รำไทย : นาฏศิลป์ไทย ใช่จะไร้ในคุณค่า โดย ธรรมจักร พรหมพ้วย
Group Blog
 
All Blogs
 
วัฒนธรรมเชิงนามธรรม

ธรรมจักร พรหมพ้วย

เมื่อกล่าวถึง “วัฒนธรรม” แล้ว หลายคนคงเกิดมโนภาพขึ้นในใจถึงภาพชีวิตของคนนุ่งโจงกระเบน เคี้ยวหมาก หรือการแสดงนาฏศิลป์ไทย ดนตรีไทยที่มีคนมาเล่นมาร้องรำกัน ภาพเหล่านี้โดยมากใช้เป็นสัญญะแทนความเป็นไทยได้อย่างชัดเจนและตรงความหมาย การพยายามสื่อสารภาพลักษณ์แห่งความเป็นไทยสามารถใช้ภาพเหล่านี้ได้อย่างไม่ยากนัก หากแต่นอกเหนือไปจากวัฒนธรรมทางวัตถุ (Material Culture) เหล่านี้ ยังมีสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมโดยตรงแต่ไม่สามารถแสดงออกเป็นภาพลักษณ์ได้อย่างชัดเจนนัก นั่นคือ วัฒนธรรมเชิงนามธรรม อันได้แก่ ความรู้สึกนึกคิด ขนบประเพณี ภูมิปัญญา หรือการปฏิบัติตัวในสังคมที่รวมเรียกว่า วิถีชีวิต ซึ่งแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมในลักษณะนี้มีการพยายามหาวิธีการอันเหมาะสมแก่ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเหมาะสม
ความพยายามในการพัฒนางานวัฒนธรรมในลักษณะส่งเสริมวิถีชีวิตเหล่านี้ กระทำกันทั้งในหน่วยงานระดับกระทรวงและกรม มีการรณรงค์ในลักษณะนิสัยอันพึงประสงค์ของคนไทย เช่น เรื่องน้ำใจไมตรี เรื่องมารยาทไทย เรื่องความกตัญญูต่อผู้อาวุโส เป็นต้น ซึ่งทำให้ดูเหมือนว่าสังคมไทยในปัจจุบันนี้ดูถดถอยกับสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่คุ้นเคยมาแต่อดีต เหตุใด วิถีชีวิตของชุมชนเมืองสามารถเปลี่ยนแปลงให้คนไทยละทิ้งสภาพความคิดความเป็นอยู่แบบสมถะ พอเพียง และพึ่งพาอาศัยกันได้ และเราจะมีวิธีการรื้อฟื้นหรือส่งเสริมความคิดไทยในลักษณะนี้ให้กลับคืนมาดังเดิมได้หรือไม่ อย่างไร เพราะสิ่งที่กำลังจะพัฒนานี้เป็นสิ่งที่เราเห็นว่า “ไม่มีตัวตน” และไม่เห็นผลเป็นรูปธรรมเหมือนอย่างการส่งเสริมวัฒนธรรมทางวัตถุ เช่น ศิลปกรรมไทยแขนงต่างๆ จึงทำให้เกณฑ์การวัดผลและประเมินผลการส่งเสริมงานวัฒนธรรมเชิงนามธรรมนี้ ไม่อาจชี้วัดได้ด้วยดัชนีใดๆ
...แล้วเราจะมีวิธีการใดๆ ที่จะส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงนามธรรมนี้ให้เห็นภาพรวมชัดเจน ?
การดำเนินการส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงนามธรรมในระดับนโยบายของชาติที่เร่งกระทำโดยใช้สื่อมวลชนเป็นแกนกลางในการขยายผล เช่น การรณรงค์ผ่านสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์และวิทยุ
มีให้เห็นอย่างประปรายติดสายตาบ้าง หรือดูเป็นโฆษณาน้ำเน่าบ้าง ผลอันจะติดตามมาจากการสร้างภาพเหล่านี้ ไม่อาจพอเพียงที่จะเป็นพลังผลักดันให้ประชาชนเปลี่ยนวิถีชีวิตได้มากนัก ซ้ำยังสวนทางกับกระแสสังคมที่ก้าวเข้าสู่โลกทุนนิยมเสรีอย่างเต็มตัว กระแสไทยแท้จึงยากที่จะต้านทานกระแสแห่งโลกตะวันตกที่ถาโถมมาอย่างไม่ขาดสายได้
ในกรณีเช่นนี้ แนวทางหนึ่งที่จะสามารถนำเอาวัฒนธรรมเชิงนามธรรมให้ผูกพันและกลมกลืนกับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ของประชาชนได้ ก็คือการให้การศึกษาและปลูกฝังแนวคิดไทยให้เป็นนิสัยติดตัว โดยมีสถาบันการศึกษาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความคิดเหล่านี้ ดังในหลายมหาวิทยาลัยที่มีการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตที่จบจากสถาบันเหล่านั้นมีคุณภาพทั้งทางด้านการศึกษา และมีจริยธรรมควบคู่ไปด้วย เช่น การเกิดโครงการบัณฑิตอุดมคติ หรือดังที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ส่งเสริมในเรื่องของ “ความรู้คุณธรรม” ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ความคิดแยกแยะถูกผิดดีชั่วได้ การที่ให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้มีโอกาสเรียนวิชา RU100 ความรู้คู่คุณธรรม อย่างน้อยก็เป็นการที่จะทำให้เขาเหล่านั้นได้รู้จักว่า การที่จะออกไปรับใช้สังคมได้นั้น ไม่เพียงแต่จะต้องมีปริญญาติดตัวเท่านั้น ยังจะต้องสามารถนำความคิดด้านจริยธรรมไปใช้สอดคล้องกับองค์ความรู้ด้วยเสมอ ซึ่งสิ่งที่สอนกันในระดับนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ของสังคมไทย หากแต่เป็นแนวคิดไทยๆ ที่เคยใช้อยู่เสมอโดยที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธธรรมและขนบประเพณีไทยดั้งเดิมนั่นเอง การที่นำคุณธรรมมาเพิ่มเติมให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยเช่นนี้ย่อมเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงนามธรรมโดยตรง
ผลแห่งการส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงนามธรรม เราคงไม่อาจประเมินเชิงปริมาณได้ ว่าบัณฑิตของเราจบไปแล้วเป็น “คนดีของสังคม” สักกี่เปอร์เซ็นต์ หากแต่สิ่งดีๆ ที่จะได้นั้น เกิดขึ้นอยู่กับตัวบัณฑิตเอง เป็นผลทางใจที่ติดตัวและสามารถใช้ได้ตลอดชีวิตเหมือนเป็นดั่งอาวุธคู่ปัญญา ที่ไม่ต้องมีไม้บรรทัดใดมาใช้วัดหรือประเมิน การสร้างคนด้วยการศึกษาจึงเป็นสิ่งยิ่งใหญ่เหนืออื่นใด เพราะเราได้ให้คุณธรรมอันวิเศษแก่ผู้ที่เข้าศึกษาอย่างถ้วนหน้าและเสมอภาคกัน ต้นแบบแห่งการให้ความรู้คู่คุณธรรมนี้สามารถนำไปปรับใช้ในเชิงนโยบายส่งเสริมงานวัฒนธรรมเชิงนามธรรมอื่นๆ อีกได้ เช่น การขยายผลสู่เยาวชนในระดับอื่นๆ ตั้งแต่ปฐมวัยขึ้นมา ทำให้เขาเหล่านั้นเป็นคนดีโดยนิสัย และคุ้นเคยกับขนบธรรมเนียมอันดีของไทยแบบซึมเข้าสายเลือด หรืออาจใช้ขยายผลต่อในเชิงนโยบายของชาติอย่างจริงจัง เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมของชาติไทยให้ยั่งยืนสืบไป
***************************




Create Date : 24 พฤษภาคม 2550
Last Update : 24 พฤษภาคม 2550 3:12:27 น. 4 comments
Counter : 1556 Pageviews.

 
วัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับนาฏศิลป์ไทยอย่างไร


โดย: ณรานนท์ IP: 125.24.150.254 วันที่: 4 ตุลาคม 2550 เวลา:13:50:36 น.  

 
ดนตรีไทยมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบันหรือไม่อย่างไร


โดย: ดนตรีไทย IP: 58.147.44.107 วันที่: 19 มกราคม 2551 เวลา:14:34:42 น.  

 
อยากรู้เรื่องกำเนิดนาฏศิลป์ไทยค่ะ หาไม่เจอ ช่วยหน่อยนะคะ


โดย: น้ำ IP: 203.118.105.146 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:16:45:06 น.  

 
เรียนคุณ ณรานนท์ IP: 125.24.150.254 คะ

ไม่ทราบว่าชื่อของคุณมีความหมายว่าอย่างไร เผิญตอนนี้ตั้งท้องอยู่เป็นลูกชาย และตั้งใจว่าจะใช้ชื่อนี้ แต่ยังหาความหมายไม่ได้เลยคะ รบกวนนิดนึงนะคะ สามารถติดต่อกลับได้ที่ 081-6821239 หรือที่อีเมล์ pokmam@yahoo.com ขอขอบคุณล่วงหน้านะคะ


โดย: แหม่ม IP: 58.97.59.18 วันที่: 1 สิงหาคม 2551 เวลา:10:45:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จินตะหราวาตี
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




สำนักละครอนุรักษ์นัจยากร
Friends' blogs
[Add จินตะหราวาตี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.