รำไทย : นาฏศิลป์ไทย ใช่จะไร้ในคุณค่า โดย ธรรมจักร พรหมพ้วย
Group Blog
 
All Blogs
 
ลักษณะการแสดงโขน

ลักษณะการแสดงโขน
โขนเกิดจากการแสดงที่พัฒนาการมาจากการแสดงประเภทอื่นๆ 3 อย่าง คือ
1. โขนมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ ในพิธีอินทราภิเษก ได้แก่การแสดงที่แบ่ง
ผู้แสดงออกเป็นฝ่ายอสูรและฝ่ายเทวดาต่อสู้กัน และผลสุดท้ายฝ่ายอสูรก็พ่ายแพ้
2. โขนมาจากการแสดงหนังใหญ่ เป็นศิลปะแห่งการพากย์ เจรจา รวมทั้งท่าทางเต้นของคนเชิดหนัง วิธีการเล่นหนัง ขึงจอผ้าขาวยาวประมาณ 9 วา สูง 3 วา ด้านหลังของจอจุดไต้และก่อไฟเพื่อให้เห็นเงาตัวหลังซึ่งมีลวดลายฉลุเป็นรูปตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ ตัวหนังจะมีไม้ผูกทาบไว้ทั้งสองข้างสำหรับคนเชิดจับ ลีลาการเต้นของคนเชิดหนังใหญ่ ได้รับการยอมรับว่าเป็นท่าแสดงโขนในโอกาสต่อมา โดยเฉพาะบทยักษ์ และการเต้นเขน
3. โขนมาจากการแสดงกระบี่กระบอง

ประเภทของโขน
ลักษณะการแสดงของโขนสามารถจำแนกออกได้เป็น 5 ชนิด ดังนี้
1. โขนกลางแปลง คือ การแสดงโขนบนพื้นสนาม ไม่มีเวที เหมาะกับการแสดงที่ใช้บริเวณกว้างๆ ใช้ธรรมชาติเป็นฉาก บรรยายเรื่องด้วยการพากย์และเจรจา ไม่มีขับร้อง มีวงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการแสดง การแสดงโขนกลางแปลงมีบริเวณกว้างใช้วงดนตรี 2 วง
อยู่ทางซ้ายและขวาของสนาม ผลัดเปลี่ยนกันบรรเลง เนื้อเรื่องรามเกียรติ์นิยมนำตอน
รบทัพจับศึกมาแสดง
2. โขนนั่งราว หรือ โขนโรงนอก คือ การยกโขนกลางแปลงมาไว้ในเวทีที่มีอาณาเขตบริเวณจำกัด มีฉากประกอบ ยกพื้นขึ้น มีร้านเล็กๆ สูงกว่าเวทีอยู่ตรงข้างซ้ายและขวาของเวที สำหรับตั้งวงปี่พาทย์ 2 วง การแสดงใช้บทพากย์และเจรจาเหมือนเดิม
3. โขนโรงใน คือ การแสดงโขนปนกับละครใน มีบทพากย์และเจรจาอย่างโขน มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องอย่าละครใน โขนโรงในสืบทอดมาแต่กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จนถึงสมัย
กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4
4. โขนหน้าจอ คือ การแสดงโขนที่เปลี่ยนลักษณะโรงแสดงโขนไปเป็นโรงแสดงหนังใหญ่
5. โขนฉาก คือ การแสดงโขนที่สร้างฉากประกอบเนื้อเรื่อง เกิดขึ้นราวสมัยรัชกาลที่ 5 คล้ายกับละครดึกดำบรรพ์ ผู้ริเริ่มทำโขนฉากคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา-นุวัติวงศ์ การแบ่งฉากใช้แบบเดียวกับการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ใช้วิธีแสดงแบบโขนโรงใน คือมีบทร้อง มีกระบวนรำ และท่าเต้น ประกอบการบรรเลงเพลงหน้าพาทย์
ภาพที่ 2  การแสดงโขนฉากของสถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ กรมศิลปากร
ที่มา  ภาพถ่ายโดยความเอื้อเฟื้อจากสถาบันนาฏดุริยางคศิลป์

บทพากย์ คำเจรจา และบทร้องของโขน
เนื่องจากการแสดงโขนต้องสวมหน้ากาก จึงมีคนทำหน้าที่พูด พากย์ เจรจา และขับร้องแทนผู้แสดง บทพากย์โขนแบ่งออกเป็น 5 แบบ
1. พากย์เมืองหรือพากย์พลับพลา ใช้ตอนผู้แสดงออกท้องพระโรง เช่น ตอนพระรามประทับอยู่ในเมือง หรือทศกัณฐ์เสด็จออกท้องพระโรง ก็เรียกพากย์เมือง แต่ถ้าพระรามเสด็จออกประทับพลับพลา (ในช่วงที่พระรามออกเดินดง) จึงเรียกพากย์พลับพลา การพากย์เมือง ผู้พากย์สามารถใส่อารมณ์ลงในบทเพลงนั้นๆ ได้ เช่น โกรธ รัก ดีใจ ก็สามารถเอื้อนช้าเร็วได้ ข้อสำคัญคือ ต้องไม่พากย์เร็วจนตัวละครผิดบุคคลิกไป หรือพากย์จนเสียจังหวะ เช่น ตัวละครกำลังยกเท้าค้างอยู่
แต่คนพากย์ก็เอื้อนทำนองลีลาจนตัวละครไม่สามารถวางเท้าลงได้ เพราะจังหวะยังไม่ลง เหล่านี้
ถือว่าพากย์จนเสียจังหวะ เป็นต้น ตัวอย่างการพากย์เมือง เช่น
“ปางนั้นทศเศียรราชา สถิตเหนือมหา สิงหาสภิมุขมณเฑียร”
(………………..เพ้ย)

คำว่า “เพ้ย” นี้ ไม่สามารถระบุที่มาได้ บ้างสันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “เฮ้ย” แต่ก็เป็นเพียงข้อคิดเห็นเท่านั้น ยังไม่มีหลักฐานประกอบแน่ชัด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า-
เจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนคำว่า “เพ้ย” เป็น “ไชโย” แทน แต่ไม่ได้รับความนิยม ฉะนั้นคำว่า เพ้ย
จึงยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน

2. พากย์รถ (รวมถึงพากย์ช้างและพากย์ม้า) ใช้ในกรณีตัวโขนออกรบ ซึ่งอาจจะทรงพาหนะรถ ม้า หรือช้าง ผู้พากย์จะต้องดูจังหวะ ลีลาของผู้แสดง เพราะการจัดทัพมีตัวโขนมาก
ถ้ายังจัดแถวไม่ทันเสร็จผู้พากย์รีบพากย์เสียก่อน จะทำให้เสียขบวนพลยักษ์ พลลิงไปได้ ตัวอย่างบทพากย์รถ เช่น
“เสด็จทรงรถสงคราม แสงแก้วแวววาม กระจ่างทั้งธานี
(………………….เพ้ย)

3. พากย์ชมดง ใช้ในโอกาสชมนกชมไม้ เป็นการสร้างจินตนาการในการพรรณนาถึง
ความงดงามของพรรณไม้และนก ด้วยบทประพันธ์ซึ่งแสดงถึงชั้นเชิงและความสามารถของ
ผู้ประพันธ์ การพากย์จะแทรกด้วยการร้องทำนองชมดงใน และจึงพากย์ ดังตัวอย่างเช่น
“เค้าโมงจับโมงมองเมียง คู่เคล้าโมงเคียง เคียงคู่อยู่ปลายไม้โมง
ลางลิงลิงเหนี่ยวลดาโยง คอยยุดฉุดโฉลง โลดไล่ในกลางลางลิง”

4. พากย์โอ้ ใช้เมื่อตัวละครแสดงความเศร้าโศก คร่ำครวญ ร้องไห้ การพากย์จะรับด้วย
ปี่พาทย์เพื่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ก่อนที่จะรับ “เพ้ย” ท้ายคำสุดท้ายมักสอดรับด้วยเพลงโอด
ตัวอย่างบทพากย์โอ้ เช่น
“พระช้อนเกศขึ้นวางตัก พิศพักตร์แล้วรับขวัญ
ยิ่งพิศยิ่งกระสัน ยิ่งโศกเศร้าในวิญญา (……………..เพ้ย)

5. พากย์บรรยายและพากย์เบ็ดเตล็ด คือการพากย์ที่มิได้จัดอยู่ใน 4 ประเภทข้างต้น เช่น ตอนที่ตัวละครสั่งสอนกันและกัน ในโขนชุดพาลีสอนน้อง พาลีสอนสุครีพในเรืองกิจการบ้านเมืองหรือตอนที่หนุมานและองคตรับอาสาพระรามไปเอากล่องดวงใจจากพระฤาษีโคบุตร เป็นต้น

คำเจรจา เป็นบทกวีประเภทร่ายยาว ส่งสัมผัสกันไปเรื่อยๆ เป็นการวัดภาษาและแสดงออกถึงความสามารถของผู้พากย์ เพราะผู้พากย์จะต้องมีคำเจรจาของตนเองขึ้นในปัจจุบัน มีปฏิภาณ
ในการใช้ถ้อยคำให้สละสลวยรับสัมผัสได้แนบเนียน และได้เนื้อถ้อยกระทงความ ฉะนั้น ผู้พากย์จะต้องจดจำเนื้อเรื่องได้หมด เพื่อสามารถนำมาผูกในตอนที่เจรจาได้ทันท่วงที ซึ่งสิ่งเหล่านี้
โบราณาจารย์ได้ผูกขึ้นไว้เป็นแบบแผนเฉพาะตอนหนึ่งๆ เรียกว่า “กระทู้” ซึ่งใช้เจรจาโต้ตอบระหว่างตัวแสดงโขนในเชิงปฏิภาณ และต้องให้เข้าประเด็นของกระทู้นั้นๆ เช่น บทกระทู้พระพรตโต้ตอบท้าวคนธรรพ์ เช่น
“พระพรตสุริยวงศ์ พอได้ทรงฟังอุสรีมีวาจา จึงตอบว่า นี่หรืออสุราคนธรรพราช เราได้ฟังช่างร้ายกาจล่วงเกินเราก่อน นี่หรือท้าวเจ้านครดีดสีศิลป์ ฟังคารมไม่สมกับเป็นปิ่น
ประชาราษฎร์…..”
การร้องประกอบการแสดงโขนเกิดขึ้นตอนที่โขนได้ผสมกับละครใน เป็นประเภท
โขนโรงใน การแสดงโขนถวายทอดพระเนตร คนพากย์และคนเจรจาเครื่องแบบมหาดเล็กตามยศของราชทินนาม ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีตำแหน่งนักร้อง 5 ตำแหน่ง ได้แก่ พจนาเสนาะ ไพเราะพจมาน ขานฉันทวากย์ พากย์ฉันทวัจน์ และชัดเจรจา
นักร้องแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ ต้นเสียงและลูกคู่ ต้นเสียงทำหน้าที่ร้องขึ้นต้นบท และ
ร้องเดี่ยวไปจนหมดวรรคแรกของคำกลอน วรรคที่สองเป็นหน้าที่ของลูกคู่ที่จะร้องต่อ ในระหว่างลูกคู่ร้องต้นเสียงก็ฟังบทร้องจากคนบอกบทเพื่อร้องต่อไป ต้นเสียงนอกจากร้องเพลงถูกต้องแล้ว ยังต้องรู้ทีท่าของโขนว่าจะร้องช้าเร็วประการใดเพื่อให่เหมาะกับการรำของตัวโขนตัวนั้น และต้องรักษาระดับเสียงให้เข้ากับดนตรี ฉะนั้นต้นเสียงมีสักกี่คนก็ตาม แต่เวลาทำหน้าที่ร้องต้องร้อง
ทีละคน ส่วนลูกคู่ต้องร้องให้พร้อมกันทีละ 2 คนเป็นอย่างน้อยและอย่างมากไม่เกิน 6 คน
การแสดงโขนมีธรรมเนียมและเคล็ดลางที่ถือกันว่า ศิลปินโขนทุกคนจะต้องมีความเคารพนบนอบกตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์ เคารพพระรัตนตรัยและครูอาจารย์ตั้งแต่เริ่มฝึกหัด อย่างน้อยต้องมีดอกไม้ธูปเทียนเป็นเครื่องสักการะเป็นประจำ
การออกโรงแสดงต้องจัดเครื่องให้ครบ เช่น เครื่องแต่งตัว รถ ม้า อาวุธ และกลด ในพิธีต้องมีศีรษะครูไปตั้งประดิษฐานเป็นเครื่องสักการะ ก่อนแต่งตัวก็ต้องไหว้ครู เมื่อแต่งเสร็จแล้วต้องไหว้ครูเมื่อจะสวมหัว เช่น ชฎา รัดเกล้า หรือ มงกุฎกษัตริย์ ตลอดจนหน้าโขนผู้ที่หัดใหม่ยังไม่เคยออกโรงแสดงแม้เคยรับครอบมาแล้วครูก็ต้องเป็นผู้ครอบหัว ครอบหน้าให้เป็นปฐม เมื่อจะออกฉากไปแสดงต้องไหว้ไปทางทิศที่ประดิษฐานหน้าครู และไหว้ครูผู้ฝึกด้วย ใครไม่ปฏิบัติถือเป็นอัปมงคล เป็นเสนียดจัญไร

มีข้อห้ามที่สำคัญอยู่หลายประการ คือ
- ห้ามนั่งเล่นบนเตียงหรือบนราวโขน (สำหรับโขนนั่งราว) ในเมื่อยังไม่ถึงบท
- ห้ามเจาะทะลวงตา หรือแก้ไขหน้าโขน ต้องให้ครูจัดทำให้
- ห้ามนำอาวุธ เช่น ศร พระขรรค์ กระบองมาเล่นกันนอกเวลาแสดง
- ห้ามข้ามอาวุธ
- ห้ามกรายโกร่งสำหรับตี
- ห้ามจับกรับกระทุ้งเล่น
- ห้ามเล่นไม้ตะขาบ

การเก็บหรือวางเครื่องโรงทั้งเวลาแสดงและเวลาเก็บในคลังเครื่องโขนนิยมแบ่งเป็นพวก เป็นส่วนสัด เช่น อาวุธ มีกระบอกสำหรับเก็บเป็นที่ ไว้ในที่ที่สมควร ไม่ทิ้งเรี่ยราด หน้ายักษ์
หน้าลิง ต้องเก็บกันไว้คนละด้านไม่ให้ปะปนกัน มีหน้าฤาษีคั่นกลาง เคยมีเรื่องประหลาดที่
วังจันทรเกษม อันเป็นที่ตั้งกรมมหรสพเดิมในรัชกาลที่ 6 และเป็นบริเวณกระทรวงศึกษาธิการในเวลานี้ ในห้องคลังเครื่องโขน มีตู้ฝากระจกเป็นที่เก็บหน้าโขนและก็เก็บแบ่งเป็นฝ่ายตามแบบอย่าง คราวหนึ่งมีผู้อุตริยกหน้าฤาษีที่คั่นไว้ตรงกลางแถวไปไว้ที่อื่น รุ่งขึ้นปรากฏว่าบานกระจกแตกเกือบหมด หน้าโขนตกลงมา ฉีกขาดกระจัดกระจาย บุบสลาย จอนหูหัก เขี้ยวยักษ์หลุด แต่โดยมากเป็นหน้าเสนายักษ์ กับสิบแปดมงกุฎ และส่วนมากหน้ายักษ์ชำรุดมากกว่าหน้าลิง ได้เคยมีคนใกล้เคียงเล่าว่า ตอนกลางคืนได้ยินเสียงตึงตังโครามครามในห้องคลังเครื่องโขนเหมือนกัน แต่สำคัญเสียว่าเด็กโขนคงแอบเข้าไปเล่นซ่อนหากัน และไม่มีใครกล้าเข้าไปดูด้วย จนรุ่งเช้าจึงเห็นปรากฏการณ์เช่นนั้น

การแต่งกาย
การแต่งกายของโขน แต่งแบบยืนเครื่องเหมือนละครใน เน้นความประณีตวิจิตรพิสดาร โดยเลียนแบบจากพระเครื่องต้นของกษัตริย์ ตามลักษณะของตัวละคร ซึ่งสามารถแยกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ พระ นาง ยักษ์ ลิง และตัวประกอบ รวมทั้งเครื่องสวมศีรษะอื่นๆ
ศีรษะโขน (หัวโขน) ได้แก่ ศีรษะเทพเจ้า พระฤาษี พระพิราพ ศีรษะมนุษย์ ศีรษะลิง และศีรษะยักษ์ ตลอดจนศีรษะสัตว์ต่างๆ


เครื่องแต่งตัวโขน
ตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ตามลักษณะการแต่งกาย คือตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ ตัวลิง และตัวเบ็ดเตล็ด
1. ตัวพระ มีทั้งเทวดาและมนุษย์ แต่งกายเหมือนกันหมดคือ แต่งยืนเครื่องอย่างพระ
ผิดกันแต่สีเสื้อเปลี่ยนไปตามสีกายประจำตัวละคร เช่น พระอินทร์สีเขียว พระพรหม
สีขาว ท้าวมาลีวราชสีขาว พระรามสีเขียว พระลักษมณ์สีทอง พระพรตสีแดงชาด
และพระสัตรุดสีม่วงอ่อน เป็นต้น เข้าใจว่าในสมัยโบราณตัวพระจะสวมหน้าด้วย เครื่องประดับศีรษะจึงมีหลายลักษณะ ของเทวดาเป็นมงกุฎยอดต่างๆ เช่น พระอินทร์เป็นมงกุฎเดินหนท้าวมาลีวราชเป็นมงกุฎยอดชัย หรือมงกุฎน้ำเต้า ของมนุษย์เป็นมงกุฎชัย หรือชฎาพระ เหตุที่เข้าใจดังนี้เพราะในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ตอนเข้าสวนพิราพ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกล่าวถึงพระราม พระลักษณ์ เป็นทำนองว่าสวมหน้า คือ

“เหม่มนุษย์สองราหน้าเขียวเหลือง”

“เจ้าหน้าเขียวถืออะไรอยู่ไม่รู้ มีสายคล้ายธนูเขายิงกวาง
บ้างว่าข้าขยันจะจับนาง เจ้าหน้าเหลืองเยื้องย่างออกขวางหน้า”
ภาพที่ 3  การแต่งกายของตัวพระ (พระราม)
ที่มา  ภาพถ่ายโดยความเอื้อเฟื้อของสถาบันนาฏดุริยางคศิลป์


และปรากฏมีศีรษะโขนขนาดเล็กตกทอดมาถึงปัจจุบัน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นหน้าโขนสำหรับละครผู้หญิงเล่นเรื่องรามเกียรติ์ ศีรษะที่ละครในใช้สวมแสดงยังคงเรียกว่า “หัวโขน” อยู่จนทุกวันนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระราชวินิจฉัยว่า เครื่องศีรษะที่ละครแต่งยังเรียกว่า “หัวโขน” อยู่จนทุกวันนี้ ก็บ่งชัดว่าเอาแบบอย่างของโขนมาใช้ เป็นหลักฐานอีกชั้นหนึ่งว่า ละครในเกิดการถ่ายแบบโขน
มาเล่น
เสนาที่เป็นมนุษย์ แต่งตัวอย่างกิดาหยันในเรื่องอิเหนา คือ สวมหมวก
หูกระต่าย แต่มีน้อย ส่วนใหญ่เป็นยักษ์และลิง

2. ตัวนาง แต่งยืนเครื่องนางหมดทุกตัว ผิดกันแต่เครื่องสวมศีรษะ กล่าวคือ
พระชนนีทั้งสามของพระราม นางสีดา มเหสีพระอินทร์ นางมณโฑ
นางเทพอัปสร นางวานริน นางบุษมาลี ตลอดจนนางสุพรรณมัจฉา
นางสุวรรณกันยุมา นางตรีชฎา สวมรัดเกล้ายอด นางเบญกายสวมรัดเกล้าเปลว ส่วนนางกาลอัคคี สวมมงกุฎยอดนาค นางกำนัลสวมกระบังหน้า
นางสุพรรณมัจฉามีหางปลาติดไว้ที่ส่วนหลังใต้เข็มขัดด้วย เพราะมีสัญชาติเป็นปลา

3. ตัวยักษ์ แบ่งออกเป็นระดับต่างๆ คือ พญายักษ์ เสนายักษ์ และเขนยักษ์ พญายักษ์ เช่น ทศกัณฐ์ อินทรชิต ไมยราพ พิเภก สหัสเดชะ แสงอาทิตย์ จะนุ่งผ้าเยียรบับทับสนับเพลา เช่นเดียวกันกับตัวพระแต่ไม่ไว้โจงหางหงส์ แต่จะมีผ้าปิดก้นห้อยลงมาจากเอว เครื่องประดับส่วนใหญ่เช่นเดียวกันกับตัวพระ เพียงแต่มีเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คือ ตัวพญายักษ์ชั้นผู้ใหญ่ เช่น ทศกัณฐ์ มักจะมีรัดอกคาดอยู่ด้วย
เสนายักษ์ นุ่งผ้าเกี้ยว นอกนั้นก็เหมือนพญายักษ์ เพียงแต่ไม่มีรัดอก
เขนยักษ์ สวมเสื้อผ้าธรรมดา นุ่งผ้าลาบทับสนับเพลา ผ้าปิดก้นไม่มี
คาดเอวด้วยผ้า มีกรองคอทำด้วยผ้าธรรมดา สวมศีรษะเขียนลาย
พญายักษ์และเสนายักษ์แต่ละตัวมีสีกายและสีหน้าประจำตัว มีหัวโขนเฉพาะของตัว มียอดของส่วนมงกุฎแต่งต่างกันออกไป บางพวกก็ไม่มีมงกุฎ
เรียกว่า “ยักษ์โล้น”
เครื่องแต่งกายยักษ์ของไทย คงได้แบบอย่างมาจากขอม ดังที่
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสันนิษฐานไว้ดังนี้
“มีมนุษย์และเทวดานุ่งหางหงส์จีบทับสนับเพลาอย่างแบบไทย ยักษ์นุ่งถกเขมร มีขอบผ้าปิดก้น คือ ชายกระเบนที่ชักขึ้นไปแล้วปล่อยห้อยลงไปข้างหลัง ผ้านุ่งยาวไม่พอจึงทำเป็นอีกผืนหนึ่งต่างหาก ผูกเข้าแทนชายกระเบน ชฎา
ที่เรียกว่าชฎามนุษย์นั้น พิจารณาดูรูปจะเห็นได้ว่ามีรูปเดียว คือเป็นอย่างลำพอกของไทย ที่ชฎายักษ์มียอดอุตริต่างๆ แต่ครั้นไปดูรูปภาพนครธม ก็พบชฎายอดอุตรินั้นอย่างบริบูรณ์ จึงเห็นได้ว่ายักษ์ก็ใส่ชฎาขอมนั่นเอง ยักษ์ตัวท้าวพญาใส่ชฎา
แต่เสนาหัวโล้นมีแต่กรอบหน้าและสุวรรณมาลา ตรวจดูรูปขอมนครธมดูก็จะ
เห็นว่าตัวที่เป็นท้าวพญาใส่ชฎา แต่ตัวเป็นเสนาผมข้างบนตัดสั้น มีกรอบหน้าและสุวรรณมาลาทุกคน เหมือนเสนายักษ์”
ตัวยักษ์ผู้หญิงบางตัวมีหัวโขนสวมเฉพาะ เช่น นางอังกาศตะไล
นางอดูลปิศาจ เครื่องแต่งตัวบางทีไม่ใช้ยืนเครื่องอย่างนาง แต่รวบชายล่างขึ้น
โจงกระเบน ดูก็เหมือนยักษ์อื่นๆ คาดเข็มขัด แต่ไม่มีห้อยหน้าเจียระบาดอย่าง
พญายักษ์ สวมเสื้อแขนยาวอย่างยักษ์ผู้ชาย แต่มีห่มนางทับบนเสื้อ เครื่องประดับอื่นๆ คล้ายตัวนางทั่วๆ ไป
ส่วนนางยักษ์ที่เป็นมเหสีหรือธิดาของพญายักษ์ แต่งกายยืนเครื่องนาง สวมมงกุฎหรือรัดเกล้า ไม่สวมหัวโขนดังได้กล่าวถึงแล้ว
ภาพที่ 4  การแต่งกายของตัวยักษ์ (ทศกัณฐ์)
ที่มา  Dhanit Yupho, The Khon and Lakon, (Bangkok  Department of Fine Art, 1963, Page 1.)
4. ตัวลิง แบ่งออกเป็นพวกๆ ได้แก่ พญาวานร เช่น หนุมาน สุครีพ องคต ฯลฯ
พวกสิบแปดมงกุฎ เช่น มายูร เกยูร เกสรมาลา ฯลฯ พวกเตียวเพชร เช่น โชติมุก พวกจังเกียง และพวกเขนลิง
พวกพญาวานรและพวกอื่นๆ ยกเว้นเขนลิง แต่งตัวยืนเครื่อง และสวมเสื้อตามสีประจำตัวในเรื่องรามเกียรติ์ แต่ไม่มีอินทรธนู นุ่งผ้าไม่จีบโจงหางหงส์
มีผ้าปิดก้นห้อยเอวลงจากด้านหลังเช่นเดียวกับยักษ์ และมีหางห้อยอยู่ข้างใต้
ผ้าปิดก้น เฉพาะตัวมัจฉานุมีหางเป็นปลาผิดจากลิงอื่นๆ ลิงเหล่านี้แต่ละตัวมีหัวโขนเฉพาะของตัว ทั้งที่เป็นมงกุฎยอดต่างๆ และทั้งที่ไม่มีมงกุฎเรียกว่า
“ลิงโล้น” เสื้อลิงนั้นใช้ดิ้นและเลื่อมปักทำเป็นเส้นขด สมมติว่าเป็นขนตามตัวของลิง ไม่ทำเป็นลายดอกอย่างเสื้อตัวพระหรือยักษ์ และไม่มีอินทรธนู
เขนลิง สวมเสื้อแขนยาวผ้าธรรมดา กรองคอก็เป็นผ้าธรรมดา นุ่งกางเกงคาดเข็มขัด มีหางและผ้าปิดก้น สวมศีรษะเขนลิง

5. ตัวเบ็ดเตล็ด ได้แก่ ตัวละครอื่นๆ เป็นต้นว่าฤาษีต่างๆ เช่น พระวสิษฐ์
พระสวามิตร พระโคบุตร เป็นต้น ล้วนแต่งกายแบบฤาษีเช่นเดียวกับเรื่องอิเหนา แต่ศีรษะคงสวมหัวโขนเป็นประจำ
ช้างเอราวัณ สวมศีรษะช้างสามเศียรสีขาว มงกุฎยอดน้ำเต้า ส่วนช้างธรรมดาก็ใช้เช่นเดียวกับในเรื่องอิเหนา
ม้าอุปการ สวมหน้าม้าสีดำ ปากแดง ส่วนมากลากราชรถอื่นๆ มีศีรษะม้าสวม มีหลายสี ครอบไว้เหนือกระหม่อม หรืออาจใช้มาแผงห้อยไว้ที่ข้างลำตัวอย่างเรื่องอิเหนาก็ได้
นอกจากนี้ก็มีตัวเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่สวมศีรษะสัตว์ โดยได้จำลองเลียนแบบลักษณะของจริงมาหรือประดิษฐ์ให้ตรงกับในบท เช่น กวางทอง พญาครุฑ เหยี่ยว ปลา พญานาค มหิงสา เป็นต้น



Create Date : 24 พฤษภาคม 2550
Last Update : 24 พฤษภาคม 2550 2:53:07 น. 39 comments
Counter : 27679 Pageviews.

 
ชอบ พยานาค พญาครุฑ


โดย: หญิง IP: 61.91.193.11 วันที่: 17 มิถุนายน 2550 เวลา:9:32:54 น.  

 


โดย: ัbee IP: 203.113.17.173 วันที่: 24 มิถุนายน 2550 เวลา:11:21:14 น.  

 
ทำไมไม่มีรูป


โดย: ++.........++ IP: 124.120.51.44 วันที่: 21 สิงหาคม 2550 เวลา:18:17:23 น.  

 


โดย: *-* IP: 125.25.90.208 วันที่: 5 กันยายน 2550 เวลา:17:54:30 น.  

 
หนูชื่อฝนนะคะเรียนอยุ่โรงเรียนวัดรางบัวม.1โรงเรียนหนุก้มีการเล่นโขนเหมือนกานจะแสดงเหมือนกานในเดือนพฤศจิกายนนี้


โดย: ฝน IP: 125.24.47.94 วันที่: 23 กันยายน 2550 เวลา:12:50:11 น.  

 
ผมเรียนโขน เป็นเสนายักษ์ในศึก กุมภกรรญ


โดย: comdog IP: 125.25.84.203 วันที่: 28 ตุลาคม 2550 เวลา:19:14:36 น.  

 
ผมเป็นเสนา


โดย: not IP: 125.25.84.203 วันที่: 28 ตุลาคม 2550 เวลา:19:21:25 น.  

 
ขอบคุณมากก๊าบ ที่มีบอกอ่า แต่น่าจะมีรูปด้วยน๊าเนี่ย


โดย: อิอิอิ IP: 125.26.170.56 วันที่: 10 พฤศจิกายน 2550 เวลา:18:45:13 น.  

 
ชอบโขนของไทยมากค่ะ อยากจะเห็นคนที่ต้องการอนุรักษ์ไว้เยอะจังฮับผม


โดย: Sherlockholms *,- IP: 125.24.41.213 วันที่: 11 ธันวาคม 2550 เวลา:20:17:32 น.  

 
ผมก็เคยเล่นโขนที่ร.รในวันคริสมาสผมเล่นในตอนยกรบคาบผมได้เล่นเป้นลิง




โดย: ดรีมนะ IP: 58.9.48.242 วันที่: 9 มกราคม 2551 เวลา:16:08:25 น.  

 
เป็นละครที่ดีคับ


โดย: ชัช 51 คับ IP: 161.246.1.33 วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:13:15:10 น.  

 
ช่วยกันอนุรักษ์ด้วยนะคะ


โดย: ปาล์มมี่ IP: 203.113.46.4 วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:16:24 น.  

 
เราเรียนอยู่ที่นาฏศิลป์นะ อยากให้ทุกคนช่วยกันรักษ์โขนละครกันมากๆนะคะมองให้ลึกกว่านี้จะรู้ว่าโขน ละคร หรือ
นาฏดุริยางค์ไม่หน้าเบื่อเลยแม้แต่นิดเดียว แล้วยังสวยงามมากอีกด้วยทั้งเครื่องแต่งกายชาวต่าชาติยังชมว่าสวยเลยค่ะ



โดย: เพื่อนค่ะ IP: 118.174.102.144 วันที่: 12 เมษายน 2551 เวลา:16:24:18 น.  

 
สวยมากค่ะทั้งโขนและละครเลยทุกๆอย่างเป็นวัฒนธรรมของไทยค่ะ อ้อ....แล้วยังปี่พาทย์และคีตศิลป์ เครื่องสายอีกนะจ๊ะ


โดย: peunza IP: 118.174.102.144 วันที่: 12 เมษายน 2551 เวลา:16:31:02 น.  

 
เนื้อหาเยอะมากเลยค่ะ จาก DS BAN


โดย: สุรกาญณ์ IP: 125.24.205.112 วันที่: 13 มิถุนายน 2551 เวลา:17:46:58 น.  

 
ขอเบอร์หน่อยดิมีปะ


โดย: อ้อม IP: 61.19.205.122 วันที่: 23 มิถุนายน 2551 เวลา:20:24:40 น.  

 
มีเนื้อหามากเลยนะค่ะแต่ถ้ามีรูปให้ดูด้วยก็คงจะดี


โดย: ความใน IP: 58.9.101.245 วันที่: 28 มิถุนายน 2551 เวลา:12:12:17 น.  

 
ดีมากๆค่ะ *-*


โดย: เจนนี่ IP: 124.121.89.12 วันที่: 5 กรกฎาคม 2551 เวลา:15:15:33 น.  

 
ขอบคุณมากมายเจ้า


โดย: ข้าวปุ้น IP: 203.172.32.34 วันที่: 6 กรกฎาคม 2551 เวลา:14:44:40 น.  

 
ไปซื้อหัวโขนที่ทำเป็นพวงกุญแจมาจากอยุธยา ว่าจะทำเป็นชิ้นงานให้นักเรียนได้ดู แต่ไม่รู้ว่าเป็นหัวของตัวอะไรใครมีรูปขอหน่อยได้มั้ยส่งให้ด่วนจี๋เลยที่ sittisak_kokai@hotmail.com จะเป็นพระคุณอย่างมาก


โดย: กอไก่ IP: 202.149.25.236 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:46:21 น.  

 
เอาเปนว่า..ขอบคุงแล้วกานนะ




โดย: minnie IP: 125.24.147.244 วันที่: 15 ธันวาคม 2551 เวลา:11:20:37 น.  

 
ก้อดีนะคะ

เปนกิดจากามที่

นะสนจายดี *...*

(อิอิอิ)


โดย: น่ารัก IP: 125.24.147.244 วันที่: 15 ธันวาคม 2551 เวลา:11:23:45 น.  

 
ดีนะคะ *...*


โดย: แบ้วคะ IP: 125.24.147.244 วันที่: 15 ธันวาคม 2551 เวลา:11:28:26 น.  

 
รักนะ


โดย: love post IP: 118.173.122.237 วันที่: 22 ธันวาคม 2551 เวลา:12:59:44 น.  

 
มีความรู้มากกกกกกกกกกกกกกกกก


โดย: จิ๊ฟ IP: 125.27.76.103 วันที่: 11 มกราคม 2552 เวลา:14:50:32 น.  

 

ขอบคุงคร้าบ...ที่ห้ายข้อมูน


โดย: pp IP: 125.25.236.133 วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:17:37:55 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากๆน่ะครับ

แต่ถ้าย่อไห้ผมหน่อยจาดีมากๆๆเลยครับ

ขอบคุณครับ


โดย: Shugo-Chara IP: 115.67.105.33 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:21:31:28 น.  

 
อยากได้เป็นบทกลอนนะค่ะ


โดย: นุ้ย IP: 203.114.120.226 วันที่: 20 มิถุนายน 2552 เวลา:12:12:17 น.  

 
ขอบคุงคับ


โดย: บุ๋ม IP: 118.173.232.84 วันที่: 12 สิงหาคม 2552 เวลา:18:31:17 น.  

 
เธญเธขเธฒเธเน„เธ”เน‰เธฃเธนเธ›เน‚เธ‚เธ™เธกเธฒเธเน†เน€เธฅเธขเธ„เธฐ


โดย: เธŸเน‰เธฒเธ„เธธเธ‡ เน€เธ”เน‡เธเธก.1 IP: 222.123.234.17 วันที่: 31 สิงหาคม 2552 เวลา:17:46:53 น.  

 
ขอบคุณมากนะค่ะรอดตายเพราะมีข้อมูลเยอะละเอียดมากเเต่ตัวเล็กไปหน่อยน่ะมองไม่ค่อยเห็นเลยเเล็วก็ไม่มีรูป


โดย: นิน IP: 124.121.167.113 วันที่: 31 สิงหาคม 2552 เวลา:18:06:02 น.  

 
โขนเป็นเอกลักของชาวสมุทรสงครามเพราะร.2ทรงโปรเรื่องรามเกียงมากคะ


โดย: ด.ญ.ปฐมพร เพ็ญสุข IP: 192.168.1.35, 124.157.208.224 วันที่: 15 ธันวาคม 2552 เวลา:18:07:39 น.  

 
ขอบคุณนะคะ


โดย: 123 IP: 115.67.1.229 วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:22:20:34 น.  

 
ขอบคุณนะครับพอดีทำรายงานส่งครูพอดีเลย อิ อิ


โดย: ๏mukuro๏ IP: 124.120.84.136 วันที่: 15 พฤษภาคม 2553 เวลา:9:00:43 น.  

 
ดูดี


โดย: คล IP: 192.168.2.78, 222.123.158.74 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2553 เวลา:9:40:33 น.  

 
ดี


โดย: นัดดา IP: 182.93.228.153 วันที่: 6 มกราคม 2555 เวลา:11:42:21 น.  

 
หน้าร๊าก


โดย: พลอยมี่ IP: 124.122.177.184 วันที่: 1 มีนาคม 2555 เวลา:18:32:56 น.  

 
55555555555+


โดย: พลอยมี่ IP: 124.122.177.184 วันที่: 1 มีนาคม 2555 เวลา:18:42:27 น.  

 
dfertu


โดย: hfg IP: 118.173.118.194 วันที่: 6 กรกฎาคม 2556 เวลา:10:50:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จินตะหราวาตี
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




สำนักละครอนุรักษ์นัจยากร
Friends' blogs
[Add จินตะหราวาตี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.