ปลาอะไรมีตีน






ปลาตีน ชื่อภาษาอังกฤษคือ Mudskipper เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Gobiidae ซึ่งเป็นวงศ์ที่มีสมาชิกเยอะมากกกกกก
ปลาตีนเป็นปลากลุ่มหนึ่งที่หายใจด้วยเหงือกเหมือนปลาทั่วไป แต่เป็นเหงือกเวอร์ชั่นปรับปรุงคุณภาพแล้ว จึงสามารถอยู่ในที่แห้งๆได้พักใหญ่ๆ เราสามารถพบเห็นปลาตีนได้บริเวณชายหาด โดยปลาตีนแต่ละชนิดชอบถิ่นอาศัยในหาดที่ไม่เหมือนกัน


ปลามีตีนตัวแรกในชีวิตที่เคยเห็นตัวเป็น ชอบอยู่ด้านในป่าชายเลน ไม่ได้จับตัวมาดู จำแนกชนิดยากมาก 


ตัวที่สองมีจุดสีฟ้า ชอบอยู่หาดเลน มักจะเจอแถวๆหน้าป่าชายเลน ตัวนี้ถ่ายมาจากสะพานหิน ภูเก็ต น่าจะเป็นชนิด Boleophthalmus boddarti   


ตัวที่สามมีจุดสีส้ม ชอบอยู่ที่หาดเลนปนทราย เห็นกี่ครั้งก็กำลังโต้คลื่นบริเวณขอบๆน้ำทะเล เล่นคลื่นไปกินตะกอนสารอินทรีย์ที่มากับคลื่น หง่ำๆๆ อร่อย เป็นปลาตีนที่ปีนเก่งซะด้วย เห็นพี่แกเกาะรากแสมแน่นปึ๊กเลย โปรดสังเกตครีบที่หน้าอก เกาะแน่นขนาดนี้คลึ่นสาดแรงแค่ไหนก็ไม่หล่น น่าจะเป็นชนิด Periophthalmus chrysospilos ตัวนี้ถ่ายจากแหลมหิน หน้าป่าสงวนแห่งชาติป่าชายเลนคลองบางชีเหล้า  



ปลาตีนตัวสุดท้ายที่เคยเห็น ตัวนี้อยู่ในบริเวณพื้นเลนนิ่มๆ ของแหล่งหญ้าทะเล ตัวที่เห็นอยู่ใกล้กับหญ้าชะเงาใบมน (Cr) ตอนที่เห็นเป็นช่วงกลางคืนไม่รู้ว่ากลางวันเธอจะโผล่ออกมาหรือเปล่านะ 
เจอหน้ากันครั้งแรกนี่สะดุ้งตกใจเลย ก็คุณพี่เล่นนอนเลื้อยคดไปมาเหมือนงูซะขนาดนั้น ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Scartelaos histophorus  ตัวนี้ถ่ายรูปมาจากแหล่งหญ้าทะเลในตำบลเกาะยาวใหญ่



เก็บสะสมไปเรื่อยๆ วันไหนเจอชนิดอื่นจะเอามาเพิ่มไว้ในฝูงเดียวกันอีกนะ ปลามีตีน




 

Create Date : 29 สิงหาคม 2560   
Last Update : 31 สิงหาคม 2560 12:16:21 น.   
Counter : 3025 Pageviews.  


นกเงือกเกาะ อนาคตยังพร่ามัว

นกเงือกเป็นนกใหญ่ ที่แสนจะโบร้าณ โบราณ แต่พวกมันก็นำพาประชากรมาจนถึงปัจจุบันจนได้ นักชีววิทยาจะใช้นกเงือกเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่า เนื่องจากลักษณะพิเศษเฉพาะหรืออาจเรียกง่ายๆว่าเป็นนกที่เลือกมาก เช่น การสร้างรัง เลี้ยงลูกวางไข่ คุณเธอและสามีจะต้องเลือกต้นไม้ใหญ่ (ต้องใหญ่เพราะตัวเธอใหญ่ ไม่ใช่นกกระจอกนี่) ใหญ่อย่างเดียวไม่พอต้องมีโพรงอยู่แล้ว เพราะคุณเธอและสามีไม่สามารถเจาะโพรงเองได้ โพรงนี้ก้ต้องได้ขนาดพอดี้ พอดี ไม่ลึกเกิน ไม่ตื้นเกิน ความสูงของปากโพรง ต้องเป๊ะหมด แล้วไอ้ต้นไม้ที่ได้ดั่งใจแบบนี้ถ้าสภาพป่าไม่ดีจริงมันจะมีสักกี่ต้นกันเชียว นักชีววิทยาเลยยกตำแหน่งตัวดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าให้ไปเลยทีเดียว แถมด้วยตำแหน่งอื่นๆอีก เช่น เป็นนักปลูกป่าตัวยง คุณเธอพ่วงตำแหน่งนี้ไปเนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีพื้นที่หากินกว้าง (ก็แหงละ ตัวก็ใหญ่ปีกก็ยาวก็ต้องบินไกลเป็นธรรมดา)ตอนเช้าออกมากินผลไม้ตรงนี้เสร็จก็บินต่อไปหากินตรงอื่นอีก กินเสร็จก็ถ่ายบินไปถ่ายมูลไป เมล็ดผลไม้ป่าที่กินจากที่หนึ่งก็ไปงอกในที่อื่นๆได้ช่วยแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์ได้อีก คนที่เขาตามเก็บเมล็ดผลไม้ในขี้นกเงือก(สงสัยว่างจัดไม่มีไรทำ ฮาฮา)เอามาเปรียบเทียบกับเมล็ดที่หล่นลงมาเฉยๆ ไม่ผ่านทางเดินอาหารของนกเงือกพบว่า อัตราการรอดของเมล็ดที่ผ่านทางเดินอาหารของนกเงือกสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โอวคุณเธอเลยได้ตำแหน่งนักปลูกป่าไปครองแบบไม่มีดราม่าเลยเชียว ..ขอพอเรื่องความเลอค่าของหล่อนไว้ก่อน เดี๋ยวเขียนไม่จบแล้ววันนี้จะไม่ได้กลับไปปั่นรายงานต่อ.. แล้วเหล่าผู้มีพระคุณทั้งหลายจะโทรมาจิกตี ทวงงานอีก.... ฮือ ฮือ


เมื่อเริ่มมาที่อยู่ที่ภูเก็ต พอคนแถวนี้รู้ว่าเราสนใจสัตว์ป่าก็จะบอกว่า ไปดุนกเงือกที่เกาะตะเภาน้อยหรือยัง นกเงือกเยอะมากเลยเป็นร้อยๆตัวเลย แต่ไม่มีใครสามารถให้รายละเอียดที่มากกว่านั้นได้ แม้แต่ว่าเป็นนกเงือกชนิดไหน หาในเน็ตก็ไม่เห็นใครโพสต์ไว้ เลยตั้งใจอย่างยิ่งว่าจะต้องไปให้ได้ แม่นางเกาะตะเภาเงิน ตะเภาทองอะไรเนี่ย อ้อ เกาะตะเภาน้อยอยู่ในความดุแลของทหารเรือ อุตส่าห์ลากเพื่อนพ้องน้องพี่ไปเข้าถ้ำเสือ เอ้ย ไปขอพบท่าน ผบ.ทร.ภาคที่๓ ขอเข้าไปดูนกเงือกจักหิ้ด แล้วจะขอเข้าไปศึกษา ท่านใจดีมากเตรียมเรือ เตรียมไรให้พร้อม เลยได้ภาพนกเงือกภาพแรกในชีวิต เค้าคือ คุณผู้ชายนกเงือก (ดูแต้มดำมีเฉพาะโหนกบนหัวไม่ลงมาถึงปาก ถ้าตัวเมียจะมีดำเลอะๆ มอมๆมาถึงปาก ประมาณว่าถ้าเป็นหญิงจะต้องปากมอมอะ) ที่มีชื่อชนิดว่า คุณนกแก๊ก เป็นนกเงือกที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดานกเงือกด้วยกัน สามารถปรับตัวได้มากจึงมีการกระจายกว้างสุด และเป็นนกเงือกเพียงชนิดเดียวที่สามารถอาศัยอยู่ตามเกาะได้ ชื่อวิทยาศาสตร์ของเค้าคือ Anthracoceros albirostris albirostris
เข้าไปหลายครั้งแต่ไม่เจอนกเงือกเป็นร้อยๆ ตัวอย่างคำเล่าลือ ที่เกาะตะเภาน้อยมีประมาณ 4-6 ตัว (ไม่เกิน 2 คอบครัว) ซึ่งเข้ามาอาศัยอยู่เป็นประจำ น่าจะมีโพรงรังแต่ยังหาไม่เจอ ที่เจอคือโพรงรังซึ่งอยู่บนเกาะตะเภาใหญ่



ภาพที่ถ่ายมาเป็นช่วงที่นกออกจากโพรงไปเรียบร้อยแล้ว ดินที่ปิดปากโพรงหลุดออกเกือบหมด และแน่นอนว่าที่พื้นดินหน้าปากโพรงมีต้นอ่อนของไม้ป่าขึ้นอยู่เต็ม ในภาพนี้เป็นดงของกล้าไม้เต่าร้างแดง หนึ่งในอาหารโปรดของนกเงือกเลยทีเดียว



ชายหนุ่มรูปงามที่เป็นพรีเซ็นเตอร์นี่เป็น ชาวบ้านแถวนี้ และเป็นคนนำทางพาเราไปดูรังนกเงือกแบบไม่คิดค่าบริการ แหมเป็นอาจารย์สาวหน้าตาดีก็ดียังเงี้ย (เหอ เหอ)คุณนกคู่นี้เลือกสร้างรังที่ต้นแซะ ในสวนยางชาวบ้านก็เลยมีคนรู้เห็น ที่จริงแล้วพวกมันอาจไม่มีทางเลือกมากนัก ป่าที่อยู่บนเกาะใหญ่ๆอย่างเกาะภูเก็ตถูกทำลายไปมาก (จะเขียนว่าจนหมดก็เกรงใจ) คุณนกทั้งหลายก็เลยอพยพไปอยู่ตามเกาะเล็กเกาะน้อยรายรอบเกาะภูเก็ต แต่เกาะส่วนใหญ่ก็เป็นที่ดินเอกชน (ส่วนใหญ่ไม่ใช่ทั้งหมด) ซึ่งเจ้าของอาจซื้อไว้เฉยๆแต่ยังไม่ได้พัฒนา ตัวอย่างเช่น เกาะตะเภาใหญ่ คุณนกก็พอได้อาศัยไปพลางๆ แต่เมื่อไหร่ที่เจ้าของเกิดอยากสร้างรีสอร์ทขึ้นมา แน่นอนว่า.... เอวัง
นอกจากข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่สร้างรังแล้วสิ่งสำคัญที่ค้นพบ คือ ประชากรนกเงือกกลุ่มนี้มีประมาณ 40 ตัว โดยบินไปบินมาอยู่หลายเกาะ เช่น เกาะตะเภาน้อย เกาะตะเภาใหญ่ เกาะเฮ และเกาะโหลน ซึ่งนกกลุ่มนี้มีการเข้ามากินข้าวที่มีคนเตรียมไว้ให้หลายจุด (ไม่บอกว่าที่ไหนบ้าง ไม่ต้องถาม) ซึ่งอย่างที่ทราบกันดีว่าประชากรที่เข้ามารับอาหารจากมนุษย์เป็นประชากรที่มีความเสี่ยงที่จะติดโรคระบาดจากสังคมของมนุษย์และอาจนำไปสู่การตายเฉียบพลันของทั้งประชากรได้ ดังตัวอย่างภาพในเย็นวันหนึ่ง ณ ที่แห่งหนึ่ง มีนกเข้ามากินข้าวเป็นอาหารมื้อสุดท้ายก่อนเข้านอน



ยังไม่สรุป เพราะเรื่องนี้ยังไม่จบ อย่าเพิ่งประนามคนที่ให้อาหาร หรือคนใดๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ สิ่งสำคัญที่สุดของเรื่องนี้คือ เรายังไม่รู้เลยว่านกประชากรนี้อยู่กันอย่างไร พื้นที่หากินกว้างแค่ไหน แหล่งอาหารพอเพียงหรือไม่ พื้นที่สร้างรังอยู่ที่ไหนบ้าง ไม่รู้ว่า....ฯลฯ เมื่อไม่รู้ก็ยังไม่เห็น ไม่เห็นอนาคตของพวกเขา ไม่เห็นแนวทางว่าเราจะทำอะไรได้บ้าง ทุกอย่างยังพร่ามัว...



... ยังไม่รู้ว่าเป็นความพร่ามัวก่อนจะมืดดับไป หรือ เป็นความพร่ามัวก่อนความสว่างไสวจะมาเยือน...

ขอบคุณเหล่านายแบบจากกลุ่มเยาวชนรักษ์นกเกาะตะเภาน้อย
และขอบคุณการสนับสนุนจาก โครงการ Mazz Charity ปี 3 ตอน ปันรักให้นก




 

Create Date : 26 พฤษภาคม 2558   
Last Update : 26 พฤษภาคม 2558 12:07:09 น.   
Counter : 1581 Pageviews.  


ปลาบนเขาคอหงส์

จากการสำรวจพันธุ์ปลาในลำธาร ภายในพื้นที่ปกปักเขาคอหงส์พบพันธุ์ปลาดั้งเดิม 3 ชนิด คือ

ปลาก้าง เป็นปลาผู้ล่า กินปลา ลูกอ้อดและสัตว์น้ำอื่นๆเป็นอาหาร



ปลาซิวใบไผ่เป็นปลาชนิดเด่น มีจำนวนตัวมากที่สุด กินแพลงตอนเป็นอาหาร



และปลาตะเพียนน้ำตก มีเหลือเพียงประชากรเดียว (แอ่งน้ำเดียวเท่านั้น) หากมีการทำลายป่าเขาคอหงส์จนทำให้ไม่มีโพรงน้ำใต้ดินเหลือในฤดูแล้งคาดว่า ปลาชนิดนี้อาจสูญพันธุ์ไปจากเขาคอหงส์ได้





 

Create Date : 06 พฤษภาคม 2549   
Last Update : 6 พฤษภาคม 2549 10:34:06 น.   
Counter : 1601 Pageviews.  


สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกบนเขาคอหงส์

มาดูความน่ารักของสัตว์ที่หลายคน อ่า..... ขยะแขยงเหรอ... เราว่ามันน่ารักนา ดูดีๆสิ ทั้งหมดนี้มีอยู่ในป่าเขาคอหงส์ พื้นที่อนุรักษ์ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ตัวแรกนี้ปาดบ้าน ลีลาเย้ายวนใจสุดๆ



ตัวต่อมากบป่าไผ่



ต่อมาก็กบเขาหลังตอง ตอนเห็นครั้งแรกคล้ายๆกับปาดแต่ดูจากรูปถ่ายนี่เห็นรูปร่างต่างกันชัดเจน







ตามมาด้วยคางคกแคระ



เขียดน้ำนอง ตัวเป็นเมือกลื่นเลยสะท้อนแสงแฟลชซะจนไม่เห็นตัว คราวหน้าจะลองเทคนิคใหม่ น่าจะได้รูปดีขึ้น




เอาตัวสุดท้ายในบรรยากาศแสนโรแมนติก อึ่งข้างดำ เขาจู๋จี๋กัน แบบว่าภาพแอบถ่ายนะ




ยังมีอีกเพียบ จะค่อยๆโหลดมาให้ดูกันนะ สำหรับคุณสะเทินน้ำสะเทินบกนี้ต้องขอขอบคุณน้องทรายที่ช่วยแนะนำชื่อให้ตอนเจอหน้าครั้งแรกกับคุณๆ ทั้งหลาย อ่ะ เจอหน้าครั้งต่อไปจำไม่ผิดแน่




 

Create Date : 06 พฤษภาคม 2549   
Last Update : 6 พฤษภาคม 2549 9:15:52 น.   
Counter : 2667 Pageviews.  


กระรอกบินแก้มสีแดงแห่งเขาคอหงส์

เมื่อคืนวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๙ ไปตั้งตาข่ายดักนกที่สนามเทนนิส ตั้งใจว่าน่าจะได้นกตบยุงแต่ที่ไหนได้ กระรอกบินกระโดดมาเกาะเฉยเลย งานนี้คุ้มจริงๆ



กระรอกบินเป็นสัตว์ฟันแทะ คือเป็นกลุ่มกระรอกที่มีพังผืดระหว่างขาหน้ากับขาหลังช่วยในการร่อนระหว่าต้นไม้ ไม่ใช่บินแบบนกหรือค้างคาวแต่เป็นการร่อน ชาวบ้านจะเรียกกระรอกบินว่าบ่าง ซึ่งเรียกซ้ำกับบ่างหรือพุจงซึ่งร่อนได้เหมือนกันแต่บ่างไม่ใช่สัตว์ฟันแทะ รูปนี้ให้เห็นฟันแทะกันชัดๆ นะ ฟันจะคมมากเหมือนสิ่วเลย กัดได้เลือดเชียวล่ะ กระรอกบินหากินกลางคืน จึงจำเป็นต้องมีตาโตมากๆ ดังภาพ แลวสังเกตุนิ้วให้ดี นิ้วหัวแม่มือลดรูปไป เป็นธรรมชาติของเขานะ รูปมาแล้วจ้า



ดูกันชัดๆ ตาโตจริงๆ




 

Create Date : 06 พฤษภาคม 2549   
Last Update : 6 พฤษภาคม 2549 21:05:45 น.   
Counter : 4094 Pageviews.  


1  2  

ป้าหนิด
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add ป้าหนิด's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com