รำไทย : นาฏศิลป์ไทย ใช่จะไร้ในคุณค่า โดย ธรรมจักร พรหมพ้วย
Group Blog
 
All Blogs
 
เรื่องที่ใช้แสดงโขน

เรื่องที่ใช้แสดงโขน
เรื่องที่ใช้แสดงโขน คือเรื่องรามเกียรติ์ มีบางสมัยที่นำเอาวรรณกรรมเรื่องอื่นมาแสดงโขน แต่ไม่ได้รับความนิยม มีข้อถามชวนคิดว่า ทำไมโขนจึงแสดงแต่เรื่องรามเกียรติ์เพียงเรื่องเดียว
น่าจะเป็นด้วยสาเหตุเพราะโขนเป็นนาฏกรรมที่ผสมละครใน และเนื่องจากละครในใช้เรื่องแสดงเพียง 3 เรื่อง ซึ่งเรื่องรามเกียรติ์เป็นบทละครหนึ่งในสามเรื่อง อีกประการหนึ่ง การแสดงโขนต้องอาศัยการรบกันเป็นหลักใหญ่ ฉะนั้นเรื่องที่เหมาะสมสำหรับนำมาแสดง คงไม่มีเรื่องใดในสามเรื่องนี้ที่จะเหมาะสมเท่าเรื่อง “รามเกียรติ์”
เรื่องรามเกียรติ์มีหลายสำนวน คือทั้งไทย ชวา อินเดีย และโดยเฉพาะชาวอินเดีย มีคติในเรื่องความเคารพนับถือกันมาแต่สมัยโบราณหลายพันปี เชื่อว่าหากใครอ่านหรือได้ฟังเรื่อง
รามายณะ ก็สามารถล้างบาปได้ ประสงค์สิ่งใดก็ได้ดังปรารถนา มีอายุยืน และหากตายลงก็ไปอยู่ในพรหมโลก
เรื่องรามเกียรติ์ฉบับของไทย เท่าที่ค้นพบ มี 4 สำนวน คือ ลักษณะคำประพันธ์เป็นกลอนทั้งสิ้น คือ
1. ฉบับพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระราชนิพนธ์บางตอนเพื่อให้ละครหลวงเล่น
2. ฉบับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชนิพนธ์ตั้งแต่ต้นจนจบ ถือเป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด จุดประสงค์ก็เพื่อให้ได้อ่านเพื่อเข้าใจเรื่องราว
3. ฉบับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อเล่นละครหลวงจริงๆ เพราะทรงเลือกแต่เฉพาะตอนที่จะใช้บทละครใน
เล่นได้เท่านั้น เช่น ตอนหนุมานถวายแหวน ตอนนางลอย เป็นต้น
4. ฉบับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เพื่อใช้สำหรับแสดงโขนบางตอน ทรงนำฉบับพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จ-
พระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาปรับปรุงใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับการแสดงบนเวที
และจบในเวลาจำกัด โดยการเปลี่ยนบทร้องมาเป็นบทพากย์และเจรจา เพื่อประหยัดเวลา สำนวนที่ไพเราะอยู่แล้วก็คงไว้ตามเดิม นอกจากนั้นก็เพื่อมีประสงค์ในการ
พระราชนิพนธ์ คือตั้งพระทัยที่จะดำเนินเรื่องตามที่ปรากฏในรามายณะฉบับเดิม

การศึกษาบทโขนฉบับเก่าและจัดทำขึ้นใหม่
บทละคร (Script) เป็นหัวใจสำคัญของการแสดงละครทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น โขน
ละครรำของไทยหรือละครมาตรฐานอย่างตะวันตก การจัดทำบทเพื่อจัดการแสดงจำเป็นเป็นสิ่งแรก
ที่จะต้องพิจารณาเป็นปัจจัยแรกเมื่อจะทำการแสดงละคร ผู้กำกับการแสดงหรือผู้อำนวยการแสดง
จะต้องตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาเลือกบทละครที่ดีที่เหมาะสม เพื่อให้บรรลุตาม
เป้าหมายที่ตั้งไว้ การจัดแสดงแต่ละครั้งจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นส่วนหนึ่งจึงอยู่ที่บทละคร ถ้าบทละครไม่ดี จะนำมาแสดงด้วยวิธีการอย่างไรก็ไม่ประสบความสำเร็จ

ลักษณะของบทที่ดีตามมาตรฐานอย่างละครตะวันตก ควรมีลักษณะดังนี้ คือ
1. เค้าโครงเรื่องและอุดมคติน่าสนใจ
2. ลำดับฉาก เหมาะสมกับเหตุการณ์และมีความสัมพันธ์กันระหว่างตัวละครในบท
3. แสดงบุคลิกลักษณะตัวละครได้เด่นชัดและคงเส้นคงวา
4. มีสำนวนโวหารดีเด่นเป็นพิเศษ
5. ลำดับคำพูดเกี่ยวโยงกลมกลืนกันอย่างสละสลวย ไม่ขัดเขิน ไม่ออกนอกลู่นอกทางโดยไม่จำเป็น และพยายามมิให้เป็นการแสดงความจำนงที่จะอธิบายความให้ผู้ชมฟังมากเกินไปจนผิดสังเกต
6. ต้องสามารถให้ผู้ชมทราบถึงเวลา สถานที่ เหตุการณ์ได้ถูกต้อง
7. ผู้ประพันธ์สามารถหาวิธีการต่างๆ บรรยายเหตุการณ์เช่น ป้ายหนังสือ ลักษณะท่าทาง การแต่งกาย การแสดงบุคลิกลักษณะ นิสัย และอารมณ์ของตัวละครได้อย่างแนบเนียน

บทละครจึงมีความสำคัญ เพราะแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับอุดมคติ แนวคิด ให้ตัวละครแสดงบุคลิกลักษณะออกมาตามบทบาทที่ผู้ประพันธ์ได้เขียนไว้ จึงทำให้การแสดงละครในสมัยแรก เช่น ในกรีก จึงไม่ยึดถือการจัดฉากประกอบเรื่องเท่าใดนัก แม้จะไม่มีฉากก็สามารถแสดงได้
บทละครของไทย (รวมทั้งบทโขนและบทละครรำ) มีวิวัฒนาการโดยเริ่มมาจาก
วรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่ออ่านก่อนแล้วจึงพัฒนามาสู่วรรณคดีที่เขียนขึ้นเพื่อประกอบการแสดงอย่างจริงจัง เรียกว่า “นาฏวรรณคดี” มีลักษณะเป็นคำประพันธ์ประเภทต่างๆ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต ในชั้นหลังนิยมแต่งด้วยกลอนตลาดหรือกลอนสุภาพ พัฒนาขึ้นจนมีลักษณะเฉพาะตัว เรียกว่า “กลอนบทละคร”
ในอดีตผู้แสดงจะต้องรับถ่ายทอดและจดจำบทได้จนขึ้นใจ เพราะผู้แสดงในอดีตยังไม่ได้รับการศึกษาจนถึงขั้นอ่านออกเขียนได้ การแสดงจึงต้องด้นบทสด คล้ายกับการแสดงโนรา หรือการเล่นเพลงชาวบ้าน บ้างก็ใช้ปฏิภาณสอดแทรก มาในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาจึงเกิดมีวรรณคดีเพื่อการแสดงเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อมีผู้นิยมอ่านวรรณคดีมากขึ้น จึงมีผู้นิยมดูการแสดงที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับวรรณคดีที่นิยมในสมัยนั้นๆ มากขึ้นด้วย ในสมัยรัตนโกสินทร์การด้นบทยังคงมีให้เห็นอยู่บ้างแต่ด้วยโขนและละครผู้หญิงถือเป็นราชูปโภคแห่งพระมหากษัตริย์ บทโขน บทละครจึงได้รับการพระราชนิพนธ์จากประมุขของแผ่นดิน ดังปรากฏพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาและรามเกียรติ์มาตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา ด้วยเหตุที่วรรณกรรมเหล่านี้เป็นค่านิยมของชนชั้นสูงใน
ราชสำนักจึงพัฒนาจากวรรณกรรมเพื่อการอ่านมาเป็นวรรณกรรมเพื่อการแสดง โดยยังคงวิธีการเล่านิยายเหมือนอย่างการเป็นวรรณคดีมุขปาฐะ
ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงนำบทละครเรื่องรามเกียรติ์ครั้งกรุงเก่ามาแก้ไขดัดแปลงแล้วตราขึ้นเป็นพระราชนิพนธ์ใช้สำหรับละครหลวงแสดงบางตอน
ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะชำระวรรณกรรมเรื่องใหญ่ๆ เพื่อให้เป็นสมบัติคู่บ้านคู่เมืองสมกับที่
พระองค์ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร จึงทรงโปรดให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันรวบรวมบทละครครั้งเก่า และกรุงธนบุรี สอบชำระแล้วตราขึ้นเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลทั้งสิ้น 3 เรื่อง คือ อิเหนา รามเกียรติ์ และอุณรุท
สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นยุคทองของศิลปะในทุกๆ แขนง โขนและละครก็ได้รับการยกย่อง พัฒนารูปแบบและวิธีการแสดงที่สลับซับซ้อนจนกลายเป็นศิลปะอย่าง “หลวง” รวมถึงการเขียนบทละคร พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมี
พระราชประสงค์ที่จะให้บทละครแต่ละเรื่องที่ทรงพระราชนิพนธ์สามารถใช้แสดงละครและโขนได้ ทรงแก้ไขถ้อยคำให้เข้ากับท่ารำ เปลี่ยนวิธีการดำเนินเรื่องเพื่อให้เนื้อเรื่องกระชับสมเหตุสมผล ไม่ช้ายืดยาด บทละครในรัชกาลที่ 2 จึงมีความเพียบพร้อมเหมาะแก่การแสดงมากกว่าในรัชกาลที่ 1
ดังเช่น บทละครเรื่องรามเกียรติ์ตอนสีดาผูกคอ ในบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 1
พระราชนิพนธ์ไว้ว่า “อรทัยก็โจนลงมา” เหมาะสำหรับอ่านแต่ไม่เหมาะเมื่อทำการแสดงให้สมจริง เพราะการผูกคอตาย เมื่อกระโจนลงมา นางสีดาย่อมตายก่อนที่หนุมานจะช่วยทัน หากเปรียบเทียบข้อแตกต่างของบทโขนทั้งสองรัชกาลก็จะเห็นได้ชัดเจนดังนี้

 บทในรัชกาลที่ 1
จึงเอาผ้าผูกกระสันพันรัด เกี่ยวกระหวัดกับกิ่งโศกใหญ่
หลับเนตรจำนงปลงใจ อรทัยก็โจนลงมา
บัดนั้น วายุบุตรวุฒิไกรใจกล้า
ครั้นเห็นองค์อัครกัลยา ผูกศอโจนมาก็ตกใจ
ตัวสั่นเพียงสิ้นชีวิต ร้อนจิตดังหนึ่งเพลิงไหม้
โลดโผนโจนตรงลงไป ด้วยกำลังว่องไวทันที

 บทในรัชกาลที่ 2
จึงเอาผ้าผูกกระสันพันรัด เกี่ยวกระหวัดกับกิ่งโศกใหญ่
ชายหนึ่งผูกศออรทัย แล้วทอดองค์ลงไปจะให้ตาย
บัดนั้น วายุบุตรแก้ได้ดังใจหมาย

ต่อมาการปรับปรุงบทละครกระทำขึ้นเพื่อให้มีความกระชับ เหมาะสมกับเวลาและสถานที่ที่แสดง โดยได้รับอิทธิพลจากการแต่งบทละครตะวันตกมากขึ้น ใจความหรือเนื้อเรื่องที่เคยเยิ่นเย้อก็ถูกปรับให้มีความเหมาะสมกับเวลาแสดงที่จำกัดเพียง 2-3 ชั่วโมง จึงตัดตัดทอนรายละเอียดของบทละครออก ทั้งนี้ต้องกระทำโดยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญการด้านการทำบทละคร เพื่อมิให้เนื้อเรื่องเปลี่ยนแปลงและรูปแบบของคำประพันธ์ แตกต่างไปจากบทพระราชนิพนธ์ทั้งสองรัชกาล
ที่เป็นแม่แบบมากนัก ทั้งยังผสมผสานการนำเสนอด้วยเทคนิคแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากการแสดงละครหรือโขนโบราณ
เนื้อเรื่องรามเกียรติ์นั้น สามารถนำมาใช้แสดงโขนได้ดีทุกตอน ในปัจจุบันโดยมากนิยมนำพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มาจัดแสดง ซึ่งพระองค์ได้ทรงตัดทอนและดัดแปลงจากต้นฉบับ
รัชกาลที่ 1 ให้เหมาะแก่การนำมาแสดงโขนและละคร ตามพระวินิจฉัยของสมเด็จฯ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า “พิจารณาดูโดยทางสำนวนกลอน เข้าใจว่าจะทรงพระราชนิพนธ์
ภายหลังเรื่องอิเหนา” ตอนที่นิยมจัดแสดงเป็นโขนและละครรำ คือ

ตอนหนุมานถวายแหวน
ตอนเผาลงกา เป็นตอนต่อจากหนุมานถวายแหวน กลับไปเฝ้าพระราม
ตอนขับพิเภก ทศกัณฐ์ฝันร้าย ทำนายฝัน พิเภกถูกขับมาอยู่กับพระราม
ตอนนางลอย นางเบญกายแปลงเป็นนางสีดาตายลอยทวนน้ำมาบริเวณที่ประทับของพระราม หนุมานได้นางเบญกาย
ตอนจองถนน หนุมานได้นางสุพรรณมัจฉา
ตอนองคตสื่อสาร จนกระทั่งองคตกลับไปเฝ้าพระราม
ตอนสุครีพหักฉัตร ทศกัณฐ์ยกฉัตรแก้ว จนกระทั่งสุครีพกลับมาเฝ้าพระราม
ตอนไมยราพสะกดทัพ หนุมานปราบไมยราพ
ตอนศึกกุมภกรรณ ครั้งที่ 1 สุครีพถอนต้นรัง
ตอนศึกกุมภกรรณ ครั้งที่ 2 พระลักษณ์ต้องหอกโมกขศักดิ์
ตอนศึกกุมภกรรณ ครั้งที่ 3 กุมภกรรณทดน้ำ จนกระทั่งกุมภกรรณล้ม
ตอนศึกอินทรชิต อินทรชิตรบพระอินทร์จนได้ศรพรหมาสตร์
ตอนศึกมังกรกัณฐ์ มังกรกัณฐ์เนรมิตรูปทางอากาศไว้มากมาย จนกระทั่งมังกรกัณฐ์ล้ม
ตอนศึกแสงอาทิตย์ องคตลวงเอาแว่นแก้วของแสงอาทิตย์มาได้ จนกระทั่งแสงอาทิตย์ล้ม
ตอนศึกพรหมาสตร์ พระลักษมณ์ต้องศรพรหมาสตร์
ตอนพิธีอุมงค์ หนุมานทำลายพิธี
ตอนศึกวิรุณจำบัง หนุมานเข้าห้องนางวานริน
ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ ตั้งแต่ทศกัณฐ์เชิญท้าวมาลีวราชมาจนกระทั่งพิพากษาเสร็จ
ตอนศึกทศกัณฐ์ หนุมานผูกผมทศกัณฐ์กับนางมณโฑ
ตอนหนุมานอาสา หรือที่เรียกว่า ตอนถวายลิงชูกล่องดวงใจ
ตอนศึกทศกัณฐ์ครั้งสุดท้าย ทศกัณฐ์ล้ม
ตอนอภิเษกพระราม
ตอนสีดาวาดรูป นางอดูลปิศาจเข้าสิงรูป พระรามคลั่งฆ่าสีดา จนกระทั่งพระลักษณ์
ปล่อยสีดาไป
ตอนปล่อยม้าอุปการ หรือบางทีเรียกว่า ตอนพระรามครองเมือง หรือตอนบุตรลบ

ขนบในการแสดงโขน ไม่นิยมให้จบลงด้วยการพ่ายแพ้ของฝ่ายพระราม ถ้ามีเรื่อง
พระลักษณ์ต้องอาวุธสลบ ต้องแสดงต่อไปโดยแก้ไขให้ฟื้น จึงเลิกแสดงได้ แต่ตัวละครฝ่ายยักษ์
อาจตายตอนจบได้ไม่เสียหายอะไร นอกจากทศกัณฐ์ มักไม่นิยมแสดงตอนทศกัณฐ์ล้ม เพราะ
เชื่อกันว่าจะเกิดภัยพิบัติแก่บ้านเมือง



Create Date : 24 พฤษภาคม 2550
Last Update : 18 มีนาคม 2552 13:11:26 น. 32 comments
Counter : 24911 Pageviews.

 


โดย: ............ IP: 222.123.125.159 วันที่: 11 มิถุนายน 2550 เวลา:19:49:25 น.  

 


โดย: ehee IP: 203.156.144.68 วันที่: 14 มิถุนายน 2550 เวลา:18:29:30 น.  

 



โดย: เด็กเทพ IP: 125.27.200.113 วันที่: 16 สิงหาคม 2550 เวลา:17:34:53 น.  

 


โดย: เด็กเกร์คราฟ IP: 124.121.122.147 วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:5:51:29 น.  

 


โดย: อิอิอิ IP: 125.26.170.56 วันที่: 10 พฤศจิกายน 2550 เวลา:18:48:24 น.  

 


โดย: 5555555555 -*- IP: 125.24.104.199 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2550 เวลา:18:59:48 น.  

 


โดย: -.- IP: 58.9.84.78 วันที่: 1 ธันวาคม 2550 เวลา:13:54:14 น.  

 


โดย: --------------------------------------------- IP: 58.9.84.78 วันที่: 1 ธันวาคม 2550 เวลา:13:55:14 น.  

 


โดย: จุบจุบ IP: 61.19.32.136 วันที่: 6 ธันวาคม 2550 เวลา:8:51:24 น.  

 
นรยายส่นทสม่นรี่เอื มทสานส่รี้


โดย: นาวบส IP: 203.113.17.163 วันที่: 11 มกราคม 2551 เวลา:12:11:03 น.  

 
สู่ตายนะค่ะ


โดย: โลมาน้อยค่ะ IP: 119.42.66.193 วันที่: 18 มกราคม 2551 เวลา:15:46:45 น.  

 


โดย: earthsexyman IP: 58.9.38.201 วันที่: 18 มกราคม 2551 เวลา:16:04:26 น.  

 


โดย: คนสวย IP: 124.120.206.39 วันที่: 18 มกราคม 2551 เวลา:19:30:20 น.  

 

ติ๊งต๊อง


โดย: คนน่ารัก(สวยดีกว่า) IP: 124.121.68.84 วันที่: 19 มกราคม 2551 เวลา:16:26:06 น.  

 


โดย: คนสวยมาแว้วววว IP: 124.121.68.84 วันที่: 19 มกราคม 2551 เวลา:16:28:05 น.  

 


โดย: เฮเลน IP: 125.24.32.83 วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:14:44:38 น.  

 
โถ่อยากรู้เรื่องนึงแต่ดันมาเจออีกเรื่องอย่างนี้ไวรุ่นเซงติดต่อโทรxxxxxxxx



โดย: ดาว IP: 61.91.193.177 วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:17:01:50 น.  

 
อยากรู้จักติดต่ sbp


โดย: สุดสวย IP: 61.91.193.177 วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:17:05:11 น.  

 
dfgf


โดย: 226 IP: 58.64.114.58 วันที่: 24 มกราคม 2551 เวลา:20:03:36 น.  

 


โดย: กด IP: 58.64.114.58 วันที่: 24 มกราคม 2551 เวลา:20:05:19 น.  

 


โดย: รัน IP: 203.156.25.172 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:16:17:54 น.  

 


โดย: รัน IP: 203.156.25.172 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:16:18:03 น.  

 


น่าเบื่อ


โดย: แพท IP: 203.156.25.172 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:16:20:07 น.  

 


น่าเบื่อ


โดย: แพท IP: 203.156.25.172 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:16:20:20 น.  

 
อยากได้ลักษณะคำประพันธ์


โดย: 12 IP: 203.113.56.14 วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:19:26:55 น.  

 
อยากทราบเนื้อเรื่องตอนจองถนน


โดย: พลอย IP: 203.144.142.171 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:11:08:48 น.  

 
อยากรู้ว่าบทละครพูดใช้อย่างไรค่ะ


โดย: เมย์ IP: 203.172.168.134 วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:11:21:39 น.  

 
อยากทราบเนื้อเรื่องตอนหนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา


โดย: โคนัน IP: 118.172.116.108 วันที่: 6 กรกฎาคม 2551 เวลา:15:38:21 น.  

 
เก่งจางค่ะ


โดย: ฝน IP: 125.25.33.104 วันที่: 16 สิงหาคม 2551 เวลา:13:33:03 น.  

 
เนื้อหาดีค่ะ ขอบคุณมาก
สำหรับตอนหนุมาน จับนางสุพรรณมัจฉา ก็คือ พระรามต้องการถมถนนข้ามไปยังกรุงลงกาของทศกัณฐ์ ให้เหมาะสมกับศักดิ์ศรีค่ะ ตรงนี้ท้าวมหาชมพูเป็นผู้แนะนำ พระรามเลยให้หนุมานและนิลพัท ซึ่งเป็นหลานของท้าวมหาชมพู ไประเบิดภูเขา ใช้หินมาถมถนน แต่ทะเลาะกัน ต่อยกันเลย เพราะแค้นกันอยู่ก่อนค่ะ สุครีพเลยแบ่งหน้าที่ใหม่ ให้นิลพัทดูแลเรื่องเสบียง ส่วนหนุมานก็ถมต่อไป พอทศกัณฐ์ทราบข่าว จึงให้ลูกสาวคือนาง สุพรรณมัจฉา ซึ่งเป็นลูกของตนเองกับนางปลา (ทำไปได้) ไปพาบริวารสัตว์น้ำมาช่วยกันย้ายหิน ทหารลิงเห็นก็แปลกใจ หนุมานเลยลงไปดูเอง ตอนแรกกะหมายเอาชีวิต แต่พอเห็นนางสุพรรณมัจฉา ปิ๊งเลยค่ะ เลยเกี้ยวพาราสีจนได้เป็นเมีย ภายหลังลูกออกมา คือ มัจฉานุ

ป.ล. อันนี้นั่งนึกเอา ผิดอย่าว่ากันนะคะ


โดย: แนน IP: 124.157.145.72 วันที่: 18 สิงหาคม 2551 เวลา:22:34:33 น.  

 
มากจัง


โดย: lทพสั่งมา IP: 118.173.119.218 วันที่: 2 ธันวาคม 2551 เวลา:17:51:02 น.  

 
ตัวเล็กแต่ก็ดี


โดย: ใจสั่งมา IP: 124.120.247.60 วันที่: 21 ธันวาคม 2551 เวลา:11:02:47 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

จินตะหราวาตี
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




สำนักละครอนุรักษ์นัจยากร
Friends' blogs
[Add จินตะหราวาตี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.