รำไทย : นาฏศิลป์ไทย ใช่จะไร้ในคุณค่า โดย ธรรมจักร พรหมพ้วย
Group Blog
 
All Blogs
 
สื่อชะชำระใจ

ธรรมจักร พรหมพ้วย

ca•thar•sis \k€-"thär-s€s\ noun pl ca•thar•ses \-'sÈz\ [NL, fr. Gk katharsis, fr. kathairein to cleanse, purge, fr. katharos] (ca. 1775)
1 : PURGATION
2 a : purification or purgation of the emotions (as pity and fear) primarily through art
b : a purification or purgation that brings about spiritual renewal or release from tension
3 : elimination of a complex by bringing it to consciousness and affording it expression
©1997, 1996 Zane Publishing, Inc. All rights reserved.

Catharsis มาจากภาษากรีก ซึ่งสามารถแปลได้ว่า "เป็นการทำให้บริสุทธิ์" หรือหมายถึงการที่คนดูนั้นได้ชำระล้างจิตใจจากชมละคร จากแนวคิดเรื่องประโยชน์ของละครสุขนาฏกรรมที่หลังจากที่ผู้ชมเมื่อได้ชมการแสดงจบแล้วจะได้รับความรู้สึกเหมือนได้ชำระล้างจิตใจ (Catharsis) และให้ความรู้สึกอันสูงส่งหรือความรู้สึกผ่องแผ้วในจิตใจ (Exaltation) มีผลทำให้เกิดความสงสารหรือความกลัว (Fear) อันจะนำผู้ชมไปสู่ความเข้าใจชีวิต
เฉกเช่นเดียวกับศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อสนองความต้องการทางใจ เป็นเรื่องของการแสดงออกที่เป็นความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจ อารมณ์ที่ปรากฏให้เห็นในรูปผลงานหลากรูปแบบไม่ว่าจะเป็นดนตรี วรรณกรรม ทัศนศิลป์ นฤมิตศิลป์ นาฏยศิลป์ ศิลปะการละคร หรือภาพยนตร์ เป็นต้น ล้วนแต่เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวันที่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะด้วยสื่อเหล่านี้ได้ ผู้ที่มีความนิยมชมชอบทางศิลปะถือได้ว่ามีความสำนึกในคุณค่าทางความงาม ผู้ที่มองคุณค่าของความงามออก ก็จะสามารถมองเห็นในคุณค่าของสิ่งอื่นๆ ด้วย
การจัดการสาธิตประกอบคำบรรยายเรื่อง “สื่อชะชำระใจ” นี้จึงจัดขึ้นเพื่อให้เข้าใจประโยชน์ของการเลือกเสพสื่อเพื่อการผ่อนคลายความตึงเครียดในชีวิตประจำวัน และสามารถอยู่บนโลกใบเล็กที่รายล้อมด้วยสื่อศิลปะเหล่านี้อย่างมีความสุข
ความหลากหลายของสื่อที่รายล้อมในชีวิตประจำวัน ทำให้การเลือกเสพสื่อต้องใช้วิจารณญาณมากไปกว่าการใช้ความพึงพอใจและรสนิยมที่เป็นปัจจัยหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อบันเทิงที่ต่างแข่งขันกันผลิตกันออกมาเป็นปริมาณที่มาก ผู้คนส่วนหนึ่งเลือกทางออกจากความตึงเครียดจากการทำงานโดยใช้สื่อเพื่อหลีกหนี (Escape) ความสับสนและวุ่นวายของชีวิตประจำวันที่จะหาเวลาและวันว่างสำหรับชีวิตได้น้อยลงทุกที
ความรู้สึกอย่างยิ่งที่ได้รับจากการผ่อนคลายด้วยสื่ออันดันแรกๆ ก็คือความสบายใจ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ ฟังดนตรีหรือชมภาพยนตร์ดีสักเรื่องๆ หนังสือและภาพยนตร์บางเรื่องแม้จะเศร้ารันทดสะเทือนใจจนผู้อ่านผู้ดูต้องหลั่งน้ำตา แต่สิ่งที่ได้คือความเข้าใจชีวิตและสัจธรรมบางอย่าง มากบ้างน้อยบ้างตามกำลังปัญญาของผู้เสพสื่อนั้น
อริสโตเติล (Aristotle) ปราชญ์และนักการละครชาวกรีกได้บรรยายถึงคุณค่าของละครประเภทโศกนาฏกรรม (Tragedy) ไว้ในหนังสือโพเอทธิกส์ (Poetics) ว่าละครโศกนาฏกรรมนั้นนำมาซึ่งความรู้สึกสงสาร (Pity) และความกลัว (Fear) ความรู้สึกเช่นนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะนำผู้ชมไปสู่ “ความบริสุทธิ์ทางจิตใจ” หรือ “การชำระล้างจิตใจจนบริสุทธ์” (Catharsis) เพราะเมื่อผู้ชมได้ชมละครที่แสดงภาพชีวิตอย่างสมเหตุสมผลนั้น จะทำให้เกิดอารมณ์ร่วมและคล้อยตาม ผู้ชมจะสงสาร เข้าใจและเห็นใจในความทรมานของตัวละครในเรื่อง บางครั้งก็นำตนเองไปเปรียบเทียบกับตัวละคร (Identification) ทำให้กลัวว่าเหตุการณ์เช่นนั้นจะเกิดแก่ตนเองบ้าง เมื่อเกิดความรู้สึกสงสารและกลัวเช่นนี้ ก็ย่อมที่จะใช้ปัญญามองหาสาเหตุแห่งการเกิดปัญหานั้น และเมื่อค้นพบทางออกและเข้าใจแล้วก็เปรียบได้กับการได้เห็นแสงสว่าง (Enlightment) นำไปสู่การรู้ดีรู้ชั่วรู้สาเหตุแห่งทุกข์ ทำให้สามารถตัดสินใจเลือกทางเดินของชีวิตได้ถูกต้อง นำมาสู่ความบริสุทธิ์ทางจิตใจ
จากแนวคิดนี้จะเห็นได้ว่าการชมละครซึ่งเป็นสื่อประเภทหนึ่งนั้น แม้ว่าจะเป็นโศกนาฏกรรมที่นำมาซึ่งความเศร้าสลดก็ดี ล้วนแต่มีคุณค่าในการยกระดับจิตใจ ซึ่งบางท่านก็อ้างว่าเป็นการปลงตกกับชีวิตเพราะมนุษย์ทุกผู้ทุกนามต่างก็มีความเดือดเนื้อร้อนใจเศร้าหมองอยู่ภายใน การได้สลัดอารมณ์ขุ่นมัวและระบายความเดือดร้อนออกมาภายนอกนั้นเท่ากับเป็นการชำระล้างจิตใจอีกทางหนึ่งเช่นกัน ด้วยเหตุนี้การแพทย์ในปัจจุบันที่เริ่มเห็นความสำคัญกับการเยียวยารักษาสภาพจิตใจและเน้นมิติทางด้านจิตวิญญาณมากขึ้นนั้น ได้มีการนำเอางานศิลปะซึ่งเป็นสื่อแขนงหนึ่งมาใช้บำบัดรักษาจิตใจของผู้ป่วยหรือเด็ก แต่นอกเหนือการคุณสมบัติทางการบำบัดรักษาแล้ว การเสริมสร้างสุขภาพด้วยสื่อประเภทศิลปะก็เป็นอีกหาทางหนึ่งที่จะทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่และสุขภาวะทางกายใจดียิ่งขึ้น
ดังตัวอย่างการบำบัดรักษาด้วยเสียงเพลง หรือที่เรียกกันว่า ดนตรีบำบัดนั้นส่งผลโดยตรงต่อมนุษย์แม้ว่าจะมิได้ตกอยู่ในอาการป่วยไข้ก็ตาม ประเภทของดนตรีมีหลากหลายอารมณ์ ที่มีผลต่อการจรรโลงสุขภาพจิต ได้แก่ ดนตรีประเภทที่ให้ความสงบสุข (Soothing music) เช่น ดนตรีของ Kitaro, Enya หรืออาจจะเป็นประเภทเพลงทางศาสนา เพลงบรรเลงประเภท light Music หรือ Gtreen Music นั้น ทำให้เกิดความสดชื่น สบาย หรือถ้าอยากปลุกความสามัคคีก็ต้องเลือกฟังเพลงประสานเสียง เมื่อเสียงดนตรีมีความสำคัญเช่นนี้จึงทำให้มีผลสัมพันธ์กับอารมณ์ ระบบประสาท และภูมิคุ้มกันโรค คนฟังดนตรีจะเกิดอารมณ์สุขสดชื่น ทำให้เพิ่มระดับฮอร์โมน Endrophin อันเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและมีส่วนควบคุมการตอบรับของร่างกายที่มีต่อความเครียด อารมณ์และการหดตัวของผนังลำไส้
เสียงดนตรีกับมนุษย์มีความสัมพันธ์กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวเพราะมนุษย์ผูกพันกันมาตั้งแต่อยู่ในท้องมารกา จวบจนกระทั่งถึงสาระสุดท้ายของชีวิตเลยทีเดียว เสียงแรกที่มนุษย์คุ้นเคยก็คือ “จังหวะ” ต้นกำเนิดของดนตรีดังจังหวะชีพจรหรือเสียงลมหายใจของแม่ตั้งแต่เมื่อเราอยู่ในครรภ์ ทุกอย่างของชีวิตและธรรมชาติล้วนมีจังหวะ ไม่ว่าจะเป็นน้ำขึ้นน้ำลง พระอาทิตย์ขึ้นและตก จังหวะเหล่านี้ส่งผลต่อจิตใจและสมองของคนเราเป็นอย่างมาก ทั้งทำให้เกิดความสงบ มีความมุ่งมั่น ฮึกเหิม รู้สึกอบอุ่น คลายเหงา บันดาลความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นดนตรีจึงถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ ที่เรียกกันว่า “ดนตรีบำบัด” (Music Therapy) มีการค้นคว้าความสัมพันธ์ของดนตรีกับมนุษย์อย่างจริงจัง พบว่าดนตรีช่วยบรรเทาอาการของโรค และการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะ รวมถึงอาการเจ็บปวดจากบางโรคและบำบัดความผิดปกติทางจิต
ไม่เพียงแต่เสียงดนตรีเท่านั้นที่สามารถบรรเทาและชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ ได้ วรรณกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือประเภทใดก็ตาม นวนิยาย บทกวี หรือแม้แต่เรื่องสั้นบางเรื่องสามารถทำให้เกิดความเคลิบเคลิ้มคล้อยตามไปกับเรื่องราวของหนังสือ ความสุขที่ได้รับจากการอ่านหนังสือไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวอารมณ์แตกต่างกันก็ให้คุณค่าทางการชำระใจเฉกเช่นเดียวกับตัวอย่างละครโศกนาฏกรรมที่ได้ยกตัวอย่างมาแล้ว ในการสาธิตครั้งนี้ได้นำตัวของเรื่องสั้น 2 เรื่อง เป็นตัวอย่างให้ผู้รับสารได้ปล่อยวางจากอารมณ์แล้วจดจ่อกับเรื่องราวที่โลดแล่นผ่านทางตัวอักษรสักครู่ ก็จะเห็นได้ว่าเราได้หยุดและอยู่ในสมาธิ ยิ่งที่เรื่องเราได้อ่านนั้นเป็นเรื่องราวที่ดีต่อจิตใจ ไม่สร้างความหดหู่รำคาญใจ ก็จะช่วยจิตใจผ่องใสบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น แม้กระทั่งบทกวีที่มีลีลาของถ้อยคำที่เรียบเรียงไว้อย่างเป็นจังหวะจะโคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราว เช่น วรรณคดี ไปจนถึงกลอนเปล่า ก็อาจถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกดีๆ ผ่านทางฉันทลักษณ์อันสวยงามเหล่านั้นได้
การใช้กลิ่นเข้ามาเสริมสำหรับการเสพสื่อชำระล้างจิตใจนั้น บางครั้งการจัดสภาพแวดล้อม เช่น ที่บ้าน หรือที่ทำงาน ให้ปลอดโปร่งและสบาย ก็มีส่วนเสริมให้เมื่อเราอ่านหนังสือ ฟังเพลงหรือชมภาพยนตร์ที่บ้านอย่างมีความสุข การเลือกใช้สุคนธบำบัด (Aromatherapy) หรือกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยต่างๆ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เสริมให้จิตใจปลอดโปร่งโล่งสบาย
ไม่เพียงแต่การรับสื่อด้วยการอ่านและฟังเท่านั้น การเสพสื่อด้วยสายตา เช่น สื่อโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ศิลปะการละคร การเต้นรำ ฯลฯ ก็มีคุณลักษณะในการที่จะชำระจิตใจได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะภาพยนตร์นั้น เป็นสื่อที่ได้รับความนิยมสูงและมีพัฒนาการและความหลากหลายมากมายให้เลือกเสพ เราอาจมีรสนิยมให้การชมภาพยนตร์แตกต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่จะได้เมื่อเดินออกมาจากห้องมืดนั้น ความสุขใจและคล้อยตามไปกับภาพยนตร์ ฉากในภาพยนตร์บางเรื่องติดตาและติดตรึงในความรู้สึก ทำให้เมื่อกลับมาดูครั้งใดก็อดที่จะซาบซึ้งและประทับใจมิได้ ความรู้สึกเช่นนี้เองที่ทำให้สื่อภาพยนตร์เป็นสื่อกระแสหลักที่คนในสังคมสามารถเลือกเสพได้โดยสะดวกที่สุด เพราะมีสถานที่และประเภทของเรื่องราวให้เลือกชมได้มากยิ่งขึ้น จากความประทับใจที่เกิดขึ้นจากการชมภาพยนตร์นี้ จึงได้นำเอาตัวอย่างภาพยนตร์หลายรสเพื่อให้หวนระลึกถึงความรู้สึกที่ได้เคยชมภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ มา เช่น หากกล่าวถึงความโหดร้ายของการเผชิญกับชะตากรรมของมนุษย์ตามแนวทางแห่งโศกนาฏกรรมแล้ว ภาพยนตร์เรื่อง “ไอ้ฟัก” ที่มาจากวรรณกรรมชั้นยอด “คำพิพากษา” ก็ทำให้เห็นภาพของการต่อสู้ระหว่างความเป็นจริงในจิตใจที่ขัดต้านกับสังคมภายนอก หรือเมื่อนึกถึงเรื่องราวความรักความผูกพัน ภาพยนตร์อย่าง “Love actually” หรือ “Nothing Hill” ต่างก็เคยทำให้รู้สึกอิ่มเอมกับความรักได้ หรือตัวอย่างภาพยนตร์ขำขันแบบสุขนาฏกรรม (Comedy) อย่าง “Patch Adam” ก็ทำให้อมยิ้มและหัวเราะกับความขบขันของตัวละครและเรื่องราวได้
นอกเหนือจากสื่อตัวอย่างเหล่านี้ยังมีสื่อที่สามารถชำระล้างจิตใจประเภทอื่นๆ ที่สามารถเลือกในชีวิตประจำวันได้ การชมละครโทรทัศน์ หรือได้มีโอกาสดูละครเวทีที่เป็นการแสดงสดสักเรื่อง การเที่ยวชมภาพวาดตามพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะหรือการได้มีโอกาสวาดภาพด้วยตนเอง การดูมหรสพทั้งไทยและสากล เช่น นาฏยศิลป์ร่วมสมัยที่สื่อเนื้อหาและแนวคิดใหม่ผ่านการเคลื่อนไหวของร่างกายและอารมณ์ เป็นต้น
การนำเอาตัวอย่างเหล่านี้มาสาธิตต่อเนื่องกัน แม้จะเป็นเพียงตัวอย่างขนาดสั้นที่ไม่อาจถ่ายทอดความรู้สึกอย่างต่อเนื่องได้ เพราะการรับรู้ ประสบการณ์ทางสุนทรียะและรสนิยมของแต่ละบุคคลย่อมมีความแตกต่างกันออกไป การบรรยายนี้หากนำไปพัฒนาและปรับปรุงความต่อเนื่องให้สอดคล้องและง่ายต่อการทำความเข้าใจแล้ว การได้มีโอกาสบรรยายสาธิตตามองค์กรทางด้านสื่อและองค์กรทางสุขภาพจิต หรือแม้แต่ให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้และเข้าใจก็จะเป็นผลดีไม่มากก็น้อยที่จะเสริมสร้างให้สุขภาวะทางจิตวิญญาณของบุคคลดีขึ้น สามารถบรรเทาการเกิดอาการเจ็บป่วยทางภายภาพได้อีกทางหนึ่งด้วย



Create Date : 24 พฤษภาคม 2550
Last Update : 24 พฤษภาคม 2550 3:33:20 น. 2 comments
Counter : 1926 Pageviews.

 


โดย: - - IP: 203.209.124.19 วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:17:47:15 น.  

 
whenever you felt that your heart is going to breakdown
feel it with the love of God ask for his and then you will
find out what is the truth love in Your life as he does for me!

GOD always forgive your mistake
the one that you cant even forget,
he always does it and always being with us
to help and blesss us for us whose heart is full of him


โดย: da IP: 124.120.15.123 วันที่: 19 เมษายน 2553 เวลา:2:02:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จินตะหราวาตี
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




สำนักละครอนุรักษ์นัจยากร
Friends' blogs
[Add จินตะหราวาตี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.