาต่อมา โดยประกาศการลาออกไว้ที่หน้าผู้ใช้วิกิพีเดียของเขาเอง หลังจากลาออก แซงเกอร์ได้วิพากษ์วีธีที่เวลส์ดำเนินโครงการ โดยวิจารณ์ว่าเวลส์เป็นบุคคลจำพวก "ต่อต้านพวกหัวกะทิอย่างสิ้นเชิง" ("decidedly anti-elitist") ซึ่งเวลส์ไม่เห็นด้วยกับมุมมองนี้ของแซงเกอร์ และกล่าวว่าตนไม่ได้ต่อต้านพวกหัวกะทิ แต่ "น่าจะเป็นจำพวกต่อต้านพวกถือใบประกาศฯ (anti-credentialist) มากกว่า สำหรับผม สิ่งสำคัญคือทำให้ถูกต้อง และถ้ามีใครก็ตามที่เป็นคนฉลาดและทำงานได้น่าอัศจรรย์แล้วล่ะก็ ผมไม่สนหรอกว่าเขาจะเป็นนักเรียนมัธยมปลายหรือศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด งานที่เขาทำต่างหากที่สำคัญ ... คุณหวังพึ่งใบประกาศฯ ของคุณในวิกิพีเดียไม่ได้หรอก ... คุณต้องเดินเข้าตลาดความคิดและสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ"
ในกลางปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) เวลส์ได้ก่อตั้งมูลนิธิวิกิมีเดียขึ้น โดยเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ตั้งในเมืองแทมปา มลรัฐฟลอริดา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนวิกิพีเดียและโครงการพี่น้องอื่น ๆ นับแต่นั้น บทบาทของเวลส์จะเพิ่มขึ้นจากเดิมในด้านการส่งเสริมและการพูดในที่ต่าง ๆ ถึงโครงการของมูลนิธิ นับถึงปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) เวลส์ยังคงดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิและประธานกรรมการบริหารมูลนิธิอยู่
ในปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) มีการอ้างคำพูดของเวลส์ว่าเขาใช้เงินส่วนตัวประมาณ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในการก่อตั้งและดำเนินงานโครงการวิกิต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ้นสุดการระดมทุนของมูลนิธิวิกิมีเดียในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) มูลนิธิได้รับการสนับสนุนที่จำเป็นทั้งหมดจากสิ่งของและเงินบริจาค
เวลส์ยังปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ "จอมเผด็จการผู้เมตตา (benevolent dictator)" ของวิกิพีเดียด้วย ถึงแม้เวลส์จะไม่สนับสนุนการใช้คำนี้ก็ตาม เวลส์ยังคงมีอำนาจการควบคุมสูงสุดในมูลนิธิวิกิมีเดีย โดยนอกจากตัวเขาเองจะเป็นกรรมการบริหารมูลนิธิแล้ว เขายังเสนอชื่อหุ้นส่วนทางธุรกิจของเขาจำนวนสองคน ซึ่งมิได้เป็นผู้แก้ไขวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอ ให้ร่วมเป็นกรรมการด้วย ซึ่งเนื่องจากคณะกรรมการบริหารมูลนิธิมีอยู่ด้วยกันห้าคน โดยพฤตินัยแล้วจึงถือว่าเวลส์ครองเสียงข้างมาก (สามเสียง) ในคณะกรรมการ อย่างไรก็ตาม เวลส์กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า หากกรรมการในฟากผู้แก้ไขวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอทั้งสองคนเห็นพ้องกันในญัตติใดญัตติหนึ่งแล้วแล้ว ตนจะออกเสียงสนับสนุนด้วย ซึ่งมีผลทำให้กรรมการฟากผู้แก้ไขได้รับเสียงข้างมาก เวลส์ยังกล่าวด้วยว่าคำว่า "จอมเผด็จการผู้เมตตา" ใช้กันมากโดยสื่อมวลชน แต่ชุมชนวิกิพีเดียไม่ยอมรับคำนี้

โครงการอื่นๆ
เมื่อเร็ว ๆ นี้ เวลส์ได้ก่อตั้งบริษัทวิเกีย ซึ่งเป็นบริษัทแสวงหาผลกำไร มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเว็บโฮสต์ให้โครงการวิกิต่าง ๆ และดูแลโครงการวิกิซิตีส์ซึ่งมีลักษณะเดียวกับวิกิพีเดีย ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะอิทธิพลจากความสำเร็จของวิกิพีเดีย

ที่มา Wikipedia

สามารถติดต่อโดยตรงกับเขาได้ที่
Twitterของเจ้าตัว @jimmy_wales
Facebookของเจ้าตัว jimmywalesfans




 

Create Date : 04 ธันวาคม 2553    
Last Update : 4 ธันวาคม 2553 23:05:11 น.
Counter : 793 Pageviews.  

วิกิลีคส์: มายาคติดิจิทัลสามประการ

แปลจาก “Wikileaks: Three Digital Myths” โดย Christian Christensen
//chrchristensen.wordpress.com/2010/08/10/27/
แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล, 22 กันยายน 2553
เผยแพร่ครั้งแรก: //www.fringer.org/wp-content/writings/threemyths.pdf


การที่วิกิลีคส์ (Wikileaks, //www.wikileaks.org) นำเอกสารลับเกี่ยวกับสงครามอัฟกานิสถานมาตีพิมพ์ใน เดอะ การ์เดียน [1] เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส์ [2] และ เดอ สปีเกล [3] ภายใต้ข้อตกลงกับวิกิลีคส์ ได้กลายเป็นข่าวใหญ่ทั่วโลก นอกจากนี้ เลอ มอนด์ ดิพโลมาธิก ร่วมกับ โอวนิ และเว็บสเลทฝรั่งเศส (Slate.fr) ยังได้เผยแพร่เอกสารออนไลน์บนเว็บไซต์ที่ตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ [4] นัยด้านความมั่นคงของเอกสารที่รั่วออกมาจะเป็นที่ถกเถียงไปอีกนานหลายปี ในขณะเดียวกัน การปล่อยเอกสารกว่า 900,000 ชิ้นก็ได้ก่อให้เกิดวิวาทะเกี่ยวกับพลังที่เพิ่มขึ้นของสื่อดิจิทัลและโซเชียลมีเดีย วิวาทะหลายครั้งมีรากอยู่ในสิ่งที่ผมเรียกว่า มายาคติอินเทอร์เน็ตหรือมายาคติดิจิทัล กล่าวคือ มายาคติที่มีรากอยู่ในแนวคิดที่มองเทคโนโลยีอย่างโรแมนติกและมองว่าเราเปลี่ยนมันไม่ได้

มายาคติ #1: พลังของโซเชียลมีเดีย

ผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์ด้านสื่อถูกถามอยู่เนืองๆ ว่ากรณีของวิกิลีคส์บอกอะไรเราได้บ้างเกี่ยวกับพลังของโซเชียลมีเดียในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะในแง่ของการรายงานข่าวสงคราม [5] คำถามนี้ไม่มีอะไรผิด แต่มันก็สะท้อนแนวโน้มที่น่ากังวล ที่จะอุปโลกน์ว่าโซเชียลมีเดียทุกรูปแบบ (บล็อก ทวิตเตอร์ เฟซบุค วิกิลีคส์) เป็นสิ่งเดียวกัน มายาคติคือความคิดที่ว่าโซเชียลมีเดียเหล่านี้เหมือนกันหมดเพราะใช้เทคโนโลยีเดียวกัน แต่วิกิลีคส์ไม่มีอะไรเหมือนกับทวิตเตอร์หรือยูทูบเลย สิ่งที่ทำให้มันแตกต่างจากโซเชียลมีเดียรูปแบบอื่น คือกระบวนการกลั่นกรองที่ใช้สำหรับเนื้อหาก่อนที่จะนำมาโพสบนเว็บไซต์ [6] กระบวนการนี้อาจดูเหมือนรายละเอียด แต่มันก็พุ่งตรงเข้าที่หัวใจของแนวคิดแบบ “ยูโทเปียเทคโนโลยี” ที่เชื่อใน “พื้นที่เปิดสาธารณะ” ที่ทุกคนสามารถโพส(แทบจะ)ทุกอย่างให้คนอื่นได้อ่าน ฟัง และดู

พลังที่แท้จริงของวิกิลีคส์ไม่ใช่เทคโนโลยี (ซึ่งก็ช่วย แต่อย่าลืมว่าโลกมีเว็บไซต์หลายล้านเว็บ) แต่อยู่ที่ความไว้วางใจของผู้อ่านว่าสิ่งที่พวกเขาอ่านนั้นเป็นของแท้ ผู้อ่านเชื่อว่าทีมงานวิกิลีคส์รับรองความถูกต้องของเนื้อหา ยูทูบมีวีดีโอหลายร้อยคลิปจากอิรักและอัฟกานิสถานที่แสดงทหารจากกองกำลังผสมกระทำการไม่เหมาะสมและบางกรณีก็ผิดกฎหมายอย่างชัดเจน [7] แต่แล้วก็ไม่มีคลิปวีดีโอบนยูทูบคลิปไหนที่สร้างผลกระทบสูงเท่ากับคลิปวีดีโอคลิปเดียวบนวิกิลีคส์ที่แสดงภาพพลเรือนหลายสิบคน (รวมนักข่าวรอยเตอร์สองคน) ถูกกราดยิงด้วยปืนแรงสูงจากเครื่องบินรบแถบชานเมืองของกรุงแบกแดด [8] ทำไม? เพราะถึงแม้ว่าการเปิดสมบูรณ์แบบอาจน่าดึงดูดใจในทฤษฎี ข้อมูลก็มีค่าเท่ากับความน่าเชื่อถือของมันเท่านั้น วิกิลีคส์มีโครงสร้างการกลั่นกรองแบบองค์กรที่ทวิตเตอร์ เฟซบุค ยูทูบ และบล็อกอื่นๆ ไม่มี (ด้วยเหตุผลที่ชัดเจน) ในเมื่อโซเชียลมีเดียไม่เท่าเทียมกัน พลังของมันจึงไม่เท่าเทียมกันด้วย

มายาคติ #2: รัฐชาติกำลังจะตาย

ถ้ากรณีของวิกิลีคส์ให้บทเรียนอะไรกับเรา บทเรียนนั้นก็คือ รัฐชาติไม่ได้กำลังเสื่อมถอยลงแม้แต่น้อย วาทกรรมมากมายเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียบอกว่าเรากำลังอยู่ในสังคมดิจิทัลที่ไร้พรมแดน

แนวคิดที่ว่ารัฐชาติกำลังเสื่อมถอยลงนั้นเป็นสิ่งที่นักวิชาการบางสำนักยืนกรานมานานหลายปีแล้ว แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาควรทำให้เราหยุดทบทวนใหม่ ชัดเจนว่าคนที่ทำวิกิลีคส์เข้าใจบทบาทที่ขาดไม่ได้ของรัฐชาติในแง่ของกฎหมาย ถึงแม้ว่า เจย์ โรเซน (Jay Rosen) นักวิชาการด้านสื่อจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กจะอ้างว่าวิกิลีคส์เป็น “องค์กรสื่อแห่งแรกของโลกที่ไร้รัฐ” [9] ที่จริงวิกิลีคส์ก็อยู่ติดพื้นที่ทางกายภาพอย่างมาก

วิกิลีคส์ตั้งอยู่ในสวีเดนอย่างไม่เป็นทางการ ใช้ประโยชน์จากกฎหมายสวีเดนที่มีบทบัญญัติคุ้มครองผู้ให้เบาะแสคอร์รัปชั่นและพิทักษ์ตัวตนที่แท้จริงของแหล่งข่าว [10] ดังที่ เดอะ นิวยอร์กเกอร์ รายงานในเดือนมิถุนายน 2010 ว่า [11] ผู้ให้บริการของวิกิลีคส์คือไอเอสพีสวีเดนชื่อ พีอาร์คิว [12] เนื้อหาที่คนส่งมาให้วิกิลีคส์ ก่อนอื่นจะต้องผ่านพีอาร์คิว แล้วค่อยส่งต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ในเบลเยียม ทำไมต้องเบลเยียม? เพราะเบลเยียมมีกฎหมายที่เข้มเป็นอันดับสองในแง่ของการปกป้องแหล่งข่าว และ จูเลียน อัสซานจ์ (Julian Assange) ผู้ก่อตั้งวิกิลีคส์ ก็เลือกไอซ์แลนด์เป็นสถานที่ถอดรหัสคลิปวีดีโอการสังหารหมู่ในแบกแดด เพราะเมื่อไม่นานมานี้ไอซ์แลนด์เพิ่งดำเนินนโยบาย “Icelandic Modern Media Initiative” [13] ซึ่งถูกออกแบบมาให้ประเทศนี้เป็นแหล่งหลบภัยสำหรับผู้ให้เบาะแสคอร์รัปชั่น การทำข่าวเจาะ และเสรีภาพในการแสดงออก

นอกจากวิกิลีคส์ เราก็มีกรณีอื่นที่เตือนให้เห็นความสำคัญของรัฐและกฎหมายในโลกดิจิทัลที่ลื่นไหล เช่น กรณีที่รัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดิอาระเบียประกาศแบนฟังก์ชั่นแชทของเครื่องแบล็กเบอรี [14] หรือกรณีที่รัฐบาลตุรกีสั่งแบนยูทูบอย่างดูไม่มีที่สิ้นสุด [15] ถึงแม้ว่าโครงสร้างของวิกิลีคส์จะถูกออกแบบมาเพื่อข้ามพ้นกฎหมายในบางประเทศ (ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลเอื้อให้ทำอย่างนั้นได้) มันก็ฉวยใช้ประโยชน์จากกฎหมายของประเทศอื่นเช่นกัน วิกิลีคส์ไม่ใช่ไม่ทำตามกฎหมาย มันเพียงแต่ย้ายเกมทั้งเกมไปอยู่ในที่ที่กฎกติกาแตกต่างออกไป

มายาคติ #3: สื่อมวลชนไม่ได้ตายแล้ว (หรือเกือบตาย)

ข่าวที่ว่าสื่อมวลชนตายแล้วนั้นเกินจริงไปมาก (ถ้าจะเลียนแบบคำพูดของ มาร์ค ทเวน) กรณีของวิกิลีคส์สะท้อนพลังของเทคโนโลยีที่ทำให้เราทบทวนว่า “สื่อมวลชน” หมายความว่าอะไรในยุคต้นศตวรรษที่ 21 แต่มันก็ช่วยตอกตรึงตำแหน่งแห่งที่ของสื่อกระแสหลักในวัฒนธรรมร่วมสมัยด้วย วิกิลีคส์ตัดสินใจปล่อยเอกสารจากอัฟกานิสถานให้กับ เดอะ การ์เดียน, เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส์ และ เดอ สปีเกล ก่อนที่จะปล่อยมันออนไลน์ ซึ่งทั้งสามฉบับนี้ล้วนเป็นสื่อกระแสหลัก ไม่ใช่ “สื่อทางเลือก” (ที่น่าจะสนับสนุนวิกิลีคส์) อย่างเช่น เนชั่น, แซด แมกกาซีน หรือ อินดีมีเดีย เหตุผลก็น่าจะชัดเจนว่าเป็นเพราะสื่อกระแสหลักทั้งสามนั้นเป็นผู้กำหนดวาระข่าวระดับนานาชาติ มีสื่อไม่กี่องค์กร (ถ้าไม่นับสื่อโทรทัศน์อย่างเช่นบีบีซีหรือซีเอ็นเอ็น) ที่มีอิทธิพลเท่ากับ เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส์ และ เดอะ การ์เดียน – และการตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษก็ช่วยให้คนเข้าถึงเช่นกัน ทีมงานของวิกิลีคส์ช่ำชองพอที่จะตระหนักว่าการปล่อยเอกสารออนไลน์ไปเลยโดยไม่ติดต่อสื่อกระแสหลักที่เลือกแล้วบางแห่งรังแต่จะทำให้เกิดกระแสแห่กันโพสบทความที่สับสนวุ่นวายไปทั่วโลก

วิธีของวิกิลีคส์ทำให้ความสนใจทั้งหมดพุ่งไปสู่เนื้อหาในหนังสือพิมพ์สามฉบับ ซึ่งได้วิเคราะห์และสรุปเอกสารจำนวนมากเรียบร้อยแล้ว และบทบาทของวิกิลีคส์ก็ไม่ได้หลุดหายไปในวังวนข้อมูลด้วย แนวคิดเรื่องความตายของสื่อมวลชนสับสนระหว่างการเปลี่ยนแปลงกับการกำจัดทิ้ง (เหมือนกับแนวคิดเรื่องความตายของรัฐชาติ) การปล่อยเอกสารอัฟกานิสถานชี้ให้เห็นว่า สื่อมวลชนกระแสหลักยังมีอิทธิพลสูงมาก แต่ลักษณะของอิทธิพลนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป (เทียบกับเมื่อ 20-30 ปีก่อน) ยกตัวอย่างเช่น บิล เคลเลอร์ (Bill Keller) บรรณาธิการบริหาร เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส์ อธิบายการติดต่อระหว่างกองบรรณาธิการกับทำเนียบขาว [16] หลังจากที่เอกสารได้รับการตีพิมพ์ว่า –

“ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะประณามวิกิลีคส์ที่เผยแพร่เอกสารสู่สาธารณะ รัฐบาลก็ไม่ได้บอกว่าหนังสือพิมพ์เราไม่ควรเขียนข่าวเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวท้าทายข้อสรุปบางข้อที่เราสรุปจากเนื้อหา ขอบคุณเราที่เราจัดการกับเอกสารเหล่านี้อย่างระมัดระวัง และขอให้เราไปกระตุ้นเตือนวิกิลีคส์ให้ระงับการเผยแพร่ข้อมูลที่อาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตคน และเราก็ได้ส่งต่อสารนั้นแล้ว”

นั่นคือคำยอมรับที่น่าทึ่งโดยบรรณาธิการบริหารของหนังสือพิมพ์ที่ได้รับความเชื่อถือสูงสุดในสหรัฐอเมริกา น่าทึ่งด้วยเหตุผลสองข้อด้วยกัน ข้อแรก คำอธิบายการแลกเปลี่ยนกับทำเนียบขาวสะท้อนถึงความภาคภูมิใจในคำชมที่ได้รับจากทำเนียบขาว ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดดั้งเดิมที่ว่า สื่อเป็น “หมาเฝ้าบ้าน” ที่คอยตรวจสอบผู้มีอำนาจ ข้อสอง บทบาทของ เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส์ ในการเป็นตัวกลางระหว่างรัฐบาลอเมริกันกับวิกิลีคส์นั้น สะท้อนพลวัตอำนาจใหม่ที่น่าสนใจในโลกของข่าวสารและข้อมูลในอเมริกา

หัวใจของมายาคติเกี่ยวกับความตายของสื่อมวลชน (และบทบาทของโซเชียลมีเดีย) คือสมมุติฐานที่ว่า การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเป็นเหตุปัจจัยที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอันเป็นประชาธิปไตย ความคิดที่ว่าลำพังการเข้าถึงข้อมูลดิบจะสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยอัตโนมัติ (ไม่ว่าจะเปลี่ยนอย่างสุดขั้วหรือไม่) นั้นเป็นความคิดที่โรแมนติกพอๆ กับความคิดที่ว่าลำพังการเข้าถึงเทคโนโลยีจะทำอย่างนั้นเหมือนกัน ข้อมูลก็เหมือนกับเทคโนโลยีตรงที่มันเป็นประโยชน์ก็ต่อเมื่อคนมีความรู้และทักษะที่จะใช้ข้อมูลนั้นๆ วิกิลีคส์เลือกหนังสือพิมพ์สามฉบับนี้ไม่ใช่เพราะว่าพวกเขาเป็นตัวแทนอุดมการณ์เดียวกันกับ จูเลียน อัสซานจ์ กับเพื่อนร่วมงานของเขา แต่เพราะหนังสือพิมพ์สามฉบับนี้มีความพร้อมทางวิชาชีพ ทางองค์กร และทางเศรษฐกิจที่จะลงมือถอดรหัสและกระจายเนื้อหาที่วิกิลีคส์ส่งให้

ในโลกดิจิทัลที่กำลังถูกตั้งนิยามอยู่เนืองๆ ว่าไร้ลำดับชั้น ไร้พรมแดน และลื่นไหล วิกิลีคส์ได้ย้ำเตือนเราว่าโครงสร้าง พรมแดน กฎหมาย และชื่อเสียงล้วนยังเป็นสิ่งสำคัญ.

…………………………………………………………………….

[1] //www.guardian.co.uk/world/the-war-logs

[2] //www.nytimes.com/interactive/world/war-logs.html

[3] //www.spiegel.de/international/world/0,1518,708314,00.html

[4] //app.owni.fr/warlogs/

[5] //www.huffingtonpost.com/phil-bronstein/the-wikileaks-incident-ho_b_527788.html

[6] //www.thelocal.de/society/20100730-28855.html

[7] https://www.youtube.com/verify_age?next_url=https://www.youtube.com/watch%3Fv%3DLoFq9jYB2wo

[8] https://www.youtube.com/verify_age?next_url=https://www.youtube.com/watch%3Fv%3D5rXPrfnU3G0

[9] //archive.pressthink.org/2010/07/26/wikileaks_afghan.html

[10] //www.euractiv.com/en/infosociety/sweden-gives-legal-shelter-controversial-wikileaks-site-news-426138

[11] //www.newyorker.com/reporting/2010/06/07/100607fa_fact_khatchadourian

[12] //prq.se/?intl=1

[13] //www.immi.is/?l=en

[14] //www.bbc.co.uk/news/technology-10866417

[15] //www.csmonitor.com/From-the-news-wires/2010/0627/Internet-censorship-alive-and-well-in-Turkey-YouTube-some-Google-sites-blocked

[16] //www.nytimes.com/2010/07/26/world/26askthetimes.html?ex=1295755200&en=f5e76af6999f3d76&ei=5087&WT.mc_id=NYT-E-I-NYT-E-AT-0728-L5




 

Create Date : 23 กันยายน 2553    
Last Update : 23 กันยายน 2553 3:53:58 น.
Counter : 554 Pageviews.  

เส้นแบ่งระหว่าง“นักเล่นเกมส์ตัวยง”กับ“นักเล่นเกมส์สมัครเล่น”

เชื่อว่าเพื่อนๆ แถวนี้คงเคยเล่นเกมส์กันมาบ้างแหละ ไม่มากก็น้อยต่างกันไป
แต่ว่าเล่นแล้วจะเป็นนักเล่นตัวยงระดับพระกาฬ หรือนักเล่นเกมส์สมัครเล่นเน้นสนุกไว้เป็นพอกันหว่า? คำถามนี้อาจจะตอบยากซักหน่อย แต่ถ้าเป็นในสายตาของนักพัฒนาเกมส์ล่ะ?
เขาจะแบ่งนักเล่นเกมส์สองอย่างนี้กันยังไง และนี่ก็เป็นการพูดสัมนาของคุณ Masanobu Endo นักสร้างเกมส์ที่เคยมีชื่อในผลงานอย่าง The Tower of Druaga (ทั้งเกมส์และอนิเมะ) ในงานสัมมนาผู้พัฒนาเกมญี่ปุ่นหรือ CEDEC 2010 จะเป็นยังไงไปดูกัน
นักเล่นเกมส์ตัวยงข้อเปรียบเทียบนักเล่นเกมส์สมัครเล่น
สนุกกับการค้นพบสิ่งต่างๆ ในเกมส์ด้วยตัวเองการเตรียมตัวอ่านหนังสือเฉลยไปเล่นไป
เล่นให้จบเร็วเข้าไว้เวลาไม่ชอบเล่นแบบมีข้อจำกัดเรื่องเวลา
ชอบเล่นไปเรื่อยๆ ตามใจตัวเองเวลาไม่อยากเสียเวลาไปกับการเล่นเกมส์มากนัก
ชอบการบังคับที่ซับซ้อนการบังคับบังคับยุ่งยากซับซ้อน = น่าเบื่อ
ออกปุ๊บซื้อปั๊บการซื้อซื้อเมื่ออยากเล่น
นิตยสารเกมส์ข่าวสารเพื่อน
ร้านขายเกมส์ลดราคาหรือ Amazonงบประมาณไม่ได้ของฟรีราคาถูก ก็ซื้อเอาปกติก็ได้
รอเกมส์โหลดอย่างลุ้นระทึกเวลาโหลดโหลดนาน = ปิดดีกว่า
ชอบเกมส์ และความสนใจสนใจแต่ตัวเกมส์อย่างเดียว
ต้องได้เล่นถึงจะพอใจการเล่นดูคนอื่นเล่นก็สุขแล้ว
เสมือนจริงความชอบสมจริง

นักเล่นเกมส์ตัวยง

- เคยเล่นเกมส์ในยุค 80 (แก่)
- เข้าใจความสนุกของการหักหลบระหว่างช่องว่างของ Pixel (พวกเกมส์ยานยิงกระสุนเยอะๆ)
- กล้าได้กล้าเสียในเรื่องที่เสี่ยงแต่ผลตอบแทนสูง
- ถ้าเป็นนักเล่นเกมส์ PC ก็มักชอบแนว FPS(เดินยิงแหลก), RTS(วางแผน), MMO(สวมบทบาท ออนไลน์)
- อยากได้ Xbox360 สำหรับเกมส์เล่นที่บ้าน
- อยากได้ PSP สำหรับเกมส์มือถือ
- มักจะเป็นโสด
- ไม่ค่อยอดทนกับเกมส์กีฬาของเครื่อง Wii ซักเท่าไหร่

นักเล่นเกมส์สมัครเล่น

- อาจจะเป็นผู้หญิง
- ส่วนมากเป็นวัยรุ่น
- มีเวลาเล่นเกมส์ไม่เยอะเท่าไหร่
- ส่ง E-mail สำคัญกว่าการนั่งเล่นเกมส์
- ไม่ต้องติดตั้งเกมส์ลงเครื่อง(Install)

อืม… และนี่ก็เป็นมุมมองจากพัฒนาเกมส์เขา ในการทำเกมส์เพื่อให้คนกลุ่มไหนเล่นล่ะนะ ส่วนเพื่อนๆ คิดว่าตัวเองเป็นนักเล่นเกมส์ประเภทไหน ก็ลองดูกันเอาเน้อ!

Source : Sankakucomplex via Famitsu
ข่าวแปลภาษาไทยจาก : //akibatan.com/2010/09/elite-gamer-or-light-gamer/




 

Create Date : 06 กันยายน 2553    
Last Update : 6 กันยายน 2553 16:28:24 น.
Counter : 1511 Pageviews.  

เจาะประวัติชีวิตJulian Assangeผู้ก่อตั้งWikileaks

รายงาน(วันสุข)
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ วันสุข
ปีที่ 5 ฉบับที่ 265 ประจำวัน จันทร์ ที่ 28 มิถุนายน 2010
โดย คณาภพ ทองมั่ง

“แฮคเกอร์”ล้วงความลับสหรัฐ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สื่อใหญ่หลายสำนักรายงานว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐกำลังพยายามไล่ล่าและจับกุมตัว จูเลียน เอสแซง (Julian Assange) ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ วิกิลีกส์

(wikileaks.org) และเป็นผู้ที่พยายามจะเปิดโปงข้อมูลลับต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องราวและข้อมูลที่สื่อทั่วไปไม่สามารถเปิดเผยหรือไม่มีโอกาสรับรู้ออกสู่สาธารณะ

วิกิลีกส์เรียกตัวเองว่าเป็น “วิกิพีเดียฉบับไม่มีการเซ็นเซอร์ข้อมูล” ทั้งยังเป็นชุมชนออนไลน์ซึ่งมีสมาชิกราว 800 ราย ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโลกไซเบอร์ นักรณรงค์ นักข่าว และทนายความ ที่ต่อต้านรัฐบาล และฉ้อโกงบริษัทต่างๆทั่วโลก

ล้วงตับสหรัฐ

ก่อนหน้านี้เอสแซงและทีมงานได้เปิดเผยภาพจากวิดีโอลับชื่อ ที่ถูกบันทึกไว้เมื่อวันที่ 12 ก.ค. ปี 2007 ซึ่งเป็นภาพชาวอิรักและนักข่าวรอยเตอร์ 2 คนที่เสียชีวิตจากการโจมตีของเฮลิคอปเตอร์สหรัฐ

การเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อความมั่นคงและภาพลักษณ์ของสหรัฐ ซึ่งหลังจากมีการดาวน์โหลดข้อมูลลับราว 260,000 ข้อมูลออกไปจากสถานทูตและหน่วยงานด้านความมั่นคง รัฐบาลสหรัฐจึงต้องการสกัดกั้นการรั่วไหลของข้อมูลเหล่านั้น ขณะที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐและหน่วยสืบสวนของสหรัฐกำลังเร่งไล่ล่าจับกุมเอสแซง

การรั่วไหลของข้อมูลลับเกี่ยวกับอิรักมาจากคนในองค์กร นั่นคือ แบรดเลย์ แมนนิง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลของกองทัพสหรัฐ วัย 22 ปี ซึ่งอยู่ในคูเวต และขณะนี้ถูกจับแล้ว

ส่วนการเผยแพร่วิดีโอเทปเกี่ยวกับอิรักที่เอสแซงปรับเปลี่ยนเป็นหนังสั้น กระทำผ่านเซิร์ฟเวอร์อย่างหลากหลายถึง 20 แห่ง เพื่อตบตาและหลีกเลี่ยงการถูกตามจับ

สำหรับข้อมูลลับทั้ง 260,000 ข้อมูลที่เว็บไซต์ของเอสแซงเจาะมาได้ รวมถึงข้อมูลส่วนตัวของซาราห์ เพลิน อดีตผู้สมัครชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐพรรครีพับลิกัน และอดีตผู้ว่าการรัฐฮาวาย การคอร์รัปชันและการลอบสังหารในเคนยา แผนการขององค์การนาโต้ในอัฟกานิสถาน ไปจนถึงภารกิจประจำวันของนักโทษที่ถูกคุมขังในเรือนจำกวันตานาโมในคิวบา

เจาะชีวิตแฮคเกอร์
เอสแซงเกิดเมื่อปี 1971 ที่เมืองทาวน์สวิลล์ รัฐควีนสแลนด์ ของออสเตรเลีย พ่อกับแม่เป็นเจ้าของบริษัทละครเร่ จึงต้องเดินทางอยู่ตลอดเวลา เขาเปรียบเทียบชีวิตวัยเด็กของตัวเองว่าคล้ายกับทอม ซอว์เยอร์

เมื่ออายุ 11 ปี แม่ของเอสแซงพาเขากับพี่ชายต่างมารดาแยกจากพ่อเพื่อหลบหนีลูกพี่ลูกน้องของพ่อที่เป็นสมาชิกกลุ่มนอกสังคม ในวัยรุ่นเอสแซงเริ่มถูกตำรวจติดตามในฐานะแฮคเกอร์ เมื่ออายุ 16 ก็พบกับสาวน้อยคนหนึ่ง ซึ่งต่อมาแต่งงานกันและมีลูกชาย 1 คน

การต้องย้ายที่อยู่บ่อยๆทำให้เอสแซงผ่านโรงเรียนถึง 37 แห่ง และมหาวิทยาลัยอีก 6 แห่ง โดยไม่มีหลักฐานว่าจบจากที่ไหนหรือไม่ เขาเคยเข้าเรียนฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์นจนถึงปี 2006 ซึ่งเป็นปีที่เขาทุ่มเทเวลาให้วิกิลีกส์อย่างหนัก แต่ส่วนมากเขาเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยตัวเองจากประสบการณ์ส่วนตัวและการอ่านหนังสือวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์อย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังศึกษาปรัชญาและระบบประสาท

เอสแซงมีส่วนช่วยเขียนหนังสือ Underground : Tales of Hacking, Madness and Obsession on the Electronic Frontier ที่ออกขายเมื่อปี
1997 ซึ่งเล่าถึงประสบการณ์ของเขาช่วงวัยรุ่นในฐานะสมาชิกของกลุ่ม International Subversives ที่ทำให้ตำรวจนครเมลเบิร์นบุกเข้าค้นบ้านของเขาเมื่อปี 1991 หนังสือพิมพ์ “เดอะ ซิดนีย์ มอร์นิง เฮรัลด์” และ “ซันเดย์ ไทม์ส ”ระบุว่า บุคคลในหนังสือชื่อ “เมนแดกซ์” (Mendax) มีบุคลิกคล้ายกับเอสแซง ส่วน “นิวยอร์ก ไทม์ส” ชี้ชัดเลยว่า เมนแดกซ์ก็คือเอสแซง

ในที่สุดเอสแซงก็ถูกกล่าวหาว่า ขโมยข้อมูลจากหลายแห่ง ทั้งคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยออสเตรเลียน บริษัทสื่อสารโทรคมนาคม และองค์การหรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อทดสอบระบบรักษาความปลอดภัยของสถานที่เหล่านั้น เขารับสารภาพในความผิด 24 กระทงจากข้อหาล้วงความลับ และได้รับการปล่อยตัวหลังยอมเสียค่าปรับ 2,100 ดอลลาร์สหรัฐ

รายงานอีกด้านหนึ่งระบุว่า เอสแซงถูกตั้งข้อหา 31 กระทงในฐานะแฮคเกอร์และคดีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เขารับสารภาพ 25 กระทง และถูกปล่อยตัวหลังจ่ายค่าปรับ นอกจากนี้เขายังมีเรื่องฟ้องร้องกับภรรยา การที่ต้องขึ้นศาลเพื่อไต่สวนคดีมากกว่า 36 ครั้ง ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทำให้แม่ของเขาเชื่อว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้ลูกชายป่วยด้วยความเครียดเรื้อรัง จนผมซึ่งเดิมสีน้ำตาลเข้มกลายเป็นสีขาว

เอสแซงยอมรับว่า ต้องเดินทางอยู่ตลอดเวลา และบางครั้งก็ต้องอาศัยอยู่ตามสนามบิน เขาเคยเดินทางไปหลายประเทศ ทั้งเวียดนาม สวีเดน ไอซ์แลนด์ ไซบีเรีย และสหรัฐ

ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เอสแซงได้ปรากฏตัวในการให้สัมภาษณ์สื่อโทรทัศน์หลายแห่ง ทั้งอัลจาซีราภาคภาษาอังกฤษ ซีเอ็นเอ็น เอ็มเอสเอ็นบีซี เดโมเครซี นาว รวมถึงสำนักข่าวและหนังสือพิมพ์บางแห่ง ซึ่งสอบถามในเรื่องเดียวกันคือ หนังสั้นชุดอิรักอันอื้อฉาว

ระหว่างที่ทำวิดีโอเทปลับชุดนี้ เอสแซงใช้อาสาสมัคร 12 คนทำงานแข่งกับเวลารวม 4 วันภายใต้รหัส “โปรเจกต์ บี” เพื่อวิเคราะห์เทป ตัดต่อ บันทึกเสียง และทำเป็นหนังสั้นจนเสร็จ หลังจากนั้นก็สร้างเว็บไซต์ใหม่เพื่อเผยแพร่ เตรียมเอกสารประกอบ และติดต่อกับสื่อมวลชน

สภาพที่ดูอ่อนล้าและไม่ได้โกนหนวดเคราขณะทำหนังสั้นชุดนี้แสดงว่าเอสแซงทำงานแทบไม่มีวันหยุด “ผมใช้เวลา 2 เดือนอยู่ในห้องๆเดิมที่ปารีสชนิดที่ไม่เคยออกมาข้างนอกเลย โดยมีคนคอยส่งอาหารเข้ามาให้” เอสแซงบอก เขามีรายได้จากการเผยแพร่วิดีโออิรัก 137,000 ดอลลาร์สหรัฐแล้ว และยังคงเพิ่มขึ้นทุกวัน

เอสแซงเคยได้รับรางวัล Amnesty International Media Award เมื่อปี 2009 ในฐานะผู้เปิดเผยการลอบสังหารผู้พิพากษาในเคนยาและกระบวนการสืบสวนกรณีลอบสังหารและการหายตัวของผู้พิพากษาเหล่านั้น ได้รับรางวัล Economist Index on Censorship Award เมื่อปี 2008 และรางวัลอื่นๆในฐานะสื่อมวลชนอีกหลายแห่ง ทั้งยังเคยเข้าร่วมการประชุมสัมมนาด้านสื่อมวลชนและไอทีหลายครั้ง

นิตยสาร CounterPunch เมื่อปี 2006 พูดถึงเขาว่า ประธานเอ็นจีโอและอดีตแฮคเกอร์คอมพิวเตอร์ที่ไร้ชื่อเสียงมากที่สุดของออสเตรเลีย หนังสือพิมพ์ “ดิ เอจ” เรียกเขาว่า หนึ่งในนักวางแผนคนสำคัญที่สุด และนักสู้เพื่อเสรีภาพของอินเทอร์เน็ต ส่วนองค์กร The Personal Democracy Forum ระบุถึงเขาสมัยเป็นวัยรุ่นว่า แฮคเกอร์คอมพิวเตอร์ผู้มีชื่อเสียงด้านจริยธรรมมากที่สุดของออสเตรเลีย ขณะที่เอสแซงมองตัวเองว่า เป็นคนที่เห็นแก่ตัวอย่างสุดขั้ว

หนีการตามล่า

เมื่อวันที่ 30 มี.ค. ที่ผ่านมา ช่วงที่ภูเขาไฟลูกหนึ่งของไอซ์แลนด์ปะทุและพ่นละอองเถ้าถ่านอย่างหนักซึ่งพัดไปไกลถึงยุโรป เอสแซงและทีมงานไปเช่าบ้านหลังหนึ่งที่กรุงเรคยาวิก โดยบอกกับเจ้าของบ้านว่าเป็นผู้สื่อข่าวและมาที่นั่นเพื่อเขียนเรื่องภูเขาไฟ แต่ที่จริงเอสแซงและทีมงานใช้บ้านหลังนั้นเป็นห้องตัดต่อและจัดทำวิดีโอลับชิ้นหนึ่งจนเสร็จพร้อมที่จะเผยแพร่

และเมื่อกลับสู่ออสเตรเลียในเดือนพฤษภาคม เขาถูกยึดพาสปอร์ต และได้รับคืนพร้อมกับการแจ้งว่ามันถูกยกเลิกแล้ว

นับตั้งแต่แมนนิงถูกจับกุมตัว เอสแซงเพิ่งให้สัมภาษณ์บีบีซีเป็นแห่งแรกเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. นี้ โดยปฏิเสธที่จะยืนยันว่าแมนนิงอยู่เบื้องหลังข้อมูลดังกล่าว และว่าเว็บไซต์ของเขาไม่เคยเปิดเผยข้อมูลของแหล่งข่าว ทั้งยังไม่มีการเก็บข้อมูลของแหล่งข่าวไว้ด้วย

เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. เอสแซงปรากฏตัวร่วมกับผู้สื่อข่าวชื่อ ดาเนียล เอลส์เบิร์ก ในการประชุม Personal Democracy Forum ผ่านเครือข่าย Skype เอลส์เบิร์กบอกว่าการที่เอสแซงไม่ยอมเดินทางไปยังสหรัฐเพื่อร่วมงานนี้ มีเหตุผลด้านความปลอดภัย และในวันที่ 11 มิ.ย. เอสแซงได้ยกเลิกการเข้าร่วมประชุมคณะบรรณาธิการและผู้สื่อข่าวด้านสืบสวนที่นครลาสเวกัสโดยแจ้งล่วงหน้าหลายวันด้วยเหตุผลเดิม เพราะได้ข่าวว่าเจ้าหน้าที่สหรัฐเตรียมรวบตัวเขา

การที่แมนนิงถูกจับตัว และเจ้าหน้าที่สหรัฐสืบทราบว่าเอสแซงเตรียมตีพิมพ์ข้อมูลลับบางอย่าง ทำให้ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตราย

ไม่มีใครรู้ว่าขณะนี้เอสแซงอยู่ที่ไหน ยังคงทำงานอยู่หรือหลบซ่อนตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุม แต่หากเขาถูกจับในข้อหาล้วงความลับสหรัฐเมื่อใด จะต้องกลายเป็นคดีใหญ่แน่นอน

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 5 ฉบับ 265 วันที่ 26 มิถุนายน-2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หน้า 21 คอลัมน์ เบื้องหลังโลก โดย คณาภพ ทองมั่ง
//www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=7085


เมื่อปี 2551 มีคนกลุ่มหนึ่ง ได้ร่วมกันก่อตั้งเว็บไซต์ขึ้นมาเป็นภาษาอังกฤษ ให้ชื่อว่า Wikileak ซึ่งคำว่า Leak แปลว่า"รั่วไหล" ให้เป็นเว็บไซต์เสรีเพื่อรองรับให้ใครก็ได้ส่ง"ข้อมูลความชั่วร้าย" ของผู้ปกครองหรือรัฐบาล หรือมาเฟีย ในทุกประเทศทั่วโลก ที่สื่อปกติไม่กล้าลง หรือลงไม่ได้ ถ้าลงคอขาดทันที ก็ให้ส่งมาลงที่เว็บนี้ โดยไม่มีเซ็นเซอร์ก่อน ส่งมายังไงก็แพร่ออกไปยังงั้น

คนที่ออกทุนให้ วิกิลีคเป็น "ชาวเคนยา" ไม่มีใครรู้จักตัวจริง รู้แต่ผู้ดำเนินการที่ชื่อว่านาย "จูเลียน เอสแชง" (Julian Assange) อายุ 34 ปี เกิดที่ออสเตรเลีย ย้ายมาทำมาหากินอยู่ในประเทศแอฟริกาใต้

เอสแชงเป็นแฮกเกอร์เก่งคอมพิวเตอร์มากเขาจึงสามารถซ่อนเซิร์ฟเวอร์ของวิกิลีคได้อย่างมิดชิดเขาวางเซิร์ฟเวอร์ไว้ในหลายประเทศทั่วโลก คนเฝ้าเป็นอาสาสมัคร ทำให้ไม่มีตัวตนแต่ก็เชื่อกันว่าเซิร์ฟเวอร์ใหญ่อยู่ในสวีเดน ทำให้วิกิลีคเป็นเว็บไซต์ที่แกะรอยไม่ได้เซ็นเซอร์ไม่ได้ และบล็อกไม่ได้

คนทั่วไปไม่รู้จักวิกิลีค มีแต่ "พวกนิยมซ้าย" เท่านั้นที่ท่องเว็บนี้ กระทั่งวันที่ 30 ก.ค.2553 วิกิลีคก็ดังกระหึ่มโลกและเป็นที่รู้จัก เมื่อได้ลงเผยแพร่ "เอกสารลับ" ของกองทัพสหรัฐกับอังกฤษ ในการทำสงครามอัฟกานิสถาน 92,000 แผ่น

มีทั้งความจริงกรณีนักบิน ฮ.ชาวสหรัฐ ยิงจรวดใส่ทหารอัฟกัน ทำให้นักข่าวตายด้วย 2 คน กรณีทหารอังกฤษฆ่าเด็กอัฟกัน 16 คน กรณีทหารระดับสูงของรัฐบาลปากีสถานทรยศแอบให้การสนับสนุนตาลีบัน และอื่นๆ ที่เป็นเรื่องไม่ดี

"บารัค โอบามา" แก้ว่า ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ห่วงคนที่มีชื่อที่แฟ้มลับจะตกอยู่ในอันตราย

"ระบอบปกครองโอบามา" กริ้วเอสแชงมาก
แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ และแกะรอยหาเซิร์ฟเวอร์ก็ไม่เจอ ซึ่งถือว่าซ่อนได้เจ๋งจริง ระดับสหรัฐยังหาไม่พบ

กลางสิงหาฯ เอสแชง ประกาศว่าจะเผยเอกสารลับชุด 2 อีก 15,000 แผ่น ทำให้สหรัฐเดือดและกระวนกระวาย แต่ก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี

สัปดาห์ก่อนเอสแชงไปสวีเดนเจอกับระดับสูงรัฐบาลหลายคนเจรจาขอให้ช่วยปกป้องเซิร์ฟเวอร์วิกิลีคให้ด้วยเพราะสหรัฐคุกคามหนัก และเรื่องเหลือเชื่อก็เกิดขึ้น วันที่ 20 ส.ค.53 หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์( Expr essen )ภาษาสวีเดน ออกในสตอกโฮล์มพาดหัวข่าวใหญ่ว่า อัยการสวีเดนออกหมายจับเอสแชงข้อหา

ข่มขืนผู้หญิงกับอีกข้อหาทำร้ายทางเพศ พร้อมแนะนำให้เอสแชงเข้ามอบตัวกับตำรวจทันที

พวกวิกิลีคโพสต์ข้อความด่าแหลกว่าเป็น Dirty trick หรือ "วิธีการสกปรก"โดยเชื่อว่าสหรัฐอเมริกาอยู่เบื้องหลังเพราะอยากจะเข่นเอสแชงอยู่แล้ว

วันที่ 22 ส.ค.53 "นางอิวา ไฟนน์" อัยการสวีเดนได้สั่งยกเลิกหมายจับ บอกว่า ไม่มีหลักฐาน แต่ก็จะยังสอบสวนกรณีนี้ต่อไป

หวิดไปแล้วเอสแชง ทีนี้ก็มาถึงเว็บไซต์วิกิลีคไทย ในขณะที่รัฐบาลไทยยังใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินไล่ปิดเว็บไซต์อันตรายและเป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลอยู่เรื่อยๆ ก็มีคนเปิดเว็บไซต์หนึ่งขึ้นมาชื่อว่า Thaileaks.org

น่าจะไม่ใช่เครือข่ายวิกิลีคแท้ เพราะพี่ไทยบล็อกเว็บนี้ไปแล้วเมื่อวันที่ 18 ส.ค.2553

ทำให้คณะผู้จัดทำเดือดดาลมากประกาศผ่านเว็บไซต์ //thaileaks. w ord press.com/เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 53 ว่าได้จัดทำเว็บไซต์ใหม่แล้วชื่อว่า//wiki.thaileaks.info/

เข้าดูได้โดยผ่านระบบ secure connection โดยต้องกดยินยอมให้https-enabled
คณะนี้เรียกตัวเองว่า Wikicong (วิกิกง) เป็นการเอาคำว่า Wiki กับคำว่า "เวียดกง" ซึ่งเป็นหน่วยจรยุทธ์ของเวียดนามเหนือ เคลื่อนไหวใต้ดินสู้กับกองทัพสหรัฐในเวียดนามใต้ มาเป็นนามเรียกขานตัวเอง

วิกิกง เขียนคำประกาศท้ารบกับอภิสิทธิ์ได้ดุเดือดมาก วันหลังจะลงให้อ่าน
เปิดดูใน //wiki.thaileaks.info เมื่อวันที่ 22 ส.ค.53 หรือ 1 วันหลังประกาศเปิดตัว ยังไม่พบข้อมูลอะไรพิเศษ จึงยังสันนิษฐานไม่ได้ว่า วิกิกงคือใคร

ในช่วงปี 2550 หลังทักษิณถูกยึดอำนาจแล้ว มีเว็บไซต์หนึ่งประสิทธิภาพสูงมากชื่อว่า Hi-Thaksin.net แสดงข้อมูลเจ๋งๆได้บ่อยครั้ง นักเขียนที่ดังมากของเว็บนี้ใช้นามปากกา "ประดาบ"

แต่หลังจากที่ทักษิณกลับไทยรอบแรกเดือน ก.พ.2551 ก้มลงกราบแผ่นดินที่สุวรรณภูมิแล้วเว็บไฮ-ทักษิณ ก็ถูกตีหนักหาว่าทักษิณจะประนีประนอมได้ไงในเมื่อไฮ-ทักษิณยังด่า "ป๋าเปรม" วันที่28เม.ย.2551 "ประดาบ" จึงเขียนบทความส่งท้ายชื่อ "เก็บดาบ" และปิดตัวเองเมื่อวันที่ 30เม.ย.51 จนบัดนี้

ที่มา บ้านเมือง

NoteจากBlogger : ประดาบแห่งHi-Thaksinมีผู้สงสัยว่าตัวจริงน่าจะเป็นคนในเครือข่ายสื่อของนายห้อยตามที่Blogนี้ได้เคยนำเสนอข้อมูลไปแล้ว

Wikileaks ย้ายเซิร์ฟเวอร์ไปอยู่ในหลุมหลบภัยนิวเคลียร์

เซิร์ฟเวอร์บางส่วนของ Wikileaks ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพรรคโจรสลัดของสวีเดน (ทั้งคู่อยู่ในสวีเดน) ได้ย้ายไปอยู่ในศูนย์ข้อมูลชื่อ White Mountains ของบริษัท Bahnhof ความน่าสนใจอยู่ที่ White Mountains เป็นอดีตหลุมหลบภัยนิวเคลียร์สมัยสงครามเย็น ทำให้เซิร์ฟเวอร์ของ Wikileaks ได้ไปอยู่ในสภาวะใต้ดินลึก 30 เมตร มีประตูเหล็กหนาครึ่งเมตร และมีระบบปั่นไฟสำรองที่นำมาจากเรือดำน้ำของเยอรมัน
จริงๆ ก็มีเซิร์ฟเวอร์อีกมากที่ใช้บริการของ Bahnhof มาตั้งนานแล้ว เพียงแต่มันเป็นข่าวเพราะ Wikileaks นั่นล่ะครับ ดูวิดีโอพาทัวร์ศูนย์ข้อมูล White Mountains ได้ท้ายข่าว

https://www.youtube.com/watch?v=qwlATf9xse4

ที่มา - Forbes

ปัจจุบันserverได้ย้ายไปอยู่ในสวีสเซอร์แลนด์แล้ว


แอสซานจ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 1971 ที่เมืองทาวน์สวิลล์ รัฐควีนส์แลนด์ ของออสเตรเลีย พ่อกับแม่เป็นเจ้าของบริษัทละครเร่ จึงต้องเดินทางอยู่ตลอดเวลา ขณะที่ทาง แอสซานจ์ อธิบายชีวิตในวัยเด็กของเขาว่าเสมือนนักท่องเที่ยวและต้องย้ายโรงเรียนถึง 37 แห่งด้วยกัน

ในช่วงทศวรรษ 1990 แอสซานจ์ ซึ่งย้ายมาอาศัยอยู่ในเมลเบิร์น ค้นพบว่าพรสวรรค์ใหม่นั่นคือการล้วงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต หรือแฮกเกอร์ แต่ความสนใจใหม่นี้ก็ไม่อาจรอดพ้นการตรวจจับของเจ้าหน้าที่ โดยเขาถูกต้องข้อหาก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ราว 30 กระทง รวมถึงความผิดฐานแฮกเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของตำรวจและกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งเขาก็ยอมรับสารภาพในเกือบทุกข้อกล่าวหา แต่ถูกลงโทษเสียค่าปรับเท่านั้น

แอสซานจ์บอกว่า เขาเคยทำงานในตำแหน่งต่างๆ ในหลายบริษัท ทั้งในฐานะที่ปรึกษาด้านความมั่นคง นักวิจัยของวารสาร ก่อนจะเริ่มเปิดบริษัทไอทีของตนเอง

จากนั้นเขาได้ร่วมกับนักสิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอีกราว 10 คน ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ขึ้นมา แม้ว่าจะไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชนว่าคนอื่นๆ ที่เหลือเป็นใครก็ตาม

เว็บไซต์แห่งนี้เปิดตัวบนโลกออนไลน์ในปี 2007 และเริ่มเปิดเผยเอกสารลับต่างๆ จนกระทั่งในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเว็บไซต์แห่งนี้กลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เมื่อตีแผ่นเอกสารลับ 77,000 แผ่นของกองทัพสหรัฐฯ กับอังกฤษ ในการทำสงครามอัฟกานิสถาน

การเผยแพร่ดังกล่าวตามมาด้วยการเปิดโปงเอกสารอีกราว 400,000 แผ่นในเดือนตุลาคม ที่เกี่ยวข้องกับสงครามอิรัก และนับตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายนเป็นต้นมา วิกิลีกส์ก็ดังกระหึ่มโลกอีกครั้งเมื่อเผยแพร่เอกสารลับสุดยอดของสถานทูตสหรัฐฯ 274 แห่งทั่วโลก

เว็บไซต์วิกิลีกส์ถูกไล่ล่าเล่นงานจากทั่วโลก นับแต่ที่เริ่มเผยแพร่รายงานลับทางการทูตของสหรัฐฯ จนกระทั่งต้องโยกย้ายจากเซิร์ฟเวอร์หนึ่งไปยังอีกเซิร์ฟเวอร์หนึ่ง เนื่องจากหลายๆ ประเทศพยายามปิดเว็บไซต์นี้ให้ได้

อย่างไรก็ตาม เมื่อว้นที่ 7 ธันวาคม แอสซานจ์เข้ามอบต่อตำรวจอังกฤษ หลังจากที่สวีเดนออกหมายจับเขาด้วยข้อหากระทำความผิดทางเพศหลายกระทง และศาลสั่งควบคุมตัวไว้จนถึงวันที่ 14 ธันวาคม หลังเขาบอกว่าจะต่อสู้กับคำขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน

ที่มา หมาเนเจ๋อ




 

Create Date : 25 สิงหาคม 2553    
Last Update : 9 ธันวาคม 2553 4:52:29 น.
Counter : 2144 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.