รำไทย : นาฏศิลป์ไทย ใช่จะไร้ในคุณค่า โดย ธรรมจักร พรหมพ้วย
Group Blog
 
All Blogs
 
คัมภีร์ละครภารตะที่สำคัญ


นาฏวิทยาเป็นวิชาที่ได้รับการยกย่องมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ประจักษ์พยานเห็นได้จากที่มีผู้แต่งตำราละครไว้แทบทุกสมัยและได้ตกทอดมาจนปัจจุบันนี้ โดยไม่รวมจำนวนที่เชื่อกันว่าสูญหายไปกว่าครึ่งหนึ่ง
1. คัมภีร์เล่มแรกที่ตกทอดมาเหลือแต่เพียงชื่อ คัมภีร์นาฏสูตร ของศีลานิน และกฤศาศวิน เชื่อว่าได้รจนาขึ้นเมื่อ 500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ในคัมภีร์ไวยากรณ์ของปาณินิซึ่งแต่งในราว 350 ปี ก่อน คริสต์ศักราช ได้กล่าวพาดพิงคัมภีร์นี้ แต่รายละเอียดของเนื้อเรื่องสูญหายไปหมด เข้าใจกันว่าคัมภีร์นาฏสูตรนี้น่าจะเป็นต้นเค้าของคัมภีร์นาฏยศาสตร์
2. คัมภีร์อีกเล่มหนึ่งที่ไม่เพียงแต่จะมีอิทธิพลต่อนาฏศิลป์ภารตะเท่านั้น ยังมีอิทธิพลต่อนาฏศิลป์ไทยอีกด้วย สันนิษฐานว่าแต่งระหว่างศตวรรษที่ 2-5 ที่มาของคัมภีร์นาฏยศาสตร์ ได้กล่าวไว้ในตอนต้นของตำนานฟ้อนรำที่ถือว่าพระพรหมเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทแล้ว นาฏยศาสตร์นับได้ว่าเป็นคัมภีร์ละครที่สมบูรณ์ที่สุดเพราะได้กล่าวตั้งแต่กำเนิดละคร วิธีการฟ้อนรำ การจัดการแสดง และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการแสดง เป็นต้น นาฏยศาสตร์แบ่งเนื้อเรื่องออกเป็น 37 อัธยายะ (บท) มีผู้แปลออกเป็นภาษาอังกฤษแล้ว 27 อัธยายะ ในประเทศไทยก็มีผู้แปลคัมภีร์นี้เช่นกัน กล่าวคือ ในปี 2466 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดให้พราหมณ์กุปปุสสวามิ อารยะ แปลบางส่วนของอัธยายะที่ 4 ว่าด้วยท่ารำต่างๆ เพื่อนำลงในตำราฟ้อนรำของพระองค์ ในปี 2511 ศาสตราจารย์แสง มนวิทูร ได้แปลคัมภีร์นาฏยศาสตร์ ตั้งแต่อัธยายะที่ 1 ถึงที่ 7 และให้ชื่อหนังสือว่า นาฏยศาสตร์ ตามชื่อเดิมของคัมภีร์ ถึงแม้นาฏยศาสตร์ของศาสตราจารย์แสง มนวิทูร จะมีจำนวนเพียง 7 อัธยายะ แต่ได้รวบรวมสาระสำคัญไว้อย่างละเอียดพอสมควร
3. คัมภีร์อภินนาทรรปาณะ เข้าใจว่าเป็นคัมภีร์ที่แต่งในสมัยเดียวกันกับคัมภีร์นาฏยศาสตร์ พระนนทิเกศวร เป็นผู้รวบรวมโดนำเนื้อเรื่องส่วนใหญ่มาจากคัมภีร์ภารตวรรณะซึ่งสูญหายไป ที่มาของคัมภีร์อภินยาทรรปณะ เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าเช่นเดียวกันกับคัมภีร์นาฏยศาสตร์ กล่าวคือในครั้งหนึ่ง พระอิศวรเสด็จไปขอเรียนนาฏวิทยากับพระนนทิซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ วิธีการสอนของพระนนทิ คือ ร่ายโศลกออกมาเป็นจำนวนถึงสี่พันโศลก พระอินทร์ไม่สามารถจะรับไว้ได้ จึงขอร้องให้พระนนทิกล่าวแต่เพียงย่อๆ พระนนทิจึงตัดทอนจำนวนโศลกและรวบรวมเป็มคัมภีร์เล่มหนึ่งให้ชื่อว่า อภินยาทรรปณะ เนื้อเรื่องในคัมภีร์คัมภีร์อภินยาทรรปณะ กล่าวถึงลักษณะของการฟ้อนรำซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหวของศีรษะ ดวงตา คอ เอว เท้า และมือ เป็นต้น ลักษณะการเคลื่อนไหวเหล่านี้ส่วนมากก็คล้ายคลึงกับที่กำหนดไว้ในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ แต่มีบางตอนที่แตกต่างกับในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ มีผู้แปลคัมภีร์อภินยาทรรปณะ ออกเป็นภาษาอังกฤษแล้ว เช่น Dr.Annanda K. Coomaraswamy และ Guddiralla โดยให้ชื่อเรื่องว่า The Mirror of Gestures
4. คัมภีร์ทศรูปะ ของธนัญชัย แต่งในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ซึ่งนระยะนั้นเป็นยุคทองของละครภารตะ ธนัญชัยได้จำแนกละครชั้นสูงออกเป็น 10 ประเภท หรือรูปกะ โยจำแนกตามเนื้อเรื่อง ประเภทของตัวละครที่เป็นพระเอก และรส ซึ่งมีวิธีการแบ่งที่ค่อนข้างละเอียด คัมภีร์ทศรูปะนี้อาจนับได้ว่าเป็นคัมภีร์ละครที่สำคัญที่สุด ถ้าไม่นับคัมภีร์นาฏยศาสตร์ซึ่งใช้ภาษาเก่ายากที่จะเข้าใจได้
5. คัมภีร์สาหิตยทรรปณะ ผู้แต่งคือ วิศวนาถ กวีราช ซึ่งมีชีวิตอยู่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 นอกจากจะเป้นคัมภีร์ทางละครที่สำคัญแล้ว ยังเป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยการประพันธ์กาพย์ กลอน มีเนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น 10 ตอน วิศวนาถ กวีราช ได้เพิ่มเติมเรื่องเกี่ยวกับ อลังการศาสตร์ มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อเดิม โดย Ballantyne & Mitra
6. คัมภีร์สังคีตรัตนากร ของศารังคีเทวะ กล่าวถึงศิลปะการขับร้องและฟ้อนรำ
7. คัมภีร์กาวยประกาศะ ของ มันมฏะภัฏฏะ กล่าวถึงศิลปะในการประพันธ์


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับนาฏศิลป์ภารตะ
องค์ประกอบที่สำคัญของการแสดงนาฏศิลป์ภารตะดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าได้มาจากสาสระสำคัญๆ ของพระเวท ดังนั้นจึงมีลักษณะแตกต่างกันตามที่มาดังนี้
สาระสำคัญที่มาจากคุมภีร์ฤคเวท เรียกว่า วาจิกอภินยา หรือ การแสดงออกด้วยเสียงซึ่งรวมทั้งคำพูด คำร้อง และเสียงดนตรี
สาระสำคัญที่มาจากคัมภีร์ ยชุรเวท เรียกว่า อังคิกะอภินยา หรือ การแสดงออกด้วยลีลาการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
สาระสำคัญที่มาจากคัมภีร์ อถรรพเวท เรียกว่า สัตตวิก อภินยา หรือการแสดงออกของรสและภาวะ
สาระสำคัญที่มาจากคัมภีร์สามเวท เรียกว่า อหารยา อภินยา หรือการแสดงออกด้วยอลั
งการ เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ และเครื่องตบแต่งในฉากละคร เช่น ดนตรี ไฟ เป็นต้น
การฟ้อนรำชนิดใดที่ประกอบแต่เพียงการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย หรือมีแต่อังคิกะ อภินยา เข้ากับเสียงดนตรีเรียกว่า นฤตตะ เช่นเดียวกับการแสดงในกถกฬีชุดโตทยัม และปรับปทุ
การฟ้อนรำชนิดใดที่มีการแสดงด้วยการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างการเข้ากับเสียงดนตรี และมีการแสดงออกของรสและภาวะ เรียกว่า นฤตยา
การฟ้อนรำชนิดใดที่รวมลักษณะของอภินยาทั้ง 4 เข้าด้วยกันและแสดงเป็นเรื่อง เรีกว่ นาฏยะ หรือละครรำ
อังคิกะ อภินยา การแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นท่าต่างๆ เรียกว่ กรณะ ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบของร่างกาย 3 ลักษณะ ดังนี้
1. อังคะ ส่วนสำคัญของร่างกาย เช่น ศีรษะ สีข้าง ขา มือ อก และสะเอว
2. ปรัตยังคะ รวมส่วนกลางของร่างกาย เช่น คอ บ่า หลัง ท้อง ข้อศอก ข้อเท้า และหัวเข่า เป็นต้น
3. อุปางคะ รวมอวัยวะต่างๆ ที่มีอยู่บนหน้า เช่น ตา จมูก ริมฝีปาก ฟัน และแก้ม เป็นต้น

ส่วนต่างๆ ของร่างกายทั้งสามส่วนนี้มีความสัมพันธ์กัน มีการเคลื่อนไหวของอังคะ ส่วนที่หลือ คือ ปรัตยังคะ และอุปางคะจะเคลื่อนตาม
อังคิกะ แบ่งการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ดังนี้
1. อังกูระ คือการเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ รวมทั้งการเคลื่อนไหวของศีรษะ คิ้ว นัยน์ตา สะเอว และการเคลื่อนไหวของเท้า เป็นต้น
2. นรัตตะ คือ ลักษณะการวางท่าให้สมกับบทบาท เช่น เทพเจ้าควรมีรัตตะของเทพเจ้าเพื่อให้เกิดความเลื่อมใส
3. ศาขา คือ การเคลื่อนไหวของมือซึ่งเกี่ยวข้องกับ “มุทรา” หรือบางครั้งเรียกว่า หัสตมุทรา คือ การเคลื่อนไหวของมือที่มีจุดประสงค์จะอธิบายคำนาม กิริยาและความรู้สึกที่ประกอบกันเข้าเป็นเรื่องหรือกล่างง่ายๆ ว่า มุทรา คือ นาฏยภาษาที่แสดงออกด้วยมือ ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการฟ้อนรำ ภารตศิลปินทุกคนสามารถใช้มุทราเล่าเรื่องได้เท่าๆ กับกวี ทั้งนี้ไม่ต้องอาศัยบทขับร้องเลย

มุทรา แบ่งออกเป็น อสัมยุกตา คือ การเคลื่อนไหวของมือข้างเดียว และสัมยุกตา คือ การเคลื่อนไหวของมือทั้งสองข้าง

สัตตวิกอภินยา (การแสดงออกทางนาฏรสและภาวะ)
นาฏรสเป็นงค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในนากยศิลป์ภารตะโดยเฉพาะประเภทนฤตยา และนาฏยา ผู้แสดงทุกคนต้องแสดงนาฏรสให้ปรากฏบนใบหน้าโดยเฉพาะที่ดวงตา เพื่อที่จะก่อให้เกิดลักษณะความมีชีวิตชีวาในการแสดง และโน้มนำให้ผู้ชมคล้อยตาม ภารตศิลปินทุกคนต้องใช้เวลาฝึกฝนเป็นเวลานานจึงสามารถแสดงให้เกิดนาฏรสได้ ส่วนภาวะนั้นคืออารมณ์ที่อยู่ภายในผู้แสดงที่จะปรากฏออกมาเป็นนาฏรส (รสทั้ง 9 ในการแสดงละครป ด้วยการแสดงออกที่อวัยวะบนใบหน้าโดยเฉพาะดวงตา ดังนั้นนาฏรสและภาวะจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดดังที่ได้กล่าวในตอนหนึ่งของคัมภีร์นาฏยาสตร์ ว่า ปราศจากภาวะ รสไม่มี ปราศจากรสภาวะไม่มี ความสำเร็จของทั้งรสและภาวะทั้ง 2 นั้น อาศัยซึ่งกันและกันพึงมีการแสดงละคร และในคัมภีร์อภินยาทรรปณะ ของพระนนทิเกศวร ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างรสและภสวะไว้ว่า “Where the hands go, the eyes follow, where go the eyes, there the mind, when the mind is, there is feeling; where there is mood, or Bava.” (มือวาดไปทางไหน นัยน์ตาก็แลไปตามนั้น นัยน์ตาเหลือบไปทางไหน ใจก็คล้อยไปทางนั้น ใจอยู่ที่ไหนความรู้สึกก็อยู่ที่นั่น ความรู้สึกอยู่ที่ไหน ภาวะก็อยู่ที่นั่น)
นาฏรส แบ่งออกเป็นนวรสคือรสทั้ง 9 คือ
ศฤงคารรส – รสคือเหตุให้เกิดความรัก มีความยินดีหรือรติเป็นภาวะ การแสดงศฤงคารรสทำได้โดยเหลือบมองและเปล่งประกายความรักออกทางดวงตา
หาสยรส – รสคือเหตุให้เกิดการเย้ยหยัน มีการหัวเราะอย่างดูถูกหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งมีหาสะเป็นภาวะ แสดงได้โดยการเลิกคิ้วสูงขึ้นไป หลบเปลือกตาลง ชำเลืองมองและเปล่งแววตาอย่างดูถูกออกมา
กรุณารส – รสคือความกรุณา ความโศก มีโศกะเป็นภาวะ วิธีแสดง คือ เหลือบตามองพร้อมกับเปล่งแววตาอย่างดูถูกออกมา
วีรรส – รสคือความกล้า มีอาหะ เป็นภาวะ แสดงด้วยการขยายดวงตาให้กว้าง เปล่งประกายความมีอำนาจออกมา ศีรษะหงายไปทางเบื้องหลังเล็กน้อย
ภยานกรส – รสคือความกลัว มี ภยะ หรือความกลัวเป็นภาวะแสดงด้วย กลอกตาไปมา รูจมูกขยายออก ผงกศีรษะและคอ เพื่อแสดงความหวาดกลัว
พีภัตรส – รสคือความดูถูกเหยียดหยาม มีความเกลียดชังหรือชุคุปสา เป็นภาวะ แสดงด้วยการหรี่ดวงตาให้เล็กลง ทำคางย่น เม้มริมฝีปาก และขบฟันเข้าด้วยกัน
อัทภูตรส – รสคือความอัศจรรย์ใจ มีความสงสัยสนเท่ห์หรือวิสมยะ เป็นภาวะแสดงด้วยการเลิกคิ้วขึ้น ขยายดวงตาให้กว้าง ริมฝีปากสั่นระริกๆ แววตาเปล่งความประหลาดใจออกมา
เราทรรส – รสคือความดุร้าย ความโกรธ มีโกรธะเป็นภาวะ แสดงด้วยการเลิกคิ้ว ดวงตาลุกโพลง มีการขบคี้ยวฟัน
ศานตรส – รสคือความสงบ มีความสงบเป็นภาวะ แสดงด้วยการเหลือบสายตาลงต่ำ ทอดแววตาสงบ



Create Date : 24 พฤษภาคม 2550
Last Update : 24 พฤษภาคม 2550 3:56:19 น. 9 comments
Counter : 3437 Pageviews.

 
ขอบคุณคับ


โดย: โอซารัน วันที่: 24 พฤษภาคม 2550 เวลา:4:07:21 น.  

 
Thank you for sharing na ka.

I'll be right back na ka. I can't read it all at once ka.


โดย: CSULB@FineArt วันที่: 24 พฤษภาคม 2550 เวลา:7:31:44 น.  

 
อยากทราบว่าภาษาท่าของนาฏยศาสตร์มีอะไรบ้าง


โดย: วีณา IP: 203.151.53.226 วันที่: 7 มิถุนายน 2550 เวลา:9:46:22 น.  

 
แวะมาอ่าน ได้ความรู้ใหม่ๆ ขอบคุณนะคะ


โดย: January Friend วันที่: 21 สิงหาคม 2550 เวลา:15:48:49 น.  

 
สวัสดี


โดย: เฟิรืน IP: 58.8.44.128 วันที่: 20 มิถุนายน 2551 เวลา:16:40:32 น.  

 
สวัสดีคร่ะคุงครู..ผู้สอน

นู๋แวะมาอ่านก่อนเรียนคร้า....



โดย: เกตุ IP: 124.121.228.227 วันที่: 9 กรกฎาคม 2551 เวลา:20:40:02 น.  

 
อยากเรียนถามนิดนึงค่ะ

ในตำรานาฏยศาสตร์ประกอบไปด้วยอะไรบ้างคะ

หาอ่านยากมากๆค่ะ หาซื้อก็ไม่มีเลย

ขอความกรูณาช่วยตอบหน่อยนะคะ(ละเอียดนิดนึง)




โดย: เด็กนาฏศิลป์ IP: 124.120.166.144 วันที่: 24 สิงหาคม 2551 เวลา:14:23:52 น.  

 
งงจัง555++++


โดย: รัก IP: 203.172.199.254 วันที่: 13 มีนาคม 2552 เวลา:20:30:26 น.  

 
ปุฉา...ตำรานาฏยศาสตร์ ว่ามีการสร้างโรงละคร กี่แบบคับ อะไรบ้าง?ตอบผมทีคับ


โดย: บอย IP: 125.26.201.195 วันที่: 5 กันยายน 2552 เวลา:8:15:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จินตะหราวาตี
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




สำนักละครอนุรักษ์นัจยากร
Friends' blogs
[Add จินตะหราวาตี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.